พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

เด็กทารก

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีให้ลูกดูดเต้า ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ ทำได้อย่างไรบ้าง

น้ำนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิด โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก เนื่องจากมีสารอาหารที่จำเป็นและมีแอนติบอดีที่ช่วยป้องกันโรค ทั้งนี้ คุณแม่ควรศึกษา วิธี ให้ ลูก ดูด เต้า ที่ถูกต้อง เพราะนอกจากจะช่วยให้ลูกกินนมได้มากพอแล้ว ยังสามารถช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ได้ด้วย การให้ลูกดูดเต้าอาจทำได้หลายวิธี เช่น วางตัวลูกให้สัมผัสแนบชิดกับคุณแม่เพื่อให้ลูกรู้สึกสงบและกินนมจากเต้าได้ง่ายขึ้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตว่าลูกดูดเต้านมได้อย่างถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง อาจแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนท่าทางให้นมลูก เปลี่ยนไปให้นมลูกในสถานที่ที่สงบขึ้น เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมแม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีแอนติบอดีที่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันอย่างเพียงพอ และช่วยให้ลูกเจริญเติบโตได้อย่างสมวัย [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ดูดนมแม่ สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ดูดนมแม่ หรือดูดนมแม่ได้ไม่เต็มที่ อาจมีดังนี้ กลิ่นของคุณแม่ผิดไปจากปกติ หากคุณแม่เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง เช่น สบู่ น้ำหอม โลชั่น น้ำยาระงับกลิ่นกาย อาจทำให้กลิ่นของคุณแม่เปลี่ยนไป จนลูกรู้สึกไม่คุ้นกลิ่นและไม่อยากกินนมจากเต้าเหมือนเดิม ลูกเครียด หากคุณแม่กระตุ้นให้ลูกกินนมมากเกินไป ให้นมช้ากว่าปกติ หรือลูกอยู่ห่างจากคุณแม่เป็นเวลานาน อาจทำให้ลูกรู้สึกเครียดจนงอแง และไม่ยอมดูดนม มีสิ่งรบกวนขณะให้นม หากอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวน หรือมีคนพลุกพล่าน อาจทำให้ลูกเสียสมาธิและไม่ยอมดูดนม ลูกไม่สบาย หากลูกกำลังไม่สบาย เป็นหวัด หรือมีน้ำมูก อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือหายใจไม่ค่อยสะดวกเวลากินนม จนกินนมได้น้อยลงหรือไม่ยอมกินนมตามปกติ นอกจากนี้ หากฟันของลูกกำลังงอก (โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่อายุ […]


การดูแลทารก

ทารกไม่ถ่าย อาการ สาเหตุและการรักษา

ทารกไม่ถ่าย เป็นอาการท้องผูกที่มักเกิดขึ้นเมื่อทารกเปลี่ยนอาหาร ร่างกายขาดน้ำและขาดใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องดูแลเรื่องการกินอาหารของทารกอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอาการทารกไม่ถ่าย [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ ทารกไม่ถ่าย อาหารที่ทารกกินและร่างกายมีของเหลวไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้อุจจาระแข็ง เหนียวและแห้งมาก จนเป็นสาเหตุทำให้ทารกไม่ถ่าย ท้องผูก และขับถ่ายยาก นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ภาวะขาดน้ำ ทารกบางคนที่ได้รับของเหลวไม่เพียงพออาจมีปัจจัยจากฟันน้ำนมขึ้น ทำให้รู้สึกไม่สบายและไม่อยากกินน้ำหรืออาหาร รวมถึงอาจเกิดจากอาการเจ็บป่วย เช่น เป็นหวัด คอหรือหูติดเชื้อ จนทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำในปริมาณมาก นอกจากนี้ ทารกที่เริ่มกินอาหารแข็งอาจกินนมหรือน้ำน้อยลง จนอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอได้เช่นกัน การเปลี่ยนอาหาร ระบบย่อยอาหารของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ทารกบางคนที่เปลี่ยนมากินนมผงแทนนมแม่อาจมีอาการท้องอืดหรือท้องผูกได้ เนื่องจากนมผงอาจย่อยได้ยากกว่านมแม่ สำหรับทารกที่เริ่มกินอาหารแข็งในช่วงแรกอาจมีอาการท้องผูกเกิดขึ้นได้เช่นกัน เนื่องจากร่างกายกำลังเรียนรู้กับการย่อยอาหารรูปแบบใหม่ การขาดใยอาหาร สำหรับทารกที่โตแล้วและสามารถกินอาหารแข็งได้ อาจมีปัญหาที่ร่างกายไม่ได้รับใยอาหารอย่างเพียงพอจากผักและผลไม้ ที่มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้ จึงอาจส่งผลให้ทารกไม่ถ่ายและมีอาการท้องผูกได้ อาการทารกไม่ถ่าย คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตอาการทารกไม่ถ่ายได้ ดังนี้ อุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ทารกมีอาการไม่สบายตัว หงุดหงิด ร้องไห้งอแง ขับถ่ายยาก จนอุจจาระสะสมในลำไส้ปริมาณมากส่งผลให้เมื่อขับถ่ายจะมีปริมาณอุจจาระมากกว่าปกติ เบ่งอุจจาระยาก ร้องไห้ขณะอุจจาระ อุจจาระแห้ง แข็ง เป็นก้อน หรือมีลักษณะเป็นเม็ดคล้ายกระสุน อุจจาระและการผายลมมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ทารกอาจกินอาหารได้น้อยกว่าปกติ […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นอย่างไร

เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายและอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็ก และส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา ซึ่งส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนที่เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ [embed-health-tool-bmi] เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นอย่างไร เมนูอาหารวัยเรียน 6-12 ปี ควรอุดมไปด้วยอาหารที่หลากหลายและมีสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ เพื่อช่วยส่งเสริมทั้งการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางระบบประสาท ที่ส่งผลดีต่อสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียน 6-12 ปี ดังนี้ วิตามินและแร่ธาตุ พบได้จากผักและผลไม้ทุกชนิด เช่น ผักใบเขียว ผักกาด บร็อคโคลี่ แครอท พริกหยวก ผักปวยเล้ง ผักโขม คะน้า ส้ม มะละกอ แตงโม สับปะรด แอปเปิ้ล องุ่น ลูกพรุน ลูกแพร์ กล้วย เบอร์รี่ โดยวิตามินและแร่ธาตุเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาทในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และยังอาจช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อหรือโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ ผักและผลไม้ยังอุดมไปด้วยใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพระบบย่อยอาหารและลำไส้ ซึ่งอาจช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ เด็กวัยเรียนจึงควรรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 5 ส่วนบริโภค/วัน เช่น กล้วยขนาดกลาง แอปเปิ้ล ส้ม ลูกพีช 1 ลูก […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร

ลูกหายใจครืดคราด อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในทางเดินหายใจ ความผิดปกติของกล่องเสียง การอุดตันในทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงจนเกิดเป็นเสียงครืดคราดเมื่อหายใจ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุหลักของอาการจึงเป็นวิธีที่จะสามารถช่วยรักษาอาการลูกหายใจครืดคราดได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ลูกหายใจครืดคราด เป็นอาการทั่วไปที่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีความเจ็บป่วยเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจที่ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลง ส่งผลให้ลูกหายใจลำบาก หายใจมีเสียงครืดคราด ไอ จาม หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหยุดหายใจ โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกหายใจครืดคราดที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจากไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น โรคหวัด หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ไอกรน โรคปอดบวม โรคภูมิแพ้ กล่องเสียงอักเสบ ที่เกิดจากเนื้อเยื่อในกล่องเสียงกีดขวางทางเดินหายใจบางส่วน ทางเดินหายใจผิดรูป ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดหรืออาจเกิดขึ้นหลังจากการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่ทางเดินหายใจ การอุดตันที่ผิดปกติในทางเดินหายใจ เนื่องจากมีแผลเป็นในทางเดินหายใจที่อาจบวมหรือโต อาการกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจตีบแคบ หดตัว ที่เกิดจากโรคหอบหืดหรือสิ่งระคายเคืองในแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน ควันบุหรี่ กล่องเสียงเป็นอัมพาตตั้งแต่แรกเกิดหรือพัฒนาในภายหลัง การสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในทางเดินหายใจ ทำให้ลูกมีอาการไออย่างกะทันหัน โรคประจำตัวที่พบไม่บ่อย เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis หรือ CF) ซึ่งส่งผลต่อปอดหรือทางเดินหายใจ ภาวะทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมผงเด็กแรกเกิด เลือกอย่างไร และนมแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง

นมแม่เป็นนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการและควรเป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวของเด็กแรกเกิดไปอย่างน้อย 6 เดือน แต่หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่เพียงอย่างเดียวได้ หรือไม่สะดวกให้เด็กกินนมแม่เลย ก็สามารถให้เด็กกิน นมผงเด็กแรกเกิด ได้เช่นกัน การศึกษาวิธีเลือกซื้อนมผง ประเภทนมผงที่เหมาะกับเด็กแรกเกิด ตลอดจนประเภทของนมที่ควรหลีกเลี่ยง ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกนมผงได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพของเด็ก ช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และมีพัฒนาการที่สมบูรณ์สมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] นมผงเด็กแรกเกิด คืออะไร นมผงเด็กแรกเกิด (Infant Formula) คือ นมดัดแปลงที่เป็นอาหารสำหรับเด็กแรกเกิดเพื่อทดแทนน้ำนมแม่ มีทั้งแบบผงที่ต้องชงกับน้ำก่อนและแบบพร้อมดื่ม มักใช้ในกรณีที่เด็กแรกเกิดไม่สามารถกินนมแม่ได้ หรือสำหรับกินควบคู่ไปกับน้ำนมแม่ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ หรือคุณแม่ไม่สะดวกปั๊มนมและให้นมด้วยตัวเอง ทั้งนี้ คุณแม่ควรขอคำแนะนำจากคุณหมอเกี่ยวกับนมผงที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับเด็กแรกเกิดที่สุด แม้การกินนมผงเด็กแรกเกิดจะช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารและอิ่มท้องแต่นมผงและอาหารอื่น ๆ ไม่สามารถทดแทนนมแม่ได้ 100% เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการและอุดมไปด้วยแอนติบอดีที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กแรกเกิด หากเป็นไปได้จึงควรให้เด็กแรกเกิดกินนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวไปถึงอายุ 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ ประเภทของ นมผงเด็กแรกเกิด ประเภทของนมผงเด็กแรกเกิด มีดังนี้ นมดัดแปลงสำหรับทารก (Stage 1 formulas) อาจเรียกว่านมผงเด็กแรกเกิด หรือนมสูตร 1 นิยมทำจากนมวัว อาจผสมสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามิน เกลือแร่ น้ำมันพืช เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร โดยทั่วไป นมผงที่ทำจากนมวัวจะมีส่วนประกอบของโปรตีน 2 ชนิด คือ เวย์ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ และวิธีดูแลฟันของเด็กให้สุขภาพดี

การทราบว่า ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ และจะขึ้นพ้นเหงือกเมื่อไหร่ อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เตรียมดูแลสุขภาพฟันเด็กได้ดีขึ้น ปกติแล้ว ฟันน้ำนมของเด็กมีทั้งหมด 20 ซี่ ประกอบไปด้วยฟันบน 10 ซี่ และฟันล่าง 10 ซี่ ฟันน้ำนมอาจเริ่มโผล่พ้นเหงือกตอนเด็กอายุ 6-12 เดือน และแม้ว่าฟันน้ำนมจะไม่ใช่ฟันแท้หรือฟันถาวรที่จะอยู่กับร่างกายไปตลอดชีวิต แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรฝึกให้เด็ก ๆ หมั่นดูแลความสะอาดของฟันน้ำนมอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันเป็นประจำอย่างน้อย 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนเข้านอน กินขนมหวานแต่น้อย เป็นต้น เพราะหากฟันน้ำนมเกิดปัญหา เช่น ผุจนต้องถอนหรือหลุดออกไปเร็วกว่าปกติ ก็อาจส่งผลต่อการเรียงตัวของฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทนที่ในภายหลังได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กไปหาหมอฟันเพื่อตรวจฟันเป็นประจำทุกปี โดยอาจเริ่มตั้งแต่เด็กมีฟันซี่แรก หากพบว่ามีความผิดปกติใด ๆ ภายในช่องปากจะได้รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ [embed-health-tool-bmi] ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ ฟันน้ำนม (Primary teeth หรือ Baby tooth) เป็นฟันชุดแรกในชีวิตของมนุษย์ มีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม และมีจำนวน 20 ซี่ แบ่งเป็นฟันบน 10 ซี่ และฟันล่าง 10 ซี่ ฟันน้ำนมของเด็กแต่ละประเภทมีหน้าที่แตกต่างกันไปตามตำแหน่งและขนาดของฟัน […]


เด็กวัยเรียน

ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ และพัฒนาการฟันเด็กที่ควรรู้

คนเรามีฟัน 2 ชุด ชุดแรก คือ ฟันน้ำนม ชุดที่ 2 คือ ฟันแท้หรือฟันถาวร คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า ฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ โดยทั่วไปแล้ว ฟันแท้ของเด็กจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6-7 ขวบ หลังจากที่ฟันน้ำนมหลุดออกไป และจะใช้เวลาหลายปีกว่าฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมจนครบจำนวน 28-32 ซี่ ส่วนใหญ่ฟันแท้จะขึ้นครบตอนอายุประมาณ 21 ปี คุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนให้เด็กใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้ดีอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ฟันผุหรือแตกหักก่อนเวลา เพื่อให้ฟันแท้ที่งอกใหม่มีสภาพสมบูรณ์ ลดปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน [embed-health-tool-bmi] ประเภทของฟัน มีอะไรบ้าง ฟันแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ ฟันหน้า (Incisors) เรียกอีกอย่างว่า ฟันตัด เป็นฟันที่อยู่ด้านหน้าขากรรไกร มีลักษณะคมและบาง ทำหน้าที่กัด ตัด และฉีกอาหารชิ้นใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ฟันเขี้ยว (Canines) ฟันซี่แหลมที่อยู่ติดกับฟันหน้า มีรากหนาและยาวที่สุด จึงยึดกับกรามได้เหนียวแน่นที่สุด ทำหน้าที่กัดและตัดอาหาร ฟันกรามน้อย (Premolars) ฟันที่มีสันกว้าง แบน พื้นผิวเรียบ อยู่ถัดจากฟันเขี้ยว ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ฟันกราม (Molar) […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีกู้น้ำนม ที่ควรรู้ สำหรับคุณแม่น้ำนมน้อย

วิธีกู้น้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ผลิตน้ำนมได้น้อยหรือน้ำนมไม่ไหลออกมาตามปกติ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ให้นมบ่อยขึ้น ปั๊มน้ำนมบ่อย ๆ นวดและประคบร้อนเต้านม ปรับท่าให้นมเพื่อให้ทารกกินนมได้สะดวกขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้มีน้ำนมน้อยก็อาจช่วยให้สามารถหาวิธีกู้น้ำนมที่เหมาะสมที่สุดได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำนมน้อย เกิดจากอะไร คุณแม่ให้นมมีน้ำนมน้อย อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ความล่าช้าในการให้นม หากคุณแม่เริ่มให้นมครั้งแรกช้า หรือแยกกันอยู่กับทารกในช่วงหลังคลอดแรก ๆ ทำให้ทารกไม่ได้กินนมแม่ตั้งแต่วันแรกที่คลอด อาจทำให้ปริมาณน้ำนมจากเต้าน้อยกว่าปกติได้ ภาวะสุขภาพของคุณแม่ เช่น ภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis) กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) ภาวะก่อนเบาหวาน โรคเบาหวาน อาจทำให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนมได้น้อย ทารกไม่ได้กินนมแม่อย่างเดียว หากทารกกินอาหารอื่น ๆ เช่น นมผงเด็กแรกเกิด ควบคู่กับการกินนมแม่ อาจทำให้ทารกกินนมแม่ได้น้อยลง ส่งผลให้คุณแม่ผลิตน้ำนมได้น้อยตามไปด้วย หากคุณแม่ต้องการเสริมนมผง ควรรอให้ทารกคุ้นชินกับการกินนมแม่เป็นอาหารหลักก่อน ทารกไม่ได้กินนมแม่เลย หากทารกไม่ได้กินนมแม่ อาจทำให้ต่อมน้ำนมไม่ถูกกระตุ้น จึงผลิตน้ำนมได้น้อยลง คุณแม่จึงควรให้ทารกกินนมตั้งแต่ 15-30 นาทีหลังคลอด หรือหากไม่สะดวก ก็อาจรีดน้ำนมออกมาพลาง ๆ ก่อนโดยการปั๊มนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนม เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่อง ทารกดูดนมได้ไม่ดี […]


เด็กทารก

ทารกตัวเหลือง วิธีแก้ ทำได้อย่างไรบ้าง

ภาวะตัวเหลือง (Jaundice) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) มากเกินไป มักพบในทารกแรกเกิด 2-3 วันหลังคลอด โดยทั่วไปสารเคมีชนิดนี้จะถูกตับย่อยสลายและขับออกมาทางอุจจาระ แต่หากร่างกายขับบิลิรูบินออกไปไม่ทันจะทำให้ ทารกตัวเหลือง วิธีแก้ สำหรับภาวะนี้ สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลือง ส่วนใหญ่แล้วทารกจะหายตัวเหลืองได้ภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับน้ำนมแม่เพียงพอและขับถ่ายปกติจนปริมาณบิลิรูบินลดลง แต่หากทารกตัวเหลืองจากความผิดปกติบางประการ เช่น ภาวะตับอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด หมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน อาจต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น การส่องไฟ การถ่ายเลือด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกในระยะยาว [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกตัวเหลืองเกิดจากอะไร ทารกตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เกิดจากทารกมีระดับบิลิรูบินสูงเกินไป โดยบิลิรูบินเป็นสารเคมีสีเหลืองที่สะสมอยู่ในกระแสเลือดที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงเก่าสลายตัว โดยทั่วไปตับของทารกแรกเกิดจะกำจัดบิลิรูบินออกไปได้ตามปกติและไม่ทำให้มีภาวะตัวเหลือง แต่ทารกแรกเกิดบางรายที่ตับยังพัฒนาไม่เต็มที่หรือตับทำงานผิดปกติ อาจขับบิลิรูบินออกจากร่างกายไม่ทัน จึงมีบิลิรูบินสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป จนส่งผลให้ทารกมีผิวสีเหลืองหรือตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ภาวะนี้มักพบในทารกอายุ 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วัน สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกตัวเหลือง อาจมีดังนี้ การคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์อาจไม่สามารถขับบิลิรูบินส่วนเกินได้หมด เนื่องจากตับยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และทารกกินน้ำนมได้น้อย จึงทำให้ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ร่างกายจึงขับบิลิรูบินออกทางอุจจาระได้น้อยตามไปด้วย การได้รับน้ำนมแม่น้อยเกินไป […]


สุขภาพเด็ก

ลูกปวดฟัน อาการ สาเหตุและการรักษา

ลูกปวดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาฟันผุ หนองในฟัน เคลือบฟันแตก โรคเหงือก อาหารติดซอกฟัน หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่เหมาะสม จนทำให้ลูกมีอาการปวดฟันเกิดขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพช่องปากของลูกอยู่เสมอ และหากลูกปวดฟันควรพาลูกเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกปวดฟัน เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกปวดฟันอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก จนทำให้เยื่อฟันที่เต็มไปด้วยเส้นประสาท เนื้อเยื่อ และหลอดเลือดที่บอบบางระคายเคืองหรือติดเชื้อแบคทีเรีย จนก่อให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรงตามมา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกปวดฟันที่พบได้บ่อยนั่นคือฟันผุ นอกจากนี้ อาการลูกปวดฟันยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ หนองในฟัน เกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาฟันผุทำให้เกิดหนองภายในรากฟันซี่ที่ผุ ส่งผลให้มีอาการปวดรุนแรงและปวดมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับฟัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้หนองเพิ่มมากขึ้นภายในเหงือกและทำให้เหงือกบวมแดง เคลือบฟันแตก เกิดจากการกัดวัตถุแข็ง ๆ จนทำให้ฟันแตก โดยแนวการแตกหักของฟันอาจอยู่ต่ำกว่าขอบเหงือกที่อาจมองเห็นได้ยาก และอาจทำให้มีอาการเสียวฟัน ปวดฟันเมื่อรับประทานของเหลวร้อนหรือเย็น โรคเหงือก เป็นปัญหาเหงือกอักเสบเนื่องจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ส่งผลให้มีอาการเหงือกระคายเคือง บวมแดง เจ็บปวด และอาจมีเลือดออก อาหารติดซอกฟัน การรับประทานอาหารอาจทำให้มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้น การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหารอาจช่วยลดอาการปวดฟันได้ ฟันคุด เป็นการงอกขึ้นมาของฟันกรามซี่ในสุด ซึ่งส่วนใหญ่ฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-21 ปีขึ้นไป แต่สำหรับเด็กที่ฟันคุดงอกเร็วอาจทำให้มีอาการปวดฟันเกิดขึ้นได้ การเคลื่อนไหวฟันในการบดเคี้ยวซ้ำ ๆ เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน