พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การดูแลทารก

ผดร้อน ทารก สาเหตุและการดูแล

ผดร้อน ทารก พบบ่อยในทารกแรกเกิดช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด เนื่องจาก ท่อเหงื่อของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงอาจทำให้เหงื่ออุดตันในรูขุมขนง่ายขึ้นและเกิดเป็นผดร้อน ลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ สีแดง อาจมีอาการคันหรือแสบร้อน โดยปกติไม่ทำให้มีไข้ มักพบบริเวณลำตัวด้านหน้าอกและด้านหลัง คอ บริเวณข้อพับ และบริเวณใต้เสื้อผ้าที่เสียดสีหรือไม่ระบายอากาศ การดูแลทารกจึงอาจช่วยป้องกันผดร้อนที่ระคายเคืองผิวทารกได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ผดร้อน ทารก เกิดขึ้นได้อย่างไร ผดร้อน ทารก เป็นอาการผดผื่นที่เกิดขึ้นบนผิวหนังของทารก อาจทำให้มีตุ่มเล็ก ๆ สีแดง มีอาการแสบร้อนและคัน เนื่องจาก ความร้อนที่สูงเกินไป มักเกิดขึ้นบริเวณหลัง หน้าท้อง คอ หน้าอก ขาหนีบ หรือรักแร้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากการที่ทารกยังมีต่อมเหงื่อขนาดเล็ก และร่างกายของทารกยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ และในบางครั้งยังไม่สามารถมีเหงื่อไหลออกมาได้ ทำให้เหงื่อสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ทารกจึงมีแนวโน้มเป็นผดร้อนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ การสวมใส่เสื้อผ้าของทารกที่คับแน่นเกินไป การห่อตัว หรือการห่มผ้าห่ม ก็อาจทำให้เกิดความร้อนและเกิดผดร้อน ทารกได้เช่นกัน ผดร้อนแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ผดผื่นชนิดตุ่มน้ำใส (Miliaria Crystallina) เกิดจากการอุดตันของท่อต่อมเหงื่อในชั้นผิวของหนังกำพร้า มักพบในทารกแรกเกิดที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมอบอุ่นและชื้น เช่น การห่อตัว การห่มผ้า […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ทารกแรกเกิด พัฒนาการ และเคล็ดลับการดูแล

ทารกแรกเกิด หมายถึงทารกที่อยู่ในช่วงอายุ 0-3 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่สมองของเด็กจะทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คุณพ่อคุณแม่จึงควรเอาใจใส่ในการดูแลและการเพิ่มทักษะให้เหมาะสมกับช่วงวัยของทารก ทั้งพัฒนาการทางกายภาพ การเรียนรู้ การจดจำ อารมณ์ [embed-health-tool-bmi] ลักษณะทารกแรกเกิด  หลังลืมตาดูโลกได้ไม่นาน ทารกแรกเกิดอาจมีลักษณะทางกายภาพบางอย่างที่เปลี่ยนไป และมักจะกลับมาเป็นปกติได้ภายในไม่กี่วัน ลักษณะของทารกแรกเกิด มีดังนี้ ดวงตา ระหว่างการคลอดบุตรอาจมีแรงกดทับที่เปลือกตาและ ใบหน้าได้จากกลไกการคลอด ทำให้ทารกแรกเกิดอาจมีอาการตาบวมหรือใบหน้าบวมได้ชั่วคราว บางรายเส้นเลือดฝอยที่ตาขาวอาจแตก บางครั้งดวงตาของทารกแรกเกิดอาจแยกออกจากกัน หรือที่เรียกว่าอาการตาเหล่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในทารกแรกเกิดและจะหายไปได้เองภายใน 3 เดือน หากเกินกว่านี้ดวงตาทารกยังไม่กลับมาเป็นปกติควรแจ้งให้คุณหมอทราบอย่างทันท่วงที ศีรษะ การบีบตัวของช่องคลอดมารดาอาจส่งผลให้กระดูกศีรษะทารกเคลื่อน ส่งผลให้ศีรษะเป็นรูปทรงกรวยและยาวขึ้น โดยเฉพาะหากคุณแม่ใช้เวลาคลอดนาน ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มีกระหม่อมของศีรษะที่ยังไม่สมานตัวกัน ซึ่งอาจใช้ระยะเวลา 1 ปีเศษ กว่ากระหม่อมหน้าของทารกจะสมานตัว (ส่วนกระหม่อมหลัง อาจคลำได้ขนาดเล็กๆ และมักปิดเมื่ออายุได้ 3-6 เดือน) ถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งแรง การปรับท่านอนของทารกอาจสามารถช่วยทำให้ศีรษะของทารกมนและกลมขึ้นได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ สำหรับทารกที่คลอดโดยนำแขนขาออกก่อน หรือกลุ่มทารกที่ได้รับการผ่าตัดคลอด ศีรษะทารกอาจมีรูปทรงกลมตั้งแต่กำเนิด ขาและขา แขนและขาของทารกอาจโค้งงอหรือบวมได้เนื่องจากความแคบของช่องมดลูกระหว่างการคลอด แต่กระดูกแขนและขานั้นอาจยืดได้เองเมื่อเติบโตขึ้น ผิว บริเวณศีรษะและใบหน้าของทารกแรกเกิดอาจมีจุดสีขาวเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่าสิวข้าวสาร […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Dyslexia คืออะไร

Dyslexia หรือ ความบกพร่องในการอ่านหนังสือการสะกดคำและการเขียน จัดเป็นปัญหาการเรียนในเด็กชนิดหนึ่ง คือ ภาวะที่ผิดปกติที่เกิดในเด็ก ส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนของการประมวลภาษา เกิดปัญหาในการอ่าน เขียน พูด หรือสะกดคำ เด็กที่เป็นโรค Dyslexia อาจมีสายตาปกติ มีสติปัญญาดี ฉลาด ขยัน และอาจประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ หากได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์ การฝึกฝน และเข้าเรียนในโรงเรียนเฉพาะทาง Dyslexia คือ  Dyslexia เป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง หรือที่เรียกว่า ความบกพร่องในการอ่าน อาจส่งผลต่อความสามารถในการใช้ภาษา สะกดคำ ผสมคำ เขียน และพูด รวมถึงการอ่าน อาจใช้เวลาในการอ่านนานกว่าเด็กทั่วไป หรือมีการใช้คำที่สับสน ผลกระทบของ Dyslexia อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล การได้รับคำแนะนำและการพัฒนาทักษะที่ถูกต้อง อาจช่วยให้เด็กที่เป็นโรค Dyslexia มีสายตาปกติ และมีสติปัญญาพอ ๆ กับเด็กคนอื่น  ผู้ที่เป็นโรค Dyslexia อาจได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บางคนก็อาจไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรค Dyslexia จนอายุมากขึ้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค Dyslexia และยังคงต้องศึกษาวิจัยในเรื่องนี้เพิ่มเติมต่อไป  สำหรับประเภทของ Dyslexia อาจแบ่งได้ดังนี้ Rapid Naming […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

เด็กทารก กับโภชนาการที่เหมาะสมและปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย

เด็กทารก หมายถึง เด็กในช่วงอายุ 0-12 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพัฒนาการ รวมถึงสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดกับลูกน้อย ทั้งเรื่องการเจริญเติบโต การรับประทานอาหาร การสื่อสาร หากพบความผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อรักษาหรือรับมือได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กทารก คือช่วงวัยใด  เด็กทารก หมายถึง เด็กในช่วงอายุ 0-12 เดือน เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อย่างน้ำหนักและส่วนสูง รวมถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเดือน เช่น การพลิกคว่ำ การนั่ง การยืน การก้าวเดินครั้งแรก การส่งเสียงอ้อแอ้ การยิ้ม การหัวเราะ โดยปัจจัยที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก ได้แก่ สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และโภชนาการ อย่างไรก็ตาม เด็กทารกบางคนอาจมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตเด็กทารกอยู่เสมอ เพราะอาจมีสัญญาณเตือนบางอย่างว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใดด้านหนึ่ง จึงส่งผลให้มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน พัฒนาการเด็กทารก  พัฒนาการที่สำคัญของทารกในแต่ละเดือน มีดังต่อไปนี้  พัฒนาการด้านน้ำหนักและส่วนสูง  ส่วนสูงและน้ำหนักของเด็กทารกควรอยู่ในเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (หากตัวเลขคลาดเคลื่อนจากตารางนี้เล็กน้อย อาจสังเกตโดยใกล้ชิดไปก่อนสัก 1-2 เดือน แต่หากตัวเลขต่างจากเกณฑ์มาก แนะนำให้พาเด็กทารกไปตรวจกับกุมารแพทย์ทันที) อายุ น้ำหนักชาย น้ำหนักหญิง ส่วนสูงชาย ส่วนสูงหญิง 1 เดือน 4.5 กก. 4.2 กก. 54.7 ซม. 53.7 ซม. 2 เดือน 5.6 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก ในช่วงขวบปีแรกของแต่ละเดือนเป็นอย่างไร

พัฒนาการทารก เริ่มต้นตั้งแต่แรกเกิดและพัฒนาอย่างรวดเร็วตามลำดับจากศีรษะสู่ปลายเท้า (Cephalocaudal) ในช่วง 12 เดือนแรก ทารกมักเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผ่านการโต้ตอบและการสื่อสารกับพ่อแม่หรือผู้ดูแล รวมทั้งการเล่นหรือของเล่นที่ช่วยฝึกกระบวนการคิด การเคลื่อนไหว การแสดงอารมณ์ และอื่น ๆ โดยพัฒนาการทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงวัยหรือช่วงเวลาของการฝึกฝน ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องการส่งเสริมพัฒนาการทารกในด้านใด เช่น การเดิน การพูด การเรียนรู้ภาษา การเข้าสังคม [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารกที่สำคัญ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่ทารกควรได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้และฝึกฝน มีดังนี้ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรวม เป็นการฝึกฝนร่างกาย สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เริ่มจากภายใน 3 เดือนแรก ฝึกกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง ตั้งคอตรงได้ มีการประสานงาน และการควบคุมกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ รวมถึงการสร้างทักษะในด้านต่าง ๆ ให้ทารกได้เกิดกระบวนการเรียนรู้และฝึกฝน เช่น การฝึกนั่งในเดือนที่ 4-6 การฝึกพลิกตัวคว่ำหงาย การคืบ การคลาน ในช่วงเดือนที่ 6-8 การเริ่มเกาะยืนและการฝึกก้าวเดินในช่วงเดือนที่ 8-12   การเคลื่อนไหวของร่างกายขนาดเล็ก ฝึกฝนการประสานงาน และการควบคุมกล้ามเนื้อขนาดเล็ก รวมถึงทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น การหยิบหรือจับสิ่งของขนาดเล็กหรืออาหาร เพื่อฝึกควบคุมกล้ามเนื้อมือและนิ้วให้สมดุลมากขึ้น และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

อาหารเด็ก ที่ดีต่อร่างกาย และปริมาณสารอาหารสำหรับเด็ก

อาหารเด็ก ควรมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และควรเริ่มให้เด็กหัดรับประทานอาหารที่หลากหลาย โดยโภชนาการสำหรับเด็กใช้หลักการเดียวกับโภชนาการสำหรับผู้ใหญ่ ควรประกอบไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายและครบ 5 หมู่ แต่อาจแตกต่างกันด้านปริมาณและสัดส่วนที่ควรได้รับ  อาหารเด็ก คืออะไร  เมื่อเด็กอายุครบ 6 เดือน นมแม่อาจให้สารอาหารได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเด็ก จึงอาจต้องเริ่มให้เด็กได้ลองรับประทานอาหารเด็ก หรืออาหารแข็ง เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น และครบ 5 หมู่ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ เพราะสารอาหารเหล่านี้สำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก  โภชนาการที่ดีสำหรับเด็ก  โภชนาการเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัยของเด็ก โดยเด็กแต่ละช่วงวัย อาจต้องการอาหารเด็กและพลังงานในปริมาณต่อไปนี้ เด็กอายุ 2-4 ปี เด็กผู้หญิงอายุ 2-4 ปี เด็กผู้ชายอายุ 2-4 ปี  โปรตีน 56-113 กรัม  โปรตีน 56-142 กรัม  ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย ผัก 1-1.5 ถ้วย ผัก 1-1.5 ถ้วย ธัญพืช 85-142 กรัม  ธัญพืช 85-142 กรัม  ผลิตภัณฑ์นม 2-2.5 ถ้วย ผลิตภัณฑ์นม 2-2.5 ถ้วย  เด็กอายุ 5-8 ปี เด็กผู้หญิงอายุ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

โพรไบโอติก แบคทีเรียดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูก

สิ่งสำคัญในการดูแลไม่ให้ลูก ๆ ติดเชื้อง่าย ป่วยบ่อย ๆ นอกจากการป้องกันตัวเองและครอบครัวด้วยการรักษาระยะห่างเมื่อต้องออกนอกบ้าน หรือการดูแลสุขลักษณะด้วยการล้างมือ รับประทานอาหารปรุงสุกแล้ว ยังรวมถึงการดูแลตัวเองเพิ่มเติมเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคอยู่เสมอ โดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งอาจมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่า ดังนั้นการเสริมสร้างร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญมากขึ้น แม้จะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้านก็ตาม การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก ๆ ความจริงแล้วไม่ต่างกับวัยผู้ใหญ่ ซึ่งมีหลักปฏิบัติพื้นฐานคือ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลี่ยงภาวะเครียด แต่ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันที่เร่งรีบ การได้รับสารอาหารครบถ้วน ออกกำลังกายกลางแจ้ง กลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้หลายครอบครัวไม่สามารถทำกิจกรรม เช่น ออกกำลังกายนอกบ้านได้เช่นเคย ดังนั้นการมองหาตัวช่วยเสริมเพื่อให้เด็ก ๆ มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์และมีภูมิต้านทานโรคแข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ   โพรไบโอติก แบคทีเรียดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูก โพรไบโอติก (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย ซึ่งเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลดีต่อสุขภาพของเรา ปัจจุบันมีหลายสายพันธุ์ และมีงานวิจัยออกมารองรับว่าบางสายพันธุ์มีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับข้อมูลที่ว่าโพรไบโอติกพบได้ใน นมเปรี้ยว โยเกิร์ต และกิมจิ อย่างไรก็ตามโพรไบโอติกแต่ละสายพันธุ์ออกฤทธิ์ต่างกัน จึงจำเป็นต้องเลือกสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการ โดยจะต้องยืนยันด้วยผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลทางการแพทย์ เพราะคุณสมบัติที่ต้องการอาจพบในโพรไบโอติกบางสายพันธุ์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น โพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

ลูกเป็นไข้ คือ ภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าระดับปกติ โดยมีอุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส และอาจสูงกว่านั้น บางครั้งการที่ลูกเป็นไข้ก็อาจมีสาเหตุมาจากร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ไข้ คืออะไร ไข้ (Fever) คือ ภาวะที่เทอร์โมสตัท (Thermostat) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายรับรู้ถึงอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าระดับปกติ คือ อุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส หรือถ้าวัดเกิน 37.7 องศาเซลเซียส และอาจจะสูงกว่านั้น เทอร์โมสตัทพบได้บริเวณสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นส่วนที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือระดับน้ำตาลและเกลือในเลือด ไฮโปทาลามัสอาจรับรู้ได้ว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมของร่างกายควรอยู่ที่เท่าไหร่ โดยไฮโปธาลามัสส่วนหน้าจะคอยควบคุมไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป และส่วนไฮโปธาลามัสส่วนหลังควบคุมไม่ให้อุณหภูมิต่ำเกินไป ซึ่งอุณหภูมิร่างกายปกติอาจอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงสั่งการไปยังร่างกาย เพื่อปรับอุณหภูมิให้เป็นไปตามที่สมองรับรู้ ส่วนใหญ่ อุณหภูมิในร่างกายของคนอาจเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละวัน ในตอนเช้าอุณหภูมิอาจลดลงเล็กน้อย และอุณหภูมิอาจสูงขึ้นในตอนเย็น และอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อลูกวิ่งเล่น ออกกำลังกาย หรืออยู่กลางแดดเวลานาน แต่ในบางครั้ง ไฮโปทาลามัส อาจปรับให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจทำให้ติดเชื้อ นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ ลูกเป็นไข้ อาจสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ดังนั้น การทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยเมื่อลูกเป็นไข้ คือ การติดเชื้อ โดยทั่วไป […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กท้องอืด สาเหตุและการรักษา

เด็กท้องอืด อาจเกิดจากการมีอากาศหรือก๊าซเข้าสู่ทางเดินอาหารขณะรับประทานอาหารและไปสะสมอยู่ในช่องท้อง หรืออาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่ไม่อาจย่อยอาหารก่อนถูกลำเลียงไปยังลำไส้ใหญ่ โดยก๊าซเหล่านี้ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน ไฮโดรเจน มีเธน และกำมะถัน ซึ่งอาจส่งผลทำให้เด็กเรอ คลื่นไส้ และปวดท้องได้ สาเหตุที่ทำให้ เด็กท้องอืด เด็กท้องอืด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เด็กไม่อยู่นิ่งขณะรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหว หรือเล่นระหว่างการรับประทานอาหาร อาจทำให้เด็กกินเร็ว ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจส่งผลให้มีอากาศในลำไส้มากขึ้น และเสี่ยงสำลักได้ ดูโทรทัศน์ หรือเล่นโทรศัพท์ระหว่างรับประทานอาหาร อาจส่งผลให้เด็กเพลิดเพลิน และเพิกเฉยต่อสัญญาณความอิ่ม และรับประทานอาหารมากไปจนก่อให้เกิดก๊าซได้ การเลือกอาหารที่ไม่ถูกกับช่องท้องเด็ก เช่น อาหารที่มีไขมันสูง หมากฝรั่ง เครื่องดื่มรสชาติหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เนื่องจากร่างกายของเด็กอาจดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ และส่งผลให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย นำไปสู่การเกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วงได้ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ หากร่างกายขาดน้ำ หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก มีก๊าซในกระเพาะอาหาร และไม่สบายท้อง แพ้แลคโตส ร่างกายของเด็กที่มีอาการแพ้แลคโตสอาจไม่สามารถผลิตแล็กเทส ที่เป็นเอนไซม์ช่วยสลายแลคโตสในผลิตภัณฑ์ที่ทำการนมได้ จึงอาจส่งผลให้เด็กท้องอืด อาการลำไส้แปรปรวน อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกตัวร้อน เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

ลูกตัวร้อน เป็นภาวะที่อุณหภูมิร่างกายเด็กสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส เกิดจากร่างกายปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส ภาวะนี้อาจนำไปสู่การล้มป่วยได้ เพื่อความปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่ควรลดอุณหภูมิร่างกายให้ลูกเบื้องต้น และสังเกตอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิด สาเหตุที่ทำให้ ลูกตัวร้อน สาเหตุที่ทำให้ลูกตัวร้อน หรือมีไข้ อาจมาจากภาวะของโรค ดังต่อไปนี้ ไข้หวัดใหญ่ เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 2-5 ปี อาจเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่จากการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดบวม โรคหอบหืด โดยอาการเบื้องต้นของไข้หวัดใหญ่สามารถสังเกตได้จากลูกตัวร้อน มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ เจ็บคอ หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบเกิดจากการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง ทำให้เยื่อแก้วหูอักเสบ ส่งผลให้เด็กมีไข้ขึ้นสูง มีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และการนอนหลับ หากเป็นเด็กโตอาจบอกได้เมื่อรู้สึกเจ็บปวดภายในหู แต่สำหรับเด็กเล็ก หรือทารกอาจสังเกตได้จากพฤติกรรมการดึงหู หรือร้องไห้มากกว่าปกติ ไข้ผื่นกุหลาบ ไข้ผื่นกุหลาบ หรือ ส่าไข้ เป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบได้มากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ขวบ ส่งผลให้เด็กมีไข้สูงเป็นเวลาหลายวัน และมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง นอกจากนี้ ยังอาจแพร่เชื้อติดต่อกันได้ผ่านการไอจาม ต่อมทอนซิลอักเสบ หน้าที่ของต่อมทอนซิลคือช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก และจมูก ก่อนที่เชื้อโรคจะนำไปสู่การติดเชื้อในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน