สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้าที่สุด เพราะน้ำเปล่าเป็นสารธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีเจือปน มีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย และผิวผู้ที่เป็นสิว หลายคนจึงเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดสำหรับผิวหน้า แต่ความเชื่อนี้จะจริงหรือเท็จประการใด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณค่ะ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่? การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับผิวหน้าเสมอไป เพราะตลอดทั้งวันเราเจอทั้งมลภาวะต่าง ๆ และฝุ่นละออง ยิ่งคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าด้วยล่ะก็ การใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดผิวหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดูดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางค์บนผิวหน้าออกได้อย่างสะอาดหมดจรด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนอีกด้วย ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าควบคู่ด้วย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผิวหน้า และเหมาะสมกับลักษณะของผิวหน้าคุณ อย่างไรก็ตาม ผิวหน้าของแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน การทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะสำหรับบางคน ทั้งนี้ทั้งนั้นให้คุณลองสังเกตใบหน้าของตนเองว่าหากทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เหมาะกับผิวหน้าของคุณหรือไม่ หากไม่เหมาะสมให้ปรับเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อความสมดุลของผิว 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า น้ำเปล่า มีประโยชน์ที่ดีต่อผิวหน้ามากกว่าที่คุณคิด โดย 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า มีดังต่อไปนี้ สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาดผิวหน้า  ลดการเสียดสีกับผิวหน้า ช่วยลดการระคายเคืองกับบริเวณผิวหนัง ปลอดภัยต่อผิวหน้า เพราะมีน้ำมีความอ่อนโยนปราศจากสารเคมี เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า  ลดความเสี่ยงในการลอกคราบน้ำมันตามธรรมชาติของผิว ช่วยปกป้องเกราะป้องกันผิว ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนง่าย ๆ ในการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ในตอนเช้าให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าสะอาด และซับหน้าด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ซับเบา ๆ ให้แห้งที่ผิวหน้า จะช่วยลดการเสียดสีและลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ในช่วงตอนกลางคืน […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

สุขภาพผิว

ผิวด่างขาว สาเหตุ การรักษา และการดูแลตัวเอง

ผิวด่างขาว เป็นปัญหาผิวหนังที่มีจุดด่างขาวไม่สม่ำเสมอ เกิดจากการขาดเมลานิน (Melanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีในผิวหนัง สามารถเกิดขึ้นได้บนผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย แต่อาจพบได้บ่อยบนใบหน้า คอ มือ และตามรอยพับของผิวหนัง ส่งผลให้ผิวหนังบอบบาง อ่อนแอ และอาจก่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อน เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาสายตา ปัญหาผิว รวมถึงอาจทำให้เสียความมั่นใจ ดังนั้น การรักษาและการดูแลตัวเองจึงอาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น และปกป้องผิวให้สุขภาพดีขึ้น ผิวด่างขาว เกิดจากอะไร ผิวด่างขาว เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ซึ่งมีหน้าที่ทำให้ผิวหนังมีสีโดนทำลาย ให้ตายลงหรือหยุดการสร้างเม็ดสีเมลานิน ที่เป็นเม็ดสีผิวตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ผิว ผม ดวงตา ส่งผลให้ผิวหนังบางส่วนขาวกว่าปกติเนื่องจากไม่มีเม็ดสีอยู่ ซึ่งปัญหาผิวด่างขาวอาจยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่อาจถูกกระตุ้นได้จากความผิดปกติเหล่านี้ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำลายเซลล์ในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดสีผิว พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีปัญหาผิวด่างขาว ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาผิวด่างขาวได้เช่นกัน สภาพแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติ เช่น การถูกแดดเผาอย่างรุนแรง ความเครียดเรื้อรัง การบาดเจ็บที่ผิวหนังอย่างรุนแรง ปัญหาแทรกซ้อนของผิวด่างขาว ปัญหาผิวด่างขาวอาจก่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนทางผิวหนังอื่น ๆ ดังนี้ ผิวอ่อนแอ เนื่องจากผิวบางส่วนขาดเม็ดสีเมลานินที่มีหน้าที่ในการปกป้องผิวจากการทำร้ายของแสงแดด จึงอาจทำให้ผิวเสื่อมสภาพและอ่อนแอได้ง่าย เกิดปัญหาผิวได้ง่าย เช่น ผิวแห้งกร้าน […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

ผื่นแพ้ฝุ่น มีอาการอย่างไร และรักษาอย่างไรได้บ้าง

ผื่นแพ้ฝุ่น หรือที่เรียกว่า แพ้ฝุ่น เป็นอาการที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองผิดปกติต่อฝุ่นละอองในอากาศหรือมูลของไรฝุ่น โดยทั่วไป ผื่นแพ้ฝุ่นมักก่อให้เกิดอาการคัดจมูก ไอ จาม คันจมูก ตาแดง ผื่นขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวในลักษณะที่ไม่รุนแรงนัก แต่ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงซึ่งมักจะรบกวนดำเนินชีวิตประจำวัน ควรไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] ผื่นแพ้ฝุ่น คืออะไร มีสาเหตุจากอะไร ผื่นแพ้ฝุ่นคือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อรา รวมถึงฝุ่นละอองในอากาศจนเป็นสาเหตุให้มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น ไอ จาม คัดจมูก มีผื่นขึ้น นอกจากนี้ ผื่นแพ้ฝุ่นยังหมายรวมถึงการแพ้ไรฝุ่นหรือแมลงขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในฝุ่นซึ่งเกาะตามฟูก เครื่องนอน หรือเสื้อผ้า โดยไรฝุ่นเหล่านี้จะกินผิวหนังที่ตายแล้วของมนุษย์และสัตว์เป็นอาหาร และถ่ายมูลไว้ในฝุ่น เมื่อสูดไรฝุ่นเข้าร่างกายจึงก่อให้เกิดอาการแพ้ ทั้งนี้ แพ้ฝุ่นจัดเป็นหนึ่งในโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุดและอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคผิวหนังอาการกำเริบได้เช่นเดียวกับการแพ้อากาศ ผื่นแพ้ฝุ่นมีอาการอย่างไร เมื่อผู้ที่แพ้ฝุ่นสูดสารก่อภูมิแพ้อย่างฝุ่นละอองในอากาศหรือมูลของไรฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานอย่างผิดปกติจะตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้เสมือนเป็นสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค ด้วยการกระตุ้นให้มาสต์เซลล์ (Mast Cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งหลั่งสารฮิสทามีน เข้าสู่กระแสเลือดและเป็นเหตุให้มีผื่นขึ้นรวมทั้งก่อให้เกิดอาการแพ้ต่าง ๆ ตามมา ดังนี้ จาม ตาแดง คันรอบดวงตา น้ำตาไหล คัดจมูก ไอ น้ำมูกไหลลงลำคอ นอกจากนี้ ในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด จะพบอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย หายใจไม่ออก หายใจเสียงดัง แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ เนื่องจากหายใจไม่ออก ไอ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ยาแก้ผมร่วง มีกี่ชนิด ออกฤทธิ์แตกต่างกันอย่างไร

ยาแก้ผมร่วง เป็นยารักษาอาการผมร่วงในผู้ที่มีผมร่วงแล้วผมไม่งอกใหม่ ทำให้ผมค่อย ๆ บางลงหรือหัวล้าน ทั้งนี้ ยาแก้ผมร่วงมีทั้งชนิดใช้ทาภายนอกหรือชนิดสำหรับรับประทานซึ่งออกฤทธิ์แตกต่างกันไป เช่น ไมน็อกซิดิล (Minoxidil) ออกฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผม ผ่านการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและการเติบโตของรูขุมขน ฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) ออกฤทธิ์ยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วงและต่อมลูกหมากโต [embed-health-tool-bmi] ผมร่วงเกิดจากอะไร ปกติแล้ว เส้นผมบนหนังศีรษะของมนุษย์จะร่วงวันละ 100-150 เส้น และผมงอกใหม่ขึ้นทดแทนสม่ำเสมอ แต่ในบางราย ผมอาจร่วงโดยไม่มีผมงอกใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ พันธุกรรม หรือเรียกว่า ภาวะผมบางจากพันธุกรรม นับเป็นสาเหตุหลักของปัญหาผมร่วง เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงเมื่อมีอายุมากขึ้น ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุของผมร่วงแบบชั่วคราวที่เกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ ให้กำเนิดบุตร อยู่ในช่วงวัยทอง หรือมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคข้ออักเสบ โรคซึมเศร้า โรคเกาต์ มะเร็ง การฉายรังสีหรือเคมีบำบัด เพื่อรักษาโรคมะเร็ง มักมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงหลังจากการรักษาได้ การใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สำหรับเส้นผม ได้แก่ ยาย้อมผม น้ำยาฟอกสีผม […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมแห้ง สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องกัน

ผมแห้ง แตกปลาย จับแล้วรู้สึกแห้งสากเหมือนไม้กวาด อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาหนังศีรษะและเส้นผม ที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น สภาพแวดล้อม พฤติกรรมการดูแลเส้นผม ดังนั้น จึงควรเร่งฟื้นฟูผมแห้งอย่างเร่งด่วน เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ผมขาดหลุดร่วง มีรังแค และอาจทำให้สูญเสียความมั่นใจได้ สาเหตุที่ทำให้ผมแห้ง สาเหตุที่ทำให้ผมแห้ง อาจมีดังนี้ อายุมากขึ้น อาจทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพลง อาจทำให้ต่อมไขมันบนหนังศีรษะผลิตน้ำมันน้อยลง ส่งผลให้เส้นผมขาดความชุ่มชื้นและผมแห้ง หนังศีรษะแห้ง เกิดจากน้ำมันบนหนังศีรษะไม่เพียงพอ ทำให้เส้นผมและหนังศีรษะขาดความชุ่มชื้น ซึ่งอาจทำให้ผมแห้ง หนังศีรษะเป็นสะเก็ด มีรังแค และผมขาดร่วง สภาพแวดล้อม อากาศที่ร้อน มีแสงแดดและลมแรง รวมถึงการสัมผัสกับน้ำทะเลและน้ำในสระว่ายน้ำบ่อยครั้ง อาจทำให้ผมแห้ง ผมเสีย และแตกปลายได้ ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ อาการเบื่ออาหาร ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) ฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง (Hyperparathyroidism) โรคบูลิเมีย (Bulimia) หรือโรคล้วงคอ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติและล้วงคอเพื่ออาเจียนอาหารออก โรคเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการหล่อเลี้ยงหนังศีรษะและเส้นผม จึงส่งผลให้ผมแห้ง พฤติกรรมการดูแลเส้นผมและหนังศีรษะไม่ดี เช่น สระผมบ่อยเกินไป การใช้แชมพูที่มีสารเคมีรุนแรง การใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมบ่อย การใช้ลมร้อนเป่าผมหรือดัดผม การย้อมสีผม การฟอกผม […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

Ulthera คืออะไร กระชับผิวหน้าได้จริงหรือไม่

Ulthera หรืออัลเทอรา เป็นวิธียกกระชับผิวหนังและลดริ้วรอยผ่านการฉายคลื่นอัลตราซาวด์ เพื่อกระตุ้นการสร้างโปรตีนคอลลาเจน (Collagen) และอิลาสติน (Elastin) โดยปกติ การยกกระชับผิวหนังหย่อนยานด้วยอัลเทอรามักเริ่มเห็นผลภายใน 2-3 เดือนหลังเข้ารับบริการและผิวหนังจะค่อย ๆ คืนกลับสู่สภาพเดิมหลังจากผ่านไปแล้วประมาณ1-2 ปี มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจทำ [embed-health-tool-bmr] Ulthera คืออะไร อัลเทอรา หรืออัลเทอราพี (Ultherapy) เป็นการฉายคลื่นอัลตราซาวด์ลงบนผิวหนัง เพื่อกระตุ้นการสร้างโปรตีนคอลลาเจนและอิลาสตินด้วยความร้อน ซึ่งจะช่วยยกกระชับผิวหนังที่หย่อนยานให้เต่งตึง และช่วยลดเลือนริ้วรอยต่าง ๆ ให้จางลงหรือหายไป คอลลาเจนและอิลาสตินมีคุณสมบัติทำให้ผิวหนังเต่งตึง กระชับ และชุ่มชื้น แต่เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตคอลลาเจนและอิลาสตินน้อยลง ทำให้ผิวหนังหย่อนคล้อยและมีริ้วรอยแห่งวัยต่าง ๆ เมื่อทำอัลเทอรา ผู้เชี่ยวชาญจะเลือกใช้พลังงานจากคลื่นอัลตราซาวด์ในระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและอิลาสตินในระดับชั้นความลึกของผิวที่แตกต่างกันซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และริ้วรอยที่ไม่ลึกมากนัก โดยจะช่วยกระชับผิวหนังและอาการหย่อนคล้อย และลดเลือนริ้วรอย ข้อดีของอัลเทอราคือไม่เป็นอันตราย ไม่ทำให้ผิวหนังเสียหาย ก่อให้เกิดผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย และไม่ต้องพักฟื้นหลังการรักษา ดังนั้น เมื่อเข้ารับบริการทำอัลเทอราเสร็จแล้ว จึงสามารถไปใช้ชีวิตประจำวันต่อได้ตามปกติ รวมทั้งไปทำงานหรือออกกำลังกายต่อได้ในทันที ขั้นตอนการทำอัลเทอรา การทำ Ulthera มีขั้นตอนเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ คุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญจะทำความสะอาดร่างกายส่วนที่ต้องการทำอัลเทอรา แล้วทาผิวหนังบริเวณดังกล่าวด้วยเจลอัลตราซาวด์ ซึ่งจะช่วยให้การฉายคลื่นอัลตราซาวด์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ ฉายคลื่นอัลตราซาวด์ลงบนผิวหนังบริเวณที่ต้องการ ผ่านเครื่องมือเฉพาะซึ่งวางแนบไปกับผิวหนัง ทั้งนี้ อัลเทอราอาจทำให้ผิวหนังรู้สึกร้อนหรือเจ็บเหมือนเข็มทิ่มเล็กน้อย […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ผิวแห้ง คัน ตกสะเก็ด สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

ปัญหา ผิวแห้ง คัน ตกสะเก็ด อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ การสัมผัสสารเคมี สภาวะทางสุขภาพ โรคผิวหนัง การรักษาอาจทำได้ด้วยการทายาบรรเทาอาการคัน ใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และดูแลผิวอย่างเหมาะสม ไม่แกะเกาเพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ หากดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบหมอผิวหนัง เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยและวางแผนรักษาอย่างเหมาะสม ผิวแห้ง คัน ตกสะเก็ด เกิดจากสาเหตุใด สาเหตุที่ทำให้ผิวแห้ง คัน ตกสะเก็ด อาจมีดังนี้ อายุ เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผิวหนังมักบางลงและไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้เหมือนเดิม อาจมีอาการผิวแห้ง คัน และตกสะเก็ดเป็นขุยได้ สารเคมีในผลิตภัณฑ์ เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ อาจมีฤทธิ์กัดกร่อนที่ทำให้บางคนมีอาการผิวแห้งลอก หรือเกิดอาการคันได้ อาการแพ้ เช่น แพ้เครื่องสำอาง แพ้เกสรดอกไม้ แพ้เหงื่อตัวเอง แพ้ฝุ่น เมื่อผิวสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ก็อาจทำให้เกิดผื่นแดง คัน ตกสะเก็ด และอาจมีอาการนานหลายวัน สภาวะทางสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคผิวหนังอย่างโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ผมบาง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

โดยปกติแล้ว ผมของคนเราจะร่วงประมาณวันละ 100-150 เส้นต่อวัน แต่หากผมหลุดร่วงมากจนทำให้มีเส้นผมบนหนังศีรษะน้อยหรือ ผมบาง กว่าปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย การขาดสารอาหาร โรคบางชนิด การใช้ยารักษาโรค ความเครียด ซึ่งอาจรักษาได้ด้วยการแก้ไขตามสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาผมบาง เช่น การใช้ยารักษา การปรับวิธีดูแลเส้นผมอย่างการหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนและสารเคมี การจัดการกับความเครียด รวมไปถึงรับการรักษาจากคุณหมอผิวหนัง ผมบาง เกิดจากอะไร ผมบางอาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติผมบาง มักเสี่ยงเกิดปัญหาผมบางได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ภาวะสุขภาพ เช่น การตั้งครรภ์ การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ มักส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง จนอาจนำไปสู่ปัญหาผมร่วงหรือผมบางลงได้ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การอดอาหารและการได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ เช่น ธาตุเหล็ก โปรตีน ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน อาจทำให้เกิดภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) ที่ทำให้เส้นผมหลุดร่วงเร็วกว่าวงจรเส้นผมตามปกติ ผมจึงร่วงง่ายและบางลง โรคบางชนิด เช่น โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ โรคดึงผมตนเอง (Trichotillomania) เป็นโรคทางจิตที่ทำให้ผู้ป่วยดึงผมตัวเองทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ โรคกลาก […]


สุขภาพผิว

ปัญหาผิว ที่พบบ่อยในแต่ละฤดูกาล และวิธีการดูแลสุขภาพผิวให้เนียนสวย

สภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูหนาว สามารถทำให้เกิด ปัญหาผิว ได้ เนื่องจากอาจมีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส ปนเปื้อนและแพร่กระจายอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน ซึ่งเชื้อเหล่านี้อาจทำให้ผิวอ่อนแอจนติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ สารเคมี ฝุ่นละออง มลภาวะ หรืออาการแพ้ต่าง ๆ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาผิวได้เช่นกัน ดังนั้น การดูแลผิวอย่างเหมาะสม จึงอาจช่วยปกป้องและส่งเสริมความแข็งแรงของสุขภาพผิวและลดปัญหาผิวที่อาจเกิดขึ้นได้ ปัญหาผิว ในช่วงฤดูร้อน ฤดูร้อนเป็นช่วงที่สภาพอากาศร้อน อบอ้าว มีแดดจัด และอุณหภูมิสูงมาก จึงอาจทำให้หลายคนเกิดปัญหาผิวได้ง่าย เนื่องจากแสงแดดจัดที่ทำร้ายผิว เหงื่อไคล และความอับชื้นตามผิวหนัง ที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคืองและอาการแพ้ นอกจากนี้ บริเวณร่างกายที่มีความอับชื้นมาก เช่น รักแร้ ง่ามมือ ง่ามเท้า ขาหนีบ ยังอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนังบางชนิด ดังนี้ โรคผื่นผิวหนังอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ความอับชื้น หรือสัมผัสกับสารระคายเคือง อาจทำให้มีอาการผื่นแดง คัน และผิวลอก โรคเกลื้อน เกิดจากการติดเชื้อราบนผิวหนัง อาจทำให้มีผื่นเป็นวงสีขาวหรือสีน้ำตาล พบได้บ่อยในบริเวณที่เหงื่อออกมาก ผดร้อน และผดผื่น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนมาก ทำให้มีเหงื่อออกมากจนอาจเกิดการอุดตันของต่อมเหงื่อ […]


โรคผิวหนังอักเสบ

ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง สาเหตุ ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลรักษา

ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการผิวแห้ง ผื่นแดง เป็นตุ่ม ผิวอักเสบ คันรุนแรง และผิวบอบบางแพ้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร โรคไข้ละอองฟาง โรคหอบหืด การติดเชื้อที่ผิวหนัง สีผิวไม่สม่ำเสมอ ปัญหาการนอนหลับ ปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งการดูแลตัวเองอาจเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันปัญหาผิวหนังอักเสบเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ ได้ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นอย่างไร ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นภาวะทางผิวหนังที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ทำให้มีอาการผิวแห้ง คัน ผิวหนา ผิวอักเสบ และผิวบอบบางแพ้ง่าย โดยปัญหาผิวหนังอักเสบเรื้อรังอาจมีแนวโน้มที่อาการจะลุกลามและรุนแรงขึ้น จนอาจทำให้เกิดความระคายเคืองทั่วร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้อาหาร โรคไข้ละอองฟาง และโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น สาเหตุของอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบเรื้อรังมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของยีนภายในร่างกายที่ทำให้สภาพผิวหนังอ่อนแอ ผิวจึงไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นและทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรค สารระคายเคือง และสารก่อภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบางกรณี ผิวหนังอักเสบเรื้อรังอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังมากเกินไป จนลดประสิทธิภาพการทำงานของผิวหนัง ส่งผลให้ผิวหนังอ่อนแอและเกิดการอักเสบขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาผิวหนังอักเสบเรื้อรังขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้ แพ้อาหาร ผู้ที่เป็นผิวหนังอักเสบเรื้อรังมักมีอาการแพ้อาหารเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการลมพิษกำเริบ เช่น อาการคัน รอยแดง มีอาการปวด ผิวหนังบวม โรคหอบหืด และโรคไข้ละอองฟาง ผู้ที่เป็นผิวหนังอักเสบเรื้อรังบางคนอาจมีอาการหอบหืดและไข้ละอองฟางเกิดขึ้น ซึ่งอาการของโรคทั้ง […]


สุขภาพผิว

ไฝแดง เกิดจากอะไร เป็นอันตรายหรือไม่

ไฝแดง เกิดจากเส้นเลือดฝอยบริเวณผิวหนังขยายตัว ทำให้เกิดตุ่มสีแดงสด อาจขึ้นเป็นตุ่มเดี่ยวหรือขึ้นเป็นกลุ่ม สาเหตุที่ทำให้เกิดไฝแดงยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่มักพบไฝแดงเมื่ออายุมากขึ้นหรือเมื่ออยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ไฝแดงจัดเป็นเนื้องอกเส้นเลือดฝอยที่ไม่เป็นอันตราย แต่หากอยู่ในตำแหน่งที่เสียดสีกับเสื้อผ้าจนทำให้รู้สึกระคายเคือง มีเลือดออก หรือไฝแดงเพิ่มจำนวนและขยายตัวรวดเร็วผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอผิวหนังเพื่อรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม [embed-health-tool-heart-rate] ไฝแดง เกิดจากอะไร ไฝแดง (Cherry angioma) คือ เนื้องอกเส้นเลือดฝอยชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นตุ่มสีแดงสด สามารถเกิดขึ้นได้บนผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหน้าอก ไหล่ ท้อง ลำตัว แขน ขา และหลัง เกิดจากเส้นเลือดฝอยขยายตัวมากเกินไป อาจมีขนาดตั้งแต่เล็กเท่าปลายเข็มไปจนถึงมีขนาดใหญ่หลายเซนติเมตร และอาจเกิดเป็นกลุ่มในบริเวณใกล้เคียงกัน หากถูกเสียดสี ขัดถู เจาะ หรือตัดออก อาจทำให้มีเลือดออกได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไฝแดง มีดังนี้ อายุ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงในการเกิดไฝแดงได้มากกว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า การตั้งครรภ์ โดยปกติร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากต่อมใต้สมอง มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของรังไข่ ช่วยให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยในการสร้างน้ำนมและหลั่งน้ำนม เมื่อร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดความผิดปกติของชั้นผิวหนังจนทำให้เกิดเป็นไฝแดง ลักษณะของไฝแดง ไฝแดงมีลักษณะดังนี้ มีสีแดงสด อาจมีลักษณะเรียบเนียนไปกับผิวหรือนูนขึ้นเป็นตุ่ม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่า 1 มิลลิเมตรไปจนถึงหลายเซนติเมตร เป็นไฝทรงกลมหรือวงรี […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน