โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งเต้านมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื้อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายแกนอกท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งต่อมน้ำนม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

มะเร็งปอด

การรับรู้ ระยะของโรคมะเร็งปอด ช่วยคุณสู้มะเร็งได้อย่างไร

เมื่อพบว่าคุณเป็นมะเร็งปอด แพทย์จะบอกคุณว่ามะเร็งอยู่ในขั้นใด คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ายิ่งเป็นมะเร็งระยะท้าย ๆ อาการของโรคจะรุนแรงขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นความจริง แต่อย่างไรก็ตาม ระยะของโรคมะเร็งปอด จะบอกว่าได้ว่ามะเร็งปอดนั้นลุกลามมากเพียงใด และส่วนใดของปอดที่ได้รับผลกระทบ และนี่คือรายละเอียดที่คุณควรทราบในเบื้องต้น ทำไมคุณจำเป็นต้องทราบ ระยะของโรคมะเร็งปอด ระยะของมะเร็งปอด เป็นตัวบ่งบอกตำแหน่ง และขนาดของเนื้องอก และการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง ระยะของมะเร็งเป็นสิ่งที่แพทย์และคุณจะพูดคุยกัน ถึงการเติบโตของเชื้อมะเร็ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ที่มากเกินไป ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ระยะของมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง มีการจัดระยะของโรคมะเร็งที่แพทย์ใช้ การจัดระยะนี้เรียกว่า ระยะโรคมะเร็งแบบ TNM การจัดระยะแบบนี้ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย ได้แก่ ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก (T หรือ Tumor Status) ต่อมน้ำเหลืองเกี่ยวข้องหรือไม่ (N หรือ Nodal Status) มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือไม่ (M หรือ Metastatic Status) ตัวอย่างเช่น หากไม่มีก้อนเนื้อ จะเรียกว่า “ระยะ T0” หากมะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองจะเรียกว่า “N1” การจัดระยะของมะเร็งตามขนาดของเซลล์ ทั้งเซลล์ขนาดเล็กและที่ไม่ใช่ขนาดเล็กนั้น เป็นการจัดระยะอีกรูปแบบหนึ่ง มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) เป็นมะเร็งที่มีความซับซ้อนกว่าชนิดเซลล์เล็ก เป็นชนิดมะเร็งที่แบ่งระยะการเกิดตามระยะการเกิดมะเร็งแบบ TNM […]


มะเร็งปอด

รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้!

การ รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าคุณเป็นมะเร็งระยะใดแล้ว ถึงแม้สถิติของการมีชีวิตรอดจากมะเร็งปอดอาจดูต่ำ จนทำให้คุณหมดกำลังใจ แต่ตัวเลขเหล่านั้นก็เป็นเพียงการประมาณการณ์เท่านั้น ตัวคุณเองสามารถที่จะชะลอการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งได้ ด้วยการดูแลสุขภาพของตัวเองและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับปอด สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง Hello คุณหมอ มีวิธีการที่จะช่วยให้คุณเป็นผู้รอดชีวิตจากมะเร็งปอดได้มาฝาก ดังต่อไปนี้ วิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาส รอดชีวิตจากมะเร็งปอด 1. เข้ารับการรักษาและการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างการรักษา คุณอาจได้รับผลข้างเคียงทั้งระยะสั้น เช่น คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร ผมร่วง อ่อนเพลีย และผลข้างเคียงระยะยาวที่อาจกินเวลาเป็นปี หลังจากเข้ารับการรักษา ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจส่งผลทั้งทางร่างกายและอารมณ์ หากคุณมีอาการเกี่ยวกับผลข้างเคียงระยะยาวของการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการในการหลีกเลี่ยง การดูแลติดตามผลการรักษา มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการรักษา เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งปอดอีกครั้ง คุณและแพทย์ควรช่วยกันวางแผนการดูแลติดตามผล ซึ่งประกอบด้วย การเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อติดตามการฟื้นฟูร่างกายของคุณอย่างใกล้ชิดต่อไป แพทย์สามารถช่วยให้คุณกลับไปมีชีวิตตามปกติได้ แต่คุณควรสังเกตร่างกายของตนเองขณะอยู่บ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังสัญญาณที่ผิดปกติกับร่างกาย และรีบแจ้งแพทย์ทันที 2. คิดบวกอยู่เสมอ ก็ช่วยให้ รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ได้ คุณอาจเคยได้ยินถึงพลังของความคิดที่ส่งผลต่อร่างกาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์รับรองแล้วว่าเป็นเรื่องจริง นั่นหมายความว่า ความคิดในแง่ลบและความเครียด เป็นอุปสรรคต่อการรักษาโรคมะเร็งปอด จากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่เครียดเข้ารับการรักษาเคมีบำบัด พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียงครึ่งหนึ่ง ของช่วงเวลาซึ่งผู้ป่วยที่ไม่เครียดสามารถอยู่ได้ งานวิจัยที่เกี่ยวกับค่ามัธยฐานระยะปลอดเหตุการณ์ (ซึ่งหมายถึงจำนวนเวลาหลังจากที่ร้อยละ 50 ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และอีกร้อยละ 50 […]


มะเร็งปอด

การวินิจฉัยมะเร็งปอด สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ในการนัดหมายแพทย์ หากคุณคิดว่าคุณมีสัญญาณหรืออาการของมะเร็งปอด แพทย์จะทำการประเมินประวัติสุขภาพ ประเมินปัจจัยเสี่ยงของคุณ และทำการตรวจร่างกาย แล้วแพทย์จึงอาจส่งต่อคุณไปยังแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมสำหรับ การวินิจฉัยมะเร็งปอด ต่อไป การตรวจเพื่อหา มะเร็งปอด มักเป็นการทดสอบแบบรุกล้ำร่างกาย จึงเป็นที่ถกเถียงกันในวงการแพทย์ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด โดยทั่วไปมีประโยชน์หรือไม่ บางคนเชื่อว่าทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น แต่เนื่องจาก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการจนกระทั่งเป็นโรคแล้ว คนรอบข้างจึงคิดว่าสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญในการตรวจพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ  ในระยะที่ยังรักษาได้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับ สิ่งที่แพทย์มักจะแนะนำการตรวจต่าง ๆ เหล่านี้ หากมีอาการบ่งชี้ให้เชื่อว่า คุณอาจเป็น มะเร็งปอด การวินิจฉัยมะเร็งปอด ทำได้อย่างไรบ้าง การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจสัญญาณชีพ ฟังเสียงการหายใจ และตรวจหาภาวะตับบวมหรือต่อมน้ำเหลือง คุณอาจจะถูกส่งไปเข้ารับการตรวจ หากสงสัยว่าเป็นมะเร็งปอด มีวิธีหลายประการที่สามารถใช้ได้ การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งปอด ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography) หรือซีทีสแกน (CT Scan) เป็นการเอกซเรย์เฉพาะประเภทหนึ่ง ที่ใช้สร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายขณะที่เครื่องหมุนไปโดยรอบร่างกาย ทำให้ได้รูปภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งแสดงขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของก้อนเนื้อที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ การส่องกล้องตรวจหลอดลม ท่อบางเล็ก ๆ บาง ๆ กล้องตรวจหลอดลม จะถูกสอดผ่านทางปากหรือจมูกไปยังปอด เพื่อตรวจหลอดลมและปอด อาจนำตัวอย่างเซลล์ออกมาเพื่อทำการตรวจ การตรวจเสมหะเพื่อหา มะเร็งปอด เสมหะ […]


มะเร็งปอด

9 สัญญาณบอก อาการ มะเร็งปอด ที่คุณไม่ควรละเลย

โรคมะเร็งปอดเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต จากรายงานขององค์การอนามัยโลก เมื่อปี 2012 มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุดในบรรดามะเร็งชนิดอื่น ๆ จำนวนสูงถึง 1.59 ล้านราย หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เกิดตัวเลขสูงขนาดนี้ ก็คือ มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นนั้นตรวจพบได้ยาก ในกลุ่มผู้ที่ตรวจพบมะเร็งร้อยละ 40 พบว่ามะเร็งอยู่ในขั้นลุกลาม ในกลุ่มผู้ที่ตรวจพบมะเร็งถึง 1ใน 3 พบว่า มะเร็งลุกลามเข้าสู่ขั้นที่ 3 แล้ว สัญญาณดังต่อไปนี้เป็นสัญญาณเตือน อาการ มะเร็งปอด ที่ไม่ควรละเลย สัญญาณเตือน อาการ มะเร็งปอด ที่ไม่ควรละเลย 1. อาการไอรักษาไม่หาย การไอเป็นอาการที่พบบ่อย อาจจะเกิดจากการเป็นไข้หวัด หรือเกิดจากการสำลักอาหาร อย่างไรก็ตาม หากอาการไอยังไม่ทุเลา แม้ว่าหายจากไข้หวัดแล้ว หรือทานยาแล้วก็ตาม คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจปอดด้วยการเคาะปอดหรือด้วยการเอกซเรย์ 2. การเปลี่ยนแปลงของอาการไอ การไอเรื้อรังเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยของหลายโรค เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคหอบหืด หรือไข้ละอองฟาง อย่างไรก็ตาม หากลักษณะของการไอเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนจากไอแห้ง ๆ เป็นไอปนเสมหะหรือเลือด ควรรีบติดต่อแพทย์ทันที 3. หายใจไม่ทันแม้ทำกิจกรรมตามปกติ หากคุณเกิดอาการหายใจไม่ทัน หรือมีเสียงหวีดในขณะหายใจ อาจเป็นสัญญาณของอาการโรคมะเร็งปอด คุณอาจหายใจลำบาก เนื่องจาก […]


มะเร็งเต้านม

10 วิธี ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้เอาไว้

การ ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม เป็นมาตรการที่ผู้หญิงทุกคนควรให้ความใส่ใจ เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ลงได้ และนี่คือวิธีดีๆ ที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมให้ผู้หญิงทุกคนได้ และการป้องกันความเสี่ยงเพื่อดูแลตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ  10 วิธี ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม 1. ควบคุมน้ำหนัก การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน คือ ปัจจัยเสี่ยงในการทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมบางชนิดขึ้นมาได้ คุณจึงควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีเสมอ ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยสามารถตรวจสอบน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับคุณได้ ด้วยเครื่องมือตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย  2. ตรวจสอบประวัติครอบครัว คุณควรสอบถามคนในครอบครัวบ้างว่า เคยมีสมาชิกคนใดในครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ เพราะหากคุณมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ เพราะปัจจัยทางพันธุกรรมก็ถือเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็ง ก็ควรตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ  3. คลำเต้านมตัวเองบ่อย ๆ การตรวจสอบเต้านมตัวเอง อาจไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันได้เสมอไปว่า คุณเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ได้เป็นกันแน่ แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้คุณคุ้นเคยกับลักษณะเต้านมของตัวเอง และหากเกิดความผิดปกติใด ๆ คุณก็จะสามารถสังเกตได้ทันที หากคุณสงสัยว่าเต้านมผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด  4. ดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ถึงแม้กว่า การดื่มไวน์แดงวันละ 1 แก้วจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็มีงานศึกษาวิจัยที่ชี้ว่า การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ฉะนั้น หากคุณอยากลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ก็ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินวันละ 1 แก้ว 5. ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยให้คุณควบคุมน้ำหนักได้แล้ว ผลการศึกษาวิจัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลงได้ สมาคมโรคมะเร็งของสหรัฐอเมริการะบุว่า การเดินออกกำลังกายแค่สัปดาห์ละ 1.5-2.5 ชั่วโมง มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า […]


มะเร็งแบบอื่น

มะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย (Invasive Lobular Carcinoma)

มะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย คือโรคมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นที่ต่อมผลิตน้ำนม โดยเซลล์มะเร็งได้มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย คำจำกัดความมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย (Invasive lobular carcinoma) คืออะไร มะเร็งในต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย คือโรคมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นที่ต่อมน้ำนมกลีบเล็กๆ ที่ผลิตน้ำนมในเต้านม มะเร็งที่แพร่กระจาย หมายถึง เซลล์มะเร็งได้หลุดออกมาจากกลีบที่มันเกิดและอาจมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย มะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย พบได้บ่อยแค่ไหน มะเร็งในต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายนั้นทำให้เกิดส่วนส่วนเล็กๆ ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นในท่อน้ำนม (Invasive Ductal Carcinoma) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการอาการของมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย ในระยะแรกสุดมะเร็งในท่อน้ำนมแบบแพร่กระจายอาจจะไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ เมื่อมันมีขนาดใหญ่ขึ้นก็อาจจะทำให้เกิดอาการดังนี้ เต้านมมีบางส่วนที่หนาขึ้น มีบริเวณใหม่ของเต้านมที่หนาแน่นหรือบวมขึ้น ผิวหนังรอบเต้านมมีความเปลี่ยนแปลงด้านสัมผัสหรือลักษณะ เช่นมีรอยบุ๋มหรือหนาขึ้น อาการหัวนมบอดใหม่ ๆ มะเร็งในท่อน้ำนมแบบแพร่กระจายมีโอกาสน้อยกว่าโรคมะเร็งเต้านมแบบอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดก้อนในเต้านมที่แข็งและเห็นได้ชัด อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย แต่แพทย์ทราบว่า โรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายนั้น เริ่มต้นจากการที่เซลล์ในต่อมน้ำนมเกิดการกลายพันธุ์ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ในต่อมน้ำนม แล้วนำไปสู่การเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ลุกลามขึ้นมากลายเป็นเซลล์มะเร็ง และอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจายมีดังต่อไปนี้ เพศหญิง ตามสถิติแล้วเพศหญิงนั้นจะมีโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำนมได้มากกว่าเพศชาย อายุ ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำนมจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบไม่แพร่กระจาย (Lobular carcinoma in situ) ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบไม่แพร่กระจาย มีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำนมแบบแพร่กระจาย ฮอร์โมน […]


มะเร็งกระดูก

เตรียมพร้อมทำความเข้าใจ มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma)

มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarchoma) คือโรคมะเร็งกระดูกที่มักจะเกิดขึ้นในบริเวณกระดูกหน้าแข้งใกล้กับเข่า กระดูกต้นขาใกล้กับเข่า หรือกระดูกต้นแขนใกล้กับไหล่ มักจะเกิดในช่วงต้นของวัยรุ่น  ซึ่งกระดูกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คำจำกัดความมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา คืออะไร มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma) คือโรคมะเร็งกระดูกที่มักจะเกิดขึ้นในบริเวณกระดูกหน้าแข้งใกล้กับเข่า กระดูกต้นขาใกล้กับเข่า หรือกระดูกต้นแขนใกล้กับไหล่ มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมามักจะเกิดในช่วงต้นของวัยรุ่น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอก จะเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งกระดูกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว พบได้บ่อยแค่ไหน มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมาเป็นมะเร็งกระดูกที่พบมากในเด็ก มักจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง และมักจะพบในเด็กที่ตัวสูง และเด็กเชื้อสายแอฟริกา-อเมริกา อายุโดยเฉลี่ยที่พบในเด็กคือ 15 มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา สามารถพบได้ในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 60 ปี และคนที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการอาการของมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา อาการทั่วไปมีดังนี้ มีอาการบวมและมีก้อนบริเวณกระดูกหรือปลายกระดูก กระดูกหรือข้อต่อปวดหรืออักเสบ อาการปวดนี้อาจเป็นๆ หายๆ เป็นเวลาหลายเดือน กระดูกหักที่เหมือนจะไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ธรรมดา เช่น การล้ม เด็กอาจจะมีอาการปวดในเวลากลางคืน หรือหลังจากการเล่น หรือออกกำลังกาย เขาอาจจะเดินกะโผลกกะเผลก หากมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมาส่งผลกับขาของเขา แจ้งคุณหมอให้ทราบในทันที เด็ก ๆ จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบว่า โรคมะเร็งนี้ทำให้เกิดอาการปวด บวม หรือมีกระดูกหักหรือไม่ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของ มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา ต้นตอมาจากความผิดปกติในดีเอ็นเอ […]


มะเร็งเต้านม

ตัวเลือกการแต่งตัวสำหรับ ผู้ผ่าตัดเต้านม เพื่อรักษามะเร็งเต้านม

เรื่องนี้เขียนขึ้นเพื่อ ผู้ผ่าตัดเต้านม จากการรักษาโรคมะเร็งเต้านม หลังผ่าตัดเต้านม ผู้หญิงส่วนหนึ่งอาจจะไม่รู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงอะไร และสามารถแต่งตัวได้ตามปกติ แต่สำหรับผู้หญิงบางคนที่ผ่าตัดเต้านมไปแล้ว อาจรู้สึกไม่มั่นใจ ไม่รู้ว่าจะต้องใส่เสื้อชั้นใน หรือชุดว่ายน้ำแบบไหน จะเลือกเสื้อผ้าอย่างไรดีถึงจะเหมาะ บทความนี้จะช่วยให้ผู้ที่ผ่าตัดเต้านมและต้องใช้ เต้านมเทียม สามารถเลือกเสื้อผ้า และชุดว่ายน้ำได้อย่างเหมาะสม ผู้ผ่าตัดเต้านม กับตัวเลือกในการแต่งตัว บราหรือเสื้อชั้นในที่เหมาะสม หากคุณใช้ เต้านมเทียม ควรเลือกเสื้อชั้นในที่พอดีตัว ใส่แล้วรู้สึกสบายตัว โอบกระชับ แต่ไม่ทำให้อึดอัด โดยคุณสามารถเลือกสวมใส่เสื้อชั้นในธรรมดา เสื้อขั้นในแบบสปอร์ต หรือเสื้อชั้นในแบบมีช่องใส่ เต้านมเทียม ที่ทำขึ้นเพื่อผู้ผ่าตัดเต้านมโดยเฉพาะก็ได้ ในปัจจุบันมีทั้งยี่ห้อที่หาซื้อได้ทั่วไป และแบบสั่งตัดพิเศษ การเลือกเสื้อชั้นในทั้งแบบธรรมดาหรือแบบพิเศษ ควรเลือกแบบที่สายเสื้อในปรับได้ ขนาดของสายต้องไม่เล็กจนเกินไป จะได้รองรับน้ำหนักของเต้านมได้ ไม่ทำให้ไหล่ถูกกดทับ แต่หากคุณไม่อยากสวมเสื้อชั้นใน ก็สามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ หากคุณไม่ชินกับการไม่สวมเสื้อใน ลองใช้เสื้อกล้ามแทน แล้วติด เต้านมเทียม กับเสื้อกล้ามโดยใช้เข็มกลัดกลัดเอาไว้ จากนั้นจึงค่อยสวมเสื้อผ้าตัวนอก หรือเสื้อคลุมตามปกติ หากไม่ใช้เสื้อกล้าม คุณก็สามารถติด เต้านมเทียม กับเสื้อผ้าได้โดยตรง โดยการใช้แถบตีนตุ๊กแก หรือ Velcro Tape เป็นตัวช่วยในการพยุงเต้านมเทียม ตัดชุดที่มีช่องกระเป๋า ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับ เต้านมเทียม โดยเฉพาะ ข้อควรระวัง : […]


มะเร็งเต้านม

ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม หนึ่งในวิธีที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง

โรคมะเร็งบางชนิด อย่าง โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือ โรคมะเร็งเต้านม ฮอร์โมนมีส่วนสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค ฮอร์โมนบางชนิด สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ให้เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ฮอร์โมนก็สามารถช่วยรักษามะเร็งได้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้ฮอร์โมนบำบัดรักษามะเร็งเต้านม ใครที่สงสัยว่าวิธีการบำบัดแบบนี้คืออะไร ไปอ่านกันเลยค่ะ ฮอร์โมนบำบัด คืออะไร ฮอร์โมน เป็นสารที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจาก ต่อมฮอร์โมน ทำหน้าที่เป็นสารเคมีในการสื่อสารของร่างกาย หากร่างกายถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตาม ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) จะส่งสัญญาณไปที่ต่อมฮอร์โมนบางชนิด เพื่อให้ต่อมฮอร์โมนปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด และเมื่อฮอร์โมนนั้น ๆ ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย เซลล์หรืออวัยะที่มีตัวรับสัญญาณของฮอร์โมนนั้นอยู่ ก็จะสามารถรับรู้ได้ถึงฮอร์โมนนั้น ๆ และจะเกิดกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อรับมือกับสิ่งเร้านั้น หากผลการทดสอบพบว่า เซลล์มะเร็งนั้นมีตัวรับสัญญาณที่ทำให้ฮอร์โมนสามารถเข้าไปเกาะติดได้ ก็จะมีการใช้ยา การผ่าตัด หรือการฉายรังสีบำบัด เพื่อลดหรือหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน ทำให้การเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็วหยุดชะงักลง วิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่าฮอร์โมนบำบัด (Hormonal Therapy) และใช้เพื่อการรักษาโรคมะเร็ง ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม การรักษา โรคมะเร็งเต้านม ด้วยฮอร์โมน เป็นการรักษา โรคมะเร็งเต้านม ที่มีความไวต่อฮอร์โมน ซึ่งมีรูปแบบการรักษาอยู่มากมายหลายชนิด เช่น […]


มะเร็งเต้านม

ไลฟ์สไตล์อันตรายที่อาจนำไปสู่ โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักการเสียชีวิตของผู้หญิงในยุคปัจจุบัน แล้วคุณรู้รึเปล่าว่า ลักษณะนิสัยบางอย่างนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมให้กับคุณได้ บทความนี้จะมาเจาะลึกถึง ไลฟ์สไตล์อันตราย ที่อาจนำคุณไปสู่โรคมะเร็งเต้านม ไลฟ์สไตล์เสี่ยงเป็น โรคมะเร็งเต้านม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากข้อมูลทางระบาดวิทยาระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมถึง 4% ในประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ทุก ๆ 10 มล. ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คุณดื่มเข้าไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมขึ้น 10 % เท่ากับว่า ยิ่งคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ โอกาสเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคมะเร็งเต้านม ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นมากเท่านั้น สูบบุหรี่ เสี่ยงเป็น โรคมะเร็งเต้านม การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ รวมไปจนถึงโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านมด้วย สารอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบอยู่ในบุหรี่ ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ไฮโดรคาร์บอนที่ผสานเข้ากับความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรม อาจก่อให้เกิดการพัฒนาเซลล์มะเร็งเต้านมขึ้นในร่างกาย รายงานของ US Surgeon General เมื่อปี 2014 แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่มีประวัติการสูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่มากถึง 10% เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน การมีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน ในช่วงวัยหมดประจำเดือน อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ช่วงที่ยังมีประจเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายส่วนใหญ่จะมาจากรังไข่ มีแค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่มาจากเนื้อเยื่อไขมัน แต่หากรังไข่หยุดสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน