โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารว่างมื้อดึกสำหรับคนลดความอ้วน ที่กินเท่าไหร่ น้ำหนักก็ไม่เพิ่ม

เชื่อว่าหลาย ๆ คน ต้องมีความรู้สึกนี้กันบ้างที่อาการหิวในช่วงเวลากลางคืนของเรามักกำเริบ แต่ขณะเดียวกันหากเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีตอนขณะหิวโหย ก็อาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นจนในที่สุดก็เสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอแนะนำ อาหารว่างมื้อดึกสำหรับคนลดความอ้วน มาฝากทุกคนให้ได้ลองเลือกไปรับประทานมาฝากกัน เพื่อกำจัดความหิวที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องกลัวหุ่นจะพัง กินอาหารมื้อดึกทำให้น้ำหนักเพิ่ม จริงหรือ นักวิจัยจาก Northwestern University  พบว่าการรับประทานอาหารในช่วงเวลากลางคืนสามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าได้ โดยสิ่งที่กระตุ้นความหิวโหยนี้ อาจมาจากความเครียด รู้สึกเบื่อหน่าย ที่สำคัญหากคุณยิ่งรับประทานอาหารก่อนถึงเวลาเข้านอนมากเกินไป ก็จะทำให้คุณรู้สึกถึงอาหารไม่ย่อย จนรบกวนการนอนหลับได้อีกด้วย นอกจากนี้อาหารส่วนใหญ่ที่ผู้คนเลือกรับประทานในช่วงเวลากลางคืน มักเป็นอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น คุ้กกี้ ลูกอม มันฝรั่งทอด ป็อปคอร์น ไอศกรีม พร้อมทั้งทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมด้วย จึงยิ่งส่งผลให้คุณเพลิดเพลิน และรับแคลอรีปริมาณมากเข้าไปโดยไม่รู้ตัว อาหารว่างมื้อดึกสำหรับคนลดความอ้วน มีอะไรบ้าง หากคุณกำลังอยู่นช่วงกำลังลดความอ้วน แต่ก็อดทนกับความหิวตอนกลางคืนไม่ไหว อาหารว่างต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยทำให้คุณอิ่มท้อง โดยปราศจากไขมันสะสม และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ น้ำผลไม้ เพื่อจะให้ได้รับประโยชน์สูงสุดแก่สุขภาพ คุณควรเลือกน้ำผลไม้แท้ที่มีความเข้มข้นที่ประกอบด้วยน้ำตาลให้น้อยที่สุด โดยอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ หรือทำการคั้นจากผลไม้ด้วยตนเอง ก็ย่อมด้ เพื่อความมั่นใจกังวล ธัญพืช หรือถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วชิกพี อัลมอนด์ […]

หมวดหมู่ โภชนาการเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

ประโยชน์ของวิตามินซี

วิตามินซีเป็นกรดผลไม้ชนิดหนึ่งพบได้ตามธรรมชาติในอาหารประเภทต่าง ๆ ทั้งผัก ผลไม้ ประโยชน์ของวิตามินซีเองนั้นมีมากมาย โดยร่างกายต้องการวิตามินซีเพื่อนำมาใช้ต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงเซลล์ให้แข็งแรง ดังนั้น ในแต่ละวันร่างกายจึงควรได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์วิตามินซี มีอะไรบ้าง วิตามินซีเป็นองค์ประกอบในกระบวนการสร้างคอลลาเจนที่จะนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อ ไทโรซีน คาร์นิทีน และที่สำคัญ วิตามินซียังช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้อีกด้วย วิตามินซีช่วยป้องกันโรค เช่น ไข้หวัด  โรคเกี่ยวกับเซลล์อักเสบ รวมถึงเซลล์แบ่งตัวผิดปกติที่เรียกกันว่าเซลล์มะเร็งด้วย โดยสามารถสรุปได้เป็นหลัก 3 กลุ่มด้วยกัน คือ ไข้หวัดจากไวรัสระดับไม่รุนแรงเท่านั้น เพราะวิตามินไม่สามารถช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือภาวะหายใจล้มเหลว (ARDS) ใด ๆ ได้เลย โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ทั้งนี้ วิตามินซีเป็นเพียงองค์ประกอบในการป้องกันโรคเท่านั้น ไม่มีผลชัดเจนเรื่องรักษาหรือเป็นยาหลักในการรักษาแต่อย่างใด มีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุว่าวิตามินซีช่วยรักษาหรือป้องกันการลุกลามมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูงได้ แต่ต้องใช้โดส (Dose) สูงมาก ๆ รวมถึงผลการรักษาก็ไม่ได้เป็นที่ประจักษ์จึงไม่นิยมใช้ วิตามินซีแบบฉีดจะลดประสิทธิภาพยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ อิริโทรมัยซิน คานามัยซิน สเตร็ปโตมัยซิน ด็อกซีซัยคลิน และลินโคมัยซิน รวมถึงยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อวาร์ฟาริน รูปแบบวิตามินซีที่สามารถกินได้ ผักผลไม้ พริกหวานแดงบรอคโคลี่  รวมทั้งผักและผลไม้แทบทุกชนิด ไม่ได้มีแต่ผักผลไม้รสเปรี้ยว […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

การกินอาหาร คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb Diets) มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

การกินอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb Diets) และมีโปรตีนสูง เพื่อการลดน้ำหนัก ถือเป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถช่วยลดน้ำหนัก และยังทำให้การเผาผลาญพลังงานดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่แนะนำว่าการลดความอ้วนด้วยวิธีนี้ในระยะยาว อาจส่งผลต่อสุขภาพ การลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรตต่ำ ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb Diets) หรือที่บางคนเรียกว่า โลว์คาร์บ หมายถึงการกินคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง และเพิ่มการกินโปรตีน โดยการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้มักจะแนะนำว่า ควรได้รับแคลอรี่จากการกินโปรตีน 30% ถึง 50% ของแคลอรี่ทั้งหมด หลักการของการลดน้ำหนัก ด้วยการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำคือ โดยปกติแล้วร่างกายจะเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง และเมื่อลดการกินคาร์โบไฮเดรตอย่างรุนแรง โดยกินคาร์โบไฮเดรตเพียง 20 กรัมต่อวัน ร่างกายจะเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญที่เรียกว่า คีโตซิส (ketosis) ที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีน้ำตาล (กลูโคส) ไม่เพียงพอสำหรับใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นร่างกายจึงสลายไขมันที่สะสมไว้ ทำให้เกิด คีโตน (ketone) ซึ่งเป็นสารเคมีที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ส่วนผลข้างเคียงจากภาวะคีโตซิสนั้น อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดหัว และมีกลิ่นปาก นอกจากนี้ เมื่อไขมันกลายเป็นแหล่งพลังงานหลัก ร่างกายก็จะนำไขมันมาใช้ ส่งผลให้น้ำหนักของคุณลดลง เพิ่มเติมไปกว่านั้น การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาจช่วยลดระดับอินซูลิน ที่จะส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้ เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน […]


ข้อมูลโภชนาการ

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยอาหารที่หาได้ง่ายใกล้ ๆ ตัว

ระบบภูมิคุ้มกัน ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรค แต่ถ้าระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายก็ไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ทำให้ป่วยได้ง่าย ซึ่งการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแรงขึ้นอาจทำได้ด้วยหลากหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและทำให้ร่างกายแข็งแรง [embed-health-tool-bmr] ระบบภูมิคุ้มกันสำคัญต่อร่างกายอย่างไร ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยเซลล์พิเศษ โปรตีน เนื้อเยื่อ และอวัยวะ มีหน้าที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและจุลินทรีย์ และมีบทบาทสำคัญในการทำให้ร่างมีสุขภาพดีและป้องกันการติดเชื้อ แต่บางครั้งปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน อาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยและการติดเชื้อได้ อาหารบางประเภทสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ดังนั้น หากต้องการหากวิธีป้องกันไข้หวัด หรือป้องกันการไม่สบายในเวลาที่อากาศเปลี่ยน อาจเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร ด้วยการรับประทานอาหารบางอย่าง เพื่อให้ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้ อาหารที่ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 1. ผลไม้รสเปรี้ยว คนส่วนใหญ่กินวิตามินซีหลังจากที่เป็นไข้หวัด เนื่องจากวิตามินซีมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้วิตามินซียังอาจเพิ่มการผลิต เม็ดเลือดขาว ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กับการติดเชื้อ และผลไม้รสเปรี้ยวที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ส้ม เลมอน มะนาว เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตหรือเก็บวิตามินซีได้ จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากมื้ออาหารเพื่อรักษาสุขภาพ และผลไม้รสเปรี้ยวส่วนใหญ่อุดมไปด้วยวิตามินซี ดังนั้น จึงอาจเพิ่มผลไม้รสเปรี้ยวในมื้ออาหาร 2. บร็อคโคลี่ บร็อคโคลี่ อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและไฟเบอร์ จึงถือว่าเป็นหนึ่งในผักที่มีประโยชน์ และดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย คำแนะนำคือเวลาปรุงอาหาร เช่น ผัดบร็อคโคลี่กุ้งสด ควรลดปริมาณน้ำมันและน้ำตาลเพื่อสุขภาพ 3. […]


ข้อมูลโภชนาการ

มะม่วงสุก หวานอร่อย กินให้พอดีก็มีประโยชน์มากหลาย

มะม่วง เป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยและมีสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะ มะม่วงสุก ที่มีรสชาติหวานอร่อย แต่อย่างไรก็ตาม มะม่วงสุกก็มีน้ำตาลค่อนข้างสูง จึงควรกินในปริมาณที่พอดี เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สุขภาพของมะม่วง โดยไม่สร้างปัญหาต่อร่างกาย มะม่วงสุก อุดมคุณค่าอาหาร มะม่วงสุก 1 ถ้วย (165 กรัม) ให้พลังงาน 107 แคลอรี่ และมีสารอาหารดังนี้ ไฟเบอร์ 3 กรัม น้ำตาล 24 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 25% ของปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน วิตามันซี 76% ของปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน โพแทสเซียม 257 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.2 มิลลิกรัม นอกจากนี้มะม่วงยังมีแร่ธาตุทองแดง (คอปเปอร์) แคลเซียม และธาตุเหล็ก รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระซีแซนทิน (zeaxanthin) และเบต้า-แคโรทีน (beta-carotene) อีกด้วย ประโยชน์สุขภาพของมะม่วงสุก อาจช่วยป้องกันมะเร็ง งานวิจัยโดย Texas AgriLife Research ให้ข้อมูลว่า นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารได้ทดสอบปฏิกิริยาของสารสกัดโพลีฟีนอล (Polyphenol) ในมะม่วงกับเนื้อเยื่อมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมลูกหมาก ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากมะม่วงส่งผลต่อเซลล์มะเร็งทุกเซลล์ […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

อาหารที่ทำให้ท้องอืด และเพิ่มแก๊สในระบบทางเดินอาหารโดยไม่รู้ตัว

อาการท้องอืดเนื่องจากแก๊สในระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยอาจเกิดจากการที่คุณได้รับอากาศมากเกินไป จากการกินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป รวมถึงการพูดไปด้วย กินไปด้วย ซึ่งการมีแก๊สในร่างกายอาจเกิดจากการกิน อาหารที่ทำให้ท้องอืด บางประเภท และสามารถบรรเทาอาการได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการท้องอืดเนื่องจากแก๊ส ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาคุณหมอเพราะอาจหมายถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง ถั่ว ถ้านึกถึงอาหารที่ทำให้มีแก๊ส ‘ถั่ว’ ถือเป็นอันดับแรกที่หลายคนจะนึกถึง เนื่องจากถั่วมีแรฟฟิโนส (Raffinose) มาก ซึ่งเป็นโมเลกุลน้ำตาลเชิงซ้อนที่ร่างกายย่อยยาก โดยเมื่อแรฟฟิโนสเคลื่อนที่ผ่านลำไส้เล็กไปสู่ลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียจะสลายโมเลกุลน้ำตาล สามารถทำให้เกิดการผลิตไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สมีเทน ซึ่งแก๊สเหล่านี้จะออกจากร่างกายทางทวารหนัก ดังนั้นการกินถั่วในปริมาณที่พอดีสามารถช่วยลดแก๊สในระบบทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้การแช่ถั่วไว้ข้ามคืนก่อนนำมาปรุงอาหาร ก็สามารถช่วยลดแก๊สได้เช่นกัน ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว น้ำตาลแลคโตส พบมากในผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว เช่น ชีส โยเกิร์ตและไอศกรีม สำหรับผู้ที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเตสได้เพียงพอ ก็จะยากต่อการย่อยน้ำตาลแลคโตส ซึ่งสามารถเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) โดยการมีแก๊สในระบบทางเดินอาหาร ถือเป็นหนึ่งในอาการของภาวะแพ้แลคโตส ซึ่งถ้าคุณสงสัยว่าอาจเป็นเพราะสาเหตุนี้ ควรปรึกษาแพทย์ และอาจลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว ธัญพืชเต็มเมล็ด ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น โฮลวีต ข้าวโอ๊ต ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ แรฟฟิโนส (Raffinose) และแป้ง โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะสลายสารอาหารเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดแก๊ส แต่อย่างไรก็ตาม ข้าว ถือเป็นธัญพืชเต็มเมล็ดประเภทเดียวที่ไม่ทำให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหาร ผัก ผักบางชนิด […]


โรคอ้วน

โรคอ้วน (Obesity)

โรคอ้วน เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ คำจำกัดความ โรคอ้วนคืออะไร โรคอ้วน (Obesity) เป็นความผิดปกติที่ซับซ้อนประการหนึ่ง ที่เกียวข้องกับภาวะที่มีไขมันมากเกินไปในร่างกาย โรคอ้วนไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วย และปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงอีกด้วย โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) มีแนวคิดที่แตกต่างกันสองประการ ภาวะน้ำหนักเกินเป็นภาวะหนึ่งที่น้ำหนักที่มากเกินไปเพิ่มขึ้นตามความสูงซึ่งไม่ได้เกิดจากไขมันส่วนเกินเท่านั้นแต่ยังเกิดจากกล้ามเนื้อจำนวนมากหรือน้ำในร่างกายด้วยเช่นกัน ภาวะทั้งสองประการนี้เป็นผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ โรคอ้วนพบได้บ่อยเพียงใด ทุกคนสามารถเป็นโรคอ้วนได้ หากไม่มีการลดอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม โรคอ้วนมักมีการวินิจฉัยในผู้ที่ทำงานธุรการ หรือในสำนักงาน คุณสามารถจำกัดการเกิดโรคนี้ได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคอ้วน ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (body mass index: BMI) ค่าสูงกว่า 25 จัดว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) ค่า 30 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วน และค่า 40 หรือสูงกว่าจัดว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลร่างกายเป็นวิธีหนึ่งเพื่อให้ทราบว่า คนหนึ่งมีภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่ สูตรในการคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย คือ การใช้น้ำหนักตัวที่เป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง (ลองคำนวณดัชนีมวลกายได้ที่นี่) ค่าดัชนีมวลร่างกาย = น้ำหนัก (กก.) / (ความสูงเมตร2) สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ค่าดัชนีมวลร่างกายช่วยประมาณการปริมาณไขมันในร่างกายที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ค่าดัชนีมวลร่างกายไม่ได้วัดไขมันในร่างกายได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

8 อาหารต้านข้ออักเสบ ที่อาจช่วยคุณป้องกันโรคนี้ได้

คุณเคยต้องต่อสู้กับข้ออักเสบ (arthritis) หรือไม่ คุณทราบหรือไม่ว่า คุณสามารถต่อสู้ข้ออักเสบได้ โดยการเลือกอาหารที่เหมาะสม อาหารไม่เพียงแต่รสชาติดีเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยต้านการอักเสบ ทำให้กระดูกแข็งแรง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย เราจะอธิบายว่าข้ออักเสบคืออะไร และ อาหารต้านข้ออักเสบ ได้อย่างไร ข้ออักเสบคืออะไร ข้ออักเสบหมายความว่า มีการอักเสบเกิดขึ้นในข้อต่อหนึ่งข้อหรือมากกว่า การอักเสบจัดเป็นส่วนของกระบวนการหนึ่งในการเยียวยาตัวของร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่เป็นสิ่งปกป้องไวรัสและแบคทีเรีย หรือเป็นปฏิกิริยาต่อการบาดเจ็บ อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดการอักเสบขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ และส่งผลระบบภูมิคุ้มกันของข้อต่อ แทนการช่วยซ่อมแซมร่างกาย ร่างกายจึงได้รับผลกระทบ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดและอาการฝืดแข็งของข้อต่อได้ อาหารต้านข้ออักเสบ ถึงแม้ว่าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า อาหารสามารถรักษาข้ออักเสบได้ แต่การเพิ่มอาหารเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สามารถต้านการอักเสบและป้องกันข้ออักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลา การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 อาจจำกัดการอักเสบในร่างกาย และลดอาการต่างๆ ของข้ออักเสบได้ กรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณมากพบในปลาบางประเภท เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู และปลาแฮร์ริ่ง แนะนำให้กินอาหารจำพวกปลาอย่างน้อย 85 กรัม สองครั้งต่อสัปดาห์ ถั่วเหลือง หากคุณไม่สามารถทนกับกลิ่นคาวปลาได้ ทำไมไม่ลองถั่วเหลืองล่ะ? ถั่วเหลืองมีประโยชน์ในการต้านการอักเสบ เช่นเดียวกับกรดไขมันโอเมก้า 3 ถั่วเหลืองยังมีประโยชน์หลายอย่างต่อสุขภาพ อีกทั้งมีไขมันต่ำแต่มีโปรตีนและใยอาหารสูง น้ำมันมะกอก เชื่อกันว่าน้ำมันมะกอกในอาหารช่วยลดอาการปวดและอาการฝืดแข็งของข้อต่อ ในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) คุณสมบัติในการต้านอักเสบของน้ำมันมะกอกมาจากกรดโอเลอิก […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

การดื่มน้ำ ตัวช่วยในการลดน้ำหนักที่ไม่ควรมองข้าม

การดื่มน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพโดยรวม และสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก การดื่มน้ำอาจช่วยได้ เพราะนอกจากน้ำจะเป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำหนักเนื่องด้วยน้ำไม่มีแคลอรี่ น้ำยังมีคุณสมบัติอีกหลายประการที่เป็นประโยชน์ต่อการลดน้ำหนักอีกด้วย ประโยชน์ของ การดื่มน้ำ เพื่อการลดน้ำหนัก ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน การดื่มน้ำอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน โดยจากงานวิจัยที่ศึกษาในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งให้เพิ่มปริมาณการดื่มน้ำให้มากกว่า 1 ลิตรต่อวัน ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างน้ำหนักลดลง 2 กิโลกรัม (4.4 ปอนด์) โดยที่กลุ่มตัวอย่างไม่ได้เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ใด ๆ เพียงแค่เพิ่มการดื่มน้ำมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า การดื่มน้ำ 0.5 ลิตร (17 ออนซ์) อาจช่วยส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้น 23 แคลอรี่ มากไปกว่านั้นยังมีอีกหลายงานวิจัยที่ศึกษากลุ่มตัวอย่าง ที่มีน้ำหนักเกิน โดยให้ดื่มน้ำ 1-1.5 ลิตรต่อวัน เป็นเวลาไม่กี่สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าการดื่มน้ำอาจช่วยลดน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย รอบเอว และมวลไขมัน ได้อย่างมีนัยสำคัญ ลดความอยากอาหาร การดื่มน้ำก่อนกินอาหารอาจช่วยลดความอยากอาหารได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีผลในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ เนื่องจากมีงานวิจัยที่ศึกษาในผู้สูงอายุ แสดงให้เห็นว่า การดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร เป็นเวลามากกว่า 12 สัปดาห์ อาจทำให้ลดน้ำหนักได้ 2 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นวัยกลางคน ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน โดยให้กลุ่มตัวอย่างดื่มน้ำก่อนมื้ออาหารแต่ละมื้อ ผลการวิจัยพบว่าช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่า […]


ข้อมูลโภชนาการ

โทงเทงฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

โทงเทงฝรั่ง (Cape Gooseberry) เป็นผลไม้ที่มีลักษณะเป็นผลเล็ก ๆ สีส้ม คล้ายกับมะเขือเทศ ที่มีกลีบหุ้มอยู่ มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานคล้ายสัปปะรด สามารถรับประทานเป็นผลสดหรืออาจนำไปประกอบอาหาร เช่น แยม ซอส การรับประทานโทงเทงฝรั่งอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งอาจช่วยต้านอักเสบ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงสายตา อย่างไรก็ตาม การรับประทานผลโทงเทงฝรั่งดิบอาจทำให้ได้รับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ [embed-health-tool-”bmr”] คุณค่าทางโภชนาการของโทงเทงฝรั่ง โทงเทงฝรั่ง เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ ยังให้ปริมาณแคลลอรี่ในระดับปานกลาง เคพกูสเบอร์จำนวน 140 กรัมเต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรต 15.7 กรัม ไฟเบอร์ 6 กรัม นอกจานนี้ โทงเทงฝรั่ง ยังมีเบตาแคโรทีนและวิตามินเคในปริมาณสูงพร้อมกับแคลเซียมอีกเล็กน้อย ประโยชน์ต่อสุขภาพของโทงเทงฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โทงเทงฝรั่ง มีสารประกอบของพืชที่เรียกว่า “สารต้านอนุมูลอิสระ” ในระดับที่สูง ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้จะช่วยป้องกันและซ่อมแซมความเสียหายของร่างกายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ทำให้ร่างกายแก่ลงและทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคมะเร็ง จากการศึกษาพบว่า เคพกูสเบอร์รี่มีสารประกอบถึง 34 ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สารประกอบฟีนอลิกที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่บริเวณผิวของ โทงเทงฝรั่ง มีมากกว่าบริเวณเนื้อถึง 3 เท่า นอกจากนี้ ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระจะสูงที่สุดเมื่อผลเคพกูสเบอร์รี่สุกดี มีประโยชน์ในการต้านการอักเสบ สารประกอบสำคัญที่พบใน […]


โภชนาการพิเศษ

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยอาหารที่อาจช่วยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

อาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การเลือกกินอาหารบางชนิดอาจมีส่วนช่วยในการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมอาหารบางประเภทที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเพิ่มเข้าไว้ในมื้ออาหารของตนเองมาฝากกันในบทความนี้ ประเภทของอาหารที่อาจมีส่วนช่วยในการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  ผักใบเขียว ผักใบเขียว อุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารอาหาร เช่น แมกนีเซียมและวิตามินเอ ซึ่งสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยผักใบเขียวที่ควรเพิ่มลงไปในมื้ออาหาร ได้แก่ ผักโขม ผักกาดหอม ผักคะน้า ผักสวิสชาร์ด งานวิจัยชี้ว่าการกินผักใบเขียว 1.35 ส่วนต่อวัน แทนการกิน 2 ส่วนจะเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 14% อาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ร่างกายของเราจะย่อยอาหารที่มีไฟเบอร์สูงได้ช้า จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง นอกจากนี้ไฟเบอร์ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือไฟเบอร์ที่ละลายในน้ำ และไม่ละลายในน้ำ โดยไฟเบอร์ที่ไม่ละลายในน้ำ เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ส่วนไฟเบอร์ที่ละลายในน้ำมักจะพบในถั่วเปลือกแข็ง ข้าวโอ๊ต และผลไม้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ไฟเบอร์ที่ละลายในน้ำ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการทำให้ภาวะไวต่ออินซูลิน (Insulin sensitivity) ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้คุณกินยาโรคเบาหวานน้อยลง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า การกินอาหารไฟเบอร์สูง ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจด้วย โดยสำหรับอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่ ผักผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล บล็อคโคลี่  และกล้วย อาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารโปรตีนสูงดีต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากโปรตีนจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเป็นเวลานาน ดังนั้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน