backup og meta

เครื่องดื่ม อาหารหมักดอง ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร มีอะไรบ้างนะ

เครื่องดื่ม อาหารหมักดอง ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร มีอะไรบ้างนะ

อาหารเสริมโปรไบโอติก เป็นอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มแบคทีเรียดีให้กับลำไส้ แต่วิธีการเพิ่มแบคทีเรียดีในลำไส้ไม่ได้มีเพียงวิธีการรับประทานอาหารเสริมโปรไบโอติกเท่านั้น การรับประทาน อาหารหมักดอง ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและสุขภาพของลำไส้ดีขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาหารหมักดอง ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ได้อย่างไร ไปดูกันว่ามีอาหาร เครื่องดื่มอะไรบ้างที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร

เครื่องดื่ม อาหารหมักดอง ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร อย่างไร

อาหารหมักดอง (Fermentation) เป็นวิธีถนอมอาหาร ยืดอายุอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น วิธีการหมักดองเป็นกระบวนการที่จุลินทรีย์ อย่าง แบคทีเรียและยีสต์สลายโมเลกุลของน้ำตาล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้อาหารเหล่านี้มีปริมาณแบคทีเรียที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น

หลาย ๆ คนมักจะมีความเชื่อว่า การรับประทานอาหารหมักดองส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ปวดท้องหรือเสียดท้อง แต่ว่าจริง ๆ แล้ว การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มหมักดองในปริมาณที่พอเหมาะ ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้ด้วย อาหารหมักดองเหล่านี้มีส่วนช่วยปรับปรุงระบบย่อยอาหารของเราให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีส่วนช่วยเพิ่มแบคทีเรียชนิดที่ดีในลำไส้ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยหลายพบว่า อาหารหมักดองมีจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีความสำคัญต่อสุขภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้

เครื่องดื่ม อาหารหมักดองส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร มีอะไรบ้าง

การเพิ่มแบคทีเรียที่มีประโยชน์ให้กับลำไส้นั้นไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมโปรไบโอติกเพียงอย่างเดียว แต่การรับประทานอาหารหมักดองก็สามารถเพิ่มแบคทีเรียในลำไส้ได้เช่นกัน ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นอาหารหมักดองที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร

นัตโตะ (Natto)

นัตโตะ (Natto) หรือ ถั่วเน่าญี่ปุ่น เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมเมนูหนึ่ง ทำจากถั่วเหลืองหมัก รสชาติเข้มข้น มีปริมาณไฟเบอร์สูง ซึ่งไฟเบอร์เป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น บรรเทาอาการท้องผูก ขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ นัตโตะยังเป็นอาหารที่มีวิตามินเคสูง ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อสภาพกระดูก

มิโซะ (Miso)

หลาย ๆ คนอาจจะเคยรับประทานซุปมิโซะ ซึ่งเป็นซุปที่ทำจากมิโซะ (Miso) เป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสของญี่ปุ่น ที่ทำจากถั่วเหลืองหมักกับเกลือและโคจิ ซึ่งเป็นกล้าเชื้อชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับผลิตอาหารหมัก มิโซะเป็นเครื่องปรุงรสที่มีส่วนช่วยปรับปรุงระบบการย่อยอาหาร ดูแลสุขภาพลำไส้ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

คอมบูชา (Kombucha)

คอมบูชา (Kombucha) เป็นเครื่องดื่มชาหมักที่ให้รสชาติเปรี้ยวซ่า ทำจากชาเขียวหรือว่าชาดำ ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยปกป้องตับ ลดน้ำตาลในเลือดและลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ คอมบูชาเป็นชาที่อุดมไปด้วยยีสต์และแบคทีเรียที่ดีสำหรับร่างกาย แต่จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม

โยเกิร์ต (Yogurt)

โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีแบคทีเรียและโปรไบโอติก ซึ่งเป็นสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยในการย่อย และดีต่อระบบทางเดินอาหาร

โดยทั่วไปแล้วการรับประทานอาหารหมักดองนั้นมักจะไม่เกิดผลข้างเคียงกับคนส่วนใหญ่ แต่สำหรับบางคนอาจเกิดผลข้างเคียงจากการรับประทานได้ เนื่องจาก อาหารหมักดองมีปริมาณโปรไบโอติกที่สูง ดังนั้น การรับประทานในปริมาณที่มาก อาจทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไปและทำให้เกิดอาการท้องอืดในช่วงแรก ๆ อาหารหมักดองบางชนิดอาจมีการเพิ่มน้ำตาล เกลือ และไขมัน ดังนั้น ควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนเสมอ

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

8 Fermented Foods and Drinks to Boost Digestion and Health.https://www.healthline.com/nutrition/8-fermented-foods.Accessed March 09, 2021

7 Must-Eat Fermented Foods for a Healthy Gut. https://www.eatingwell.com/article/281916/7-must-eat-fermented-foods-for-a-healthy-gut/.Accessed March 09, 2021

9 Fermented Foods for Better Digestive Health and Immunity. https://nutritionstripped.com/9-fermented-foods-for-better-gut-health-and-immunity/.Accessed March 09, 2021

What Is Fermentation? The Lowdown on Fermented Foods. https://www.healthline.com/nutrition/fermentation.Accessed March 09, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/03/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

6 ประโยชน์ของการรับประทานกิมจิ

ผักดอง กินอย่างไร ให้ได้ประโยชน์และสุขภาพที่ดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 17/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา