เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 37 เป็นอย่างไร

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 37 หรือพัฒนาการของทารกช่วงอายุประมาณ 9 เดือน เป็นช่วงวัยที่สามารถเห็นพัฒนาการและการเติบโตอย่างชัดเจน ลูกน้อยจะเริ่มเล่น เรียนรู้ พูด และเคลื่อนไหว นั่ง คลานอย่างคล่องแคล่ว ยืน และเริ่มก้าวเดิน นอกจากนั้น ยังเริ่มรับประทานอาหารที่ไม่ใช่แค่อาหารเหลวได้แล้วเพราะฟันเริ่มขึ้นแล้ว รวมทั้งแสดงอารมณ์ต่าง ๆ และแยกแยะสมาชิกในครอบครัวและคนแปลกหน้าได้แล้ว [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 37  ทารกในวัยนี้ มีพัฒนาการที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน ดังนี้ เริ่มแสดงสีหน้าได้หลายอย่าง เช่น สุข เศร้า โกรธ ร้องไห้ ยิ้มหรือหัวเราะเมื่อเล่น หาทางหยิบของเล่นที่อยู่เกินเอื้อม มองหาสิ่งของที่ทำตกไป แยกแยะคนแปลกหน้าได้ และเริ่มกลัวหากไม่ใช่คนในครอบครัว ทำเสียงดังและเสียงแปลก ๆ เริ่มพูดคุยแต่ยังไม่เป็นคำพูดที่เข้าใจได้ ทำมือให้อุ้ม แสดงความต้องการบางอย่างได้ นั่งเองได้ เริ่มยืนได้อย่างมั่นคง และเริ่มก้าวเดิน ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยจะติดการได้อยู่ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ หากต้องการออกไปทำงานหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ควรหาอุปกรณ์หรือกิจกรรมมาช่วยหันเหความสนใจ เช่น สมุดภาพ ของเล่นที่มีเสียง ตัวต่อ หุ่นที่ใช้มือเชิด […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 44 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 44 หรือทารกอายุประมาณ 10-12 เดือน เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านภาษาและคำพูดเด่นชัดมากที่สุด มักเปล่งเสียงหรือพูดเป็นคำ ๆ มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านหนังสือและชวนลูกน้อยคุยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นช่วงที่เด็กวัยนี้กำลังเริ่มออกสำรวจสิ่งรอบตัว ควรจัดบ้านและสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยมากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 44  พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 44 จะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านคำพูด การเดิน และความอยากรู้อยากเห็นชัดเจนมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมและดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ชวนลูกคุยหรือเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ลูกฟัง พาลูกออกไปเดินเล่น ปล่อยให้เขาเดินเองแม้จะล้มบ้างก็เป็นการฝึกให้เขาได้เรียนรู้ที่จะล้มแล้วลุกขึ้นด้วยตนเอง สิ่งสำคัญ ควรดูแลเรื่องความสะอาดและการจัดบ้านให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย เก็บสิ่งของอันตรายให้พ้นมือลูกน้อย ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร แสดงความต้องการในวิธีการแบบอื่นๆ ที่มากกว่าการร้องไห้ เล่นลูกบอล (สามารถกลิ้งลูกบอลกลับมาให้) ดื่มจากแก้วด้วยตนเอง สามารถหยิบของเล่น หรือหยิบสิ่งของเล็ก ๆ ด้วยปลายนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้ (ในระยะนี้ควรเก็บสิ่งของอันตรายทุกอย่างให้พ้นมือเด็ก) ยืนด้วยตัวเองได้ดีขึ้น ใช้ภาษาพูดของเด็กที่ยังไม่โต (เป็นการพูดเจื้อยแจ้วที่มีเสียงเหมือนกำลังพูดภาษาต่างประเทศอยู่) พูดเป็นคำ ๆ นอกเหนือจากคำว่า “มาม๊า” หรือ "ปะป๊า" ตอบสนองต่อคำสั่งง่าย ๆ หรือคำสั่งที่มีท่าทางประกอบ (เช่น […]


โภชนาการสำหรับทารก

โอเมก้า 3 ประโยชน์ ต่อสุขภาพและข้อควรระวัง

โอเมก้า 3 (Omega 3) เป็นสารอาหารที่มี ประโยชน์ ต่อสุขภาพของเด็ก โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมัน ซึ่งจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ DHA (Docosahexaenoic Acid) และ EPA (Eicosapentaenoic Acid) ซึ่งกรดไขมันทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสารอาหารสำคัญ ที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับร่างกายของเด็ก และยังเป็นสารอาหารที่จะทำให้ร่างกาย สามารถลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคต่างๆ ได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์จากโอเมก้า 3 สำหรับประโยชน์ของโอเมก้า 3 ที่มีต่อร่างกายของลูกน้อยนั้น มีดังนี้ พัฒนาการทำงานของสมอง โอเมก้า 3 เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของสมอง และช่วยให้สมองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ตามีสุขภาพที่ดี ช่วยพัฒนาความคิดและการจดจำ อาจช่วยแก้ปัญหาความผิดปกติ จากการเป็นสมาธิสั้น และการนอนหลับที่ผิดปกติ สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้รับประทานน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า 3 อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรืออาจรับประทานปลาทะเลที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่น แซลมอน ทูน่า ซาดีน อย่างไรก็ตาม สำหรับการรับประทานน้ำมันปลาแบบอาหารเสริม […]


เด็กทารก

วิธีดูแลผิวลูก เพื่อความสะอาดและปลอดภัย

วิธีดูแลผิวลูก ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง และให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่รู้จักวิธีการดูแลผิวของทารกที่ถูกต้องว่าควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง หรือมีเรื่องใดที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ มีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจช่วยปกป้องผิวลูกน้อยจากเชื้อโรคและช่วยถนอมผิวอันบอบบางไม่ให้เกิดอาการระคายเคือง [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีดูแลผิวลูก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ วิธีดูแลผิวลูกจำเป็นต้องทำให้ถูกวิธี เพราะผิวเด็กนั้นบอบบาง หากทำผิดวิธีอาจไม่สะอาดพอจนก่อให้เกิดปัญหาผิวหนังได้ ซึ่งเคล็ดลับการดูแลผิวลูกอาจมี ดังนี้ อาบน้ำในแต่ละวันไม่บ่อยเกินไป ผิวหนังของเด็กทารกค่อนข้างบอบบาง ถ้าหากเนื้อตัวไม่สกปรก ไม่เลอะนม อากาศไม่ได้ร้อนจนทำให้เหงื่อของทารกออกมากเกินไป ไม่จำเป็นที่จะต้องอาบน้ำให้ทารกทุกวัน เพราะการอาบน้ำบ่อยเกินไปอาจทำให้ผิวหนังของเด็กแห้ง ระคายเคือง และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวชนิดอ่อนโยน ผลิตภัณฑ์อาบน้ำสำหรับเด็กโดยเฉพาะเด็กทารก ทั้งสบู่ แชมพู รวมไปถึงครีมบำรุงผิว ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพผิวและอายุของทารก เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดจำเป็นต้องใช้กับเด็กแรกเกิด 3 เดือนขึ้นไป สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้จะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และต้องไม่ผสมแอลกอฮอล์ รวมถึงสารเคมีต่าง ๆ เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และสารเคมีอาจเป็นอันตรายต่อผิวของทารกได้ อีกทั้งก่อให้เกิดการระคายเคืองบริเวณดวงตาได้อีกด้วย ดังนั้น ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มาใช้กับลูกน้อย แนะนำว่าควรอ่านฉลากที่อยู่บนผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดเพื่อดูส่วนผสม ข้อบ่งใช้ และข้อควรระวังก่อนทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการโรยแป้งเด็ก สาเหตุที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลิกโรยแป้งเด็ก เนื่องจากเวลาที่เทผงแป้งออกมานั้น ลูกน้อยอาจสูดดมเข้าไปในปอด และหากมีผงแป้งสะสมอยู่ในปอดในปริมาณมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อปอดได้ จึงควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด หรือหากจำเป็นจริง ๆ ควรเทแป้งลงบนฝ่ามือก่อน แล้วค่อย […]


เด็กทารก

ตัดเล็บลูกน้อย เคล็ดลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

ตัดเล็บลูกน้อย คือการตัดเล็บมือและเล็บเท้าของลูกน้อยที่ยาวให้สั้นลง เพราะหากปล่อยจนยาวเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อผิวและดวงตาของลูกน้อยเอง โดยปกติการตัดเล็บให้เด็ก ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าใดนัก เนื่องจากเด็ก ๆ จะไม่อยู่เฉยให้ตัดเล็บ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องหาวิธีหรือเคล็ดลับเพื่อที่จะได้ตัดเล็บลูกน้อยได้อย่างปลอดภัยและง่ายดายขึ้น พ่อแม่จะมีวิธี ตัดเล็บลูกน้อย อย่างไร การตัดเล็บให้เด็ก ๆ นั้นค่อนข้างยากกว่าการตัดเล็บให้ผู้ใหญ่ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อให้สามารถตัดเล็บใหลูกน้อยได้ง่ายขึ้น ตัดเล็บในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพราะอันตรายเกิดได้ทุกเมื่อ คุณพ่อคุณแม่อาจเผลอตัดเข้าเนื้อของลูกได้ ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท จึงควรตัดเล็บในสถานที่ที่มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ ใช้ที่ตัดเล็บสำหรับเด็ก การใช้กรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็กจะเพิ่มความปลอดภัยมากกว่าการใช้กรรไกรตัดเล็บแบบทั่วไปที่ผู้ใหญ่ใช้ เนื่องจากกรรไกรตัดเล็บแบบที่ผู้ใหญ่ใช้นั้นมีความคมมากกว่ากรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็ก และขนาดอาจใหญ่เกินไปสำหรับนิ้วมือและนิ้วเท้าเด็กด้วย ตัดเล็บขณะที่ลูกหลับ ลูกน้อยมักไม่ยอมให้คุณพ่อคุณแม่ตัดเล็บของตัวเองได้ง่าย ๆ ทั้งดิ้น และร้องไห้ ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการตัดเล็บ ก็คือ เวลาที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับอยู่นั่นเอง เพราะพวกเขาจะอยู่นิ่ง ๆ ทำให้การตัดเล็บง่ายขึ้นมาก อย่าลืมทำความสะอาดอุปกรณ์ตัดเล็บ เพื่อความสะอาดและความปลอดภัยต่อผิวหนังของลูกนอย  ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ตัดเล็บทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการใช้งาน เคล็ดลับเพื่อตัดเล็บลูกน้อย นอกเหนือจากคำแนะนำและขั้นตอนในการตัดเล็บให้ลูกน้อยแล้วนั้น ยังมีเคล็ดลับที่คุณพ่อคุณแม่อาจลองนำไปใช้ได้ ดังนี้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมใน การตัดเล็บลูก เรื่องนี้เป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการตัดเล็บให้กับลูกน้อย ควรใช้ช่วงระยะเวลาที่ลูกน้อยหลับ หรืออาจจะเป็นช่วงหลังอาบน้ำ เบี่ยงเบนความสนใจ ในการตัดเล็บให้ลูกน้อย อาจจะต้องมีวิธีการหลอกล่อให้ลูกน้อยหันไปสนใจสิ่งอื่น แล้วค่อยตัดเล็บ แต่อาจต้องระวังตัดเล็บเข้าเนื้อเพราะลูกน้อยอาจอยู่ไม่นิ่งนัก แบ่งเล็บ ถ้าหากคุณพ่อแม่ยังไม่มีความสามารถที่จะตัดเล็บให้กับลูกน้อยได้พร้อมกันในครั้งเดียว ขอให้เริ่มทยอยตัดไปวันละเล็บสองเล็บทีละวัน สองวัน ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตัดเล็บได้หมด หาคนช่วย บางครั้งการตัดเล็บให้ลูกน้อยด้วยตัวคนเดียวอาจจะยาก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถขอความช่วยเหลือจากคุณตาหรือคุณยายให้ช่วยจับลูก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ลูกน้อยจะเริ่มมีความสุขในการดูหนังสือและการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อย ๆ และเริ่มสนใจรูปภาพสวย ๆ รวมทั้งการใช้นิ้วเล็ก ๆ หยิบจับสิ่งต่าง ๆ เริ่มหย่านม เริ่มมีฟันขึ้น ในเด็กบางรายอาจเริ่มฝึกขับถ่ายด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยให้เติบโตสมวัยและเฝ้าสังเกตดูพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 46 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยอาจมีความสุขในการดูหนังสือและการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้พลิกไปทีละหน้าก็ตาม เขาอาจจะเพลิดเพลินไปกับหนังสือที่มีรูปภาพสวย ๆ หรือติดหนึบอยู่กับหนังสือที่ทำจากกระดาษหนา ๆ ที่ใช้นิ้วเล็ก ๆ เปิดได้ง่าย คุณพ่อ คุณแม่อาจลองพาเข้าเข้าห้องสมุด พาไปที่แผนกหนังสือเด็กในร้านหนังสือ หรือลองแลกเปลี่ยนหนังสือกับเพื่อน ๆ ดูก็ได้ จะได้ช่วยให้ลูกได้อ่านหนังสือที่หลากหลาย และจะได้รู้ด้วยว่าเขาชอบอ่านหนังสือประเภทไหน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 46 ตบมือหรือโบกมือบ๊ายบายได้ เดินโดยเกาะเฟอร์นิเจอร์ไปเรื่อย ๆ ชี้นิ้วหรือทำท่าทางเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ชอบดูหนังสือและพลิกหน้าหนังสือ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยอาจแสดงอาการขัดขืนอย่างหนักเมื่อต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากลูกจะรักและติดผู้ดูแลค่อนข้างมาก หากต้องการทำให้เขาห่างจากคุณพ่อคุณแม่ได้บ้าง และได้ง่ายขึ้นนั้น ก็ควรแยกจากกันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเขาไปฝากตามสถานรับเลี้ยงเด็ก ให้คนในครอบครัวมาช่วยดูแล หรือจ้างคนมาดูแลเด็กก็ตาม และไม่ควรร่ำลาลูกน้อยด้วยน้ำตานานเกินไป เพราะอีกเดี๋ยวเขาก็จะกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยพึ่งพาตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปช่วยทำอะไรให้เขาอยู่ตลอดเวลา […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45 โดยทั่วไป ลูกจะสามารถพูดเป็นคำ ๆ ได้แล้ว และมักจะเลียนเสียงพูดของผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่จึงควรออกเสียงคำพูดแต่ละคำให้ชัดเจน เพื่อให้เด็กสามารถพูดตามได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 45  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้ลูกน้อยสามารถพูดออกมาได้เป็นคำๆ และรู้จักความหมายของคำที่พูดออกมาแล้ว สมองจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความสามารถในการใช้เหตุผลและการพูด พัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกน้อยสัปดาห์ที่ 45 ลุกขึ้นนั่งจากท่าคลานได้ หยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วมืออื่นๆ ดังนั้นควรเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายให้พ้นมือเด็ก เข้าใจคำว่า “ไม่” แต่ก็ไม่ได้เชื่อฟังเสมอไป ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยในช่วงวัยนี้จะเลียนเสียงคำต่างๆ และการทำเสียงสูงเสียงต่ำ เขาอาจทำตามคำสั่งง่ายๆ อย่างเช่น “หยิบลูกบอลให้แม่หน่อย” หรือ”หยิบช้อนขึ้นมาลูก” พ่อแม่สามารถช่วยให้เขาเรียนรู้ได้ดีขึ้น ด้วยการแยกคำสั่งที่ซับซ้อนให้เหลือเพียงคำสั่งง่ายๆ แค่ขั้นตอนเดียว พร้อมกับใช้ท่าทางประกอบคำสั่งนั้นด้วย สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์ส่วนใหญ่มักไม่ได้นัดหมายการตรวจสุขภาพของลูกน้อยเดือนนี้ เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ไม่ชอบให้อุ้ม ในระหว่างที่ไปพบคุณหมอ เด็กบางคนที่มีอาการกลัวคนแปลกหน้า อาจไม่อยากพบหมอ ไม่ว่าคุณหมอจะใจดีหรือเป็นมิตรเพียงใดก็ตาม จึงควรใช้วิธีโทรปรึกษาคุณหมอ ถ้าคุณมีความกังวลใดๆ ที่รอให้ถึงวันนัดครั้งต่อไปไม่ได้ สิ่งที่ควรรู้ ลูกสามารถเดินได้แล้ว คุณอาจจะสังเกตว่าขาของเขาไม่ตรง หัวเข่าอาจดูเหมือนบิดเข้าหากัน ซึ่งอาการแบบนี้เรียกว่า ‘ขาโก่ง’ คุณไม่ควรต้องเป็นกังวลมากเกินไป ลูกของคุณจะเริ่มไม่อยู่นิ่ง และเคยชินกับการเดินและวิ่ง ซึ่งจะทำให้ขาแข็งแรงขึ้น และนี่คือข้อมูลที่อาจจะช่วยคุณได้ ขาโก่ง ใครๆ ก็อาจจะเคยมีอาการ ขาโก่ง มาก่อน แม้แต่นางแบบบนแคทวอล์คก็อาจเคยมีอาการขาโก่งเช่นกัน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27 หรือประมาณ 6 เดือน เป็นช่วงที่ทารกเริ่มที่จะสามารถยืนขึ้นได้ด้วยตัวเอง โดยการยึดเกาะสิ่งรอบตัว และการมีพัฒนาการด้านการพูดเล็กน้อย เริ่มเปร่งเสียงอ้อแอ้ได้เป็นคำ ๆ ที่ไม่มีความหมาย ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพฟันของลูก โดยการแปรงฟันและทำความสะอาดคราบเศษอาหารที่ติดอยู่ในช่องปากให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาช่องปากและฟันในทารก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 27  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กสัปดาห์ที่ 27 ยืนได้ด้วยการจับยึดกับคนหรือของอื่นๆ แสดงอาการขัดขืนเมื่อพยายามจะแย่งของเล่นของเขา พยายามหยิบจับของเล่นที่เอื้อมไม่ถึง ส่งของจากมือหนึ่งข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่ง ควานหาของที่ทำตก ใช้นิ้วมือหยิบของเล็กๆ ขึ้นมาได้ และกำไว้ในมือ ดังนั้นพ่อแม่ควรเก็บของที่เป็นอันตรายให้พ้นมือลูก พูดอ้อแอ้ด้วยการผสมสระกับวรรณยุกต์เข้าด้วยกัน อยากจะกินอาหารแบบที่ใช้มือหยิบกินได้ กินแครกเกอร์หรืออาหารอื่น ๆ ที่ใช้มือถือไว้ได้ด้วยตัวเอง ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยอาจบอกว่าเขาพร้อมจะลองใช้มือหยิบอาหารขึ้นมากิน ด้วยการแย่งช้อนหรือคว้าอาหารในจาน อาจจะลองแบ่งอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ 4-5 ชิ้น วางในถาดอาหารสำหรับเด็กหรือในจานที่ตกไม่แตก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสำลักอาหาร ทางที่ดีควรป้อนอาหารในขณะที่เขานั่งตัวตรงบนเก้าอี้หรือที่นั่งสำหรับเด็ก ลูกน้อยอาจเจริญอาหารมากแต่ยังไม่มีฟันเคี้ยว ฉะนั้นจึงควรเริ่มจากอาหารที่ใช้เหงือกเคี้ยวได้ หรือละลายได้ง่ายในปาก พอลูกน้อยโตขึ้นก็ค่อยเปลี่ยนมาเป็นอาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ควรหาหนังสือให้ลูกน้อยอ่าน เพื่อฝึกทักษะทางด้านภาษาของเด็ก และช่วยให้เขารักการอ่านมากขึ้น ลูกอาจไม่มีความอดทนพอจะนั่งฟังอ่านหนังสือให้เขาฟัง แต่อย่าเพิ่งเลิกทำง่ายๆ ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าไร การอ่านจะช่วยให้เขาได้มีทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษที่ดี สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร แพทย์จะทำการตรวจสอบทางร่างกายโดยรวม โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของลูกน้อย แพทย์หรือพยาบาลจะตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ทั้งหมดหรือบางรายการ ฉีดวัคซีนให้เป็นครั้งที่สาม […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26 หรือประมาณ 6 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถนั่งได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนช่วย สามารถมองหันไปตามทิศทางของเสียงได้ และอาจเริ่มเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มให้ลูกกินอาหารอย่างอื่นนอกจากนม โดยควรเป็นอาหารที่สุก นิ่ม และมีขนาดเล็ก เช่น ข้าวบด กล้วยบด ไข่แดงบด ให้เสริมกับการกินนม เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอื่นเพิ่มมากขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 26  ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด้กสัปดาห์ที่ 26 ใช้สองขารับน้ำหนักตัวได้มากขึ้นเวลาที่ถูกจับให้ยืนตรง นั่งได้โดยไม่ต้องให้ใครช่วย หันไปตามทิศทางของเสียงที่ได้ยิน ทำอะไรตลก ๆ ด้วยการพ่นน้ำลาย ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกอาจจะชอบใช้มือข้างหนึ่งไปซักพัก แล้วเปลี่ยนไปใช้มืออีกข้างหนึ่ง แต่อาจจะยังบอกไม่ได้ว่าลูกน้อยถนัดมือข้างไหน จนกว่าลูกจะอายุได้ 2-3 ขวบ พ่อ คุณแม่ไม่ควรบังคับเรื่องการใช้มือข้างขวาหรือซ้ายกับลูก เพราะมือข้างที่ถนัดนั้นถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์แล้ว ถ้าบังคับให้ลูกใช้มือข้างที่ไม่ถนัด จะทำให้เกิดความสับสนและนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ในภายหลัง เช่น ตาและมือทำงานไม่ประสานกัน เกิดปัญหาเรื่องความคล่องแคล่ว และมีผลกระทบต่อความสามารถในการเขียนหนังสือในภายหลัง ถ้าต้องการสอนภาษามือให้ลูกน้อย ตอนนี้ก็ถือเป็นโอกาสอันดี การช่วยให้ลูกน้อยมีเครื่องมือในการแสดงออก จะทำให้ลูกคลายความอึดอัดลงได้ เริ่มต้นด้วยการใช้มือส่งสัญญาณคำง่าย ๆ เช่น “หนังสือ” คุณแม่อาจทำท่าหงายฝ่ามือสองข้างแล้วเกาะเกี่ยวไว้ด้วยกัน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 43 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 43 ช่วงนี้ลูกน้อยอาจสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เช่น การยืน การเดิน การแต่งตัว โดยมีผู้ปกครองคอยช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ อีกทั้งอาจมีความซุกซน ชอบกัดชอบจับสิ่งของต่าง ๆ ตามประสาเด็ก ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด และคอยสังเกตอาการผิดปกติ เนื่องจากเด็กอาจเจ็บป่วยจากเชื้อโรคต่าง ๆ รอบตัวได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 43 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ลูกน้อยอาจเริ่มมีการพัฒนาในเรื่องของการช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น แต่ยังคงต้องการให้คุณพ่อคุณแม่คอยช่วยเขาอยู่ข้าง  ๆ เช่น การเดินในขณะที่จูงมือเขาไปด้วย หรือมีการยื่นแขน และขาเพื่อช่วยให้แต่งตัวให้เขาได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน หากลูกรักมีการเติบโตอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้พวกเขานั้นเริ่มหยิบจับแก้วน้ำ ช้อน ตักอาหารด้วยตัวเองได้ แต่ก็คงยังมีการเคลื่อนไหวไม่แข็งมากซึ่งอาจใช้เวลาสักระยะพร้อมกับการฝึกฝนจึงจะสามารถทำให้พวกเขานั้นทานอาหารเองได้อย่างคล่องขึ้น โดยส่วนมากพวกเขามักจะเผยพฤติกรรมต่อไปนี้ ที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ถึงกับตื้นตันใจ ร่วมด้วย ยืนด้วยตัวเองได้ชั่วขณะ พูดคำว่า  “มาม๊า” อย่างรู้ความหมาย ชี้ไปที่บางสิ่งเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ทารกจะตั้งใจ ทิ้งสิ่งของเพื่อให้ใครบางคน ซึ่งก็อาจจะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่ เก็บมันขึ้นมา หากรู้สึกเหนื่อย กับเกมส์ทิ้งสิ่งของ ก็อาจจำเป็นต้องนำสิ่งของออกไปห่าง  ๆ ซัก 2-3 นาที แล้วหาอะไรมาเบี่ยงเบนความสนใจจากลูกน้อยแทน อย่างการเล่นกับลูกรักโดยไม่ใช้อุปกรณ์ เช่น การเล่นจ๊ะเอ๋ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน