ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นอกจากโรคเบาหวานจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อาจมองข้าม เพราะหากจัดการได้ไม่มี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ว่าเป็นอย่างไร และจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการ โรค เบาหวาน ระยะสุดท้าย เป็นอย่างไร

อาการ โรค เบาหวาน ระยะสุดท้าย หรือภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้เป็นเวลานานหลายปี ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรหมั่นดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อรักษาให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายและป้องกันอันจะป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ [embed-health-tool-bmi] อาการ โรค เบาหวาน ระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้ว อาการโรคเบาหวานระยะสุดท้าย มักหมายถึงอาการที่เป็นผลมาจากภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้อย่างเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นเวลานานตั้งแต่ 5 -20 ปีขึ้นไป จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเส้นเลือดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเสียหายหรือเสื่อมสภาพลง ซึ่งกลายเป็นภาวะสุขภาพระยะยาวที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการโรคเบาหวานระยะสุดท้าย หรือภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวานที่อาจพบได้ มีดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular problems) ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง มักมีภาวะสุขภาพร่วมอื่น ๆด้วย เช่น ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ซึ่งล้วนส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพ เนื่องจากเกิดการสะสมของไขมันทีผนังหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดหัวใจจึงหนาตัว ส่งผลให้หลอดเลือดตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ นอกจากหลอดเลือดหัวใจเเล้วยังสามารถเกิดความเสื่อมกับหลอดเลือดสมอง เเละ หลอดเลือดส่วนปลายได้เช่นเดียวกัน ปัญหาเกี่ยวกับไต (Kidney problems) หรือโรคไต (Nephropathy) เมื่อไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นระยะเวลานาน ทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเเละความดันโลหิตสูง(ที่มักพบร่วมกัน) จะส่งผลให้หลอดเลือดฝอยในไตเสื่อมสภาพลง หรือที่มักเรียกว่า ภาวะเบาหวานลงไต เมื่อไตจะเสื่อมสภาพ […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

รักษา แผล เบาหวาน ทำได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดแผล

หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควบคุมให้ดี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ระบบประสาทผิดปกติ และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้บาดแผลหายช้าลงและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การ รักษา แผล เบาหวาน อย่างถูกวิธีจึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการป้องกันไม่ให้แผลของผู้ป่วยเบาหวานลุกลาม [embed-health-tool-heart-rate] โรคเบาหวานส่งผลต่อแผลอย่างไร หากควบคุมโรคเบาหวานไม่ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้แผลหายช้าลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อแผลได้ง่ายขึ้น เช่น แผลเรื้อรังที่เท้า การถูกตัดเท้าและขา โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น ดังนี้ การไหลเวียนเลือดไม่ดี เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไหลเวียนตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายเสื่อมลง เสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ง่าย จึงทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดีตามไปด้วย เมื่อเกิดบาดแผล เลือดจะไม่สามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณแผลได้อย่างเพียงพอ จึงส่งผลให้แผลหายช้าลง และหากหลอดเลือดส่วนนั้น ๆ อุดตัน ก็ยังเป็นสาเหตุของการเกิดแผลเนื้อตายที่อาจรุนแรงจนถึงขึ้นต้องตัดเนื้อเยื่อหรืออวัยวะส่วนดังกล่าวทิ้งอีกด้วย  โรคระบบประสาทจากเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมได้ไม่ดี อาจมีภาวะแทรกซ้อนของเส้นประสาทได้ โดยมักทำให้เกิดอาการชา สูญเสียการรับความรู้สึก และมักเกิดกับอวัยวะส่วนปลายก่อน เช่น ชาปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดบาดแผลได้ง่ายโดยไม่ทันรู้ตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้แผลติดเชื้อและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อติดเชื้อแล้วยังทำให้อาการรุนแรงได้มากกว่าผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีหรือไม่เป็นโรคเบาหวานด้วย รักษา แผล เบาหวาน หากสังเกตพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีแผลรุนแรงขึ้น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน เกิดจากอะไร และควรป้องกันอย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน อาจแบ่งออกเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำมากจนเกินไป เป็นภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินที่ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างเร่งด่วน และภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง ที่เกิดขึ้นจากอวัยวะและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไป เนื่องจากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะเท้าเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานรวมทั้งคนในครอบครัว ควรช่วยกันดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นเบาหวานให้ดี ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน มีอะไรบ้าง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หลัก ๆ อาจแบ่งออกเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานชนิดเฉียบพลัน เป็นภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้แม้จะเพิ่งเป็นเบาหวานมาไม่นาน หรือบางครั้งก็เป็นอาการแรกที่ทำให้ผู้ป่วยตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวาน  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจเกิดจากการรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินที่ไม่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากจนเกินไป จนเกิดอาการสับสน มึนงง รู้สึกเพลีย ไม่มีแรง เหงื่อออกมากผิดปกติ ตัวเย็น บางครั้งอาจทำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด วิตกกังวล ใจสั่น หน้าซีด หัวใจเต้นเร็ว มองเห็นภาพซ้อน รู้สึกหิวมาก ปวดหัว หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้ซึม หมดสติ ชัก และหัวใจหยุดเต้นได้  ภาวะไฮเปอร์ไกลซีมิกไฮเปอร์ออสโมล่าร์ (Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS) เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก (สูงตั้งแต่ 600 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

หน่วยไตของผู้ที่มีโรคเบาหวาน มีความผิดปกติอย่างไร

หน่วยไต คือ ส่วนประกอบย่อยของไตที่ทำหน้าที่สำคัญในการกรองและขจัดของเสียรวมถึงของเหลวส่วนเกินในกระแสเลือดออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ การได้ทราบข้อมูลว่า หน่วยไตของผู้ที่มีโรคเบาหวาน มีความผิดปกติอย่างไร อาจช่วยให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของโรคเบาหวาน สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดี และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคไต โดยทั่วไปแล้ว หน่วยไตของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายได้จะสามารถทำงานได้อย่างปกติดังเช่นในคนทั่วไป แต่หากควรคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยเฉพาะหากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร นาน 10-15 ปีขึ้นไป จะส่งผลให้ไตและหน่วยไตเสื่อมสภาพ เป็นที่มาของ ภาวะเบาหวานลงไต ภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เช่น ปรับอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ เลิกสูบบุหรี่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตจากการเป็นโรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] หน่วยไต คืออะไร ไตเป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่ว มี 2 ข้าง อยู่ภายในช่องท้องด้านหลังระดับบั้นเอว แบ่งได้เป็นเนื้อเยื่อไตชั้นนอก (Cortex) และเนื้อเยื่อไตชั้นใน (Kidney Medulla) ภายในประกอบด้วย หน่วยไต หรือเนฟรอน (Nephron) ประมาณ 1 ล้านหน่วย ที่คอยทำหน้าที่กรองของเสียภายในร่างกายจากกระแสเลือด และขับออกทางปัสสาวะ ทั้งยังมีระบบสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นบางส่วนกลับคืนสู่กระแสเลือด ไม่ว่าจะเป็นโซเดียม แคลเซียม […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีลดน้ำตาลในคนท้อง เพื่อลดความเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ส่งผลต่อสมดุลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกาย กล่าวคือ ร่างกายมีฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านกับอินซูลินมากขึ้น จึงทำให้คุณแม่บางรายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และนำไปสู่ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ วิธีการดูแลตัวเอง และ วิธีลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง อาจทำได้หลายวิธี เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายเบา ๆ ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ [embed-health-tool-due-date] ค่าน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้ ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหาร ไม่ควรเกิน 95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร วิธีลดน้ำตาลในคนท้อง ทำได้อย่างไรบ้าง การดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคนท้อง อาจทำได้ดังนี้ รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม คุณแม่ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตขัดสีแต่น้อย เลี่ยงอาหารจำพวกข้าวขาว ขนมปังขาว ขนมหวาน น้ำหวานและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และอาหารแปรรูป เลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน และควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักและผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวกล้อง พืชตระกูลถั่ว เพราะสามารถช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ยารักษา ปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน มีอะไรบ้าง

ปลายประสาทอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน ซึ่งอาจทำให้มีอาการอ่อนแรง และการรับความรู้สึกผิดเพี้ยน โดยทั่วไป คุณหมออาจใช้ ยารักษาปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน ได้แก่ ยากันชักบางชนิดและยาต้านเศร้าบางกลุ่มให้เพื่อบรรเทาอาเจ็บปวดจากเส้นประสาท ร่วมกับแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาล เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายประสาทอักเสบมากกว่าเดิม [embed-health-tool-bmi] ปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) หรือบางครั้งเรียกว่าปลายประสาทเสื่อม เกิดจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ส่งข้อมูลระหว่างสมองและส่วนนั้น ๆ เกิดความเสียหาย โดยทั่วไป เมื่อเป็นปลายประสาทอักเสบ มักมีอาการดังนี้ รู้สึกชาตามมือหรือเท้า หรือไม่รับรู้ถึงอุณหภูมิร้อนหรือเย็น รู้สึกเจ็บ เสียว หรือแสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง การรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น รู้สึกเจ็บปวดเมื่อร่างกายสัมผัสผ้าปูที่นอนเบา ๆ มีแผลติดเชื้อที่เท้า เนื่องจากไม่รู้สึกเจ็บเวลาเริ่มเป็นแผลจึงไม่ทันได้สังเกต จึงปล่อยไว้ไม่ได้รักษาให้ดี ทำให้แผลอักเสบ ติดเชื้อ หรือเป็นหนองได้ในที่สุด ปลายประสาทอักเสบ เบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ดูแลตนเองให้ดีตามคำแนะนำของคุณหมอ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเรื้อรัง จนส่งผลให้หลอดเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทของอวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่อาการปลายประสาทอักเสบได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวานในการเกิดอาการปลายประสาทอักเสบนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้ป่วย ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดของโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

น้ำตาลตก อาการ เป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

น้ำตาลตก หมายถึง ภาวะที่น้ำตาลในเลือดลดลงจากระดับปกติ หรือที่เรียกว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ออกกำลังกายอย่างหนักหรือหักโหม หรือใช้ยาลดระดับน้ำตาลมากกว่าที่คุณหมอแนะนำ เมื่อ น้ำตาลตก จะอาการ ที่พบได้ คือ ปวดศีรษะ วิงเวียน ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว และในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นชักหรือหมดสติซึ่งควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] น้ำตาลในเลือด มีความสำคัญอย่างไร น้ำตาลในเลือด หมายถึง ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหลักที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไป ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นหลังบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ แป้งและน้ำตาล เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสมดุลที่เหมาะสม โดยกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย รวมทั้งนำน้ำตาลส่วนที่เหลือไปเก็บไว้ที่ตับเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen)  อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุให้ตับอ่อนถูกทำลาย จนส่งผลให้ผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายหรือผลิตไม่ได้เลย จะส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด น้ำตาลในเลือดแต่ละระดับ มีความหมายอย่างไร การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหารสามารถแปลผล ได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ระดับน้ำตาลในเลือด 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป หมายถึง เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง มีภาวะก่อนเบาหวานหรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล ไม่ว่าช่วงเวลาใด ๆ แล้วมีค่าต่ำกว่า […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตุ่ม เบาหวาน มีลักษณะอาการอย่างไร รักษาได้อย่างไร

ตุ่ม เบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนังชนิดหนึ่งของโรคเบาหวาน อาจมีลักษณะเป็นได้ทั้งตุ่มน้ำใส ตุ่มสีเหลือง มักเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงเกินไป ตุ่มเบาหวานส่วนมากมักพบบริเวณมือ ขา หรือเท้าของผู้ป่วย และอาจหายไปเองหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เบาหวานคืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลงหรือผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายผิดปกติทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จึงมีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดช่วงที่อดอาหารแล้วสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยหนึ่งของโรคเบาหวาน หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงเรื้อรัง ไม่ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน ภาวะเบาหวานขึ้นตา รวมถึงความผิดปกติบริเวณผิวหนัง เช่น ตุ่ม เบาหวาน  ตุ่มเบาหวาน มีลักษณะอย่างไร ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจพบผื่นหรือตุ่มน้ำลักษณะต่าง ๆ ตามร่างกาย ซึ่งมีชื่อเรียกและรายละเอียดดังต่อไปนี้ ตุ่มน้ำใส พบได้ไม่บ่อยนัก อาจปรากฏที่บริเวณขา เท้า หรือนิ้วเท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดตุ่มน้ำที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลจากการติดเชื้อรา การบาดเจ็บบริเวณดังกล่าว หรือระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี อีรัปทีพ แซนโทมาโตซิสม (Eruptive Xanthomatosis) มีลักษณะเป็นตุ่มนูน อาจพบได้เมื่อมีภาวะคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย คาดว่าผื่นชนิดนี้เกี่ยวข้องกับภาวะดื้ออินซูลิน อีรัปทีฟ แซนโทมาโตซิสมักพบบริเวณหลังมือ ข้อเท้า ขา หรือสะโพก และผื่นในช่วงแรกจะมีลักษณะคล้ายกับตุ่มสิว […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Gangrene คือ อะไร เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่

Gangrene คือ แผลเนื้อตาย ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหรืออาจเกิดจากการติดเชื้อรุนเเรง มักพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด อย่างไรก็ตาม Gangrene หรือ แผลเนื้อตายสามารถป้องกันได้ด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพเท้าเป็นประจำ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] Gangrene คือ อะไร Gangrene คือแผลเนื้อตาย ซึ่งสามารถเกิดได้กับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่วนที่เลือดได้รับเลือดหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรง ปกติแล้ว แผลเนื้อตายมักพบบริเวณปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ เท้า เเละ ขา มือ โดยมีอาการดังนี้ ผิวหนังบางลง ผิวเเห้ง ขนที่บริเวณส่วนนั้น ๆ ร่วง (เป็นอาการเเรกเริ่มของการที่เลือดไหลเวียนไม่ดี) ผิวหนังเปลี่ยนจากสีปกติ เป็นค่อยๆซีดลงเเละเริ่มเปลี่ยนเป็นสเทา ม่วง หรือดำในที่สุด อุณหภูมิของส่วนนั้น ๆ เย็นกว่าปกติ Gangrene มีสาเหตุจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงที่ให้เกิดแผลเนื้อตาย แผลเนื้อตาย เป็นภาวะแทรกซ้อนอาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จนทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง นำไปสู่สาเหตุของเเผลเนื้อตายได้ดังต่อไปนี้ การไหลเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ เมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง นอกจากจะทำให้หลอดเลือดส่วนต่าง ๆ เสื่อมลง ไขมันจะสะสมในผนังหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงจนอาจถึงกับอุดตันในที่สุด ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เช่น ปลายนิ้ว เท้า ได้ตามปกติ จนทำให้ส่วนนั้น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีการ รักษา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง

แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เมื่อเป็นแผลหรือรอยขีดข่วนเเม้เป็นเพียงเเผลขนาดเล็ก ก็อาจกลายเป็นบาดแผลเรื้อรัง และอาจลุกลามใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ได้ และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งจะส่งผลให้เนื้อตายเพิ่มขึ้น รวมอาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระเเสเลือดตามมาการ รักษา แผล เบาหวาน มีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดเนื้อเยื่อที่ตายหรือติดเชื้อออก เพื่อป้องกันมิให้เเผลลุกลามไปยังเนื้อเยี่อส่วนข้างเคียง การรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง เพื่อช่วยชะลอการเติบโตของเชื้อโรค เเละเพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจนไปยังบาดเเผล [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน มีสาเหตุจากอะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร แผลเบาหวาน (Diabetic Ulcer) คือ บาดเเผลเรื้อรังที่เกิดขึ้นในผุ้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี  จนทำให้หลอดเลือดส่วนปลายเสื่อมลง เกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังขาหรือเท้าได้ลดลง จึงอาจทำให้เนื้อเยี่อส่วนปลาย โดยเฉพาะที่ปลายนิ้วเท้าขาดเลือดเเละเกิดเป็นแผลเนื้อตายได้ รวมทั้งเมื่อเกิดแผลจึงหายช้ากว่าปกติ เพราะออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถหมุนเวียนไปเลี้ยงและฟื้นฟูบาดแผลได้ตามปกติ หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมบาดแผลจะมีขนาดใหญ่เเละลึกขึ้นเรื่อย ๆ และอาจลุกลามไปจนถึงกระดูก ทั้งนี้ เมื่อแผลเบาหวานหายช้าจะยิ่งเพิ่มโอกาสติดเชื้อแบคทีเรีย  ร่วมกับในสภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งเสริมให้แผลติดเชื้อนั้นอาจลุกลาม จนสุดท้ายผุ้ป่วยอาจต้องถูกตัดขาเพื่อป้องกันการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เมื่อเป็นแผลเบาหวานควรไปพบคุณหมอเมื่อไร ผู้ป่วยเบาหวานควรรีบไปพบคุณหมอ เมื่อพบว่าแผลบริเวณเท้าของตนมีลักษณะต่อไปนี้ ผิวหนังบริเวณข้างเคียงรอบ ๆ แผลเป็นสีแดง บวม กดเจ็บ หรือเมื่อแตะแล้วรู้สึกว่าผิวหนังร้อนกว่าบริเวณอื่น ๆ มีของเหลวไหลซึม หรือมีหนอง แผลมีกลิ่นเหม็น มีไข้ ทำเเผลเองเบื้องต้นเเล้วเเผลไม่ดีขึ้น หรือเเผลทรุดลง วิธีการ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แผลเบาหวาน เท้าดำ อันตรายหรือไม่ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

แผลเบาหวาน เท้าดำ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอย่างเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดเสื่อมเเละตีบตันจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะส่วนปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปลายเท้าได้ตามปกติ เท้าจึงมีสีดำคล้ำจากการขาดเลือด อีกทั้งหากมีภาวะเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ผู้ป่วยจะมีอาการเท้าชาร่วมด้วย ทำให้เกิดแผลบริเวณเท้าได้ง่ายขึ้น หากมีการติดเชื้ออาจทำให้ลุกลามเกิดเนื้อตายมากขึ้นและอาจทำให้ต้องตัดเท้า-ขา ทั้งนี้ ภาวะดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยหมั่นควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมอยู่เสมอ ตรวจดูสุขภาพเท้าและทำความสะอาดเท้าของตนเป็นประจำเพื่อป้องกันรวมถึงหากมีแผลจะได้รีบทำการรักษาตั้งเเต่เนิน ๆ  [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน และอาการเท้าดำ เกิดขึ้นได้อย่างไร แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี  แผลมักหายช้ากว่าปกติและหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อเเละลึกจนถึงกระดูก แผลเบาหวานมักเกิดขึ้นที่เท้า โดยมีสาเหตุมาจากการมีน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดเสื่อมและมีไขมันสะสมในผนังของหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เลือดจึงไหลเวียนไปยังอวัยวะส่วนปลายเช่นขาหรือเท้าได้น้อยกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นๆ บริเวณขาดเลือด เเละกลายเป็นเนื้อตายในที่สุด โดยที่แผลเนื้อตายจะมีสีดำ จึงทำให้พบว่า ผู้ป้วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี จนเกิดภาวะนี้มีนิ้วเท้าบางนิ้วดำ บางรายลุกลามจนทำให้เท้ากลายเป็นสีดำทั้งเท้าเนื่องจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง นอกจากนี้ เมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ตามปกติจึงทำให้แผลเบาหวานหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวไม่สามารถเข้าถึงบาดแผลได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อนอีกด้วย อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ คือ เส้นประสาทเสื่อมจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเท้าชา รับความรู้สึกได้ลดลงจึงไม่ทันรู้ตัวว่าเท้าเป็นแผลหรือมีรอยขีดข่วน จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น วิธีรักษา แผลเบาหวาน เท้าดำ คุณหมออาจมีวิธีรักษาคำแนะนำต่อไปนี้ แผลเบาหวาน  แนะนำให้ลดการเดินหรือลงน้ำหนักเท่าที่จำเป็น อาจใช้ไม้เท้าหรือรถเข็นช่วย ในช่วงที่แผลยังไม่หายดี เพือลดเเรงกดทับไปยังเเผลซึ่งอาจทำให้เเผลหายช้า หรือทรุดลงกว่าเดิม ทำแผลและให้ยาฆ่าเชื้อ คุณหมอจะทำเเผล ในกรณีที่มีหนองคุณหมอจะระบายหนองออก รวมถึงตัดเนื่อเยี่อที่ตายบางส่วนออก รวมถึงจ่ายยาฆ่าเชื้อให้รับประทาน หากที่เท้ามีตาปลาที่เสี่ยงต่อการเกิดเเผลกดทับ […]

โฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม