โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งในท่อน้ำนมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื่่อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายออกนอกผนังท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งในต่อมน้ำนมชนิดไม่ลุกลาม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง แต่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมในอนาคต มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งท่อน้ำนมแบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม ได้แพร่กระจายและลุกลามไปยังบริเวณเนื้อเยื่อใกล้เคียง […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ เมื่อเป็นมะเร็งเต้านม ยังสามารถมีลูกได้อยู่หรือเปล่า ?

ปัจจุบันมีผู้หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ เป็น โรคมะเร็งเต้านม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดคำถามสำคัญเรื่อง มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ ว่า เมื่อเป็น โรคมะเร็งเต้านม จะส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์หรือไม่ อย่างไรก็ตามยังไม่มีคำตอบที่น่าพึงพอใจสำหรับคำถามดังกล่าวว่า โรคมะเร็งเต้านม สามารถส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์ของผู้หญิงได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจนี้ ที่จะช่วยชี้เเจงบางประเด็นที่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับการเป็น โรคมะเร็งเต้านม และการตั้งครรภ์  สำหรับผู้ที่รักษา โรคมะเร็งเต้านม จนอาการดีขึ้นแล้วและต้องการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อช่วยขอคำแนะนำสำหรับการวางแผนมีบุตรต่อไป มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้บ้าง ประเภทของการรักษา การรักษา โรคมะเร็งเต้านม นั้นมีหลากหลายรูปแบบ วิธีการรักษาเหล่านี้ จะถูกวินิจฉัยโดยแพทย์ ว่าควรทำการรักษารูปแบบใด เพื่อให้เหมาะสมกับโรคและอาการของผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านม ไม่ใช่การรักษา โรคมะเร็งเต้านม ทุกประเภท ที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเเละฉายรังสีจะยังคงมีบุตรได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด อาจเกิดความเสี่ยง ที่จะทำให้ภาวะรังไข่ล้มเหลว เเละเสี่ยงสูงมากที่จะเข้าสู่สู่วัยหมดประจำเดือนเร็วขึ้น ประเภทเเละระยะของมะเร็ง ประเภทและระยะของมะเร็งจะรุนเเรงขนาดไหนขึ้นอยู่กับการตรวจพบ เช่นเดียวกับประเภทของมะเร็ง ประเภทเเละความรุนเเรงจะชี้ชัดว่าจำเป็นต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือไม่ จึงส่งผลต่อความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่มีต่อรังไข่ด้วย นอกจากนี้ประเภทของเนื้องอก ยังส่งผลต่อโอกาสที่จะตั้งครรภ์ของผู้หญิง มีมะเร็งเต้านมเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ไวต่อฮอร์โมน หมายความว่าไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ฮอร์โมน เเละต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเเทน อายุของผู้ป่วย อายุของผู้ป่วยเป็นตัวชี้วัดภาวะเจริญพันธุ์ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี […]


มะเร็งกระดูก

Bone Metastasis มะเร็งลามมากระดูก สาเหตุ อาการ และการรักษา

มะเร็งหนึ่งในโรคร้ายที่คร่าชีวิตใคร ๆ หลายคน ซึ่งมะเร็งเกือบทุกชนิดสามารถแพร่กระจายไปยังกระดูก โดยหาก Bone Metastasis (มะเร็งลามมากระดูก) อาจทำให้เกิดอาการปวดและกระดูกหัก รวมไปถึงอาการต่าง ๆ ที่แสดงออกมา หรือไม่แสดงก็ตาม ดังนั้นเราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูกกันเลย [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ Bone Metastasis คืออะไร Bone Metastasis คือ มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูก หรือภาวะมะเร็งเข้ากระดูก มักเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจายจากจุดต้นกำเนิดที่อวัยวะอื่นเข้าไปยังกระดูก ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากกระดูกเอง หลายคนอาจสับสนระหว่างภาวะมะเร็งเข้ากระดูกกับมะเร็งกระดูก ความแตกต่างก็คือ ภาวะมะเร็งเข้ากระดูก (Bone Metastasis) คือ เซลล์มะเร็งลุกลามจากที่อื่นมาที่กระดูก ส่วนมะเร็งกระดูก (Bone Cancer) คือ เซลล์มะเร็งมีต้นกำเนิดที่กระดูก ซึ่งถือเป็นโรคมะเร็งที่พบได้ยาก มะเร็งแทบทุกประเภทสามารถลุกลาม หรือแพร่กระจาย (metastasize) ไปยังกระดูกได้ แต่ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไต มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ภาวะมะเร็งเข้ากระดูกสามารถเกิดขึ้นได้กับกระดูกทุกชิ้นในร่างกาย แต่ที่พบบ่อยได้แก่ กระดูกสันหลัง รองลงมาคือ กระดูกต้นขา กระดูกต้นแขน กระดูกสะโพก กระดูกกะโหลกศีรษะ และกระดูกซี่โครง ภาวะมะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูก อาจเป็นสัญญาณแรกที่บอกว่าคุณเป็นมะเร็ง หรืออาจเกิดขึ้นในหลายปีหลังจากเข้ารับการรักษามะเร็งก็เป็นได้ Bone […]


มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colon Cancer or Colorectal Cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ หรือบริเวณส่วนปลายสุดของลำไส้ที่เรียกว่า ไส้ตรง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตบางประการ เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย ไม่รับประทานผักผลไม้ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ คำจำกัดความมะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออะไร มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) บางครั้งเรียกว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal Cancer) ขึ้นอยู่กับที่จุดเกิดโรค มะเร็งชนิดนี้พบที่ลำไส้ใหญ่ หรือบริเวณส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่ ที่เรียกว่า ไส้ตรง ใกล้กับทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งสำไส้ใหญ่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยองค์กรอนามัยโลกเผยว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้บ่อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ทั้งในเพศชายและหญิง (รองจากเนื้องอกในปอด) โรคนี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ชายและผู้หญิงเท่า ๆ กัน แต่ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคนี้เมื่ออายุน้อยกว่า อาการอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่  อาการทั่วไปของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังนี้ เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น ท้องร่วง ท้องผูก รู้สึกว่ายังมีอุจจาระคั่งอยู่หลังจากที่ขับถ่ายเสร็จ มีเลือดปนในอุจจาระ ปวดที่ช่องท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกแน่นในท้อง แม้จะไม่ได้รับประทานอะไรเลย อาเจียน เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หมอคลำพบก้อนเนื้อในช่องท้อง หรือบริเวณสันหลัง สูญเสียธาตุเหล็กอย่างอธิบายไม่ได้ในผู้ชาย และหลังจากหมดวัยทองในผู้หญิง ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากมีสัญญาณหรืออาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรเข้าพบคุณหมอทันที สำหรับผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุก 5-10 ปี หรืออาจต้องบ่อยกว่านั้น หากมีปัจจัยเสี่ยงอื่น […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ อาการ และการรักษา

มะเร็งต่อมลูกหมาก (​Prostate Cancer) คือโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ชาย เกิดขึ้นในบริเวณต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ผลิตอสุจิ และอาจลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ หากสังเกตว่ามีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ มะเร็งต่อมลูกหมาก คืออะไร มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งชนิดร้ายแรง และพบได้บ่อย ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณต่อมลูกหมากของเพศชาย ต่อมนี้มีลักษณะเหมือนถั่ววอลนัทเม็ดเล็กๆ ผลิตน้ำอสุจิที่เป็นสารอาหารและช่วยขับเคลื่อนสเปิร์ม มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นหนึ่งในประเภทของมะเร็งที่พบเจอได้มากที่สุดในเพศชาย ปกติมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะลุกลามอย่างช้าๆ และตอนแรกมักจะอยู่ในเฉพาะบริเวณต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจไม่สร้างความเสียหายร้ายแรงนัก ในขณะที่มะเร็งต่อมลูกหมากบางชนิด จะลุกลามอย่างช้าๆ และอาจต้องการการรักษาเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการรักษาเลย แต่มะเร็งบางประเภทอาจมีอาการรุนแรงและแพร่ขยายได้ไวมาก มะเร็งต่อมลูกหมากที่พบตั้งแต่เนิ่นๆ ในขณะที่มันยังอยู่บริเวณต่อมลูกหมาก มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะประสบความสำเร็จในการรักษา มะเร็งต่อมลูกหมากมีโอกาสพบได้บ่อยแค่ไหน มะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ถือว่าเป็นโรคร้ายแรงที่ส่งผลกระทบผู้ชายหลายพันคนในช่วงวัยกลางคนจนถึงวัยท้ายของชีวิต มะเร็งต่อมลูกหมากที่พบส่วนใหญ่จะเกิดกับเพศชายที่มีอายุมากกว่า 65 ขึ้นไป ในปี 2013 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ประเมินไว้ว่า จำนวนเพศชายชาวอเมริกัน กว่า 239,000 คน จะต้องโดนวินิจฉัยเจอโรคนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษากับคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากอาจไม่แสดงสัญญาณหรืออาการใดๆ ในช่วงแรก มะเร็งต่อมลูกหมากที่พัฒนามากขึ้น อาจแสดงสัญาณและอาการดังต่อไปนี้ มีปัญหาในการปัสสาวะ ความแรงในการปล่อยปัสสาวะลดลง มีเลือดปนอยู่ในอสุจิ รู้สึกเจ็บบริเวณเชิงกราน ปวดกระดูก อวัยวะเพศมีปัญหาไม่แข็งตัว […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งท่อไต (Ureteral Cancer)

มะเร็งท่อไต ก่อตัวขึ้นในท่อที่นำพาปัสสาวะจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งสามารถเติบโตขึ้นได้ในระบบกักเก็บปัสสาวะ แต่เป็นกรณีที่พบได้ยาก คำจำกัดความมะเร็งท่อไต คืออะไร มะเร็งท่อไต (Ureteral Cancer) เป็นมะเร็งที่ก่อตัวขึ้นในท่อที่นำพาปัสสาวะจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งสามารถเติบโตขึ้นได้ในระบบกักเก็บปัสสาวะ แต่เป็นกรณีที่พบได้ยาก มะเร็งท่อไตนั้นมีความใกล้เคียงกับมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เซลล์ที่เรียงตัวอยู่ในท่อไต เป็นประเภทเดียวกันกับเซลล์ที่เรียงตัวอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ผู้ที่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งท่อไต มีความเสี่ยงอย่างมากต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้น หมอของคุณจะแนะนำการตรวจเพื่อหาสัญญาณของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งท่อไตพบบ่อยแค่ไหน มะเร็งท่อไตเป็นโรคที่ไม่ได้พบเห็นได้ทั่วไป โรคนี้มักจะเกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุและในบุคคลที่เคยมีประวัติการรักษามะเร็งมาก่อนในอดีต โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคมะเร็งท่อไต อาการโดยทั่วไปของ โรคมะเร็งท่อไต มีดังนี้ มีเลือดปะปนในปัสสาวะ ปวดหลัง เกิดอาการปวดขณะปัสสาวะ สูญเสียน้ำหนักโดยที่ไม่ได้ทำอะไร อ่อนเพลีย อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการนี้ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ถ้าหากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือหากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอของคุณว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ โรคมะเร็งท่อไต ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ว่าอะไรที่ก่อให้เกิดมะเร็งท่อไต หมอทราบว่ามะเร็งชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ชั้นใน ที่เรียงตัวกันอยู่ในท่อไตเกิดผิดปกติ (การกลายพันธุ์) ในดีเอ็นเอ การกลายพันธุ์จะกระตุ้นให้เซลล์ทำการแตกตัวอย่างรวดเร็ว และยังดำรงอยู่ในขณะที่เซลล์ปกติตายไป ทำให้มีการเติบโตขยายใหญ่ขึ้นของเซลล์ที่ผิดปกติที่สามารถเจริญเติบโตไปปิดกั้นท่อไต หรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของ โรคมะเร็งท่อไต มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างสำหรับ โรคมะเร็งท่อไต เช่น อายุที่มากขึ้น ความเสี่ยงของการเป็น โรคมะเร็งท่อไต จะเพิ่มขึ้นตามอายุ คนส่วนใหญ่ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้ อยู่ในช่วงอายุ 70 และ 80 ขึ้นไป ผู้ที่เคยมีประวัติการเป็นมะเร็งไตหรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ผู้ที่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือมะเร็งไต มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคนี้ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งท่อไตเช่นเดียวกับมะเร็งทางเดินปัสสาวะอื่น ๆ […]


มะเร็งปอด

เด็กป่วย จาก โรคมะเร็งปอด ผู้ปกครองสามารถดูแลได้อย่างไร

โรคมะเร็งปอด สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคลทั่วไป รวมถึงเด็กเล็กนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการดูแลเด็กที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดนั้น นับเป็นเรื่องยากและซับซ้อน เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้จิตวิทยาเข้ามาช่วยเสริม ซึ่งก็ยังขึ้นอยู่กับอายุ สภาพแวดล้อม และการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีบทความดี ๆ มาแนะนำสำหรับครอบครัวที่กำลังประสบปัญหาต้องดูแล เด็กป่วย โรคมะเร็งปลอด ให้ผ่านไปได้มาฝากกันค่ะ ดูแล เด็กป่วย จาก โรคมะเร็งปอด ควรเริ่มจากอะไร การตรวจพบมะเร็งในระยะแรก จะช่วยทำให้การรักษาง่ายขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่กับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ นอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยในการรักษาแล้ว การให้ความใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญด้วย หลักสำคัญในการ ดูแลเด็กป่วย เป็นมะเร็งปอด ก็คือ ขั้นแรกก็ต้องจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย โดยอาหารในแต่ละมื้อ ต้องเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปรตีน ไขมันดี ใยอาหาร แป้ง วิตามิน และแร่ธาตุ นอกจากนี้ก็ควรกระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหาร ในปริมาณที่เยอะขึ้นด้วย โดยแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่ให้เขาได้รับประทานในหลาย ๆ มื้อแทน […]


มะเร็งปอด

วัยรุ่นกับมะเร็งปอด วิธีการจัดการอารมณ์เมื่อพบว่าป่วยเป็นโรคนี้

วัยรุ่นกับมะเร็งปอด อาจฟังดูเป็นเรื่องยุ่งยาก สำหรับผู้ป่วยที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น เพราะนอกจากร่างกายจะเกิดความเปลี่ยนแปลงแล้ว สภาวะอารมณ์ก็ยังอาจแปรปรวน เมื่อรู้ตัวว่าเป็น โรคมะเร็งปอด และต้องเข้ารับการรักษาด้วย กำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนฝูง จึงนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งแต่ละคนก็ล้วนมีวิธีให้กำลังใจที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้ Hello คุณหมอ นำ วิธีการจัดการอารมณ์ของ วัยรุ่นกับมะเร็งปอด ดังกล่าวนี้มาฝากกันค่ะ วัยรุ่นกับมะเร็งปอด และวิธีรับมือกับอารมณ์ที่แปรปรวน การพูดคุยกับแพทย์และพยาบาล เมื่อเป็น โรคมะเร็งปอด การพูดคุยกับแพทย์และพยาบาล อาจเป็นเรื่องยากในช่วงแรก ๆ แต่หลังจากนั้นจะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น คุณคือคนที่จะเข้าใจความรู้สึกของตนเองได้ดีที่สุด ฉะนั้นจึงควรพูดคุยกับแพทย์และพยาบาลตามความเป็นจริง เพื่อที่แพทย์จะได้ช่วยเหลือคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนี่คือเคล็ดลับที่อาจช่วยคุณได้ พูดอะไรตรงไปตรงมา คุณควรบอกแพทย์ถึงความรู้สึก ความเจ็บปวด หรือผลข้างเคียงของโรคมะเร็งปอด เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินการรักษา โรคมะเร็งปอด ได้อย่างเหมาะสม เมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล คุณก็ควรบอกความต้องการให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบ หากรู้สึกว่าการพูดคุยเป็นเรื่องยาก ก็อาจขอให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยพูดให้ นอกจากนี้ ทีมแพทย์อาจประสานให้คุณได้พูดคุยกลุ่มสนับสนุน ผู้ให้คำปรึกษา หรือนักบำบัด เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับอารมณ์ในช่วงที่เป็น โรคมะเร็งปอด ได้ การพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน พูดคุยกับคนที่คุณรู้สึกไว้ใจ เช่น เพื่อนๆ คุณครู หรือคนที่คุยด้วยแล้วรู้สึกสบายใจ ถือเป็นอีกเรื่องที่ช่วยจัดการกับอารมณ์ในช่วงที่เพิ่งรับรู้ว่าเป็น โรคมะเร็งปอด ได้ […]


มะเร็งปอด

ผู้ป่วยมะเร็งปอด สามารเดินทางท่องเที่ยวอย่างสนุกสนานและปลอดภัยได้

ผู้ป่วยมะเร็งปอด สามารถเดินทางท่องเที่ยวเหมือนคนปกติทั่วไป เพียงแต่คุณต้องเตรียมอะไรบางอย่างก่อนการเดินทางเท่านั้นเอง ทาง Hello คุณหมอจึงได้นำสิ่งที่คุณควรรู้มาฝากกัน เพื่อช่วยให้คุณสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัย ผู้ป่วยมะเร็งปอด เดินทางท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการออกเดินทาง คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกเดินทางท่องเที่ยว โดยสอบถามดูว่า คุณมีความพร้อมสำหรับการเดินทางหรือไม่ รวมทั้งขอหนังสือรับรองทางการแพทย์เกี่ยวกับใช้ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ แพทย์อาจแนะนำถึงการเตรียมตัว และสิ่งต้องระมัดระวังยามไปเที่ยว คุณอาจขอให้แพทย์เขียนบันทึกทางการแพทย์ในเรื่องต่อไปนี้ วิธีการใช้ยาและวิธีการรักษา อาการแพ้ต่าง ๆ การวินิจฉัยและแผนการรักษา วิธีการปฏิบัติตนในสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากคำแนะนำจากแพทย์แล้ว คุณจำเป็นต้องนำเอกสารประกันชีวิต และประวัติการรักษา พร้อมทั้งเบอร์ติดต่อฉุกเฉินติดไว้กับตัวตลอดการเดินทาง หากคุณเดินทางไปต่างประเทศ คุณอาจต้องแปลเอกสารให้เป็นภาษาของประเทศนั้น ๆ ด้วย นำยาติดตัวไปด้วย คุณจะต้องนำยาติดตัวไปด้วย และควรนำไปในปริมาณที่เพียงพอด้วย โดยเผื่อเหลือเผื่อขาดเพิ่มอีกซัก 2-3 วัน สายการบินบางแห่งไม่อนุญาตให้นำถังออกซิเจน และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่น ๆ (เช่น เข็มฉีดยา) ขึ้นเครื่องโดยไม่มีหนังสือรับรองจากแพทย์ ฉะนั้นจึงควรเตรียมทุกอย่างไปให้พร้อม และแยกยาใส่ตลับให้ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้ปะปนกัน และป้องกันการรับประทานที่สับสน ข้อควรรู้เมื่อ ผู้ป่วยมะเร็งปอด อยู่บนเครื่องบิน บนเครื่องบินมักจะมีแรงกดอาการต่ำกว่า ซึ่งอาจทำให้ปอดเกิดการหดตัว จนทำให้หายใจได้ลำบาก เมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ก็ควรขอเปลี่ยนที่นั่ง หรือใช้ถังออกซิเจนเพื่อช่วยการหายใจ การนั่งบนเครื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่ม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายได้ ฉะนั้นก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางป้องกันเอาไว้ก่อน ความกดอากาศต่ำยังอาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำเหลืองขึ้นมาได้ ฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ก็ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ที่ใส่สบาย ๆ และเดินไปเดินมาบนเครื่องอย่างน้อย […]


มะเร็งปอด

อ่อนเพลียจากโรคมะเร็งปอด ต่อสู้กับอาการนั้นอย่างไรดี

อ่อนเพลียจากโรคมะเร็งปอด เป็นอาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็น โรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นผลมาจากอาการข้างเคียงของการรักษา หรืออาจเกิดจากอาการของ โรคมะเร็งปอด เองก็ได้อาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นในผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด นั้นทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้า และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการดี ๆ ที่ช่วยจัดการกับอาการอ่อนเพลียจาก โรคมะเร็งปอด ได้ วิธีรับมืออาการ อ่อนเพลียจากโรคมะเร็งปอด อาการอ่อนเพลียเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษา ถือเป็นเรื่องปกติในผู้ป่วยมะเร็ง แต่อาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่แล้วความเพลีย เมื่อยล้า จะดีขึ้นหลังจากการรักษาเสร็จ แต่สำหรับบางคนอาการเหล่านี้อาจจะใช้ระยะเวลาหลายเดือน ไปจนถึงหลายปี หลังจากการรักษา ซึ่งวิธีรับมือกับอาการอ่อนเพลียเหล่านี้ อาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้น รับมือกับอาการ อ่อนเพลียจากโรคมะเร็งปอด ด้วยการรักษาพลังงาน อาการอ่อนเพลีย เป็นอาการที่ร่างกายขาดพลังงาน ดังนั้นจึงควรถนอมพลังงานเอาไว้ เพื่อใช้ต่อสู้กับอาการอ่อนเพลีย  โดยใช้พลังงานกับสิ่งจำเป็นในแต่ละวันจริงๆ เช่น การทำงานอดิเรก ทำอาหาร หรือการทำความสะอาดบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ และไม่ต้องอายที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นบ้าง บางครั้งคุณอาจจะรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ จึงควรหาเวลางีบหลับในช่วงกลางวันซักประมาณ 15-20 นาที ซึ่งจะช่วยเพิ่มพลังให้คุณได้อย่างมาก คุณอาจใช้วิธีจดบันทึกว่าได้ทำอะไรไปในวันนั้นบ้าง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณอ่อนเพลียเพราะอะไร และรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรจะงีบหลับใหม่อีกครั้ง การเป็น โรคมะเร็งปอด ไม่ได้หมายความว่า คุณจะออกไปทำกิจกรรมข้างนอกไม่ได้ เพียงแต่คุณต้องเลือกทำกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับตัวเอง และควรรู้ข้อจำกัดของตัวเอง คุณอาจจะไม่สามารถเล่นกีฬากระโดดร่มได้ แต่การนั่งพักผ่อนริมลำธาร ทำงานในสวน หรือนั่งเล่นในสวนสาธารณะ […]


มะเร็งเต้านม

เป็นมะเร็งเต้านมก็หายได้ ด้วย วิธีรักษามะเร็งเต้านม ที่ถูกต้อง

หนึ่งในโรคที่คร่าชีวิตคนไทย รวมทั้งผู้คนทั่วโลกเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือ โรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งปากมดลูก รวมถึง โรคมะเร็งเต้านม ที่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ของผู้หญิง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แม้โรคมะเร็งเต้านมจะน่ากลัว แต่ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมก็อาจสามารถหายจากโรคได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ตามลักษณะของมะเร็งที่เป็นและสภาพร่างกายของผู้ป่วย ด้วย วิธีรักษามะเร็งเต้านม ที่ Hello คุณหมอนำมาฝากเหล่านี้ มาดู วิธีรักษามะเร็งเต้านม วิธีรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัดมะเร็งเต้านม การผ่าตัดถือเป็นวิธีรักษามะเร็งเต้านมหลักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น วิธีการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 2 วิธี ได้แก่ การตัดเต้านมออกทั้งเต้า การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมด (Total or Simple mastectomy) รวมถึงผิวหนังที่อยู่เหนือก้อนมะเร็งและหัวนมด้วย เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ มีก้อนมะเร็งหลายก้อน หรือผู้ป่วยที่ไม่สะดวกหรือมีข้อห้ามในการฉายรังสีที่เต้านมหลังผ่าตัด การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม  การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast Conserving Surgery หรือ Lumpectomy) คือ การตัดก้อนมะเร็งและเนื้อเต้านมที่อยู่รอบๆ ออก โดยตัดห่างจากขอบของก้อนมะเร็งประมาณ 1-2 เซนติเมตร โดยมากแล้วจะยังคงเหลือหัวนม ฐานหัวนม และเนื้อเต้านมส่วนใหญ่เอาไว้ นิยมใช้กับผู้ป่วยที่มีมะเร็งขนาดเล็ก มีมะเร็งเพียงตำแหน่งเดียว เต้านมมีขนาดใหญ๋พอสมควร […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน