สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้าที่สุด เพราะน้ำเปล่าเป็นสารธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีเจือปน มีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย และผิวผู้ที่เป็นสิว หลายคนจึงเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดสำหรับผิวหน้า แต่ความเชื่อนี้จะจริงหรือเท็จประการใด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณค่ะ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่? การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับผิวหน้าเสมอไป เพราะตลอดทั้งวันเราเจอทั้งมลภาวะต่าง ๆ และฝุ่นละออง ยิ่งคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าด้วยล่ะก็ การใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดผิวหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดูดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางค์บนผิวหน้าออกได้อย่างสะอาดหมดจรด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนอีกด้วย ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าควบคู่ด้วย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผิวหน้า และเหมาะสมกับลักษณะของผิวหน้าคุณ อย่างไรก็ตาม ผิวหน้าของแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน การทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะสำหรับบางคน ทั้งนี้ทั้งนั้นให้คุณลองสังเกตใบหน้าของตนเองว่าหากทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เหมาะกับผิวหน้าของคุณหรือไม่ หากไม่เหมาะสมให้ปรับเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อความสมดุลของผิว 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า น้ำเปล่า มีประโยชน์ที่ดีต่อผิวหน้ามากกว่าที่คุณคิด โดย 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า มีดังต่อไปนี้ สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาดผิวหน้า  ลดการเสียดสีกับผิวหน้า ช่วยลดการระคายเคืองกับบริเวณผิวหนัง ปลอดภัยต่อผิวหน้า เพราะมีน้ำมีความอ่อนโยนปราศจากสารเคมี เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า  ลดความเสี่ยงในการลอกคราบน้ำมันตามธรรมชาติของผิว ช่วยปกป้องเกราะป้องกันผิว ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนง่าย ๆ ในการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ในตอนเช้าให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าสะอาด และซับหน้าด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ซับเบา ๆ ให้แห้งที่ผิวหน้า จะช่วยลดการเสียดสีและลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ในช่วงตอนกลางคืน […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

สิว

ใส่แมสแล้วสิวขึ้น เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร

การใส่แมสหรือหน้ากากอนามัย เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันเชื้อโรคและมลภาวะ เช่น เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 คนส่วนใหญ่จึงยังคงใส่แมสอยู่เป็นประจำทุกวันเพื่อความปลอดภัย แต่การสวมใส่แมสเป็นเวลานาน อาจทำให้ผิวหน้าระคายเคืองจนเกิดปัญหาผิวตามมา หลายคนอาจ ใส่แมสแล้วสิวขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากน้ำมันบนผิว เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และสิ่งสกปรกต่าง ๆ อุดตันรูขุมขน หรืออาจมีผื่นคันเนื่องจากผิวเสียดสีกับแมสจนระคายเคือง การใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์และใช้ยาแต้มสิวที่เหมาะกับผิว ทาครีมกันแดด ล้างหน้าให้สะอาดก่อนนอน เปลี่ยนแมสทุก ๆ 4-5 ชั่วโมง รวมถึงไม่แต่งหน้าเมื่อต้องใส่แมส อาจช่วยรักษาสิวที่เกิดจากการใส่แมสได้ [embed-health-tool-bmi] ใส่แมสแล้วสิวขึ้น เกิดจากอะไร โดยทั่วไปแล้ว สิวมักเกิดจากต่อมไขมันหลั่งน้ำมันเคลือบผิวหรือซีบัมออกมามากเกินไป เมื่อน้ำมันส่วนเกินรวมตัวกับเซลล์ผิวที่ตายแล้ว สิ่งสกปรก ก็อาจทำให้รูขุมขนอุดตันจนเกิดเป็นสิว และหากมีแบคทีเรียเจริญเติบโตในสิว ก็อาจทำให้กลายเป็นสิวอักเสบหรือสิวหัวช้าง สำหรับผู้ที่ใส่แมสเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อหายใจหรือพูดคุย แมสที่ใส่อาจกักเก็บอากาศที่อุ่นชื้นเอาไว้ ทำให้แบคทีเรียหรือเชื้อยีสต์เจริญเติบโตได้มากกว่าปกติ และเมื่อผิวหนังภายในแมสเสียดสีกับแมสบ่อยครั้ง อาจกระตุ้นให้เกิดสิวได้ง่ายขึ้น โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ ใส่แมสแล้วสิวขึ้น อาจมีดังนี้ รูขุมขนอุดตัน ส่งผลให้ผิวหนังอักเสบจนเกิดสิวที่ผิวหนังใต้แมส ผิวหนังระคายเคืองจากการเสียดสีกับแมสที่ใส่ ผิวหนังมีปฏิกิริยาตอบสนองหรือแพ้ผงซักฟอกที่ใช้ซักแมสผ้า สีย้อมหรือสารอื่น ๆ ในแมสชนิดใช้แล้วทิ้ง สิวที่ขึ้นจากการใส่แมส มีลักษณะอย่างไร อาการของสิวที่เกิดจากการใส่แมส อาจมีดังนี้ เกิดสิวหนอง สิวหัวขาว หรือสิวหัวดำขนาดเล็ก […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ยาทาแผลเป็น มียาอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีฤทธิ์อย่างไร

แผลเป็น เกิดจากกระบวนการฟื้นฟูตัวเองของผิวหนังหลังเป็นแผลหรือได้รับบาดเจ็บ ทำให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นรอย แบน นูน หรือยุบเป็นหลุม ทั้งนี้ วิธีดูแลแผลเป็นให้มีขนาดเล็กลงหรือมีสีที่ใกล้เคียงกับผิวหนังโดยรอบ ควรทา ยาทาแผลเป็น อย่างเจลซิลิโคน คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) หรือ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) [embed-health-tool-bmi] แผลเป็นเกิดจากอะไร แผลเป็นเกิดจากกระบวนการฟื้นฟูตัวเองของผิวหนังหลังเป็นแผลหรือได้รับบาดเจ็บ เมื่อผิวหนังเป็นแผลหรือบาดเจ็บ ร่างกายจะสร้างโปรตีนคอลลาเจน (Collagen) แล้วส่งไปยังบริเวณเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บเพื่อสมานบาดแผล ทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่มีลักษณะแตกต่างจากผิวหนังบริเวณรอบ ๆ โดยแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คีลอยด์ (Keloid) มีลักษณะนูน มันเงา ไม่มีขน ขยายใหญ่เกินขอบแผลเดิม และอาจมีสีเข้มกว่าผิวหนังโดยรอบ เกิดจากการที่ร่างกายผลิตคอลลาเจนมากเกินไปเพื่อสมานบาดแผล จนส่งผลให้เซลล์และเนื้อเยื่อผิวหนังเจริญเติบโตผิดปกติ แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) มีลักษณะนูนคล้ายคีลอยด์ แต่ไม่ใหญ่เกินขอบแผลเดิม และมักปรากฏขึ้นหลังผิวหนังได้รับบาดเจ็บหรือเป็นสิวไปแล้ว 1-2 เดือน หลุมสิว (Atrophic Acne Scar) เป็นรอยบุ๋มหรือการยุบตัวของผิวหน้า ทำให้ใบหน้าดูขรุขระ ไม่เรียบเนียน ทั้งนี้ หลุมสิวมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายสร้างคอลลาเจนและเนื้อเยื่อได้ไม่เพียงพอต่อความเสียหายของผิวหนัง แผลเป็นหดรั้ง (Scar Contracture) มักมีสาเหตุมาจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก […]


สิว

สิวหัวช้างเกิดจากอะไร รักษาและควรดูแลตนเองอย่างไร

สิวหัวช้างเป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรง มีลักษณะเป็นตุ่มแดงขนาดใหญ่ มีหนองอยู่ข้างใน เมื่อสัมผัสโดนจะรู้สึกเจ็บ หากถามว่า สิวหัวช้างเกิดจากอะไร คำตอบคือ สิวหัวช้างเกิดจากน้ำมันบนใบหน้าและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วเข้าไปอุดตันในรูขุมขน ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงของสิวหัวช้าง คือ ระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น ทำให้รูขุมขนอุดตันและเป็นสิวได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-bmr] สิวหัวช้างเกิดจากอะไร สิวหัวช้าง เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรง เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและน้ำมันบนผิวหนังที่ผลิตออกมามากเกินไปอุดตันรูขุมขน หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนังชั้นหนังแท้ ลักษณะของสิวหัวช้างจะเป็นก้อนนูนแดงขนาดใหญ่ มีหนองอยู่ข้างใน และเมื่อสัมผัสโดนจะทำให้รู้สึกเจ็บ ปกติแล้ว สิวหัวช้างพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบบ่อยในผู้ที่มีผิวมัน วัยรุ่น และผู้หญิง และมักสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนแอนโดรเจน เช่น ระหว่างมีประจำเดือน ใช้ยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์ ซึ่งฮอร์โมนแอนโดรเจนจะไปกระตุ้นให้ต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมามากกว่าปกติ เป็นสิวหัวช้าง ควรดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อทราบแล้วว่า สิวหัวช้างเกิดจากอะไร ควรดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงอาการรุนแรง ตามคำแนะนำต่อไปนี้ ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง หรือหลังจากเหงื่อออกมาก ด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงการขัดผิว หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง ไม่กดหรือบีบสิว เพราะจะทำให้การติดเชื้อแพร่กระจาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็นหลังสิวหายได้ หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล รวมถึงอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง เพราะอาจมีผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย และทำให้ต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับแสงแดด ดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม ด้วยการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ สิวหัวช้าง รักษาได้อย่างไร เนื่องจากสิวหัวช้างเป็นสิวชนิดรุนแรง การรักษาด้วยยาแต้มสิวหรือผลิตภัณฑ์รักษาสิวโดยทั่วไปจึงไม่ได้ผล ทั้งนี้ […]


สิว

สิวประจำเดือน สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษาและการป้องกัน

สิวประจำเดือน เป็นสิวที่มักเกิดขึ้นในช่วงก่อนเป็นประจำเดือนหรือขณะเป็นประจำเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มขึ้นและกระตุ้นให้ต่อมไขมันขับน้ำมันออกมามากเกินไป เมื่อน้ำมันส่วนเกินรวมตัวกับเซลล์ผิวที่ตายแล้ว สิ่งสกปรก และแบคทีเรีย อาจทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิว สิวประจำเดือนโดยทั่วไปสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาแต้มสิวและการดูแลผิวอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-bmi] สิวประจำเดือน เกิดจากอะไร ส่วนใหญ่แล้ว สิวมักมีสาเหตุมาจากการอุดตันของรูขุมขน โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นประจำเดือน ฮอร์โมนในร่างกายจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตซีบัม (Sebum) หรือน้ำมันที่มีหน้าที่เคลือบผิวออกมามากเกินไป เมื่อน้ำมันส่วนเกินรวมกับเซลล์ผิวที่ตายแล้ว สิ่งสกปรก และแบคทีเรียบนผิวหนัง อาจทำให้รูขุมขนอุดตันจนเกิดสิว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิวประจำเดือน และทำให้สิวแย่ลง ดังนี้ ความเครียด เมื่อเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น คอร์ติซอล แอนโดรเจน ที่จะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไปจนอาจก่อให้เกิดสิวและทำให้สิวที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นได้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นสิวประจำเดือน อาจทำให้เสี่ยงเกิดสิวประจำเดือนได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ผลิตภัณฑ์ความสะอาดเส้นผมและผิวหนัง เช่น แชมพูสระผม โฟมล้างหน้า มอยส์เจอร์ไรเซอร์ ครีมกันแดด อาจไปอุดตันรูขุมขนและทำให้เกิดสิวในช่วงที่เป็นประจำเดือน โดยเฉพาะหากมีส่วนผสมที่ทำให้ผิวหนังระคายเคืองหรือเกิดสิวได้ง่าย เช่น น้ำหอม พาราเบน ซิลิโคน แอลกอฮอล์ ผลข้างเคียงของยา การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยาลิเธียม (Lithium) ยาเบนโซไดอะซีปีน […]


สิว

สิวขึ้นหน้าผาก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและการป้องกันอย่างไร

สิวขึ้นหน้าผาก เกิดจาก หลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การดูแลผิวไม่ถูกวิธี การใช้เครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน ซึ่งทำให้เกิดสิวขึ้นหน้าผากประเภทต่าง ๆ ที่อาจมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรรับการวินิจฉัยโดยคุณหมอ เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำในการป้องกันสิวขึ้นหน้าผากอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] สิวขึ้นหน้าผาก เกิดจากอะไร สิวขึ้นหน้าผาก เกิดจากเซลล์ผิวเก่า สิ่งสกปรก และน้ำมันส่วนเกินที่เรียกว่า ซีบัม (Sebum) อุดตันในรูขุมขนบริเวณหน้าผาก ซึ่งอาจกระตุ้นให้แบคทีเรียตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่บนผิวเจริญเติบโตมากขึ้น จนนำไปสู่การอักเสบและก่อให้เกิดสิว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดสิวขึ้นหน้าผาก ดังนี้ พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีสิวขึ้นหน้าผาก บุตรหลานก็อาจมีแนวโน้มที่จะมีสิวขึ้นหน้าผากด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) อาจกระตุ้นให้ต่อมไขมันขยายและผลิตน้ำมันออกมามากจนเกินไป จนนำไปสู่การอุดตันในรูขุมขนและก่อให้เกิดสิวขึ้นหน้าผาก ความเครียด อาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่เป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด และกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป จนเกิดการอุดตันในรูขุมขน นำไปสู่การเกิดสิวขึ้นหน้าผาก การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมหวาน ช็อกโกแลต ของทอด รวมถึงของเผ็ดร้อน ที่อาจกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเหงื่อมากขึ้น นำไปสู่การอุดตันในรูขุมขน และเสี่ยงต่อการเกิดสิวขึ้นหน้าผาก หรืออาจทำให้สิวที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

หน้าไม่เรียบเนียน สาเหตุ การรักษาและวิธีดูแลผิว

หน้าไม่เรียบเนียน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สิว รอยแผลเป็น ที่ส่งผลให้ผิวหน้าขรุขระ ไม่เรียบเนียน อีกทั้งยังอาจทำให้แต่งหน้าไม่ติดทน และลดความมั่นใจในตัวเองดังนั้น จึงควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม อีกทั้งควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผิวหน้าให้ถูกวิธีเพื่อช่วยฟื้นฟูให้ผิวกลับมาสุขภาพดีและเรียบเนียนดังเดิม [embed-health-tool-bmr] สาเหตุที่ทำให้หน้าไม่เรียบเนียน สาเหตุที่ทำให้หน้าไม่เรียบเนียน มีดังนี้ สิว เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดจากน้ำมัน เซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วและสิ่งสกปรกอุดตันในรูขุมขน จนก่อให้เกิดเป็นตุ่มนูนแดง บวมอักเสบและอาจมีหนอง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกได้ว่าผิวหน้าไม่เรียบเนียน อีกทั้งยังเสี่ยงก่อให้เกิดรอยแผลเป็น รอยดำ รอยแดง รวมไปถึงปัญหาผิวหมองคล้ำและจุดด่างดำได้ หลุมสิว คือรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวในระดับรุนแรง เช่น สิวหนอง สิวอักเสบ สิวซีสต์ รวมถึงพฤติกรรมการบีบสิวและแกะสิว ที่ทำลายชั้นผิวหนัง ส่งผลผิวหน้าไม่เรียบเนียน โดยหลุมสิวอาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น หลุมสิวลึก หลุมสิวตื้น รอยแผลเป็น เกิดจากกระบวนการสมานแผลที่สร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาแทนที่เนื้อเยื่อเก่าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัด ซึ่งมีทั้งลักษณะบุ๋มลงไปหรือแผลเป็นนูน ที่ส่งผลให้ผิวหน้าไม่เรียบเนียน ไฝ เกิดจากความผิดปกติของเมลาโนไซต์ (Melanocytes) ที่ผลิตเม็ดสีเมลานินมากเกินไป ทำให้เกิดจุดสีน้ำตาลเข้ม สีดำ อาจมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ หรืออาจเป็นไฝนูนที่มีขนตรงกลาง ปรากฏบนผิวส่วนต่าง ๆ เช่น หน้าอก หลัง แขน รวมถึงใบหน้า และทำให้ผิวหน้าไม่เรียบเนียน การรักษาปัญหาผิวหน้าไม่เรียบเนียน วิธีการรักษาปัญหาผิวหน้าไม่เรียบเนียน […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ครีมทาผิว มีประโยชน์อย่างไร และควรเลือกอย่างไรให้เหมาะกับผิว

ครีมทาผิว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบำรุงและฟื้นฟูสภาพผิวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผิวผสม ผิวมัน ผิวแห้ง และผิวแพ้ง่าย เพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้น แข็งแรง และมีสุขภาพดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ครีมทาผิวจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพผิวและปัญหาผิวของแต่ละคน เพื่อให้ครีมทาผิวสามารถบำรุงผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmr] ครีมทาผิว มีประโยชน์ต่อสุขภาพผิวอย่างไร ครีมทาผิว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ประโยชน์ต่อสุขภาพผิวในการช่วยบำรุงให้ผิวชุ่มชื้น แข็งแรง และมีสุขภาพดี พร้อมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาผิวต่าง ๆ เช่น ริ้วรอย ความเหี่ยวย่น ความหมองคล้ำ รอยแดง รอยดำ ความไม่สม่ำเสมอของสีผิว ซึ่งครีมทาผิวอาจมีหลายสูตรและหลายเนื้อสัมผัส เช่น ครีม เจล สูตรน้ำ สูตรน้ำมัน ขี้ผึ้ง ทั้งนี้ แต่ละประเภทอาจต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละคนด้วย ประเภทของครีมทาผิว ครีมทาผิวอาจแบ่งออกได้หลายประเภท เนื่องจากสภาพผิวและปัญหาผิวของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึงต้องมีครีมทาผิวหลายชนิดเพื่อให้สามารถเลือกใช้สำหรับสภาพผิวและปัญหาผิวที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ดังนี้ ออยล์ มอยส์เจอไรเซอร์ (Oil-Based Face Moisturizer) เหมาะกับทุกสภาพผิว สำหรับให้ความชุ่มชื้น ช่วยลดริ้วรอย ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอและลดขนาดรูขุมขน นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้ผิวแลดูอวบอิ่ม เรียบเนียนและเปล่งปลั่งขึ้น เจลมอยส์เจอไรเซอร์ (Gel Moisturizer) เหมาะสำหรับผิวมันและผิวผสม เป็นสูตรที่มีส่วนประกอบของน้ำและปราศจากน้ำมัน […]


สุขภาพผิว

อิลาสติน คืออะไร ควรดูแลสุขภาพผิวอย่างไรให้แข็งแรง

อิลาสติน (Elastin) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ในการให้ความยืดหยุ่นกับเนื้อเยื่อในร่างกาย ซึ่งช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพดี แข็งแรง ยืดหยุ่น และเต่งตึง แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นหรือผิวหนังไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อิลาสตินในผิวหนังก็อาจเสื่อมสภาพก่อนวัย ส่งผลให้ผิวหนังเหี่ยวย่น หย่อนคล้อย และขาดความยืดหยุ่น ดังนั้น การดูแลสุขภาพผิวที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผิวมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง [embed-health-tool-bmr] อิลาสติน คืออะไร อิลาสติน คือ โปรตีนที่มีลักษณะยึดโยงกันและมีความยืดหยุ่นสูง สามารถยืดออกและหดตัวกลับได้ โดยอิลาสตินเกิดจากการรวมตัวกันของโมเลกุลขนาดเล็กในร่างกาย ที่เรียกว่า โทรโพอิลาสติน (Tropoelastin) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิหนึ่งที่มีมากที่สุดในร่างกาย และเป็นส่วนประกอบหลักของเนื้อเยื่อที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง เช่น ผิวหนัง ปอด กระเพาะปัสสาวะ หลอดเลือดใหญ่ เส้นเอ็น กระดูกอ่อนหู อิลาสติน มีหน้าที่อะไร อาจมีความสับสนระหว่างอิลาสตินกับคอลลาเจน ซึ่งคอลลาเจนอาจมีหน้าที่เป็นโครงสร้างของเนื้อเยื่อและให้ความแข็งแรงกับผิวหนัง ส่วนอิลาสตินจะมีหน้าที่หลัก คือ ให้ความยืดหยุ่นกับเนื้อเยื่อในร่างกาย ซึ่งจะให้ความยืดหยุ่นมากกว่าคอลลาเจนประมาณ 1,000 เท่า โดยอิลาสตินจะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อที่ต้องการความยืดขยายและหดตัวกลับได้สูง เช่น หลอดเลือดแดง ที่มีหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปทั่วร่างกาย ซึ่งอิลาสตินจะช่วยให้หลอดเลือดแดงขยายออก ช่วยให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดได้ง่ายขึ้น ปอด อิลาสตินจะช่วยให้ปอดหดและขยายตัวได้ดี เมื่อหายใจเข้าและออก ผิวหนัง อิลาสตินจะช่วยให้ผิวหนังสามารถยืดและหดกลับได้ดี แต่เมื่ออายุมากขึ้นอิลาสตินอาจค่อย ๆ ลดลง ส่งผลให้ผิวหนังที่ยืดออกหดตัวกลับได้ช้าลง และอาจทำให้เกิดความเหี่ยวย่นขึ้นบนผิวหนัง ภาวะผิดปกติของอิลาสติน […]


สุขภาพผิว

โรคหัดเยอรมัน สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษาและการป้องกัน

โรคหัดเยอรมัน (Rubella หรือ German Measles) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสรูเบลล่า (Rubella) ทำให้เกิดผื่นแดงทั่วร่างกาย มีไข้อ่อน ๆ ปวดศีรษะ เจ็บคอ คัดจมูก ปวดตามข้อต่อ ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงหรือบางคนอาจไม่มีอาการเลย อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ จึงควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหัดเยอรมันตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคหัดเยอรมัน คืออะไร โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสรูเบลล่า สามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้ผ่านการรับเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศเมื่อผู้ติดเชื้อไอหรือจาม หรือจากสัมผัสสารคัดหลั่งจากจมูกและลำคอของผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสรูเบลล่า เชื้อจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 14-21 วัน และสามารถเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 7 วันก่อนเริ่มมีผื่นขึ้น และหลังมีผื่นขึ้นอีก 14 วัน คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัดเยอรมันมักมีอาการป่วยเล็กน้อย โดยมีอาการไข้ต่ำ เจ็บคอ และมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง เริ่มจากบริเวณใบหน้าและอาจลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในเด็กเล็กอาจเริ่มจากมีผื่นก่อนแล้วตามมาด้วยอาการอื่น ๆ ส่วนในเด็กและผู้ใหญ่ อาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นก่อน จากนั้น 2-3 วันจึงเริ่มมีผื่นแดง โรคหัดเยอรมันสามารถถ่ายทอดจากคุณแม่ไปยังทารกในครรภ์ และอาจถ่ายทอดผ่านน้ำนมหรือสารคัดหลั่งของคุณแม่ไปยังทารกแรกเกิดได้อีกด้วย หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโรคหัดเยอรมันอาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะแท้งหรือทารกเกิดกลุ่มความพิการแต่กำเนิด เช่น หูหนวก สมองฝ่อ กลุ่มเสี่ยงโรคหัดเยอรมัน ผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่ไม่มีการฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ยืดผมถาวร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร และวิธีการดูแลผม

ยืดผมถาวร เป็นการเปลี่ยนผมที่หยิกหรือหยักศกให้ยืดตรงอยู่ได้นาน 3-12 เดือน ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ยืดผมถาวรแบบธรรมดา ยืดผมเคราติน ยืดผมรีบอนดิง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม การยืดผมถาวรอาจทำให้สุขภาพเส้นผมอ่อนแอลง จึงควรหมั่นดูแลเส้นผมเพื่อป้องกันผมเสีย แห้งกรอบหรือหลุดร่วง [embed-health-tool-ovulation] ยืดผมถาวร คืออะไร ยืดผมถาวร คือ การใช้น้ำยาเคมีหรือสารบางอย่างเติมเข้าไปในเส้นผมเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของเส้นผมที่หยิกหรือหยักศกให้ตรงขึ้น โดยมีหลายรูปแบบ ดังนี้ ยืดผมแบบธรรมดา เป็นการชโลมน้ำยาเคมีสองชนิด ได้แก่ น้ำยายืดและน้ำยาคงสภาพ ลงบนเส้นผมเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของเส้นผมให้เรียงตัวใหม่ จากนั้นยืดผมให้ตรงด้วยแผ่นยืด ยืดผมแบบรีบอนดิง เป็นการยืดผมด้วยน้ำยาเคมีเช่นเดียวกับการยืดผมแบบธรรมดา แต่ใช้เครื่องหนีบผมแทนแผ่นยืด ยืดผมเคราติน เป็นการยืดผมด้วยการเติมเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ปกติพบได้ในเส้นผมเพื่อให้ผมยืดตรงขึ้น ผสมกับสารเคมีอย่างฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่ออกฤทธิ์ป้องกันผมชี้ฟู แล้วยืดผมให้ตรงด้วยไดร์เป่าผมและเครื่องหนีบผม ยืดผมถาวรมีผลข้างเคียงอย่างไร การยืดผมทำให้เส้นผมต้องสัมผัสกับสารเคมีและความร้อน จึงมักทำให้เส้นผมแห้งกรอบ เปราะบาง ขาดง่าย และแตกปลาย อย่างไรก็ตาม อาจป้องกันได้ด้วยการทำทรีตเม้นต์บำรุงหลังยืดผม หรือรอให้ผมเส้นใหม่ที่สุขภาพดีกว่างอกขึ้นทดแทน นอกจากนี้ หาก ยืดผมถาวร เป็นประจำ น้ำยาหรือสารเคมีที่ใช้ในการยืดผมอย่างฟอร์มาลดีไฮด์อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งมดลูก งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้น้ำยายืดผมกับความเสี่ยงมะเร็งมดลูก ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the National Cancer […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน