สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้าที่สุด เพราะน้ำเปล่าเป็นสารธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีเจือปน มีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย และผิวผู้ที่เป็นสิว หลายคนจึงเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดสำหรับผิวหน้า แต่ความเชื่อนี้จะจริงหรือเท็จประการใด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณค่ะ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่? การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับผิวหน้าเสมอไป เพราะตลอดทั้งวันเราเจอทั้งมลภาวะต่าง ๆ และฝุ่นละออง ยิ่งคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าด้วยล่ะก็ การใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดผิวหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดูดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางค์บนผิวหน้าออกได้อย่างสะอาดหมดจรด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนอีกด้วย ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าควบคู่ด้วย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผิวหน้า และเหมาะสมกับลักษณะของผิวหน้าคุณ อย่างไรก็ตาม ผิวหน้าของแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน การทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะสำหรับบางคน ทั้งนี้ทั้งนั้นให้คุณลองสังเกตใบหน้าของตนเองว่าหากทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เหมาะกับผิวหน้าของคุณหรือไม่ หากไม่เหมาะสมให้ปรับเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อความสมดุลของผิว 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า น้ำเปล่า มีประโยชน์ที่ดีต่อผิวหน้ามากกว่าที่คุณคิด โดย 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า มีดังต่อไปนี้ สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาดผิวหน้า  ลดการเสียดสีกับผิวหน้า ช่วยลดการระคายเคืองกับบริเวณผิวหนัง ปลอดภัยต่อผิวหน้า เพราะมีน้ำมีความอ่อนโยนปราศจากสารเคมี เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า  ลดความเสี่ยงในการลอกคราบน้ำมันตามธรรมชาติของผิว ช่วยปกป้องเกราะป้องกันผิว ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนง่าย ๆ ในการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ในตอนเช้าให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าสะอาด และซับหน้าด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ซับเบา ๆ ให้แห้งที่ผิวหน้า จะช่วยลดการเสียดสีและลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ในช่วงตอนกลางคืน […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

โรคผิวหนังติดเชื้อ

สังคังเป็นยังไง ควรดูแลตัวเอง และรักษาอย่างไร

สังคังเป็นยังไง อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะผู้ที่เสี่ยงในการเป็นโรค เช่น ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก และหมักหมมในบริเวณอับชื้น เช่น ขาหนีบ บั้นท้าย ต้นขาด้านใน และผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคเบาหวาน ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง สังคังเป็นการติดเชื้อทางผิวหนัง ส่งผลทำให้เกิดผื่นแดง เป็นตุ่ม ตกสะเก็ด และมีอาการคัน ซึ่งอาจพบได้บ่อยในผู้ชายที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ [embed-health-tool-bmi] สังคังเป็นยังไง สังคัง เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงเป็นรูปวงแหวน เป็นตุ่ม ตกสะเก็ด และมีอาการคันในบริเวณที่มีความอับชื้น โดยเฉพาะขาหนีบลามไปจนถึงต้นขาด้านใน บั้นท้าย อวัยวะเพศ มักพบในผู้ที่มีเหงื่อออกมากหรือผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากเหงื่อและบริเวณรอยพับของผิวหนังจะมีความอับชื้นมากจนอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราที่สามารถทำให้เกิดสังคัง สังคังแพร่กระจายได้อย่างไร สังคังเป็นโรคติดต่อที่อาจแพร่กระจายได้หลายรูปแบบ ดังนี้ การแพร่กระจายจากคนสู่คน เป็นการติดต่อของโรคที่พบมากที่สุด เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสกับอวัยวะเพศที่มีการติดเชื้อโดยตรง การแพร่กระจายจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังส่วนอื่น ๆ การเป็นสังคังบริเวณขาหนีบหรือต้นขาสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เนื่องจากการถอดกางเกงชั้นในอาจทำให้เท้า มือ หรือผิวหนังบริเวณใกล้เคียงสัมผัสกับเชื้อราที่อยู่บริเวณกางเกงชั้นใน ทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจาย การแพร่กระจายจากการสัมผัสกับวัตถุ เชื้อราสามารถแพร่กระจายในทุก ๆ ที่ เช่น ห้องน้ำ พื้น […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เกลื้อนเกิดจากอะไร รักษาให้หายได้หรือไม่

เกลื้อนเกิดจากอะไร? เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มมาลาสซีเซีย (Malassezia) โดยทั่วไป เกลื้อนพบบ่อยในผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะวัยรุ่น และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการของผู้ที่เป็นเกลื้อน คือ ผิวหนังเป็นจุดหรือปื้นที่มีสีอ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังส่วนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เกลื้อนไม่ใช่โรคอันตรายแต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อเป็นเกลื้อน ควรไปพบคุณหมอหรือเภสัชกรเพื่อรับยาต้านเชื้อรา ซึ่งมีทั้งชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน ยาน้ำ ครีม และแชมพูสำหรับใช้ภายนอก [embed-health-tool-bmi] เกลื้อนเกิดจากอะไร เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มมาลาสซีเซียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังของมนุษย์โดยบริโภคไขมันในรูขุมขนเป็นอาหาร โดยปกติ เชื้อราชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ ยกเว้นหากเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ เนื่องจากมีปัจจัยไปกระตุ้น เช่น ผิวหนังผลิตน้ำมันในปริมาณมาก สภาพอากาศร้อนชื้น การมีเหงื่อออกมาก การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง นอกจากนี้ เกลื้อนแตกต่างจากกลาก เพราะกลากเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับเชื้อรามาลาสซีเซียที่เป็นสาเหตุของเกลื้อน ทั้งนี้ เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในพื้นที่เขตร้อน หรือในช่วงฤดูร้อน และพบมากในวัยรุ่นเพราะเป็นวัยที่ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกทางผิวหนังมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ นอกจากนี้ เกลื้อนยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งอาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันมักอ่อนแอกว่าคนทั่วไป เกลื้อน มีอาการอย่างไร เมื่อป่วยเป็นโรคเกลื้อน ผิวหนังจะมีจุดหรือปื้นสีอ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังส่วนอื่น ๆ รวมถึงเกิดอาการคันและผิวลอก แห้งเป็นขุย ทั้งนี้ โรคที่มีอาการคล้ายกับเกลื้อนคือโรคด่างขาว ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติจนทำให้เม็ดสีผิวมีจำนวนน้อยกว่าปกติ และโรคผื่นกุหลาบ ซึ่งยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการคล้ายกับโรคเกลื้อน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัย โดยคุณหมออาจสำรวจผิวหนังบริเวณที่เป็นด้วยตาเปล่าหรือขูดผิวหนังบางส่วนไปตรวจการติดเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ เกลื้อน รักษาได้หรือไม่ เกลื้อนสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทาครีมหรือยาสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ […]


การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ

ยาปลูกผม ช่วยให้ผมขึ้นได้อย่างไร ใช้อย่างไรและเลือกอย่างไร

ยาปลูกผม เป็นยาที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะ ยับยั้งการอักเสบ และช่วยยับยั้งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงตามพันธุกรรม การใช้ยาปลูกผมในการรักษาจึงอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่และชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม อย่างไรก็ตาม ควรเลือกซื้อยาปลูกผมที่จำหน่ายตามท้องตลาดที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมถึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยาปลูกผม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-bmi] ยาปลูกผม ช่วยให้ผมขึ้นได้อย่างไร ยาปลูกผมที่จำหน่ายตามท้องตลาดในรูปแบบยาสระผม ยาทา หรือยารับประทาน อาจยังไม่มีผลการวิจัยที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่าสามารถใช้เพื่อปลูกผมให้ได้ผลจริงดั่งคำโฆษณา แต่ยาปลูกผมที่ใช้สำหรับการรักษาโรคผมบางตามพันธุกรรม ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาทางการแพทย์นั้น มีผลการวิจัยที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพในการรักษาว่าสามารถช่วยให้เส้นผมเจริญเติบโตได้ดีและลดปริมาณผมขาดหลุดร่วงได้ โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะ ยับยั้งการอักเสบ และยังยั้งการลดลงของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เกิดจากพันธุกรรม จึงสามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่และชะลอการหลุดร่วงของเส้นผมได้ การรักษาผมบางด้วยยาปลูกผม สำหรับยาปลูกผมที่มีงานวิจัยรองรับ ซึ่งอาจช่วยรักษาปัญหาผมร่วงที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อาจมีดังนี้ ยาไมน็อกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาปลูกผมที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรืออาจเป็นส่วนผสมที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ปลูกผมหลายยี่ห้อ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของเหลว โฟม หรือแชมพู มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมและชะลออัตราการหลุดร่วงของเส้นผม สำหรับการรักษาด้วยยาไมน็อกซิดิลอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 4-6 เดือน ควรใช้วันละ 2 ครั้ง เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Drug Design, Development and Therapy เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ไมน็อกซิดิลเพื่อรักษาความผิดปกติของเส้นผม พบว่า ไมน็อกซิดิลถูกพัฒนาสูตรเฉพาะขึ้นมาเพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและลดการหลุดร่วงของเส้นผม ในปัจจุบันมีการใช้ไมน็อกซิดิลเพื่อรักษาปัญหาผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม และสามารถใช้รักษาปัญหาผมร่วงอื่น ๆ เช่น ผมร่วงจากการใช้สารเคมี […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

สครับมะขาม ขัดผิวใสด้วยสูตรจากธรรมชาติ

สครับมะขาม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกายที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย เนื่องจากมะขามมีกรดผลไม้ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน อาจช่วยปรับสภาพผิวให้ดูกระจ่างใสและดูสุขภาพดีได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรขัดผิวด้วยสครับมะขามหรือสครับอื่น ๆ บ่อยเกินไป เนื่องจากการผลัดเซลล์ผิวบ่อย ๆ อาจทำให้ผิวบอบบาง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ และหลังสครับผิวควรบำรุงผิวด้วยมอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อไม่ให้ผิวขาดความชุ่มชื้น และควรทาครีมกันแดดทุกวัน เพื่อป้องกันผิวเสียหายจากรังสียูวี [embed-health-tool-ovulation] สครับมะขาม มีประโยชน์ต่อผิวอย่างไร เนื้อมะขามอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซี และกรดอัลฟาไฮดรอกซีหรือเอเอชเอ (Alpha Hydroxy Acids หรือ AHA) ซึ่งเป็นกรดผลไม้ที่มีส่วนช่วยขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวและการผลัดเซลล์ผิวใหม่ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกที่อาจอุดตันรูขุมขนและสะสมอยู่ที่ผิวหนัง การสครับผิวด้วยมะขามอย่างถูกวิธีและไม่บ่อยจนเกินไปจึงอาจช่วยให้ผิวที่หมองคล้ำดูกระจ่างและดูสุขภาพดีขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังสามารถผสมมะขามกับส่วนผสมอื่น ๆ  เช่น น้ำผึ้ง โยเกิร์ต เพื่อเพิ่มส่วนผสมที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงผิวหน้าและผิวกาย งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Naresuan University Journal เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 ศึกษาเกี่ยวกับอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ (Oil-in-water emulsion) ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากเนื้อมะขาม พบว่า ในเนื้อมะขามมีกรดอัลฟาไฮดรอกซี (AHAs) ซึ่งเป็นกรดผลไม้จากธรรมชาติที่นิยมนำมาใช้บำรุงผิวตั้งแต่อดีต กรดชนิดนี้มีคุณสมบัติในการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยการทำให้พันธะที่ยึดเซลล์ผิวที่ตายแล้วอ่อนแอลง ส่งผลให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น ทั้งนี้ การสครับผิวอาจทำให้ผิวระคายเคืองได้ จึงควรสครับผิวอย่างเบามือร่วมกับการบำรุงผิวด้วยวิธีอื่น ๆ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคไฟลามทุ่ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

โรคไฟลามทุ่ง คือ ภาวะที่ผิวหนังชั้นผิวหนังแท้ติดเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นอย่างรุนแรง เกิดเป็นผื่นแดงที่มีขอบเขตชัดเจน และมีอาการปวด บวม แสบร้อนร่วมด้วย อาการอาจลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณใกล้เคียงอย่างรวดเร็วคล้ายไฟลามทุ่ง มักเกิดในเด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อหลังตัดสายสะดือ ผู้ที่มีแผลหรือรอยถลอก ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากทิ้งไว้ไม่รักษาให้หายตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้การติดเชื้อลุกลามและแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmr] โรคไฟลามทุ่ง คืออะไร โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) คือ ภาวะติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นผิวหนังแท้อย่างรุนแรง มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเสตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ (Streptococcus group A) โดยเฉพาะเชื้อสเตรปโตคอคคัส ไพโอเจน (Streptococcus pyogenes) ซึ่งเป็นเชื้อประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปบนร่างกาย แบคทีเรียชนิดนี้จะก่อให้เกิดโรคเมื่อเข้าไปในเนื้อเยื่อผิวหนังและปล่อยสารพิษที่ทำให้ผิวหนังอักเสบ และเกิดผื่นแดงที่มีขอบชัดเจน รวมกับมีอาการปวด บวม แสบร้อน บริเวณแขน ขา รวมถึงที่บริเวณใบหน้า หากไม่รักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ที่ทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อตายหรือเปลี่ยนเป็นผื่นสีดำ หรืออาจติดเชื้อรุนแรงจนเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายจากชั้นผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต ลิ้นหัวใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับทารกแรกเกิด อาการติดเชื้อที่ผิวหนังของโรคไฟลามทุ่งอาจเกิดที่บริเวณท้อง เนื่องจากมักเกิดการติดเชื้อที่สะดือหลังการตัดสายสะดือ ส่วนเด็กและผู้ใหญ่มักมีอาการที่ใบหน้า แขน และขาเป็นหลัก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไฟลามทุ่ง ปัจจัยเสี่ยงของโรคไฟลามทุ่ง มีดังนี้ ผู้ที่เคยเป็นโรคไฟลามทุ่งมาก่อน […]


สุขภาพผิว

เป็นฝี เกิดจากอะไร และรักษาได้อย่างไร

ฝี คือ ตุ่มนูนใต้ผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยสามารถปรากฏเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ทั้งภายนอกและภายใน เช่น ใบหน้า ขาหนีบ รักแร้ ก้น หลัง หน้าอก คอ สมอง ไขสันหลัง ช่องท้อง และเหงือก หาก เป็นฝี หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ฝีมีขนาดใหญ่เกินไป มีไข้สูง ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที ก่อนเกิดการแพร่กระจายของเชื้อ ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองบวม เนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นฝีตาย การติดเชื้อที่กระดูก และเยื่อบุหัวใจอักเสบ สาเหตุที่ทำให้เป็นฝี สาเหตุที่ทำให้เป็นฝี เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) หรือเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (Streptococcus pyogenes) เมื่อแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะต่อสู้กับแบคทีเรีย ซึ่งอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อบางส่วนตาย และมีหนองสะสมจนกลายเป็นฝี อีกทั้งหากดูแลสุขอนามัยไม่ดีก็อาจทำให้เซลล์ผิวเก่าและสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันในรูขุมขน และทำให้ฝีอักเสบ เพิ่มขยายใหญ่ขึ้น และอาจส่งผลให้มีอาการปวดมากขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มโอกาสทำให้เป็นฝี เช่น โรคเบาหวาน โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคพิษสุราเรื้อรัง การทำเคมีบำบัด […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

IPL คืออะไร มีข้อดีข้อเสียต่อสุขภาพผิวอย่างไร

IPL ย่อมาจาก Intense Pulsed Light คือการฉายลำแสงความเข้มข้นสูง เพื่อช่วยดูแลผิวหน้าและผิวกาย เช่น การกำจัดขน ลดรอยดำรอยแดงจากสิว รักษาแผลเป็นนูน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า IPL จะมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพผิว แต่ก็อาจส่งผลข้างเคียงบางประการที่ทำร้ายผิวได้เช่นกัน เช่น ผิวแดง แสบร้อนผิว ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อดีและข้อเสียของการทำ IPL รวมถึงสถานบริการและประวัติคุณหมออย่างละเอียด เพื่อประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจทำ IPL [embed-health-tool-bmr] IPL คืออะไร ทำเพื่ออะไร IPL คือ การฉายลำแสงที่มีความเข้มข้นสูง โดยมีความยาวของคลื่นแสงตั้งแต่ 515-1,200 นาโนเมตร และสามารถปรับความยาวคลื่นให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ ใช้เพื่อรักษาปัญหาผิวต่าง ๆ คล้ายกับการทำเลเซอร์ โดยจะยิงแสงถี่ ๆ คล้ายกับแสงแฟลชไปยังผิวที่เป็นปัญหา เพื่อทำลายเนื้อเยื่อของผิวที่ไม่ต้องการ หรือช่วยลดเม็ดสีทำให้สีผิวที่เข้มจางลง การทำ IPL อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อผิวน้อยกว่าการทำเลเซอร์ เนื่องจาก IPL มีคลื่นแสงกระจายตัววงกว้าง จึงสามารถดูดซึมแสงเข้าไปยังผิวชั้นหนังแท้ โดยไม่ทำลายผิวชั้นหนังกำพร้า ในขณะที่แสงเลเซอร์จะมีคลื่นแสงกระจายเป็นวงแคบ ที่อาจทำลายชั้นผิวหนัง และก่อให้เกิดการระคายเคืองได้มากกว่า ผู้ที่เหมาะสำหรับการทำ IPL การทำ IPL อาจเหมาะกับคนในกลุ่มดังต่อไปนี้ […]


สุขภาพผิว

Sebaceous cyst (ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง) คืออะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

Sebaceous cyst หรือ ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง คือ ก้อนนูนใต้ผิวหนังที่เกิดจากรูขุมขนอุดตันเนื่องจากต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมากเกินไป ส่งผลให้ไขมันสะสมใต้ผิวหนัง ที่อาจมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ แต่มักไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจสับสนระหว่างซีสต์กับฝีได้เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายกัน ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาโดยคุณหมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ กำจัดก้อนนูน และทำให้ผิวกลับมาเรียบเนียน [embed-health-tool-bmi] Sebaceous cyst คืออะไร Sebaceous cyst คือ ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังที่มีลักษณะเป็นก้อนนูน มีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่ว ไปจนถึงขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย แต่พบได้บ่อยในบริเวณใบหน้า ลำคอ หนังศีรษะ หลัง และลำตัว ซีสต์อาจไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย และมักจะไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็งผิวหนัง  แต่หากติดเชื้อหรืออักเสบ อาจทำให้มีอาการปวด มีหนอง ผิวหนังแดงบวม รู้สึกเจ็บเมื่อถูกสัมผัส มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจนำไปสู่การเกิดฝีได้ สาเหตุของ Sebaceous cyst ซีสต์มีสาเหตุมาจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมามากจนเกินไป ทำให้รูขุมขนเสียหายและเกิดการอุดตัน จนน้ำมันส่วนเกินสะสมอยู่ใต้ผิวหนังก่อตัวเป็นก้อนนูนขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากท่อไขมันผิดรูปแต่กำเนิด เซลล์หรือต่อมไขมันได้รับความเสียหายในระหว่างผ่าตัด และภาวะทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการการ์ดเนอร์ (Gardner Syndrome) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่อาจทำให้มีติ่งเนื้อในลำไส้ เนื้องอกในกระดูก และซีสต์ที่ผิวหนัง การวินิจฉัย […]


สุขภาพผิว

อาการคันตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร

อาการคันตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นอาการของโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคลมพิษ ผิวแห้ง หรืออาการแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสารก่อความระคายเคือง ซึ่งมักเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างสบู่ ผงซักฟอก หรือเครื่องสำอาง โดยปกติ อาการคันตามตัวโดยไม่มีสาเหตุมักหายไปหลังจากดูแลตนเองในเบื้องต้น แต่หากอาการคันไม่ดีขึ้น หรือไม่หายไปภายใน 2 สัปดาห์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการคัน และประเมินการรักษาด้วยการให้ทายาแก้อักเสบหรือรับประทานยา [embed-health-tool-bmi] อาการคันตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไรได้บ้าง อาการคันตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุมักเกิดจากโรคหรือภาวะสุขภาพต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคหรือภาวะสุขภาพเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) โรคสะเก็ดเงิน โรคหิด โรคลมพิษ ผิวแห้ง ผิวไหม้ แมลงหรือสัตว์มีพิษกัดต่อย รวมถึงการสัมผัสกับสารที่ทำให้ผิวหนังระคายเคืองหรือแพ้ เช่น สบู่ เกสรดอกไม้ สเปรย์กำจัดแมลง สารกันเสียในอาหารหรือเครื่องสำอาง ครีมกันแดด ยาใช้ภายนอกบางชนิด โลหะบางชนิด ยางของพืชหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากยางพารา โรคหรืออาการป่วยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง เช่น โรคตับวาย ซึ่งผู้ป่วยบางคนจะมีเกลือน้ำดี (Bile Salt) สะสมอยู่ตามผิวหนังในปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการคันตามตัว […]


สิว

กําจัดสิวเสื้ยน ถาวร สามารถทำได้หรือไม่

สิวเสี้ยนเป็นปัญหาผิวที่เกิดจากความผิดปกติของรูขุมขน ทำให้มีเซลล์ขนสะสมอยู่ในรูขุมขนมากกว่าปกติ เมื่อรวมตัวกับไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว จึงเกิดเป็นจุดดำ เล็ก ๆ บริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณจมูก การ กําจัดสิวเสื้ยน ถาวร ให้ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก อาจไม่สามารถทำได้ 100% อย่างไรก็ตาม การใช้ยาทาเฉพาะที่และวิธีการอื่น ๆ เช่น การเลเซอร์ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดวิตามินเอหรือเรตินอยด์ อาจช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ผิวดูเรียบเนียนขึ้น ทั้งนี้ ไม่ควรบีบสิวเสี้ยน หรือกดสิวเสี้ยนด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อได้ [embed-health-tool-ovulation] สิวเสี้ยน คืออะไร สิวเสี้ยน (Trichostasis Spinulosa) เป็นภาวะทางผิวหนังที่เกิดจากรูขุมขนหรือต่อมขนทำงานผิดปกติ ทำให้รูขุมขน 1 รู มีขนขึ้นมากกว่า 1 เส้น อาจมีขนกระจุกอยู่ประมาณ 5-25 เส้น และโดยทั่วไปจะมีขนาดน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร เมื่อขนรวมตัวกับเซลล์ผิวที่ตายแล้วและไขมันในรูขุมขน จะเกิดเป็นสิวเสี้ยน ลักษณะเป็นจุดดำ ๆ ขนาดเล็ก สัมผัสแล้วรู้สึกสะดุดนิ้ว เหมือนมีหนามแหลม ๆ ขนาดเล็กขึ้นตามผิวหนัง มักพบในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น จมูก หนังศีรษะ หน้าอก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน