สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้าที่สุด เพราะน้ำเปล่าเป็นสารธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีเจือปน มีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย และผิวผู้ที่เป็นสิว หลายคนจึงเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดสำหรับผิวหน้า แต่ความเชื่อนี้จะจริงหรือเท็จประการใด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณค่ะ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่? การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับผิวหน้าเสมอไป เพราะตลอดทั้งวันเราเจอทั้งมลภาวะต่าง ๆ และฝุ่นละออง ยิ่งคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าด้วยล่ะก็ การใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดผิวหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดูดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางค์บนผิวหน้าออกได้อย่างสะอาดหมดจรด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนอีกด้วย ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าควบคู่ด้วย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผิวหน้า และเหมาะสมกับลักษณะของผิวหน้าคุณ อย่างไรก็ตาม ผิวหน้าของแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน การทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะสำหรับบางคน ทั้งนี้ทั้งนั้นให้คุณลองสังเกตใบหน้าของตนเองว่าหากทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เหมาะกับผิวหน้าของคุณหรือไม่ หากไม่เหมาะสมให้ปรับเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อความสมดุลของผิว 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า น้ำเปล่า มีประโยชน์ที่ดีต่อผิวหน้ามากกว่าที่คุณคิด โดย 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า มีดังต่อไปนี้ สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาดผิวหน้า  ลดการเสียดสีกับผิวหน้า ช่วยลดการระคายเคืองกับบริเวณผิวหนัง ปลอดภัยต่อผิวหน้า เพราะมีน้ำมีความอ่อนโยนปราศจากสารเคมี เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า  ลดความเสี่ยงในการลอกคราบน้ำมันตามธรรมชาติของผิว ช่วยปกป้องเกราะป้องกันผิว ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนง่าย ๆ ในการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ในตอนเช้าให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าสะอาด และซับหน้าด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ซับเบา ๆ ให้แห้งที่ผิวหน้า จะช่วยลดการเสียดสีและลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ในช่วงตอนกลางคืน […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

สิว

สิวอักเสบไม่มีหัว เกิดจาก อะไร การรักษา และการป้องกัน

สิวอักเสบ เป็นสิวที่เกิดการอักเสบบริเวณรูขุมขนและต่อมไขมันใต้ผิวหนัง มักทำให้มีตุ่มแดง บวม และเจ็บปวด โดย สิวอักเสบไม่มีหัว เกิดจาก น้ำมันบนผิวหนัง เซลล์ผิวเก่า ขน และแบคทีเรียอุดตันอยู่ในรูขุมขนเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดสิว นอกจากนี้ การบีบ แกะ หรือเกาหัวสิว ก็อาจทำให้สิวเกิดอักเสบได้เช่นกัน ดังนั้น การดูแลผิวอย่างเหมาะสมจึงอาจช่วยป้องกันการเกิดสิวอักเสบไม่มีหัวได้ [embed-health-tool-ovulation] สิวอักเสบไม่มีหัว เกิดจาก อะไร สิวอักเสบไม่มีหัว เกิดจาก น้ำมันบนผิวหนัง เซลล์ผิวเก่า ขน และแบคทีเรียอุดตันในรูขุมขนจนทำให้เกิดเป็นตุ่มสิว และเมื่อสิวเกิดการอุดตันเป็นระยะเวลานานหรือถูกกดทับจากการบีบ แกะหรือเกาหัวสิว ก็อาจทำให้เกิดสิวอักเสบไม่มีหัวขึ้นได้ โดยสิวอักเสบไม่มีหัวอาจมีลักษณะเป็นตุ่มนูน บวมแดง และเจ็บปวด โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับหัวสิวอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น นอกจากนี้ สิวอักเสบไม่มีหัวยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้ต่อมไขมันในรูขุมขนผลิตน้ำมันมากขึ้น จนอาจทำให้รุขุมขนอุดตันได้ง่าย เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโดยเฉพาะในวัยรุ่น ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์ เหงื่อออกมาก การไม่ทำความสะอาดผิว การใช้เครื่องสำอางบางชนิดที่มีส่วนผสมของน้ำมัน กรรมพันธุ์ และการใช้ยาบางชนิด วิธีรักษาสิวอักเสบไม่มีหัว การรักษาสิวอักเสบไม่มีหัวอาจทำได้ด้วยการรับประทานยา หรือใช้ยาทาภายนอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของสิวอักเสบไม่มีหัว ดังนี้ ยารับประทาน เช่น ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) เตตราไซคลีน (Tetracycline) แดพโซน […]


สิว

สิวฮอร์โมน สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

สิวฮอร์โมน เกิดจากระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกายเพิ่มขึ้นและกระตุ้นให้ต่อมไขมันขับน้ำมันออกมามากเกินไป จนส่งผลให้เกิดสิวที่ใบหน้า ลำคอ ไหล่ หลัง และหน้าอก โดยทั่วไปสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาแต้มสิวที่เหมาะสมกับชนิดของสิว และการดูแลผิวอย่างถูกวิธี เช่น ล้างหน้าอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า งดแกะเกาสิว แต่หากดูแลรักษาด้วยวิธีดังกล่าวแล้วยังมีสิวขึ้นซ้ำ ๆ หรือสิวแย่ลง ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างตรงจุด [embed-health-tool-heart-rate] สิวฮอร์โมน เกิดจาก สาเหตุใด สิวฮอร์โมนเกิดจากฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงและกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันหรือซีบัม (Sebum) ออกมามากกว่าปกติ เมื่อน้ำมันส่วนเกินรวมตัวกับเซลล์ผิวที่ตายแล้วและแบคทีเรียแล้วอุดตันในรูขุมขน อาจทำให้เกิดสิวฮอร์โมนได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดสิวได้ มีดังนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ ความเครียด การนอนหลับไม่เพียงพอ การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผิวที่ทำให้รูขุมขนอุดตัน ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ คนในครอบครัวมีประวัติเป็นสิวฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงเป็นประจำเดือน ช่วงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วงตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน หรือหลังหยุดใช้ยาคุมกำเนิด การรักษาโรคด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน การใช้ยาบางชนิด เช่น ลิเธียม (Lithium) เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) ไซโคลสปอริน (Cyclosporin) ไอโซเนียซิด (Isoniazid) ไอโอดีน ปัจจัยและพฤติกรรมที่อาจทำให้สิวแย่ลง เช่น มลภาวะและสิ่งสกปรกที่สัมผัสกับใบหน้าและผิวหนัง อาจทำให้รูขุมขนอุดตันจนก่อตัวเป็นสิว ความชื้นในอากาศที่สูงกว่าปกติ ทำให้ผิวสัมผัสกับความร้อนและความชื้นมากขึ้น ส่งผลให้รูขุมขนขยายตัวและผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น การบีบ แกะ […]


สิว

สิวใต้ผิวหนัง สาเหตุ อาการ และการรักษา

สิวใต้ผิวหนัง หรือสิวเป็นไต เป็นสิวชนิดรุนแรงที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็งใต้ผิวหนัง ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นสิวก้อนนูนแข็ง ตุ่มแดง และเจ็บปวด โดยสิวใต้ผิวหนังอาจจะเกิดขึ้นเป็นเวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดแผลเป็นรุนแรงและถาวรได้ [embed-health-tool-ovulation] สิวใต้ผิวหนัง เกิดจากอะไร สิวใต้ผิวหนัง เกิดจากสาเหตุเดียวกันกับสิวชนิดอื่น ๆ คือ การอุดตันของรูขุมขนจนน้ำมันที่ผลิตในรูขุมขน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ขน และเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง โดยเฉพาะคิวติแบคทีเรียม แอคเน่ (Cutibacterium Acnes) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่อยู่ใต้ผิวหนังที่สามารถนำไปสู่การติดเชื้อ การอักเสบ และความเจ็บปวดได้ การอุดตันของรูขุมขนนอกจากจะเกิดจากความมันที่มากเกินไป และการไม่ทำความสะอาดผิวอย่างเหมาะสม ยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ พันธุกรรม หากคนในครอบครัวเป็นสิวง่ายก็อาจมีแนวโน้มที่คนอื่น ๆ ในครอบครัวจะเป็นสิวง่ายได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะในวัยรุ่น ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากกว่าปกติ อาจทำให้มีการผลิตน้ำมันใต้ผิวหนังมากขึ้น และทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนได้ง่าย เหงื่อออกมากเกินไป ผู้ที่ร่างกายมีการขับเหงื่อออกมามากเกินไปอาจมีแนวโน้มเป็นสิวใต้ผิวหนังได้ง่าย โดยเฉพาะในผู้ที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ดูดซับเหงื่อไว้กับผิวหนัง อาจทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนได้ง่ายมากขึ้น การใช้ยาบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) อาจทำให้ผิวบอบบาง เป็นสิวง่าย และอาจทำให้สิวมีอาการแย่ลงได้ การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น โลชั่น ครีม เครื่องสำอางบางชนิด ที่อาจมีส่วนผสมของน้ำมันที่สามารถทำให้รู้ขุมขนอุดตัน หรืออาจทำให้เกิดอาการแพ้ […]


สิว

รักษาสิวไม่มีหัว ทำอย่างไร และวิธีป้องกันการเกิดสิวไม่มีหัว

การ รักษาสิวไม่มีหัว อาจทำได้ด้วยการทายาแต้มสิวที่มีส่วนผสมของสารช่วยลดแบคทีเรีย ลดการอุดตันของรูขุมขน และลดความมันบนผิวหนัง แต่หากสิวไม่ตอบสนองกับยาที่ใช้ คุณหมออาจแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฮอร์โมน หรือใช้วิธีอื่น ๆ ในการรักษา เช่น การบำบัดด้วยแสง การฉีดสเตียรอยด์ ตามความเหมาะสม ส่วนการป้องกันการเกิดสิวไม่มีหัวและสิวทั่วไป อาจทำได้ด้วยการรักษาความสะอาดของผิวหน้าและผิวกาย ทาครีมกันแดดเมื่อออกแดดเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการบีบหรือแกะสิวที่มีอยู่เดิม เพราะอาจทำให้สิวลุกลาม หายช้ากว่าที่ควร และเกิดรอยดำได้ [embed-health-tool-bmi] สิวไม่มีหัวเกิดจากอะไร สิวไม่มีหัว เป็นสิวที่ก่อตัวอยู่ใต้ผิวหนัง มักพบบนใบหน้า แผ่นหลังส่วนบน หรือหน้าอก เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงตุ่มนูนที่ไม่มีหัวเปิด แต่บางครั้งก็อาจมีขนาดเล็กเกินกว่าจะรู้สึกได้ หากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังแพร่เชื้อไปยังรูขุมขนที่เป็นสิวไม่มีหัว จนทำให้ผิวบริเวณนั้นอักเสบ ก็อาจทำให้เกิดเป็นเลือดคั่ง หนอง ก้อนเนื้อ หรือซีสต์ได้ด้วย ผู้ที่เป็นสิวไม่มีหัวไม่ควรบีบสิวออกเอง เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ บวมแดง ผิวระคายเคือง สิวอาจแย่ลง หายช้ากว่าเดิม และอาจทิ้งรอยแผลเป็นที่กลายเป็นรอยดำได้ในภายหลัง ปัจจัยเสี่ยงเกิดสิวไม่มีหัว อาจมีดังนี้ ต่อมน้ำมันผลิตซีบัม (Sebum) ซึ่งเป็นน้ำมันที่ทำหน้าที่เคลือบผิวและปกป้องชั้นผิวออกมามากเกินไป จนส่งผลให้ผิวมัน เมื่อซีบัมส่วนเกินรวมกับ แบคทีเรีย และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว อาจทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดเป็นสิวไม่มีหัว เชื้อแบคทีเรียบนผิวเจริญเติบโตมากเกินไปจนทำให้รูขุมขนอุดตัน เกิดเป็นสิวอักเสบไม่มีหัว ผิวหนังโดยรอบบวมแดงจนทำให้รู้สึกเจ็บและตึงผิวได้ อยู่ในช่วงที่ร่างกายมีระดับแอนโดรเจน (Androgen) สูงขึ้น เช่น […]


สิว

สิวใต้คาง สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษาและการป้องกัน

สิวใต้คาง เช่น สิวอักเสบ สิวหัวดำ สิวหัวขาว เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุ พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การสัมผัสผิว ผิวเสียดสีกับหน้ากากอนามัยหรือสายรัดหมวกกันน็อก โดยทั่วไป สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาแต้มสิวที่ออกฤทธิ์ลดการอุดตันของรูขุมขน ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และช่วยผลัดเซลล์ผิว ร่วมกับการดูแลผิวหน้าอย่างถูกวิธีและทำความสะอาดเครื่องใช้ส่วนตัวที่สัมผัสผิวใต้คางบ่อย ๆ เป็นประจำ ทั้งนี้ หากรักษาด้วยตัวเองแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นสิวซ้ำบ่อย ๆ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] สาเหตุที่ทำให้เกิด สิวใต้คาง สิวใต้คาง มักเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนเนื่องจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วและสิ่งสกปรกรวมตัวกับซีบัมหรือน้ำมันบนผิว บางครั้งอาจเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังเจริญเติบโตมากเกินไป นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากผิวหนังเสียดสีหรือระคายเคืองจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสวมหมวกกันน็อกรัดคาง การสวมหน้ากากอนามัย การสัมผัสกับเครื่องนอนที่ไม่ได้ซักเป็นประจำ แต่สิวส่วนใหญ่มักเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดสิวใต้คาง ปัจจัยเสี่ยงเกิดสิวใต้คาง อาจมีดังนี้ อายุ ในช่วงวัยรุ่น ระดับเทสโทสเตอร์โรนจะเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ อาจกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตซีบัม (Sebum) หรือน้ำมันเคลือบผิวในปริมาณมากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้รูขุมขนอุดตัน และเกิดสิวบนใบหน้า รวมไปถึงสิวใต้คางได้ง่าย พันธุกรรม ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นสิว จะเสี่ยงเกิดสิวมากกว่าคนทั่วไป การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฮอร์โมนที่แปรปรวนในช่วงเป็นประจำเดือนหรือขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดสิวฮอร์โมนที่ใต้คางได้ การมีสิวในบริเวณอื่น หากมีสิวในบริเวณใกล้เคียง เช่น รอบปาก แก้ม […]


สิว

สิวอักเสบหัวหนอง สาเหตุ อาการ และการรักษา

สิวอักเสบหัวหนอง เป็นสิวที่เกิดขึ้นจากการอุดตันของรูขุมขน และเมื่อหัวสิวถูกกดทับหรือมีการสะสมของน้ำมันใต้ผิวหนังเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้หัวหนองผุดออกมา อาจทำให้มีอาการเจ็บปวด บวม แดง และเป็นหนอง ซึ่งหากไม่ทำการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม รูขุมขนอาจเสียหาย เกิดเป็นหลุมสิว แผลเป็น และอาจทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอได้ [embed-health-tool-heart-rate] สิวอักเสบหัวหนอง เกิดจากอะไร สิวอักเสบหัวหนอง อาจเกิดจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว น้ำมันที่ผลิตในรูขุมขน สิ่งสกปรก และเชื้อแบคทีเรียที่อุดตันรูขุมขนจนทำให้เกิดเป็นสิวอักเสบขึ้น และเมื่อหัวสิวอักเสบถูกกดทับหรือมีการสะสมของน้ำมัน สิ่งสกปรกและเชื้อโรคมากขึ้นก็อาจทำให้ผนังรูขุมขนแตกออกจนผุดออกมาเป็นสิวอักเสบหัวหนองและอาจทำให้สิวแตกได้ อาการของสิวอักเสบหัวหนอง สิวอักเสบหัวหนองอาจเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า คอ หนังศีรษะ หลัง หน้าอก ก้น แขน ขา และขาหนีบ โดยอาการของสิวอักเสบหัวหนอง มีดังนี้ ตุ่มนูนเป็นก้อนแข็ง มีขนาดเล็กหรือใหญ่ ตุ่มนูนแดง บวมที่ผิวหนังบริเวณตุ่มสิวและตุ่มหนอง เจ็บปวดและรู้สึกไม่สบายบริเวณตุ่มสิวหรือรอบ ๆ ตุ่ม หัวสิวมีสีเหลือง สีขาว หรือสีแดงตรงกลางตุ่มสิว ภาวะแทรกซ้อนของ สิวอักเสบหัวหนอง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเป็นสิวอักเสบหัวหนอง มีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงของสีผิวบริเวณที่เป็นสิวอักเสบหัวหนอง โดยในผู้ที่มีผิวขาว เมื่อสิวอักเสบหัวหนองหายแล้วอาจทำให้สีผิวบริเวณที่เป็นสิวมีสีเข้มขึ้น สำหรับผู้ที่มีผิวคล้ำบริเวณที่เป็นสิวอาจมีสีจางลงกว่าสีผิวปกติหรือเข้มขึ้นก็ได้ รอยแผลเป็น ผิวบริเวณที่เป็นสิวอักเสบหัวหนองอาจเป็นหลุม หรือเป็นรอยแผลเป็นนูนเกิดขึ้นบนผิวหนังเป็นเวลานาน ที่สามารถหายเองได้ หรืออาจรักษาให้หายได้ยากขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผล การรักษาสิวอักเสบหัวหนอง สิวอักเสบหัวหนองอาจรักษาได้ด้วยการทำความสะอาดผิวหน้าและการใช้ครีมที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยผลัดเซลล์ผิว ดังนี้ กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) […]


สิว

สิวไม่มีหัว สาเหตุ อาการ และการรักษา

สิวไม่มีหัว เป็นสิวอุดตันชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นใต้ผิวหนัง อาจมีลักษณะคล้ายตุ่มนูน บวมแดง อักเสบ และมีอาการเจ็บปวด พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า หลัง หรือหน้าอก ซึ่งสิวไม่มีหัวอาจรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาสิวที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยผลัดเซลล์ผิว เพื่อช่วยให้สิวแห้งและค่อย ๆ หายไปเอง [embed-health-tool-heart-rate] สิวไม่มีหัว เกิดจากอะไร สิวไม่มีหัว อาจเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนเนื่องจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย เซลล์ผิวที่ตายแล้ว ขน และน้ำมันที่ผลิตจากต่อมไขมันหรือซีบัม (Sebum) นอกจากนี้ การทำความสะอาดผิวที่ไม่เหมาะสม เช่น การไม่ล้างเครื่องสำอางก่อนนอน ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีสารเคมี ขัดผิวหน้ารุนแรงเกินไป ใช้กระดาษซับมันถูใบหน้า ก็อาจทำให้เกิดการอุดตันของสิ่งสกปรกและเชื้อโรคใต้ผิวหนังและก่อตัวเป็นหนอง จนทำให้มีการอักเสบและความเจ็บปวด นอกจากนี้ สิวไม่มีหัวยังอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะในวัยรุ่น ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน และผู้หญิงตั้งครรภ์ มักมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากจนทำให้มีแนวโน้มเป็นสิว เหงื่อออกมาก อาจทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรคในรูขุมขน การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันอาจทำให้รูขุมขนเกิดการอุดตัน การใช้ยาบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ที่อาจทำให้ผิวบอบบางและอาจทำให้เป็นสิว ความเครียด ระดับฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มขึ้นอาจกระตุ้นการผลิตน้ำมันในรูขุมขน ซึ่งอาจทำให้รูขุมขนเกิดการอุดตัน อาการของสิวไม่มีหัว อาการของสิวไม่มีหัวอาจสังเกตได้ ดังนี้ มีก้อนหรือตุ่มเล็ก ๆ เกิดขึ้นบนผิวหนัง บวม […]


สิว

สิวฮอร์โมน รักษา ได้อย่างไรบ้าง และมีสาเหตุมาจากอะไร

สิวฮอร์โมน เป็นสิวที่ขึ้นบริเวณใบหน้า หรือแผ่นหลัง โดยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งส่งผลให้ต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากเกินไป จนทำให้หน้ามัน รูขุมขนอุดตันและเป็นสิว ทั้งนี้ สิวฮอร์โมน รักษา ได้หลายวิธี อย่างการรับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายการรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง เป็นต้น [embed-health-tool-ovulation] สิวฮอร์โมน คืออะไร สิวฮอร์โมนเป็นสิวที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เอสโตรเจน (Estrogen) หรือโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากกว่าปกติ และเมื่อรวมกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วจะก่อให้เกิดการหมักหมมมากขึ้นจนทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดเป็นสิว นอกจากนี้ เมื่อต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากกว่าปกติมักทำให้แบคทีเรียซี แอ็คเน่ (Cutibacterium Acnes หรือ C.acnes) บนผิวหนังเพิ่มจำนวน ซึ่งเป็นสาเหตุของผิวหนังอักเสบและสิว ทั้งนี้ สิวฮอร์โมนมีลักษณะเหมือนสิวทั่ว ๆ ไป คือมีทั้งสิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวหัวหนอง หรือสิวหัวช้าง โดยในช่วงวัยรุ่น สิวฮอร์โมนมักเกิดบริเวณทีโซน (T-zone) หรือหน้าผาก จมูก และคาง ในขณะที่วัยผู้ใหญ่ สิวฮอร์โมนมักปรากฏบริเวณแก้มและขากรรไกร ปกติแล้ว สิวฮอร์โมนจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงวัยต่าง ๆ มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นระหว่างตั้งครรภ์ มีประจำเดือน เข้าสู่วัยทอง หรือหลังจากหยุดใช้ยาคุมกำเนิด สำหรับปัจจัยอื่น […]


สุขภาพผิว

ขี้แมลงวัน เกิดจากอะไร กำจัดได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ขี้แมลงวัน เป็นจุดหรือตุ่มสีดำหรือน้ำตาลบนผิวหนัง มีลักษณะแบนราบหรือนูนเล็กน้อย มักพบตามผิวหนังบริเวณที่โดนแดดเป็นประจำ เช่น ใบหน้า แขน ขา ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่ขี้แมลงวันไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่หากต้องการกำจัดออก สามารถทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น จี้กรด ฉายแสงเลเซอร์ [embed-health-tool-bmi] ขี้แมลงวัน คืออะไร ขี้แมลงวันเป็นจุดหรือตุ่มขนาดเล็กบนผิวหนัง มีรูปร่างเป็นวงกลมหรือวงรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2-0.5 เซนติเมตร มีสีดำหรือน้ำตาล ลักษณะนูนหรือแบนราบ มักพบตามผิวหนังบริเวณที่โดนแสงแดดเป็นประจำ ไม่ทำให้เจ็บหรือระคายเคือง ขี้แมลงวันมีข้อแตกต่างจากกระ คือ เมื่อขี้แมลงวันเกิดขึ้นแล้วจะอยู่ถาวรและไม่จางลงในขณะที่กระอาจจางลงได้หากโดนแสงแดดน้อยลง และกระมักเกิดจากกรรมพันธุ์ ขี้แมลงวัน เกิดจากอะไร ขี้แมลงวันเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เมลาโนไซท์ (Melanocyte) ในผิวหนังที่ทำหน้าที่ผลิตเมลานิน (Melanin) หรือเม็ดสีให้กับผิวหนัง ซึ่งถูกกระตุ้นจากรังสีอัลตราไวโอเลต ทั้งจากการเผชิญกับแสงแดดโดยตรงเมื่ออยู่กลางแจ้ง การอาบแดด รวมถึงจากการส่องไฟหรือการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคบางชนิด นอกจากนี้ ในบางกรณีอาจพบขี้แมลงวันเป็นจำนวนมากผิดปกติตั้งแต่เกิด อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ กลุ่มอาการนูแนน (Noonan Syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีน ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติที่ใบหน้า หัวใจ การมองเห็น การได้ยิน การเจริญเติบโต กล้ามเนื้อ และกระดูก ในรูปแบบและระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน โดยหนึ่งในอาการของโรคนี้มักปรากฏขี้แมลงวันขึ้นตามผิวหนัง กลุ่มอาการคาวเดน (Cowden […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

หน้าหย่อนคล้อย เกิดจากอะไร และวิธีทำให้ผิวกลับมาเต่งตึงอย่างไร

หน้าหย่อนคล้อย เหี่ยวย่น และมีริ้วรอยก่อนวัยอันควร อาจเกิดจากผิวขาดการบำรุงสม่ำเสมอ รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด การสูบบุหรี่ หรือเซลล์ผิวเสื่อมสภาพตามช่วงอายุ อย่างไรก็ตาม หากอยากฟื้นฟูผิวให้มีสุขภาพดี กระชับเต่งตึง และดูอ่อนกว่าวัย ควรศึกษาวิธีการดูแลผิวหน้า หรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmr] หน้าหย่อนคล้อย เกิดจากอะไร หน้าหย่อนคล้อย ที่อาจส่งผลให้มีริ้วรอยก่อนวัย อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ อายุมากขึ้น อาจทำให้เซลล์ผิวเสื่อมสภาพและอาจทำให้การผลิตคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น รวมถึงการผลิตน้ำมันบนใบหน้าลดลง ส่งผลให้ผิวหน้าแห้งกร้าน มีริ้วรอยและผิวหน้าหย่อนคล้อย รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด อาจทำลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในชั้นผิวหนัง เช่น คอลลาเจน อีลาสติน (Elastin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น และช่วยยึดเซลล์ผิวให้เรียงตัวกัน จึงส่งผลให้ผิวหนังสูญเสียความแข็งแรง ขาดความยืดหยุ่น จนทำให้ผิวหย่อนคล้อยและเกิดริ้วรอยก่อนวัย ขาดการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเอ ที่อาจช่วยป้องกันเซลล์เสื่อมสภาพเนื่องจากอนุมูลอิสระ จึงอาจช่วยลดการเกิดริ้วรอยและผิวหย่อนคล้อย การแสดงออกทางสีหน้ามากเกินไป เช่น ยิ้ม หัวเราะ เครียด เนื่องจากอาจต้องใช้กล้ามเนื้อบนผิวหน้ามากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อผิวหน้าเสื่อมสภาพและสูญเสียความยืดหยุ่นของผิว นำไปสู่การเกิดร่องลึกใต้ผิวหนัง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน