พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

ไข้ในเด็ก เป็นสัญญาณเตือนที่อาจบอกได้ว่าร่างกายของเด็กกำลังทำปฏิกิริยาต่อต้านการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส โดย วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือ เช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ป้องกันการเกิดภาวะชักจากไข้ขึ้นสูง สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นไข้ สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นไข้ อาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด อีสุกอีใส หัด กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น หูอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไข้อีดำอีแดง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะการอักเสบ เช่น โรคคาวาซากิ หูอักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน หรือรับประทานยาปฏิชีวนะ เนื่องจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย รวมถึงสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้ร่างกายผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ไซโตไคน์ (Cytokine) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีส่วนช่วยตอบสนองต่อการอักเสบ การติดเชื้อ และสร้างแอนติบอดีเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงส่งผลให้ร่างกายเด็กมีอุณหภูมิสูง หรือเป็นไข้ได้ วิธีลดไข้ สำหรับเด็ก วิธีลดไข้สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ มีดังนี้ วัดไข้สม่ำเสมอ ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดตัว โดยเฉพาะบริเวณหลังคอ ใต้วงแขน ท้อง และขาหนีบ […]


เด็กทารก

ทารกเป็นหวัด สาเหตุ อาการและการรักษา

ไข้หวัด  เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในจมูกและลำคอ หากทารกเป็นหวัด จะทำให้มีอาการไอ จาม หรือเจ็บคอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในทารกที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อไวรัสได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้วิธีดูแลทารก และปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ทารกเป็นหวัด จะได้รับมือได้อย่างเหมาะสม สาเหตุที่ทำให้ทารกเป็นหวัด ทารกเป็นหวัด มีสาเหตุจากการติดเชื้อที่จมูกและลำคอ ซึ่งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดนั้นมีมากกว่า 200 ชนิดเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปาก ตา หรือการหายใจเข้าไป แล้วเกิดการติดเชื้อ ร่างกายของทารกจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดไวรัสเหล่านั้น แต่ร่างกายของทารกอาจยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไวรัสบางชนิดได้อย่างเพียงพอ ทำให้ทารกเป็นหวัดและมีอาการที่รุนแรงขึ้นได้ โดยทารกอาจติดเชื้อไวรัสได้จากปัจจัยเหล่านี้ การสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนไวรัส ไวรัสสามารถอาศัยอยู่บนพื้นผิวสิ่งของได้ประมาณ 2 ชั่วโมง ถึง 7 วัน อย่างไรก็ตาม ไวรัสก่อโรคส่วนใหญ่จะสามารถทำให้ติดเชื้อได้ ภายใน 24 ชั่วโมงแรกที่ปนเปื้อนพื้นผิว ซึ่งทารกสามารถติดเชื้อไวรัสได้จากของเล่น หรือของใช้ที่ปนเปื้อนไวรัสได้ การแพร่เชื้อไวรัสจากคนสู่คนในอากาศ เมื่อผู้ที่เป็นไข้หวัด ไอ จาม หรือพูดคุย สามารถทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปในอากาศได้ และหากทารกสัมผัสเชื้อเหล่านั้นหรือหายใจเอาเชื้อเข้าไป ก็อาจทำให้ทารกเป็นหวัดได้ โดยเชื้อไวรัสก่อโรคจะแพร่กระจายสู่ทารกผ่านทางปาก ตา และจมูก อาการทารกเป็นหวัด สัญญาณของทารกเป็นหวัดที่พบบ่อยคือ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล สีน้ำมูกเปลี่ยนไปและข้นหนืดมากขึ้น รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้ อาการไอ จาม หรือเจ็บคอ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กท้องเสีย สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

เด็กท้องเสีย หรือท้องร่วง คือ ภาวะที่เด็กถ่ายอุจจาระเหลว เด็กขับถ่ายบ่อยกว่าปกติ และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ขาดน้ำ น้ำหนักลด หากเด็กท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบหาสาเหตุ และบรรเทาอาการเบื้องต้นทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ หรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายรุนแรง [embed-health-tool-bmi] เด็กท้องเสีย มีสาเหตุจากอะไร เด็กท้องเสีย อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ทำให้มีอาการท้องเสียนานประมาณ 1-3 วัน และหากอาการไม่รุนแรงมักหายไปได้เอง โรคท้องร่วงเรื้อรังจากการติดเชื้อ เกิดจากลำไส้อักเสบ ระบบการดูดซึมอาหารบกพร่อง การติดเชื้อปรสิตบางชนิด เป็นต้น เด็กที่มีภาวะนี้จะท้องเสียนานกว่า 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ โรคท้องร่วงจากย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่สมบูรณ์ แลคโตสเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากนม เด็กบางคนไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ หากรับประทานแลคโตสมากเกินไป อาจส่งผลให้มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด ท้องร่วงได้ ทั้งนี้ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม อาการท้องร่วงหลังจากใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจทำให้เด็กท้องเสียได้ เนื่องจากระดับแบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีในลำไส้เสียสมดุล ทั้งนี้ […]


เด็กทารก

ทารกท้องผูก สาเหตุ อาการและการดูแล

ทารกท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อยในทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ทารกที่กินนมผง และทารกที่เริ่มรับประทานอาหารหยาบ โดยทารกจะมีอาการอุจจาระเป็นก้อนแข็ง หรือถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมีอาการร้องไห้มาก เบ่งเยอะ และรู้สึกอึดอัดเมื่อขับถ่าย ดังนั้นการรู้วิธีดูแลทารกให้มีการขับถ่ายที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาในอนาคต [embed-health-tool-bmi] สาเหตุทารกท้องผูก ทารกท้องผูก พบได้บ่อยในทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งสาเหตุของอาการท้องผูก ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางระบบประสาท หรือปัญหาลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่มักเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกในทารก ดังนี้ ภาวะขาดน้ำ ทารกท้องผูกอาจเกิดจากการขาดน้ำ หากทารกไม่ยอมดื่มน้ำหรือได้รับน้ำเข้าร่างกายไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้อุจจาระแห้งและขับถ่ายยากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ทารกได้รับน้ำไม่เพียงพอ (คนละกรณีกับการดื่มนมแม่ล้วน หากนมแม่พอเพียง เด็กทารกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำเพิ่ม) อาจมาจากความรู้สึกไม่สบายตัวของทารกจากอาการงอกของฟัน ความรู้สึกเจ็บปวดจากไข้หวัด หรือการติดเชื้อต่าง ๆ ขาดไฟเบอร์ เด็กทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนที่เริ่มรับประทานอาหารแข็งได้ หากไม่ได้รับไฟเบอร์อย่างเพียงพออาจส่งผลทำให้ทารกท้องผูกได้ (แนะนำว่ารับประทานอาหารไฟเบอร์สูง ควรดื่มน้ำให้พอเพียงด้วย เพื่อให้ไฟเบอร์นิ่ม อุจจาระจะนิ่มตาม) การปรับเปลี่ยนอาหาร ทารกที่เปลี่ยนมากินนมผง รวมถึงทารกที่รับประทานอาหารเสริม อาจมีอาการท้องผูกได้ง่ายกว่า เนื่องจากร่างกายของทารกจำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อเรียนรู้การย่อยอาหารรูปแบบใหม่ อุจจาระแล้วรู้สึกเจ็บปวด เช่นกรณีเบ่งอุจจาระแข็ง ๆ ทารกอาจจะกลั้นอุจจาระได้หากรู้สึกเจ็บขณะขับถ่าย ซึ่งอาจนำไปสู่อาการท้องผูกเรื้อรัง และอุจจาระที่แข็งมากอาจทำให้เกิดแผลฉีกในบริเวณทวารหนักได้ (Anal […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กไอ อาการที่พ่อแม่ควรระวัง

เด็กไอ เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่อาจพบเจอได้ แต่ก็ควรระวัง เพราะบางครั้งการที่เด็กไออาจส่งสัญญาณบ่งชี้บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกายของเด็กได้ หากเด็กไอเป็นเวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย [embed-health-tool-bmi] เด็กไอ เกิดจากอะไร เด็กไอมักเป็นสัญญาณว่าร่างกายพยายามกำจัดความระคายเคืองจากเสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอม เนื่องจากหากไม่กำจัดออกอาจสร้างความรำคาญ และอาจทำให้หายใจไม่สะดวก ซึ่งสาเหตุทั่วไปของอาการไอ เช่น โรคภูมิแพ้ และไซนัสอักเสบ สิ่งที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น อาหาร ละอองเกสร ฝุ่นละออง อาจเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง และยังทำให้ระคายเคือง มีน้ำมูก เสมหะ เจ็บคอ รวมถึงอาจมีผื่นขึ้นตามตัว โรคหอบหืด เกิดจากมีสิ่งกระตุ้นต่อภาวะหลอดลมไว ทำให้เด็กมีหลอดลมตีบเล็กลง อาการอาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ส่วนมากมักไอแบบมีเสียงหวีด ซึ่งอาการมักจะแย่ลงในเวลากลางคืน หรือมักไอขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องเคลื่อนไหว เช่น ออกกำลังกาย โรคกรดไหลย้อน อาจทำให้มีอาการไอ อาเจียนบ่อย รู้สึกขมในปาก และปวดแสบร้อนภายในอก การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรัง หากเป็นหวัดอาจมีอาการไอเล็กน้อยถึงไอปานกลาง ซึ่งเป็นอาการไอที่ไม่รุนแรงมาก แต่หากเป็นไข้หวัดใหญ่ อาจไอแบบแห้ง หรือมีเสมหะ ร่วมกับมีไข้สูง สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เด็กไอ […]


การดูแลทารก

ลูกตัวเหลือง ดูแลอย่างไรหลังคลอดและเมื่อกลับมาอยู่บ้าน

ลูกตัวเหลือง เป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นในทารกแรกเกิดหลังคลอด โดยส่วนใหญ่ร่างกายของทารกจะขับสารเหลืองออกมาทางของเสีย (ทางอุจจาระและปัสสาวะ) และภาวะตัวเหลืองจะหายไปเองเพียงไม่กี่วันหลังคลอด แต่ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจศึกษาวิธีดูแลทารกตัวเหลืองแบบง่าย ๆ และนำไปปฏิบัติร่วมกับคำแนะนำของคุณหมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกตัวเหลือง เกิดจากอะไร เป็นเรื่องปกติที่ทารกแรกเกิดมักมีผิวสีเหลือง เนื่องจากการทำงานของตับในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ยังไม่สามารถกำจัดสารบิลิรูบินในเลือด (Hyperbilirubinemia) ได้อย่างสมบูรณ์ จึงส่งผลให้ทารกมีสีผิวสีเหลืองได้นั่นเอง แต่บางกรณีหากพบว่าสีผิวของทารกยังคงมีภาวะตัวเหลืองใน 3 สัปดาห์ ก็อาจเป็นไปได้ว่าทารกอาจเสี่ยงเป็นโรคดีซ่าน จะทราบได้อย่างไรว่าทารกตัวน้อยเป็นโรคดีซ่านหรือไม่ อาจสังเกตได้จาก สีผิวของทารกที่มีสีเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม และไม่รับประทานอาหาร หรือกินนมได้น้อย ซึ่งหากสังเกตพบอาการเหล่านี้ ต้องเข้ารับการตรวจจากคุณหมอด้านกุมารเวชศาสตร์ในทันที เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนขั้นรุนแรง วิธีดูแลลูกตัวเหลืองที่บ้านแบบง่าย ๆ หลังคลอด หากคุณหมออนุญาตให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกรักกลับบ้านได้ โดยที่ทารกยังคงมีสีผิวสีเหลือง การดูแลลูกรักที่เหมาะสมที่สุด และเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ คือปฏิบัติดังนี้ ดูแลให้ทารกกินนมแม่ 8-12 ครั้งต่อวัน (คือ ให้นมทุก 2-3 ชม.) ในช่วง 3 วันแรกเกิด กรณีที่ทารกกินนมผงควรให้นมสูตรธรรมดา 1-2 ออนซ์ หรือ 30-60 มิลลิลิตร ทุก 2-3 ชั่วโมงในสัปดาห์แรก สังเกตอาการและสีผิวอย่างใกล้ชิด พร้อมจดบันทึกไว้เป็นข้อมูล เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้นำไปแจ้งให้คุณหมอทราบ สังเกตสีอุจจาระ หากเป็นสีเหลืองแปลว่าร่างกายขับสารเหลืองออกมาได้ดี อาการลูกตัวเหลืองแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ โดยปกติทารกที่มีผิวสีเหลือง […]


การเติบโตและพัฒนาการ

พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ หมายถึง พัฒนาการของเด็กอายุระหว่าง 1-3 ปี ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงวัยหัดเดิน เด็กในช่วงอายุนี้มักเริ่มจดจำสิ่งรอบตัว มีความอยากรู้อยากเห็น เริ่มสื่อสารด้วยภาษาง่าย ๆ และท่าทางการแสดงออกที่สื่อถึงอารมณ์และความต้องการได้ดีขึ้น นอกจากคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมลูกรักแล้ว ควรต้องระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในวัยเตาะแตะที่สามารถเคลื่อนไหวไปได้ไกลมากขึ้นด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของลูกน้อยในช่วงวัยเตาะแตะระหว่างอายุ 1-3 ปี โดยพัฒนาการที่เห็นได้ชัดในช่วงอายุนี้ ก่อนเข้าสู่ช่วงวัยหัดเดินนั้น มีดังนี้ พัฒนาการด้านสังคม และอารมณ์ ลูกรักจะเริ่มสนใจ พร้อมมีปฏิกิริยากับผู้คนมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และเด็กคนอื่น ๆ รวมถึงอาจมีการแสดงอารมณ์โกรธ โวยวาย เกรี้ยวกราดออกมา เมื่อพวกเขารู้สึกไม่พอใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจต้องค่อย ๆ เริ่มสอนให้ลูกน้อยรู้จักควบคุมอารมณ์ พัฒนาการด้านการเรียนรู้ความเข้าใจ เด็กช่วงวัยเตาะแตะ จะมีการจดจำรายละเอียดพฤติกรรมของคนรอบข้างและนำไปเลียนแบบ อีกทั้งยังจำแนกความเหมือน และความแตกต่างของสิ่งของ หรือของเล่นต่าง ๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย พัฒนาการด้านกายภาพ ลูกน้อยจะเริ่มมีการหัดเคลื่อนไหวด้วยการตั้งแขนขึ้นเพื่อผลักดันตัวเอง และใช้เท้าดันกับพื้นให้ตัวเองไปด้านหน้า สำหรับเด็กบางคนอาจหัดยืน เดิน ด้วยการหาที่ยึดจับ คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกฝึกฝนและทำอะไรด้วยตนเอง แต่ควรสังเกตอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้ลูกน้อยอยู่คนเดียวเพื่อป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ การปล่อยให้ลูกฝึกฝนการยืน เดิน หยิบจับสิ่งของเอง เป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ และได้ฝึกฝนการทรงตัว, ฝึกฝนความสัมพันธ์ของสายตาควบคู่กับการเคลื่อนไหวร่างกาย พัฒนาการด้านภาษา เมื่อคุณพ่อคุณแม่พูดประโยคซ้ำ ๆ […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น ปัญหาสุขภาพจิต ที่ไม่ควรละเลย

โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น เป็นอีกปัญสุขภาพจิตที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย เนื่องจากวัยรุ่นทุกคนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ และหากวัยรุ่นเป็นโรคสมาธิสั้นก็สามารถส่งผลกับการเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียน และการใช้ชีวิตของวัยรุ่นได้ โรคสมาธิสั้น ส่งผลต่อวัยรุ่นอย่างไร โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่นอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเรียนได้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการรักษาโรคสมาธิสั้นตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก และได้รับผลจากโรคต่อเนื่องมาถึงช่วงวัยรุ่น วัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจลืมทำงานหรือส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ทำหนังสือเรียนหาย รู้สึกเบื่อกับการนั่งเรียนนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน อาจกลายเป็นคนไม่สนใจการเรียนหรือบางคนอาจปรับตัวมาจริงจังกับการเรียนและการใช้ชีวิตมากเกินไปเนื่องจากเกิดความเครียด ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนรู้ทักษะทางด้านกีฬาและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างด้วย โรคสมาธิสั้นในวันรุ่น เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพจิตอื่น ๆ โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่นอาจเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพจิตด้านอื่น ๆ ได้ ทั้งความผิดปกติทางจิต พฤติกรรมและอารมณ์ ดังนี้ ความผิดปกติทางพฤติกรรมซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดความรุนแรง และการกระทำผิดต่าง ๆ ความผิดปกติทางอารมณ์ทั้งความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อาจเป็นเป้าหมายของการถูกกลั่นแกล้ง เสี่ยงใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ เสี่ยงฆ่าตัวตาย อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การดูแล โรคสมาธิสั้นในวันรุ่น โรคสมาธิสั้นในวัยรุ่น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในหลายด้าน ครอบครัวและโรงเรียนจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข การดูแลที่บ้าน คุณอาจช่วยให้วัยรุ่นสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยเริ่มต้นจากที่บ้าน ดังนี้ วางทิศทางการเรียนและขีดเส้นจำกัดกิจกรรมบางอย่างอย่างชัดเจน กำหนดตารางประจำวัน และเก็บสิ่งรบกวนสมาธิ สนับสนุนในกิจกรรมที่วัยรุ่นสนใจ เช่น กีฬา งานอดิเรก ดนตรี ให้รางวัลหรือแสดงคำชื่นชมเมื่อวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ดี จัดกิจวัตรประจำวันของสมาชิกในครอบครัวให้เหมือนกัน เพื่อเอื้อต่อการทำกิจกรรมของลูก พูดคุยกับครูที่โรงเรียนเพื่อร่วมมือกันช่วยเหลือวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้น ฝึกควบคุมอารมณ์เมื่อต้องการฝึกวินัยให้วัยรุ่นเป็นโรคสมาธิสั้น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับวัยรุ่น […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง ถือเป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับการเยียวยาแก้ไข ความรัก ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจภายในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ควรให้ความใส่ใจ หมั่นสังเกต คอยพูดคุยสอบถาม และสอดส่องพฤติกรรมโดยเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม เปิดใจรับฟังในทุกปัญหาและทุกเรื่องราวโดยไม่ต่อว่าหรือดุด่า เมื่อวัยรุ่นรู้สึกว่าเขามีครอบครัวเป็นที่พึ่ง โอกาสที่เขาจะทำร้ายตัวเองย่อมลดน้อยลง [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง มีสาเหตุจากอะไร วัยรุ่นทำร้ายตัวเองเกิดจากหลายสาเหตุ ขาดความรักและความใส่ใจ ต้องการให้มีใครสักคนให้เวลาและคอยรับฟังปัญหาด้วยความเข้าใจ มีความเครียดสะสมทางอารมณ์ หรือรู้สึกเศร้า กดดัน จากสิ่งต่าง ๆ และหาทางออกพื่อปลดปล่อยความรู้สึกด้วยการทำร้ายตัวเอง รู้สึกโกรธ และต้องการระบายความโกรธ เกลียดชัง ออกมาผ่านการทำร้ายตัวเอง เปลี่ยนความเจ็บปวดทางความรู้สึกให้กลายเป็นความเจ็บปวดทางร่างกายแทน ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เพราะเมื่อทำร้ายตัวเอง อาจทำให้มีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น วิธีการที่วัยรุ่นใช้ทำร้ายตัวเอง วัยรุ่นทำร้ายตัวเองสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ใช้มีดกรีด เกา สลักเครื่องหมายบนรางกาย แกะสะเก็ดแผลจนแผลไม่หาย ดึงผม หรือตัดผมให้แหว่ง ใช้การเผาตัวเอง กัดหรือตีตัวเองแรง ๆ หรือใช้อาวุธช่วย กระแทกตัวเองเข้ากับสิ่งของ ของแข็ง หรือผนัง ประตูบ้าน สัญญาณเตือนของ วัยรุ่นทำร้ายตัวเอง เมื่อวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง มักจะพยายามปิดบังสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากอาจรู้สึกละอายใจ กังวลว่าผู้อื่นจะโกรธ หรือไม่เข้าใจ สัญญาณเตือนว่าวัยรุ่นอาจมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ได้แก่ สัญญาณเตือนทางพฤติกรรม […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

ความรุนแรง ส่งผลต่อ วัยรุ่น อย่างไรบ้าง

ความรุนแรง อาจส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ โดยเฉพาะ วัยรุ่น ที่เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม วัยรุ่นที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาจมีปัญหาสุขภาพจิตหลายประการ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่มั่นใจในตัวเอง รวมถึงอาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองและผู้อื่นอีกด้วย ดังนั้น จึงควรหาวิธีการป้องกันความรุนแรงในวัยรุ่นอย่างเหมาะสม ความรุนแรง ส่งผลต่อ วัยรุ่น อย่างไร ความรุนแรงส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น โดยวัยรุ่นที่ถูกรังแกอาจประสบกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และอาจทำให้ความภูมิใจในตนเองต่ำลง อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่อยากไปโรงเรียน หรืออาจส่งผลร้ายแรงถึงการทำร้ายตัวเอง หรืออาจรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ส่วนวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น มีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมอย่างรุนแรง จนอาจทำให้เกิดปัญหาที่โรงเรียน การใช้สารเสพติด และมีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยผู้ปกครองควรใส่ใจกับพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณเตือนเหล่านี้ เช่น ทะเลาะวิวาทด้วยการใช้กำลังหรือวาจา มีพฤติกรรมโทษผู้อื่นเมื่อตัวเองทำความผิด นอกจากนี้วัยรุ่นที่ยืนดูการใช้ความรุนแรง อาจประสบกับปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นกัน อาจมีความรู้สึกวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า โดยวัยรุ่นเหล่านี้อาจเผชิญกับความเครียดเพราะกลัวว่าตนจะถูกใช้ความรุนแรงเมื่อใด หรือรู้สึกกังวลเมื่ออยากเข้าไปช่วยผู้อื่นแต่ไม่สามารถทำได้ ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงในวัยรุ่น ความรุนแรงในวัยรุ่นอาจหมายถึงการใช้ความรุนแรงในการทำร้ายร่างกายจนก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บหรืออาจรุนแรงไปถึงการฆาตกรรม ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นความรุนแรงที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อจิตใจและสังคมของบุคคลนั้น ทั้งตัวผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเอง มาดูกันว่าจะมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ ความรุนแรงส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากตัวบุคคล โรคสมาธิสั้น หรือเกิดความผิดปกติทางพฤติกรรม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด และสูบบุหรี่ การมีส่วนร่วมในอาชญากรรม การว่างงาน ความรุนแรงในครอบครัว พฤติกรรมก้าวร้าว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน