สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ความชรา เป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกหนีได้ ทั้งร่างกายและจิตใจของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง อาจสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย มีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงไม่ควรพลาด

การเดินเป็นวิธีรักษาสุขภาพที่ทำได้ง่าย ๆ ไม่สิ้นเปลือง เป็นการออกกำลังกายที่อิสระไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย สามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย แล้ว ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบกันเลย การเดินออกกำลังกายมีกี่แบบ การเดินออกกำลังกายมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เดินช้า คล้ายเหมือนการเดินเล่นทั่วไป หรือเป็นการเดินแบบจงกรม เดินเร็ว เป็นรูปแบบการเดินที่ง่าย และเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้น Brisk walking คือ การเดินเร็วกว่าการเดินทอดน่องแบบธรรมดา Power Walking คือ การเดินในจังหวะที่เร็วกว่าการเดินปกติ หรือมีการเพิ่มก้าวเดินทีละน้อย โดยแกว่งแขนไปมาขณะเดินไปด้วย เดินแข่ง เดินเร็วจนพูดไม่เป็นคำ พูดคุยกันไม่ได้ศัพท์ เนื่องจากมีความเหนื่อยมากกว่าเดินช้ารวมถึงการเดินเร็ว เพราะมีความรู้สึกการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวข้อง การเดินดีสำหรับผู้สูงอายุหรือไม่ คำตอบคือ ใช่ ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ดี ๆ ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะด้านร่างกาย สุขภาพ และสังคม สำหรับผู้สูงอายุที่มีร่างกายแข็งแรงสามารถทำได้ โดยสำหรับผู้เริ่มต้น การเดินนั้นมีแรงกระแทกต่ำ หมายความว่าเป็นวิธีที่ง่ายต่อการออกกำลังกาย สามารถปรับสุขภาพ และ สมรรถภาพทางกายโดยรวม ซึ่งการเดินร่วมกับผู้อื่นก็ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าการเดินจะไม่ได้เผาผลาญพลังงานได้มากเท่ากับการออกกำลังกายแบบประเภทอื่น ๆ แต่การเดินก็ถือเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ สำหรับผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญสำหรับ ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย […]

หมวดหมู่ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ เพิ่มเติม

สูงวัยอย่างมีพลัง

สำรวจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ท้องผูกในผู้สูงอายุ สามารถแก้ไขได้อย่างไร

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหารอาจเริ่มมีปัญหา ทำให้อาจส่งผลต่อระบบขับถ่าย ท้องผูกในผู้สูงอายุ อาจสร้างความยากลำบาก ไม่สบายตัวให้กับผู้สูงอายุ อาจถ่ายอุจจาระโดยใช้เวลามากกว่าปกติ อุจจาระอาจมีลักษณะแข็ง แห้ง และก้อนเล็ก รวมถึงถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการท้องผูกในผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้น ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหารของผู้สูงอายุอาจมีปัญหา ส่งผลให้ผู้สูงอายุท้องผูก โดยอาจถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลาในการถ่ายนานกว่าปกติ ลักษณะของอุจจาระเป็นก้อนเล็ก แข็ง และแห้ง รวมถึงรู้สึกเหมือนยังถ่ายไม่เสร็จ สาเหตุของท้องผูกในผู้สูงอายุ   สาเหตุของท้องผูกในผู้สูงอายุ อาจมีหลายปัจจัยดังต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีใยอาหาร หรือไฟเบอร์น้อย ทำให้ลำไส้ไม่มีตัวกระตุ้นช่วยทำให้ขับถ่าย ดื่มน้ำไม่เพียงพอในแต่ละวัน ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เนื่องจากขาดการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และอาจทำให้ไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้ เพราะอุจจาระอาจแห้งเกินไป ความเครียด อาจทำให้ลำไส้หยุดบีบตัวชั่วคราว  ผู้สูงอายุอาจรับประทานยาเยอะ เช่น ยาคลายเครียด ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาแก้ความดันสูง เนื่องจากยาบางชนิดมีฤทธิ์ลดการบีบไล่อาหาร ทำให้อุจจาระอัดเป็นก้อนแข็ง และเคลื่อนที่ยากจนกลายเป็นอาการท้องผูก  ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง ลำไส้แปรปรวน ภาวะเรื้อรังของลำไส้ เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ลำไส้อุดตัน ภาวะการบีบตัวของลำไส้ถูกรบกวนหรือมีสิ่งอุดตัน ทำให้อาหารและของเหลวไม่สามารถเคลื่อนผ่านได้ตามปกติ มะเร็งลำไส้ใหญ่ การอุดกั้นทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้องอก หรือเซลล์มะเร็ง ทำให้เกิดการตีบแคบของลำไส้ วิธีแก้ท้องผูกในผู้สูงอายุ  วิธีเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูกในผู้สูงอายุได้ เช่น  ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว […]


โภชนาการผู้สูงวัย

สารอาหารบำรุงกระดูกผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อน โรคข้อเสื่อม ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการไม่ได้รับ สารอาหารบำรุงกระดูกผู้สูงอายุ อย่างเพียงพอ แต่หากผู้สูงอายุได้รับสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสม อาจมีส่วนช่วยในการป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของมวลกระดูกได้ ปัญหากระดูกในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น โครงสร้างของกระดูกจะเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกอ่อนแอลง เมื่อมีการกระแทกหรือหกล้ม ก็เสี่ยงกระดูกแตกหักได้ง่ายขึ้น ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงอาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้ ไม่ได้รับสารอาหารบำรุงกระดูกอย่างเหมาะสม ทำให้กระดูกสูญเสียแคลเซียมและแร่ธาตุอื่น ๆ การใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ได้ใช้งานกระดูก เช่น ไม่ออกกำลังกายหรือขยับร่างกายอยู่เสมอ ทำให้อาจสูญเสียมวลกระดูก การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน สำหรับผู้ชาย เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนเพศที่ลดลงอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะสูญเสียแร่ธาตุในกระดูก และส่งผลให้สูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก นอกจากนี้ ผู้สูงอายุอาจมีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ เช่น ความยืดหยุ่นของข้อต่อน้อยลง เนื่องจากของเหลวที่หล่อลื่นภายในข้อต่อลดลงและกระดูกอ่อนบางลง เส้นเอ็นสั้นขึ้น และสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้ข้อต่อรู้สึกตึงและส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ นอกจากจะเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังอาจเกิดจากการไม่ออกกำลังกาย ขยับข้อต่อน้อย เป็นต้น จึงส่งผลให้กระดูกอ่อนที่ข้อต่อหดตัวและแข็งขึ้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักพบกับปัญหากระดูก ได้แก่ โรคกระดูกพรุน การสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกอ่อนแอลงและแตกหักง่าย โรคกระดูกอ่อน เกิดจากกระดูกขาดวิตามินดี โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากกระดูกอ่อนในข้อแตก ทำให้เกิดอาการปวดและตึง สารอาหารบำรุงกระดูกผู้สูงอายุ สารอาหารบำรุงกระดูก มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างความหนาแน่นและความแข็งแรงของมวลกระดูก เพื่อลดความเสี่ยงหรือชะลอการเกิดโรคกระดูกต่าง ๆ ผู้สูงอายุจึงควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย สารอาหารบำรุงกระดูก เหล่านี้ แคลเซียม แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างความหนาแน่นของมวลกระดูกและยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

ปัจจัยเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่ควรใส่ใจ

สุขภาพจิตที่ดี และความสุขทางอารมณ์และสังคม ส่งผลดีต่อความคิด ความรู้สึก และการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งยังช่วยลด ปัจจัยเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ได้อีกด้วย ดังนั้น การรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุได้ดีขึ้น และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีหากพบปัญหา ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไปทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า หรือจาก 12% เป็น 22% ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2593  สำหรับประเทศไทย ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า จำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 20% ในปี พ.ศ. 2564 เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2563 ที่มีจำนวนผู้สูงอายุจำนวน 12 ล้านคน หรือราว 18% สาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 15% เกิดจากความผิดปกติทางจิต ซึ่งความผิดปกติทางจิตและระบบประสาทในผู้สูงอายุคิดเป็น 6.6% ของความทุพพลภาพทั้งหมด โดยอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เสื่อมถอยลงเมื่อายุมากขึ้น การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ การพลัดพรากจากคนที่รัก การสูญเสียบทบาททางสังคม […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาการ สาเหตุ และการป้องกัน

เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจต้องประสบปัญหาการเดินที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ และโรคทางระบบประสาท ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาจเดินช้า เดินลากเท้า และในรายที่รุนแรง อาจไม่สามารถเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้สูงอายุจึงควรสังเกตอาการและหาสาเหตุ เพื่อการรักษาและป้องกัน อาการของผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาการของความผิดปกติในการเดิน อาจมีอาการแตกต่างกันในแต่ละประเภท โดยอาการที่แสดงอาจมีดังนี้  สูญเสียความสมดุลในการเดิน หรือเสียการทรงตัว  สูญเสียการควบคุมเคลื่อนไหวของการเดิน ยืน หรือลุกนั่งลำบาก เมื่อจะลุกขึ้นยืนใช้เวลานานกว่าปกติและยากในการก้าวเท้าไปข้างหน้า  เดินถอยหลังอย่างมีนัยสำคัญของโรคทางระบบทางประสาท เดินช้าลง ที่อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแอ  ซึ่งอาการของการเดินที่ผิดปกติอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และประเภทการเดินผิดปกติ  ประเภทของความผิดปกติในการเดิน มีอะไรบ้าง ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น  การเดินแบบพาร์กินสัน (Parkinsonian Gait หรือ Propulsive Gait) เป็นลักษณะที่อาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีลักษณะการเดินลากเท้า ก้าวขาได้สั้น คอและศีรษะโน้มไปข้างหน้า การเดินผิดปกติประเภทนี้มักเกิดขึ้นชั่วคราว ขณะอยู่ในที่แคบหรือเห็นสิ่งกีดขวางในทางเดิน อาจเกิดปัญหาการก้าวขา การหมุนตัว หรือการเดินซอยเท้า สาเหตุอาจเกิดจากโรคพาร์กินสัน   การเดินกระตุก (Spastic Gait) ขามีความอ่อนแอและแข็งผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติในการควบคุมกล้ามเนื้อที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง หรือเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดการเดินลากเท้า ซึ่งขาดความยืดหยุ่นของข้อเท้าและหัวเข่า พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง การเดินขาไขว้เหมือนกรรไกร (Scissors Gait) การทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายไม่สัมพันธ์กัน […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีชีวิตชีวา

ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ เนื่องจากสุขภาพร่างกายย่อมเสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น และอาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้นการดูแลและ ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พ.ศ. 2563 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 12 ล้านคน หรือราว 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี พ.ศ. 2564 จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นตามมา และปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่ โรคสามัญทั่วไป เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคไต รวมถึงกลุ่มอาการที่เกี่ยวของกับความชราภาพของร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี ด้วยการมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงครอบครัวและสังคมที่เข้าใจและให้ความช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องสำคัญ การดูแลและ ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงอายุเนื่องจากความเสื่อมของร่างกายเมื่อชราภาพ หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงจากโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ซึ่งการดูแลและการป้องกันโรคที่ผู้สูงอายุกำลังเผชิญก็แตกต่างกันออกไป ดังนี้ ปัญหาความสมดุลของร่างกาย มึนงง และวิงเวียนศีรษะ ปัญหาความสมดุลของร่างกาย อาการมึนงง และวิงเวียนศีรษะ อาจเกิดจาก โรคทางสมอง โรคข้อเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันโลหิตต่ำ […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ สัญญาณและการป้องกัน

ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่เปราะบางทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากผู้สูงอายุเกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว โรคทางกาย หรือโรคซึมเศร้า อาจเกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ ครอบครัวจึงควรเป็นส่วนสำคัญในการดูแล ใส่ใจและสังเกตสัญญาณปัญหาสุขภาพจิต เพื่อป้องกัน การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ สถิติจากกรมสุขภาพจิตระบุว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในผู้สูงอายุ สูงเป็นอันดับ 2 รองจากวัยทำงาน ตามสถิติล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 พบว่า การฆ่าตัวตายสำเร็จในผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 927 คน และวัยทำงาน 3,380 คน  โดยสาเหตุการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุที่พบบ่อย คือ ปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด โรคเรื้อรังทางกาย และโรคซึมเศร้า ในปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อบุคคลมีอายุมากขึ้นอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกายและสมอง ความสามารถในการทำงานลดลง ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ความสุขในชีวิตลดน้อยลง ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุได้เช่นกัน ผู้สูงอายุที่พยายาม ฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้า ที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียคนที่รัก ความรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกด้อยค่า หรือรู้สึกว่าเป็นภาระคนอื่น ความเจ็บป่วยเรื้อรัง หรืออาจเกิดจากปัญหาทางการเงิน ซึ่งผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง มักเป็นกลุ่มที่อยู่ติดบ้าน ถูกทอดทิ้ง ไม่มีคนใส่ใจดูแล ขาดคนรับฟังและพูดคุย จนผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ รู้สึกไม่มีส่วนร่วมกับครอบครัว เมื่อสิ่งเหล่านี้สะสมเป็นระยะเวลานาน […]


โภชนาการผู้สูงวัย

อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง และควรจำกัดปริมาณให้เหมาะสม

ผู้สูงอายุควรได้รับสารอาหารในปริมาณที่พอเหมาะและหลากหลายเป็นประจำทุกวัน เพราะอาหารที่มีประโยชน์ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แต่อาจมี อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง และควรจำกัดปริมาณให้เหมาะสม เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ โภชนาการผู้สูงอายุ รูปแบบการใช้ชีวิตและสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลต่อความอยากอาหาร ทำให้ได้รับปริมาณอาหารในแต่ละวันลดลง และส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่น ๆ อย่างครบถ้วน จนอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยตามมาได้ ผู้สูงอายุควรได้รับพลังงาน 1,500 – 2,000 กิโลแคลอรี/วัน และควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและหลากหลายวันละ 3 มื้อ อีกทั้งควรจัดอาหารว่างให้เหมาะสมในแต่ละวันด้วย อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง ไม่ในปริมาณมาก เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ มีดังนี้ ไข่ดิบ ไข่เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนและให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่การรับประทานไข่ดิบอาจเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุได้ เนื่องจากไข่ดิบอาจมีเชื้อแบคทีเรีย ซัลโมเนลลา (Salmonella) ที่อาจทำให้เกิดอาการ ท้องเสีย มีไข้ ปวดท้อง และอาเจียน ถั่วงอกดิบ ถั่วงอกเจริญเติบโตในสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้น จึงอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก ผู้สูงอายุและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วงอกดิบ หรือควรนำไปปรุงให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง เกลือและอาหารโซเดียมสูง ผู้สูงอายุสามารถรับประทานเกลือได้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพียง 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1-2 ช้อนชา เพราะหากรับประทานเกลือมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ผู้สูงอายุจึงควรหลีกเลี่ยงอาหาร จำพวก ขนมขบเคี้ยว อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป เช่น แฮม เบคอน […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้

ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ความเครียด หรือภาวะทางจิต ซึ่งอาจทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในระดับครอบครัวและสังคม การสังเกต สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิต รู้ทันสัญญาณเหล่านี้เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทัน ปัญหาด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ   องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2593 จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากประมาณ 12% เป็น 22% สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปี พ.ศ. 2563 จำนวนผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่า 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี พ.ศ. 2564 ผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เนื่องจากประมาณ 15% […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

5 ข้อต้องรู้ ดูแลความจำของผู้สูงอายุ

เคยสังเกตหรือไม่? ว่าคนสูงวัยในบ้านเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมกุญแจบ้าน จำชื่อเพื่อนไม่ได้ ลืมว่าจะเดินไปหยิบอะไร หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาก็สามารถลืมได้ง่ายขึ้น อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของความจำก็เริ่มลดลง และยิ่งสังเกตได้ชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัย 60 ปี เพราะสมองบางส่วนเริ่มหดตัว การจดจำจะลดลงตามไปด้วย หากไม่เพิ่มการดูแลร่างกายและใส่ใจรายละเอียดการช่วยฟื้นฟูให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน จะยิ่งมีความเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อมได้มากขึ้น เราในฐานะลูกหลานจึงควรหมั่นสังเกตสิ่งที่เปลี่ยนไป เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคสมองเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้  ดังนั้น 5 วิธีดูแลความจำของผู้สูงอายุ ที่เราควรรู้ เพื่อรับมือดูแลการรับรู้และความจำของคุณพ่อคุณแม่สูงวัยได้อย่างเหมาะสม คือ 1. พฤติกรรมอะไรบ้าง ที่เป็นสัญญาณว่าเสี่ยงเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม มีปัญหาด้านการสื่อสาร การใช้คำ การเรียบเรียงประโยคที่ผิดไปจากเดิม จดจำข้อมูลไม่ค่อยได้ ลืมเหตุการณ์ต่าง ๆ ง่ายขึ้น แม้จะเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นก็ตาม เรื่องที่เคยทำได้ก็จะกลายเป็นเรื่องยากขึ้น เช่น การคำนวณตัวเลข หรือ การทำอาหารที่กะสัดส่วนไม่ค่อยถูก มีปัญหาด้านการตัดสินใจ หรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป อารมณ์ไม่เหมือนเดิม ฉุนเฉียวง่าย บางครั้งอาจเกิดภาพหลอน 2. สาเหตุของการเกิดโรค สาเหตุหลัก […]


โภชนาการผู้สูงวัย

วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่

จากสถิติพบว่า มากกว่าครึ่งของผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป กินวิตามินและอาหารเสริม อย่างไรก็ตาม วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแล้ว วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่ โดยปกติแล้ว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จากการกินอาหารที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ ที่บริโภควิตามินและอาหารเสริม โดยจากการสำรวจในกลุ่มผู้สูงอายุในหัวข้อ “วิตามินจำเป็นต่อผู้สูงอายุหรือไม่” ในปี 2013 พบว่า 68% ของชาวอเมริกันวัย 65 ปีขึ้นไป กินอาหารเสริมวิตามิน นอกจากนี้ ในปี 2017 ยังมีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ระบุว่า 29% ของผู้สูงอายุบริโภคอาหารเสริม 4 ชนิดหรือมากกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า โดยทั่วไปแล้ว วิตามินและอาหารเสริมไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และในกรณีที่ร่างกายขาดสารอาหาร การกินอาหารเสริมก็ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ต้องการได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้สูงอายุต้องตระหนักว่าอาหารเสริมไม่ใช่ยามหัศจรรย์ และไม่สามารถรักษาอาการป่วยได้ ดังนั้น หากต้องการบริโภคอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ และควรกินอาหารเสริมควบคู่กับการมีไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมให้สุขภาพดี เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ วิตามินที่ผู้สูงอายุควรได้รับ สถาบันโภชนาการและการกำหนดอาหาร (The Academy of Nutrition and Dietetics) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน