สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ผู้หญิง อายุ 50 มี อารมณ์ ไหม และจะเพิ่มความต้องการทางเพศได้อย่างไร

เมื่ออายุมากขึ้นผู้หญิงและผู้ชายบางคนอาจมีคำถามว่า ผู้หญิง อายุ 50 มี อารมณ์ ไหม เพราะบางครอบครัวเซ็กส์อาจเป็นส่วนประกอบหนึ่งของความรัก หากขาดเรื่องนี้ไปก็อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ได้ โดยทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้นสุขภาพร่างกายและฮอร์โมนต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงไป จนอาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง ดังนั้น การดูแลตัวเองและทำความเข้าใจซึ่งกันอาจช่วยสานความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น ทั้งยังอาจช่วยเพิ่มอารมณ์ทางเพศได้ด้วย [embed-health-tool-ovulation] อารมณ์ทางเพศลดลง เกิดจากอะไร เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้ผู้หญิงที่อายุประมาณ 50 ปีขึ้นไปเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน จึงอาจทำให้มีอาการ ดังนี้ ไม่มีน้ำหล่อลื่น และช่องคลอดแห้ง อาจทำให้เจ็บปวดเมื่อสอดใส่ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน อารมณ์แปรปรวน นอนหลับได้ไม่ดี และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ไม่สบายใจจนไม่อยากมีเพศสัมพันธ์ ความต้องการทางเพศลดลง (Hypoactive Sexual Desire Disorder หรือ HSDD) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในผู้หญิงทำให้ไม่มีความคิด จินตนาการ และขาดความสนใจในเรื่องเพศ นอกจากนี้ ยังอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพบางประการที่มักเกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น รวมทั้งการใช้ยาหรือการรักษาบางอย่าง ดังนี้ โรคเบาหวาน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในผู้หญิงอาจขัดขวางกิจกรรมทางเพศ เนื่องจากแรงกดทับระหว่างมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้ปัสสาวะไหลออกมา โรคข้ออักเสบและอาการปวดเรื้อรัง อาจทำให้มีอาการเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ โรคอ้วน อาจทำให้เกิดภาวะสุขภาพอื่น ๆ […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

โรคเอดส์ระยะที่2 เป็นอย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

หลายคนอาจเข้าใจว่า การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) กับโรคเอดส์ (AIDS) คือโรคเดียวกัน จึงและมักใช้คำว่า โรคเอดส์แทนเมื่อพูดถึงการติดเชื้อ HIV รวมถึงเมื่อพูดถึงระยะของโรคด้วย เช่น โรคเอดส์ระยะที่1 โรคเอดส์ระยะที่2 โรคเอดส์ระยะสุดท้าย แต่ความจริงแล้ว การติดเชื้อ HIV แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 หรือระยะสุดท้าย ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า ระยะโรคเอดส์ นั่นหมายความว่า หากผู้ติดเชื้อ HIV ในระยะที่ 2 รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ดูแลตัวเองอย่างดี โรคก็อาจไม่พัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือระยะโรคเอดส์ และสามารถมีอายุยืนยาวได้เหมือนผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อ HIV [embed-health-tool-bmi] การติดเชื้อ HIV ต่างจากโรคเอดส์อย่างไร การติดเชื้อไวรัส HIV หรือฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) และโรคเอดส์ (AIDS) ไม่ใช่ภาวะสุขภาพเดียวกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยโรคเอดส์ เป็นระยะหนึ่งของการติดเชื้อ […]


สุขภาพทางเพศ

Priapism หรือ ภาวะองคชาตแข็งค้าง อาการและวิธีรักษา

Priapism หรือ ภาวะองคชาตแข็งค้าง อาจเกิดขึ้นเมื่อเลือดไหลเวียนจากองคชาตกลับสู่หัวใจไม่ได้และคั่งค้างอยู่ในองคชาต ส่งผลให้องคชาตแข็งค้างเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยทั่วไปภาวะนี้ไม่ได้เกิดจากการกระตุ้นทางเพศ แต่อาจเกิดจากโรคเลือด การใช้ยารักษาโรค การใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติด การบาดเจ็บที่องคชาต เป็นต้น ภาวะนี้เป็นภาวะอันตราย หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการองคชาตแข็งค้างนานเป็นเวลาหลายชั่วโมง ร่วมกับมีอาการปวดมาก จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรับความช่วยเหลือให้เร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] Priapism คืออะไร ไพรอาพิซึม คือ ภาวะองคชาตแข็งค้าง หรือ ภาวะอวัยวะเพศแข็งตัวค้าง หมายถึง ภาวะที่อวัยวะเพศชายบางส่วนหรือทั้งหมดแข็ง เกร็ง หรือค้างนานกว่าปกติ ไม่เข้าสู่ระยะอ่อนตัว เนื่องจากเลือดไม่สามารถไหลเวียนออกจากองคชาตกลับสู่หัวใจได้ ส่งผลให้รู้สึกเจ็บบริเวณองคชาต ความผิดปกติดังกล่าวสามารถพบได้ในผู้ชายทุกวัย ส่วนใหญ่จะพบในเด็กผู้ชายอายุ 5-10 ขวบ หรือในผู้ชายอายุ 20-50 ปี การแข็งตัวขององคชาตในลักษณะนี้ไม่ได้มาจากความต้องการทางเพศหรือการกระตุ้นทางเพศ และมักไม่สามารถทำให้ผ่อนคลายลงได้ด้วยการถึงจุดสุดยอด หากพบว่าองคชาตแข็งค้างติดต่อกันนานกว่า 4 ชั่วโมง ควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะหากปล่อยไว้ อาจทำให้ขาดเลือด อักเสบ และเป็นอันตรายร้ายแรงได้ Priapism เกิดจากสาเหตุใด ตามปกติแล้ว เมื่อถูกกระตุ้นทางเพศ หรือมีความต้องการทางเพศ องคชาตจะแข็งตัวและขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากมีเลือดดำคั่งอยู่ภายในองคชาต เมื่อการกระตุ้นจบลง เลือดจะไหลเวียนออกจากองคชาตและส่งผลให้องคชาตกลับมาอ่อนตัวลงตามปกติ ในกรณีของภาวะองคชาตแข็งค้าง อาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือดในบางบริเวณ เช่น หลอดเลือด กล้ามเนื้อเรียบ […]


สุขภาพทางเพศ

Sex Addiction โรคติดเซ็กส์สัญญาณที่ไม่ควรมองข้าม

Sex Addiction เป็นโรคเสพติดเซ็กส์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากปัญหาสุขภาพร่างกายหรือปัญหาสุขภาพจิต โดยหากจินตนาการหรือพฤติกรรมทางเพศกระทบต่อการใช้ชีวิตของตัวเองและสร้างปัญหาให้กับผู้อื่น อาจเป็นไปได้ว่ากำลังเป็นโรคเสพติดเซ็กส์ที่ควรเข้าพบคุณหมอก่อนอาการจะรุนแรงมากขึ้น [embed-health-tool-ovulation] Sex Addiction คือ Sex Addiction หรือ โรคเสพติดเซ็กส์ คือ โรคที่ทำให้บุคคลมีจินตนาการ ความสนใจ มีแรงกระตุ้นหรือมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่สามารถควบคุมได้ จนทำให้เกิดความทุกข์ใจและปัญหาต่อการใช้ชีวิต เช่น อันตรายต่อสุขภาพ ความสัมพันธ์ การทำงาน การเรียน แบบไหนถึงจะเรียกว่าติดเซ็กส์ คนที่ทั่วไปเมื่อมีอารมณ์ทางเพศสามารถระบายอารมณ์ได้หลายรูปแบบ เช่น ช่วยตัวเอง ดูภาพลามกอนาจาร เซ็กส์โฟน การมีคู่นอนหลายคน ซึ่งหากอยู่ในปริมาณที่ไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตก็ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากบุคคลมีความคิดและมีกิจกรรมทางเพศที่มากเกินไปจนกระทบต่อการใช้ชีวิตของตัวเองและคู่รัก ก็อาจจะเข้าข่ายเป็นโรคเสพติดเซ็กส์ได้ สัญญาณของโรคเสพติดเซ็กส์ สัญญาณบางอย่างเหล่านี้อาจบ่งบอกได้ว่ากำลังเป็นโรคเสพติดเซ็กส์ หมกหมุ่นกับเรื่องเพศ มีจินตนาการ แรงกระตุ้น และพฤติกรรมทางเพศที่รุนแรงและเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนไม่สามารถควบคุมได้และกระทบต่อการใช้ชีวิต ช่วยตัวเองและดูสื่ออนาจารบ่อยครั้ง ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมทางเพศบางอย่างได้ โดยจะรู้สึกอยากมีเซ็กบ่อยครั้ง และรู้สึกผ่อนคลายอย่างมากหลังจากถึงจุดสุดยอด แต่ก็อาจมีความรู้สึกผิดร่วมด้วย พยายามลดหรือควบคุมตัวเอง โดยจะรู้สึกพยายามควบคุมจินตนาการ แรงกระตุ้น หรือพฤติกรรมทางเพศตัวเอง แต่ไม่สามารถทำได้ ทำพฤติกรรมทางเพศเพื่อหลีกหนีจากปัญหา เช่น ความเหงา ความหดหู่ ความวิตกกังวล ความเครียด มีส่วนร่วมในพฤติกรรมทางเพศที่อันตราย เช่น ความรุนแรงขณะมีเพศสัมพันธ์ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันจนเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีปัญหาในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและมั่นคง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเสพติดเซ็กส์ โรคเสพติดเซ็กส์อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน […]


การคุมกำเนิด

ห่วงอนามัย ทำงานอย่างไร และเหมาะกับใครบ้าง

ห่วงอนามัย (Intrauterine Device หรือ IUD) เป็นอุปกรณ์สำหรับคุมกำเนิดที่ใส่เข้าไปในมดลูก ซึ่งระยะเวลาการใช้งานอาจมีระยะเวลายาวนานประมาณ 3-10 ปี ขึ้นอยู่กับห่วงอนามัยแต่ละชนิด แต่หากตัดสินใจที่จะตั้งครรภ์ก็สามารถเข้าพบคุณหมอเพื่อถอดห่วงอนามัยได้ทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ห่วงอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น จึงไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน หรือควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-due-date] ห่วงอนามัย ทำงานอย่างไร ห่วงอนามัยทำงานโดยกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพราะเมื่อใส่ห่วงอนามัยเข้าไปในช่องคลอด ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มกระบวนการปกป้องตัวเองเปรียบเสมือนว่าห่วงอนามัยเป็นผู้รุกราน ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบจึงซึ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่ออสุจิ ทำให้อสุจิจึงไม่สามารถเข้าถึงท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิได้ จึงทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ ห่วงอนามัย มีกี่ประเภท ห่วงอนามัยอาจมีหลายชนิด ซึ่งชนิดที่พบบ่อยอาจมี ดังนี้ ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง (Copper-Containing Intrauterine Device หรือ Intrauterine Coil) ทองแดงทำหน้าที่เป็นสารออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิด ดังนั้น ห่วงอนามัยชนิดนี้อาจมีลักษณะเป็นเส้นลวดทองแดงพันรอบแกนห่วงอนามัย ซึ่งอาจช่วยสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-10 ปี ห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน (Hormonal Intrauterine Device หรือ Intrauterine System) มีฮอร์โมนเลโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นสารออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิด ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่เลียนแบบฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำหน้าที่เป็นสารออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิด จึงอาจช่วยสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-6 ปี […]


การคุมกำเนิด

ใส่ถุงยาง อย่างไรให้ถูกต้อง และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

การ ใส่ถุงยาง ให้ถูกต้องเป็นเรื่องที่ผู้ชายและผู้หญิงควรเรียนรู้เอาไว้ เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันโรคติดต่อเพศสัมพันธ์และป้องกันการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ยังควรทำความเข้าใจข้อควรระวังในการใช้ถุงยางและการปฏิบัติตัวเมื่อถุงยางแตกด้วย [embed-health-tool-due-date] วิธี ใส่ถุงยาง สำหรับผู้ชาย วิธีใส่ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชายที่ถูกต้องเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ อาจทำได้ดังนี้ 1.เปิดและนำถุงยางอนามัยออกจากห่ออย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการฉีกขาด ไม่ใช้กรรไกรตัดและต้องระวังในกรณีที่เล็บยาว 2.วางถุงยางไว้บนหัวขององคชาตที่แข็งตัว 3.บีบบริเวณปลายถุงยางเพื่อไล่อากาศออกจากปลายถุงยางอนามัย 4.ค่อย ๆ เอามืออีกข้างคลี่ถุงยางอนามัยลงจนสุดอวัยวะเพศ 5.หลังมีเพศสัมพันธ์ ให้จับที่ฐานถุงยางอนามัย จากนั้นค่อย ๆ ดึงออกโดยที่มือยังจับโคนถุงยางอนามัยเอาไว้ และควรเอาอวัยวะเพศชายออกจากช่องคลอดก่อนที่จะถอดถุงยางอนามัย 6.ถอดถุงยางอนามัยออกอย่างระมัดระวัง ห่อทิชชู่และทิ้งลงถังขยะ วิธี ใส่ถุงยาง สำหรับผู้หญิง สำหรับการใส่ถุงยาอนามัยสำหรับหญิงให้ถูกต้องเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ อาจทำได้ดังนี้ 1.เปิดและนำถุงยางอนามัยออกจากบรรจุภัณฑ์อย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันการฉีกขาด ไม่ใช้กรรไกรตัดและต้องระวังในกรณีที่เล็บยาว 2.ถือถุงยางอนามัยในด้านที่ถูกต้อง โดยสังเกตได้ดังนี้ ด้านที่เป็นวงแหวนด้านในปลายปิดจะใช้สำหรับใส่ในช่องคลอดและยึดถุงยางอนามัยให้เข้าที่ ส่วนวงแหวนรอบนอกจะอยู่นอกร่างกายเพื่อปิดปากช่องคลอด 3.นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย จากนั้นบีบวงแหวนปลายปิดให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้สอดเข้าช่องคลอดได้ง่ายขึ้น แล้วสอดเข้าไปในช่องคลอด คล้ายกับการใส่ผ้าอนามัยแบบสอด 4.ใช้นิ้วดันวงแหวนด้านในขึ้นจนชิดปากมดลูก ซึ่งถุงยางอนามัยจะขยายตัวตามธรรมชาติ 5.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าถุงยางอนามัยไม่บิดงอ และวงแหวนรอบนอกควรอยู่นอกช่องคลอด 6.ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจสอบด้วยว่าสอดอวัยวะเพศชายเข้าไปในถุงยางถูกต้องหรือไม่ และหยุดมีเพศสัมพันธ์หากรู้สึกว่าองคชาตลื่นไถลระหว่างถุงยางอนามัยกับผนังช่องคลอด หรือหากวงแหวนรอบนอกถูกดันเข้าไปในช่องคลอด 7.ถอดถุงยางอนามัยด้วยการบิดวงแหวนรอบนอกเบา ๆ แล้วดึงออกจากช่องคลอด จากนั้นห่อด้วยทิชชู่แล้วทิ้งลงถังขยะ ข้อควรระวังในการใช้ถุงยาง เพื่อให้การป้องกันมีประสิทธิภาพ จึงอาจมีข้อควรระวังบางประการในการใช้ถุงยางอนามัย ดังนี้ ควรเปิดซองถุงยางอนามัยอย่างระมัดระวัง โดยไม่ควรฉีกซองถุงยางด้วยเล็บ ฟัน หรือของมีคม เพราะอาจทำให้ถุงยางขาดได้ และควรใส่ถุงยางให้ถูกต้องก่อนเริ่มเมื่อเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันถุงยางแตกหรือหลุด ควรใช้ถุงยางชิ้นใหม่ทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งใหม่ หากมีเพศสัมพันธ์นานกว่า 30 นาที ควรเปลี่ยนถุงยางอนามัยชิ้นใหม่ เพราะถุงยางอาจเสื่อมสภาพจากแรงเสียดสีในระหว่างใช้งาน ควรใช้ถุงยางอนามัยครั้งละ 1 ชิ้น ไม่ควรใส่ซ้อนกัน 2 […]


สุขภาพทางเพศ

ต่อมลูกหมาก เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศอย่างไร

ต่อมลูกหมาก เป็นส่วนประกอบของระบบสืบพันธ์ุเพศชาย มีหน้าที่สร้างน้ำอสุจิเพื่อหล่อเลี้ยงและขนส่งตัวอสุจิ ซึ่งภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ มะเร็งต่อมลูกหมาก อาจทำให้เกิดปัญหาต่อมลูกหมากได้ ดังนั้น จึงควรดูแลตัวเองและสังเกตสัญญาณของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-vaccination-tool] ต่อมลูกหมาก มีหน้าที่อะไร ต่อมลูกหมาก เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีขนาดเท่าลูกเกาลัด หนักประมาณ 30 กรัม มีตำแหน่งอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะโดยล้อมรอบส่วนบนของท่อปัสสาวะ สำหรับหน้าที่หลักขอวต่อมลูกหมาก คือ ผลิตของเหลวที่หล่อเลี้ยงและขนส่งตัวอสุจิที่เรียกว่า น้ำอสุจิ นอกจากนี้ กล้ามเนื้อของต่อมลูกหมากยังมีหน้าที่ดันน้ำอสุจิให้เข้าและออกสู่ท่อปัสสาวะเมื่อผู้ชายถึงจุดสุดยอดด้วย ภาวะสุขภาพของต่อมลูกหมาก ภาวะสุขภาพบางประการอาจส่งผลต่อต่อมลูกหมากได้ ดังนี้ ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นปัญหาทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อยที่สุดในผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จาก 4 สาเหตุ ได้แก่ ต่อมลูกหมากอักเสบจากแบคทีเรียเฉียบพลัน ต่อมลูกหมากอักเสบจากแบคทีเรียเรื้อรัง ต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังหรือกลุ่มอาการปวดกระดูกเชิงกรานเรื้อรัง (Chronic Prostatitis หรือ Chronic Pelvic Pain Syndrome) ต่อมลูกหมากอักเสบที่ไม่แสดงอาการ ต่อมลูกหมากโต เป็นการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมากที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยโรคต่อมลูกหมากโตจะทำให้มีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไหลออกมาจากกระเพาะปัสสาวะได้ไม่ดี จนอาจทำให้ท่อปัสสาวะอุดตันส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะหรือไตตามมาในอนาคต มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย ซึ่งมะเร็งชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในต่อมลูกหมาก จนทำให้เกิดการอุดตันของท่อปัสสาวะ หรือเซลล์ร้ายทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมาก จนทำให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากขึ้น สัญญาณเตือนของปัญหาต่อมลูกหมาก โดยทั่วไปเมื่อต่อมลูกหมากมีปัญหามักแสดงสัญญาณต่อไปนี้ ปวดองคชาต ลูกอัณฑะ หรือฝีเย็บ […]


การคุมกำเนิด

กินยาคุมฉุกเฉินแล้วเลือดออก เกิดจากอะไร และผลข้างเคียงที่ควรรู้

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นวิธีคุมกำเนิดในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือเกิดความผิดพลาดในการคุมกำเนิด ทั้งนี้ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินติดต่อกันบ่อย ๆ เนื่องจากมีระดับฮอร์โมนสูงกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไปจึงอาจทำให้ระดับฮอร์โมนแปรปรวน และเกิดผลข้างเคียง เช่น กินยาคุมฉุกเฉินแล้วเลือดออก ประจำเดือนมาไม่ปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง เป็นตะคริว จึงควรใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น และใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่น เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงกว่า ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร ยาคุมฉุกเฉิน (Morning-after pill หรือ Emergency contraceptive pill) เป็นยาคุมกำเนิดแบบเม็ดที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ในกรณีฉุกเฉิน มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ 75-85% เมื่อกินยาคุมฉุกเฉินชนิดลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) ภายใน 72 ชั่วโมง ( 3 วัน) และเมื่อกินยาคุมฉุกเฉินชนิดยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal acetate) ภายใน 120 ชั่วโมง (5 วัน) หลังมีเพศสัมพันธ์ โดยวิธีการกินสามารถกินครั้งเดียวทั้ง 2 เม็ด หรือจากกินทีละเม็ดห่างกัน 12 ชั่วโมงก็ได้ […]


สุขภาพทางเพศ

อาการไข่ดัน คืออะไร สาเหตุและวิธีรักษา

อาการไข่ดัน เป็นอาการบวมที่เกิดขึ้นบริเวณขาหนีบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท โดยทั่วไปสามารถรับมือได้ด้วยการรักษาตามสาเหตุและการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ ประคบผ้าห่อน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวม โดยทั่วไปอาการไข่ดันมักจะดีขึ้นเอง แต่อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ แต่หากดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการบวมมากขึ้น ปวดจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] อาการไข่ดัน คืออะไร ต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย กระจายตัวอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ กกหู ด้านข้างของลำคอ ใต้รักแร้ ขาหนีบ ทำหน้าที่กรองน้ำเหลืองซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดพิเศษที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ โดยปกติแล้ว ขณะที่ต่อมน้ำเหลืองกำจัดสารพิษหรือเชื้อโรค การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบริเวณนั้นจะทำให้ต่อมน้ำเหลืองขยายตัวอยู่ใต้ผิวหนังและอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นบวมเล็กน้อยและไวต่อการสัมผัส แต่เมื่อต่อสู้กับเชื้อโรคเสร็จแล้ว ไม่นานต่อมน้ำเหลืองก็จะกลับสู่ขนาดปกติ ที่บริเวณขาหนีบด้านในหรือโคนขาหนีบแต่ละข้างจะมีต่อมน้ำเหลืองประมาณ 10 ต่อม หากต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนี้ขยายตัวผิดปกติ อาจทำให้มีอาการบวมที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน หรือที่เรียกว่า อาการไข่ดัน โดยขนาดและรูปร่างที่เกิดขึ้นจะแตกต่างไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่จะทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย แม้จะเรียกว่าไข่ดัน แต่อาการนี้ก็สามารถเกิดได้กับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สาเหตุของอาการไข่ดัน สาเหตุของอาการไข่ดัน อาจมีดังนี้ สาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น การติดเชื้อ เช่น เชื้อรา เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โรคสังคัง (Jock […]


สุขภาพทางเพศ

ภาวะเพศกำกวม หรือ Intersex คือ อะไร

Intersexuality หรือ Intersex คือ ภาวะเพศกำกวม เป็นเพศที่อยู่ในกลุ่ม LGBTQIA+ (I = Intersex) มีลักษณะทางกายภาพที่ไม่ได้เจาะจงเป็นเพศหญิงหรือเพศชายเพียงอย่างเดียวอย่างชัดเจนตั้งแต่แรกเกิด และอาจมีลักษณะทางเพศอื่น ๆ ที่จะปรากฏขึ้นเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าภาวะดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด แต่อาจเกิดจากพันธุกรรม การมีโครโมโซมของทั้ง 2 เพศ การได้รับฮอร์โมนธรรมชาติหรือฮอร์โมนสังเคราะห์ขณะเป็นตัวอ่อน เป็นต้น ผู้ที่มีภาวะ Intersex อาจตัดสินใจรับการผ่าตัดให้ตัวเองเป็นเพศใดเพศหนึ่งโดยสมบูรณ์ หรืออาจเลือกใช้ชีวิตตามลักษณะทางกายภาพที่มีมาตั้งแต่กำเนิดก็ได้ ภาวะนี้เป็นความแปรผันที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ไม่ถือว่าเป็นโรค (Disease) ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาให้หายแต่อย่างใด [embed-health-tool-bmi] Intersex คือ อะไร Intersex คือ ภาวะเพศกำกวม เป็นคำนิยามทางเพศที่ใช้จัดหมวดหมู่บุคคลที่กำเนิดมาพร้อมกับลักษณะทางเพศหลากหลาย ซึ่งอาจส่งผลต่ออวัยวะเพศ อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ ปริมาณฮอร์โมน ชนิดโครโมโซม เป็นต้น ภาวะ Intersex ไม่ได้อยู่ในกรอบแนวคิดที่แบ่งเพศออกเป็นทวิลักษณ์หรือไบนารี (Binary) ที่มีเพียงเพศชายและเพศหญิง โดยทั่วไปภาวะนี้มักไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพขณะเป็นทารก แต่ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ท่อปัสสาวะที่ปลายองคชาตไม่มีรูเปิด จึงอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อช่วยให้สามารถถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ ภาวะ Intersex เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเป็นอย่างมาก และการรักษาอาจส่งผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การตัดสินใจผ่าตัดเลือกเพศเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของคน ๆ หนึ่งจึงอาจต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน