เด็กวัยเรียน

เด็กวัยเรียน (7-15 ปี) เป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะต้องเริ่มใช้ชีวิตในสังคมใหม่ นั่นก็คือ สังคมโรงเรียน แถมการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ก็อาจทำให้พวกเขาไม่รู้ว่าจะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างไรดี แต่เรามีคำตอบมาให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กวัยเรียน

เด็กเครียด สังเกตยังไง สัญญาณและวิธีป้องกัน

ความเครียด เป็นปัญหาที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย รวมไปจนถึงวัยเด็ก การที่ 'เด็กเครียด' อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งเรื่องครอบครัว เพื่อน การเรียน และความต้องการบางอย่างที่ไม่เป็นดังหวัง ซึ่งหากสะสมไว้มากเข้าอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและการเรียนได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงคอยสังเกตสัญญาณความเครียดในเด็กและหาแนวทางป้องกันที่เหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กเครียด สังเกตยังไง อาการที่อาจบ่งบอกความเครียดในเด็ก มีดังนี้  อาการทางกาย เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไม่มีแรง คลื่นไส้  ปวดหัว นอนไม่หลับ วิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หัวใจเต้นแรง น้ำหนักตัวลดหรือขึ้นจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป อาการทางใจ อารมณ์แปรรวน หงุดหงิดง่าย หรือร้องไห้บ่อยขึ้น แสดงอาการก้าวร้าว ไม่เชื่อฟัง วิตกกังวล ติดผู้ปกครองมากขึ้น ไม่ยอมอยู่ห่างจากพ่อแม่ ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกับครอบครัวและในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนอาจมีวิธีการแสดงออกถึงความเครียดในวัยเรียนที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองควรรู้จักสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูก และพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เพื่อจะได้ตรวจพบสัญญาณความเครียดของลูกได้ สาเหตุที่ทำให้เด็กเครียด ความเครียดในเด็ก อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนี้ ความเครียดเรื่องการเรียน การบ้าน คุณครู และการถูกลงโทษ ความเครียดจากการย้ายที่อยู่ หรือต้องปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ความเครียดจากครอบครัว ความขัดแย้ง การทะเลาะเบาะแว้ง การหย่าร้าง […]

หมวดหมู่ เด็กวัยเรียน เพิ่มเติม

ช่วงวัยเรียน

สำรวจ เด็กวัยเรียน

โภชนาการเด็กวัยเรียน

เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นอย่างไร

เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายและอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็ก และส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา ซึ่งส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนที่เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ [embed-health-tool-bmi] เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นอย่างไร เมนูอาหารวัยเรียน 6-12 ปี ควรอุดมไปด้วยอาหารที่หลากหลายและมีสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ เพื่อช่วยส่งเสริมทั้งการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางระบบประสาท ที่ส่งผลดีต่อสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียน 6-12 ปี ดังนี้ วิตามินและแร่ธาตุ พบได้จากผักและผลไม้ทุกชนิด เช่น ผักใบเขียว ผักกาด บร็อคโคลี่ แครอท พริกหยวก ผักปวยเล้ง ผักโขม คะน้า ส้ม มะละกอ แตงโม สับปะรด แอปเปิ้ล องุ่น ลูกพรุน ลูกแพร์ กล้วย เบอร์รี่ โดยวิตามินและแร่ธาตุเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาทในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และยังอาจช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อหรือโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ ผักและผลไม้ยังอุดมไปด้วยใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพระบบย่อยอาหารและลำไส้ ซึ่งอาจช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ เด็กวัยเรียนจึงควรรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 5 ส่วนบริโภค/วัน เช่น กล้วยขนาดกลาง แอปเปิ้ล ส้ม ลูกพีช 1 ลูก […]


เด็กวัยเรียน

ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ และพัฒนาการฟันเด็กที่ควรรู้

คนเรามีฟัน 2 ชุด ชุดแรก คือ ฟันน้ำนม ชุดที่ 2 คือ ฟันแท้หรือฟันถาวร คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ โดยทั่วไปแล้ว ฟันแท้ของเด็กจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6-7 ขวบ หลังจากที่ฟันน้ำนมหลุดออกไป และจะใช้เวลาหลายปีกว่าฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมจนครบจำนวน 28-32 ซี่ ส่วนใหญ่ฟันแท้จะขึ้นครบตอนอายุประมาณ 21 ปี คุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนให้เด็กใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้ดีอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ฟันผุหรือแตกหักก่อนเวลา เพื่อให้ฟันแท้ที่งอกใหม่มีสภาพสมบูรณ์ ลดปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน [embed-health-tool-bmi] ประเภทของฟัน มีอะไรบ้าง ฟันแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ ฟันหน้า (Incisors) เรียกอีกอย่างว่า ฟันตัด เป็นฟันที่อยู่ด้านหน้าขากรรไกร มีลักษณะคมและบาง ทำหน้าที่กัด ตัด และฉีกอาหารชิ้นใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ฟันเขี้ยว (Canines) ฟันซี่แหลมที่อยู่ติดกับฟันหน้า มีรากหนาและยาวที่สุด จึงยึดกับกรามได้เหนียวแน่นที่สุด ทำหน้าที่กัดและตัดอาหาร ฟันกรามน้อย (Premolars) ฟันที่มีสันกว้าง แบน พื้นผิวเรียบ อยู่ถัดจากฟันเขี้ยว ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ฟันกราม (Molar) […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

อาหารว่าง เด็ก ที่เหมาะสม มีอะไรบ้าง

เด็กวัยเรียน เป็นวัยสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและทางสติปัญญา จึงควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น นอกจากอาหารมื้อหลักแล้ว อาหารว่าง เด็ก ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ โดยอาหารว่างควรเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มพลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์ให้กับร่างกาย เพื่อช่วยให้เด็กมีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน เช่น เรียน ทำการบ้าน วิ่งเล่น เล่นกีฬา รวมถึงอาจช่วยลดความหิวระหว่างวันได้ด้วย อาหารว่าง เด็ก ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียนอาจมีความอยากอาหารตลอดทั้งวัน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายและสมองกำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานมากขึ้น การเสริมอาหารว่างที่หลากหลายและมีสารอาหารที่ครบถ้วนให้กับเด็กในปริมาณที่พอเหมาะ หรือประมาณ 2-3 มื้อ/วัน อาจช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยลดความหิวระหว่างวันได้ ส่งผลให้เด็กมีสมาธิมากขึ้นในการเรียนและทำการบ้าน มีแรงในการวิ่งเล่น เล่นกีฬา หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่จึงควรจัดเตรียมอาหารว่างเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับเด็กวัยเรียน โดยอาจจัดเตรียมตามเมนูตัวอย่างต่อไปนี้ ผักและผลไม้สดหั่นพอดีคำ เช่น ส้ม กล้วย บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิ้ล แตงโม แครอท แตงกวา มะเขือเทศ โยเกิร์ตผสมผลไม้ต่าง ๆ หรือธัญพืชและถั่ว ขนมปังโฮลเกรนปิ้งโรยหน้าด้วยผลไม้ต่าง ๆ หรือธัญพืชและถั่ว ขนมปังโฮลเกรนปิ้งทาด้วยเนยถั่ว ครีมชีส โยเกิร์ต ทูน่ากระป๋อง […]


เด็กวัยเรียน

เกมสำหรับเด็ก วัยเรียน เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการอย่างเหมาะสม

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่เหมาะในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เนื่องจากสมองและร่างกายกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ นอกจากการเรียนหนังสือแล้ว การให้เด็กได้ทำกิจกรรมอย่าง เกมสำหรับเด็ก ที่เหมาะกับเด็กวัยเรียน เช่น เกมเก้าอี้ดนตรี เกมวิ่งไล่จับ เกมซ่อนหา เกมต่อจิกซอว์ ยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย กระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะด้านสังคม ทักษะด้านความคิด ของเด็กได้เป็นอย่างดี ทั้งยังให้ความเพลิดเพลินและช่วยให้เด็กได้คลายเครียดด้วย โดยเด็กจะเริ่มเล่นรวมกับผู้อื่นได้ตั้งแต่อายุ 3 ปี และเริ่มเล่นอย่างมีกติกาได้ตั้งแต่อายุ 5 ปี เกมสำหรับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน เกมสำหรับเด็ก ที่อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กวัยเรียนได้ อาจมีดังนี้ 1. เกมที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเข้าสังคม เด็กในวัยเรียนมักเข้าสังคมและใช้เวลาร่วมกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ การเล่นเกมร่วมกันจะทำให้เด็กได้เรียนรู้กฎระเบียบข้อตกลงที่มีร่วมกันในสังคม ได้ฝึกการใช้เหตุผลเมื่ออยู่ในสังคม และเรียนรู้ที่จะยอมรับผลแพ้ชนะผ่านการเล่นเกม เกมที่อาจช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านสังคมให้กับเด็ก มีดังนี้ เกมส่งต่อมันร้อน ให้เด็ก ๆ นั่งล้อมวงกันเป็นวงกลมพร้อมเปิดเพลงประกอบ จากนั้นให้เด็กผลัดกันส่งต่อมันร้อน (อาจเป็นลูกบอลหรือกระดาษที่ขยำเป็นก้อนกลม) ไปให้คนข้าง ๆ เรื่อย ๆ ให้เร็วที่สุด จนกว่าเสียงดนตรีจะหยุด หากเพลงหยุดแล้วผลมันร้อนอยู่ที่ใคร คนนั้นต้องออกจากวงกลมไป เล่นไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเหลือผู้เล่นคนสุดท้าย ซึ่งจะกลายเป็นผู้ชนะของเกมนี้ เกมเก้าอี้ดนตรี เป็นเกมที่ใช้อุปกรณ์เป็นเก้าอี้และเสียงเพลง โดยจัดวางเก้าอี้หลายตัวเป็นวงกลม หันส่วนที่นั่งออกด้านนอกในลักษณะที่หันหลังชนกันเป็นวงกลม ให้เก้าอี้มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนผู้เล่น 1 […]


เด็กวัยเรียน

บูลลี่ ผลเสียต่อสุขภาพ และวิธีรับมือเมื่อโดนบูลลี่

บูลลี่ คือ การกลั่นแกล้ง ให้ร้าย ระราน หรือคุกคามที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของผู้อื่น เช่น ทำให้ทุกข์ใจและเจ็บปวด ทำให้ได้รับบาดเจ็บ การบูลลี่เป็นปัญหาความรุนแรงในสังคมที่พบได้ทั่วไป อาจแบ่งได้เป็นการกลั่นแกล้งทางวาจา เช่น การดูหมิ่นเหยียดหยามด้วยคำพูด ทางร่างกาย เช่น การทำร้ายทางร่างกาย ทางสังคม เช่น การกีดกันทางสังคม และในโลกไซเบอร์ เช่น การรุมประจานในโซเชียลมีเดีย  ซึ่งอาจกระทบต่อพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม จิตใจ ไปจนถึงบุคลิกของเด็กในอนาคต ทั้งนี้ ควรศึกษาผลเสียต่อสุขภาพและวิธีการรับมือที่เหมาะสมเมื่อโดนบูลลี่ เพราะอาจช่วยลดปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาจากการบูลลี่ หรือการโดนบูลลี่ได้ [embed-health-tool-bmr] การบูลลี่ คืออะไร การบูลลี่ (Bullying) คือ พฤติกรรมกลั่นแกล้ง เหยียดหยาม ให้ร้าย คุกคาม ทำร้ายร่างกายและจิตใจของคนอื่น เป็นต้น เนื่องจากผู้กระทำอาจต้องการรู้สึกเหนือกว่าหรือมีอำนาจมากกว่า เและรู้สึกสุขใจเมื่อเห็นผู้อื่นหรือผู้ที่โดนบูลลี่เป็นทุกข์ รู้สึกไม่มีความสุข คิดว่าตัวเองไร้ค่า มีบาดแผลในใจ ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น การโดนบูลลี่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ใหญ่ขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า ภาวะอยากฆ่าตัวตาย และอาจบ่มเพาะบุคลิกภาพในทางลบ เช่น กลายเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง มีความก้าวร้าวแอบแฝง และมีความนับถือตัวเองต่ำ […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น เป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นเมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น มักเริ่มต้นเมื่อลูกอายุประมาณ 8-14 ปี ไปจนถึงอายุ 18 หรือ 20 ต้น ๆ ช่วงวัยนี้เป็นช่วงรอยต่อจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลอย่างเหมาะสม เช่น ดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วน เสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูก สอนให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อร่างกายตัวเอง สอนการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อให้วัยรุ่นมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และการเข้าสังคม อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกวัยรุ่นมีปัญหาพัฒนาการทางร่างกาย ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อจะได้หาวิธีรักษา ซึ่งอาจช่วยให้วัยรุ่นมีพัฒนาการและการเติบโตที่เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-ovulation] การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น ในช่วงนี้ลูกมีพัฒนาการทั้งภายนอกและภายในร่างกาย เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ฮอร์โมนเพศหญิงได้แก่ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น เช่น น้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ความแข็งแรงที่เพิ่มมากขึ้น เสียงแตกหนุ่ม การมีประจำเดือน ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก่อนผู้ชาย โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นผู้ชายและผู้หญิงที่พบได้ อาจมีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นผู้ชาย ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ชายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตอนอายุประมาณ 9-16 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่มักช้ากว่าผู้หญิงประมาณ 2 ปี […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

รักการอ่าน ประโยชน์ และวิธีฝึกลูกให้รักการอ่าน

การอ่าน เป็นหนึ่งในวิธีส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย ระบบประสาทและสมอง สติปัญญา จิตใจและอารมณ์ ที่เหมาะสมกับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันด้วย ยิ่งคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูก รักการอ่าน ได้เร็วเท่าใด ก็อาจยิ่งส่งผลให้ลูกมีสุขภาพดี และใช้ชีวิตในสังคมได้ง่ายขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การฝึกทักษะการอ่านให้ลูกอาจต้องคำนึงถึงช่วงวัยและความสนใจของลูกด้วย เพื่อให้ลูกรู้สึกสนุกกับการอ่าน ไม่รู้สึกกดดันเกินไป และรักการอ่านได้ในที่สุด ประโยชน์ของการรักการอ่าน การฝึกให้ลูกรักการอ่าน อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพและทักษะในการใช้ชีวิตของลูก ดังนี้ ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองและระบบประสาท เด็กที่อ่านหนังสือเป็นประจำ อาจมีพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทที่เติบโตสมวัย โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ในวารสาร Brain Connectivity เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลระยะสั้นและระยะยาวของการอ่านนวนิยายต่อการทำงานของสมอง โดยให้กลุ่มตัวอย่างเข้ารับการสแกนสมอง จากนั้นหยุดอ่านหนังสือใด ๆ เป็นเวลา 5 วัน ก่อนจะเริ่มอ่านนิยายวันละ 1/9 ของเนื้อหาทั้งหมดในช่วงเย็นติดต่อกันเป็นเวลา 9 วัน เมื่ออ่านนิยายจบแล้ว ก็ให้หยุดอ่านอีก 5 วัน ผลปรากฏว่า สมองแต่ละส่วนสามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะสมองที่เกี่ยวข้องกับการจับใจความ และความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่น (Perspective-taking) ซึ่งความสามารถดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้ลูกรู้จักใส่ใจหรือเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น ช่วยให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ได้ดีขี้น การอ่านหนังสือเป็นประจำและหลากหลาย อาจช่วยให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ และมีคลังคำศัพท์ไว้ใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่า ยิ่งอ่านมากเท่าไหร่ […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

พัฒนาการทางด้านจิตใจ ของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี

พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี มักมีความเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางร่างกายที่เติบโตขึ้น บางคนอาจเริ่มให้ความสนใจด้านการเรียน เพศตรงข้าม หรือให้ความสำคัญกับเพื่อน จนทำให้อาจห่างเหินจากครอบครัว และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น วิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย การเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กวัยนี้ รวมถึงสัญญาณเตือนถึงปัญหาทางด้านจิตใจ อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือและดูแลลูกได้อย่างเหมาะสม พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี อาจมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สุขภาพ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น สังคม เศรษฐกิจ การเรียน เพื่อน ครอบครัว พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กช่วงอายุ 9-12 ปี อาจมีดังนี้ อยากรู้อยากลองสิ่งใหม่ ๆ มีความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจในสิ่งที่แปลกใหม่ และอาจตั้งคำถามบ่อยครั้ง มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ชอบการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อพัฒนาตัวเอง เช่น ทักษะการเล่นกีฬา การวาดรูป ทดลองวิทยาศาสตร์ แต่งบทประพันธ์ ต้องการอิสระในการตัดสินใจลงมือทำด้วยตัวเอง มีความสนใจในเพศตรงข้าม และเริ่มเปลี่ยนบุคลิกภาพตัวเองให้เป็นที่น่าดึงดูด อาจมีอารมณ์แปรปรวนง่าย อารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ จากมีความสุขหัวเราะ อาจเปลี่ยนเป็นเศร้าภายในไม่กี่นาที […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน มีความสำคัญอย่างไร

แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทั้งยังสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน การเต้นของหัวใจ ดังนั้น การรู้ถึงความสำคัญของแคลเซียม อาจช่วยให้พ่อแม่ส่งเสริมสุขภาพของเด็กวัยเรียนให้ดียิ่งขึ้น แคลเซียมสำหรับเด็กวัยเรียน สำคัญอย่างไร วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง หากไม่มีการสะสมเพิ่มเติมแคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกเพื่อใปใช้ในส่วนอื่น ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปกระดูกจะอ่อนแอลงและเปราะบาง ซึ่งอาจส่งผลต่อโรคกระดูกพรุนในอนาคตได้ นอกจากนี้ แคลเซียมยังมีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่น ๆ เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน การเต้นของหัวใจ ปริมาณแคลเซียมที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ       ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับอาจแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ มีดังนี้ เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน ประมาณ 2-3 มื้อ เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน ประมาณ 2-3 มื้อ เด็กและวัยรุ่นอายุ 9-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม/วัน ประมาณ 4 […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกกินไฟเบอร์ ได้มากแค่ไหน และแหล่งไฟเบอร์สำหรับเด็ก

ไฟเบอร์เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่เด็กบางคนอาจมีปัญหาไม่ชอบกินผักจนทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าจะทำอย่างไรให้ ลูกกินไฟเบอร์ ได้เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายต้องการ โดยแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ไม่ได้มีแต่ผักใบเขียวเพียงอย่างเดียว คุณพ่อคุณแม่จึงอาจไม่จำเป็นต้องบังคับให้ลูกกินผักเสมอไป แต่อาจให้ลูกกินพืชตระกูลถั่วและผลไม้ที่อุดมด้วยไฟเบอร์ทดแทนได้ ลูกกินไฟเบอร์ สำคัญอย่างไร การให้ลูกกินไฟเบอร์ที่เป็นเส้นใยจากพืชอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งบางชนิด และช่วยให้อาหารเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารได้ดีขึ้น ส่งเสริมการการทำงานของลำไส้และป้องกันอาการท้องผูก ทั้งยังอาจทำให้ลูกรู้สึกอิ่มนานขึ้น ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการควบคุมน้ำหนัก ลูกกินไฟเบอร์ ได้มากแค่ไหน ปริมาณไฟเบอร์ที่ร่างกายต้องการอาจแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ดังนี้ เด็กอายุ 1-3 ปี ต้องการไฟเบอร์ 19 กรัม/วัน เด็กอายุ 4-8 ปี ต้องการไฟเบอร์ 25 กรัม/วัน เด็กชายอายุ 9-13 ปี ต้องการไฟเบอร์ 31 กรัม/วัน เด็กผู้หญิงอายุ 9-13 ปี ต้องการไฟเบอร์ 26 กรัม/วัน เด็กชายอายุ 14-19 ปี ต้องการไฟเบอร์ 38 กรัม/วัน เด็กผู้หญิงอายุ 14-19 ปี ต้องการไฟเบอร์ 26 กรัม/วัน แหล่งอาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ ไฟเบอร์พบได้ในพืชทุกชนิด แต่ปริมาณของไฟเบอร์อาจแตกต่างกันไป โดยแหล่งอาหารที่มีไฟเบอร์สูง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน