ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

10 ผลไม้โปรตีนสูง คุณประโยชน์ไม่แพ้โปรตีนจากเนื้อสัตว์

เวลาที่พูดถึง “โปรตีน“ เรามักจะนึกถึงเนื้อสัตว์ หรืออาหารประเภทอื่น เช่น ถั่ว หรือธัญพืชต่าง ๆ แต่อาจไม่ค่อยมีใครนึกถึง “ผลไม้” ทั้งที่ความจริงแล้ว ผลไม้โปรตีนสูง มีอยู่หลายชนิดที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ และอาจเสี่ยงที่จะขาดโปรตีนได้ นอกจากโปรตีนจากถั่วหรือพืชนิดอื่นแล้ว ลองเพิ่ม โปรตีนในผลไม้ เหล่านี้เข้าไปในอาหาร เพื่อช่วยเพิ่มแหล่งโปรตีนให้คุณอีกหนึ่งทางเลือก แถมยังจะได้รับวิตามินและสารอาหารอื่น ๆ จากผลไม้อีกเพียบเลยทีเดียว จะมีผลไม้อะไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอเลยค่ะ [embed-health-tool-bmi] ผลไม้โปรตีนสูง ร่างกายเราควรได้รับโปรตีนเท่าไหร่ต่อวัน? โปรตีน (Protein) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากโปรตีนเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย และร่างกายใช้โปรตีนเพื่อสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ยังใช้โปรตีนเพื่อสร้างเอนไซม์ ฮอร์โมน และสารเคมีอื่น ๆ ในร่างกายของเรา สำหรับปริมาณโปรตีนโดยเฉลี่ยที่ควรได้รับต่อวันของผู้หญิง ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากนัก เช่น พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉลี่ยแล้วควรได้รับโปรตีน 46 กรัมต่อวัน ส่วนผู้ชายที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมาก โดยเฉลี่ยแล้วควรได้รับโปรตีน 56 กรัมต่อวัน แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนจะเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม และไข่ แต่สำหรับผู้ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ อาจได้รับโปรตีนจากแหล่งอาหารอื่น ได้แก่ ถั่วเหลือง หรือเต้าหู้ เมล็ดพันธุ์ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ใบบัวบก ไม่ต้องช้ำในก็กินได้และกินดี มีประโยชน์สุขภาพสารพัดอย่าง

ใบบัวบก พืชพื้นบ้านที่เรามักได้ยินถึงสรรพคุณ “แก้ช้ำใน” ของ “น้ำใบบัวบก” ที่หากินกันได้ยากขึ้นในทุกวันนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณค่าของใบบัวบกจะถูกมองข้ามไป เพราะวงการแพทย์ในสหรัฐฯ และยุโรปต่างก็กำลังหันมาสนใจพืชสมุนไพรชนิดนี้กันมากขึ้น และทุกวันนี้ หากเราสำรวจดูร้านขายสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะได้เห็นสารสกัดใบบัวบกกลายมาเป็นยาสมุนไพรหรืออาหารเสริม ที่อาจทำให้หลายคนสนใจอยากจะลอง แต่ลองอ่านเรื่องนี้ดูก่อน เพราะใบบัวบกก็เหมือนสมุนไพรชนิดอื่น ที่อาจมีประโยชน์ แต่ก็มีผลข้างเคียงที่ต้องระวังเช่นกัน ขอแนะนำให้รู้จักกับ ใบบัวบก ใบบัวบก (Gotu Kola หรือ Centella asiatica) เป็นพืชพื้นถิ่นของเอเชีย หลายประเทศในเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ต่างก็ใช้ประโยชน์จากใบบัวบกมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งประเทศจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย (อายุรเวท) โดยเชื่อกันว่าใบบัวบกมีสรรพคุณที่หลากหลาย ทั้งส่งเสริมการทำงานของสมอง เยียวยาผิว และบำรุงตับและไต ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้ของใบบัวบก ก็ดูจะได้รับการยืนยันจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้น ถึงแม้ส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาวิจัยในหนูทดลอง และยังต้องการงานวิจัยเพื่อพิสูจน์เพิ่มเติม แต่ก็ดูเหมือนว่า ใบบัวบกเป็นพืชสมุนไพรที่ปลอดภัย และน่าสนใจสำหรับการเยียวยาอาการโรคบางอย่าง หากก็มีคำเตือนจากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ในสหรัฐฯ ว่า ไม่ควรกินสมุนไพรชนิดนี้นานกว่าหกสัปดาห์ติดต่อกัน โดยไม่ปรึกษาแพทย์ และผู้ที่มีประวัติโรคตับหรือเคยมีรอยโรคมะเร็งผิวหนังไม่ควรกิน ประโยชน์ ดีๆ ของ ใบบัวบก งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยืนยันถึงประโยชน์สุขภาพหลายอย่างของใบบัวบก โดยเฉพาะในเรื่องเหล่านี้ ช่วยเยียวยาเส้นเลือดขอด ใบบัวบกมีสารเคมีที่เรียกว่า TTFCA (Triterpenic fraction […]


ข้อมูลโภชนาการ

กระเทียมดำ กับประโยชน์ต่อร่างกาย และข้อควรระวังในการบริโภค

กระเทียมดำ คือกระเทียมที่มีสีดำ ซึ่งแตกต่างจากระเทียมทั่วไปที่มีสีขาว โดยกระเทียมดำนี้มีคุณประโยชน์หลายอย่าง ที่แตกต่างและเพิ่มขึ้นจากกระเทียมธรรมดา  โดยกระเทียมดำนี้เกิดขึ้นจากการนำกระเทียมสดไปผ่านกระบวนหมักบ่มและควบคุมความชื้นทำให้กระเทียมสีขาวเปลี่ยนเป็นกระเทียมสีดำนั่นเอง กระเทียมดำ คืออะไร กระเทียมดำก็ คือกระเทียมสด ที่นำมาผ่านกระบวนการหมักบ่ม ด้วยอุณหภูมิสูงประมาณ 60–90°C ในความชื้นควบคุมร้อยละ 80–90 การหมักบ่มนี้ทำให้กระเทียมสีขาวกลายเป็นสีดำ และยังมีเนื้อสัมผัสที่เปลี่ยนไป มีความนุ่มและยืดหยุ่นคล้ายเยลลี่ รวมทั้งรสชาติที่ไม่เหมือนเดิม ว่ากันว่ารสชาติของกระเทียมดำ คล้ายกับรสชาติของน้ำส้มบัลซามิก ผสมกับซอสถั่วเหลือง พร้อมด้วยรสหวานนิดๆ คล้ายกับลูกพรุน การหมักบ่มทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของกระเทียม ทำให้สารประกอบที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น อย่างเช่น สารอัลคาลอยด์ส(Alkaloid)หรือ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) โดยมีการศึกษาหลายชิ้นที่รายงานว่า สารสกัดกระเทียมดำแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพหลายอย่าง เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต่อสู้อาการแพ้ ต้านโรคเบาหวาน ต้านการอักเสบ  ต้านมะเร็ง เป็นต้น กระเทียมดำ VS กระเทียมสด ถึงแม้กระเทียมดำจะทำจากกระเทียมสด แต่ก็มีความแตกต่างกัน ในเรื่องของประโยชน์สุขภาพ ส่วนทางด้านคุณค่าโภชนาการ กระเทียมดิบมีแคลอรี่ต่ำกว่า มีโซเดียมน้อยกว่า แต่กระเทียมดำก็มีเส้นใยอาหารและธาตุเหล็กมากกว่า รวมถึงมีคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่าเล็กน้อย กระเทียมสดยังมีสารอัลลิซิน (Allicin) สูงกว่า ซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงเป็นสารที่ส่งผลต่อกลิ่นและรสของกระเทียมด้วย ทำให้กระเทียมดำไม่มีกลิ่นแบบเดียวกับกระเทียมสด จึงบริโภคได้ง่ายกว่า แต่กระเทียมดำก็มีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยต่อสู้กับโรคต่างๆ ในปริมาณที่สูงกว่า ทั้งกระเทียมดำและกระเทียมสดจึงไม่ถือว่าชนิดใดดีกว่ากัน ในเรื่องของประโยชน์สุขภาพ เพราะต่างก็มีข้อดีและข้อด้อยต่างกันไป […]


ข้อมูลโภชนาการ

เต้าหู้ ดีต่อสุขภาพอย่างที่เชื่อกันหรือเปล่า

เต้าหู้ เป็นอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งได้ชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ เต้าหู้มีโปรตีนสูงพอที่จะทดแทนการกินเนื้อสัตว์ได้ จากการวิจัยพบว่า การรับประทานพืชตะกูลถั่ว รวมทั้งถั่วเหลืองในปริมาณที่สูง มีแนวโน้มว่าจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ หนึ่งในการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 68 ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง มีการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เมื่อได้รับไอโซฟลาโวน 80 มิลลิกรัม/วัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ คุณค่าทางอาหารของเต้าหู้ เต้าหู้ได้มาจากการนำนมถั่วเหลือง มาผ่านกระบวนการเพื่อให้น้ำนมจับตัวเป็นก้อน แล้วนำมาใส่ภาชนะเพื่อรีดน้ำออกจนเหลือแต่แผ่นเต้าหู้ ซึ่งมีเนื้อสัมผัสหลายแบบ ทั้งเต้าหู้อ่อน เต้าหู้แข็ง ที่สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายแบบ ตามที่ต้องการ เต้าหู้มีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนที่มีมากถึง 8 กรัม (ต่อเต้าหู้ 100 กรัม) ทำให้เต้าหู้เป็นอาหารที่นิยมรับประทานเพื่อทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีน เต้าหู้ยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย วิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด รวมทั้งไอโซฟลาโวน (Isoflavone) ที่เป็นสารพฤกษเคมี (Phytochemical) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ เต้าหู้ยังปราศจากคอเลสเตอรอลและมีแคลอรี่ต่ำ โดยเต้าหู้ 100 กรัม มีพลังงานเพียง 70 กิโลแคลอรี่ จึงถือเป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์ของเต้าหู้ต่อสุขภาพ เต้าหู้อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ จากการวิจัยพบว่า การรับประทานพืชตระกูลถั่ว รวมทั้งถั่วเหลืองในปริมาณที่สูง มีแนวโน้มว่าอาจช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ หนึ่งในการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ […]


ข้อมูลโภชนาการ

สาหร่าย อาหารแคลอรี่ต่ำ คุณประโยชน์เพียบ

พืชน้ำทุกประเภทรวมถึง สาหร่าย มีสารอาหารสำคัญอยู่มากมาย ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ หากคุณกำลังรับประทานอาหารเจอยู่ในช่วงนี้สาหร่ายเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่คุณสามารถรับประทานได้ เพื่อที่จะได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเพียงพอ ในช่วงที่กำลังงดเนื้อสัตว์ ไปดูกันว่าสาหร่ายมีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายบ้าง Hello คุณหมอมีข้อมูลดีๆ มาฝากทุกคนแล้ว สารอาหารดีๆที่มีใน สาหร่าย สาหร่าย มีแคลอรี่ต่ำ สาหร่ายจัดเป็นผักที่มีแคลอรี่ต่ำ สาหร่ายปริมาณหนึ่งถ้วยมีแคลอรี่อยู่เพียง 20 แคลอรี่ ช่วยให้คุณควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุชภาพได้ สาหร่ายเป็นแหล่งวิตามินเคชั้นดี วิตามินเคเป็นวิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน ที่ทำงานร่วมกับเกล็ดเลือดในกระบวนการแข็งตัวของเลือด การขาดวิตามินเคอาจทำให้เกิดปัญหาเลือดไม่หยุดไหล ปริมาณวิตามินเคที่ควรรับประทานต่อวัน คือ 120 ไมโครกรัมสำหรับผู้ชายและ 90 ไมโครกรัมในผู้หญิง สาหร่ายถือเป็นแหล่งวิตามินเคชั้นดี โดยสาหร่ายเคลป์หนึ่งถ้วย มีปริมาณวิตามินเค 26.4 ไมโครกรัม ซึ่งเท่ากับร้อยละ 22 และร้อยละ 29 ของปริมาณที่ชายและหญิงต้องการตามลำดับ ซึ่งยังมีสาหร่ายสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีวิตามินเค เช่น สาหร่ายวากาเมะ และสาหร่ายสไปรูลินา สาหร่ายมีแคลเซียม แคลเซียมเป็นแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่ง ที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกาย หากร่างกายมีปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ จะทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อ และช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท และเซลล์ต่างๆในร่างกายให้แข็งแรง และคุณสามารถเพิ่มแคลเซียมได้ ด้วยการเพิ่มสาหร่ายเข้าไปในในเมนูอาหารที่คุณจะรับประทาน เช่น ใส่ลงในแกงจืด โรยข้าว ทั้งสาหร่ายเคลป์และวากาเมะ มีปริมาณแคลเซียมอยู่ถึง 60 มิลลิกรัม […]


ข้อมูลโภชนาการ

เปลือกผักและผลไม้ อย่าทิ้ง เพราะประโยชน์สุขภาพเพียบ!

คนเราอาจไม่ควรมองกันที่ “เปลือก” แต่สำหรับผักและผลไม้แล้ว “เปลือก” กลับเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรใส่ใจ เพราะผักและผลไม้หลายอย่างนั้นมีคุณค่าสำคัญอยู่ที่เปลือกนี่เอง ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบปอกเปลือกผักและผลไม้ก่อนกิน ลองอ่านข้อมูลต่อไปนี้ที่ Hello คุณหมอนำมาเสนอกัน เพื่อที่จะได้รู้ว่า เปลือกผักผลไม้ นั้นมีดีอย่างที่ไม่ควรมองข้าม เปลือกผักผลไม้ สำคัญอย่างไร สามปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การสูญเสียสารอาหารสำคัญในผักและผลไม้ก็คือ ความร้อน ออกซิเจน และแสง และผิวด้านนอกของผักผลไม้ ก็คือสิ่งที่ปกป้องพวกมันจากปัจจัยเหล่านี้ การปอกเปลือกเป็นการทำลายสิ่งปกป้อง และเมื่อเนื้อที่อยู่ภายในเจอกับอากาศและออกซิเจน วิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในผักและผลไม้ก็จะลดลงด้วย ไม่เพียงแต่เปลือกจะปกป้องสิ่งที่อยู่ภายใน ตัวของเปลือกผักและผลไม้เอง ก็มีประโยชน์อยูในตัวของมันด้วย โดยจากข้อมูลของ มหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ ในสหรัฐฯ ระบุว่า เม็ดสีของผักและผลไม้ที่ทำให้ เปลือกผักและผลไม้ มีสีสันสดใส เป็นแหล่งของแอนตี้ออกซิแดนท์ วิตามิน และเส้นใยอาหาร โดยเส้นใยอาหารจากเปลือกเป็นเส้นในแบบไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการป้องกันและรักษาอาการท้องผูก เปลือก…อะไรที่ควรปอก อะไรที่ไม่ต้องปอก ผักผลไม้ส่วนใหญ่มีเปลือกที่กินได้ ยกเว้นเปลือกของผักและผลไม้ที่แข็งมากๆ เช่น สับปะรด มังคุด แตงโม (เปลือกแตงโมอาจไม่เหมาะกับการกินสดๆ พร้อมเนื้อ แต่ก็สามารถนำมาทำอาหารได้ เช่น นำมาดอง หรือทำเป็นแกง) เปลือกของผลไม้ตระกูลมะนาว ส่วนใหญ่เราไม่กินเปลือกส้มหรือมะนาวแบบสดๆ แต่เปลือกของส้มและมะนาวสามารถนำมาทำอาหารอื่นได้ เช่น นำมาทำเป็นแยมผิวส้ม เปลือกหัวหอมและกระเทียม ถึงแม้เปลือกของผักชนิดนี้สามารถกินได้ แต่ส่วนใหญ่คนจะนิยมปอก อย่างไรก็ตาม […]


ข้อมูลโภชนาการ

เห็ดหลินจือ สมุนไพรต้านมะเร็ง พร้อมประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

เห็ดหลินจือ เป็นเห็ดที่ถือเป็นสุดยอดสมุนไพรอย่างหนึ่ง ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และในปัจจุบัน เห็ดหลินจือ ถือว่าเป็น สมุนไพรต้านมะเร็ง ที่เป็นที่นิยมนำมาทำอาหารเสริมเพื่อสุขภาพยอดนิยมที่ผู้คนนิยมบริโภค โดยเห็ดหลินจือ (Reishi และ Lingzhi) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่ากาโนเดอร์มา ลูซิดัม (Ganoderma lucidum) เป็นเห็ดราที่เจริญเติบโตในเขตร้อนชื้นในทวีปเอเชีย และมีการใช้เห็ดหลินจือในทางการแพทย์ตะวันออก เนื่องจากภายในเห็ดหลินจือมีโมเลกุล ได้แก่ ไตรเทอพีนอยด์ (triterpenoids) โพลีแซคคาไรด์ (polysaccharides) และเปปติโดไกลแคน (peptidoglycans) ที่มีผลต่อสุขภาพ บทความนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์สุขภาพที่ได้จาก เห็ดหลินจือ มาฝากคุณผู้อ่าน ประโยชน์สุขภาพของ เห็ดหลินจือ สมุนไพรต้านมะเร็ง 1.เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน หนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของเห็ดหลินจือคือการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากมีงานวิจัยที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งได้ให้ข้อมูลว่า โมเลกุลบางโมเลกุลที่พบในเห็ดหลินจือ สามารถเพิ่มการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อและต้านมะเร็งในร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่ให้ผู้ที่มีสุขภาพดีกินเห็ดหลินจือเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าเห็ดหลินจือไม่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและการอักเสบ เห็ดหลินจือจึงอาจส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว และระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย ส่วนประโยชน์ของการกินเห็ดหลินจือต่อผู้ที่มีสุขภาพดียังคงต้องการการศึกษาวิจัยต่อไป 2.เห็ดหลินจือมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง หลายคนบริโภคเห็ดหลินจือเนื่องจากมีคุณสมบัติในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง เนื่องจากมีการศึกษาที่พบว่าผู้ที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า 4,000 คน บริโภคเห็ดหลินจือประมาณ 59% นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาในหลอดทดลองที่แสดงให้เห็นว่า เห็ดหลินจือสามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายได้ มากไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่าเห็ดหลินจืออาจมีประโยชน์ต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการศึกษาวิจัยเรื่องเห็ดหลินจือกับมะเร็งยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก 3.เห็ดหลินจือสามารถต่อสู้กับความอ่อนเพลีย และภาวะซึมเศร้า เห็ดหลินจือ […]


ข้อมูลโภชนาการ

น้ำเต้าหู้ สารพันประโยชน์เพื่อสุขภาพ

น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง เป็นเครื่องดื่มเมนูโปรดของใครหลายคน ซึ่งนอกจากจะอร่อยแล้ว สารอาหารในถั่วเหลืองยังให้ประโยชน์หลายประการแก่ผู้บริโภค แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ชื่นชอบน้ำเต้าหู้เป็นพิเศษเช่นกัน ข้อมูลโภชนาการของน้ำเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ 1 แก้ว ไม่มีรสหวาน ให้พลังงานประมาณ 80-100 แคลอรี่ มีคุณค่าทางสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม ไขมัน 4 กรัม โปรตีน 7 กรัม น้ำเต้าหู้เป็นแหล่งโปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 12 โพแทสเซียม และไอโซฟลาโวน (Isoflavone) มากไปกว่านั้นยังอุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินดี และเพราะน้ำเต้าหู้ทำมาจากธรรมชาติ จึงไม่มีคอเลสเตอรอลและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ รวมถึงไม่มีแลคโตส ประโยชน์ของน้ำเต้าหู้ 1.อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม การกินอาหารที่มีถั่วเหลืองมีแนวโน้มว่าจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมในผู้หญิงบางคน เนื่องจากผู้หญิงเอเชียผู้ที่กินอาหารที่มีถั่วเหลืองมากดูเหมือนว่าจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่า ผู้หญิงที่กินถั่วเหลืองน้อย แต่อย่างไรก็ตามผลของการบริโภคถั่วเหลืองกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมดูเหมือนว่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น เช่น อายุ และภาวะหมดประจำเดือน โดยผู้หญิงที่กินถั่วเหลืองมากในช่วงวัยรุ่น มีแนวโน้มว่าจะลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง เพราะเชื่อกันว่าการกินน้ำเต้าหู้หรืออาหารที่อุดมไปด้วยถั่วเหลืองจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่ยืนยันได้ว่า การกินอาหารเสริมไอโซฟลาโวนที่สกัดจากถั่วเหลืองนั้น มีส่วนช่วยในการลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม 2.เหมาะกับผู้ที่แพ้แลคโตสในนม น้ำเต้าหู้เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และยังมีแคลเซียมด้วย จึงเหมาะกับผู้ที่แพ้แลคโตสในนมและต้องการโปรตีนและแคลเซียมจากนมถั่วเหลืองแทนนมวัว 3.ช่วยลดคอเลสเตอรอล สถาบัน National Institute of Health and Nutrition ในประเทศญี่ปุ่นได้ให้ข้อมูลว่า โปรตีนในน้ำเต้าหู้สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งการที่คอเลสเตอรอลในเลือดลดลงส่งผลให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์แก้วมังกร สุดยอดผลไม้

แก้วมังกร หนึ่งในสุดยอดผลไม้เขตร้อนที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพนานัปการ นับตั้งแต่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันมะเร็ง และโรคหัวใจ ช่วยลดน้ำหนัก ไปจนถึงช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และป้องกันแบคทีเรีย และเชื้อรา ใครที่ไม่ชอบกินผลไม้ชนิดนี้อาจจะต้องเปลี่ยนใจเมื่อรู้จักประโยชน์ของแก้วมังกร ประโยชน์สุขภาพดีๆ จาก แก้วมังกร กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ประโยชน์สูงสุดประการหนึ่งของแก้วมังกร ก็คือ ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกายได้เป็นอย่างดี เพราะแก้วมังกรอุดมไปด้วยวิตามินซี ที่มีความเข้มข้นสูง แก้วมังกรสามารถเสริมสร้าง ระบบภูมิคุ้มกัน ได้เป็นอย่างดี และยังกระตุ้นการออกฤทธิ์ของ สารต้านอนุมูลอิสระ ได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์ จึงถูกทำลายด้วยเช่นกัน ป้องกันโรคหัวใจ แก้วมังกรไม่มีไขมันคอเลสเตอรอล และมีไขมันที่ไม่ดี ที่ทำให้มีการสังเคราะห์ไขมันคอเลสเตอรอลในปริมาณเพียงเล็กน้อย การรับประทานแก้วมังกรช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยง ในการอุดตันของหลอดเลือด ดังนั้น โอกาสในการเกิด หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) หัวใจล้มเหลว (Heart Attack) หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จึงมีน้อยด้วยเช่นกัน ไขมันบางชนิในผลไม้ ที่พบในแก้วมังกร ก็มีประโยชน์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะไขมันที่พบในเมล็ด ซึ่งช่วยกระตุ้นระดับไขมันที่ดีได้ ป้องกันมะเร็ง นอกเหนือจากวิตามิน ซี ซึ่งเป็นเสมือนผู้คุ้มกันระบบภูมิคุ้มกันแล้ว แก้วมังกรยังเป็นแหล่งกำเนิด ของสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคโรทีน แคโรทีนมีสรรพคุณในการต้านมะเร็ง และยังช่วยลดโอกาส ในการเกิดเนื้องอกได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ด้วยองค์ประกอบส่วนที่เป็นเส้นใยในแก้วมังกร มีความสำคัญซึ่งการันตีว่า จะช่วยในการขับถ่ายได้ดี […]


ข้อมูลโภชนาการ

เชอรี่ ประโยชน์ต่อสุขภาพและข้อควรระวัง

เชอรี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยลดระดับไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อมและโรครูมาตอยด์ ผลการวิจัยพบว่า การรับประทานเชอรี่นานกว่าช่วงเวลา 2 วัน สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลง 35% ในการเกิดอาการปวดข้ออย่างเฉียบพลันเนื่องจากโรคเกาต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานเชอรี่ นอกจากนั้น เชอรี่ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ อาทิ วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ธาตุเหล็ก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก [embed-health-tool-bmi] ข้อมูลทางโภชนาการของเชอรี่ เชอรี่ 1 ถ้วยประมาณ 140 กรัม หรือประมาณ 21 ลูก ให้พลังงาน 90 แคลอรี่ และมีสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ วิตามินซี 15% ของปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน โพแทสเซียม 350 มิลลิกรัมถือเป็น 10% ของปริมาณโพแทสเซียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน วิตามินเอ 2% ของปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน แคลเซียม 2% ของปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ธาตุเหล็ก 2% ของปริมาณธาตุเหล็กที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ไฟเบอร์ 1 กรัม โปรตีน 1 กรัม น้ำตาล 16 กรัม สำหรับเชอรี่ชนิดหวาน ประโยชน์สุขภาพของเชอรี่ ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคข้ออักเสบและโรคเก๊าท์ เชอรี่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยลดระดับไนตริกออกไซด์ (Nitric […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน