พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

สุขภาพเด็ก

อาหารสำหรับเด็ก ที่อุดมไปด้วยโภชนาการ

อาหารสำหรับเด็ก ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ อาจช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและสุขภาพร่างกายที่ดีให้กับเด็ก เด็กและวัยรุ่นควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ แต่เด็กในแต่ละช่วงวัยมีความต้องการสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่แตกต่างกันไป คุณพ่อและคุณแม่จึงควรเลือกสรรอาหารที่เหมาะสมให้กับลูก เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างสมวัย [embed-health-tool-”bmi”] อาหารสำหรับเด็ก ที่มีประโยชน์ มีอะไรบ้าง อาหารสำหรับเด็ก ที่มีประโยชน์ มีอะไรบ้าง 1. โปรตีน  โปรตีนอาจช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อภายในร่างกายให้เด็ก ๆ โดยอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อสัตว์ปีก ไข่ ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน 2. ผัก  ผักหลากหลายชนิด เช่น กลุ่มผักสีเขียว สีแดง สีส้ม และถั่วลันเตาล้วนอุดมไปด้วยแร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินจากธรรมชาติ ที่อาจช่วยปรับปรุงระบบทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวน โรคสมองเสื่อมในเด็ก 3. ผลไม้  ผลไม้สด หรือน้ำผลไม้สด 100% ปราศจากน้ำตาล มีวิตามิน แร่ธาตุ เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ  ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ มะเร็ง โรคเบาหวาน โดยผลไม้ที่อาจให้วิตามินสูง […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ของเล่นเสริมพัฒนาการ สำคัญอย่างไร

ของเล่นเสริมพัฒนาการ เป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะด้านร่างกาย การเรียนรู้ อารมณ์และสังคมได้อย่างสนุกสนาน ช่วยสร้างคุณค่าในตนเอง ทำให้เด็กรู้สึกถึงความสามารถและรู้สึกดีกับตัวเอง โดยของเล่นเสริมพัฒนาการอาจแบ่งเป็นของเล่นกิจกรรมสร้างสรรค์และเสริมการเรียนรู้ ซึ่งความยากง่ายและรูปแบบของเล่นอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และพัฒนาการที่เหมาะสมในช่วงวัยนั้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ของเล่นเสริมพัฒนาการสำคัญอย่างไร การเล่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กทุกช่วงวัย เนื่องจากช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทั้งทางด้านสุขภาพกายใจ การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและเพื่อนฝูง เด็กจะใช้จินตนาการเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน เคารพและเข้าใจการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ผ่านการเล่น จากงานวิจัย The Efficiency of Infants’ Exploratory Play Is Related to Longer-Term Cognitive Development 2018 ระบุว่า การเล่นเชิงสำรวจในวัยเด็กมีส่วนช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ทักษะทางสติปัญญา อารมณ์และสังคม นอกจากนี้ ยังช่วยพัฒนาความฉลาดทางสติปัญญาหรือไอคิว (IQ) ของเด็กในด้านต่าง ๆ เช่น ความสามารถทางการพูดและการสื่อสาร ความจำและการแก้ปัญหา การเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยจะยิ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ เช่น เด็กวัยทารกรู้จักจ้องมอง ใช้กล้ามเนื้อหยิบจับสิ่งของ ฟังเสียงเพื่อเรียนรู้อารมณ์และความรู้สึก เด็กวัยหัดเดินรู้จักแก้ปัญหาผ่านของเล่นต่อภาพ เรียนรู้รูปทรงต่างๆ สร้างเสริมจินตนาการด้วยชุดของเล่นงานฝีมือ ประเภทของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างความสมดุลร่างกายและเสริมสร้างทักษะของเด็กอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ของเล่นการเรียนรู้ ได้แก่ หนังสือ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่ กับข้อสังเกตอื่น ๆ ที่คุณแม่มือใหม่ควรใส่ใจ

นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิดช่วงขวบปีแรก เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ย่อยง่าย และอ่อนโยนต่อระบบทางเดินอาหารของลูกน้อย นอกจากเรื่องประโยชน์ของนมแม่แล้ว ยังมีข้อสังเกตอื่น ๆ เกี่ยวกับนมแม่ที่คุณแม่มือใหม่ควรศึกษา เช่น ปริมาณน้ำนมที่ลูกควรได้รับ คุณภาพน้ำนมแม่ อาหารสำหรับหญิงให้นมบุตร เป็นต้น ประโยชน์นมแม่ นมแม่เต็มไปด้วยคุณค่าสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก มีวิตามินครบเกือบทุกชนิด รวมทั้งโปรตีน ไขมัน เกลือแร่งต่าง ๆ และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก  มีภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้ร่างกายของทารกแข็งแรงต้านทานเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ ที่สำคัญย่อยง่ายและโอกาสเสี่ยงต่ำที่ทารกจะแพ้นมแม่ รวมทั้งมักมีน้ำหนักตามเกณฑ์ และลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และป้องกันทารกจากโรคไหลตายในเด็ก หรือ SIDS อีกด้วย ปริมาณนมแม่ที่ลูกน้อยควรได้รับ โดยปกติแล้ววทารกช่วง 1-3 เดือนแรก มักดื่มนมทุก 3-4 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 3-4 ออนซ์ เฉลี่ย 8 ครั้งต่อวัน หรือเฉลี่ยวันละ 24-32 ออนซ์ (100-150 มิลลิลิตร/กิโลกรัม) ซึ่งปริมาณนมจะเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักตัว กระทั่งอายุครบ 6 เดือนอาจเริ่มมีอาหารชนิดอื่นเข้ามาเสริม เป็นอาหารเสริมตามวัย ทำให้อาจลดปริมาณนมแม่ลง สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยได้นมแม่ไม่เพียงพอ เมื่อลูกน้อยได้กินนมแม่ทุก ๆ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

วัยทารก กับเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

วัยทารก เป็นวัยที่สำคัญของพัฒนาการทางร่างกาย สมอง สติปัญญา สังคม และอารมณ์ ผ่านการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและการฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ตามช่วงอายุอย่างเหมาะสม โดยพ่อแม่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของทารก การดูแลทางร่างกายและโภชนาการอาหาร การป้องกันปัญหาสุขภาพทารกและการดูแลรักษาความปลอดภัยทั้งร่างกายและชีวิต [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยทารก พัฒนาการที่สำคัญ วัยทารก คือ วัยตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 1 ปี ในช่วงวัยนี้นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและร่างกาย เป็นวัยแห่งการเรียนรู้และฝึกฝนจากสิ่งรอบตัวโดยเฉพาะจากพ่อแม่ เนื่องจาก วัยทารก ต้องการความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่ในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของทารกให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาการที่สำคัญของวัยทารก คือ การฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การยิ้มครั้งแรก การโบกมือ การเดินก้าวแรก โดยเรียนรู้ผ่านการพูด พฤติกรรมพ่อแม่ หรือคนรอบตัว ซึ่งทารกอาจแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ โต้ตอบด้วยการพูด เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การชี้มือเพื่อสื่อสาร คลาน เดิน กระโดด ล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่เกิดขึ้นตามลำดับของพัฒนาการทารก โดยทารกแต่ละคนอาจมีพัฒนาการเร็วช้าแตกต่างกันไป ในขวบปีแรก ทารกจะมีพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาอย่างรวดเร็ว เป็นกระบวนการเรียนรู้ด้านภาษา ความคิด การใช้เหตุผลและความจำ ทารกอาจเริ่มพูดเพื่อสื่อสารถึงอารมณ์หรือความต้องการในขณะนั้น โดยอาจพูดโต้ตอบไม่เป็นคำหรืออาจพูดเป็นคำสั้น ๆ เช่น กิน หิว แม่หรือพ่อ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ทารก1เดือน พัฒนาการ และการดูแล

ทารก1เดือน อยู่ในช่วงขวบปีแรก ที่ออกจากท้องของมารดามาเผชิญกับโลกภายนอก หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในท้องถึง 9 เดือน ถึงแม้ว่าทารกจะมีอายุเพียง 1 เดือน แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตถึงพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้จากปฏิกิริยาการตอบสนอง เช่น การดูดนม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น สะดุ้งตกใจเสียงรอบด้าน ซึ่่งนับว่าเป็นสัญญาณเตือนที่ดีที่บ่งบอกได้ว่า ทารกของคุณพ่อคุณแม่กำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการของ ทารก1เดือน พัฒนาการของทารก1เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้การเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ พัฒนาการทางกายภาพ ทารกอาจมีการตอบสนองตามธรรมชาติ เช่น การดูดนมแม่ด้วยตัวเอง เพียงแค่คุณแม่ช่วยเหลือเล็กน้อยด้วยการนำหัวนมใส่เข้าปากทารก ทารกอาจได้ยินเสียงที่ชัดเจนจนสามารถกางแขนกางขาเวลาสะดุ้ง  นอกจากนี้ ทารกยังมีสัญชาตญาณการเดินแม้จะอายุเพียง 1 เดือน โดยคุณแม่สังเกตได้ตอนอุ้มทารกยืน เพราะขาของทารกจะพยายามยืดทรงตัว หรือเหมือนพยายามก้าวไปข้างหน้า ทารกช่วงวัยนี้อาจมีการมองเห็นได้ดีในระยะ 2 ฟุต และชอบมองวัตถุที่มีสีสันตัดกัน เช่น ขาวดำ และอาจมองตามวัตถุที่อยู่ตรงหน้าหรือตามเสียงที่ได้ยิน ทารก 1 เดือนอาจมีกระดูกบริเวณคอที่ยังไม่แข็งแรง ไม่อาจตั้งศีรษะได้ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรประคองใต้ศีรษะทารกทุกครั้งที่เมื่ออุ้มขึ้น และกระตุ้นความแข็งตัวของกระดูกทารก โดยอาจให้ทารกนอนคว่ำบนที่นอนและพูดคุยกับทารก เพื่อให้ทารกเงยหน้า ตั้งศีรษะ และหันศีรษะไปในทิศทางตามเสียงที่ได้ยิน พัฒนาการด้านการสื่อสาร ทารก 1 เดือน อาจสื่อสารโดยการร้องไห้ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับรู้ ซึ่งการร้องไห้ของทารกอาจหมายถึงความไม่สบายตัว หิว ผ้าอ้อมเปียกชื้น ปกติทารกจะร้องไห้ระยะเวลาสั้น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก 3 เดือน และเคล็ดลับการเลี้ยงลูก

คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตความเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตและ พัฒนาการทารก 3 เดือน ได้ชัดเจนมากขึ้น ทารกวัย 3 เดือนจะเริ่มมีการตอบสนองมากขึ้น เช่น การยิ้ม แสดงกิริยาอยากพูดคุุย เริ่มมองตามสิ่งรอบตัวที่อยู่ตรงหน้า เพื่อกระตุ้นพัฒนาการให้ทารกอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ และการจดจำ คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาถึงวิธีการเลี้ยงดูลูกอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารก 3 เดือน พัฒนาการทารก 3 เดือนที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้ พัฒนาการด้านกายภาพ ทารกหลังคลอดอาจมีการสั่นของศีรษะเนื่องจากยังมีกระดูกและกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 3 กระดูกของทารกเริ่มแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะบริเวณคอที่เชื่อมกับศีรษะ ทำให้คอเริ่มแข็ง กล้ามเนื้อพัฒนามากขึ้นจึงเริ่มควบคุมศีรษะไม่ให้สั่นไปมาได้ อีกทั้งยังอาจมีการเตะแขนเตะขา เอามือทั้ง 2 ข้างเข้าหากันคล้ายผวา กำมือ เอื้อมมือเล่นของเล่น และอาจเริ่มพลิกตัวด้วยตัวเอง หากคุณพ่อคุณแม่อยากตรวจสอบพัฒนาการด้านกายภาพทารก อาจนำของเล่นยื่นให้ทารกเพื่อดูการตอบสนองว่าเริ่มเอื้อมหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ หรือไม่ พัฒนาการด้านการได้ยินและการมองเห็น เมื่อทารกได้ยินเสียงอาจเริ่มหันศีรษะหรือมองตามเสียงที่ได้ยิน เพราะทารกตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไปเริ่มมีการประสานงานของดวงตาได้ดีขึ้น และสามารถเริ่มจดจำรายละเอียดในสิ่งที่มองเห็นหรือได้ยินได้ การมองเห็นในช่่วงแรกทารกอาจจะเห็นได้ไม่ไกล ไม่ชัด ไม่สามารถแยกสีได้ ลักษณะที่เห็นอาจเป็นแค่สีขาวและสีดำ และต่อมาพัฒนาการมองเห็นเริ่มค่อย ๆ ชัดขึ้น มองเห็นสีต่าง ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มหาของเล่นที่มีสีสัน และให้ลูกจับถือ  […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กพิเศษ สังเกตอย่างไร และการดูแลที่เหมาะสม

เด็กพิเศษ หรือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ กลุ่มเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ การดูแล และการบำบัดฟื้นฟู แบ่งเป็น เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ และเด็กยากจนและด้อยโอกาส เด็กพิเศษควรได้รับการดูแลด้านร่างกาย การใช้ชีวิต การเรียนรู้ทางวิชาการและการเข้าสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพให้มากขึ้นตามความสามารถของเด็ก โดยการช่วยเหลือและการดูแลอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคนด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ประเภทของเด็กพิเศษ เด็กพิเศษแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ และเด็กยากจนและด้อยโอกาส ดังนี้ เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีปัญญาเลิศและมีความสามารถพิเศษ (Gifted or Talented Child) คือ เด็กที่มีความฉลาดและสติปัญญาที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มี IQ 130 ขึ้นไป มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถทำให้สำเร็จได้จริง รวมถึงเด็กที่มีความสามารถเฉพาะทางที่สูงกว่าปกติ เช่น ดนตรี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ศิลปะ กีฬา เด็กกลุ่มนี้ถือเป็นเด็กพิเศษที่ควรได้รับการสนับสนุนทางความสามารถ และอาจต้องได้รับการเยียวยาจิตใจ เพราะครอบครัว เพื่อนฝูงและที่โรงเรียน อาจคาดหวังในความสามารถและสติปัญหาที่เป็นเลิศ จนเด็กรู้สึกกดดันมาก หรือถูกละเลยความรู้สึก หรืออาจไม่ได้รับการดูแลทางร่างกายและจิตใจ […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กปฐมวัย พัฒนาการ แนวทางการดูแลที่เหมาะสม

เด็กปฐมวัย หรือเด็กช่วงก่อนวัยเรียนที่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 3-6 ปี เป็นอีกช่วงชีวิตของเด็กที่มีพัฒนาการ การเจริญเติบโต การเรียนรู้ที่ไวขึ้น อีกทั้งอาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูของคนในครอบครัว เพื่อดูแลเด็กปฐมวัยให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในวันข้างหน้าและมีสุขภาพที่ดี คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาแนวทางการเลี้ยงดูเด็กช่วงวัยนี้ รวมถึงโภชนาการอาหารที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่เด็กควรได้รับอย่างเหมาะสม พัฒนาการเด็กปฐมวัย พัฒนาการของเด็กปฐมวัย มีดังนี้ พัฒนาการด้านกายภาพ เด็กปฐมวัยมีการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว มีทักษะในการกระโดด วิ่ง ปีน และชอบทำกิจกรรมที่ใช้พลังงาน เช่น วิ่งเล่น ปั่นจักรยาน เตะบอล โยนลูกบอล ถึงอย่างไรระหว่างที่เด็กทำกิจกรรมคุณพ่อคุณแม่ควรคอยเฝ้าดู เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่อาจคาดการณ์ได้สำหรับพัฒนาการช่วงปฐมวัยแบ่งออกตามช่วงวัย ดังนี้ เด็กอายุ 3 ปี มักจะเริ่มมีจินตนาการ เริ่มวาดรูปคน วงกลมได้ เริ่มใช้กรรไกร หรือใช้สิ่งของเป็น ชอบเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ เริ่มรู้เพศตนเอง เด็กอายุ 4 ปี จะเริ่มวาดรูปสี่เหลี่ยม ใช้กรรไกรตัดเป็นเส้นตรง สามารถหยิบจับช้อนรับประทานข้าวได้เอง และรู้ถึงการสวมใส่เสื้อผ้าอย่างถูกต้อง เด็กอายุ 5 ปี สามารถวาดรูปทรงสามเหลี่ยม ใช้ความคมของใบมีดเป็น เช่น คัตเตอร์ แต่ถึงอย่างไรเพื่อความปลอดภัย ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองหรือให้อุปกรณ์อื่น ๆ ในการตัดแทน สามารถสวมใส่เสื้อผ้าเองได้ ดูแลความสะอาดตนเองได้พอสมควรเมื่อเข้าห้องน้ำ พัฒนาการด้านการสื่อสาร หากคุณพ่อคุณแม่พูดคุยสื่อสารกับลูกสม่ำเสมอตั้งแต่ช่วงแรกเกิด […]


โภชนาการสำหรับทารก

เตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน อย่างไรถึงจะเหมาะสม

การ เตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะเมื่อทารกอายุได้ 6 เดือน การให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ คุณแม่จึงควรเริ่มศึกษาถึงการ เตรียมอาหารให้ลูกตั้งแต่ก่อนที่ลูกจะอายุ 6 เดือน (อาจเตรียมตัวตั้งแต่ลูกอายุ 4 เดือน) และฝึกให้ลูกรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น เพื่อฝึกการบดเคี้ยวและเพื่อให้ได้รับสารอาหารเพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่สุขภาพและพัฒนาการของสมองและร่างกาย อาหารที่เหมาะสำหรับลูก 6 เดือน อาหารที่ลูก 6 เดือนควรได้รับ มีดังนี้ อาหารประเภทแป้ง อาหารประเภทแป้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ที่เป็นพลังงานที่ดีส่งเสริมให้ทารกแข็งแรง แต่ควรรับประทานร่วมกับผักผลไม้ ธัญพืช เพื่อช่วยให้ลูกย่อยอาหารได้ง่าย อาหารประเภทแป้งที่ลูก 6 เดือน อาจรับประทานได้ ได้แก่ ข้าวโอ๊ต พาสต้า ข้าว มันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวต้ม ขนมปัง เป็นต้น ซึ่งคุณแม่ควรนำมาปั่น บด หรือปรุงผสมกับนมแม่ เพื่อให้เกิดความนิ่มและรับประทานได้ง่ายขึ้น อาหารประเภทโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ เซลล์ และเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงช่วยนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย ทั้งยังช่วยสร้างแอนติบอดีให้ร่างกายลูกต่อสู้กับการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงจากเป็นไข้ เจ็บป่วย อาหารที่มีโปรตีน ได้แก่ […]


สุขภาพเด็ก

EQ คืออะไร และสำคัญอย่างไร

EQ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอารมณ์ การแก้ไขปัญหา และการรับรู้อารมณ์ของตนเอง ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อน และบุคคลอื่น ๆ ในสังคม [embed-health-tool-bmi] EQ คืออะไร EQ (Emotional Quotient หรือ Emotional Intelligence) หรือความฉลาดทางด้านอารมณ์ หมายถึงความสามารถในจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อพบเจอกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงอาจสามารถพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้อารมณ์ การจัดการกับอารมณ์ การเข้าใจอารมณ์ของตนเองและบุคคลอื่น การตัดสินใจกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก รวมถึงยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แน่นแฟ้น IQ และ EQ เป็นความฉลาดทั้งคู่ แต่มีความแตกต่างกัน เพราะ IQ คือ ความฉลาดทางการเรียนรู้ด้านสติปัญญา เป็นความสามารถหลายประเภท เช่น การคิด วิเคราะห์ทางวิชาการ การใช้เหตุผล รวมถึงพวกด้านศิลปะ ด้านดนตรี ด้านกีฬา ซึ่งอาจสามารถทดสอบได้จากคะแนนสอบวัดผลระดับในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของ EQ ก็ไม่น้อยไปกว่า IQ เพราะ EQ เป็นความสามารถในการรับรู้เข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน