พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กทารก

การนอนของทารก ที่เหมาะสม และวิธีช่วยให้ทารกหลับง่ายขึ้น

การนอนของทารก อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน และอาจขึ้นอยู่กับช่วงอายุด้วย โดยทารกมักนอนมากที่สุดในช่วงแรกเกิด แต่จะนอนหลับไม่นาน หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ  ตลอดทั้งวัน เมื่อทารกเติบโตขึ้น ระยะเวลาในการนอนกลางวันจะค่อย ๆ ลดลง และจะนอนในตอนกลางคืนได้นานขึ้น และมักหลับจนถึงเช้าโดยไม่ตื่นกลางดึก [embed-health-tool-baby-poop-tool] การนอนของทารก เป็นอย่างไร โดยทั่วไปทารกแรกเกิดจะนอนหลับในตอนกลางวันประมาณ 8-9 ชั่วโมง และนอนหลับในตอนกลางคืนประมาณ 8 ชั่วโมง แต่อาจนอนหลับครั้งละไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านั้นถ้าทารกกินอิ่ม เมื่อทารกอายุประมาณ 3 เดือน อาจนอนหลับในช่วงเวลากลางคืนได้นานขึ้น คือประมาณ 6-8 ชั่วโมง โดยไม่ตื่นกลางดึก และเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ทารกมักจะนอนหลับได้ตลอดทั้งคืนจนถึงเช้า โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการง่วงนอนของทารกได้จากพฤติกรรม เช่น ขยี้ตา มองไปรอบ ๆ หาว งอแง ทารกควรนอนมากแค่ไหน ทารกแต่ละคนอาจต้องการระยะเวลาในการนอนหลับที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการนอนโดยเฉลี่ยที่ทารกควรได้รับตลอด 24 ชั่วโมง อาจเป็นดังนี้ ทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาช่วงนอนหลับมากกว่าช่วงตื่นนอน ทารกแรกเกิดอาจนอนหลับ 8-18 ชั่วโมง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก 2 เดือน และวิธีดูแลทารกที่เหมาะสม

พัฒนาการทารก 2 เดือน อาจเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน เช่น ด้านการสื่อสาร ด้านกายภาพ ทารก 2 เดือนมักเจริญเติบโตและตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีการส่งเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือนให้เหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ และควรสังเกตสัญญาณเตือนของภาวะพัฒนาการล่าช้าในทารกด้วย หากพบจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการทารก 2 เดือน มีอะไรบ้าง  พัฒนาการทารก 2 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านกายภาพ ทารกอายุ 2 เดือน มักเริ่มมีน้ำหนักตัวและความยาวของลำตัวเพิ่มขึ้น รู้จักมองตามวัตถุที่เคลื่อนไปมา เพื่อจดจำรูปร่างและลักษณะของวัตถุที่เห็น มีการได้ยินดีขึ้น และเริ่มแบมือ กำมือ หรือเอื้อมมือ เพื่อหยิบจับสิ่งของรอบตัว แขนขาเริ่มงอน้อยลงเวลานอนหงาย หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มทารกพาดบ่า จะสังเกตได้ว่าทารกอาจเริ่มยกศีรษะและดันลำตัวขึ้น พัฒนาการด้านการสื่อสาร เมื่อทารกเริ่มมองเห็นและได้ยินชัดขึ้น อาจส่งผลให้ทารกจดจำและตอบสนองด้วยการยิ้ม ส่งเสียงอ้อแอ้ หรือหันศีรษะไปตามเสียง และหากทารกรู้สึกไม่สบายตัว หงุดหงิด หรือหิว ก็อาจแสดงออกด้วยการร้องไห้อย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน พัฒนาการด้านการกินอาหาร ทารกอาจเริ่มกินนมได้มากขึ้น เนื่องจากเริ่มดูดนมเป็นและรู้จักใช้ลิ้นช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลดีขึ้น ทารกวัย 2 […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ LD คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา

LD หรือ Learning Disorder คือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ในด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ แต่อาจเรียนรู้หรือมีทักษะด้านอื่น ๆ เป็นปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้อาจขาดความมั่นใจและแรงจูงใจในการพัฒนาศักยภาพตนเอง ทั้งนี้ พ่อแม่ควรสังเกตอาการของเด็กว่ามีพฤติกรรมอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ทั้งที่อยู่ในวัยที่ควรอ่านออกและเขียนได้หรือไม่ หากมีอาการ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขอย่างตรงจุดและทันท่วงที LD คืออะไร  LD ย่อมาจาก Learning Disorder หมายถึง โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือภาวะการเรียนรู้บกพร่อง หรือกลุ่มอาการที่มีปัญหาหรือขาดทักษะด้านการเรียนรู้ ในด้านการอ่าน การเขียน และการคำนวณ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีทักษะในการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ และการพัฒนาทักษะในการเข้าสังคมด้วย อาการของ LD อาการของ LD อาจแบ่งตามทักษะด้านที่บกพร่อง ดังนี้  ความบกพร่องทางการเขียน มีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ทำให้เขียนหนังสือและสะกดคำผิด มักพบร่วมกับความบกพร่องทางการอ่าน ความบกพร่องทางการอ่าน พบได้บ่อยที่สุด เด็กจะมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ อาจส่งผลทำให้เด็กอ่านหนังสือไม่ได้ อ่านได้ช้า อ่านออกเสียงได้ไม่ชัด เป็นต้น ความบกพร่องทางการคำนวณ เด็กจะไม่เข้าใจเรื่องตัวเลขและการคำนวณ ไม่สามารถบวก ลบ […]


เด็กทารก

ตัวเหลือง หรือดีซ่านในทารกแรกเกิด อาการ สาเหตุ การรักษา

ตัวเหลือง หรือดีซ่านในทารกแรกเกิด อาจเกิดจากการมีปริมาณสารบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดมากเกินไป โดยบิลิรูบินเป็นสารประกอบสีเหลืองที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงสลายตัวผ่านกระบวนการในตับ ร่างกายจะขับสารบิลิรูบินออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่ตับของทารกแรกเกิดอาจยังไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินได้ดีเท่าที่ควร ทำให้มีสารบิลิรูบินตกค้างและอาจส่งผลให้ตัวเหลือง และหากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองได้ คำจำกัดความ ตัวเหลือง คืออะไร  ตัวเหลือง หรือดีซ่าน (Jaundice) ในทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่มักเกิดจากการมีสารบิลิรูบินในเลือดมากเกินไป โดยบิลิรูบินเป็นสารสีเหลืองที่เกิดจากการย่อยสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงเก่าผ่านกระบวนการในตับ โดยปกติร่างกายจะกำจัดสารนี้ออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่เนื่องจากตับของทารกแรกเกิดอาจยังทำงานได้ไม่เต็มที่และกำจัดบิลิรูบินได้ไม่ดีนัก จึงอาจส่งผลให้มีสารบิลิรูบินตกค้าง และทำให้ทารกตัวเหลืองหรือเป็นดีซ่านได้ หากสารบิลิรูบินเข้าสู่สมอง อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้สมองถูกทำลายถาวร หรือมีความพิการทางสมองจากภาวะตัวเหลือง ที่เรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus) ซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการซึม ชักเกร็ง มีไข้ หรือหากปล่อยไว้นานอาจทำให้การเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น แขน ขา ลูกตา ผิดปกติ ทารกมีพัฒนาการล่าช้า เป็นต้น ประเภทของภาวะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีด้วยกันหลายประเภท เช่น ภาวะตัวเหลืองปกติ เป็นประเภทที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ทารกมีภาวะตัวเหลืองหลังจากคลอดมาแล้ว 3 วัน อาการตัวเหลืออาจมากขึ้นเรื่อย ๆ และอาการจะดีขึ้นเมื่อตับของทารกเริ่มทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทารกจะหายภาวะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการรับประทานนมแม่ (Breastfeeding Jaundice) อาจเกิดจากทารกได้รับนมไม่เพียงพอ เนื่องจากการให้นมลูกไม่ถูกท่า […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการทารก ในช่วงขวบปีแรก และวิธีดูแลทารกที่เหมาะสม

พัฒนาการ ทารก ในช่วงขวบปีแรก นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 เดือน ถือเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากละเลยอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย และส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคตได้ การดูแลเอาใจใส่ของคนในครอบครัวในด้านต่าง ๆ เช่น อาหารสำหรับทารก กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่อาจส่งเสริมให้เด็กทารกมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมวัย  [embed-health-tool-child-growth-chart] พัฒนาการ ทารก ช่วงขวบปีแรก พัฒนาการของทารกช่วงขวบปีแรก แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ทารกอายุ 0-3 เดือน ทารกแรกเกิดอาจยังไม่รู้ว่าบุคคลที่อยู่ตรงหน้าคือใคร แต่เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 1 เดือน อาจเริ่มมีพัฒนาการ ดังต่อไปนี้ จดจำเสียงและใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ และตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินได้ เช่น รู้จักยิ้มตอบ มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวไปมา เอื้อมมือจับของเล่นที่ห้อยอยู่ได้ หรือหากวางสิ่งของไว้ในมือทารก ทารกอาจกำของสิ่งนั้นไว้แน่น หัดยกศีรษะและดันตัวขึ้น เอามือเข้าปาก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าทารกกำลังหิว ทารกอายุ 4-6 เดือน อาจมีการตอบสนองหรือการแสดงอารมณ์ออกมาให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ รวมถึงมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ดังนี้ หัวเราะ ยิ้ม ร้องไห้ ส่งเสียงอ้อแอ้เพื่อสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็ก กับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย

เด็ก คือวัยที่เริ่มตั้งแต่ช่วงแรกเกิดไปจนถึงก่อนเข้าวัยแรกรุ่น หรืออายุต่ำกว่า 19 ปี โดยเด็กจะมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม วัยเด็กจึงเป็นวัยสำคัญที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ และได้ฝึกฝนทักษะเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เป็นพิเศษ โดยการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กนั้นควรเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว ด้วยการพูดคุย การเล่น การอ่านหนังสือ ดูแลโภชนาการ การออกกำลังกาย และการนอนหลับ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัยที่สมบูรณ์แข็งแรงมากขึ้น [embed-health-tool-bmi] เด็ก และพัฒนาการแต่ละช่วงวัย เด็กทารก เด็กทารก (อายุแรกเกิดถึง 1 ปี) เป็นวัยที่เริ่มมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนออกสู่โลกภายนอก พัฒนาการทางร่างกาย ทารกเริ่มพัฒนาร่างกายตั้งแต่ตอนปฏิสนธิและกลายเป็นตัวอ่อน โดยสมองจะพัฒนาเป็นอันดับแรก ตามด้วยอวัยวะภายในส่วนอื่น ๆ เช่น หัวใจ ตับ ไต ลำไส้ รวมถึงอวัยวะภายนอก เช่น แขน ขา ลำตัว ดวงตา ซึ่งอวัยวะเหล่านี้จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องในแต่ละสัปดาห์ของการตั้งครรภ์จนถึงครบกำหนดคลอด เมื่อทารกออกมาสู่โลกภายนอก ร่างกายก็ยังคงเจริญเติบโตและพัฒนาต่อไป ทั้งระบบภูมิคุ้มกัน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผม การเคลื่อนไหวและการทรงตัว ซึ่งพัฒนาการทางร่างกายเหล่านี้อาจจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือดูแลจากครอบครัวด้วย พัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ และสังคม ในขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ อารมณ์ของแม่อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ปัญหาครอบครัว กับวิธีรับมือและแก้ไข

ปัญหาครอบครัว อาจเกิดจากความขัดแย้งทางความคิด การเลี้ยงดูแลบุตร ปัญหาทางการเงิน หรือแม้แต่เรื่องสุขภาพร่างกาย ทั้งนี้ ปัญหาครอบครัวอาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจ เช่น วิตกกังวล เครียด ไม่มั่นใจในตัวเองต่อสมาชิกในบ้าน ทั้งนี้ ปัญหาครอบครัวอาจแตกต่างกันออกไป การทำความเข้าใจปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกันอาจช่วยให้ทุกคนรับมือกับปัญหาครอบครัวได้ [embed-health-tool-bmi] ปัญหาครอบครัว คืออะไร  ปัญหาครอบครัว คือ ปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งทางด้านต่าง ๆ เช่น ความคิด การงาน การเงิน เศรษฐกิจ สุขภาพร่างกาย รวมถึงการทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว ทั้งนี้ ปัญหาครอบครัวอาจเกิดจากความขัดแย้งระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้อง พ่อกับลูกหรือแม่กับลูก ซึ่งหากความขัดแย้งบานปลายและไม่แก้ไขอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว การหย่าร้าง และยังอาจส่งผลต่อจิตใจและอารมณ์ผู้ที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ปัญหาครอบครัวอาจป้องกันหรือแก้ไขได้ หากสมาชิกในบ้านพูดคุยและหันหน้าเข้าหากันด้วยความเข้าใจ เปิดใจ และรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สาเหตุการเกิดปัญหาครอบครัว  ปัจจัยการเกิดปัญหาครอบครัวอาจมีหลายสาเหตุ ดังนี้  การเลี้ยงดูแลลูก เมื่อมีลูกอาจทำให้ไม่มีเวลาส่วนตัวสำหรับชีวิตคู่ ไม่ได้ใช้ชีวิตด้วยกัน  การเงิน อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีปัญหาครอบครัว เนื่องจากพ่อและแม่ต้องออกไปหางานทำ จนส่งผลให้เด็กอยู่กันตามลำพัง ทำให้ขาดการดูแลและอบรมสั่งสอน อาจทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร จนบางครั้งอาจมีการขึ้นเสียงกับพ่อหรือแม่  การสื่อสาร หากไม่ค่อยได้พูดคุยถึงปัญหาที่พบเจอของแต่ละบุคคล รวมถึงความไม่เข้าใจกัน ทัศนคติไม่ตรงกัน และสะสมไว้นานวันอาจทำให้เกิดการทะเลาะและขัดแย้งกันรุนแรงได้  […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

วิธีเลี้ยงลูกสำหรับ Single mom เริ่มต้นอย่างไร

Single mom หรือคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว หมายถึง ผู้หญิงที่เลี้ยงลูกเพียงลำพัง เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปัญหาการหย่าร้าง พ่อของลูกเสียชีวิต คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวจึงอาจเผชิญกับความท้าทาย ความเครียด เพราะเด็กในช่วงวัยกำลังเจริญเติบโตควรได้รับการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนควรศึกษาวิธีเลี้ยงลูกแบบ Single mom เบื้องต้นเอาไว้ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ในชีวิตที่อาจไม่ได้คาดคิดมาก่อน [embed-health-tool-ovulation] คำแนะนำการเลี้ยงลูกสำหรับ Single mom เด็กทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเป็นทารก วัยหัดเดิน วัยก่อนเข้าเรียน วัยเข้าเรียน วัยรุ่น อาจต้องการความรักความเอาใจใส่จากผู้ปกครองอยู่เสมอ เพื่อให้คุณแม่และลูกใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข ลดปัญหาที่กระทบต่อจิตใจ และเจริญเติบโตได้อย่างสมวัย Single mom อาจศึกษาวิธีเลี้ยงลูกได้ดังต่อไปนี้ ทารก อายุ 0-1 ปี เป็นช่วงวัยที่เริ่มมีการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวที่พบเห็น เช่น การยิ้ม โบกมือ เอื้อมมือจับสิ่งของตรงหน้า และเริ่มออกเสียงเป็นคำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางภาษา อารมณ์ สังคม เคล็ดลับการดูแลลูกของ Single mom ควรพูดคุย อ่านหนังสือ ร้องเพลงบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นทักษะทางภาษา โอบกอดลูกหรืออุ้ม เพราะเด็กจะรู้สึกได้ถึงความรัก ความอบอุ่นที่คุณแม่มีต่อลูก […]


สุขภาพเด็ก

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม อาการ สาเหตุ การรักษา

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม โดยมีโครโมโซมคู่ที่ 18 (Trisomy 18) เกินมา 1 แท่ง ซึ่งอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของทารกพัฒนาผิดปกติ เช่น หัวใจ ปอด ไตพิการ ทารกที่เป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมมักเสียชีวิตก่อนหรือหลังคลอดได้ไม่นาน แต่ในบางกรณี ทารกอาจมีชีวิตหลังการคลอดได้นานกว่า 1 ปี อย่างไรก็ตาม เอ็ดเวิร์ดซินโดรมเป็นภาวะที่พบได้น้อย คุณหมออาจวินิจฉัยอาการจากการอัลตราซาวด์ว่าทารกในครรภ์มารดามีภาวะเอ็ดเวิร์ดซินโดรมหรือไม่ หรือมีการตรวจดูโครโมโซมพบความผิดปกติได้ คำจำกัดความเอ็ดเวิร์ดซินโดรม คืออะไร  เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward’s Syndrome) คือ อาการที่เกิดจากโรคทางพันธุกรรม ที่มีจำนวนโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง ซึ่งโดยปกติทารกจะได้รับโครโมโซมจากพ่อและแม่อย่างละ 23 คู่ รวมเป็น 46 แท่ง แต่บางครั้งไข่ของผู้หญิงและอสุจิของผู้ชายอาจมีจำนวนโครโมโซมผิดปกติหรือบกพร่อง เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วความผิดพลาดนี้อาจส่งผลกระทบต่อทารก อาจทำให้เกิดภาวะเอ็ดเวิร์ดซินโดรมได้ โดยเอ็ดเวิร์ดซินโดรมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Full เป็นประเภทที่พบได้บ่อย เกิดจากโครโมโซมมีจำนวนมากกว่าปกติในเซลล์ของทารกทุกเซลล์ โดยทารกที่เป็นประเภทนี้ส่วนมากมักเสียชีวิตก่อนเกิด  Mosaic เป็นประเภทที่พบได้น้อย เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมาในบางเซลล์ของทารก […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ปากแหว่งเพดานโหว่ อาการ สาเหตุ การรักษา

ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นความผิดปกติของใบหน้าและช่องปากที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยการอัลตราซาวด์ ทั้งยังอาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมร่วมด้วย โดยอาจสังเกตได้จากรอยแหว่งของริมฝีปากบนไปจนถึงเหงือก หรือเพดานปากส่วนหน้า อย่างไรก็ตาม ปากแหว่งเพดานโหว่สามารถผ่าตัดแก้ไขและรักษาให้กลับมาใช้งานได้เกือบปกติ  คำจำกัดความ ปากแหว่งเพดานโหว่ คืออะไร  ปากแหว่ง (Cleft Lip) เพดานโหว่ (Cleft Palate) คือ ภาวะที่กระบวนการสร้างของโครงสร้างใบหน้าและช่องปากผิดปกติ และปากแหว่งเพดานโหว่ถือเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด โดยปากแหว่งเพดานโหว่อาจเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างของปาก เนื่องจากปากและเพดานปากพัฒนาแยกออกจากกัน จึงอาจเป็นไปได้ที่จะเกิดปากแหว่งแต่ไม่มีเพดานโหว่ หรือเพดานโหว่แต่ไม่มีปากแหว่ง หรืออาจพบทั้ง 2 อย่างร่วมกัน   ปากแหว่งเพดานโหว่พบได้บ่อยแค่ไหน ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โดยอัตราประมาณ 1-2 คน ต่อ 1,000 คน พบมากที่สุดบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 700-800 คน/ปี อาการอาการปากแหว่งเพดานโหว่  ปากแหว่งเพดานโหว่อาจมีอาการดังนี้  รอยแหว่งที่ริมฝีปากและเพดานปากอาจส่งผลต่อใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง และในบางครั้งจมูกอาจมีภาวะปกติร่วมด้วย รอยแหว่งที่เพดานปาก หรือรอยโหว่ที่เพดานอ่อนในปากที่ไม่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของใบหน้า รอยแหว่งที่ริมฝีปากเล็กน้อย  นอกจากนี้ ปากแหว่งเพดานโหว่อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดังนี้ ปัญหาการรับประทาน เด็กที่มีอาการปากแหว่งเพดานโหว่อาจไม่สามารถดูดนมแม่หรือขวดนมแบบตามปกติได้ อาจมีอาการสำลักนมได้ง่าย เนื่องจากอาจขึ้นจมูกได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการออกแบบจุกนมและขวดนมพิเศษสำหรับเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อช่วยให้รับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสมและได้รับสารอาหารที่เพียงพอจนกว่าจะได้เข้ารับการผ่าตัด ปัญหาด้านการพูด หากยังไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้พูดไม่ชัด เสียงอาจจะขึ้นจมูก ทำให้ยากต่อการสื่อสาร ควรรีบผ่าตัดแก้ไขก่อนที่เด็กจะเริ่มพูด ปัญหาด้านการได้ยิน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน