backup og meta

ศาสตร์การนวดประคบ ช่วยบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก

ศาสตร์การนวดประคบ ช่วยบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก

การนวดประคบ เป็นวิธีการบำบัดโรคของแพทย์แผนไทย เพื่อใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดอาการบวม การอักเสบของกล้ามเนื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพอีกหลายประการ  วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ศาสตร์การนวดประคบ ให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย

ทำความรู้จัก ลูกประคบ (Herbal ball)

ลูกประคบ (Herbal ball)  คือ การนำสมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาห่อด้วยผ้าสีขาว แล้วนำไปนึ่งให้ร้อน ก่อนที่จะนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยและการอักเสบ ด้วยการกดเบา ๆ  ซึ่งสมุนไพรในลูกประคบ มีคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ไพร มีคุณสมบัติบรรเทาอาการอักเสบของข้อและเอ็น บรรเทาอาการฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก
  • ตะไคร้ มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ บรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกและแผลในกล้ามเนื้อ
  • ขมิ้น มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและฆ่าเชื้อ ช่วยในเรื่องของการฟกช้ำ ปวดกล้ามเนื้อ
  • มะกรูด มีสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทาลงบนผิวจะช่วยสมานแผลได้
  • การบูร ช่วยกระตุ้นระบบทางเดินหายใจ บรรเทาความเครียดและวิตกกังวล
  • มะขาม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยสมานผิว
  • ขมิ้นชัน ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้ออวัยวะภายใน
  • ส้มป่อย อุดมด้วยสารซาโปนิน (Saponin) มีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลของระบบหมุนเวียนโลหิต 

ศาสตร์การนวดประคบ  กับ 4  คุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ

การนวดประคบ มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ดังต่อไปนี้ 

  • เพิ่มการไหลเวียนโลหิต 

ความร้อนจากสมุนไพรในลูกประคบ มีส่วนช่วยขยายหลอดเลือดและออกซิเจนภายในร่างกาย ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • บรรเทาอาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ

สมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ในลูกประคบ อุดมด้วยคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดข้อต่าง ๆ 

  • เพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย

การนวดประคบ นอกจากจะมีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอกแล้ว ยังมีประโยชน์ทางด้านสุขภาพจิตใจอีกด้วย เช่น บรรเทาความเครียด เพิ่มพลังให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น 

  • บรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง

การนวดประคบ มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ สามารถบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนังและช่วยฟื้นฟูผิวหนังได้ 

ข้อควรระวังในการนวดประคบ 

ถึงแม้ว่าการนวดประคบจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพเพียงใด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเหมาะกับการนวด โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง 
  • สตรีมีครรภ์ 
  • ผู้ทีมีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส หรือโรคติดเชื้อเฉียบพลัน 
  • โรคผิวหนังมีแผลเปิดเรื้อรัง
  • อยู่ในภาวะกระดูกพรุนอย่างรุนแรง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Benefits of Thai Herbal Compress. http://projectzenmassage.com/Blog/2014/03/24/benefits-of-thai-herbal-compress/. Accessed February 16, 2020.

Thai Herbal Massage. https://homecomforttherapy.com/thai-herbal-ball-massage/. Accessed February 16, 2020.

Clinical Effects of Thai Herbal Compress: A Systematic Review and Meta-Analysiss. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4377500/.

Thai Massage, and Thai Herbal Compress versus Oral Ibuprofen in Symptomatic Treatment of Osteoarthritis of the Knee: A Randomized Controlled Trial. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4165631/.

คำถามที่พบบ่อย การแพทย์แผนไทย. https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/services/faq/faq-traditional-thai-medicine.html. 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/02/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

นวดรักษาซึมเศร้า อีกหนึ่งวิธีรับมือโรคซึมเศร้าที่ไม่ใช่แค่เรื่องเพ้อฝัน

ศาสตร์การ นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ช่วยบำบัดโรคได้จริงหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 25/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา