พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

พ่อแม่เลี้ยงลูก

ทักษะชีวิต ที่เด็กแต่ละช่วงวัยควรเรียนรู้

คนเราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ แต่นอกจากทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน หรือวิชาเรียนในตำรา เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ที่เด็ก ๆ ต้องเรียนอยู่แล้ว ทักษะชีวิต ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เด็ก ๆ ควรเรียนรู้เอาไว้ เพื่อให้สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข [embed-health-tool-vaccination-tool] ทักษะชีวิต สำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย เด็กวัยเตาะแตะ และเด็กก่อนวัยเรียน (เด็กเล็ก) เก็บของเล่นใส่ตะกร้า เด็กวัยเตาะแตะเป็นวัยที่ชอบหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ใส่ลงตะกร้า เราเลยอยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลองฝึกให้เขาได้ลองเก็บของเล่นใส่ตะกร้า และหยิบของเล่นออกจากตะกร้า เพราะวิธีนี้นอกจากจะช่วยเสริมสร้างทักษะการหยิบจับสิ่งของให้กับลูกน้อยแล้ว ยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือให้กับลูกได้ด้วย แต่งตัวเอง คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะอยากให้ลูกแต่งตัวเข้าชุดกัน เพราะรู้สึกว่าดูน่ารักน่าเอ็นดู ก็เลยเป็นคนเลือกเสื้อผ้าให้ลูกใส่เองมาโดยตลอด แต่เราอยากบอกว่า ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้แต่งตัวเองดูบ้าง โดยอาจจะคอยแนะนำเขาว่า เสื้อผ้าชิ้นนี้ต้องใส่อย่างไร แต่อย่าไปกะเกณฑ์หรือบังคับให้เขาเลือกเสื้อตัวนี้กับกางเกงตัวนั้น เพราะเห็นว่ามันเข้ากันดี แม้ในช่วงแรก ๆ การมิกซ์แอนด์แมทช์เสื้อผ้าของลูกอาจจะดูไม่โอเคเท่าไหร่ แต่ก็อย่าไปปิดกั้นจินตนาการของเขา เพราะนานวันไป ทักษะในการแมทช์เสื้อผ้าของเขาก็จะพัฒนาขึ้นเอง และจะส่งผลดีต่อการเลือกสรรสิ่งอื่น ๆ ของเขาด้วย เก็บเสื้อผ้าที่ใส่แล้วลงตะกร้า หลายคนอาจคิดว่า การเก็บเสื้อผ้าที่ใส่แล้วลงตะกร้าดูจะเป็นภารกิจที่หนักเกินไปสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ หรือเด็กก่อนวัยเรียน แต่จริง ๆ แล้ว การสอนให้ลูกรู้จักเก็บเสื้อผ้าที่ตัวเองใส่แล้วลงในตะกร้าตั้งแต่ยังเด็ก […]


เด็กทารก

ทารกกับอากาศร้อน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โดยปกติแล้ว ไม่ควรพาทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนไปโดนแสงแดดโดยตรง เนื่องจากผิวของทารกยังมีเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดน้อยเกินไป ทั้งยังไม่ควรทาครีมกันแดดให้กับทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนอีกด้วย แต่ในประเทศไทยนั้น ทารกกับอากาศร้อน นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเตรียมพร้อมเมื่อต้องพาทารกออกไปข้างนอกในช่วงอากาศร้อน [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกกับอากาศร้อน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ อากาศร้อนแค่ไหน ถึงไม่ควรพาทารกเดินทาง สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics หรือ AAP) ระบุว่า เด็กทุกเพศทุกวัยที่มีสุขภาพแข็งแรงดี สามารถเล่นกลางแจ้ง หรือเดินทางในช่วงอากาศร้อนได้ หากอุณหภูมิไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส แต่หากเป็นเด็กทารก หรือเด็กวัยเตาะแตะ ไม่ควรเผชิญอากาศร้อนหรือแสงแดดติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เพราะเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่าย อากาศร้อนส่งผลต่อร่างกายทารกอย่างไร อากาศร้อนสามารถส่งผลกระทบต่อทารก และทำให้เกิดภาวะสุขภาพได้นานัปการ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผดร้อน ผดร้อน หรือผด (Heat rash หรือ Prickly heat) คือ รอยหรือตุ่มแดงขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเพราะอากาศร้อนจัด ทำให้รู้สึกคันตามผิวหนังในบริเวณที่เกิดผด ยิ่งเด็กทารกยิ่งเสี่ยงเกิดผดร้อนได้ง่าย เพราะต่อมเหงื่อยังพัฒนาไม่เต็มที่ โดยผดร้อนในทารกอาจเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกายที่อับชื้น เช่น บริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม บริเวณใต้คาง ภาวะขาดน้ำ การเผชิญอากาศร้อนหรือแสงแดดจัดทำให้ทารกเสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำให้ร่างกายของเด็กชุ่มชื้นอยู่เสมอ หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ไฟไหม้ อันตรายต่อลูกน้อย ป้องกันได้อย่างไร

ด้วยช่วงวัยที่มาพร้อมกับความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก ๆ ทำให้พวกเขาชอบที่จะเล่นสนุกสนานไปกับวัตถุหรือสิ่งรอบตัว ในบางครั้งการเล่นสนุกของพวกเขาอาจนำไปสู่อุบัติเหตุ หรือแม้แต่การบาดเจ็บสาหัสจากการถูก ไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกได้ มากไปกว่านั้นแล้ว เด็กยังมีผิวหนังที่บอบบางกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเรียนรู้วิธีที่จะ ป้องกันลูกน้อยจากการถูกไฟไหม้ เอาไว้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ไฟไหม้ ป้องกันได้อย่างไร ทุกวันมีเด็กมากกว่า 300 คนที่ได้รับการรักษาในห้องฉุกเฉิน เนื่องจากได้รับความบาดเจ็บจากการถูกไฟไหม้ ดังนั้น คุณจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากที่จะปกป้องลูกน้อยจากการถูกไฟไหม้ ซึ่ง การปกป้องลูกน้อยจากการถูกไฟไหม้ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้ โดยทั่วไป ป้องกันไฟไหม้บ้านด้วยการทำให้แน่ใจว่า คุณมีสัญญาณเตือนควันในทุกจุดของบ้านและในแต่ละห้องนอน พยายามตรวจสอบทุกเดือนว่าสัญญาณเตือนยังทำงานได้ดีอยู่หรือไม่และพยายามเปลี่ยนแบตเตอรี่ปีละ 2 ครั้ง หากคุณไม่มีสัญญาเตือนควัน ให้สอบถามจากบริษัทดับเพลิงท้องถิ่น เกี่ยวกับวิธีการรับมือกับเหตุ ไฟไหม้ เปลี่ยนสัญญาเตือนควันที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จัดทำแผนหนีไฟ 2 ทาง ซึ่งได้แก่ จากบ้านและเลือกสถานที่นัดพบเมื่อคุณออกจากบ้านมาเรียบร้อยแล้ว และฝึกซ้อมแผนหนีไฟเป็นประจำ ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ควรเก็บบันไดฉุกเฉินไว้ที่ชั้นบนของบ้าน นอกจากนั้นยังควรเก็บบันไดเอาไว้ให้ใกล้กับห้องของผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่รู้วิธีการใช้งานบันไดฉุกเฉิน ติดตั้งเครื่องดับเพลิงเอาไว้ในห้องครัว และเรียนรู้วิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง หากคุณเป็นคนที่สูบบุหรี่ อย่าสูบบุหรี่ในบ้าน โดยเฉพาะเมื่อคุณมีอาการเหนื่อยจากการทานยาที่อาจทำให้คุณง่วงนอน และไม่ควรสูบบุหรี่เมื่อคุณอยู่บนเตียงนอน เก็บเชื้อเพลิงหรือวัตถุไวไฟ เช่น ไม้ขีดไฟ สารเคมี และเทียนไข ให้พ้นจากมือเด็ก ห้องนั่งเล่น หากบ้านมีเตาผิง […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

เมื่อลูกเกิด ความขัดแย้ง คุณพ่อคุณแม่ควรให้คำแนะนำอย่างไร

การเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาถือเป็นบทเรียนชีวิตที่สำคัญสำหรับพวกเขา เด็ก ๆ ที่รู้วิธีจัดการ ความขัดแย้ง จะมีความสุข มีมิตรภาพที่ดี และจะมีการเรียนรู้ที่โรงเรียนดีขึ้น แต่ทั้งนี้การแก้ไขความขัดแย้งมักจะต้องขึ้นอยู่กับอายุ ระดับพัฒนาการ และประสบการณ์ชีวิต แต่ถ้าลูกไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ก็ถึงคราวที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมใน ความขัดแย้ง ของลูก เมื่อลูกเกิดความขัดแย้งกัน ผู้ปกครองบางคนมักจะรีบยื่อมือเข้าไปช่วยเหลือโดยที่ไม่รอให้พวกเด็ก ๆ แก้ปัญหากันเองก่อน ซึ่งการทำเช่นนี้มักจะทำให้เด็ก ๆ ไม่รู้วิธีการปรับตัวเข้ากับสังคม และมักจะรอให้ผู้ใหญ่เข้ามาช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นพ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งแบบเผด็จการและล่วงละเมิดสิทธิ์ของเด็ก ๆ ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือพวกเด็ก ๆ เกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ก็คือ การทำให้เกิดความสมดุล และแทรกแซงเข้าไปช่วยเหลือเมื่อจำเป็นเท่านั้น คุณต้องแน่ใจว่ากำลังช่วยเด็กและมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในบางครั้งคุณก็ควรจะต้องปล่อยให้พวกเขาได้ใช้ทักษะในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยปกติแล้วเด็กเล็กจะสามารถเรียนรู้วิธีการจัดการกับอารมณ์และความขัดแย้ง เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการกับสถานการณ์ที่มีปัญหา ด้วยกลยุทธ์บางอย่างของเด็ก พวกเขาสามารถจะกลายเป็นนักแก้ปัญหา และรักษามิตรภาพของพวกเขาเอาไว้ได้ แม้จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็ตาม การให้คำแนะนำเมื่อลูกเกิด ความขัดแย้ง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถช่วยเหลือลูก ๆ เมื่อพวกเขาเกิดความขัดแย้งกันขึ้น คือการให้คำแนะนำกับพวกเขาในการรับมือกับความขัดแย้ง ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ ช่วยให้เด็กทำตัวให้สงบ ปล่อยให้พวกเขาเรียนรู้ว่าความขัดแย้งนั้น มันจะต้องใช้ความกล้าที่จะเดินออกไปจากการต่อสู้กันมากกว่าการอยู่ ณ ตรงนั้น แล้วเริ่มต้นการต่อสู้กัน สอนพวกเขาว่าการต่อสู้นั้นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา เตือนพวกเขาว่าเมื่อพวกเขาโกรธ แต่ไม่ได้มีการต่อสู้ นั่นคือพวกเขาได้รับการชนะอย่างแท้จริง แต่บางครั้งเด็กบางคนอาจจะมีพฤติกรรมการเข้ากับคนอื่นยาก โดยพวกเขาอาจจะมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ต่อสู้เมื่อพวกเขาโกรธ โดนล้อมาก ๆ […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ถ้วยหัดดื่ม (Sippy Cups) คืออะไร มีประโยชน์หรือโทษอย่างไรบ้าง

ถ้วยหัดดื่ม คือถ้วยที่ช่วยในการปรับพฤติกรรมของลูกน้อยวัยเตาะแตะเพื่อให้เลิกดื่มนมจากขวด ถ้วยหัดดื่มมีประโยชน์อย่างไรบ้าง รวมทั้งอาจสร้างปัญหาเกี่ยวกับช่องปากของลูกน้อยได้หรือไม่อย่างไร จำเป็นต้องทำความรู้จักเกี่ยวกับถ้วยหัดดื่ม เพื่อจะได้นำไปใช้อย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์มากที่สุด ประโยชน์ของถ้วยหัดดื่ม  ถ้วยหัดดื่ม (Sippy Cups) ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนผ่าน เพื่อช่วยให้เด็กวัยหัดเดินได้ปรับจากขวดมาเป็นถ้วยดื่มแบบไม่มีฝา เนื่องจากการใช้ขวดเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงในช่องปาก ทั้งยังอาจจะทำให้เด็กวัยหัดเดินสูญเสียการควบคุมและความชำนาญในการใช้ปากได้ ถ้วยหัดดื่มจึงถูกประดิษฐ์ขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้คุณแม่ไม่ต้องมาคอยเช็ดนมที่หกอีกด้วย นอกจากนั้นถ้วยหัดดื่มยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีก ดังนี้ ช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง ทำให้ง่ายต่อการห่ออาหารกลางวันและของว่างออกจากบ้าน สอนทักษะที่จำเป็นในการดื่มจากถ้วยให้กับเด็ก ป้องกันความล่าช้าในการพูดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ขวดแบบขยาย (Extended bottle) ช่วยป้องกันฟันผุเนื่องจากการใช้ขวดนานเกินไป ลดปัญหาการติดเชื้อทางหูที่เกี่ยวข้องกับการใช้ขวดเป็นเวลานาน เหตุผลที่ควรให้ลูกใช้ ถ้วยหัดดื่ม เหล่าคุณพ่อคุณแม่ยังอาจกำลังพิจารณาอยู่ว่าควรจะให้ลูกใช้ถ้วยหัดดื่มหรือไม่ แล้วเมื่อใช้แล้วจะมีความปลอดภัยหรือเปล่า ถ้าเช่นนั้นลองมาดูเหตุผลที่เด็ก ๆ ควรใช้ถ้วยหัดดื่ม เพื่อประกอบการตัดสินใจ ป้องกันการหก ถ้วยหัดดื่มช่วยให้เครื่องดื่มไม่หกออกจากถ้วย ซึ่งดีต่อสุขภาพอนามัยของเด็ก เพราะหากน้ำนมหกและไม่ได้ทำความสะอาด อาจจะติดอยู่กับผิวหนังของเด็ก จนทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดหรือเกิดปัญหาผิวหนังได้ ส่งเสริมความชุ่มชื้น  เหตุผลที่ถ้วยหัดดื่มสามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น (Hydration) ได้ก็เพราะว่าง่ายต่อการดื่มสำหรับเด็ก ช่วยให้ร่างกายเด็ก ๆ ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและช่วยรักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย เพราะเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับการถือวัตถุที่มีรูปทรง สีสัน และมีเอกลักษณ์เอาไว้ในมือ นอกจากนั้น ยังช่วยให้เด็ก ๆ สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่ว่า พวกเขาสามารถทำอะไรบางอย่างได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องให้คุณพ่อคุณแม่มาคอยช่วยเหลือ เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ถ้วยแบบผู้ใหญ่ เหตุผลหลักที่ทำให้ถ้วยหัดดื่มถูกนำมาใช้ก็คือเป็นเครื่องมือฝึกให้เด็ก ๆ เตรียมตัวให้พร้อมในการดื่มจากถ้วย เพราะการถื่มจากด้วยนับเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้ […]


เด็กทารก

สัตว์เลี้ยงกับเด็ก อยู่ร่วมกันอย่างไร ไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ผู้คนส่วนใหญ่มักเลี้ยงสัตว์เลี้ยง อย่าง สุนัข หรือแมว เอาไว้เป็นเพื่อนรู้ใจ คอยแก้เหงา หรืออาจเลี้ยงไว้ช่วยเฝ้าบ้าน แต่เมื่อแต่งงานและมีลูก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการให้ สัตว์เลี้ยงกับเด็ก อยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของเด็ก วิธีการ เตรียมสัตว์เลี้ยงให้พร้อม การวางแผนล่วงหน้าที่จะทำให้ สัตว์เลี่ยงกับเด็ก สามารถอยู่ด้วยกันได้ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคุณควรจะต้องเเตรียมตัวเอาไว้ก่อนที่ทารกแรกเกิดจะเดินทางกลับมายังบ้าน การเตรียมตัวเอาไว้ล่วงหน้าจะยิ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของทุกคนมีความง่ายขึ้น สำหรับวิธีการเตรียมสัตว์เลี้ยงให้พร้อม ก่อนที่จะได้พบกับทารกเป็นครั้งแรก สามารถทำได้ ดังนี้ วางแผน ดังที่กล่าวไปแล้วว่า สิ่งแรกที่คุณควรทำ ก็คือ วางแผน โดยปกติแล้วสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุนัขนั้นจะเป็นสัตว์ที่กระตือรือร้น แต่พวกมันก็ยังสามารถแสดงความหึงหวงเจ้าของได้เช่นกัน เพราะพวกมันไม่ได้เป็นศูนย์กลางของความสนใจอีกต่อไป ซึ่งเช่นเดียวกับแมว พวกมันมักจะเป็นสัตว์เจ้าอารมณ์และบางครั้งก็มักจะไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งลักษณะเหล่านี้อ้างอิงจาก American Kennel Club (AKC) ดังนั้น คุณจึงต้องใช้ระยะเวลาในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมสัตว์เลี้ยงของคุณให้พร้อมสำหรับการมาถึงของทารก โดยทางสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งอเมริกา (The American Society for Prevention of Cruelty to Animals หรือ ASPCA) แนะนำเอาไว้ว่า คุณควรพาสุนัขไปฝึกในชั้นเรียน เพื่อให้พวกมันมีการเชื่อฟังขั้นพื้นฐาน และย้ายข้าวของต่างๆ ของแมวไปยังพื้นที่ส่วนตัว นอกจากนั้น […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ มีอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่อย่านิ่งนอนใจหากพบว่าลูกมีไข้สูงต่อเนื่องหลายวัน หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาการดังกล่าวอาจไม่ใช่อาการของไข้หวัดธรรมดา ยิ่งถ้ามีผื่นคัน และต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วยแล้ว อาจถือเป็น สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ ซึ่งหากเป็นแล้วควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคคาวาซากิ (Kawasaki’s Disease) ในเด็ก โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) เกิดจากการอักเสบในหลอดเลือดและต่อมน้ำเหลืองของเยื่อบุผิวหนัง เมื่อเป็นโรคคาวาซากิจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ มีไข้สูง ผื่นขึ้นตามผิวหนัง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย และอาเจียน ร่วมด้วย ทั้งนี้ โรคคาวาซากิ พบบ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี  ที่อาศัยอยู่ในแถบทวีปเอเชีย สาเหตุของโรคคาวาซากิ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคคาวาซากิ  โดยส่วนใหญ่เด็กมักป่วยเป็นโรคคาวาซากิในช่วงฤดูหนาว ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ อายุ พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันของเด็กในช่วงวัยนี้ยังไม่สมบูรณ์และแข็งแรงดีนัก จึงอาจติดเชื้อได้ง่าย เพศ เด็กผู้ชายมีความเสี่ยงที่ติดเป็นโรคคาวาซากิมากกว่าเด็กผู้หญิง 1.5 เท่า เนื่องจากอาจชอบเล่นกลางแจ้ง และทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อจากวัตถุหรือพื้นผิวต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวได้มากกว่า เชื้อชาติ โรคคาวาซากิพบมากในแถบเอเชีย สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ อาการของโรคคาวาซากิ แบ่งออกเป็น 3 […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่คุณพ่อคุณแม่รู้แล้วจะอึ้ง

เมื่อรู้ว่าครอบครัวจะมีสมาชิกตัวน้อย ๆ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างน่าจะตื่นเต้นกันมาก และคงเตรียมตัวศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับทารกหรือเด็กแรกเกิดอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูลูกได้อย่างดีที่สุด นี่คือ 7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่อาจช่วยให้คุณเข้าใจทารกน้อยได้ดีขึ้น [embed-health-tool-baby-poop-tool] 7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด 1. เด็กแรกเกิดมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ หลายคนอาจไม่เชื่อว่าเด็กทารกตัวเล็ก ๆ ที่เนื้อตัวดูนุ่มนิ่ม ทรงตัวแทบไม่ได้ จะมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กแรกเกิดมีกระดูกทั้งหมด 300 ชิ้น ส่วนผู้ใหญ่มีกระดูก 206 ชิ้น จะเห็นได้ว่าเด็กแรกเกิดมีกระดูกมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 94 ชิ้น ทุกคนคงอาจจะตกใจว่า กระดูกกว่าร้อยชิ้นในร่างกายหายไปไหน ความจริงกระดูกจำนวนดังกล่าวไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ไปรวมกับกระดูกชิ้นที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และสามารถรอบรับร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้น รวมถึงน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นได้นั่นเอง 2. อุจจาระครั้งแรกของเด็กแรกเกิดไม่เหม็นอย่างที่คิด อุจจาระครั้งแรกของทารก เรียกว่า ขี้เทา (Meconium) ซึ่งเด็กสามารถสร้างได้ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ ขี้เทาประกอบด้วยสสารที่ถูกย่อยระหว่างที่ทารกอยู่ในมดลูก ซึ่งมีทั้งน้ำคร่ำ น้ำดี เมือก ขนอ่อน เป็นต้น โดยขี้เทานี้แทบจะไม่มีแบคทีเรียในลำไส้ที่ทำให้อุจจาระมีกลิ่นปนอยู่เลย นั่นจึงทำให้การอุจจาระครั้งแรกของเด็กแนกเกิดปราศจากกลิ่น ไม่เหมือนกับอุจจาระของผู้ใหญ่ แต่ทันทีที่ทารกแรกเกิดได้รับอาหารมื้อแรก ซึ่งก็คือน้ำนม แบคทีเรียก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นในลำไส้ และทำให้อุจจาระที่ขับถ่ายออกมามีสีเขียว เหลือง หรือน้ำตาล […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก คืออะไร

การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก (Child Abuse and Neglect) เป็นการทำให้เด็กตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย สถานการทางเพศ ทั้งยังทำให้รู้สึกไร้ค่าอีกด้วย การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กที่เกิดขึ้นไม่มีการคำนึงถึงประเภทของการละเมิด ผลที่เกิดคือ อันตรายต่ออารมณ์ของเด็ก เพราะการทารุณกรรมต่าง ๆ อาจส่งผลให้เด็กมีอารมณ์ที่รุนแรง [embed-health-tool-vaccination-tool] การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก คืออะไร การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก (Child Abuse and Neglect) เป็นการทำให้เด็กตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย สถานการทางเพศ ทั้งยังทำให้รู้สึกไร้ค่าอีกด้วย การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กที่เกิดขึ้นไม่มีการคำนึงถึงประเภทของการละเมิด ผลที่เกิดคือ อันตรายต่ออารมณ์ของเด็ก เพราะการทารุณกรรมต่าง ๆ อาจส่งผลให้เด็กมีอารมณ์ที่รุนแรง ดังนั้น เรื่องการทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม และทางออกที่ดีที่สุดก็คือต้องจบปัญหานี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยต้องช่วยเหลือเด็ก และจัดการกับผู้ที่ทำร้ายเด็ก ปัจจัยเสี่ยงของ การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็ก การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายในครอบครัว โดยผู้ปกครองอาจจะล่วงละเมิดทางเพศเด็กในวัยเด็ก หรือมีความรุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งทำให้เด็กเกิดปัจจัยเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า(Depression) หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ การทารุณกรรมและทอดทิ้งเด็กในรูปแบบอื่นนั้นพบได้ทั่วไปในครอบครัวที่มีความยากจน และในหมู่ผู้ปกครองที่เป็นวัยรุ่น ผู้ที่เสพสารเสพติด หรือดื่มแอลกอฮอล์ เด็กๆ มักจะถูกผู้ดูแลหรือคนที่พวกเขารู้จักทำร้ายมากกว่าคนแปลกหน้านอกบ้าน การละเลยอาจรวมถึงการถูกทอดทิ้ง ได้แก่ การไม่หาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พักพิง หรือสิ่งจำเป็นทางกายภาพอื่นๆ ให้แก่เด็ก นอกจากนี้ ยังมีการละเลยทางอารมณ์ เช่น การไม่ให้ความรัก หรือความสะดวกสบาย  การละเลยทางการแพทย์ การล่วงละเมิดทั้งหมดที่กล่าวมา […]


เด็กทารก

ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ ปลอดภัยหรือไม่ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ คือ การที่ให้ทารกนอนหลับในอ้อมกอด หรือให้นอนเตียงเดียวกันกับพ่อแม่ เนื่องจากต้องการทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย ทั้งยังสะดวกกับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องดูแลเมื่อทารกตื่นขึ้นมากลางดึก แต่เมื่อคำนึงถึงความปลอดภัยแล้ว การจะให้ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ อาจไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ทารกถึงแก่ชีวิตได้ เหตุใดบางครอบครัวจึงให้ ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ บางครอบครัวหรือในบางวัฒนธรรมนิยมให้ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ เพราะสาเหตุเหล่านี้ สะดวกเวลาให้นมในตอนกลางคืน ช่วยให้คุณแม่และทารกหลับและตื่นพร้อม ๆ กัน จึงดูแลลูกได้สะดวกขึ้น ช่วยให้ทารกนอนหลับได้ง่ายขึ้นและนานขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรก ทำให้ได้ใกล้ชิดกับทารกและอยู่พร้อมหน้าครอบครัว หลังจากที่ต้องแยกจากกันในเวลากลางวัน ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่เสี่ยงอันตรายอย่างไร การให้เด็กทารกนอนบนเตียงผู้ใหญ่อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นกับทารกได้ เช่น การขาดอากาศหายใจ โรคไหลตายในทารก หรือ SIDS (Sudden Infants Death Syndrome) โดยจากการศึกษาวิจัยหลายชิ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การให้ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ ถือเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของเด็กทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน เทคนิคให้ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่อย่างปลอดภัย หากคุณพ่อคุณแม่มีความจำเป็น หรือต้องการให้ทารกนอนร่วมเตียงด้วย ควรทำตามคำแนะนำเหล่านี้ เพื่อลดโอกาสเกิดอันตราย สำหรับเด็กทารกอายุ 0-12 เดือน ควรให้นอนแยกในเปลหรือเตียงทารกที่วางอยู่ข้าง ๆ เตียงของคุณพ่อคุณแม่ หรือจะใช้เป็นเตียงนอนเด็กแบบ side-car crib ที่ออกแบบมาให้วางชิดกับเตียงนอนคุณพ่อคุณแม่ก็ได้ พยายามให้ทารกนอนหงาย ห้ามให้นอนตะแคงหรือนอนคว่ำเด็ดขาด ต้องแน่ใจว่าไม่มีอะไรทับหน้าหรืออุดตันการหายใจของทารกระหว่างนอนหลับ ทารกนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ได้ก็ต่อเมื่อฟูกหรือที่นอนแน่นพอ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน