โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม

สมุนไพรลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะสารสกัดในสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคทุกครั้ง [embed-health-tool-bmi] สมุนไพรลดน้ำหนัก ตัวช่วยดี ๆ สำหรับคนอยากผอม ขมิ้นชัน สรรพคุณ สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มีสรรพคุณช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมุนไพรขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ผลข้างเคียง หากรับประทานขมิ้นชันในปริมาณสูงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน  ขิง สรรพคุณ สารซิงเจอโรน (Zingerone) ในขิง เป็นสารประกอบที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ดังนั้นจึงมีความสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมได้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้สามารถควบคุมปริมาณในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ผลข้างเคียง ขิงเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้  แนะนำรับประทานไม่เกินวันละ 4 กรัม และในสตรีมีครรภ์ไม่เกินวันละ 1 กรัม  ส้มแขก สรรพคุณ หลายคนมักรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากส้มแขก เนื่องจากส้มแขกมีกรดมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid: HCA) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเผาผลาญไขมันภายในร่างกาย และยังมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกหิวน้อยลง  ผลข้างเคียง เวียนศีรษะ ปากแห้ง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย  เม็ดแมงลัก […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

กินตอนกลางคืน ทำให้อ้วนจริงหรือ แล้วจะรับมือกับความหิวกลางดึกได้อย่างไร

หลายคงกังวลว่าน้ำหนักจะขึ้น หากกินอาหารหลังจากมื้อเย็นไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำว่าไม่ควรกินอะไรหลัง 2 ทุ่ม อย่างไรตาม ในความจริงแล้วการกิน ‘อะไร’ ย่อมสำคัญกว่ากิน ‘เมื่อไหร่’ แล้วอันที่จริง กินตอนกลางคืน ทำให้อ้วน จริงๆ หรือเปล่า กินตอนกลางคืน ทำให้อ้วนจริงหรือ คุณอาจจะเคยได้ยินมาว่าหลัง 2 ทุ่มไม่ควรกินอาหาร และควรกินอาหารเช้ามื้อใหญ่ รวมถึงกินอาหารมื้อเย็นน้อยลง ความจริงแล้วกินมื้อเย็น หรือกินตอนกลางคืน ส่งผลต่อน้ำหนักของเราจริงหรือเปล่า กินอาหารเช้าอย่างราชา กินตอนเย็นอย่างยาจก เราอาจเคยได้ยินกันมาว่า ให้กินอาหารเช้าเหมือนราชา กินอาหารกลางวันเหมือนคนธรรมดา และกินอาหารเย็นอย่างยาจก ประโยคนี้มาจากนักโภชนาการรุ่นบุกเบิก จึงทำให้หลายคนเชื่อว่าการกินมื้อเย็นมาก อาจทำให้อ้วน หรือกินอาหารมื้อดึกสามารถทำให้น้ำหนักขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่กลุ่มผู้ทดลองคือนักศึกษาจำนวน 110 คน โดยผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่มีน้ำหนักมากกว่า มีแนวโน้มที่จะกินอาหารมากกว่าในตอนกลางคืน โดยเฉพาะในช่วงเวลาใกล้เข้านอน ประมาณ 2 ทุ่ม ที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) เพื่อเตรียมตัวนอนหลับ จึงแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารก่อนช่วงเวลาเข้านอน เนื่องจากคุณมีโอกาสที่จะได้รับแคลอรี่มาก หากกินอาหารตอนกลางคืน อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป กินเวลาไหนก็เหมือนกัน แต่ถ้ากินมากเกินไปยังไงก็อ้วนอยู่ดี ในทางตรงกันข้าม มีหลักการที่ใช้กันในทุกวันนี้คือ แคลอรี่ก็คือแคลอรี่ ไม่ว่าจะกินเวลาไหน หากกินแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ก็ทำให้น้ำหนักขึ้นในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ที่ให้ข้อมูลว่า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะกินเวลาไหน แต่ขึ้นอยู่กับอาหารที่กิน […]


ข้อมูลโภชนาการ

หิวบ่อย เกิดจากอะไร แก้ไขได้อย่างไรบ้าง

หิวบ่อย เป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายต้องการพลังงานเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม หากร่างกายได้รับพลังงานเพียงพออาจช่วยลดอาการหิวบ่อยได้ นอกจากนี้ อาจมีสาเหตุมาจากความเครียด หรือภาวะสุขภาพอื่น ๆ เช่น ตั้งครรภ์ นอนน้อย รวมทั้งผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวาน โรคอ้วน อย่างไรก็ตาม หิวบ่อยอาจป้องกันได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารบางชนิดที่ช่วยให้อิ่มนานขึ้น หิวบ่อยเกิดจากอะไร หิวบ่อยเกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่มไม่สมดุล รวมทั้งขาดโปรตีนหรือไฟเบอร์ที่ทำให้อิ่มท้อง ทั้งนี้ อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ความเครียด ภาวะซึมเศร้า การตั้งครรภ์ นอนน้อยหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน อาการ PMS (Premenstrual syndrome) หรือภาวะก่อนมีประจำเดือน รับประทานอาหารที่ทำให้หิวมากขึ้น หรือหิวเร็วขึ้น อาหารที่ช่วยควบคุมอาการ หิวบ่อย อาการหิวบ่อยอาจแก้ไขได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารต่าง ๆ ดังนี้ 1. อาหารแคลอรี่ต่ำ อาหารแคลอรี่ต่ำ เช่น ผัก ผลไม้อาจช่วยให้อิ่มเร็วขึ้นและอิ่มนานขึ้น รวมทั้งยังทำให้กระเพาะขยายอย่างช้า ๆ เช่น สลัดผักจานใหญ่ อาจช่วยให้รู้สึกอิ่มมากกว่าเดิม  นอกจากนั้น อาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักโดยไม่ต้องอดอาหาร 2. ผลไม้ที่มีน้ำตาลจากธรรมชาติ โดยปกติเมื่อคนส่วนใหญ่รู้สึหิว มักเลือกรับประทานอาหารประเภทไขมันและน้ำตาลสูง […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาการที่บ่งบอกว่า..คุณกำลัง ขาดสารอาหาร โดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว!

อาหารส่งผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และความเป็นอยู่ของมนุษย์ ดังนั้น ทุกคนจึงควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หากคุณไม่แน่ใจว่าอาหารที่คุณรับประทานถูกหลักหรือไม่ ตรวจสอบอาการดังต่อไปนี้ เพื่อประเมินว่า คุณมีความเสี่ยงการเกิดอาการ ขาดสารอาหาร หรือไม่ ผมร่วง ร้อยะ 95 ของผมคนเราสร้างจากเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนเส้นใยที่ทำหน้าที่สำคัญ ในการสร้างและป้องกันผิวหนังชั้นนอก ด้วยเหตุนี้ อาการผมร่วงจึงเป็นสัญญาณหลักที่บ่งบอกว่า คุณกำลังขาดโปรตีน อย่างไรก็ตาม การศึกษาหลายชิ้นเปิดเผยว่า ปัญหาที่เกี่ยวกับเส้นผม ทั้งผมแห้ง หักหรือหลุดร่วงง่าย เกี่ยวข้องกับการขาดสารอาหารประเภทอื่นด้วย เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินซี และกรดไขมันที่จำเป็น อาการผมร่วงอาจพบได้บ่อยเมื่ออายุมากขึ้น แต่อาการที่เกิดขึ้นในเด็ก หรือการที่ผมร่วงมากเกินไป อาจเป็นสัญญาณของการรับประทานที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ อาการอ่อนเพลียที่อธิบายไม่ได้ อาการอ่อนเพลียมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นจากการขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ ทำให้ร่างกายไม่สามารถส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ได้ดีพอ การขาดธาตุเหล็กเป็นเวลานาน นำไปสู่ภาวะเลือดจาง ซึ่งเป็นโรคผิดปกติของเลือด ที่มาพร้อมกับอาการผิวซีด อุณหภูมิในร่างกายต่ำผิดปกติ เล็บมีลักษณะคล้ายช้อน และปวดศีรษะเรื้อรัง อาการอ่อนเพลียอาจเกิดจากการขาดแมกนีเซียม วิตามินซี และวิตามินบี โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินบี 12  อาการอ่อนเพลียชั่วคราว อาจเป็นอาการที่คนส่วนใหญ่ละเลย แต่อาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง สามารถทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียน การทำงานและความสัมพันธ์ในสังคม โดยเริ่มจากการขาดสมาธิ หรือไม่มีแรงในการทำงาน หรือใช้ความคิดอย่างเหมาะสม  อาการป่วยทางจิต ไม่เพียงแต่การขาดสารอาหาร […]


ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของวิตามินซี

วิตามินซีเป็นกรดผลไม้ชนิดหนึ่งพบได้ตามธรรมชาติในอาหารประเภทต่าง ๆ ทั้งผัก ผลไม้ ประโยชน์ของวิตามินซีเองนั้นมีมากมาย โดยร่างกายต้องการวิตามินซีเพื่อนำมาใช้ต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงเซลล์ให้แข็งแรง ดังนั้น ในแต่ละวันร่างกายจึงควรได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์วิตามินซี มีอะไรบ้าง วิตามินซีเป็นองค์ประกอบในกระบวนการสร้างคอลลาเจนที่จะนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อ ไทโรซีน คาร์นิทีน และที่สำคัญ วิตามินซียังช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้อีกด้วย วิตามินซีช่วยป้องกันโรค เช่น ไข้หวัด  โรคเกี่ยวกับเซลล์อักเสบ รวมถึงเซลล์แบ่งตัวผิดปกติที่เรียกกันว่าเซลล์มะเร็งด้วย โดยสามารถสรุปได้เป็นหลัก 3 กลุ่มด้วยกัน คือ ไข้หวัดจากไวรัสระดับไม่รุนแรงเท่านั้น เพราะวิตามินไม่สามารถช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือภาวะหายใจล้มเหลว (ARDS) ใด ๆ ได้เลย โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ทั้งนี้ วิตามินซีเป็นเพียงองค์ประกอบในการป้องกันโรคเท่านั้น ไม่มีผลชัดเจนเรื่องรักษาหรือเป็นยาหลักในการรักษาแต่อย่างใด มีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุว่าวิตามินซีช่วยรักษาหรือป้องกันการลุกลามมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูงได้ แต่ต้องใช้โดส (Dose) สูงมาก ๆ รวมถึงผลการรักษาก็ไม่ได้เป็นที่ประจักษ์จึงไม่นิยมใช้ วิตามินซีแบบฉีดจะลดประสิทธิภาพยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ อิริโทรมัยซิน คานามัยซิน สเตร็ปโตมัยซิน ด็อกซีซัยคลิน และลินโคมัยซิน รวมถึงยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อวาร์ฟาริน รูปแบบวิตามินซีที่สามารถกินได้ ผักผลไม้ พริกหวานแดงบรอคโคลี่  รวมทั้งผักและผลไม้แทบทุกชนิด ไม่ได้มีแต่ผักผลไม้รสเปรี้ยว […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

การกินอาหาร คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb Diets) มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

การกินอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb Diets) และมีโปรตีนสูง เพื่อการลดน้ำหนัก ถือเป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถช่วยลดน้ำหนัก และยังทำให้การเผาผลาญพลังงานดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่แนะนำว่าการลดความอ้วนด้วยวิธีนี้ในระยะยาว อาจส่งผลต่อสุขภาพ การลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรตต่ำ ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb Diets) หรือที่บางคนเรียกว่า โลว์คาร์บ หมายถึงการกินคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง และเพิ่มการกินโปรตีน โดยการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้มักจะแนะนำว่า ควรได้รับแคลอรี่จากการกินโปรตีน 30% ถึง 50% ของแคลอรี่ทั้งหมด หลักการของการลดน้ำหนัก ด้วยการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำคือ โดยปกติแล้วร่างกายจะเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง และเมื่อลดการกินคาร์โบไฮเดรตอย่างรุนแรง โดยกินคาร์โบไฮเดรตเพียง 20 กรัมต่อวัน ร่างกายจะเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญที่เรียกว่า คีโตซิส (ketosis) ที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีน้ำตาล (กลูโคส) ไม่เพียงพอสำหรับใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นร่างกายจึงสลายไขมันที่สะสมไว้ ทำให้เกิด คีโตน (ketone) ซึ่งเป็นสารเคมีที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ส่วนผลข้างเคียงจากภาวะคีโตซิสนั้น อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดหัว และมีกลิ่นปาก นอกจากนี้ เมื่อไขมันกลายเป็นแหล่งพลังงานหลัก ร่างกายก็จะนำไขมันมาใช้ ส่งผลให้น้ำหนักของคุณลดลง เพิ่มเติมไปกว่านั้น การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาจช่วยลดระดับอินซูลิน ที่จะส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้ เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน […]


ข้อมูลโภชนาการ

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยอาหารที่หาได้ง่ายใกล้ ๆ ตัว

ระบบภูมิคุ้มกัน ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรค แต่ถ้าระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายก็ไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ทำให้ป่วยได้ง่าย ซึ่งการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแรงขึ้นอาจทำได้ด้วยหลากหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและทำให้ร่างกายแข็งแรง [embed-health-tool-bmr] ระบบภูมิคุ้มกันสำคัญต่อร่างกายอย่างไร ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยเซลล์พิเศษ โปรตีน เนื้อเยื่อ และอวัยวะ มีหน้าที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและจุลินทรีย์ และมีบทบาทสำคัญในการทำให้ร่างมีสุขภาพดีและป้องกันการติดเชื้อ แต่บางครั้งปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน อาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยและการติดเชื้อได้ อาหารบางประเภทสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ดังนั้น หากต้องการหากวิธีป้องกันไข้หวัด หรือป้องกันการไม่สบายในเวลาที่อากาศเปลี่ยน อาจเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร ด้วยการรับประทานอาหารบางอย่าง เพื่อให้ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้ อาหารที่ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 1. ผลไม้รสเปรี้ยว คนส่วนใหญ่กินวิตามินซีหลังจากที่เป็นไข้หวัด เนื่องจากวิตามินซีมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้วิตามินซียังอาจเพิ่มการผลิต เม็ดเลือดขาว ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กับการติดเชื้อ และผลไม้รสเปรี้ยวที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ส้ม เลมอน มะนาว เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตหรือเก็บวิตามินซีได้ จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากมื้ออาหารเพื่อรักษาสุขภาพ และผลไม้รสเปรี้ยวส่วนใหญ่อุดมไปด้วยวิตามินซี ดังนั้น จึงอาจเพิ่มผลไม้รสเปรี้ยวในมื้ออาหาร 2. บร็อคโคลี่ บร็อคโคลี่ อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและไฟเบอร์ จึงถือว่าเป็นหนึ่งในผักที่มีประโยชน์ และดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย คำแนะนำคือเวลาปรุงอาหาร เช่น ผัดบร็อคโคลี่กุ้งสด ควรลดปริมาณน้ำมันและน้ำตาลเพื่อสุขภาพ 3. […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะม่วงสุก หวานอร่อย กินให้พอดีก็มีประโยชน์มากหลาย

มะม่วง เป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยและมีสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะ มะม่วงสุก ที่มีรสชาติหวานอร่อย แต่อย่างไรก็ตาม มะม่วงสุกก็มีน้ำตาลค่อนข้างสูง จึงควรกินในปริมาณที่พอดี เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สุขภาพของมะม่วง โดยไม่สร้างปัญหาต่อร่างกาย มะม่วงสุก อุดมคุณค่าอาหาร มะม่วงสุก 1 ถ้วย (165 กรัม) ให้พลังงาน 107 แคลอรี่ และมีสารอาหารดังนี้ ไฟเบอร์ 3 กรัม น้ำตาล 24 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 25% ของปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน วิตามันซี 76% ของปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน โพแทสเซียม 257 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.2 มิลลิกรัม นอกจากนี้มะม่วงยังมีแร่ธาตุทองแดง (คอปเปอร์) แคลเซียม และธาตุเหล็ก รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระซีแซนทิน (zeaxanthin) และเบต้า-แคโรทีน (beta-carotene) อีกด้วย ประโยชน์สุขภาพของมะม่วงสุก อาจช่วยป้องกันมะเร็ง งานวิจัยโดย Texas AgriLife Research ให้ข้อมูลว่า นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารได้ทดสอบปฏิกิริยาของสารสกัดโพลีฟีนอล (Polyphenol) ในมะม่วงกับเนื้อเยื่อมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมลูกหมาก ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากมะม่วงส่งผลต่อเซลล์มะเร็งทุกเซลล์ […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

อาหารที่ทำให้ท้องอืด และเพิ่มแก๊สในระบบทางเดินอาหารโดยไม่รู้ตัว

อาการท้องอืดเนื่องจากแก๊สในระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยอาจเกิดจากการที่คุณได้รับอากาศมากเกินไป จากการกินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป รวมถึงการพูดไปด้วย กินไปด้วย ซึ่งการมีแก๊สในร่างกายอาจเกิดจากการกิน อาหารที่ทำให้ท้องอืด บางประเภท และสามารถบรรเทาอาการได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการท้องอืดเนื่องจากแก๊ส ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาคุณหมอเพราะอาจหมายถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง ถั่ว ถ้านึกถึงอาหารที่ทำให้มีแก๊ส ‘ถั่ว’ ถือเป็นอันดับแรกที่หลายคนจะนึกถึง เนื่องจากถั่วมีแรฟฟิโนส (Raffinose) มาก ซึ่งเป็นโมเลกุลน้ำตาลเชิงซ้อนที่ร่างกายย่อยยาก โดยเมื่อแรฟฟิโนสเคลื่อนที่ผ่านลำไส้เล็กไปสู่ลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียจะสลายโมเลกุลน้ำตาล สามารถทำให้เกิดการผลิตไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สมีเทน ซึ่งแก๊สเหล่านี้จะออกจากร่างกายทางทวารหนัก ดังนั้นการกินถั่วในปริมาณที่พอดีสามารถช่วยลดแก๊สในระบบทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้การแช่ถั่วไว้ข้ามคืนก่อนนำมาปรุงอาหาร ก็สามารถช่วยลดแก๊สได้เช่นกัน ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว น้ำตาลแลคโตส พบมากในผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว เช่น ชีส โยเกิร์ตและไอศกรีม สำหรับผู้ที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเตสได้เพียงพอ ก็จะยากต่อการย่อยน้ำตาลแลคโตส ซึ่งสามารถเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) โดยการมีแก๊สในระบบทางเดินอาหาร ถือเป็นหนึ่งในอาการของภาวะแพ้แลคโตส ซึ่งถ้าคุณสงสัยว่าอาจเป็นเพราะสาเหตุนี้ ควรปรึกษาแพทย์ และอาจลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว ธัญพืชเต็มเมล็ด ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น โฮลวีต ข้าวโอ๊ต ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ แรฟฟิโนส (Raffinose) และแป้ง โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะสลายสารอาหารเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดแก๊ส แต่อย่างไรก็ตาม ข้าว ถือเป็นธัญพืชเต็มเมล็ดประเภทเดียวที่ไม่ทำให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหาร ผัก ผักบางชนิด […]


โรคอ้วน

โรคอ้วน (Obesity)

โรคอ้วน เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ คำจำกัดความ โรคอ้วนคืออะไร โรคอ้วน (Obesity) เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย โรคอ้วนไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงอีกด้วย โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) มีแนวคิดที่แตกต่างกันสองประการ ภาวะน้ำหนักเกินเป็นภาวะหนึ่งที่น้ำหนักที่มากเกินไปเพิ่มขึ้นตามความสูงซึ่งไม่ได้เกิดจากไขมันส่วนเกินเท่านั้นแต่ยังเกิดจากกล้ามเนื้อจำนวนมากหรือน้ำในร่างกายด้วยเช่นกัน ภาวะทั้งสองประการนี้เป็นผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ โรคอ้วนพบได้บ่อยเพียงใด ทุกคนสามารถเป็นโรคอ้วนได้ หากไม่มีการลดอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม โรคอ้วนมักมีการวินิจฉัยในผู้ที่ทำงานธุรการ หรือในสำนักงาน คุณสามารถจำกัดการเกิดโรคนี้ได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคอ้วน ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (body mass index: BMI) ค่าสูงกว่า 25 จัดว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) ค่า 30 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วน และค่า 40 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลร่างกายเป็นวิธีหนึ่งเพื่อให้ทราบว่า คนหนึ่งมีภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่ สูตรในการคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย คือ การใช้น้ำหนักตัวที่เป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง (ลองคำนวณดัชนีมวลกายได้ที่นี่) ค่าดัชนีมวลร่างกาย = น้ำหนัก (กก.) / (ความสูงเมตร2) สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ค่าดัชนีมวลร่างกายช่วยประมาณการปริมาณไขมันในร่างกายที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ค่าดัชนีมวลร่างกายไม่ได้วัดไขมันในร่างกายได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

8 อาหารต้านข้ออักเสบ ที่อาจช่วยคุณป้องกันโรคนี้ได้

คุณเคยต้องต่อสู้กับข้ออักเสบ (arthritis) หรือไม่ คุณทราบหรือไม่ว่า คุณสามารถต่อสู้ข้ออักเสบได้ โดยการเลือกอาหารที่เหมาะสม อาหารไม่เพียงแต่รสชาติดีเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยต้านการอักเสบ ทำให้กระดูกแข็งแรง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย เราจะอธิบายว่าข้ออักเสบคืออะไร และ อาหารต้านข้ออักเสบ ได้อย่างไร ข้ออักเสบคืออะไร ข้ออักเสบหมายความว่า มีการอักเสบเกิดขึ้นในข้อต่อหนึ่งข้อหรือมากกว่า การอักเสบจัดเป็นส่วนของกระบวนการหนึ่งในการเยียวยาตัวของร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่เป็นสิ่งปกป้องไวรัสและแบคทีเรีย หรือเป็นปฏิกิริยาต่อการบาดเจ็บ อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดการอักเสบขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ และส่งผลระบบภูมิคุ้มกันของข้อต่อ แทนการช่วยซ่อมแซมร่างกาย ร่างกายจึงได้รับผลกระทบ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดและอาการฝืดแข็งของข้อต่อได้ อาหารต้านข้ออักเสบ ถึงแม้ว่าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า อาหารสามารถรักษาข้ออักเสบได้ แต่การเพิ่มอาหารเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สามารถต้านการอักเสบและป้องกันข้ออักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลา การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 อาจจำกัดการอักเสบในร่างกาย และลดอาการต่างๆ ของข้ออักเสบได้ กรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณมากพบในปลาบางประเภท เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู และปลาแฮร์ริ่ง แนะนำให้กินอาหารจำพวกปลาอย่างน้อย 85 กรัม สองครั้งต่อสัปดาห์ ถั่วเหลือง หากคุณไม่สามารถทนกับกลิ่นคาวปลาได้ ทำไมไม่ลองถั่วเหลืองล่ะ? ถั่วเหลืองมีประโยชน์ในการต้านการอักเสบ เช่นเดียวกับกรดไขมันโอเมก้า 3 ถั่วเหลืองยังมีประโยชน์หลายอย่างต่อสุขภาพ อีกทั้งมีไขมันต่ำแต่มีโปรตีนและใยอาหารสูง น้ำมันมะกอก เชื่อกันว่าน้ำมันมะกอกในอาหารช่วยลดอาการปวดและอาการฝืดแข็งของข้อต่อ ในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) คุณสมบัติในการต้านอักเสบของน้ำมันมะกอกมาจากกรดโอเลอิก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน