สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

วัคซีน HPV ผู้ชายฉีดได้ไหม? ช่วยอะไร?

HPV (Human Papillomavirus) คือไวรัสที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำคอ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจคิดว่า HPV ส่งผลกระทบแค่กับผู้หญิงเท่านั้น จึงมองข้ามความสำคัญของการฉีดวัคซีน hpv สำหรับผู้ชายไปได้ บทความนี้จึงอยากจะมาแก้ไขความเข้าใจผิด และนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ชาย [embed-health-tool-vaccination-tool] HPV ส่งผลอะไรต่อผู้ชาย เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดย แบ่งเป็นสายพันธุ์เสี่ยงต่ำ และสายพันธุ์เสี่ยงสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเพศชาย ดังนี้ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ 18 ซึ่งทำให้เซลล์บริเวณทวารหนักเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นมะเร็งได้  ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย  การมีคู่นอนหลายคน  อาการที่พบบ่อยคือ เลือดออกจากทวารหนัก ปวดหรือกดเจ็บในบริเวณนั้น และรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ  การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีน HPV การตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง และการใช้ถุงยางอนามัย มะเร็งองคชาต มะเร็งองคชาตเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

หัวหน่าว คือ อะไร และปัญหาสุขภาพของหัวหน่าวมีอะไรบ้าง

หัวหน่าว คือ เนินที่อยู่เหนืออวัยวะเพศ ตำแหน่งของหัวหน่าวของผู้ชายอยู่เหนือองคชาต ส่วนผู้หญิงจะอยู่เหนือช่องคลอดซึ่งเป็นบริเวณที่กระดูกเชิงกรานเชื่อมต่อกัน รอยต่อกระดูกหัวหน่าวหรือช่องเชิงกรานของผู้หญิงเป็นช่องที่ทารกจะผ่านออกมาตอนคลอด บางครั้งหัวหน่าวอาจบาดเจ็บจนทำให้รู้สึกปวดหรือเจ็บเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่าง หากรู้สึกว่ากล้ามเนื้อบริเวณหัวหน่าวผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] หัวหน่าว คือ อะไร หัวหน่าว คือ เนินที่อยู่ระหว่างท้องน้อยและอวัยวะเพศ หัวหน่าวฝั่งซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันด้วยกระดูกอ่อน ช่วยในการรองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนและถ่ายเทน้ำหนักมายังขาและเท้าทั้งสองข้าง ทั้งยังช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การเดิน การกระโดด โดยโครงสร้างของหัวหน่าวจะแตกต่างไปตามเพศ ผู้หญิงจะมีกระดูกเชิงกรานกว้างกว่าและหัวหน่าวอยู่ใกล้กับคลิตอริส ส่วนผู้ชายจะมีกระดูกเชิงกรานรูปทรงคล้ายหัวใจและแคบกว่า และหัวหน่าวจะอยู่บริเวณเอ็นยึดองคชาตที่ติดอยู่กับกระดูกเชิงกราน หน้าที่ของหัวหน่าว หัวหน่าวเป็นส่วนที่เชื่อมกระดูกเชิงกรานฝั่งซ้ายและขวาเข้าด้วยกัน ช่วยกระจายน้ำหนักของร่างกายส่วนบนไปยังขาและเท้า ข้อต่อหัวหน่าวเป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ สามารถแยกได้มากสุด 2 มิลลิเมตรและหมุนได้เล็กน้อย เพื่อช่วยให้กระดูกเชิงกรานรองรับแรงกระแทกขณะเดินหรือวิ่งได้ นอกจากนี้ ระหว่างการคลอดบุตร เส้นเอ็นและข้อต่อบริเวณหัวหน่าวจะยืดหยุ่นเป็นพิเศษ เพื่อให้กระดูกเชิงกรานสามารถขยายตัวและมีขนาดใหญ่มากพอให้ทารกผ่านออกมาได้ในตอนคลอด ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับหัวหน่าว ความผิดปกติของกระดูกหัวหน่าว (Symphysis pubis dysfunction) เกิดจากเนื้อเยื่อเอ็นของกระดูกเชิงกรานหย่อนหยานหรือหลวม ทำให้หัวหน่าวขยับและเคลื่อนตัวได้มากกว่าปกติ และเกิดอาการปวดบริเวณหัวหน่าว ปัจจัยที่ทำให้กระดูกหัวหน่าวผิดปกติ อาจมีดังนี้ การตั้งครรภ์และคลอดบุตร อาการแนวประสานของกระดูกหัวหน่าวผิดปกติมักเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และคลอดบุตร เป็นผลมาจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ทำให้เอ็นยึดข้อต่อคลายตัว เพื่อให้ข้อต่อยืดหยุ่นเพียงพอให้กระดูกเชิงกรานขยายระหว่างการคลอด แต่กระดูกอาจแยกหรือเอ็นยึดข้อต่อคลายตัวของมากเกินไป จนทำให้รู้สึกปวดบริเวณหัวหน่าวได้ ทั้งนี้ อาการนี้มักหายไปเองหลังคลอด การเล่นกีฬา อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่ขยับร่างกายส่วนล่างอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลานานอาจทำให้กระดูกเชิงกรานอักเสบหรืออยู่ผิดตำแหน่ง โดยเฉพาะกีฬาอย่างฟุตบอล ตะกร้อ ที่ต้องอาศัยการเตะ การหมุนตัว หรือการขยับเปลี่ยนทิศทางของร่างกายอย่างรวดเร็ว จนทำให้มีอาการปวดและส่งผลให้การเคลื่อนไหวติดขัด จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งยังอาจทำให้ไม่สามารถกลับไปเล่นกีฬาประเภทเดิมได้ […]


สุขภาพทางเพศ

ปวดท้องเมนส์ แต่เมนส์ไม่มา เกิดจากสาเหตุใด

อาการปวดท้องเมนส์เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แต่บางครั้งแม้ว่าจะหมดเมนส์ในรอบเดือนนั้นแล้ว อาการปวดท้องก็อาจยังไม่ทุเลาลง และอาจเกิดอาการปวดท้องได้แม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่เมนส์ยังไม่มาหรือกำลังมีเมนส์ แต่หากมีอาการ ปวดท้องเมนส์ แต่เมนส์ไม่มา อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพ เช่น การตั้งครรภ์ การตกไข่ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การแท้งลูก หากพบว่ามีอาการปวดท้องร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องเมนส์ แต่เมนส์ไม่มา เกิดจากสาเหตุใด อาการ เหมือน ปวดท้องประจำเดือน แต่ไม่เป็นประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพดังนี้ การตกไข่ (Ovulation) ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ อาจมีอาการปวดที่คล้ายการปวดท้องเมนส์ซึ่งเกิดจากการตกไข่ ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อรังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้น อาการปวดท้องจากการตกไข่มักเกิดก่อนเมนส์มาประมาณ 10-14 วัน อาการของโรค/ภาวะ: มีอาการคล้ายการปวดท้องเมนส์ปกติ อาจรู้สึกปวดท้องน้อยฝั่งใดฝั่งหนึ่งเป็นเวลาหลายนาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง อาจรู้สึกปวดแปลบ หรือปวดตื้อ ๆ อาการปวดจะเกิดขึ้นที่ท้องน้อยฝั่งซ้ายหรือขวาก็ขึ้นอยู่กับว่ารังไข่ฝั่งไหนปล่อยไข่ในเดือนนั้น ทั้งนี้ อาจปวดแบบสลับข้างกันหรืออาจทำให้ปวดที่เดิมทุกครั้ง อาจมีอาการเลือดออกปริมาณเล็กน้อย (Ovulation bleeding) หรือพบมูกใสปริมาณมากที่เรียกว่ามูกตกไข่ (Fertile cervical mucous) การตั้งครรภ์ อาการปวดคล้ายปวดท้องเมนส์ที่เกิดจากการตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนของทารกฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการของการตั้งครรภ์ อาการของโรค/ภาวะ: หญิงตั้งครรภ์อาจรู้สึกถึงอาการปวดเมื่อมีอายุครรภ์ประมาณ 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการมีประจำเดือนปกติ อาจมีอาการเลือดออกเล็กน้อยจากการฝังตัวของตัวอ่อน ที่เรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding) โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) […]


การคุมกำเนิด

ทำหมันชาย ประโยชน์ และการดูแลตัวเอง

ทำหมันชาย เป็นการคุมกำเนิดอย่างถาวร โดยการตัดหรือปิดท่อนำอสุจิ เพื่อช่วยปิดกั้นไม่ให้ตัวอสุจิสามารถไปปฏิสนธิกับไข่ของผู้หญิง จึงทำให้ไม่สามารถเกิดการตั้งครรภ์ได้ เหมาะสำหรับคู่รักที่ไม่ต้องการมีบุตรในอนาคต อย่างไรก็ตาม การทำหมันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนการทำหมันและการดูแลตัวเองหลังทำหมัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ อาการปวดเรื้อรัง และอาการบวมในถุงอัณฑะ [embed-health-tool-bmi] ทำหมันชาย คืออะไร การทำหมันชาย คือ การคุมกำเนิดแบบถาวร เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรในอนาคตหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว โดยการปิดผนึกหรือตัดท่อนำอสุจิเพื่อไม่ให้อสุจิผ่านออกมาผสมกับไข่ของผู้หญิงขณะมีเพศสัมพันธ์ หลังจากการทำหมันยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติโดยไม่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ทางเพศ และจะยังคงหลั่งน้ำอสุจิเมื่อถึงจุดสุดยอดออกมาได้เช่นเดิม แต่จะไม่มีตัวอสุจิหลงเหลืออยู่ จึงไม่สามารถทำให้ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม การทำหมันไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในเทียม หนองในแท้ เอชไอวี/เอดส์ ดังนั้น จึงควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดหรือแพร่กระจายโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประเภทของการทำหมันชาย มีดังนี้ การทำหมันแบบผ่าตัด เป็นการทำหมันโดยเริ่มด้วยการฉีดยาชาบริเวณผิวหนังถุงอัณฑะ จากนั้นจะใช้มีดกรีดเปิดผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะเหนือท่ออสุจิ เพื่อตัดท่ออสุจิและผูกปลายท่อ และเย็บปิดแผล การทำหมันโดยไม่ใช้มีดผ่าตัด เป็นการใช้เครื่องมือเจาะบริเวณผิวหนังของถุงอัณฑะลงไปถึงท่ออสุจิ จากนั้นจึงตัดท่ออสุจิและผูกปิดผนึกปลายท่อ โดยวิธีทำหมันนี้จะมีเลือดออกเพียงเล็กน้อยและไม่มีการเย็บปิดแผล แต่อาจใช้ผ้าพันแผลปิดแผลไว้ ประโยชน์ของการทำหมันชาย ประโยชน์ของการทำหมันชาย มีดังนี้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์มากกว่า 99% มีผลข้างเคียงต่ำ มีค่าใช้จ่ายที่น้อยว่าการทำหมันในผู้หญิง เนื่องจากไม่ต้องดมยาสลบ หรือ ระงับความเจ็บปวดทางช่องไขสันหลัง ไม่ส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) อารมณ์ทางเพศ และการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ผลข้างเคียงของการทำหมันชาย ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการทำหมันชาย มีดังนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

ทำหมันแล้วประจำเดือนไม่มา ผิดปกติหรือไม่

การทำหมันหญิง เป็นวิธีคุมกำเนิดถาวร ซึ่งจัดเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง และไม่ส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของมดลูก จึงมักไม่ส่งผลต่อประจำเดือน แต่หากพบว่า ทำหมันแล้วประจำเดือนไม่มา อาจมีสาเหตุจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความเครียด การพักผ่อนน้อย ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก หากประจำเดือนไม่มาหลายเดือน และปรับพฤติกรรมแล้วประจำเดือนก็ยังไม่กลับมาเป็นปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุของภาวะประจำเดือนไม่มา และรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] ทำหมันแล้วประจำเดือนไม่มา ผิดปกติหรือไม่ การทำหมันหญิงเป็นวิธีคุมกำเนิดถาวรด้วยการผูกท่อนำไข่ทั้งสองข้างและตัดท่อนำไข่บางส่วนออก เพื่อไม่ให้ไข่เดินทางไปที่มดลูกและป้องกันไม่ให้อสุจิเดินทางเข้ามาผสมกับไข่ได้ ทั้งนี้ การทำหมันหญิงไม่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกาย ฮอร์โมนเหล่านี้จึงไปกระตุ้นให้เยื่อบุผนังมดลูกหนาขึ้น และหลุดลอกออกเป็นประจำเดือนในทุก ๆ เดือนเช่นเดิม การที่ ทําหมันแล้วประจําเดือนไม่มา1เดือน จึงไม่เกี่ยวข้องกับการทำหมัน แต่อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนและระบบสืบพันธุ์ สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจมีดังนี้ การตั้งครรภ์นอกมดลูก การทำหมันอาจเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ หากหลังทำหมันแล้วท่อนำไข่ที่ถูกผูกไว้กลับมาเชื่อมเข้าหากัน ก็อาจทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ และตัวอ่อนอาจฝังตัวอยู่บริเวณท่อนำไข่ข้างใดข้างหนึ่งแทนที่จะเข้าไปฝังตัวโพรงมดลูก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มา ความเครียด ความเครียดทางจิตใจอาจกระทบต่อการทำงานของร่างกายและระดับฮอร์โมนเอฟเอสเอช (FSH) ที่กระตุ้นให้ไข่ในรังไข่เจริญเติบโต เมื่อเครียดจัด จึงส่งต่อการหลั่งฮอร์โมนดังกล่าว และอาจทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ ภาวะน้ำหนักตัวมากเกินไป เมื่อมีน้ำหนักตัวเยอะ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเพิ่มขึ้นด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อความถี่ของประจำเดือน ทั้งยังอาจทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ การออกกำลังกายหักโหม […]


สุขภาพทางเพศ

อาการแพ้ยาคุม เป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่

อาการแพ้ยาคุม เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อส่วนประกอบของยาคุมกำเนิด อย่างฮอร์โมนหรือสีสังเคราะห์ ผู้ที่แพ้ยาคุมอาจมีผื่นขึ้นตามลำตัว สิวขึ้น คัน น้ำตาไหล ปวดหัว หรือคลื่นไส้ ทั้งนี้ เมื่อมีอาการแพ้ยาคุม ควรหยุดใช้ยาทันทีแล้วปรึกษาคุณหมอ โดยคุณหมออาจแนะนำให้ผู้ที่แพ้ยาคุมเลือกคุมกำเนิดวิธีอื่น หรืออาจจ่ายยาแก้แพ้ให้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมกำเนิด คืออะไร ยาคุมกำเนิด เป็นยาเม็ดรับประทานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมมีบุตร โดยมีส่วนประกอบหลักเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายและกระบวนการตกไข่ หรือป้องกันเซลล์อสุจิเดินทางไปปฏิสนธิกับไข่ ด้วยการเพิ่มความหนาของเมือกบริเวณปากมดลูก ทั้งนี้ ยาคุมกำเนิดชนิดต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายตามร้านขายยา ได้แก่ ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive) หรือยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสติน (Progestin) ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน โดยขึ้นอยู่กับสูตรหรือยี่ห้อของยา ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดียว (Progestin Only Pill) เป็นยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว มักใช้ในหญิงระยะให้นมบุตรหรือผู้ที่มีอาการข้างเคียงเมื่อได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Pill) เป็นยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนสูง ใช้สำหรับป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือการควบคุมด้วยวิธีอื่นเกิดผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยขาด ถุงยางอนามัยหลุด ขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยยาคุมฉุกเฉินที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) […]


สุขภาพทางเพศ

ตรวจ STD มีประโยชน์อย่างไร

ตรวจ STD มีประโยชน์ต่อสุขภาพทางเพศทั้งต่อตนเองและผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพทางเพศ เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน คู่นอนเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถูกข่มขื่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น จึงควรเข้ารับการตรวจ STD อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคและการพัฒนาของโรคที่อาจรุนแรงขึ้น [embed-health-tool-ovulation]  ตรวจ STD มีประโยชน์อย่างไร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease หรือ STD) เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infection หรือ STI) ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียหรือปรสิต จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน โดยอาจแพร่กระจายจากคนสู่คนจากการสัมผัสเลือด น้ำอสุจิ หรือของเหลวในช่องคลอดและของเหลวอื่น ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ เชื้อยังอาจแพร่กระจายได้จากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้อีกด้วย การตรวจ STD จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ ดังนี้ ช่วยให้สามารถรู้ตัวได้ทันและได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยหยุดการแพร่กระจายหรือการพัฒนาของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ช่วยป้องกันการติดเชื้อไปสู่คู่รัก ช่วยปกป้องภาวะเจริญพันธุ์ เนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากในอนาคตได้ ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ทารกในครรภ์ ตรวจ STD มีอะไรบ้าง การตรวจ STD เป็นการตรวจหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ […]


สุขภาพทางเพศ

LGBTQIA+ หมายถึงใคร และความเชื่อเกี่ยวกับเพศทางเลือก

LGBTQIA+ เป็นตัวย่อของกลุ่มความหลายทางเพศต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มรสนิยมหลัก ๆ อย่าง เลสเบี้ยน (Lesbian) เกย์ (Gay) บุคคลชอบสองเพศ (Bisexual) ไปจนถึงกลุ่มรสนิยมย่อยอย่าง เพศก้ำกึ่ง (Demisexual) ผู้ที่หลงรักคนฉลาดโดยไม่สนใจเพศ (Sapiosexual) ซึ่งคนส่วนมากอาจไม่ค่อยคุ้นหู หรือเป็นรสนิยมที่พบได้น้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ ทั้งนี้ แม้ LGBTQIA+ จะเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคมไทย รวมถึงในต่างประเทศ แต่ยังคงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเพศทางเลือกต่าง ๆ เช่น เพศทางเลือกเป็นความผิดปกติ เพศทางเลือกเป็นพวกชอบลวนลามเด็ก เพศทางเลือกสามารถเลือกที่จะเป็นหรือไม่เป็นก็ได้ จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข [embed-health-tool-ovulation] LGBTQIA+ ย่อมาจากคำว่าอะไร หมายถึงใครบ้าง LGBTQIA+ คือ ตัวย่อของรสนิยมเพศทางเลือกในสังคม ดังนี้ L ย่อมาจาก เลสเบี้ยน (Lesbian) หรือผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน G ย่อมาจาก เกย์ (Gay) หรือผู้ชายที่ชอบผู้ชายด้วยกัน ทั้งนี้ เกย์ วูแมน (Gay Woman) ยังเป็นคำเรียกหนึ่งของเลสเบี้ยนด้วย B […]


การคุมกำเนิด

ห่วงคุมกำเนิด คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine Device; IUD) หรือห่วงอนามัย เป็นอุปกรณ์สำหรับการคุมกำเนิดในระยะยาวรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้สวมใส่ทางช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูก โดยประกอบไปด้วยฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสติน (Progestins) และทองแดง ที่ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม การคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยอาจส่งผลให้มีอาการเลือดออกเล็กน้อย ปวดท้องเกร็ง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานได้ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและขอคำปรึกษาจากคุณหมอก่อนใช้ เพื่อความปลอดภัย [embed-health-tool-ovulation] ห่วงคุมกําเนิด คืออะไร ห่วงคุมกําเนิด หรือห่วงอนามัย คือ อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ทำจากพลาสติก มีลักษณะเป็นตัว T หรือตัว U มีเชือกไนลอนอยู่ตรงส่วนปลาย มีความยืดหยุ่น สามารถโค้งงอได้โดยไม่หัก โดยจะใส่เข้าไปในโพรงมดลูก แล้วปล่อยให้เส้นเชือกไนลอนยาวพ้นปากมดลูกออกมาประมาณ 2-3 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถดึงห่วงคุมกำเนิดออกมาเปลี่ยนได้สะดวกเมื่อครบกำหนด ส่วนใหญ่อาจเปลี่ยนทุก ๆ 3-10 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของห่วงคุมกำเนิดที่ใช้ กระบวนการทำงานของห่วงคุมกำเนิดคือการปล่อยฮอร์โมนและประจุทองแดง ห่วงคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ห่วงคุมกำเนิดแบบไม่ออกฤทธิ์ และห่วงคุมกำเนิดแบบออกฤทธิ์ ส่วนใหญ่ประเทศไทยนิยมใช้ห่วงอนามัยแบบออกฤทธิ์ เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ดีกว่า ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้ 1. ห่วงคุมกำเนิดหุ้มทองแดง (Intrauterine coil) ส่วนใหญ่ทำจากพลาสติก มีทองแดงหุ้มรอบนอก […]


การคุมกำเนิด

แผ่นแปะยาคุม คืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร

แผ่นแปะยาคุม เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของการคุมกำเนิด โดยการแปะแผ่นฟิล์มพลาสติกที่มีฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจน และ ฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสติน เพื่อให้ฮอร์โมนซึมจากผิวหนัง เข้าสู่กระแสเลือด โดยออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการยับยั้งการตกไข่(ovulation) แผ่นแปะยาคุมสามารถใช้แปะบนผิวหนังได้ทุกส่วนของร่างกาย ส่วนใหญ่มักแปะบริเวณต้นแขน หน้าท้อง ยกเว้นบริเวณเต้านม เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานยาคุมกำเนิดแบบเม็ด แต่อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่บ่อยครั้งตามช่วงเวลาที่คุณหมอกำหนด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-ovulation] แผ่นแปะยาคุม คืออะไร แผ่นแปะยาคุม คือ ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ที่ทำจากฟิล์มพลาสติก และผ้าใยสังเคราะห์ที่มีความยืดหยุ่น มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลม สีน้ำตาลอ่อน ประกอบไปด้วยฮอร์โมนรวมกลุ่มเอสโตรเจน (Estrogens) เช่น เอทินิลเอสตราไดออล (Ethinyl estradiol) และฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสติน (Progestins) เช่น เลโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) นอร์เอลเจสโทรมิน (Norelgestromin) ซึ่งจะทำการปล่อยฮอร์โมนเหล่านี้ผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด และไปออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ ทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์  วิธีการใช้แผ่นแปะยาคุม คือ ใช้สัปดาห์ละ 1 แผ่น ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 สัปดาห์ แล้วเว้น 1 สัปดาห์เพื่อให้ประจำเดือนมา การแปะแผ่นยาคุมใน 1 รอบ อาจคุมกำเนิด 4 สัปดาห์หรือ 28 วัน […]


หนองในเทียม

หนองในเทียม คืออะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไร

หนองในเทียม คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ทำให้มีของเหลวไหลออกจากอวัยวะเพศ คล้ายหนอง แสบร้อนบริเวณอวัยวะเพศ และอาการปวด หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เช่น ต่อมลูกหมากติดเชื้อ อุ้งเชิงกรานอักเสบ ตั้งครรภ์นอกมดลูก ดังนั้น ควรเข้ารับการรักษาทันทีหากสังเกตว่ามีอาการตกขาวผิดปกติ มีการหลั่งหนองออกจากองคชาต และเจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะและระหว่างมีเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-ovulation] หนองในเทียม คืออะไร หนองในเทียม คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย (Chlamydia trachomatis) ซึ่งพบได้ในบริเวณปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ ท่อปัสสาวะ ช่องปาก ลำคอ ทวารหนัก และน้ำอสุจิ ที่สามารถแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน โรคหนองในเทียมอาจไม่แสดงอาการใด ๆ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ในขณะที่โรคหนองในแท้ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเภทของโรคหนองใน ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซ์ซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoeae) อาจทำให้มีอาการที่รุนแรง โดยเฉพาะในผู้ชาย สาเหตุของหนองในเทียม หนองในเทียมเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย ที่มักแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้ การมีคู่นอนหลายคน การไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ คู่นอนมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีกิจกรรมทางเพศก่อนอายุ 25 อีกทั้งเชื้อคลาไมเดียยังอาจแพร่กระจายจากแม่สู่ทารกได้ในระหว่างการคลอด และอาจส่งผลให้ทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ตาและเป็นโรคปอดบวมรุนแรง อาการของหนองในเทียม อาการของหนองในเทียม มีดังนี้ อาการหนองในเทียมในผู้หญิง มีไข้ ตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน