สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นอีกโรคที่คุณควรระมัดระวังเป็นอย่างมากไม่แพ้โรคประเภทอื่น ๆ เนื่องจากโรคนี้ค่อนข้างเชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ เพื่อให้ทุกคนรู้จักกับโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น มาฝากทุกคนให้ได้ลองศึกษา และทำความรู้จักกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) คืออะไร โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง คือ การพองตัว และนูนบวมของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่มีหน้าที่ในการลำเลียงเลือดจากหัวใจเข้าไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อที่หัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอก นอกจากนี้หากคุณปล่อยให้หลอดเลือดแดงพองตัวไปเรื่อย ๆ ไม่รีบเร่งรักษา ก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดนี้สามารถแตกออก ก่อให้เกิดโรคหัวใจบางอย่าง ไตพัง และถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเข้าสู่ภาวะเสี่ยงเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง นั้น ส่วนมากมักทำให้คุณต้องพบเจอกับอาการต่าง ๆ ดังนี้ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง หายใจลำบาก ไอ และเสียงแหบ ปวดท้อง เหงื่อออก อาเจียน วิงเวียนศีรษะ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หากคุณสังเกตถึงอาการผิดปกติ พร้อมรับการวินิจฉัยแล้วว่าคุณกำลังเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

โรคหัวใจ

วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ อีกหนึ่งสาเหตุโรคหัวใจ ทำได้อย่างไรบ้าง

ไตรกลีเซอไรด์ เป็นหนึ่งในไขมันที่มีอนุภาคขนาดเล็ก โดยปกติแล้วไตรกลีเซอไรด์เกิดได้จากการสังเคราะห์ของระบบร่างกายเรา แต่อาจน้อยกว่าการรับมาจากอาหารที่รับประทาน แต่หากมีปริมาณมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการร้ายแรงบางอย่างได้ วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ เบื้องต้น ที่คุณสามารถลงปฏิบัติด้วยตนเองง่าย ๆ  ก่อนเผชิญกับโรคที่ไม่อาจคาดเดาได้ ฝากทุกคนกันค่ะ ทำไม ไตรกลีเซอไรด์ จึงเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจได้ เนื่องจาก ไตรกลีเซอไรด์ เป็นหนึ่งในไขมันอีกชนิดที่อยู่ภายในเลือดของคุณ ที่เกิดจากแคลอรี่ในอาหารส่วนเกิน เมื่อใดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ ในร่างกายของคุณนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นสูง ก็จะสามารถส่งผลให้หลอดเลือดแดงมีการแข็งตัว ผนังของหลอดเลือดเริ่มหนา จนสร้างความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และโรคหัวใจได้ในที่สุด ระดับไตรกลีเซอไรด์ บ่งชี้สุขภาพได้อย่างไรบ้าง การตรวจเลือดอาจเป็นทางออกที่ดีที่ทำให้คุณรู้ถึงระดับ ไตรกลีเซอไรด์ แต่ยังคงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย โดยผลลัพธ์ปริมาณของระดับ ไตรกลีเซอไรด์ นั้น สามารถเช็คได้จากข้อมูลด้านล่าง ดังต่อไปนี้ ไตรกลีเซอไรด์ ระดับปกติ จะมีปริมาณที่น้อยว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ไตรกลีเซอไรด์ ระดับเริ่มสูง จะมีปริมาณ 150-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ไตรกลีเซอไรด์ ระดับสูง จะมีปริมาณ 200-499 […]


โรคความดันโลหิตสูง

ข้อแนะนำ ในการ อ่านค่าความดันโลหิต ด้วยตนเอง

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำเทคนิคดี ๆ ในการ อ่านค่าความดันโลหิต มาฝากกัน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ต้องการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน เอาล่ะ! จะมีวิธีการอ่านอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย การ อ่านค่าความดันโลหิต สำคัญอย่างไร? สิ่งแรกที่เราจะเห็นในการอ่าน ค่าความดันโลหิต คือ ตัวเลข 2 ตัว ที่บ่งบอกถึงระดับความดันโลหิตของคุณ หากความดันโลหิตของคุณปกติ จะอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท ในกรณีที่คุณมีความดันโลหิตมากกว่า 180/120 แสดงว่า คุณอยู่ในภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต ต้องได้รับการรักษาทันที  ความหมาย ค่าความดันโลหิต ที่คุณควรรู้ ในเบื้องต้น เราจะต้องรู้ ค่าความดันโลหิต ที่แสดงในเครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งเราสามารถวัดระดับความดันโลหิตได้ด้วยการใช้เครื่องวัดความดันที่ลำแขน โดยแสดง ค่าความดันโลหิต ออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (Systolic Blood Pressure) คือ ค่าที่บ่งบอกถึงความดันเลือด แรงดันในขณะที่หัวใจบีบตัว ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic Blood Pressure) คือ […]


โรคหัวใจ

หัวใจเต้นแรง สัญญาณเตือนของ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นแรง หมายถึงภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาที ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจต่าง ๆ รวมถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากไม่ทำการรักษา อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และอาจทำให้หัวใจเสื่อมโทรมลงได้ หัวใจเต้นแรง สัญญาณเตือนของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นแรง หมายถึงภาวะหัวใจเต้นเร็วเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไปตามอายุและสภาพร่างกายที่เป็นอยู่ แต่โดยปกติแล้วจะหมายถึงผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาที อาการหัวใจเต้นแรงอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การออกกำลังกาย หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่ในบางครั้ง อาการหัวใจเต้นแรงก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคอื่น รวมไปถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกเหนือจากอาการหัวใจเต้นแรงแล้ว ผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะก็อาจมีอาการอื่น ๆ แสดงให้เห็น ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค โดยอาการที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้ หายใจไม่ออก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเกือบจะเป็นลม หรือเป็นลม เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมากผิดปกติ อาการอ่อนเพลีย อย่างไรก็ตาม ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักพบในผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป จึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากมีอาการที่เข้าข่ายของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสม สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ   ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากสาเหตุและปัจจัย ดังต่อไปนี้ การดื่มแอลกอฮอล์ โรคเบาหวาน ดื่มกาแฟมากเกินไป โรคที่ส่งผลต่อหัวใจ […]


โรคความดันโลหิตสูง

5 วิธีง่าย ๆ ช่วย ลดความดันโลหิตสูง โดยไม่ต้องพึ่งยา

เราสามารถ ลดความดันโลหิตสูง ได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่สามารถลดความดันโลหิตได้ โดยไม่ต้องพึ่งยา แต่จะมีวิธีอะไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ [embed-health-tool-heart-rate] เราสามารถ ลดความดันโลหิตสูง ได้อย่างไร? โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ หากปล่อยไว้ในระยะยาวโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้นเราจึงควรทำการลดความดันโลหิตสูง หรือควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในอัตราคงที่ แต่ในการลดความดันโลหิตมักมีด้วยกันหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของแต่ละบุคคล ในเบื้องต้น หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่หากมีอาการรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาร่วมด้วย เพื่อควบคุมความดันโลหิต 5 วิธีลดความดันโลหิตสูงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยา เราสามารถลดความดันโลหิตสูงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยา ด้วยมีวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ ควบคุมน้ำหนัก เราต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และคอยสังเกตรอบเอว หากรอบเอวกว้างมากจนเกินไป (รอบเอวผู้ชายมากกว่า 40 นิ้ว และรอบเอวผู้หญิงมากกว่า 35 นิ้ว) อาจเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง ได้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 5-8 มิลลิเมตรปรอท  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยผัก […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

หัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว มีสาเหตุจากโรคร้ายแรงอะไร มาดูกัน

ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่จะเผชิญกับ หัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว แบบเฉียบพลัน แต่หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่กำลังมีภาวะนั้น ก็สามารถคาดเดาได้ว่าอาจมีโรคร้ายแรงบางอย่างเข้ามาแทรกซ้อน จนส่งผลให้การทำงานของหัวใจขวาล่างผิดปกติขึ้น เรามาดูกันดีกว่าว่าจะมีโรคใดบ้างที่จะสร้างผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ จนอาจนำไปสู่ ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากวันนี้ โรคร้ายแรงที่ทำให้ หัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว หัวใจห้องล่างขวา เป็นหนึ่งในสี่ห้องของหัวใจที่ตั้งอยู่ด้านล่างขวา ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและออกซิเจนไปยังปอดโดยผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ การที่ผู้ป่วยเผชิญกับ ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว อาจเป็นไปได้ว่า อาจจะมีโรคร้ายแรงหรือภาวะบางอย่างที่ส่งผลเชิงลบไปยังทำงานของหัวใจโดยตรง ดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ คือ โรคที่มักจะเป็นสาเหตุหลักในการเกิด ภาวะหัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มักจะมีคราบจุลินทรีย์เข้ามาอุดกั้นภายในหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจทำงานได้ช้า และหยุดลงในที่สุด ความดันโลหิตสูง ยิ่งเรามีความดันโลหิตสูงมากเท่าไหร่ หัวใจก็ยิ่งต้องทำงานหนักขึ้นมากเท่านั้น จนสุดท้ายอาจส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และระบบการทำงานอื่น ๆ จนทำให้หัวใจคุณเกิดอ่อนแรง และล้มเหลวในที่สุด โรคปอดเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง เป็นโรคที่สืบเนื่องมาจากการความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดง ส่งผลให้ปอดอาจมีการทำงานหนักขึ้น และส่งผลให้หัวใจห้องล่างขวาที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ต้องทำงานหนักมากขึ้นตามไปด้วย หากปล่อยทิ้งเอาไว้เป็นระยะเวลานาน ก็อาจทำให้เกิด ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว ในที่สุด เยื่อหุ้มหัวใจตีบ เยื่อหุ้มหัวใจมีลักษณะคล้ายกับพังผืดอยู่รอบ ๆ หัวใจ เมื่อใดที่เยื่อหุ้มหัวใจนี้เกิดการอักเสบ จนเกิดอาการบวมหนาขึ้น ก็อาจทำให้หัวใจไม่สามารถขยายตัวเพื่อสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ และส่งผลให้เกิด ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว ได้ นอกเหนือจากภาวะต่าง ๆ ทางสุขภาพที่กล่าวมานั้น อาจมีสาเหตุอื่น ๆ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ภาวะไขมันในเลือดสูง กับสัญญาณเตือนเบื้องต้น ที่คุณควรทราบ

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นอีกภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ แต่เราจะสามารถสังเกตตนเองอย่างไรได้บ้างว่ากำลังมี ไขมันในเลือดสูง อยู่หรือไม่นั้น วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับสัญญาณเตือนเบื้องต้นของ ไขมันในเลือดสูง ให้ทุกคนได้เริ่มลองเช็กตัวเองไปพร้อม ๆ กันค่ะ ภาวะไขมันในเลือดสูง คืออะไร ภาวะไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) เกิดจากการที่ในเลือดคุณมีระดับไขมันสูงมากผิดปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการสืบทอดมาจากพันธุกรรมของคนในครอบครัว การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย โดยปกติแล้ว ภายในร่างกายของเราจะประกอบไปด้วยไขมันหลากหลายชนิด แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้ ไขมันที่ดีต่อร่างกาย (High-density lipoprotein ; HDL) ไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย (Low-density lipoprotein ; LDL) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) หากระดับของ ไขมันในเลือดสูง มากเกินไป อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่รุนแรงตามมาได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคอ้วน สัญญาณเตือนภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยที่มีระดับ ไขมันในเลือดสูง ระยะแรกเริ่มอาจไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นเด่นชัดมากนัก แต่ถึงอย่างไรในบางครั้งก็อาจเผยสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ เจ็บหน้าอก หายใจถี่ […]


คอเลสเตอรอล

กินไข่ต้มวันละ 2 ฟอง ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ ได้จริงหรือ?

หลายคนอาจทราบกันดีว่า ไข่ เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีต จนถึงปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักที่อยู่คู่แทบทุกเมนู เนื่องจากไข่ค่อนข้างมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก แต่ล่าสุดได้มีการถกเถียงถึงประเด็นการ กินไข่ต้มวันละ 2 ฟอง ว่าอาจมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว ว่าจะมีข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน การกิน ไข่ต้ม ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจจริงหรือไม่ มาร่วมหาคำตอบด้วยกันเลยค่ะ กินไข่ต้มวันละ 2 ฟอง ดีต่อสุขภาพหัวใจจริงเหรอ การรับประทาน ไข่ต้ม หรือไข่ในรูปแบบอื่น ๆ หากต้องการจะให้เกิดผลดีต่อการทำงานของหัวใจ คุณควรรับประทานไม่เกินวันละ 3 ฟอง หรือประมาณ 1-2 ฟอง ต่อวันเท่านั้น มีงานวิจัยบางส่วนแสดงหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า การรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง จะให้คอเลสเตอรอลในปริมาณที่ค่อนข้างมีความปลอดภัย งานวิจัยนั้นไม่พบว่าการรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง จะส่งผลให้เกิดโรคหัวใจแต่อย่างใด นอกเสียจากว่าคุณจะรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลสูง เพราะอาหารเหล่านี้มักสร้างผลเสียทำให้เพิ่มระดับคอเลสเตอรอล นำไปสู่ไขมันสะสม และการเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มเติมขึ้น เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานหรือการวิจัยใดที่บ่งชี้ว่า การรับประทาน […]


ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

ไม่มีความรัก แต่กลับมี อาการใจสั่น จะแก้อย่างไรดีนะ

อาการใจสั่น ฟังดูแล้วเหมือนอาการของคนที่กำลังหวั่นไหว มีความรัก แต่สำหรับในทางสุขภาพแล้ว อาการใจสั่นอาจจะเกิดขึ้นจากสภาวะต่าง ๆ ที่ทั้งเป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากจะมาแนะนำเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาอาการ ใจสั่น ให้อยู่หมัด ไม่มากวนใจคุณอีกต่อไป ใจสั่น เกิดจากอะไร อาการใจสั่น (Heart Palpitations) ที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงอาการที่เกิดขึ้นเวลาที่คุณรู้สึกพิเศษกับใครสักคน แต่หมายถึงอาการที่หัวใจเต้นเร็ว สั่นระรัว หรือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่ง ที่อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล คาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การตั้งครรภ์ การออกกำลังกาย หรือการออกแรงต่าง ๆ การใช้ยาบางชนิด ภาวะขาดน้ำ ความผิดปกติของหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias) ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หัวใจล้มเหลว หากอาการใจสั่นเกิดจากโรคหรือสภาวะแฝง คุณอาจต้องทำการรักษาสภาวะที่เป็นสาเหตุของอาการใจสั่นนั้น ๆ แต่หากอาการใจสั่นที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากโรคหรือสภาวะแฝงใด ๆ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ก็อาจช่วยให้คุณสามารถรับมือหรือช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการ ใจสั่น ได้ เทคนิคแก้ไขปัญหา […]


โรคหัวใจ

ระวัง! นั่งนาน เกินไปอาจเสี่ยงเป็น โรคหัวใจ ได้นะ

การนั่งเป็นอิริยาบถอย่างหนึ่งที่เรามักปฏิบัติกันอยู่แทบตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงาน นั่งรับประทานอาหาร นั่งพักผ่อน เป็นต้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่า หากเรา นั่งนาน จนเกินไป ไม่ลุกยืดเส้นยืดสายบ้าง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคหัวใจ ได้ บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงขอนำเทคนิคการนั่งที่ถูกต้องมาฝาก ทุกคนจะได้ลองปรับปรุงรูปแบบการนั่งในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม ก่อนเผชิญกับภาวะทางสุขภาพดังกล่าว ทำไม นั่งนาน จึงเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ศาสตราจารย์จาก University of Houston กล่าวถึงงานวิจัยของเขาที่แสดงให้เห็นว่า คนวัยผู้ใหญ่มักใช้เวลามากกว่า 9 ชั่วโมง ในการอยู่เฉย ๆ เราจึงควรหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายกันให้มากขึ้น หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยหันมาออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน เพราะร่างกายของเราทุกคนถูกสร้างมาให้เคลื่อนไหว ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้อยู่กับที่ อีกทั้งการอยู่กับที่เป็นเวลานานก็ทำให้ร่างกายของคุณอยู่ในภาวะที่แทบไม่ต่างจากร่างกายของผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นโคม่า เพราะหากร่างกายไม่ได้ทำงาน ระบบเผาผลาญก็จะไม่ถูกกระตุ้น ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดได้ ไม่อยากนั่งนาน ควรตั้งเป้าหมายอย่างไรดี งานศึกษาชิ้นหนึ่งแนะนำว่า ผู้ที่มักชอบนั่งเป็นเวลานานควรตั้งเป้าหมายให้ตนเอง คือ ต้องลุกขึ้นยืนบ้าง และมีการเคลื่อนไหวทุก ๆ 30 นาที หรือนั่งให้น้อยกว่า 10 […]


ภาวะหลอดเลือดแข็ง

ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)

ภาวะหลอดเลือดแข็ง หรือ ภาวะหลอดเลือดตีบ (Atherosclerosis) เกิดจากคราบไขมันพังผืดหรือหินปูน (Plaque) สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดแข็งตัวหรือตีบตัน จนทำให้การไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำได้ไม่ดี ส่งผลให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายขาดเลือด คำจำกัดความภาวะหลอดเลือดแข็ง คืออะไร  ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงเกิดการตีบและแข็งตัว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสะสมของคราบไขมันพังผืดหรือหินปูน (Plaque) เมื่อหลอดเลือดแดงเกิดการตีบตันและแข็งตัว จะทำให้การลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังหัวใจและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายทำได้ยากขึ้น ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดการขาดแคลนเลือดและออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ คราบไขมัน (Plaque) ยังสามารถแตก และทำให้เกิดลิ่มเลือด หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหลอดเลือด อาจนำไปสู่อาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจล้มเหลวได้ ภาวะหลอดเลือดแข็ง พบได้บ่อยแค่ไหน ส่วนใหญ่แล้ว อาการหลอดเลือดแข็ง มักจะแสดงอาการเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยกลางคนขึ้นไป เมื่อการตีบแคบลงอย่างรุนแรง อาจทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี และทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ การอุดตันยังสามารถแตกออกอย่างกะทันหัน นั่นทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนภายในหลอดเลือดแดงที่บริเวณรอยแตก อาการอาการของภาวะหลอดเลือดแข็ง โดยปกติแล้ว ภาวะหลอดเลือดแข็งมักจะไม่แสดงอาการ จนกว่าหลอดเลือดจะเกิดการตีบตันหรืออุดตัน จนไม่สามารถลำเลียงเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ บางครั้งลิ่มเลือดก็จะทำให้เกิดการอุดตัน ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด อาการของภาวะหลอดเลือดแข็ง จะมีอาการในระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับหลอดเลือดว่าได้รับผลกระทบอย่างไร ซึ่งอาการส่วนใหญ่ที่มักจะเกิดขึ้น มีดังนี้ อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบแคบลง อาการชา แขนขาอ่อนแรงอย่างกะทันหัน พูดไม่ชัด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน