ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นอกจากโรคเบาหวานจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อาจมองข้าม เพราะหากจัดการได้ไม่มี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ว่าเป็นอย่างไร และจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน เกิดจากอะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไร

อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน เป็นอาการที่อาจพบได้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานส่งผลให้หลอดเลือด เเละเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมลง การส่งสัญญาณระบบประสาทจึงผิดปกติไปทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดอาการชาปลายนิ้วมือและเท้าได้ โดยหากอาการชาเป็นมากขึ้นจนไม่สามารถรับความรู้สึก อาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และเกิดแผลติดเชื้อตามมาได้ง่าย อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน เกิดจากอะไร อาการชาปลายนิ้วจากเบาหวาน มีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน จนไปทำลายผนังหลอดเลือดฝอยที่มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเสื่อม ไม่สามารถทำหน้าที่ส่งสัญญาณได้เป็นปกติ ส่งผลให้เกิดผู้ป่วยเบาหวานมีอาการชาที่บริเวณปลายนิ้วมือเเละนิ้วเท้าได้ โดยยังอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ได้ดังนี้ รู้สึกเสียวซ่า ปวดเเสบร้อน ที่ปลายนิ้วมือเเละเท้า กล้ามเนื้อบริเวณมืออ่อนแรงลง อาการชาอาจลุกลามไปทั่วทั้งมือและเท้า ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามือหนาคล้ายใส่ถุงมือและถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา อาจมีแผลโดยที่ไม่รู้ตัว เนื่องจากมีอาการชา จึงทำให้ไม่รู้สึกเวลามีบาดแผลเล็กน้อย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้แผลติดเชื้อ และลุกลามจนเกิดเนื้อตายได้  อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน ควรรักษาอย่างไร อาการชาปลายนิ้วจากเบาหวานสามารถรักษาได้ด้วย การรักษาที่สาเหตุ ดังนี้ การรักษาเพื่อชะลอการลุกลาม และควบคุมอาการ เป็นวิธีการรักษาหลักเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน เพราะหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ก็จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอย่างเส้นประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการชาปลายนิ้วมือเเละเท้า โดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี และอาจช่วยให้อาการชาปลายนิ้วดีขึ้นได้ โดยควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหาร ควรอยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  อย่างไรก็ตามในผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่มีโรคร่วมอื่น ๆ เช่น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลูกจะเป็นไรไหม

แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลูกจะเป็นไรไหม อาจเป็นคำถามที่เหล่าคุณแม่สงสัยและเกิดความกังวลใจ เนื่องจากภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกตัวใหญ่ ทารกแรกคลอดมีน้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจพิการแต่กำเนิด หรือแท้งบุตร ดังนั้น การดูแลสุขภาพตนเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์รวมทั้งออกกำลังกายและรักษาน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ไม่ให้ขึ้นมากจนเกินไป อาจช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนช่วงที่ตั้งครรภ์ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น ทารกตัวใหญ่ ทารกมีน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อแรกคลอด รวมถึงอาจเพิ่มเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วนในอนาคต ส่วนใหญ่แล้ว เบาหวานขณะตั้งครรภ์นี้มักถูกวินิจฉัยในช่วงอายุครรภ์ที่ 24-32 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้มักหายได้เองหลังคลอด เนื่องจากฮอร์โมนกลับเข้าสู่สมดุลแต่พบว่าคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตมากขึ้นกว่าผู้หญิงที่อายุเท่ากัน แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลูกจะเป็นไรไหม เมื่อคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทารกในครรภ์ได้ ดังนี้ ทารกตัวใหญ่ หรือน้ำหนักแรกเกิดมากเกินไป คุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และมีน้ำตาลในเลือดสูง อาจทำให้ทารกในครรภ์ตัวใหญ่กว่าเกณฑ์ได้ และอาจส่งผลให้คลอดธรรมชาติได้ยาก และอาจจำเป็นต้องผ่าคลอด การคลอดก่อนกำหนด คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้วควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี อาจมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome หรือ RDS) เป็นภาวะที่พบได้ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากปอดและทางเดินหายใจของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จึงอาจทำให้ทารกหายใจลำบากอย่างรุนแรง บางรายอาจจำเป็นต้องดูอาการอย่างใกล้ชิดในห้องฉุกเฉิน ทารกมีน้ำตาลในเลือดต่ำหลังคลอด เนื่องจากเมื่อคุณแม่มีน้ำตาลในเลือดสูง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง และวิธีป้องกัน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานขาดการดูแลตัวเอง ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานให้ดี โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ระบบอื่น ๆ ในร่างกายเกิดความผิดปกติไปด้วย ซึ่งเป็นภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น  โรคหลอดหัวใจและสมอง โรคไต เบาหวานขึ้นตา ปลายมือและเท้าชา รวมถึงเเผลเรื้อรัง [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่เกิดขึ้นทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ดังนี้ ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน แบบเฉียบพลัน เป็นภาวะเเทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ที่เป็นเบาหวานเเม้จะได้รับการวินิจฉัยมาไม่นาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูเเลสุขภาพของเเต่ละบุคคล ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหากผู้ที่เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับยาลดระดับน้ำตาล หรือยาฉีดอินซูลินมากเกินไป ออกกำลังกายหักโหม หรือรับประทานอาหารผิดเวลา หรือน้อยลงมากกว่าปกติ จัดเป็นภาวะที่อันตราย ซึ่งอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการสับสน เวียนศีรษะ หิวหรือโหยมาก อารมณ์แปรปรวน ใจสั่น ตัวเย็น เหงื่อออกมาก หรืออาจหมดสติหรือชักได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดของทั้งร่างกายเเละจิตใจ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป รับประทานยาหรือฉีดอินซูลินไม่สม่ำเสมอ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย ในบางรายอาจรุนเเรงจนเกิดภาวะเลือดเป็นกรด เเละภาวะเลือดข้นจากน้ำตาลสูงได้  ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานแบบเรื้อรัง มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเกณฑ์มาเป็นระยะเวลานาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Hyperosmolarity คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อผู้ป่วยเบาหวาน

Hyperosmolarity คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานมีความเข้มข้นสูงกว่าปกติ จากน้ำตาลที่สูงมาก ๆ ร่วมกับภาวะขาดน้ำ และนำไปสู่อาการผิดปกติต่าง ๆ ที่รุนแรงเช่น ซึม สับสน ภาวะสมองบวม หมดสติ และการเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม Hyperosmolarity ในผู้ป่วยเบาหวานพบได้ไม่บ่อยนัก และอาจป้องกันได้ด้วยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ควบคุมอาหาร เเละ ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] Hyperosmolarity คือ อะไร Hyperosmolarity คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ๆ ร่วมกับ มีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงจนทำให้มีความเข้มข้นของเลือดสูง ส่งผลให้เกิดผลเสืยต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงสมอง ทั้งนี้ Hyperosmolarity หรือภาวะเลือดข้นจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS) ที่มักพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ การดูแลตัวเองผิดวิธีหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เช่น ไม่ควบคุมอาหาร ขาดยาหรืออินซูลิน ใช้ยาบางกลุ่มร่วมด้วย เช่น  ยาสเตียรอยด์มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น  หรือ ยาขับปัสสาวะมีผลทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ง่ายขึ้น  […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง และการดูแลตัวเองที่เหมาะสม

คุณเเม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือโรคเบาหวานในคนท้องควรให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งกับคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์ คุณแม่จึงควรศึกษา วิธีลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง และวิธีการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังที่กล่าว ทั้งนี้ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะที่สามารถควบคุมให้ดีได้ โดยการวางแผนการดูแลสุขภาพและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมจากคุณหมอตลอดการตั้งครรภ์ โรคเบาหวานในคนท้องคืออะไร โรคเบาหวานในคนท้อง หรือโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เกิดจากเมื่อตั้งครรภ์ร่างกายของคุณเเม่จะมีการผลิตฮอร์โมนหลาย ๆ ชนิด เพิ่มมากขึ้น เช่น ฮอร์โมนจากรก ฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีผลทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นกว่าปกติ (ก่อนตั้งครรภ์) ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจากเดิม และหากระดับน้ำตาลสูงจนเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย เพื่อลดความเสี่ยงในของภาวะแทรกซ้อนทั้งในขณะตั้งครรภ์และระหว่างการคลอดบุตร โดยปกติแล้ว ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะหายได้เองหลังคลอด เนื่องจากฮอร์โมนต่าง ๆ ที่สูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์นั้น ลดลงกลับสู่สมดุลปกติ เเต่อย่างไรก็ตาม คุณหมอจะนัดตรวจทดสอบทนทานต่อน้ำตาลกลูโคสซ้ำหลังคลอด เนื่องจากคุณเเม่ที่เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับคนท้อง สำหรับคนท้องที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานอยู่ก่อน คุณหมอจะตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ที่ 24-28 สัปดาห์ โดยจะทดสอบความทนทานต่อกลูโคสโดยในขั้นเเรก จะเป็นการตรวจโดยไม่ต้องงดอาหารมา เมื่อถึงวันตรวจคุณหมอจะให้คุณเเม่ดื่มสารละลายกลูโคส 50 กรัม เเล้วรอเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

HHS คือ ภาวะโคม่าจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ภาวะโคม่าจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือ HHS คือ ภาวะที่เลือดข้นมากจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่อันตรายของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุมาจากการควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี มี การใช้ยารักษาโรคบางชนิดที่ออกฤทธิ์ต้านอินซูลิน หรือมีการเจ็บป่วยรุนแรง ที่ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงกว่า 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยมักมีไข้สูง ปัสสาวะบ่อย สับสน เซื่องซึม หมดสติ และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากผู้ป่วยโรคเบาหวานสังเกตเห็นว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ หรือมีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะ HHS ควรไปพบคุณหมอทันที เพื่อรับการรักษาให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] HHS คือ อะไร Hyperosmolar Hyperglycemic Syndrome หรือ HHS เป็นภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินที่รุนเเรงมักพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ดูเเลตนเองได้ไม่ดี ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนจากน้ำตาลสูงชนิดเฉียบพลันเช่นเดียวกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน (Diabetic Ketoacidosis หรือ DKA) แต่ภาวะ HHS จะมักจะมีความรุนแรงมากกว่า เเละไม่เลือดเป็นกรด เนื่องจากตับอ่อนบางส่วนยังสร้างสามารถอินซูลินได้บ้าง จึงไม่เกิดกระบวนการสลายไขมัน เเละไม่เกิดคีโตนสะสมในเลือด หาก ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จะนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เเละไม่ได้รับการเเก้ไขที่ถูกวิธี ร่างกายจะยิ่งขาดน้ำ เนื่องจากสูญเสียน้ำไปทางปัสสาวะมากขึ้น หากผู้ป่วยดื่มน้ำทดเเทนได้ไม่เพียงพอ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตามัว สัญญาณของเบาหวานขึ้นตา สาเหตุและวิธีป้องกัน

อาการ ตามัว ในผู้ป่วยเบาหวาน อาจเป็นสัญญาณของอาการเบาหวานขึ้นตา มักพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนของดวงตา หรือเบาหวานขึ้นตาได้ เช่น จอตาเสื่อม จุดรับภาพชัดบวม ต้อหิน รวมไปถึงอาจรุนเเรงจนทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย และหมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ หากมีอาการตาพร่ามัวร่วมกับมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อาการ ตามัว เกิดจากอะไร อาการตามัวอาจเกิดจากแมคูลาหรือจุดภาพชัด (Macula) ที่อยู่ตรงกลางของเรตินาหรือจอประสาทตา (Retina) บวม เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตาอุดตัน จนทำให้เลือดและสารต่าง ๆ รั่วซึมออกมาสู่จอตา รวมไปถึงที่จุดรับภาพชัด ซึ่งอาจส่งผลให้มองเห็นภาพไม่ชัดเจนหรือบิดเบี้ยวได้ หากเป็นช่วงระยะเริ่มเเรกซึ่งผู้ป่วยจะยังมีการมองเห็นยังค่อนข้างชัดเจนอาการจะดีขึ้นจนกลับมามองเห็นเป็นปกติได้เองเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลงลง ปัญหาตามัวที่เกิดจากจุดรับภาพบวมจากเบาหวาน (Diabetic Macular Edema) ทำให้การมองเห็นแย่ลง ตามัวมองภาพไม่คมชัดเหมือนปกติ โดยส่วนมากเเล้วมักพบในระยะที่โรครุนเเรงไประยะหนึ่งเเล้ว ซึ่งจำเป็นต้องทำการรักษาโดยวิธีการฉีดยาเข้าในลูกตา หรือเลเซอร์จอตา เเต่หากตรวจพบภาวะนี้ในระยะแรก ๆ ก็อาจค่อย ๆ ดีขึ้นฃได้หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม  ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ใกล้เคียงเป้าหมายให้มากที่สุด กล่าวคือ ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร ควรอยู่ระหว่าง 70-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง หากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

คันตามผิวหนัง ในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

อาการ คันตามผิวหนัง เป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น สภาพผิวแห้ง การติดเชื้อรา ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ไม่ดีมักประสบกับปัญหานี้เนื่องจากระบบเลือดไหลเวียนไปที่ผิวหนังส่วนปลาบได้ไม่ดีนัก ส่งผลให้มีสภาพผิวแห้ง ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองผิวได้ง่าย ทั้งนี้ อาการคันตามผิวหนังอาจบรรเทาได้ด้วยการทาโลชั่นเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น รวมทั้งการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจช่วยป้องกันและบรรเทาอาการคันตามผิวหนัง อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับผิวหนังอื่น ๆ ได้ด้วย อาการ คันตามผิวหนัง เกิดจากอะไร อาการคันตามผิวหนัง (Pruritus) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผิวแห้ง ผื่นเเพ้ผู้ป่วยเบาหวานอาจพบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพผิวหนังได้บ่อยเนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตเเละเส้นประสาทส่วนปลายอาจมีปัญหา ผลให้เกิดอาการคันระคายเคืองผิว ที่บริเวณขา เเละเท้า รวมถึงอาจเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ง่ายกว่าคนอื่นทั่วไป  วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการ คันตามผิวหนัง วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการคันตามผิวหนัง อาจทำได้ดังนี้ หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณ์ที่มีสารเคมีหรือมีน้ำหอมเป็นส่วนประกอบ เพราะอาจระคายเคืองผิวได้ หลีกเลี่ยงการอาบหรือน้ำอุ่นนานเกินไป เพราะทำให้ผิวเสียความชุ่มชื้น ทำให้ผิวแห้งและเกิดอาการคันได้ ทามอยส์เจอร์ไรเจอร์หรือโลชั่นเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น เพราะเมื่อผิวแห้ง หรือแตก ลอก จะทำให้เกิดอาการคันได้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะหากร่างกายมีภาวะขาดน้ำ หรือ ได้รับน้ำไม่เพียงพอกับความต้องกาย จะส่งผลให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น ทำให้ผิวเเห้งและเกิดปัญหาผิวหนังอื่น ๆแทรกซ้อนได้ หากเป็นอาการคันซึ่งเกิดจากอาการแพ้ สามารถบรรเทาอาการคันได้ด้วยยา เช่น ครีมสเตียรอยด์อ่อน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวาน เท้าดำ รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

เบาหวาน เท้าดำ เป็นภาวะเเทรกซ้อนหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานที่ปล่อยให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจนทำให้หลอดเลือดตีบหรือเกิดการอุดตันเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปทีเท้าได้น้อยกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อบางส่วนขาดเลือดเเละตาย เท้าจึงมีอาการดำและคล้ำลงในที่สุด ล อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานอาจป้องกันเท้าดำได้ ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดตีบเเคบเเละเสื่อมได้มากขึ้นกว่าเดิม [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน ทำให้เท้าดำได้อย่างไร ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เส้นประสาทบริเวณเท้าเสียหาย จึงทำให้มีอการเท้าชา ไม่สามารถรับความรู้สึกได้เป็นปกติ จึงอาจทำให้เกิดเเผลที่เท้าได้โดยไม่ทันรู้ตัว ซึ่งนับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายเเละเกิดภาวะเเทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเมื่อเกิดบาดแผลหรือมีรอยขีดข่วน ผู้ป่วยมักไม่รู้สึกเจ็บจึงทำให้รู้ตัวช้า กว่าจะทราบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น แผลอาจมีการติดเชื้อลุกลามและตายเน่ากลายเป็นอาการเท้าดำมากเเล้ว นอกจากนี้ หากควบคุมเบาหวานไม่ดี การปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงยังเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นและตีบแคบลง หรือเกิดการอุดตัน จนทำให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายเช่นที่เท้าลดลง ทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดเเละออกซิเจนเป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อบางส่วนตาย นำไปสู่อาการเท้าดำได้ในที่สุด เบาหวาน เท้าดำมีอาการอย่างไร ผู้ป่วยเบาหวานที่หลอดเลือดถูกทำลายจากน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานจนเกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดเเละเนื้อตายเน่า อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้ ผิวหนังที่เท้าเปลี่ยนสี เป็นสีเทาซีด น้ำเงิน ม่วง หรือ แดงคล้ำ ผิวหนังบริเวณเท้าบางลง ขนบริเวณนิ้วเท้าอาจหลุดร่วง เท้า หรือบางส่วนของเท้า เย็นซีดหรือมีอุณหภูมิต่ำกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แผลหายช้า เพราะออกซิเจนกับสารอาหารต่าง ๆ ไปหล่อเลี้ยงเท้าได้ไม่เพียงพอ มีแผลเกิดขึ้นที่เดิมซ้ำ ๆ แผลบริเวณเท้ามักมีกลิ่นเหม็นเน่า หรือมีน้ำเหลือง/หนองไหล ทั้งนี้ หากเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังเกิดการตาย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เท้า กับโรคเบาหวาน ดูแลรักษาอย่างไร

เท้า เป็นอวัยวะที่มักได้รับผลกระทบโดยตรงจากโรคเบาหวานเนื่องจาก หากผู้ป่วยเบาหวานปล่อยให้มีระดับน้ำตาลสูงเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้เส้นประสาทและเส้นเลือดของเท้าเสียหาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลและติดเชื้อได้ง่ายว่าคนทั่วไป รวมทั้งแผลหายช้า ป หรืออาจรุนแรงจนเนื้อเน่าและอาจถึงขั้นต้องตัดเท้าได้  อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลและรักษาสุขภาพเท้าของตนอยู่เสมอด้วยการทำความสะอาดเท้า และดูแลมิให้อับชื้น รวมทั้งสวมใส่รองเท้าตลอดเวลาเพื่อป้องกันมิให้เกิดแผล [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่มีภาวะนี้จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ คือ สูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป เมื่อตรวจหลังจากอดอาหารเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 8ชั่วโมง เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือ ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้การสมดุลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง และมีน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่โรคเบาหวานตามมา  หากผู้ที่เป็นเบาหวานปล่อยให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยไม่รักษาอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย รับประทานยาหรือฉีดอินซูลิน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงเท้า ในอนาคตได้  เท้า ได้รับผลกระทบจากโรคเบาหวานอย่างไรบ้าง การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท้า หรือเกิดอาการเบาหวานลงเท้า ดังนี้ เส้นประสาทเสียหายหรือผิดปกติ เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง สามารถทำให้เส้นเลือดฝอยที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย จึงทำให้เส้นประสาทนั้น ๆ ทำงานผิดปกติไป เมื่อเกิดกับเส้นประสาทส่วนที่ควบคุมบริเวณเท้า จึงทำให้เท้าชา และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมอีกด้วย เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกเจ็บเมื่อเกิดแผล […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน