พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การเติบโตและพัฒนาการ

วิธีบริหารสมอง เสริมสร้างพัฒนาการ สำหรับเด็ก

คุณพ่อคุณแม่ เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีเติบโตสมวัย โดยฝึกให้ลูกเรียนรู้ วิธีบริหารสมอง แบบง่าย ๆ ที่สามารถฝึกลได้เป็นประจำในแต่ละวัน เช่น การฝึกกำหนดลมหายใจเข้า-ออก การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การฝึกสมาธิ โดยวิธีเหล่านี้อาจช่วยให้ลูกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย วิธีบริหารสมอง สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ วิธีบริหารสมอง ที่อาจช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อย มีดังนี้ การฝึกกำหนดลมหายใจเข้า-ออก การฝึกกำหนดลมหายใจเข้า-ออก อาจเริ่มจากให้ลูกนั่งหรือนอนราบลงบนที่นอนในท่าที่สบาย จากนั้นสูดลมหายใจเข้า-ออกอย่างช้า ๆ อย่างน้อยวันละ 5-10 นาที เมื่อเด็กมีสมาธิสมองจะปล่อยคลื่นอัลฟ่า (Alpha brainwave) เพื่อเสริมสร้างด้านการเรียนรู้ และจดจำ อาจช่วยให้เด็กเรียนรู้ และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  การพาลูกออกไปท่องโลกกว้าง ไม่ว่าจะเป็นนอกสถานที่ เช่น สวนสัตว์ สวนสนุก พิพิธภัณฑ์ หรือแม้แต่กระทั่งการเรียนรู้จากสื่อออนไลน์ อาจช่วยเสริมการทำงานของระบบความจำและช่วยเพิ่มทักษะการเรียนรู้ใหม่ ๆ ทำให้เด็กรู้จักตัวตนของตนเองมากยิ่งว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร  เล่นเกมส์ฝึกสมอง รูปแบบของเกมส์ลับสมองในปัจจุบันที่มักพบเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น กระดานหมากรุก ไพ่อูโน่ (UNO) ซูโดกุ ไพ่จับคู่ อาจช่วยเพิ่มสมาธิให้กับลูกพร้อมทั้งยังเป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ที่สำคัญยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับครอบครัวอีกด้วย ฝึกระบบความจำด้วยสี หรือตัวย่อ หนังสือ […]


สุขภาพเด็ก

โรคกระดูกอ่อนในเด็ก อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคกระดูกอ่อนในเด็ก เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเกิดความวิตกกังวล เพราะกลัวว่าลูกของตนจะเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับโรคกระดูกอ่อนในเด็กให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีวิธีการสังเกต และการดูแลลูกอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) คืออะไร โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets)  เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินดี แคลเซียม หรือฟอสเฟต โดยแร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการบำรุงกระดูกให้แข็งแรง เด็กที่เป็นโรคกระดูกอ่อนจะมีลักษณะกระดูกผิดรูป ฟันผุ และรู้สึกปวดบริเวณกระดูก อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกเป็นโรคกระดูกอ่อน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และที่สำคัญควรแลลูกอย่างใกล้ชิด เช่น รับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดีและแคลเซียม รับแสงแดดยามเช้าเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี ผู้ปกครองควรรู้ สาเหตุของโรคกระดูกอ่อนในเด็ก สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กเป็นโรคกระดูกอ่อนนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการที่ร่างกายขาดวิตามินดี โดยเกิดจากปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้ อายุ โรคกระดูกอ่อนในเด็กพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-36 เดือน ในช่วงนี้เด็กจะมีพัฒนาการเติบโตที่รวดเร็ว ร่างกายต้องการแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสเฟตมากที่สุดเพื่อนำไปเสริมสร้างสร้างกระดูก การรับประทานอาหาร เด็กที่กินมังสวิรัติหรือได้รับสารที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารประเภท ปลา ไข่ นม และในร่างกายเด็กที่มีปัญหาในการย่อยนม หรือการแพ้แลคโตส (Lactose) สีผิว เด็กที่มีสีผิวคล้ำ โดยเฉพาะเด็กที่มีเชื้อสายแอฟริกัน จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคกระดูกอ่อน เนื่องจากสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกายได้น้อย ที่ตั้งภูมิศาสตร์ ร่างกายของเราผลิตวิตามินดีขึ้นเมื่อถูกแสงแดด ดังนั้นเด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีแสงแดดน้อย จะมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกอ่อนมาก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

ลูกตัวใหญ่ สุขภาพดี จริงหรือไม่

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคนย่อมต้องการให้ลูกคลอดออกมาสมบูรณ์ แข็งแรง บางคนยังมีความเชื่อที่ว่าเมื่อคลอดออกมาแล้ว ลูกตัวใหญ่ มากเท่าไหร่ยิ่งดีมากเท่านั้น เพราะนั่นหมายถึงความสมบูรณ์ของร่างกาย แต่คลอดลูกออกมาตัวใหญ่นั้นดีจริงหรือไม่ มีอะไรที่ควรกังวลหรือเปล่า ตัวขนาดไหนจึงจะถือว่าสุขภาพดี [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกตัวใหญ่ สุขภาพดีจริงหรือไม่ เด็กที่ตัวใหญ่ จ้ำม่ำนั้นถือเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของเด็ก ๆ นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ในช่วงแรกเกิดจนถึง 6 เดือนแรกนั้นจะเป็นช่วงที่ร่างกายของทารกจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักก็เพิ่มขึ้นมากเป็น 2 เท่า และน้ำหนักมักจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วงอายุ 1 ขวบ ดังนั้น การที่ ลูกตัวใหญ่ นั้นไม่ได้บ่งบอกว่าเขานั้นไม่แข็งแรง แต่เป็นช่วงที่เขากำลังพัฒนาและเติบโต ในช่วงนี้ร่างกายของเขาก็มีความต้องการอาหารอยู่แทบจะตลอดเวลา โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง อย่างน้ำนม วัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองนั้นมีความต้องการพลังงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เขาต้องกักเก็บไขมันไว้ที่ใต้ผิวหนัง เพื่อที่จะนำไขมันมาใช้งาน จึงทำให้เด็กในวัยนี้ดูตัวใหญ่ อ้วนเป็นชั้น แต่พ่อแม่ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะว่าไขมันเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติของเด็กทุก ๆ คน ที่สำคัญยังแสดงให้เห็นว่าลูกน้อยนั้นสุขภาพดี น้ำหนักของเด็กที่ควรจะเป็น เด็กทุก ๆ คนมีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป แต่น้ำหนักเหล่านี้เป็นการประมาณการ คร่าว ๆ ของช่วง 1 ปีแรก ว่าพวกเขาควรมีน้ำหนักเท่าไร ช่วงอายุ ความสูงที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แรกเกิด- 6 เดือน สูงขึ้น 0.5-1 นิ้ว/เดือน หนักขึ้น 150-200 […]


ภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการ อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ หรือร่างกายได้รับอาหารมากเกินความจำเป็น ทำให้มีทั้งภาวะโภชนาการต่ำ และภาวะโภชนาการเกิน ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งเสี่ยงต่อโรค เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ร่างกายไม่เจริญเติบโต หรือหายจากอาการเจ็บป่วยช้า [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ภาวะทุพโภชนาการ คืออะไร   ภาวะทุพโภชนาการ คือ ภาวะที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ หรือการที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ภาวะโภชนาการต่ำ เป็นหนึ่งในประเภทของการขาดสารอาหาร เมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ อาจส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตช้า หรือมีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ภาวะโภชนาการเกิน คือ การที่ร่างกายได้รับประทานอาหารที่เกินกว่าพลังงานหรือไขมันในร่างกายต้องใช้ ร่างกายจึงเกิดการสะสมไขมัน ทำให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป จนอาจทำให้เป็นโรคอ้วนได้ ภาวะทุพโภชนาการพบได้บ่อยเพียงใด ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะทุพโภชนาการ พบได้บ่อยในผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือขาดสารอาหาร อาการ อาการของภาวะทุพโภชนาการ ภาวะทุพโภชนาการ อาจทำให้เกิดอาการในลักษณะที่แตกต่างกันไปซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ ดังนี้ ความอยากอาหารลดลง อ่อนเพลียและหงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ ร่างกายรู้สึกหนาวบ่อยครั้ง ในเด็กร่างกายอาจเจริญเติบโตช้า น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ รู้สึกเหนื่อยง่าย เกิดความวิตกกังวล ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดสารอาหาร หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการ ภาวะทุพโภชนาการเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ รับประทานอาหารได้น้อย เกิดจากสาเหตุหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกเป็นนักกีฬา ชอบออกกำลังกาย ควรให้กินอาหารแบบไหนดี

การกินอาหารสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูก ยิ่งหากลูกเป็นนักกีฬา ชอบออกกำลังกาย ต้องใช้แรงเยอะเป็นประจำ ยิ่งควรได้รับพลังงานและสารอาหารต่าง ๆ อย่างพอเพียง เนื่องจากร่างกายอาจมีการเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กที่ชอบเล่นกีฬา เพื่อช่วยดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารที่เหมาะสมต่อพัฒนาการของลูก [embed-health-tool-bmi] สารอาหารที่ควรเน้นเมื่อลูกเป็นนักกีฬา เด็กหรือวัยรุ่นที่เป็นนักกีฬา และชอบออกกำลังกายเป็นประจำ ควรได้รับสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสม เขาจะได้ทำกิจกรรมที่ชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โปรตีน ร่างกายต้องการโปรตีนเพื่อสร้างกล้ามเนื้อใหม่ และใช้ในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อส่วนที่สึกหรอ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องให้ลูกกินโปรตีนให้เพียงพอ โดยคุณสามารถหาโปรตีนได้จากเนื้อสัตว์ (เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์ปีก เนื้อหมู เนื้อวัว) ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วชนิดต่าง ๆ แต่คุณต้องระวังอย่าให้ลูกได้รับโปรตีนมากเกินพอดีด้วย เพราะอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ หรือการสูญเสียแคลเซียมได้ คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานชั้นดี แม้นักกีฬาเด็กหรือวัยรุ่นจะไม่จำเป็นต้องกินคาร์โบไฮเดรตเยอะ ๆ ก่อนลงสนามเหมือนผู้ใหญ่ แต่คุณก็ควรให้เขาได้กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ผักและผลไม้นานาชนิด ให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากเด็กบริโภคคาร์โบไฮเดรตน้อยเกินไป อาจทำให้เขาหมดพลังงานอย่างรวดเร็วได้ ไขมัน เด็กควรได้รับไขมันดีจากอะโวคาโด ทูน่า แซลมอน น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ถั่วชนิดต่าง ๆ (เช่น ถั่วเหลือง) เป็นต้น แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระวัง อย่าให้ลูกได้รับไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะในช่วงก่อนลงแข่ง หรือก่อนออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เขารู้สึกอึดอัด หรือไม่สบายท้องได้ วิตามินและแร่ธาตุ เมื่อลูกเป็นนักกีฬา […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่อน้ำนมอุดตัน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ท่อน้ำนมอุดตัน (Clogged milk ducts) พบได้ทั่วไปในคุณแม่เพิ่งคลอด กำลังให้นมบุตร หรือเพิ่งให้ลูกหย่านม ทำให้ท่อน้ำนมตีบหรืออุดตัน จนน้ำนมไหลได้ไม่สะดวก รวมถึงอาจมีอาการอักเสบ บวม และมีก้อนในบริเวณเต้านม สามารถหายไปได้เอง แต่ก็สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการนวดเต้านม ปั๊มนม และการประคบร้อน [embed-health-tool-baby-poop-tool] คำจำกัดความ ท่อน้ำนมอุดตัน คืออะไร ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน เป็นภาวะที่เกิดก้อนบวมนูนในท่อน้ำนมของหญิงที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร ทำให้ท่อน้ำนมตีบหรืออุดตัน จนน้ำนมไหลได้ไม่สะดวกหรือคั่งอยู่ในเต้านม (Milk Stasis) ซึ่งก้อนบวมนูนที่เกิดขึ้นนี้อาจมีลักษณะแข็งหรืออ่อนนุ่มก็ได้ ท่อน้ำนมอุดตันพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะท่อน้ำนมอุดตันสามารถพบได้ทั่วไปในคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร คุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรแต่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ หรือคุณแม่ที่เพิ่งหยุดให้ลูกกินนมแม่ โดยผลการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อปี 2011 จากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า 4.5% จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคุณแม่ให้นมบุตรประสบปัญหาท่อน้ำนมอุดตันในช่วงปีแรกของการให้นมบุตร อาการ อาการของท่อน้ำนมอุดตัน อาการทั่วไปของภาวะท่อน้ำนมอุดตัน มีดังนี้ เจ็บปวดบริเวณเต้านม มีก้อนบวม อ่อนนุ่มในเต้านม รู้สึกว่าเต้านมบวมหรือร้อนที่เต้านม น้ำนมจากเต้านมข้างหนึ่งไหลช้าลง ผิวหนังบริเวณเต้านมบริเวณใดบริเวณหนึ่งมีลักษณะขรุขระ มีจุดสีขาวเล็ก ๆ บริเวณหัวนม (Milk Bleb หรือ White Spot หรือ Milk Blister) ในบางกรณี ภาวะท่อน้ำนมอุดตันอาจทำให้มีไข้ต่ำ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าเต้านมติดเชื้อ  ฉะนั้น หากคุณมีไข้ร่วมกับมีอาการรู้สึกเจ็บปวดที่เต้านม เต้านมบวมแดง หรือมีก้อน […]


เด็กทารก

ทารกไม่ชอบนอนเปล เป็นเพราะอะไร แก้ไขอย่างไรดี

ทารกไม่ชอบนอนเปล เป็นปัญหาที่หลายครอบครัวกำลังเผชิญอยู่ แท้จริงแล้วถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับครอบครัวส่วนใหญ่ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ทารกต้องการความอบอุ่นจึงชอบที่จะอยู่ใกล้ ๆ หรือได้สัมผัสร่างกายคุณพ่อหรือคุณแม่ และทำให้พวกเขาหลับสบายเพราะรู้สึกถึงความปลอดภัย การที่ทารกต้องนอนเปล ทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวและแสดงออกด้วยการร้องไห้ หรือไม่ยอมนอน นอกจากนั้นแล้ว อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน ทำไม ทารกไม่ชอบนอนเปล เหตุผลที่ ทารกไม่ชอบนอนเปล นอกจากเป็นเพราะพวกเขาต้องการอยู่ใกล้ ๆ ได้รับความอบอุ่นจากคุณพ่อคุณแม่แล้ว อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ ไม่คุ้นเคยกับห้องนอน หากก่อนหน้านี้ทารกนอนอยู่กับคุณพ่อคุณแม่อยู่เสมอ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงย้ายให้ทารกไปนอนในห้องของตัวเอง ทารกอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับห้อง และอาจจะรู้สึกไม่อบอุ่นหรือปลอดภัยเท่ากับการนอนกับคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น อาจจะต้องใช้ความพยายามที่จะทำให้ทารกคุ้นเคยกับห้องนอนใหม่ โดยพยายามใช้เวลาในช่วงกลางวันให้ทารกคุ้นเคยที่จะอยู่ในห้องนอน เช่น การเล่น อ่านหนังสือ ร้องเพลง กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้ทารกรู้สึกว่าห้องนอนนั้นเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและอยากใช้เวลาอย่างมีความสุขในห้องนั้น ไม่รู้วิธีนอนในเปล บ่อยครั้งที่ทารกมักจะหลับในอ้อมกอดของคุณแม่ในขณะที่ดูดนม ก่อนคุณแม่จะพาอุ้มไปนอนบนเตียงเมื่อทารกเขาหลับไปแล้ว พฤติกรรมเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด แต่นิสัยการนอนของทารกจะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปโดยเฉพาะเมื่อทารกโตขึ้นและไม่จำเป็นต้องกินนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนพฤติกรรมมักเป็นเรื่องยาก คุณพ่อคุณแม่ต้องค่อย ๆ พยายามทำให้ทารกคุ้นเคยกับเปลให้มากที่สุด อาจจะป้อนนมตอนที่ทารกนอนอยู่ในเปล หรือปล่อยให้ทารก นอนเล่นอยู่ในเปลบ้าง โดยมีคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ ปวดท้อง เด็กทารกบางคนอาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็นกรดไหลย้อนและอาการจุกเสียดโดยเฉพาะเมื่อนอนหงาย หากทารกร้องไห้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกให้ว่ามีบางอย่างที่ผิดปกติอยู่ ควรอุ้มกอดและปลอบโยนจนทารกสงบลง และอาจลองเปลี่ยนท่านอนให้อยู่ในท่าที่สบายมากขึ้น เปลทำให้เด็กทารกมีความคิดเชิงลบ ถ้าทารกเคยมีประสบการณ์ถูกทิ้งให้อยู่ในเปลตามลำพัง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โคลิค กับวิธีรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

โคลิค (Colic) เป็นอาการร้องไห้ของเด็กทารกวัยแรกเกิดแบบต่อเนื่องและยาวนาน ที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ตกใจหรือไม่รู้ว่าจะรับมือได้อย่างไร แท้จริงแล้วโคลิกเป็นอาการที่เกิดขึ้นและหายไปได้ แต่อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับอาการนี้อย่างถูกต้อง โคลิค คืออะไร โคลิค คือ อาการที่มักเกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิดตั้งแต่ช่วงอายุ 2-6 สัปดาห์ โดยทารกอาจร้องไห้ออกมาอย่างหนัก และนานกว่าปกติ หรือในช่วงเวลาเดียวกันทุกวันบ่อยครั้ง ซึ่งอาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ระบบย่อยอาหารแปรปรวน จุกเสียด กรดไหลย้อน แพ้อาหารบางอย่าง คุณพ่อคุณแม่ให้อาหารลูกน้อยหรือมากเกินไป ภาวะคลอดก่อนกำหนด ระบบประสาทที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ คุณแม่สูบบุหรี่ในช่วงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะโคลิคมักหายไปจากลูกได้เอง ตามระยะเวลาการเจริญเติบโต คือ ช่วงประมาณ 3-4 เดือน อาการเมื่อลูกเป็นโคลิค เด็กร้องไห้งอแงอาจเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ยากที่จะจำแนกได้ว่า ร้องไห้แบบไหน คือ ร้องไห้ธรรมดา หรือร้องไห้เพราะเป็นโคลิค โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้ อาการร้องไห้อย่างหนักรุนแรง ใบหน้าของลูกเปลี่ยนสีเป็นสีแดง ปากและผิวซีด ร้องไห้ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้กันทุกวัน มีท่าทางเกร็งในขณะร้องไห้ เช่น กำมือแน่น ขายกขึ้นเกร็ง หน้าท้องแข็ง ในบางกรณี โคลิคอาจทำให้ลูกเป็นลม หมดสติ เพราะร้องไห้หนักจนเกินไป ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด และรู้จักรับมืออย่างถูกวิธี หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องพาลูกพบคุณหมอทันที […]


โภชนาการสำหรับทารก

ดีเอชเอ (DHA) สารอาหารสำคัญ ที่ไม่ได้มีดีแค่ พัฒนาสมองของลูกน้อย

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับสารดีเอชเอ (DHA) ว่าเป็นสารที่สำคัญต่อการพัฒนาการของลูกน้อย และทำให้นมผงหรืออาหารเสริมสำหรับทารกต่างก็พากันออกมานำเสนอสรรพคุณว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีสารดีเอชเออยู่อย่างมากมาย แต่สารดีเอชเอที่ว่านี้คืออะไรกันแน่ และ ดีเอชเอกับพัฒนาการของทารก มีความสำคัญต่อกันมากน้อยแค่ไหน Hello คุณหมอ จะพาคุณมาลองหาคำตอบร่วมกันได้จากบทความนี้ ดีเอชเอ (DHA) คืออะไร กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือที่เรารู้จักกันว่า ดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid : DHA) เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ประเภทหนึ่ง ที่สามารถพบได้มากในอาหารทะเลที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ หรือปลาแอนโชวี่ เนื้อสัตว์ อาหารที่ทำจากนม หรืออาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา ที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มาก เป็นต้น แม้ว่าตามปกติแล้ว ร่างกายของเราจะสามารถผลิตสารดีเอชเอขึ้นมาได้เอง แต่ก็จะมีปริมาณที่น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และทำให้เราจำเป็นต้องบริโภคดีเอชเอเพิ่มเติม ผ่านทางการรับประทานอาหารและอาหารเสริม ดีเอชเอเป็นสาระสำคัญที่จะเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาการของสมอง ตั้งแต่ช่วงที่เป็นทารกในครรภ์ไปจนถึงช่วงวัยเด็กเล็ก นอกจากนี้ สารดีเอชเอยังอาจสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ช่วยบำรุงสายตา และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับหัวใจต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ได้อีกด้วย ดีเอชเอกับพัฒนาการของทารก มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และคุณแม่ที่ให้นมลูกส่วนใหญ่ มักจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมที่มีดีเอชเออย่างน้อย 200-300 มก. ทุกวัน นอกจากนี้ ในนมผงและอาหารเสริมสำหรับเด็กทารกส่วนใหญ่ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

หย่าร้าง ปัญหาครอบครัวกับวิธีรับมือสำหรับคนเป็นลูก

หย่าร้าง เป็นปัญหาครอบครัวที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาวะจิตใจของผู้ที่เป็นลูก พ่อแม่ที่กำลังคิดแยกทางกัน อาจต้องหาวิธีจัดการและสื่อสารกับลูกให้เข้าใจถึงเหตุผลและสภาวะที่เกิดขึ้น ปัญหาหย่าร้าง หรือครอบครัวแตกแยก อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิตของลูก อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้ พ่อแม่อาจจำเป็นต้องปรึกษากันเพื่อหาวิธีช่วยให้ลูกน้อยสามารถรับมือกับการหย่าร้างของพ่อแม่ได้ [embed-health-tool-bmi] พ่อแม่ หย่าร้าง ควรบอกลูกอย่างไรดี เมื่อพ่อแม่หย่าร้างกัน จำเป็นต้องบอกให้ลูกรับรู้ แต่อาจไม่จำเป็นต้องอธิบายถึงรายละเอียดของการหย่าร้างหรือแยกทางกันในครั้งนี้  เพราะยิ่งเด็กรับรู้เรื่องการหย่าร้าง และความขัดแย้งของพ่อแม่มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อตัวเด็กมากเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า พ่อแม่ควรบอกเรื่องการหย่าร้างให้ลูกรู้ โดยใช้เทคนิคดังต่อไปนี้ ไม่พูดจาถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในแง่ลบ เด็กจะได้ยังคงรู้สึกรักทั้งพ่อและแม่ได้เหมือนเดิม ไม่รู้สึกแย่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องบอกให้ลูกรู้ว่าพ่อและแม่รักลูกมากแค่ไหน บอกความจริงกับลูก แต่ควรเป็นเรื่องที่พ่อและแม่ตกลงร่วมกันและพิจารณาแล้วว่าเหมาะสมที่จะให้ลูกรับรู้ อธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด และตรงประเด็นที่สุด ทำให้ลูกมั่นใจว่าถึงแม้พ่อกับแม่จะแยกทางกัน แต่ความรักและความผูกพันของพ่อแม่กับลูกก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง พยายามบอกให้ลูกเข้าใจว่าอนาคตต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และอธิบายถึงแผนชีวิตคร่าวๆ เรื่องที่พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อหย่าร้างกัน ใช้ลูกเป็นคนส่งสารถึงอีกฝ่าย วิธีนี้จะทำให้เด็กรู้สึกว่าคนเป็นผู้ใหญ่ไม่ต้องคุยกันตรง ๆ หรือสามารถใส่ร้ายป้ายสีกันได้ ใช้ลูกเป็นสายลับ คอยสืบเรื่องราวความเป็นไปของอีกฝ่าย นินทาว่าร้ายอีกฝ่ายให้ลูกฟัง เพราะจะส่งผลเสียกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กได้ ทั้งยังเป็นการกดดันให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเองต้องเลือกข้าง ว่าจะเข้าข้างพ่อหรือแม่ แข่งกันตามใจลูก เช่น เมื่อพ่อบอกว่าจะซื้อรถของเล่นให้ แม่ก็บอกว่าจะซื้อคันที่ใหญ่กว่าให้เหมือนกัน เพราะอาจทำให้เด็กเลือกอยู่กับฝ่ายที่ให้ของขวัญถูกใจกว่า และไม่สนใจอีกฝ่ายได้ ผลกระทบต่อเด็กเมื่อพ่อแม่หย่าร้าง ความรู้สึกของเด็กๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการที่พ่อแม่หย่าร้างกัน เช่น โกรธ อารมณ์เสีย โล่งอก สิ้นหวัง กลัว ไม่พอใจ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน