พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

สุขภาพจิตวัยรุ่น

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ที่ควรระวัง

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น เป็นพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคนที่กำลังประสบปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจ และให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยรุ่น วันนี้เรามาดูกันว่าพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง เพื่อที่คุณจะได้รู้ทันอาการและแก้ไขได้อย่างตรงจุด สุขภาพจิตวัยรุ่น วัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 10-19 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมหลายประการ รวมถึงการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น ความยากจน การล่วงละเมิดทางเพศ หรือความรุนแรง เหล่านี้ล้วนสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในวัยรุ่นได้ทั้งสิ้น  ดังนั้นการส่งเสริมและปกป้องสุขภาพจิตในวัยรุ่นจึงมีความสำคัญ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา และเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจให้สมบูรณ์เพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต่อไป พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น คืออะไร มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ยิ่งวัยรุ่นต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตมากขึ้นเท่านั้น และปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความเครียดในช่วงวัยรุ่น ได้แก่ ความต้องการอิสระมากขึ้น ความกดดันในการปรับตัวเข้าสังคม ลักษณะความแตกต่างทางเพศ การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำและการยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ครอบครัว ความรุนแรง ตัวอย่างเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น และอาจก่อให้เกิด พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ได้เช่นกัน พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น มีอะไรบ้าง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นเป็นพฤติกรรมที่วัยรุ่นปฏิบัติหรือเลือกทำ เพื่อหนีจากความเครียด ความวิตกกังวล หรือเพื่อต่อต้านสิ่งต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้ ดังนี้ การกลั่นแกล้ง หรือการใช้ความรุนแรง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้งหรือใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นตลอดเวลา มักมีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมมากขึ้น เช่น มีปัญหาที่โรงเรียน การใช้สารเสพติด และมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นมีพฤติกรรมชอบกลั่นแกล้ง ใช้ความรุนแรงทางร่างกาย และวาจา มักอยู่ในกลุ่มที่ชอบรังแกผู้อื่นเหมือนกัน มีความก้าวร้าวมากขึ้น มีปัญหาที่โรงเรียนบ่อยครั้ง ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตน ส่วนวัยรุ่นที่ยืนดูการกลั่นแกล้ง หรือถูกกลั่นแกล้ง มักมีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองต่ำลง สัญญาณที่บอกว่าวัยรุ่นกำลังถูกกลั่นแกล้ง อาการบาดเจ็บที่ไม่มีสาเหตุ เสื้อผ้า หนังสือ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาภูมิคุ้มกันในทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรรู้

ปัญหาภูมิคุ้มกันในทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด และอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพทารกในระยะยาวได้ [embed-health-tool-due-date] การคลอดก่อนกำหนดคืออะไร การคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกคลอดก่อนกำหนดจริงประมาณ 3 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น ซึ่งทารกที่คลอดกำหนดหลายคนอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าใด ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้นด้วยเช่นกัน และหนึ่งในนั้นคือ ปัญหาภูมิคุ้มกันในทารกคลอดก่อนกำหนด ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย ระบบภูมิคุ้มกันในทารก ระบบภูมิคุ้มกันประกอบไปด้วย เซลล์ โปรตีน เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่ป้องกันการติดเชื้อ เมื่อเวลาผ่านไประบบภูมิคุ้มกันได้สัมผัสกับแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราต่าง ๆ จากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะพัฒนาแอนติบอดี (โปรตีนที่มีความสามารถในการกำจัดเชื้อโรค) เพื่อปกป้องร่างกายจากสิ่งที่บุรุกเข้ามาและพัฒนาเป็นภูมิคุ้มกันเชื้อนั้น ๆ  ตัวอย่างเช่น เด็กที่เป็นโรคอีสุกอีใส หลังจากการติดเชื้อครั้งแรกระบบภูมิคุ้มกันจะพัฒนาแอนติบอดีและสร้างภูมิคุ้มกัน หากในอนาคตได้สัมผัสกับไวรัสตัวเดิมเด็กจะไม่เป็นอีสุกอีใสอีก โดยปกติทารกในครรภ์จะได้รับแอนติบอดีจากการผลิตแอนติบอดีของแม่ผ่านทางรกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ทำให้ทารกมีภูมิต้านทานโรคตั้งแต่แรกเกิด แต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจยังไม่ได้รับแอนติบอดีจากแม่อย่างเพียงพอ จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อเมื่ออยู่นอกมดลูก นอกจากนี้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาในการผลิตเซลล์และโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว และแอนติบอดี ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ทารกมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ การติดเชื้อในทารก ปัญหาภูมิคุ้มกันในทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นปัญหาที่ทารกคลอดก่อนกำหนดมักมีระดับของแอนติบอดีต่ำ ซึ่งเป็นโปรตีนในเลือดที่ทำหน้าเป็นระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด ทารกจะได้รับแอนติบอดีจากแม่ผ่านทางรกแต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับแอนติบอดีที่น้อยกว่า ทำให้ทารกมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อหลังคลอดสูง โดยเฉพาะการติดเชื้อในเลือด หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อีกทั้งการใช้อุปกรณ์ในการรักษาทารกคลอดก่อนกำหนด อย่างเช่น เครื่องช่วยหายใจ สายสวนในหลอดเลือด จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียที่ร้ายแรงได้ ภาวะติดเชื้อระยะเริ้มต้น ทารกสามารถติดเชื้อในระยะเริ้มต้นได้หากทารกได้มีการสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียบางชนิดระหว่างคลอด ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนที่คุณต้องเฝ้าระวัง

ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนดบางคน ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในหลายด้านเมื่อเติบโตขึ้น เพื่อให้คุณสามารถรับมือและเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการได้ยินในทารกมากขึ้น ลองอ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ การคลอดก่อนกำหนดเป็นการคลอดที่เกิดขึ้นก่อนกำหนดจริงประมาณ 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น อีกนัยหนึ่งการคลอดก่อนกำหนดคือการคลอดก่อน 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมามากมาย ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าไรยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้นด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและพัฒนาการทางการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาการได้ยินในทารกคลอดก่อนกำหนด คืออะไร ปัญหาการได้ยิน เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งการสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม การติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด ส่วนในทารกที่คลอดก่อนกำหนดแน่นอนว่าอวัยวะอาจยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์จากในครรภ์จึงอาจส่งผลทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินได้ ในบางกรณีเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจสูญเสียการได้ยินในภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับการคลอดก่อนกำหนดด้วย เด็กที่สูญเสียการได้ยินและไม่ได้รับการรักษาหรือทำการรักษาล่าช้า อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางภาษา การพูด และการสื่อสารกับผู้อื่นเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่อการเข้าสังคมในอนาคตได้ ตรวจการได้ยินในทารก ทารกทุกคนจะได้รับการตรวจคัดกรองปัญหาการได้ยิน โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับการทดสอบการได้ยินหลังจากอายุได้ 34 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะวินิจฉัยว่าทารกสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว โดยจะใช้เครื่องมือเซ็นเซอร์พิเศษวางบนศีรษะของทารก และดูการตอบสนองจากเส้นประสาทการได้ยินของทารก หรือเรียกว่า การตอบสมองของก้านสมองอัตโนมัติ (Automated Auditory Brainstem Response : AABR) เพื่อตรวจสอบการได้ยินของทารกคุณอาจสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ ช่วง 4-10 สัปดาห์ ทารกอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อมีเสียงดังกะทันหัน กระตุกหรือกระพริบตา เสียงจะรบกวนการนอนหลับของทารก หยุดกินนมเมื่อได้ยินเสียง มองไปตามเสียง ร้องไห้ ช่วง 3-4 เดือน ทารกอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนด ประเภท และการป้องกัน

ปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะแทรกซ้อนอีกประเภทหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในทารกคลอดก่อนกำหนดบางคน ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยในระยะยาวได้ มาทำความรู้จักกับปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนดเพื่อที่คุณได้รู้เกี่ยวกับโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมาและจะได้รับมือได้อย่างทันท่วงที การคลอดก่อนกำหนดคือการคลอดที่เกิดขึ้นก่อนเวลาที่กำหนดโดยประมาณของทารก หรือการคลอดที่เกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งร่างกายและสมองอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่เมื่ออยู่ในครรภ์ จนทำให้ทารกบางคนมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไรยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้นด้วยเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนด คืออะไร ปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาทางระบบประสาทซึ่งส่งผลต่อสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาทส่วนปลาย และกล้ามเนื้อ ยิ่งทารกเกิดเร็วเท่าไร ความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกในสมองก็มากขึ้นเท่านั้น เรียกว่า ภาวะตกเลือดในสมอง ในทารกบางคนภาวะตกเลือดในสมองอาจหายได้เอง แต่ในบางคนอาจส่งผลทำให้สมองได้รับบาดเจ็บอย่างถาวร อีกทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาสมองอื่น ๆ ตามมาได้ ประเภทของปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนด ประเภทของปัญหาสมองในทารกคลอดก่อนกำหนดที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้ ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง (Intraventricular hemorrhage : IVH) เป็นภาวะที่มีเลือดออกในบริเวณรอบ ๆ โพรงช่องว่างในสมอง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำไขสันหลัง เกิดจากเส้นเลือดบอบบางเกิดการแตกออก ทำให้เลือดเข้าไปสะสมในสมองซึ่งสามารถทำลายเซลล์ประสาทได้ ภาวะเลือดออกในโพรงสมองมักพบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม อาจแสดงอาการ ดังนี้ โรคโลหิตจาง ทารกร้องไห้บ่อย อัตราการเต้นของหัวใจต่ำ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาการซึม ชัก ทารกไม่อยากอาหาร ภาวะเนื้อเยื้อรอบโพรงสมองได้รับความเสียหาย (Periventricular leukomalacia : PVL) เป็นภาวะที่เกี่ยวของกับระบบประสาทในทารกคลอดก่อนกำหนด และมักเกิดขึ้นบ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีดูแล

โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด เป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงชนิดหนึ่งที่พบมากในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดให้มากขึ้น ทั้งอาการที่ควรสังเกต สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลที่เหมาะสม อาจช่วยคลายความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด คืออะไร โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด (Bronchopulmonary dysplasia : BPD) เป็นโรคที่เกี่ยวกับปัญหาการหายใจและปอดในระยะยาว จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่เกิดจากปอดของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ โรคนี้มักพบในทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress syndrome : RDS) โดยความรุนแรงของโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดมีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงรุนแรงมาก ทารกที่เป็นโรคปอดเรื้อรังอาจพบภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ ปัญหาสุขภาพที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจต่อเนื่อง เสี่ยงเกิดโรคไข้หวัดธรรมดา โรคไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ง่าย ปัญหาการกลืน ปัญหาการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า ปัญหาการหายใจในวัยเด็ก และอาจเรื้อรังไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ อาการ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด อาการที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ปัญหาการหายใจ เช่น หายใจเร็ว หายใจสั้น มีเสียงเมื่อหายใจ หน้าอกมีการหดและขยายอย่างชัดเจน อาจหยุดหายใจชั่วขณะ ปีกจมูกขยับแรงกว่าปกติขณะหายใจ อาจมีอาการหายใจหอบ ผิวปลายมือปลายเท้าหรือริมฝีปากมีสีเขียว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจนอย่างต่อเนื่องหลังจากทารกคลอดก่อนกำหนด มีอายุประมาณ 36 สัปดาห์ สาเหตุของโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะหายใจลำบาก ภาวะปอดติดเชื้อ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาหัวใจในทารกคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับลูกน้อย

ปัญหาหัวใจในทารกคลอดก่อนกำหนด หมายถึง ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหัวใจในลักษณะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตต่ำ หัวใจพิการ อาจเกิดจากหัวใจของทารกยังไม่พัฒนาจนสมบูรณ์พร้อม ปัญหาหัวใจเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจเป็นอันตรายกับสุขภาพเด็กได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-”due-date”] ทารกคลอดก่อนกำหนดกับปัญหาสุขภาพหัวใจ ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนครบกำหนดประมาณ 2 สัปดาห์ หรือคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่มักมีปัญหาสุขภาพตามระบบต่าง ๆ เนื่องจากร่างกายอาจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่ ปัญหาสุขภาพเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของทารกทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีงานวิจัยที่พบว่า ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อีกทั้งการคลอดก่อนกำหนดยังอาจส่งผลต่อโครงสร้างหัวใจและการทำงานของหัวใจอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่พบว่า การคลอดก่อนกำหนดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และระดับคอเลสเตอรอลสูงเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่อีกด้วย ปัญหาหัวใจในทารกคลอดก่อนกำหนด ปัญหาหัวใจที่อาจพบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนด มีดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus : PDA) เมื่อทารกอยู่ในครรภ์ ทารกจะได้รับออกซิเจนจากรก เพราะปอดจะยังไม่ทำงานจนกว่าทารกจะลืมตาดูโลกและสายสะดือถูกตัดขาด เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วหลอดเลือดหัวใจจะปิดเพื่อให้ปอดเริ่มทำงาน แต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด หลอดเลือดหัวใจส่วนนี้อาจปิดช้ากว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน โดยปกติโรคนี้มักไม่ก่อให้เกิดปัญหา เนื่องจากหลอดเลือดจะปิดตัวลงได้เองเมื่อทารกคลอดก่อนกำหนดมีอายุเท่ากับทารกที่คลอดตามกำหนด แต่ทารกบางคนอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกินถาวร และทำให้อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือรับการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดปิดหลอดเลือดเกิน โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease : CHD) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หมายถึง โรคที่ลักษณะของหัวใจผิดปกติ เช่น ผิดรูป มีรูรั่ว […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

หนองในแท้ในทารก โรคติดต่อจากแม่สู่ลูก ที่คุณควรรู้

หนองในแท้ในทารก เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่แพร่กระจายจากแม่สู่ลูก ทารกที่เป็นโรคหนองในมักมีอาการที่รุนแรง เช่น มีหนองไหลออกจากดวงตาและจมูก มีเลือดออกจากร่างกาย รวมไปถึงยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] หนองในแท้ในทารก คืออะไร โรคหนองในแท้ในทารก เกิดขึ้นจากคุณแม่ตั้งครรภ์ติหนองในแท้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ติดต่อได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยมักแพร่กระจายผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก และช่องปาก ซึ่งโรคหนองในสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ และอาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ทารกที่ติดเชื้อหนองในแท้มักจะมีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในบริเวณดวงตา เนื่องจากเป็นบริเวณเปราะบางที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อมากที่สุด อีกทั้งอาจมีการติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและพัฒนาผิดปกติล่าช้าได้หากรักษาไม่ทันท่วงที โดยปกติแล้วหากสูตินรีแพทย์ตรวจพบว่าคุณแม่เป็นโรคหนองในแท้ จะเร่งทำการรักษาให้หายขาดก่อนที่คุณแม่จะคลอดบุตร อาการของ โรคหนองในแท้ในทารก โดยปกติแล้ว โรคหนองในแท้ในทารก มักจะแสดงอาการหลังจากการติดเชื้อภายในช่วง 2 สัปดาห์แรก ซึ่งอาจมีอาการดังนี้ อาการทางดวงตา เช่น ตาแดง ตาบวม มีหนองออกจากตา อาจมีเลือดออกจากอวัยวะเพศหรือทวารหนัก อาจมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ดูดนมได้น้อยลง แสบร้อนขณะปัสสาวะ ปวดท้องน้อย ปวดทวารหนัก อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อจนถึงชีวิตได้ หากติดเชื้อทางระบบประสาท อาจมีภาวะชัก เกร็ง ตัวเขียว เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นหนอง ถึงแก่ชีวิตได้ การรักษา โรคหนองในแท้ในทารก หนองในแท้สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ทางที่ดีที่สุดคือการรักษาโรคหนองในแท้ในตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ให้หายดีก่อนที่คุณแม่จะคลอดบุตร แต่หากทารกได้รับเชื้อหนองในไปแล้ว แพทย์ก็อาจจะต้องให้ยาปฏิชีวนะทั้งกับตัวแม่และทารก การใช้ยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นอาการที่ไม่รุนแรง เช่น มีไข้ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด รู้ก่อน เพื่อสุขภาพทารก

ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด คือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เช่น โรคปอดเรื้อรัง ภาวะหายใจลำบาก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ปอดของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ปัญหาการหายใจในทารก เหล่านี้ก็จะค่อย ๆ หายไปตามพัฒนาการของทารก ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หมายถึงทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีปัญหาสุขภาพมากมายเนื่องจากร่างกายยังไม่พัฒนาเต็มที่ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าไรจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเท่านั้น [embed-health-tool-”due-date”] ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง ทารกที่คลอดก่อนกำหนดบางคนอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เนื่องจากระบบทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ปอดของทารกอาจขาดสารลดแรงตึงผิวที่ช่วยให้ปอดขยายตัว ทำให้ปอดของทารกอาจไม่สามารถหดและขยายตัวได้ตามปกติ จนนำไปสู่ ปัญหาการหายใจในทารก ต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด (Newborn or neonatal respiratory distress syndrome : NRDS) กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด เกิดขึ้นจากการที่ปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้ไม่สามารถรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ ทำให้ทารกอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ สีผิว ริมฝีปาก ลิ้นและเล็บ เปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือฟ้า หายใจสั้นและเร็ว มีเสียงดังเมื่อหายใจ กรณีที่เป็นมากอาจซึมลง หายใจช้า หรือ หายใจแผ่ว แพทย์อาจต้องให้สารลดแรงตึงผิวผ่านทางหลอดลมเข้าสู่ปอด นอกจากนี้ หากแพทย์พิจารณาว่าคุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 34 คุณหมอก็อาจให้ยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยให้ปอดของทารกพัฒนาดีขึ้น เนื่องจากปอดของทารกคลอดก่อนกำหนดจะพัฒนาจนใกล้เคียงทารกครบกำหนดหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป โรคปอดเรื้อรังในทารกคลอดก่อนกำหนด (Bronchopulmonary […]


สุขภาพวัยรุ่น

ปัญหาสุขภาพช่องปากในวัยรุ่น ปัญหาสุขภาพเล็ก ๆ ที่ต้องใส่ใจ

ปัญหาสุขภาพช่องปากในวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฟันคุด ฟันผุ เหงือกร่น หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ล้วนเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคน โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่ให้ความสำคัญในการดูแลช่องปาก เช่น กินขนมหวานแล้วไม่ยอมแปรงฟัน ดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป การกระทำเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ปัญหา สุขภาพช่องปากและฟันของวัยรุ่น ได้ในที่สุด การตระหนักรู้ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และการดูแลสุขภาพช่องปากของวัยรุ่นอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย ปัญหาสุขภาพช่องปากในวัยรุ่น มีอะไรบ้าง วัยรุ่นเป็นวัยที่อาจเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากมากมาย แตกต่างกันไปในแต่ละคน ปัญหาสุขภาพฟันของวัยรุ่น ที่อาจพบได้ มีดังนี้ ฟันผุ ฟันผุ เป็นหนึ่งใน ปัญหาสุขภาพฟันของวัยรุ่น ที่พบได้บ่อย หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ นำไปสู่อาการปวดหรือสูญเสียฟันได้ การป้องกันฟันผุสามารถทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยในช่องปาก เช่น แปรงฟันหลังมื้ออาหารทุกครั้ง แปรงลิ้น ใช้ไหมขัดฟัน ควบคู่ไปกับการลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ลูกอม น้ำอัดลม โรคเหงือก โรคเหงือกมี 2 ชนิด คือ โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งล้วนมีสาเหตุจากคราบพลัคสะสมที่โคนฟัน ทำให้มีอาการเลือดออก เหงือกแดงและบวม โรคเหงือกอักเสบมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคปริทันต์อักเสบ ที่อาจลุกลามมากขึ้นจนเหงือกติดเชื้อ และอาจส่งผลทำให้ฟันหลุดได้ ช่วงวัยรุ่นที่มีความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกมากขึ้น ดังนั้น วัยรุ่นจึงควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี และเข้าพบทันตแพทย์ทันทีถ้าหากสังเกตพบอาการของโรคเหงือก เช่น เหงือกบวม เหงือกอักเสบ มีเลือดออกในช่องปาก ฟันซ้อน ฟันไม่เรียงตัว อีกหนึ่ง […]


สุขภาพวัยรุ่น

การดื่มสุราในวัยรุ่น เรื่องสำคัญของสุขภาพในระยะยาว

การดื่มสุราในวัยรุ่น อาจเป็นสิ่งที่ยากต่อการหลีกเลี่ยง เพราะต้องยอมรับว่าในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนมากมักดื่มสุราเพื่อสังสรรค์ เข้าสังคม หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นการป้องกันและรับมือกับปัญหาเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับปัญหา วัยรุ่นดื่มสุรา มาฝากทุกคนแล้วในบทความนี้เลยค่ะ เหตุผลของ การดื่มสุราในวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ วิถีชีวิต และความเป็นอิสระที่เพิ่มมากขึ้น จึงอาจมีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น ดังนี้ อยากรู้อยากลอง วัยรุุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสมองของวัยรุ่นในช่วงอายุ 20 ปี ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการพัฒนาของสมองนี้อาจช่วยอธิบายพฤติกรรมบางอย่างของวัยรุ่นได้ เช่น มีแนวโน้มที่จะต้องการพบเจอกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่อาจเป็นอันตราย อย่างการเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และวัยรุ่นเป็นวัยที่มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น จึงมักไม่ทราบว่าการกระทำของตนอาจส่งผลเสียตามมาได้ ความคาดหวังและมุมมอง มุมมองต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มของวัยรุ่น วัยรุ่นที่มีมุมมองว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจ มักมีแนวโน้มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวัยรุ่นที่มีมุมมองแตกต่างกัน ความทนต่อแอลกอฮอล์ วัยรุ่นส่วนมากสามารถทนต่อผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น อาการง่วงนอน อาการเมาค้าง ได้มากกว่าวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากสมองของวัยผู้ใหญ่ที่เติบโตเต็มที่มีความแตกต่างกับสมองของวัยรุ่น การที่วัยรุ่นสามารถทนต่อผลเสียของสุราได้ดียังอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นมีความรู้สึกเชิงบวกต่อการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์มากกว่าวัยผู้ใหญ่ เพราะพวกเขาอาจรู้สึกสบายใจมากขึ้นเมื่อดื่มสุรานั่นเอง ลักษณะบุคลิกภาพและโรคทางจิตเวช เด็กที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนอายุ 12 ปี มักจะมีแนวโน้มที่จะเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ส่วนวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมชอบก่อกวน สมาธิสั้น และก้าวร้าว มักมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ซึมเศร้า ชอบเก็บตัว หรือวิตกกังวล […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน