เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

“ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” สกิลสำคัญที่ Gen Alpha- Beta ควรมีในโลกยุค AI

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค AI อะไรๆ ก็ดูจะง่ายดายไปหมด ในช่วงเวลาที่เด็กๆ ที่เกิดหลังปี 2020 กำลังเติบโต เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างเช่น AI ก็อาจกลายเป็นปัจจัยที่ 5 คอยอำนวยความสะดวกให้ในหลายๆ ด้านของชีวิต และคงจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม  ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น อาจทำให้เด็กๆ ไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะจำเป็นของชีวิต ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่เป็นกังวลว่าลูกๆ จะมีทักษะอะไรติดตัวไปบ้างเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต แน่นอนว่า IQ เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ แต่เพียงแค่นั้นอาจยังไม่พอ ต้องมี “ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” ด้วย EF คืออะไร ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF หรือ Executive Function คือกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ช่วยควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม รวมถึงแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่จะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จ แต่ EF คือทักษะที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยทักษะ EF ของเด็กช่วงปฐมวัย มีทั้งหมด 9 ด้าน ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การจดจำเพื่อใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง และการยืดหยุ่นทางความคิด ในกลุ่มนี้จะเน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการทางความคิด  […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กทารก

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ มีประโยชน์ต่อลูกน้อยและคุณแม่อย่างไร

การ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ถือเป็นเรื่องที่เหล่าคุณแม่ควรจะทำเป็นอย่างมาก เนื่องจากในน้ำนมแม่นั้นมีสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารก ทั้งยังเป็นอาหารที่เหมาะสมกับการย่อยของเด็กอีกด้วย นอกจากสารอาหารแล้ว ในน้ำนมแม่ยังมีประโยชน์อะไรต่อทารกอีกบ้าง ต้องติดตามกันใน Hello คุณหมอ ประโยชน์ของการ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ จากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งของทารกและคุณแม่ด้วย ซึ่งเราจะมาดูประโยชน์ที่มีต่อทารกกันก่อน สำหรับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ มีดังนี้ ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับทารก หน่วยงานด้านสุขภาพส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน จากนั้นจะแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ในน้ำนมของแม่นั้นมีทุกสิ่งที่ทารกต้องการในข่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทั้งยังมีสัดส่วนที่เหมาะสม องค์ประกอบในน้ำนมแม่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของทารกได้ โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนแรกของชีวิต ในช่วงวันแรกหลังคลอด หน้าอกจะผลิตของเหลวสีเหลืองข้นออกมา ซึ่งเรียกว่า “น้ำนมเหลือง” ซึ่งมีโปรตีนที่สูง น้ำตาลต่ำ และเต็มไปด้วยสารประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อทารก โคลอสตรัม (Colostrum) เป็นนมชนิดแรกที่เหมาะกับทารกแรกเกิด เพราะมันสามารถช่วยพัฒนาระบบย่อยอาหารของทารกแรกเกิด หลังจากนั้น 2-3 วันแรก หน้าอกจะเริ่มผลิตน้ำนมในปริมาณที่มากขึ้น สิ่งเดียวที่อาจขาดในน้ำนมแม่ก็คือ วิตามินดี นั่นเอง เพื่อชดเชยการขาดวิตามินดี ได้มีการแนะนำให้หยดวิตามินดีตั้งแต่อายุ 2-4 สัปดาห์ มีแอนติบอดีที่สำคัญ น้ำนมแม่เต็มไปด้วยแอนติบอดีที่ช่วยให้ลูกน้อยต่อสู้กับไวรัสและแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำนมเหลืองซึ่งเป็นนมแรก โคลอสตรัมให้อิมมูโนโกลบูลินเอ (Immunoglobulin A หรือ IgA) […]


เด็กทารก

ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทำอย่างไร

โดยปกติแล้วเมื่อ ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด เหล่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักจะรู้สึกกังวล เนื่องจากไม่รู้ว่าการที่ลูกร้องไห้ไม่ยอมหยุดเกิดจากสาเหตุอะไร เป็นเพราะไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว หิว หรือสาเหตุอื่นๆ ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่องนี้มาฝากเหล่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กัน เหตุผลที่ ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด ทารกแรกเกิดทุกคนมักจะร้องไห้และงอแงในบางครั้ง ซึ่งเถือเป็นเรื่องปกติที่ในช่วง 6 สัปดาห์แรก พวกเขาจะร้องไห้ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนในช่วง 3 เดือนแรกของชีวิตพวกเขาจะร้องไห้มากกว่าในช่วงเวลาอื่นๆ ของอายุ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักจะมีเวลานอนที่น้อยลง แต่ก็จะคุ้นเคยกับชีวิตของลูกน้อยมากขึ้น เนื่องจากเหล่าคุณพ่อคุณแม่จะได้เรียนรู้ว่าเมื่อลูกน้อยร้องไห้ นั่นหมายความว่าพวกเขาอาจจะต้องการสิ่งต่างๆ ดังนี้ หิว เหนื่อย จำเป็นต้องเรอ ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Overstimulated) ผ้าอ้อมเปียกหรือสกปรก รู้สึกร้อนหรือเย็นมากเกินไป บางครั้งการร้องไห้ของเด็กทารกจะนานขึ้น ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลความต้องการของทารกให้เพียงพอ เพื่อที่จะปลอบประโลมพวกเขา วิธีรับมือเมื่อ ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ การร้องไห้ของลูกน้อยอาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย น่ากลัว และบางครั้งก็อาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดขึ้นได้ เนื่องจากพวกคุณไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่า การที่ลูกน้อยร้องไห้นั้นมาสาเหตุมาจากอะไร การร้องไห้ของลูกน้อยมักจะทำให้ผู้เป็นแม่มีความรู้สึกกังวลอย่างยิ่ง ดังนั้น ลองมาดูกลยุทธ์ที่จะทำให้ลูกน้อยสงบลงกันดีกว่า ทำเสียง “ชู่” พร้อมอุ้มลูกแล้วเขย่าเบาๆ Dr.Kristie Rivers กุมารแพทย์จากกลุ่มแพทย์ Phoenix Physicians LLC ใน Fort Lauderdale กล่าวว่า จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การตอบสนองที่สงบเงียบจะเกิดขึ้นในสมองของทารก เมื่อถูกอุ้มหรือโยก ซึ่งจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจของทารกช้าลง […]


เด็กทารก

ทารกกับอากาศร้อน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โดยปกติแล้ว ไม่ควรพาทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนไปโดนแสงแดดโดยตรง เนื่องจากผิวของทารกยังมีเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดน้อยเกินไป ทั้งยังไม่ควรทาครีมกันแดดให้กับทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนอีกด้วย แต่ในประเทศไทยนั้น ทารกกับอากาศร้อน นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเตรียมพร้อมเมื่อต้องพาทารกออกไปข้างนอกในช่วงอากาศร้อน [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกกับอากาศร้อน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ อากาศร้อนแค่ไหน ถึงไม่ควรพาทารกเดินทาง สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics หรือ AAP) ระบุว่า เด็กทุกเพศทุกวัยที่มีสุขภาพแข็งแรงดี สามารถเล่นกลางแจ้ง หรือเดินทางในช่วงอากาศร้อนได้ หากอุณหภูมิไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส แต่หากเป็นเด็กทารก หรือเด็กวัยเตาะแตะ ไม่ควรเผชิญอากาศร้อนหรือแสงแดดติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เพราะเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่าย อากาศร้อนส่งผลต่อร่างกายทารกอย่างไร อากาศร้อนสามารถส่งผลกระทบต่อทารก และทำให้เกิดภาวะสุขภาพได้นานัปการ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผดร้อน ผดร้อน หรือผด (Heat rash หรือ Prickly heat) คือ รอยหรือตุ่มแดงขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเพราะอากาศร้อนจัด ทำให้รู้สึกคันตามผิวหนังในบริเวณที่เกิดผด ยิ่งเด็กทารกยิ่งเสี่ยงเกิดผดร้อนได้ง่าย เพราะต่อมเหงื่อยังพัฒนาไม่เต็มที่ โดยผดร้อนในทารกอาจเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกายที่อับชื้น เช่น บริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม บริเวณใต้คาง ภาวะขาดน้ำ การเผชิญอากาศร้อนหรือแสงแดดจัดทำให้ทารกเสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำให้ร่างกายของเด็กชุ่มชื้นอยู่เสมอ หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน […]


เด็กทารก

สัตว์เลี้ยงกับเด็ก อยู่ร่วมกันอย่างไร ไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ผู้คนส่วนใหญ่มักเลี้ยงสัตว์เลี้ยง อย่าง สุนัข หรือแมว เอาไว้เป็นเพื่อนรู้ใจ คอยแก้เหงา หรืออาจเลี้ยงไว้ช่วยเฝ้าบ้าน แต่เมื่อแต่งงานและมีลูก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการให้ สัตว์เลี้ยงกับเด็ก อยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของเด็ก วิธีการ เตรียมสัตว์เลี้ยงให้พร้อม การวางแผนล่วงหน้าที่จะทำให้ สัตว์เลี่ยงกับเด็ก สามารถอยู่ด้วยกันได้ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคุณควรจะต้องเเตรียมตัวเอาไว้ก่อนที่ทารกแรกเกิดจะเดินทางกลับมายังบ้าน การเตรียมตัวเอาไว้ล่วงหน้าจะยิ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของทุกคนมีความง่ายขึ้น สำหรับวิธีการเตรียมสัตว์เลี้ยงให้พร้อม ก่อนที่จะได้พบกับทารกเป็นครั้งแรก สามารถทำได้ ดังนี้ วางแผน ดังที่กล่าวไปแล้วว่า สิ่งแรกที่คุณควรทำ ก็คือ วางแผน โดยปกติแล้วสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุนัขนั้นจะเป็นสัตว์ที่กระตือรือร้น แต่พวกมันก็ยังสามารถแสดงความหึงหวงเจ้าของได้เช่นกัน เพราะพวกมันไม่ได้เป็นศูนย์กลางของความสนใจอีกต่อไป ซึ่งเช่นเดียวกับแมว พวกมันมักจะเป็นสัตว์เจ้าอารมณ์และบางครั้งก็มักจะไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งลักษณะเหล่านี้อ้างอิงจาก American Kennel Club (AKC) ดังนั้น คุณจึงต้องใช้ระยะเวลาในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมสัตว์เลี้ยงของคุณให้พร้อมสำหรับการมาถึงของทารก โดยทางสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งอเมริกา (The American Society for Prevention of Cruelty to Animals หรือ ASPCA) แนะนำเอาไว้ว่า คุณควรพาสุนัขไปฝึกในชั้นเรียน เพื่อให้พวกมันมีการเชื่อฟังขั้นพื้นฐาน และย้ายข้าวของต่างๆ ของแมวไปยังพื้นที่ส่วนตัว นอกจากนั้น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่คุณพ่อคุณแม่รู้แล้วจะอึ้ง

เมื่อรู้ว่าครอบครัวจะมีสมาชิกตัวน้อย ๆ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างน่าจะตื่นเต้นกันมาก และคงเตรียมตัวศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับทารกหรือเด็กแรกเกิดอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูลูกได้อย่างดีที่สุด นี่คือ 7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่อาจช่วยให้คุณเข้าใจทารกน้อยได้ดีขึ้น [embed-health-tool-baby-poop-tool] 7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด 1. เด็กแรกเกิดมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ หลายคนอาจไม่เชื่อว่าเด็กทารกตัวเล็ก ๆ ที่เนื้อตัวดูนุ่มนิ่ม ทรงตัวแทบไม่ได้ จะมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กแรกเกิดมีกระดูกทั้งหมด 300 ชิ้น ส่วนผู้ใหญ่มีกระดูก 206 ชิ้น จะเห็นได้ว่าเด็กแรกเกิดมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 94 ชิ้น ทุกคนคงอาจจะตกใจว่า กระดูกกว่าร้อยชิ้นในร่างกายหายไปไหน ความจริงกระดูกจำนวนดังกล่าวไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ไปรวมกับกระดูกชิ้นที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และสามารถรอบรับร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้น รวมถึงน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นได้นั่นเอง 2. อุจจาระครั้งแรกของเด็กแรกเกิดไม่เหม็นอย่างที่คิด อุจจาระครั้งแรกของทารก เรียกว่า ขี้เทา (Meconium) ซึ่งเด็กสามารถสร้างได้ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ ขี้เทาประกอบด้วยสสารที่ถูกย่อยระหว่างที่ทารกอยู่ในมดลูก ซึ่งมีทั้งน้ำคร่ำ น้ำดี เมือก ขนอ่อน เป็นต้น โดยขี้เทานี้แทบจะไม่มีแบคทีเรียในลำไส้ที่ทำให้อุจจาระมีกลิ่นปนอยู่เลย นั่นจึงทำให้การอุจจาระครั้งแรกของเด็กแนกเกิดปราศจากกลิ่น ไม่เหมือนกับอุจจาระของผู้ใหญ่ แต่ทันทีที่ทารกแรกเกิดได้รับอาหารมื้อแรก ซึ่งก็คือน้ำนม แบคทีเรียก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นในลำไส้ และทำให้อุจจาระที่ขับถ่ายออกมามีสีเขียว เหลือง หรือน้ำตาล […]


เด็กทารก

ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ ปลอดภัยหรือไม่ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ คือ การที่ให้ทารกนอนหลับในอ้อมกอด หรือให้นอนเตียงเดียวกันกับพ่อแม่ เนื่องจากต้องการทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย ทั้งยังสะดวกกับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องดูแลเมื่อทารกตื่นขึ้นมากลางดึก แต่เมื่อคำนึงถึงความปลอดภัยแล้ว การจะให้ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ อาจไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ทารกถึงแก่ชีวิตได้ เหตุใดบางครอบครัวจึงให้ ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ บางครอบครัวหรือในบางวัฒนธรรมนิยมให้ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ เพราะสาเหตุเหล่านี้ สะดวกเวลาให้นมในตอนกลางคืน ช่วยให้คุณแม่และทารกหลับและตื่นพร้อม ๆ กัน จึงดูแลลูกได้สะดวกขึ้น ช่วยให้ทารกนอนหลับได้ง่ายขึ้นและนานขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรก ทำให้ได้ใกล้ชิดกับทารกและอยู่พร้อมหน้าครอบครัว หลังจากที่ต้องแยกจากกันในเวลากลางวัน ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่เสี่ยงอันตรายอย่างไร การให้เด็กทารกนอนบนเตียงผู้ใหญ่อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นกับทารกได้ เช่น การขาดอากาศหายใจ โรคไหลตายในทารก หรือ SIDS (Sudden Infants Death Syndrome) โดยจากการศึกษาวิจัยหลายชิ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การให้ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ ถือเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของเด็กทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน เทคนิคให้ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่อย่างปลอดภัย หากคุณพ่อคุณแม่มีความจำเป็น หรือต้องการให้ทารกนอนร่วมเตียงด้วย ควรทำตามคำแนะนำเหล่านี้ เพื่อลดโอกาสเกิดอันตราย สำหรับเด็กทารกอายุ 0-12 เดือน ควรให้นอนแยกในเปลหรือเตียงทารกที่วางอยู่ข้าง ๆ เตียงของคุณพ่อคุณแม่ หรือจะใช้เป็นเตียงนอนเด็กแบบ side-car crib ที่ออกแบบมาให้วางชิดกับเตียงนอนคุณพ่อคุณแม่ก็ได้ พยายามให้ทารกนอนหงาย ห้ามให้นอนตะแคงหรือนอนคว่ำเด็ดขาด ต้องแน่ใจว่าไม่มีอะไรทับหน้าหรืออุดตันการหายใจของทารกระหว่างนอนหลับ ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ได้ก็ต่อเมื่อฟูกหรือที่นอนแน่นพอ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ลูกตัวใหญ่ สุขภาพดี จริงหรือไม่

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคนย่อมต้องการให้ลูกคลอดออกมาสมบูรณ์ แข็งแรง บางคนยังมีความเชื่อที่ว่าเมื่อคลอดออกมาแล้ว ลูกตัวใหญ่ มากเท่าไหร่ยิ่งดีมากเท่านั้น เพราะนั่นหมายถึงความสมบูรณ์ของร่างกาย แต่คลอดลูกออกมาตัวใหญ่นั้นดีจริงหรือไม่ มีอะไรที่ควรกังวลหรือเปล่า ตัวขนาดไหนจึงจะถือว่าสุขภาพดี [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกตัวใหญ่ สุขภาพดีจริงหรือไม่ เด็กที่ตัวใหญ่ จ้ำม่ำนั้นถือเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของเด็ก ๆ นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ในช่วงแรกเกิดจนถึง 6 เดือนแรกนั้นจะเป็นช่วงที่ร่างกายของทารกจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักก็เพิ่มขึ้นมากเป็น 2 เท่า และน้ำหนักมักจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วงอายุ 1 ขวบ ดังนั้น การที่ ลูกตัวใหญ่ นั้นไม่ได้บ่งบอกว่าเขานั้นไม่แข็งแรง แต่เป็นช่วงที่เขากำลังพัฒนาและเติบโต ในช่วงนี้ร่างกายของเขาก็มีความต้องการอาหารอยู่แทบจะตลอดเวลา โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง อย่างน้ำนม วัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองนั้นมีความต้องการพลังงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เขาต้องกักเก็บไขมันไว้ที่ใต้ผิวหนัง เพื่อที่จะนำไขมันมาใช้งาน จึงทำให้เด็กในวัยนี้ดูตัวใหญ่ อ้วนเป็นชั้น แต่พ่อแม่ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะว่าไขมันเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติของเด็กทุก ๆ คน ที่สำคัญยังแสดงให้เห็นว่าลูกน้อยนั้นสุขภาพดี น้ำหนักของเด็กที่ควรจะเป็น เด็กทุก ๆ คนมีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป แต่น้ำหนักเหล่านี้เป็นการประมาณการ คร่าว ๆ ของช่วง 1 ปีแรก ว่าพวกเขาควรมีน้ำหนักเท่าไร ช่วงอายุ ความสูงที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แรกเกิด- 6 เดือน สูงขึ้น 0.5-1 นิ้ว/เดือน หนักขึ้น 150-200 […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่อน้ำนมอุดตัน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ท่อน้ำนมอุดตัน (Clogged milk ducts) พบได้ทั่วไปในคุณแม่เพิ่งคลอด กำลังให้นมบุตร หรือเพิ่งให้ลูกหย่านม ทำให้ท่อน้ำนมตีบหรืออุดตัน จนน้ำนมไหลได้ไม่สะดวก รวมถึงอาจมีอาการอักเสบ บวม และมีก้อนในบริเวณเต้านม สามารถหายไปได้เอง แต่ก็สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการนวดเต้านม ปั๊มนม และการประคบร้อน [embed-health-tool-baby-poop-tool] คำจำกัดความ ท่อน้ำนมอุดตัน คืออะไร ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน เป็นภาวะที่เกิดก้อนบวมนูนในท่อน้ำนมของหญิงที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร ทำให้ท่อน้ำนมตีบหรืออุดตัน จนน้ำนมไหลได้ไม่สะดวกหรือคั่งอยู่ในเต้านม (Milk Stasis) ซึ่งก้อนบวมนูนที่เกิดขึ้นนี้อาจมีลักษณะแข็งหรืออ่อนนุ่มก็ได้ ท่อน้ำนมอุดตันพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะท่อน้ำนมอุดตันสามารถพบได้ทั่วไปในคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร คุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรแต่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ หรือคุณแม่ที่เพิ่งหยุดให้ลูกกินนมแม่ โดยผลการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อปี 2011 จากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า 4.5% จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคุณแม่ให้นมบุตรประสบปัญหาท่อน้ำนมอุดตันในช่วงปีแรกของการให้นมบุตร อาการ อาการของท่อน้ำนมอุดตัน อาการทั่วไปของภาวะท่อน้ำนมอุดตัน มีดังนี้ เจ็บปวดบริเวณเต้านม มีก้อนบวม อ่อนนุ่มในเต้านม รู้สึกว่าเต้านมบวมหรือร้อนที่เต้านม น้ำนมจากเต้านมข้างหนึ่งไหลช้าลง ผิวหนังบริเวณเต้านมบริเวณใดบริเวณหนึ่งมีลักษณะขรุขระ มีจุดสีขาวเล็ก ๆ บริเวณหัวนม (Milk Bleb หรือ White Spot หรือ Milk Blister) ในบางกรณี ภาวะท่อน้ำนมอุดตันอาจทำให้มีไข้ต่ำ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าเต้านมติดเชื้อ  ฉะนั้น หากคุณมีไข้ร่วมกับมีอาการรู้สึกเจ็บปวดที่เต้านม เต้านมบวมแดง หรือมีก้อน […]


เด็กทารก

ทารกไม่ชอบนอนเปล เป็นเพราะอะไร แก้ไขอย่างไรดี

ทารกไม่ชอบนอนเปล เป็นปัญหาที่หลายครอบครัวกำลังเผชิญอยู่ แท้จริงแล้วถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับครอบครัวส่วนใหญ่ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ทารกต้องการความอบอุ่นจึงชอบที่จะอยู่ใกล้ ๆ หรือได้สัมผัสร่างกายคุณพ่อหรือคุณแม่ และทำให้พวกเขาหลับสบายเพราะรู้สึกถึงความปลอดภัย การที่ทารกต้องนอนเปล ทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวและแสดงออกด้วยการร้องไห้ หรือไม่ยอมนอน นอกจากนั้นแล้ว อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน ทำไม ทารกไม่ชอบนอนเปล เหตุผลที่ ทารกไม่ชอบนอนเปล นอกจากเป็นเพราะพวกเขาต้องการอยู่ใกล้ ๆ ได้รับความอบอุ่นจากคุณพ่อคุณแม่แล้ว อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ ไม่คุ้นเคยกับห้องนอน หากก่อนหน้านี้ทารกนอนอยู่กับคุณพ่อคุณแม่อยู่เสมอ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงย้ายให้ทารกไปนอนในห้องของตัวเอง ทารกอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับห้อง และอาจจะรู้สึกไม่อบอุ่นหรือปลอดภัยเท่ากับการนอนกับคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น อาจจะต้องใช้ความพยายามที่จะทำให้ทารกคุ้นเคยกับห้องนอนใหม่ โดยพยายามใช้เวลาในช่วงกลางวันให้ทารกคุ้นเคยที่จะอยู่ในห้องนอน เช่น การเล่น อ่านหนังสือ ร้องเพลง กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้ทารกรู้สึกว่าห้องนอนนั้นเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและอยากใช้เวลาอย่างมีความสุขในห้องนั้น ไม่รู้วิธีนอนในเปล บ่อยครั้งที่ทารกมักจะหลับในอ้อมกอดของคุณแม่ในขณะที่ดูดนม ก่อนคุณแม่จะพาอุ้มไปนอนบนเตียงเมื่อทารกเขาหลับไปแล้ว พฤติกรรมเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด แต่นิสัยการนอนของทารกจะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปโดยเฉพาะเมื่อทารกโตขึ้นและไม่จำเป็นต้องกินนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนพฤติกรรมมักเป็นเรื่องยาก คุณพ่อคุณแม่ต้องค่อย ๆ พยายามทำให้ทารกคุ้นเคยกับเปลให้มากที่สุด อาจจะป้อนนมตอนที่ทารกนอนอยู่ในเปล หรือปล่อยให้ทารก นอนเล่นอยู่ในเปลบ้าง โดยมีคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ ปวดท้อง เด็กทารกบางคนอาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็นกรดไหลย้อนและอาการจุกเสียดโดยเฉพาะเมื่อนอนหงาย หากทารกร้องไห้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกให้ว่ามีบางอย่างที่ผิดปกติอยู่ ควรอุ้มกอดและปลอบโยนจนทารกสงบลง และอาจลองเปลี่ยนท่านอนให้อยู่ในท่าที่สบายมากขึ้น เปลทำให้เด็กทารกมีความคิดเชิงลบ ถ้าทารกเคยมีประสบการณ์ถูกทิ้งให้อยู่ในเปลตามลำพัง […]


โภชนาการสำหรับทารก

ดีเอชเอ (DHA) สารอาหารสำคัญ ที่ไม่ได้มีดีแค่ พัฒนาสมองของลูกน้อย

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับสารดีเอชเอ (DHA) ว่าเป็นสารที่สำคัญต่อการพัฒนาการของลูกน้อย และทำให้นมผงหรืออาหารเสริมสำหรับทารกต่างก็พากันออกมานำเสนอสรรพคุณว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีสารดีเอชเออยู่อย่างมากมาย แต่สารดีเอชเอที่ว่านี้คืออะไรกันแน่ และ ดีเอชเอกับพัฒนาการของทารก มีความสำคัญต่อกันมากน้อยแค่ไหน Hello คุณหมอ จะพาคุณมาลองหาคำตอบร่วมกันได้จากบทความนี้ ดีเอชเอ (DHA) คืออะไร กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือที่เรารู้จักกันว่า ดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid : DHA) เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ประเภทหนึ่ง ที่สามารถพบได้มากในอาหารทะเลที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ หรือปลาแอนโชวี่ เนื้อสัตว์ อาหารที่ทำจากนม หรืออาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา ที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มาก เป็นต้น แม้ว่าตามปกติแล้ว ร่างกายของเราจะสามารถผลิตสารดีเอชเอขึ้นมาได้เอง แต่ก็จะมีปริมาณที่น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และทำให้เราจำเป็นต้องบริโภคดีเอชเอเพิ่มเติม ผ่านทางการรับประทานอาหารและอาหารเสริม ดีเอชเอเป็นสาระสำคัญที่จะเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาการของสมอง ตั้งแต่ช่วงที่เป็นทารกในครรภ์ไปจนถึงช่วงวัยเด็กเล็ก นอกจากนี้ สารดีเอชเอยังอาจสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ช่วยบำรุงสายตา และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับหัวใจต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ได้อีกด้วย ดีเอชเอกับพัฒนาการของทารก มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และคุณแม่ที่ให้นมลูกส่วนใหญ่ มักจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมที่มีดีเอชเออย่างน้อย 200-300 มก. ทุกวัน นอกจากนี้ ในนมผงและอาหารเสริมสำหรับเด็กทารกส่วนใหญ่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน