โรคอ้วน อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

โรคอ้วน หรือผู้ที่มีค่า BMI 30 ขึ้นไป ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น

อันตรายจากโรคอ้วนและเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Microalbuminuria คือ อะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน

Microalbuminuria คือ ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย หรือภาวะที่ร่างกายมีโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) รั่วออกมาทางปัสสาวะในปริมาณระหว่าง 30-300 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นภาวะที่บ่งชี้ถึงการทำงานของไตที่ผิดปกติไป เป็นสัญญานเริ่มต้นของภาวะไตเสื่อม ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียที่พบในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำให้กลุ่มหลอดเลือดฝอยของไตที่ทำหน้าที่เก็บกรองสารต่าง ๆ เสียหาย จึงเป็นสาเหตุให้โปรตีนอัลบูมินรั่วออกมาทางปัสสาวะมากกว่าปกติ [embed-health-tool-bmi] Microalbuminuria คือ ไมโครอัลบูมินนูเรีย หมายถึง ภาวะที่มีโปรตีนอัลบูมิน (หรืออาจรู้จักทั่วไปว่า โปรตีน ไข่ขาว) ในปัสสาวะอยู่ระหว่าง 30-300 มิลลิกรัมต่อระยะเวลา 1 วัน หรือ มีปริมาณโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ 30-300 มิลลิกรัมต่อกรัมของครีเอตินีน ซึ่งสะท้อนว่าอาจมีภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ และเป็นหนึ่งในสัญญาณเริ่มต้นของโรคไต ทั้งนี้ อัลบูมินเป็นโปรตีนที่สร้างจากตับ และพบได้ในกระแสเลือด มีหน้าที่เป็นตัวขนส่งฮอร์โมน วิตามิน หรือเอนไซม์ ไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านกระแสเลือด รวมถึงช่วยป้องกันของเหลวในหลอดเลือดรั่วซึมออกมา แล้วไปสะสมที่เนื้อเยื่อบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย Microalbuminuria เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานอย่างไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ลดลงหรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เซลล์ต่าง ๆ ตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่เหมาะสม หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน หลอดเลือดของอวัยวะต่างๆของร่างกายจะได้รับความเสียหาย ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวตามมาได้ ในกรณีของไต ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างเรื้อรังจะไปทำลายโกลเมอรูลัส […]

โรคอ้วน

โรคอ้วนลงพุง สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคอ้วนลงพุง คือ โรคที่ร่างกายมีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องและรอบเอวมากเกินเกณฑ์ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย หากไม่ทำการรักษาอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 การติดเชื้อ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคอ้วนลงพุง คืออะไร โรคอ้วนลงพุง คือ โรคที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันบริเวณหน้าท้องในปริมาณมาก ส่งผลให้มีรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายสูงเกินเกณฑ์ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2  ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง  อาการ อาการของโรคอ้วนลงพุง อาการของโรคอ้วนลงพุง มีดังนี้ มีการสะสมของไขมันบริเวณหน้าท้องทำให้มีหุ่นคล้ายลูกแพร์หรือแอปเปิ้ล ค่าดัชนีมวลกาย 25 ขึ้นไป รอบเอวเกิน 35 นิ้ว ขึ้นไปในผู้หญิง และ 40 นิ้ว ขึ้นไปในผู้ชาย เหนื่อยล้าง่าย โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย รู้สึกปวดเข่าและ ข้อต่อ เพราะรองรับน้ำหนักตัวมาก ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง รู้สึกกระหายน้ำบ่อย และปัสสาวะบ่อยซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอ้วนลงพุงที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอ้วนลงพุงที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ สาเหตุ สาเหตุของโรคอ้วนลงพุง สาเหตุของโรคอ้วนลงพุงเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการสะสมของแคลอรี่ส่วนเกินและเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องและรอบเอว นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง […]

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตุ่ม เบาหวาน มีลักษณะอาการอย่างไร รักษาได้อย่างไร

ตุ่ม เบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนังชนิดหนึ่งของโรคเบาหวาน อาจมีลักษณะเป็นได้ทั้งตุ่มน้ำใส ตุ่มสีเหลือง มักเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงเกินไป ตุ่มเบาหวานส่วนมากมักพบบริเวณมือ ขา หรือเท้าของผู้ป่วย และอาจหายไปเองหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เบาหวานคืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลงหรือผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายผิดปกติทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จึงมีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดช่วงที่อดอาหารแล้วสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยหนึ่งของโรคเบาหวาน หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงเรื้อรัง ไม่ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน ภาวะเบาหวานขึ้นตา รวมถึงความผิดปกติบริเวณผิวหนัง เช่น ตุ่ม เบาหวาน  ตุ่มเบาหวาน มีลักษณะอย่างไร ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจพบผื่นหรือตุ่มน้ำลักษณะต่าง ๆ ตามร่างกาย ซึ่งมีชื่อเรียกและรายละเอียดดังต่อไปนี้ ตุ่มน้ำใส พบได้ไม่บ่อยนัก อาจปรากฏที่บริเวณขา เท้า หรือนิ้วเท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดตุ่มน้ำที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลจากการติดเชื้อรา การบาดเจ็บบริเวณดังกล่าว หรือระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี อีรัปทีพ แซนโทมาโตซิสม (Eruptive Xanthomatosis) มีลักษณะเป็นตุ่มนูน อาจพบได้เมื่อมีภาวะคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย คาดว่าผื่นชนิดนี้เกี่ยวข้องกับภาวะดื้ออินซูลิน อีรัปทีฟ แซนโทมาโตซิสมักพบบริเวณหลังมือ ข้อเท้า ขา หรือสะโพก และผื่นในช่วงแรกจะมีลักษณะคล้ายกับตุ่มสิว […]

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เท้าบวม เบาหวาน วิธีรักษา ทำได้อย่างไร

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนโลหิต ทำให้มีของเหลวรั่วออกจากหลอดเลือดเเละไปเพิ่มการสะสมของน้ำตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวมตึงตามอวัยวะดังกล่าวได้ โดยมักเกิดขึ้นที่อวัยวะส่วนปลาย เช่น บริเวณขา ข้อเท้า และเท้า เมื่อมีอาการ เท้าบวม เบาหวาน วิธีรักษา สามารถทำได้ด้วยการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวม เช่น เพิ่มการขยับเคลื่อนไหวของเท้า ยาขับปัสสาวะเพื่อขับของเหลวที่คั่งในเนื้อเยื่อ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหมั่นดูแลสุขภาพเท้าและสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการบวม แผลที่เท้า ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เท้าบวมเมื่อเป็นเบาหวาน เกิดจากอะไร โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอหรือเซลล์ในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้สมดุลการจัดการกับน้ำตาลในเลือดเสียไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เเละหากควบคุมโรคเบาหวานไม่ดี ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ผนังของหลอดเลือดฝอยเสื่อมลง รวมถึงทำให้แรงดันในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นจนทำให้ของเหลวรั่วออกมาจากหลอดเลือดเข้ามาสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ บริเวณขา ข้อเท้า เท้า จึงเป็นที่มาของอาการเท้าบวม อาการเท้าบวมอาจเกิดจากภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ ที่พบร่วมกับโรคเบาหวาน ดังต่อไปนี้ โรคอ้วน ภาวะเลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ภาวะหลอดเลือดดำเสื่อม การคั่งของน้ำเหลือง (Lymphedema) โรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ โรคไต ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด เช่น […]

โรคอ้วน

คนอ้วน เจ็บเท้า บรรเทาอาการอย่างไร และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

เท้าเป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องรับน้ำหนักทั้งร่างกาย จึงไม่แปลกเลยที่เมื่อคุณน้ำหนักมากขึ้น หรือความอ้วน จะทำให้เท้าต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนอาจเกิดปัญหาตามมา นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินจนก่อให้เกิดอาการ เจ็บเท้า วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูสาเหตุที่ทำให้ คนอ้วน มีอาการ เจ็บเท้า และวิธีการบรรเทาอาการกัน สาเหตุที่ทำให้ คนอ้วน มีอาการ เจ็บเท้า การมีน้ำหนักเกินทำให้คุณเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บเท้าได้ เช่น โรคเกาต์ โรคเกาต์ ทำให้มีอาการปวดแบบเจ็บแปลบ ปวดรุนแรง และโดยปกติจะปวดบริเวณหัวแม่เท้า นอกจากนี้ โรคเกาต์ยังสามารถส่งผลต่อข้อต่อของเท้าและข้อเท้า โดยโรคนี้จะพัฒนาจากผลึกของสารที่เรียกว่า "กรดยูริค" ที่สะสมในข้อต่อ มากไปกว่านั้นความอ้วนยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ เนื่องจากการเพิ่มการผลิตกรดยูริคในร่างกาย โรคเบาหวาน ความอ้วน เป็นหนึ่งในปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานสามารถทำให้เกิดอาการเท้าชา และลดการไหลเวียนเลือดไปยังบริเวณเท้า ซึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาอาการบาดเจ็บเล็กน้อย โดยที่คุณไม่สามารถสังเกตเห็น และอาการบาดเจ็บเหล่านี้อาจหายช้าและพัฒนาเป็นการติดเชื้อ จนถึงขั้นต้องสูญเสียเท้า เนื่องจากโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral Artery Disease) โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมคราบพลัค (Plaque) ในผนังหลอดเลือดแดงที่ขา ซึ่งส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังเท้าลดลง ค่าดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น งานวิจัยที่ศึกษาเรื่องโรคอ้วน อาการเจ็บเท้า และความผิดปกติของเท้าในผู้ชายและผู้หญิงสูงอายุ พบว่า ทั้งชายและหญิงมีโอกาสที่จะเกิดอาการเจ็บเท้าเพิ่มขึ้น […]

เครื่องวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI

เครื่องวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI

avatar
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

หมายเหตุ

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพนี้ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์แต่อย่างใด แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ อย่าละเลยคำแนะนำของแพทย์เพียงเพราะสิ่งที่คุณได้อ่านใน Hello คุณหมอ เท่านั้น หากคุณเป็นโรคการกินผิดปกติ ก็ไม่สามารถใช้เครื่องคำนวณ BMI เพื่อตรวจเช็กสุขภาพได้ โปรดรับคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อาหารและการลดน้ำหนัก

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

1วันควรกินกี่แคล สำหรับผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก

1วันควรกินกี่แคล หมายถึง จำนวนพลังงานจากสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันซึ่งมีหน่วยวัดเป็นกิโลแคลอรี่หรือแคลอรี่ โดยจำนวนพลังงานที่ร่างกายของแต่ละคนควรได้รับใน 1 วันนั้น ขึ้นอยู่กับหลาปัจจัย อย่างเพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง หรือไลฟ์สไตล์ เช่น เพศชายอายุ 20 ปี ปกติแล้วมักต้องการพลังงานประมาณ 2,400-3,000 แคลอรี่/วัน ส่วนเพศหญิงในวัยเดียวกัน มักต้องการพลังงานน้อยกว่า หรือประมาณ 2,000-2,400 แคลอรี่/วัน อย่างไรก็ตาม หากเพศหญิงคนดังกล่าวเป็นนักกีฬา หรือทำงานที่ต้องออกแรงมาก พลังงานที่ต้องการภายใน 1 วัน อาจมากกว่านั้น หรืออยู่ในระดับเดียวกับเพศชายอายุ 20 ปี ทั้งนี้ จำนวนแคลอรี่ที่ควรได้รับในแต่ละวันควรเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะอ่อนเพลีย สมองเสื่อม [embed-health-tool-bmi] แคลอรี่ คืออะไร แคลอรี่ (Calorie) ย่อมาจากกิโลแคลอรี่ (Kilocalorie) เป็นหน่วยวัดของจำนวนพลังงานที่ร่างกายจะได้รับเมื่อบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มแต่ละชนิด หากได้รับปริมาณแคลอรี่เกินกว่าระดับที่ร่างกายต้องการใช้ จะทำให้เกิดการสะสมของพลังงานส่วนเกินในรูปแบบของไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ลงพุง หรือเป็นโรคอ้วน โดยปกติบนบรรจุภัณฑ์ของอาหารหรือเครื่องดื่มมักมีฉลากบอกจำนวนพลังงานเป็นหน่วยแคลอรี่หรือกิโลแคลอรี่ แต่ในบางผลิตภัณฑ์อาจมีฉลากที่ใช้หน่วยวัดพลังงานเป็นกิโลจูล (Kilojoule หรือ KJ) […]

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ทํา IF กิน อะไร ได้ บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

IF (Intermittent Fasting) เป็นวิธีลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารเป็นบางวันหรือบางช่วงเวลาของวัน เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมันภายในร่างกาย หากถามว่า ทํา IF กิน อะไร ได้ บ้าง คำตอบคือในช่วงที่รับประทานอาหารได้ ผู้ทำ IF สามารถบริโภคอาหารได้ทุกอย่าง แต่ควรเลือกอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างผัก ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ด ส่วนในช่วงอดอาหาร สามารถบริโภคได้เพียงน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟเท่านั้น [embed-health-tool-bmi] ทำ IF คืออะไร IF หมายถึง การลดน้ำหนักด้วยการกินและอดอาหารเป็นเวลา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานจากไขมันแทนคาร์โบไฮเดรต ซึ่งส่งผลให้มวลไขมันที่สะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง และอาจช่วยทำให้น้ำหนักตัวลดลงตามไปด้วย การทำ IF มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น 16/8 คือการอดอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมง/วัน และช่วงเวลาที่สามารถรับประทานอาหารได้คือ 8 ชั่วโมง/วัน เช่น รับประทานอาหารมื้อแรกเวลา 9.00 และมื้อต่อ ๆ ไปภายในเวลา 18.00 น. หลังจากนั้น งดรับประทานอาหาร 5:2 Fasting คือการรับประทานอาหารปกติ […]

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อาหารไฟเบอร์สูง แคลอรี่ต่ำ ตัวเลือกดีๆ สำหรับคนลดน้ำหนัก

อาหารไฟเบอร์สูง แคลอรี่ต่ำ ส่วนใหญ่มักหมายถึงพืชผักผลไม้ และธัญพืช ซึ่งเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เนื่องจากไฟเบอร์หรือใยอาหารมีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำ เมื่อบริโภคเข้าร่างกายจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น และอิ่มนาน จึงรู้สึกอยากอาหารน้อยลง ลดโอกาสเสี่ยงในการได้รับพลังงานส่วนเกิน จึงอาจช่วยให้ควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmr] ไฟเบอร์สำคัญต่อการลดน้ำหนักยังไง ไฟเบอร์ (Fiber) หรือใยอาหาร จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย พบได้ในพืชผักผลไม้ และธัญพืช โดยงานวิจัยหลายชิ้นเผยว่า ไฟเบอร์อาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก เนื่องจากผู้ที่บริโภคอาหารไฟเบอร์สูงมีแนวโน้มจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า และมีน้ำหนักขึ้นน้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่บริโภคอาหารไฟเบอร์ต่ำ เพราะไฟเบอร์ช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น บริโภคอาหารได้น้อยลง ร่างกายได้รับปริมาณแคลอรี่ลดลง หากร่างกายใช้แคลอรี่มากกว่าที่ได้รับ อาจช่วยให้น้ำหนักลดลง นอกจากนี้ อาหารไฟเบอร์สูง แคลอรี่ต่ำ มักทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และใช้เวลาไม่นานหลังบริโภคระดับน้ำตาลในเลือดกลับสู่ภาวะปกติหรือต่ำกว่าระดับปกติ ทำให้ร่างกายไม่รู้สึกอยากอาหาร ในขณะที่การบริโภคอาหารไขมันสูงหรือน้ำตาลสูง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว และเพิ่มความอยากอาหารมากขึ้นโดยเฉพาะของหวาน ส่งผลให้ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน อาหารไฟเบอร์สูง แคลอรี่ต่ำ มีอะไรบ้าง หากต้องการเพิ่มไฟเบอร์ให้ร่างกาย แบบแคลอรี่ไม่เพิ่มสูงขึ้น ควรบริโภคอาหารไฟเบอร์สูง แคลอรี่ต่ำ ได้แก่ ผักใบเขียว ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ปวยเล้ง สวิสชาร์ด (Swiss Chard) ผักกาดเขียว ผักโขม ผักบุ้ง ได้ชื่อว่าเป็นอาหารลดน้ำหนัก เพราะนอกจากจะมีไฟเบอร์สูงแล้ว ยังมีแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรตต่ำ เมื่อบริโภคจะช่วยให้อิ่มท้องนานขึ้น บริโภคอาหารมื้อต่อไปน้อยลง […]

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อาหาร low carb คืออะไร และช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร

อาหาร low carb คือ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่ยังคงให้ประโยชน์และพลังงานกับร่างกาย เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ผัก ถั่ว เมล็ดพืช ซึ่งการกินอาหาร low carb อาจช่วยในการลดน้ำหนักและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงอาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจได้ [embed-health-tool-bmi] อาหาร low carb คืออะไร อาหาร low carb คือ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ โดยสามารถเลือกกินอาหาร low carb เพื่อลดปริมาณการกินคาร์โบไฮเดรตให้น้อยกว่า 130 กรัม/วัน แต่ยังคงเป็นอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานต่อร่างกาย เช่น การกินขนมปังขาว 100 กรัม มีคาร์โบไฮเดรต 44.8 กรัม เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนมากินแอปเปิ้ล 100 กรัม มีคาร์โบไฮเดรต 15.4 กรัม จะเห็นได้ว่า การเลือกกินอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้ในปริมาณที่เท่ากันแต่ให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต่างกัน ซึ่งยังคงให้ประโยชน์และให้ความรู้สึกอิ่มท้องที่เหมือนกันด้วย นอกจากนี้ ยังควรเสริมอาหารประเภทโปรตีนสูงเพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและให้พลังงานกับร่างกายด้วย ชนิดของอาหาร low carb […]

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

เต้าหู้ช่วยลดน้ำหนัก ได้อย่างไร และคุณค่าทางโภชนาการของเต้าหู้

หนึ่งในวิธีการลดน้ำหนักที่เห็นผลคือ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งหากจะให้ไล่เรียงก็คงจะพูดถึงไม่หมด เพราะมีอาหารดี ๆ ที่เหมาะกับการลดน้ำหนักอยู่มากมาย แต่หากจะให้แนะนำสักอย่างหนึ่งล่ะก็ Hello คุณหมอ ขอนำเสนอ เต้าหู้ อาหารนุ่มลิ้น ที่รสชาติแสนจะจืดชืดนี่แหละ แต่ เต้าหู้ช่วยลดน้ำหนัก ได้อย่างไรนั้น มาติดตามกันเลยค่ะ [embed-health-tool-bmi] คุณค่าทางโภชนาการของ เต้าหู้ เต้าหู้ 1 ก้อน ปริมาณ 122 กรัม ให้สารอาหารสำคัญ ดังนี้ พลังงาน 177 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 5.36 กรัม โปรตีน 15.57 กรัม แคลเซียม 421 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 282 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 178 มิลลิกรัม เนื่องจาก เต้าหู้ ทำมาจากถั่วเหลือง จึงทำให้เต้าหู้มีโปรตีนจากถั่วเหลือง รวมถึงกรดอะมิโน กรดไขมันโอเมก้า 3 ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic […]

โฆษณา

เคล็ดลับการลดน้ำหนัก

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

10 เทคนิคลดพุง ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าได้ผล

หลายคนอาจกำลังประสบปัญหา ใส่กางเกงได้ แต่ติดกระดุมไม่ได้ !!! เพราะติดพุง !!! บางทีก็ถึงขั้นรูดซิปไม่ได้เลย จึงคิดว่าต้องกำจัดไขมันส่วนเกินตรงหน้าท้องซะแล้ว แต่ลองมาแล้วหลายวิธี ก็ยังไม่ได้ผล ถ้าอย่างนั้นลองมาดูวิธี ลดพุง ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ว่าได้ผลแน่นอน กันเลยดีกว่าค่ะ เทคนิคลดพุง ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ 1. กินอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว การกินอาหารที่มี ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fats, MUFAs) ในทุกๆ มื้อ เช่น น้ำมันมะกอก ถั่วอัลมอนด์ หรืออะโวคาโด จะช่วยให้ไขมันในช่องท้องลดลงได้ ข้อมูลจากวารสาร Journal for Diabetes Care อธิบายว่า การกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันในช่องท้อง  เนื่องจากไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญไขมัน และช่วยทำให้ลดพุงได้ 2. เคี้ยวอาหารนานๆ การเคี้ยวอาหารนานๆ เป็นวิธีการที่ป้องกันอาการท้องอืด ได้ดีเยี่ยม โดยให้เคี้ยวอาหารจนละเอียด เป็นเนื้อเหลว จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ไม่มีแก๊สในกระเพาะ และไม่มีอาการท้องอืด ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้พุงป่องออกมา 3. เลี่ยงแป้งแบบขัดสีหรืออาหารแปรรูป ขนมปังขาว แคร็กเกอร์ หรือมันฝรั่งทอด พวกน้ำหวาน และของหวาน จะทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดไขมันส่วนเกินได้ เนื่องจากเมื่อกินเข้าไปแล้วอินซูลินจะสูง ส่งผลให้ร่างกายไม่เผาผลาญไขมัน […]

การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก

วิ่งตอนท้องว่าง มีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง ลองมาดูกัน!

การวิ่งจัดเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิกชั้นยอด หากคุณวิ่งอย่างถูกวิธี นอกจากจะดีต่อสุขภาพหัวใจแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและกล้ามเนื้อ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังได้ด้วย แค่ใจพร้อม ร่างกายพร้อม และมีรองเท้าที่เหมาะสมในการวิ่ง คุณก็สามารถออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้ทุกเวลาที่ต้องการ แต่บางคนก็ชอบวิ่งตอนเช้า หลังจากตื่นนอน หรือที่เรียกว่า วิ่งตอนท้องว่าง หรือฟาสติ้ง รัน (Fasting Run) คือวิ่งหลังจากอดอาหารมาเป็นเวลาอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงในช่วงที่นอนหลับ เพราะเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญ แต่บางคนก็ไม่ชอบวิ่งตอน ท้องว่าง เพราะเชื่อว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ การวิ่งตอนท้องว่างนั้นจะมีผลดีและผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาฝากกันในบทความนี้ ข้อดีของการ วิ่งตอน ท้องว่าง ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน คนส่วนใหญ่ที่เลือกวิ่งตอนท้องว่างเพราะเชื่อว่า เมื่อในร่างกายมีระดับคาร์โบไฮเดรตต่ำ ก็จะดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมไว้มาใช้เป็นพลังงานได้มากขึ้น กล่าวคือ ร่างกายจะสามารถเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นแค่ความเชื่อ เพราะมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี 2015 ที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชาย 10 คน พบว่า หลังจากที่กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกายก่อนกินอาหารเช้า ร่างกายของพวกเขาสามารถเผาผลาญไขมันได้ต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว เมื่อนักวิจัยทีมเดิมทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง 9 คนในปี 2017 ผลที่ได้ก็ออกมาเหมือนกัน คือ ร่างกายของกลุ่มตัวอย่างสามารถเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น เนื่องจากการขาดคาร์โบไฮเดรตไปกระตุ้นยีนส์ที่ควบคุมการเผาผลาญไขมันให้ทำงานมากขึ้นนั่นเอง ช่วยลดความต้องการพลังงานหรือแคลอรี่ หากคุณต้องการลดน้ำหนัก การวิ่งตอน ท้องว่าง ก็อาจตอบโจทย์ เพราะผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การออกกำลังกายหลังจากอดอาหารอาจช่วยควบคุมปริมาณของพลังงานหรือแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการได้ โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี […]

การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก

เทคนิค กระโดดเชือกลดน้ำหนัก แบบเห็นผล!!!

การลดน้ำหนัก หรือลดความอ้วน ไม่ใช่เรื่องที่จะเห็นผลชัดเจนได้ในชั่วข้ามคืน มิหนำซ้ำ บางคนก็อาจถอดใจ หรือล้มเลิกความตั้งใจทั้งๆ ที่ลงมือลดน้ำหนักได้ยังไม่ถึงสัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นเพราะคุณยังไม่เจอวิธีออกกำลังกายที่ใช่สำหรับคุณ ถ้าอย่างนั้น Hello คุณหมอ อยากชวนคุณมาลอง กระโดดเชือกลดน้ำหนัก แบบถูกต้องและเห็นผลจริง หากทำเป็นประจำควบคู่กับการควบคุมอาหาร รับรองน้ำหนักลดลงแน่นอน [embed-health-tool-bmi] การออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือก การ กระโดดเชือก ถือเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของปอดและหัวใจ ช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ช่วยพัฒนาการทำงานสอดประสานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ช่วยกระชับกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่องและแกนกลางลำตัว ช่วยลดพุง รวมถึงช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ และช่วยในการลดน้ำหนักด้วย หลายคนอาจคิดว่าการกระโดดเชือก ได้ออกกำลังกายแค่ร่างกายท่อนล่างหรือช่วงขา แต่จริงๆ แล้ว การกระโดดเชือกเป็นการฝึกทั่วร่างกาย จึงทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้มากในเวลาอันสั้น หากเป็นคนรูปร่างและน้ำหนักปานกลาง การกระโดดเชือกอาจช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่า 10 กิโลแคลอรี่ต่อนาที การกระโดดเชือกช่วยให้น้ำหนักลดได้จริงไหม อย่างที่บอกไปแล้วว่า การกระโดดเชือกช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้มากในเวลาอันสั้น แถมยังเป็นกิจกรรมที่สนุก จึงทำให้คุณสามารถ กระโดดเชือก ลดน้ำหนักได้เรื่อย ๆ โดยไม่รู้สึกเบื่อ การกระโดดเชือกลดน้ำหนักเป็นประจำทุกวันๆ ละ 30-60 นาที สามารถช่วยให้น้ำหนักลดได้จริง แต่อย่างไรก็ตาม ผลจากการกระโดดเชือกของคุณอาจขึ้นอยู่กับ การกินอาหาร คุณต้องลดน้ำหนักควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และต้องได้รับปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมด้วย เป้าหมายในการลดน้ำหนัก […]

การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก

ช่วงเผาผลาญไขมันที่ดีที่สุด (Fat Burning Zone) สามารถคำนวณได้อย่างไร

สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ให้มีประสิทธิภาพ การคำนวณเพื่อหา ช่วงเผาผลาญไขมันที่ดีที่สุด จึงเป็นวิธีที่ดี ที่จะช่วยเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายให้ได้ผลมากที่สุด วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปหาคำตอบกันว่า ในแต่ละคนนั้นควรออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่เท่าไร จึงจะเผาผลาญไขมันได้ดีที่สุด ช่วงเผาผลาญไขมันที่ดีที่สุด (Fat burn zone) คืออะไร อัตราการเต้นของหัวใจของคนเรานั้น สามารถบ่งบอกถึงความเข้มข้นของกิจกรรมที่ทำได้ เช่น ขณะที่นั่งหรือนอน อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อเราออกกำลังกายอัตราการเต้นของหัวใจก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อไรก็ตามที่เราออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงอัตราการเต้นของหัวใจก็จะสูงขึ้น ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดในแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน แท้จริงแล้ว ช่วงเผาผลาญไขมันที่ดีที่สุดคือช่วงที่ อัตราการเต้นของหัวใจที่อยู่ระหว่างการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงและการออกกำลังกายที่ความเข้มข้นต่ำ ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายนั้นได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงเป็นช่วงสามารถเผาผลาญไขมันได้ดีที่สุด การคำนวณหาช่วงเผาผลาญไขมันที่ดีที่สุด สิ่งที่คุณควรรู้: โซนอันตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate Zone) เมื่อพูดถึงการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ก็จะมีโซนของอัตราการเต้นของหัวใจที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกิจกรรมที่ทำ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 4 โซน ตามอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ดังนี้ 1. โซนความเข้มข้นต่ำ (Fat burn zone) อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ 50-70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เช่น การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ 2. โซนความเข้มข้นปานกลาง อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ 70-80% […]

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

วิธีลดไขมันหน้าท้อง แบบไหนที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ

ลดไขมันหน้าท้อง เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องมากกว่าส่วนอื่น หรือที่เรียกกันว่าพุง ซึ่งนอกจากจะทำให้สูญเสียความมั่นใจแล้ว การมีไขมันหน้าท้องสะสมนั้นยังอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย  แต่รู้หรือไม่ว่ามี วิธีลดไขมันหน้าท้อง ที่อาจช่วยให้ไขมันหน้าท้องค่อยๆ หายไป โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และปฏิบัติตามแนวทางการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอย่างเคร่งครัด [embed-health-tool-bmi] วิธีลดไขมันหน้าท้อง มีอะไรบ้าง 1. ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณพอเหมาะจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้หัวใจแข็งแรง กระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์  แต่หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป มักทำให้ไขมันหน้าท้อง หรือพุงเพิ่มขึ้นได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์โรคอ้วนลงพุงและการดื่มแอลกอฮอล์ เผยแพร่ในวารสาร European Journal of Nutrition พ.ศ.2550 นักวิจัยได้ให้กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 27-74 ปี ซึ่งเป็นเพศชายจำนวน 1,491 ราย และเพศหญิงจำนวน 1,563 ราย ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร รวมทั้งพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ได้ผลสรุปว่า การดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 3 แก้วต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนลงพุงโดยเฉพาะในเพศชาย 2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ การรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นประจำ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะอักเสบในร่างกาย โรคหัวใจ ภาวะดื้ออินซูลิน การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น ของทอด ครีมเทียม ขนมขบเคี้ยว […]

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

BMI หรือ ค่าดัชนีมวลกาย สำคัญอย่างไร และวิธีคำนวณ BMI

BMI (Body Mass Index) หรือ ค่าดัชนีมวลกาย เป็นเครื่องมือชี้วัดน้ำหนักว่าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมีแนวโน้มน้ำหนักเกิน ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคอ้วนและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เพื่อทำให้สามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] BMI คืออะไร สำคัญอย่างไร BMI คือ สูตรคำนวณค่ามาตรฐานของน้ำหนัก เพื่อบอกถึงแนวโน้มน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และแนวโน้มน้ำหนักเกิน โดยค่า BMI ไม่ได้วัดมวลไขมันในร่างกายโดยตรง แต่เป็นวิธีวัดมวลกายโดยรวมที่อาจแสดงถึงการเผาผลาญอาหารในร่างกาย หรือแนวโน้มการเกิดโรค เพื่อควบคุมน้ำหนักและสุขภาพโดยรวมของร่างกาย ซึ่งความสำคัญของ BMI มีดังนี้ เป็นตัวชี้วัดมาตรฐานความสมดุลของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูง เพื่อประเมินสภาวะของร่างกายอย่างเหมาะสม เป็นเครื่องมือคัดกรองผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยค่า BMI ใช้วิธีคำนวณจากค่า น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง และแสดงค่าเป็นหน่วย กิโลกรัม/เมตร2  สามารถแปลผลค่า BMI ได้ดังนี้ ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย อาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพตามมา  เช่น ภาวะทุพโภชนาการ จึงควรพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการเพิ่มน้ำหนักอย่างสุขภาพดี ค่า BMI […]