พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กทารก

ตัวเหลืองเกิดจากอะไร และวิธีรักษาอย่างเหมาะสม

ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะมักพบในทารกแรกเกิด และเมื่อลูกเกิดมาตัวเหลือง คุณพ่อคุณแม่ก็อาจสงสัยว่า ตัวเหลืองเกิดจากอะไร สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะตัวเหลือง คือ ร่างกายของทารกมีบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารสีเหลืองในกระแสเลือดมากเกินไป ส่งผลให้ผิวหนังของทารกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มักเกิดขึ้นหลังคลอด 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วันหลังคลอด การรักษาเบื้องต้นทำได้ด้วยการให้ทารกดูดนมแม่บ่อยขึ้นเพื่อให้ถ่ายบิลิรูบินส่วนเกินออกไปทางอุจจาระ แต่หากมีระดับบิลิรูบินสูงมาก อาจต้องรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การส่องไฟ การถ่ายเลือด การให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำ [embed-health-tool-vaccination-tool] ตัวเหลืองเกิดจากอะไร ภาวะตัวเหลือง หรือ ดีซ่าน (Jaundice) มีสาเหตุมาจากทารกมีระดับบิลิรูบินในกระแสเลือดมากเกินไป สารชนิดนี้เป็นสารสีเหลืองที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ร่างกายจะขับออกทางอุจจาระ แต่เมื่อใดที่ตับไม่สามารถขับบิลิรูบินออกได้ทัน จะทำให้มีบิลิรูบินสะสมอยู่ในเลือด ส่งผลให้ผิวหนังและลูกตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยเริ่มจากบริเวณใบหน้า ก่อนจะกระจายไปทั่วร่างกาย จนเป็นภาวะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารก โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือคลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์ มักเกิดจากตับของทารกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์นัก ประสิทธิภาพในการกำจัดบิลิรูบินในกระแสเลือดจึงยังไม่มากพอ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น พันธุกรรม คุณแม่มีเลือดกรุ๊ปโอหรืออาร์เอชลบ สารบางชนิดในน้ำนมแม่ (Breast milk jaundice) การบาดเจ็บขณะคลอด การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกที่ทำให้เซลล์สลายตัวอย่างรวดเร็ว อาการตัวเหลืองเป็นอย่างไร ภาวะตัวเหลือง อาจทำให้ทารกมีอาการดังต่อไปนี้ […]


โภชนาการสำหรับทารก

ผลไม้เด็ก 6 เดือน มีประโยชน์อย่างไร และมีอะไรบ้างที่กินได้

เด็ก 6 เดือน สามารถเริ่มกินอาหารแข็งเป็นอาหารเสริมได้แล้ว ดังนั้น เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน และสัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่ จึงควรเลือกอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ผลไม้เด็ก 6 เดือน ก็ควรเป็นผลไม้ที่สุก เนื้อนิ่ม รสชาติไม่เปรี้ยว ควรผ่านการปั่นหรือบดจนละเอียดและไม่ปรุงรส เพื่อให้เด็ก 6 เดือนสามารถกินได้ง่าย และค่อย ๆ คุ้นเคยกับรสชาติของอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์กับเด็กอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารเด็ก 6 เดือน เป็นอย่างไร เด็ก 6 เดือน เป็นช่วงเวลาที่เด็กสามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้ว แต่อาจให้กินเป็นเพียงอาหารเสริมในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 1 ครั้ง/วัน เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน สัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่มากขึ้น และเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากอาหารแข็งเพิ่มเติมด้วย ดังนั้น อาหารแข็งสำหรับเด็ก 6 เดือน จึงควรเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ควรเริ่มให้อาหารแข็งเพียงชนิดเดียวใน 1 มื้อ เพื่อช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับรสชาติของอาหารทีละอย่าง ป้องกันการแพ้อาหาร […]


การดูแลทารก

คัดกรองทารกแรกเกิด มีประโยชน์ต่อทารกอย่างไร

คัดกรองทารกแรกเกิด เป็นการตรวจสุขภาพและความผิดปกติของร่างกาย รวมทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เพื่อป้องกันปัญหาการได้ยิน ความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ เช่น ตา หัวใจ จมูก สะโพก อัณฑะ และตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อนของทารกแรกเกิด [embed-health-tool-vaccination-tool] คัดกรองทารกแรกเกิด คืออะไร คัดกรองทารกแรกเกิด คือ การตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (Inborn Errors of Metabolism) ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายบางอย่าง เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะปัญญาอ่อนในทารกแรกเกิด รวมถึงอาจก่อให้เกิดความพิการทางสติปัญญาอย่างรุนแรง หรือการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดได้ คัดกรองทารกแรกเกิดมีความสำคัญอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังจากคลอด แต่โดยปกติทารกแรกคลอดทุกรายจะได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกตั้งแต่ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังคลอด เนื่องจากกลุ่มโรคดังกล่าวเสี่ยงทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการทางสติปัญหาและสมอง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยอาจพบได้เพียง 1 ใน 5,000 คนของทารกแรกเกิด จึงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนชะล่าใจจนส่งผลให้ทารกแรกเกิดได้รับการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้าจนโรคพัฒนารุนแรงขึ้น ดังนั้น การพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จึงอาจช่วยป้องกันภาวะปัญญาอ่อนหรือการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดได้ การคัดกรองทารกแรกเกิด ทำได้อย่างไร ปัจจุบันในประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน 2 โรค คือ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง และโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมแต่กำเนิดที่อาจนำไปสู่กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก โดยทั่วไป การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดมักตรวจในทารกที่มีอายุประมาณ […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ที่กั้นเตียง สำหรับเด็ก ประโยชน์และข้อควรระวัง

ที่กั้นเตียง (Bed rail) คือ อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ข้างเตียงเพื่อความปลอดภัยในห้องนอนของเด็ก เหมาะสำหรับเด็กที่เพิ่งเปลี่ยนจากนอนเปลนอนมาบนเตียงเด็ก ที่กั้นเตียช่วยป้องกันเด็กพลัดตกเตียงจนได้รับบาดเจ็บ และอาจทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นขณะนอนหลับ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อที่กั้นเตียงเด็กอย่างรอบคอบ เช่น เลือกที่กั้นเตียงที่ได้มาตรฐานและมีขนาดพอเหมาะกับเตียงเด็ก ซี่ที่กั้นเตียงต้องไม่ห่างจนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงที่คอ แขน หรือขาของเด็กจะเข้าไปติดขณะนอนหลับหรือขณะเล่นบนเตียงนอนจนเป็นอันตรายต่อเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ที่กั้นเตียง คืออะไร ที่กั้นเตียง คือ อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้บริเวณขอบเตียงเด็ก ทั้งบริเวณข้างเตียง หัวเตียง และปลายเตียง เพื่อเสริมความปลอดภัยในห้องนอนให้กับเด็ก อาจมีลักษณะเป็นราวซี่ ๆ ทำจากไม้หรือพลาสติก หรือเป็นแผ่นผ้าตาข่าย ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กพลัดตกจากเตียงนอนขณะนอนหลับหรือเล่นอยู่บนเตียงจนได้รับบาดเจ็บ ทั้งยังอาจช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยขณะนอนหลับได้ด้วย โดยทั่วไปที่กั้นเตียงจะใช้กับเด็กที่เปลี่ยนจากนอนเปลเด็ก (Crib) ไปนอนเตียงสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ (Toddler Beds) และมักติดตั้งที่กั้นเตียงไว้จนกว่าเด็กจะปรับตัวเข้ากับที่นอนใหม่ได้แล้วหรืออยู่ในวัยที่เสี่ยงตกเตียงน้อยลงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อที่กั้นเตียงที่ติดตั้งแล้วไม่มีช่องว่างระหว่างฟูกและที่กั้นเตียง และเลือกที่กั้นเตียงที่สามารถพับหรือเลื่อนเก็บขึ้นและลงได้ง่าย เพื่อให้ใช้งานสะดวก ที่กั้นเตียงเหมาะกับเด็กวัยไหน การใช้ที่กั้นเตียงเหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-5 ขวบ ที่สามารถลุกจากเตียงได้โดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเปลี่ยนให้เด็กนอนเตียงแทนนอนเปลเมื่อเด็กสูงประมาณ 90 เซนติเมตร (วัดจากปลายเท้าถึงปลายนิ้วมือขณะเด็กชูแขนเหยียดตรง) เพราะเด็กอาจสูงเกินไปจนเสี่ยงตกจากเปลได้ง่าย สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่านี้หรือเป็นเด็กตัวเล็กอาจต้องให้นอนบนเปลไปก่อน เพราะหากนอนเตียงที่ติดตั้งที่กั้นเตียงอาจเสี่ยงเข้าไปติดระหว่างซอกตะแกรงที่กั้นเตียงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจถอดที่กั้นเตียงออกเมื่อเด็กอายุเกิน 5 ปีเพราะเป็นวัยที่โตพอ และเสี่ยงน้อยลงที่จะกลิ้งพลัดตกจากเตียงจนบาดเจ็บ ข้อควรระวังในการใช้ ที่กั้นเตียง ข้อควรระวังในการใช้ที่กั้นเตียง อาจมีดังนี้ […]


วัยรุ่น

นมตั้งเต้า ในเด็กผู้หญิง และพัฒนาการทางร่างกายที่ควรรู้

อาการ นมตั้งเต้า ในเด็กผู้หญิง เป็นหนึ่งในสัญญาณของการเข้าสู่วัยรุ่นระยะแรก อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 10-11 ปี มักทำให้เด็กมีอาการปวดหัวนมและหน้าอก เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงและเต้านมขยายตัว ในช่วงแรกอาจคลำพบก้อนนูนใต้หัวนม เจ็บเวลาสัมผัสโดน จากนั้นหน้าอกจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้ เด็กผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอาจมีพัฒนาการด้านร่างกายอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีประจำเดือน สะโพกผายออก เอวคอดลง มีทรวดทรงมากขึ้น ตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีขนขึ้นตามแขน ขา รักแร้ อวัยวะเพศ มีกลิ่นตัว [embed-health-tool-bmi] นมตั้งเต้า ในวัยรุ่นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ นมตั้งเต้า เป็นความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอันดับแรก ๆ ที่ทำให้ทราบว่าเด็กผู้หญิงเข้าสู่วัยรุ่นระยะแรกแล้ว โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นในช่วงที่เด็กมีอายุได้ประมาณ 10-11 ปี แต่หากเกิดก่อนหน้านี้อาจหมายความว่า ลูกเป็นสาวก่อนวัย ในช่วงนี้เด็กผู้หญิงอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกหรือหัวนม หน้าอกขยายตัวขึ้นเป็นก้อน หัวนมตั้ง ลานนมหรือบริเวณวงสีคล้ำรอบหัวนมขยายใหญ่ขึ้น สาเหตุมาจากรังไข่เริ่มผลิตและหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายสะสมไขมันในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในทรวงอก ส่งผลให้หน้าอกขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และเกิดต่อมน้ำนมในหน้าอก โดยอัตราการเจริญเติบโตของหน้าอกอาจแตกต่างไปในแต่ละคน นอกจากการเปลี่ยนแปลงของเต้านมแล้ว ยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอื่น ๆ เกิดขึ้นด้วย เช่น เริ่มมีขนหัวหน่าว […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

วิธีนวดเต้าหลังคลอด เพื่อลดอาการคัดตึงเต้านม

เต้านมหลังคลอดจะประกอบไปด้วยของเหลว เลือด น้ำเหลือง และมีน้ำนมในปริมาณมากกว่าปกติเพื่อเป็นแหล่งอาหารหลักให้กับทารกแรกคลอด ในช่วงนี้คุณแม่อาจมีอาการคัดตึงเต้านม เต้านมขยาย บวม แดงได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยหลังคลอด การศึกษา วิธีนวดเต้าหลังคลอด ที่ถูกต้อง อาจช่วยให้คุณแม่สามารถบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับเต้านมที่เกิดขึ้น และช่วยให้อาการหายไปได้ในเวลาไม่นาน ทั้งนี้ คุณแม่หลังคลอดควรนวดเต้านมควบคู่ไปกับการให้นมลูกบ่อย ๆ เพื่อให้น้ำนมระบายออกจากเต้าได้อย่างสะดวก [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการคัดตึงเต้านมหลังคลอด เกิดจากอะไร ตั้งแต่ช่วงใกล้คลอด ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ในร่างกายคุณแม่จะกระตุ้นให้เลือดมาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อเต้านมมากขึ้น จนทำให้มีเลือด น้ำนม และของเหลวอื่น ๆ สะสมอยู่ภายในเต้านม คุณแม่บางคนอาจสังเกตเห็นน้ำนมเหลือง (Colostrum) หรือน้ำนมในระยะแรกไหลซึมออกมาจากหัวนม และอาจรู้สึกถึงอาการคัดตึงเต้านมขึ้นมาบ้างแล้ว ร่างกายคุณแม่จะเริ่มสร้างน้ำนมตั้งแต่ช่วง 2-5 วันแรกหลังคลอด ต่อมน้ำนมที่อยู่ในเต้านมจะผลิตน้ำนมจนเต็มเต้า เมื่อลูกดูดนมจากเต้า ฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเต้านมคลายตัว ส่งผลให้น้ำนมไหลออกมาเรื่อย ๆ ยิ่งให้นมเยอะและบ่อยเท่าไหร่ ร่างกายก็จะยิ่งผลิตน้ำนมออกมามากเท่านั้น นั่นอาจทำให้หน้าอกของคุณแม่แข็งและบวม ขยายใหญ่ขึ้น มีอาการคัดตึง และปวดเต้านมได้ตั้งแต่ระดับเบาจนไปถึงรุนแรง และอาจทำให้มีไข้ร่วมด้วย แต่ถึงอย่างนั้น คุณแม่ก็ควรให้นมลูกบ่อย ๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง หากลูกหลับก็ควรปลุกให้ลูกกินนมตามเวลา เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารเพียงพอ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า สำหรับคุณแม่มือใหม่

คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่หลายคนอาจประสบปัญหามีน้ำนมค้างเต้า และต้องการทราบ เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า เพื่อเป็นแนวทางในการปั๊มนมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าทำได้หลายวิธี เช่น การปั๊มนมบ่อย ๆ การวางตำแหน่งของเต้านมให้เหมาะเมื่อใช้เครื่องปั๊มนม การใช้เวลาปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าไปทีละข้าง การสังเกตลักษณะของเต้านม เพราะเมื่อปั๊มนมจนเกลี้ยงเต้าแล้วเต้านมจะอ่อนนุ่มและคัดตึงน้อยกว่าตอนก่อนปั๊ม ทั้งนี้ การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าอาจต้องใช้เวลาฝึกฝนสักระยะ เมื่อคุณแม่คุ้นชินแล้วก็สามารถปั๊มนมเก็บไว้ใช้ในภายหลังตามปริมาณที่ต้องการได้ ช่วยให้ลูกน้อยได้รับเพียงพอและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์สมวัย และช่วยลดอาการเนื่องจากมีน้ำนมค้างเต้า เช่น เต้านมคัดตึง เจ็บเต้านม [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการปั๊มนมจากเต้า ในช่วง 24-72 ชั่วโมงหลังคลอด คุณแม่อาจรู้สึกคัดตึงเต้านมมากกว่าตอนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าน้ำนมแม่พร้อมออกมาจากเต้าแล้ว และเมื่อผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ เต้านมจะผลิตน้ำนมออกมาได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมง และในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 อาจเพิ่มเป็น 600-700 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมง หากระบายน้ำนมออกมาไม่ทัน อาจทำให้เต้านมคัดตึงเพราะมีน้ำนมอยู่ในเต้านมมากเกินไปและทำให้รู้สึกเจ็บได้ การปั๊มนมจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณแม่สามารถเก็บรักษาน้ำนมไว้ใช้ภายหลังได้ ประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากในการให้นมจากเต้าโดยตรง ช่วยถ่ายน้ำนมออกจากเต้าได้เร็วกว่าการให้นมจากเต้า จึงช่วยลดอาการคัดตึงเต้านมของคุณแม่ได้ โดยการปั๊มนมอาจทำได้ 3 แบบ คือ การใช้มือบีบเพื่อรีดนมจากเต้านม การใช้เครื่องปั๊มนมแบบปั๊มด้วยมือ และการใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าอัตโนมัติ เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า วิธีที่ช่วยให้คุณแม่มือใหม่สามารถปั๊มนมแม่จนเกลี้ยงเต้าได้ อาจมีดังต่อไปนี้ ปั๊มนมให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ การปั๊มนมบ่อย ๆ […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

Hirschsprung disease คือ โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคเฮิร์ซปรุง หรือ Hirschsprung disease คือ โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด พบได้ในทารกแรกเกิด โรคนี้เกิดจากเซลล์ประสาทในลำไส้บางส่วนหายไปตั้งแต่กำเนิด มักทำให้เกิดอาการผิดปกติภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด เช่น ท้องผูก ไม่ถ่ายขี้เทา ท้องบวม ในกรณีที่ไม่รุนแรงมากอาจตรวจไม่พบโรคนี้จนกระทั่งเด็กโตขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว และโรคนี้วินิจฉัยพบในวัยผู้ใหญ่น้อยมาก โดยทั่วไปสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดนำลำไส้ใหญ่บางส่วนของเด็กออก เพื่อให้ระบบขับถ่ายกลับมาทำงานได้ตามปกติ [embed-health-tool-bmi] Hirschsprung disease คืออะไร Hirschsprung disease คือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่หายไปตั้งแต่กำเนิด ตั้งชื่อโรคตามคุณหมอฮาราลด์ เฮิร์ชสปรุง (Harald Hirschsprung) ซึ่งเป็นผู้อธิบายโรคนี้เป็นคนแรก Hirschsprung disease อาจพัฒนาตั้งแต่ในระหว่างตั้งครรภ์และแสดงอาการหลังคลอด เมื่อเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่ไม่สมบูรณ์ ก็จะส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่เคลื่อนอาหารผ่านลำไส้ ทำให้มีอุจจาระค้างและก่อตัวเป็นก้อนอยู่ในลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถส่งอุจจาระไปยังทวารหนักเพื่อขับถ่ายออกไปได้ตามปกติ ส่วนใหญ่แล้ว เซลล์ประสาทบริเวณส่วนท้ายของลำไส้เล็ก ก่อนถึงไส้ตรงและทวารหนักของทารกที่เป็นโรคนี้มักหยุดเจริญเติบโต และบางรายอาจมีเซลล์ประสาทที่บริเวณอื่นในระบบย่อยอาหารหายไปด้วย Hirschsprung disease อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างลำไส้ใหญ่อุดตัน ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์ (Clostridium difficile) เชื้อสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส (S. aureus) เชื้อโคลิฟอร์ม (Coliform) จนส่งผลให้เกิดการอักเสบรุนแรงจนลำไส้โป่งพองมาก หรือเกิดภาวะมีโปรตีนในเลือดต่ำ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ไฮเปอร์ คือ ภาวะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข สาเหตุและการรักษา

ไฮเปอร์ คือ ภาวะอยู่ไม่นิ่ง และไม่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่กับที่ได้เหมือนกับคนทั่วไป มักพบในเด็กวัยเรียน แต่ก็อาจวินิจฉัยพบในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน คนที่เป็นไฮเปอร์อาจมีปัญหาในการเข้ากับผู้อื่น การหาเพื่อน และการใช้ชีวิตประจำวัน หากสงสัยว่าเด็กมีอาการไฮเปอร์ ควรพาเด็กไปรับการวินิจฉัยและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนกับเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ไฮเปอร์ คือ อะไร ไฮเปอร์แอกทิวิตี (Hyperactivity) หรือ ไฮเปอร์ เป็นภาวะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข ชอบขัดจังหวะผู้อื่นขณะพูด วอกแวกง่าย ทั้งยังอาจมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ไม่มีสมาธิ ก้าวร้าว อาจเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มักพบได้บ่อยในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น โดยทั่วไปมักจะได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บางคนก็พบได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยทั่วไป การเป็นเด็กไฮเปอร์อาจถูกมองว่าเป็นปัญหาสำหรับคนรอบข้างและทางโรงเรียนมากกว่าตัวเด็กเอง อย่างไรก็ตาม การมีภาวะไฮเปอร์อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของตัวเด็กได้เช่นกัน เช่น ทำให้ไม่มีความสุขในการเข้าสังคม เสี่ยงมีภาวะซึมเศร้า อาจทำให้เด็กตกเป็นเป้าของการกลั่นแกล้งกัน หรือเด็กอาจโดนทำโทษเนื่องจากมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ สาเหตุของ ไฮเปอร์ คืออะไร สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะ ไฮเปอร์ คือ โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะไฮเปอร์ โดย ไฮเปอร์ คือ หนึ่งในอาการของโรคสมาธิสั้น ทำให้เด็กมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ซุกซน […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

Grooming คือ การเข้าหาเด็กเพื่อละเมิดทางเพศ ภัยต่อเด็กที่ควรรู้เท่าทัน

การกรูมมิ่ง หรือ Grooming คือ พฤติกรรมการเข้าหาเด็กเพื่อละเมิดทางเพศ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมนี้จะเข้ามาตีสนิทกับเด็กหรือครอบครัวของเด็กเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและตายใจ เมื่อคุ้นเคยกันดีแล้ว บุคคลนั้นอาจเริ่มชักจูงหรือข่มขู่ให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศโดยที่เด็กไม่ทราบว่าตัวเองกำลังถูกควบคุมหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศอยู่ การเรียนรู้ว่า Grooming คืออะไร และมีลำดับขั้นตอนอย่างไร อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองรู้เท่าทันและสอนเด็กให้ระมัดระวังตัว สามารถสังเกต และออกห่างจากบุคคลที่มีพฤติกรรมในลักษณะนี้ได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] Grooming คือ อะไร การกรูมมิ่ง หรือ Grooming คือ พฤติกรรมการเข้าหาเด็กเพื่อละเมิดทางเพศ ด้วยการพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่น่าไว้วางใจกับตัวเด็กหรือครอบครัวของเด็ก ซึ่งอาจใช้เวลาหลายวัน หลายเดือน หรือใช้เวลาเป็นปี เมื่อเด็กและครอบครัวและเด็กรู้สึกสนิทใจและเชื่อว่าว่าบุคคลนั้น ๆ ไม่มีจุดประสงค์อื่นใดแอบแฝง ก็อาจทำให้บุคคลนั้นสามารถใช้เวลาร่วมกับเด็กได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเด็กรู้สึกคุ้นเคย ผูกพัน และไม่ทันระวังตัว ก็อาจโดนฉวยโอกาสล่วงละเมิดทางเพศเมื่ออยู่ตามลำพัง หรือในขณะที่เด็กหรือครอบครัวไม่ทันสังเกต การ Grooming เกิดขึ้นได้อย่างไร การ Grooming เป็นพฤติกรรมที่หวังได้รับความรู้สึกจากเด็กตอบแทนและหวังล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual abuse) เด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยผู้กระทำสามารถเป็นเพศใดก็ได้ และเด็กทั้งผู้หญิงและผู้ชายล้วนมีความเสี่ยงถูก Grooming ได้ไม่ต่างกัน ผู้กระทำอาจเป็นบุคคลใกล้ชิด เช่น ญาติสนิทของเด็ก หรืออาจเป็นคนแปลกหน้าที่เข้ามาตีสนิทกับเด็กโดยที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองไม่ทราบ บางครั้งผู้กระทำการ Grooming อาจเข้ามาตีสนิทกับสมาชิกในครอบครัวของเด็กอย่างโจ่งแจ้งเพื่อให้ตัวเองสามารถเข้าหาและเรียกร้องเรื่องทางเพศกับเด็กในภายหลังได้สะดวกที่สุด โดยไม่มีใครสังเกตหรือสงสัย นอกจากนี้ ยังมีการ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน