สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

Oral sex กับความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ควรรู้

Oral sex (ออรัลเซ็กส์) หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก โดยการใช้ลิ้นและปากกระตุ้นอวัยวะเพศหรือบริเวณทวารหนักของอีกฝ่าย ซึ่งสามารถทำได้ทุกเพศ ไม่จำกัดเฉพาะเพศชายหรือเพศหญิง อย่างไรก็ตาม การทำออรัลเซ็กส์อาจนำไปสู่การติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งการติดเชื้อในช่องปาก ทางเดินหายใจ และอวัยวะเพศ โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของการทำออรัลเซ็กส์ และวิธีทำออรัลเซ็กส์อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-ovulation] ความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับ Oral sex การทำออรัลเซ็กส์สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากบริเวณช่องปากอาจต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งและน้ำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศ ที่อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส หากไม่มีการป้องกัน เช่น ใช้ถุงยางอนามัย แผ่นยางอนามัย (Dental dam) ก็อาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มากขึ้น โรคที่อาจพบจากการทำออรัลเซ็กส์ เช่น โรคหนองใน หรือโรคหนองในแท้ เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) ส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ มีหนองไหลออกจากอวัยวะเพศ ปวดท้อง มีตกขาว และอาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยขณะมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ โรคหนองในแท้ที่แพร่กระจายทางการ Oral sex ยังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณลำคอ ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ และต่อมน้ำเหลืองบริเวณคออักเสบได้ด้วย โรคหนองในเทียม เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย (Chlamydia) ทำให้มีหนองหรือสารคัดหลั่งไหลออกจากอวัยวะเพศ แสบร้อนขณะปัสสาวะและขณะมีเพศสัมพันธ์ บริเวณอวัยวะเพศคันและบวม และอาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยขณะมีเพศสัมพันธ์ โรคซิฟิลิส […]


สุขภาพทางเพศ

หลังมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายเปลี่ยนไป เป็นเพราะอะไรกันแน่?

หลังมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง เช่น หน้าแดงจากการไหลเวียนเลือดดีขึ้น เจ็บช่องคลอด ช่องคลอดบวม ต่อมลูกหมากอักเสบ แพ้อสุจิ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจแตกต่างไปตามสุขภาพของแต่ละบุคคล [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุที่ทำให้ ร่างกายเปลี่ยนแปลง หลังมีเพศสัมพันธ์ สาเหตุที่ทำให้ ร่างกายเปลี่ยนแปลงหลังมีเพศสัมพันธ์ อาจแตกต่างกันออกไปตามอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้ ใบหน้าแดง ผิวพรรณเปล่งปลั่ง การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) และ เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยลดระดับความเครียด รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธ์ยังอาจช่วยทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดี เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเพิ่มออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ผิว ส่งผลให้ผิวเปล่งปลั่ง อารมณ์ไม่คงที่ การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลผลกระทบต่ออารมณ์ บางคนอาจรู้สึกมีความสุข วิตกกังวล หรือเศร้า ร่างกายอ่อนเพลีย การมีเพศสัมพันธ์เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก จึงอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลียหลังจากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ บางคนอาจมีอาการแพ้อสุจิ (Postorgasmic) ที่ทำให้ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ภายในช่องคลอดเสียสมดุล ส่งผลให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เป็นไข้ หน้าอกเต่งตึง การที่หลอดเลือดขยายตัวในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปยังบริเวณเต้านมได้ดีขึ้น ทำให้หน้าอกดูเต่งตึง มีน้ำมีนวล อย่างไรก็ตาม  อาการนี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว นอกจากนี้ บางคนอาจมีอาการเจ็บหน้าอกเล็กน้อยหากเลือดไหลเวียนมากเกินไป […]


สุขภาพทางเพศ

เซ็กส์ ประโยชน์ และข้อควรรู้ เพื่อให้ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เซ็กส์ เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ เซ็กส์ยังอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและจิตใจ เช่น ช่วยผ่อนคลายความเครียด กระชับความสัมพันธ์ของคู่รัก อย่างไรก็ตาม การมีเซ็กส์โดยไม่ป้องกันอาจเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส โรคเริม ดังนั้น จึงควรศึกษาถึงวิธีป้องกันอย่างถูกต้องก่อนมีเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-due-date] เซ็กส์ คืออะไร เซ็กส์ คือการร่วมเพศเพื่อการสืบพันธุ์ การสร้างความสัมพันธ์ การมีชีวิตคู่และสร้างครอบครัว หรืออาจทำเพื่อความพึงพอใจ เซ็กส์ยังมีหลากหลายรูปแบบไม่จำกัดตามรสนิยมของแต่ละบุคคล ดังนี้ การมีเซ็กส์แบบไม่สอดใส่ คือการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่มีการนำอวัยวะเพศเข้าทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปาก ทำเพียงแค่กระตุ้นภายนอกเท่านั้น การมีเซ็กส์แบบสอดใส่ คือการมีเพศสัมพันธ์โดยมีการสอดใส่อวัยวะเพศชายหรือเซ็กส์ทอยเข้าสู่ช่องคลอด การมีเซ็กส์ทางทวารหนัก คือการที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวาร โดยคู่รักอาจสอดใส่องคชาตหรือเซ็กส์ทอยทางทวารหนัก การช่วยตัวเอง เป็นการสำเร็จความใคร่ตัวเองโดยการใช้นิ้วหรือเซ็กส์ทอยกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ เช่น คลิตอริส ปากช่องคลอด องคชาต ทวารหนัก ออรัลเซ็กส์ คือการใช้ปากและลิ้นกระตุ้นอวัยวะเพศของคู่รัก เป็นการมีเซ็กส์ที่ไม่ทำให้ตั้งครรภ์ แต่อาจเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ประโยชน์ของเซ็กส์ ประโยชน์ของเซ็กส์ มีดังนี้ 1. กระชับความสัมพันธ์ เนื่องจากเซ็กส์อาจทำให้คู่รักสื่อสารอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งอาจทำให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น เพิ่มความสนิทสนม ความไว้วางใจ […]


สุขภาพทางเพศ

Anal sex คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

การร่วมเพศทางทวารหนัก (anal sex) หมายถึงการสอดใส่องคชาต นิ้ว เซ็กส์ทอย หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เข้าไปในทวารหนักของคู่นอนเพื่อสร้างความสุขทางเพศให้อีกฝ่าย จัดเป็นกิจกรรมทางเพศที่พบได้ทั่วไปในหมู่ชายรักชาย และในชายหญิงบางคู่ อย่างไรก็ตาม การร่วมเพศทางทวารหนักอาจเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น อาการบาดเจ็บ โรคต่าง ๆ มากกว่าการร่วมเพศทางช่องคลอด หรือการร่วมเพศทางปาก การป้องกันตัวเองทั้งก่อนและระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จึงถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก [embed-health-tool-ovulation] ข้อดีของ anal sex การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก อาจมีประโยชน์ดังนี้ ความสุขทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักสามารถถึงจุดสุดยอดได้ เช่นเดียวกับการมีเพศสัมพันธ์แบบอื่น ๆ สร้างสีสันให้ชีวิต การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจช่วยสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในชีวิตคู่ ช่วยกระชับสัมพันธ์ สำหรับคู่รักบางคู่ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้ ประโยชน์ทางสุขภาพ เช่น ลดความเครียด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ทำให้นอนหลับสบาย ป้องกันการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ ควรสวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ ข้อเสียของ anal sex การร่วมเพศทางทวารหนักอาจเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพ ดังนี้ การบาดเจ็บ การร่วมเพศทางทวารหนักอาจทำให้เสี่ยงบาดเจ็บมากกว่าการร่วมเพศทางช่องคลอดหรือทางปาก เนื่องจากเยื่อบุทวารหนักบอบบาง จึงอาจฉีกขาดได้ง่ายเมื่อมีเพศสัมพันธ์ อีกทั้งทวารหนักไม่มีสารหล่อลื่นเหมือนช่องคลอด จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้ทวารหนักฉีกขาดได้ง่ายกว่า หนึ่งในอาการบาดเจ็บที่อาจพบได้จากการร่วมเพศทางทวารหนัก คือ แผลปริที่ขอบทวารหนัก พบได้บริเวณเยื่อบุทวารหนัก ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บทวารหนัก มีเลือดออกเมื่อถ่ายอุจจาระ เป็นต้น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การร่วมเพศทางทวารหนักโดยไม่ป้องกัน อาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ […]


สุขภาพทางเพศ

เลสเบี้ยน กับปัญหาสุขภาพที่ควรระวัง

เลสเบี้ยน เป็นกลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQ) ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือรสนิยมทางเพศแบบหญิงรักหญิง ผู้ที่เป็นเลสเบี้ยนอาจเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคกระดูกพรุน ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือร้ายแรงกว่าได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่อาจพบได้ในเลสเบี้ยน ทั้งสาเหตุ อาการ และวิธีรับมือ อาจช่วยให้รู้เท่าทันโรคและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้ [embed-health-tool-ovulation] เลสเบี้ยน กับปัญหาสุขภาพที่ควรระวัง เลสเบี้ยนอาจเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ ดังนี้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เลสเบี้ยนอาจเสี่ยงเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผ่านการสัมผัสผิวหนัง การสัมผัสเยื่อเมือกหรือของเหลวในช่องคลอด และเลือดประจำเดือน การใช้เซ็กส์ทอยหรืออุปกรณ์กระตุ้นอารมณ์ทางเพศร่วมกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยในผู้หญิง เช่น การติดเชื้อเอชพีวี หรือเชื้อฮิวแมน ปาปิลโลมา ไวรัส (Human Papilloma Virus หรือ HPV) อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ทางปาก หรือทางช่องคลอดโดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัมผัสของเหลวที่มีไวรัส หากติดเชื้อเอชพีวี อาจมีอาการ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลด อีกทั้งการติดเชื้อเอชพีวียังอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จนเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด […]


สุขภาพทางเพศ

เซ็กจัด สาเหตุ วิธีสังเกต และวิธีรับมือ

เซ็กจัด คือ ภาวะที่มีความต้องการทางเพศสูงและต้องการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าคนทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งชายและหญิง โดยอาจเกิดจากมีฮอร์โมนเพศเพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงอายุ มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง การหยุดใช้ยาบางชนิด  เซ็กจัดมักไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง แต่หากหมกมุ่นมากเกินไป อาจกลายเป็นโรคเสพติดเซ็กที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานได้ [embed-health-tool-due-date] เซ็กจัด มีสาเหตุมาจากอะไร ปัจจัยที่กระตุ้นอารมณ์ทางเพศและทำให้เซ็กจัด อาจมีดังนี้ ช่วงอายุและฮอร์โมน ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญต่ออารมณ์ทางเพศ โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงบ่อย เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หรืออายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเพศในผู้ชายและผู้หญิงจะสูงขึ้น จนอาจกระตุ้นให้เซ็กจัดขึ้น แต่เมื่ออายุเกิน 35 ปี ฮอร์โมนเพศอาจค่อย ๆ ลดลง และอาจทำให้ความต้องการทางเพศน้อยลงตามไปด้วย ความเครียดที่ลดลง ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทต่ออารมณ์ทางเพศอย่างมาก ทั้งความเครียดที่พบเจอระหว่างวัน ความเครียดเรื่องค่าใช้จ่าย ความเครียดเกี่ยวกับครอบครัว เป็นต้น ความเครียดอาจส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน ระบบประสาท หลอดเลือด และกล้ามเนื้อ ทำให้ความรู้สึกนับถือตัวเองลดลง ความต้องการทางเพศลดลง และอาจส่งผลให้อารมณ์ไม่ดี หรืออารมณ์แปรปรวน ซึ่งอารมณ์มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ นอกจากนี้ หากเครียดเกินไปอาจส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนเครียดมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงขึ้น และความเครียดอาจขัดขวางการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ส่งผลต่อความรู้สึกทางเพศ และอาจทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีนัก จนนำไปสู่ภาวะอวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวยาก ดังนั้น หากเครียดน้อยลงอาจทำให้อารมณ์ดี มีความสุข และรู้สึกนับถือตัวเองมากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับความต้องการทางเพศที่เพิ่มขึ้น และอาจส่งผลให้เซ็กจัดขึ้นตามไปด้วย การได้รับประสบการณ์ทางเพศที่ดี การได้รับประสบการณ์ทางเพศหรือเรื่องเซ็กที่ดี ไม่ว่าจะกับคู่รัก คู่นอน หรือการช่วยตัวเอง อาจส่งผลให้เซ็กจัดขึ้นได้ […]


สุขภาพทางเพศ

ประเภทของการมีเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

ประเภทของการมีเพศสัมพันธ์ แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อเพิ่มความสุขทางอารมณ์หรือเพื่อสืบพันธุ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก ทางปาก การใช้เซ็กส์ทอย ซึ่งอาจมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์แต่ละประเภทและการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจและลดความเสี่ยงเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-ovulation] เพศสัมพันธ์ คืออะไร การมีเพศสัมพันธ์ คือ กิจกรรมความใกล้ชิดทางกายและทางจิตใจระหว่างคน 2 คนหรือมากกว่า เพื่อกระชับความสัมพันธ์หรือเพื่อสนองความสุขทางอารมณ์ โดยอาจแบ่งประเภทของการมีเพศสัมพันธ์ออกเป็น การสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปในช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก หรือการไม่สอดใส่ รวมไปถึงการใช้นิ้ว และการใช้เซ็กส์ทอย โดยมีจุดประสงค์เพื่อความสุขทางอารมณ์หรือเพื่อการสืบพันธุ์ ประเภทของการมีเพศสัมพันธ์ ประเภทของการมีเพศสัมพันธ์สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด เป็นรูปแบบการมีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่องคชาตของผู้ชายเข้าไปในช่องคลอด หรือถูบริเวณรอบ ๆ ช่องคลอด เพื่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดอาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากของเหลวในช่องคลอดของผู้หญิงส่วนใหญ่อาจมีแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และปรสิตที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่แล้ว ก็อาจเพิ่มโอกาสติดต่อโรคได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ หากมีการหลั่งน้ำอสุจิในช่องคลอดโดยไม่ป้องกันก็อาจเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกัน เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก คือการสอดอวัยวะเพศชายหรือเซ็กส์ทอยเข้าไปในทวารหนัก เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ ซึ่งทวารหนักเป็นบริเวณที่บอบบางและไม่ได้รองรับการมีเพศสัมพันธ์ จึงอาจทำให้เกิดบาดแผล และเพิ่มโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น เช่น เอชไอวี โรคหนองใน หนองในเทียม ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบีและซี เพศสัมพันธ์ทางปาก เพศสัมพันธ์ทางปากหรือออรัลเซ็กส์ (Oral sex) คือ การใช้ปากเพื่อกระตุ้นอวัยวะเพศของผู้อื่น เช่น การเลีย […]


สุขภาพทางเพศ

มีอารมณ์ สังเกตได้อย่างไร และรับมือได้อย่างไร

มีอารมณ์ หมายถึงมีความต้องการทางเพศที่อาจเกิดขึ้นจากการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การจูบ การเล้าโลม ดูสื่ออนาจาร การช่วยตัวเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น อวัยวะเพศแข็งตัว คลิตอริสไวต่อความรู้สึก คัดตึงเต้านม มีน้ำหล่อลื่น อย่างไรก็ตาม บางคนอาจไม่มีอารมณ์ทางเพศแม้จะถูกกระตุ้น ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ ความต้องการทางเพศลดลง หรือปัญหาความสัมพันธ์ เป็นต้น [embed-health-tool-ovulation] วงจรการตอบสนองทางเพศ วงจรการตอบสนองทางเพศทั้งชายและหญิงแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยแต่ละคนอาจมีการตอบสนองทางเพศและถึงจุดสุดยอดไม่พร้อมกัน รวมทั้งความรุนแรงของอารมณ์ทางเพศและเวลาที่ใช้ในแต่ละระยะอาจไม่เท่ากัน การเข้าใจความแตกต่างอาจช่วยให้คู่รักเข้าใจการตอบสนองของอีกฝ่ายมากขึ้น ระยะที่ 1 เกิดอารมณ์ หญิง: เริ่มมีอารมณ์ทางเพศ ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ผิวหนังแดง หน้าอกเต่งตึง หัวนมแข็งตัว เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะเพศ ทำให้อวัยวะเพศและผนังช่องคลอดบวมขึ้น เริ่มมีน้ำหล่อลื่นไหลออกจากช่องคลอด ชาย: อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็ง ผิวหนังแดง เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะเพศทำให้องคชาตแข็งตัว ลูกอัณฑะบวม ถุงอัณฑะกระชับมากขึ้นและเริ่มหลั่งน้ำหล่อลื่นออกจากองคชาต ระยะที่ 2 ตื่นตัว หญิง: อารมณ์ทางเพศเริ่มรุนแรงขึ้น การหายใจและการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็งและชาเล็กน้อย การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้นทำให้ช่องคลอดบวมขึ้นและอาจเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม คลิตอริสไวต่อความรู้สึกมากขึ้น และอาจหดกลับเข้าไปในหนังหุ้มเพื่อเลี่ยงการถูกกระตุ้น ชาย: อารมณ์ทางเพศเริ่มรุนแรงขึ้น การหายใจและการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็ง กระตุก […]


สุขภาพทางเพศ

Orgasm จุดสุดยอด เป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร

Orgasm หรือ จุดสุดยอด คือ อารมณ์ทางเพศระดับสุดสูงเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยผู้หญิงอาจถึงจุดสุดยอดด้วยการกระตุ้นคลิตอริส ช่องคลอด ทวารหนัก ส่วนผู้ชายอาจถึงจุดสุดยอดด้วยการกระตุ้นบริเวณหัวองคชาต นอกจากนี้ การกระตุ้นที่อวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น หู คอ หัวนม หรือกระตุ้นด้วยภาพและเสียงก็อาจทำให้สามารถถึงจุดสุดยอดได้เช่นกัน ซึ่งการถึงจุดสุดยอดอาจช่วยให้ร่างกายคลายความตึงเครียด นอนหลับดีขึ้น สร้างสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก และอาจลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ [embed-health-tool-ovulation] จุดกระตุ้นให้ถึง Orgasm การกระตุ้นให้ถึงจุดสุดยอดสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายตำแหน่ง ดังนี้ การกระตุ้นคลิตอริส หรือปุ่มกระสัน เป็นจุดที่สามารถถูกกระตุ้นให้ถึงระยะจุดสุดยอด ได้ด้วยการสัมผัสบริเวณผิวหนังคลิตอริส จะทำให้รู้สึกเสียวซ่านตามผิวหนังและในสมอง การกระตุ้นช่องคลอด เป็นการกระตุ้นจุดที่อยู่ลึกเข้าไปในช่องคลอด โดยการการสอดใส่เข้าไปในช่องคลอดเพื่อช่วยกระตุ้นให้ถึงระยะจุดสุดยอด ได้ กระตุ้นจุดสุดยอดแบบผสม คือการถึงจุดสุดยอดจากการกระตุ้นทั้งบริเวณคลิตอริสและช่องคลอดไปพร้อม ๆ กัน การกระตุ้นจุดกระสัน (G-spot) เป็นจุดที่อยู่ในบริเวณผนังคล้ายพังผืดช่องคลอดลึกประมาณ 1 นิ้วหลังกระดูกหัวหน่าว การกระตุ้นทวารหนัก เป็นจุดที่อยู่ใกล้กล้ามเนื้อหูรูดในทวารหนัก เมื่อถึงระยะจุดสุดยอด อาจทำให้รู้สึกเหมือนปวดปัสสาวะอย่างมาก การกระตุ้นอวัยวะส่วนอื่น เช่น หัวนม หู คอ ข้อศอก เข่า […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

ท่าบนเตียง ท่าไหนดี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

ท่าบนเตียง หมายถึง ท่าร่วมรักหรือท่าทางในการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ เพราะหากมีท่าร่วมรักที่ถูกใจและทำอย่างถูกต้อง จะช่วยกระตุ้นอารมณ์ให้คู่รักสามารถถึงจุดสุดยอดได้ง่าย สร้างความสุขสมในการมีเพศสัมพันธ์ และอาจมีส่วนช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นได้ ทั้งนี้ ท่าบนเตียงนั้นมีหลายท่าด้วยกัน คู่รักควรศึกษาและทำความเข้าใจท่าแต่ละท่า เพื่อนำไปปรับใช้กับคู่ของตัวเอง รวมทั้งข้อควรระวังในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพทางเพศ [embed-health-tool-ovulation] ท่าบนเตียง และการมีเพศสัมพันธ์มีประโยชน์อย่างไร ท่าบนเตียงและการมีเพศสัมพันธ์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ดังนี้ ลดความเครียดและช่วยให้นอนหลับสนิท การมีเพศสัมพันธ์ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น เอนดอร์ฟิน (Endorphin) และออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่อาจช่วยบรรเทาความเครียด ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ส่งผลให้นอนหลับสนิทตลอดคืน และลดความเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพออาจช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยและการติดเชื้อ และช่วยให้ร่างกายมีกำลังพร้อมดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันโดยไม่อ่อนเพลีย ลดความดันโลหิต ความเครียดอาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ การมีเพศสัมพันธ์และท่าบนเตียงที่กระตุ้นอารมณ์รักอาจช่วยลดความเครียดและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ การมีเพศสัมพันธ์มักต้องใช้พลังงานแทบจะเท่า ๆ กับการออกกำลังกาย จึงอาจช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้มาก การมีท่าบนเตียงที่เร่าร้อนอาจสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่า 80 แคลอรี่ ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำหนักและรอบเอวลดลง บรรเทาอาการปวดหัว ท่าร่วมรักบางท่าอาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุขที่อาจช่วยลดความเครียด และช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ ผิวดูอ่อนกว่าวัย ท่าร่วมรักบางท่าอาจช่วยพาคู่รักไปถึงจุดสุดยอดได้ง่าย และอาจทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอโรน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน