ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นอกจากโรคเบาหวานจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อาจมองข้าม เพราะหากจัดการได้ไม่มี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ว่าเป็นอย่างไร และจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน กับภาวะความดันโลหิตสูง

ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาอาการของผู้ป่วยเบาหวานและวิธีการที่ผู้ป่วยดูแลตัวเอง ในบางรายผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังภาวะสุขภาพหัวใจ จนอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยเบาหวานควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูงที่อาจเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนได้ เพื่อเป็นข้อมูลในการดูแลสุขภาพของตนเองไม่ให้เสี่ยงเกิดความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงของ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นได้แน่ชัดมากนัก ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตไว้ที่บ้าน เพื่อตรวจความดันโลหิตของตัวเองอยู่เป็นประจำ เพราะหากความดันโลหิตสูงกว่าปกติแม้เพียงเล็กน้อย ก็ถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนปกติถึง 2-3 เท่า นอกจากนี้ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอาจมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่าง เส้นเลือดในสมองแตก โรคหัวใจ และหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง พบได้บ่อยแค่ไหนในผู้ป่วยเบาหวาน ในประเทศอังกฤษ ความดันโลหิตสูง พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยจำนวน 3 ใน 10 คนเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยจำนวน 8 ใน 10 คนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทั้ง 2 ประเภท สามารถนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูงในท้ายที่สุด โรคเบาหวานสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดแดง เส้นเลือดในสมองแตก หัวใจล้มเหลว หรือไตวาย หากผู้ป่วยเบาหวาน มีภูมิหลังครอบครัวที่เป็นความดันโลหิตสูง หรือมีไลฟ์สไตล์บางอย่างที่ควรปรับเปลี่ยน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ยาเบาหวาน ทำให้เกิด มะเร็งตับอ่อน ได้หรือเปล่า

เบาหวานเป็นโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญ อาจเกิดจากการผลิตอินซูลิน (Insulin) ไม่เพียงพอ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจต้องใช้ ยาเบาหวาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการและควบคุมโรค แต่อาจมีผู้ป่วยบางรายที่กังวลว่า ยาเบาหวานอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) การเรียนรู้ความเกี่ยวข้องระหว่างยาเบาหวานและมะเร็งตับอ่อนให้ดี จึงอาจช่วยให้เข้าใจทั้งสองโรคนี้ และรับมือกับโรคและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ดีขึ้น ความเกี่ยวข้องกันระหว่าง ยาเบาหวาน และมะเร็งตับอ่อน ยาที่มีส่วนผสมหลักของอินเครติน (incretin-based) เป็นหนึ่งในยาทางเลือกตัวใหม่ในการรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 ยาที่มีส่วนผสมของอินเครติน มี 2 ประเภท ได้แก่ GLP-1 agonists และ DPP-4 inhibitors โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ GLP-1 agonists GLP-1 agonists จะป้องกันไม่ให้ท้องว่าง และเพิ่มการผลิตอินซูลิน ซึ่งจะไปลดน้ำตาลในเลือด ตัวอย่างยา GLP-1 agonists เช่น Exenatide (Byetta) liraglutide (Victoza) โดย Exenatide เป็นยาที่มีส่วนผสมของอินเครตินตัวแรก ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในปีพ.ศ. 2548 DPP-4 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ผลข้างเคียง โรคเบาหวาน เป็นอันตรายต่ออวัยวะส่วนไหนบ้าง

โรคเบาหวาน ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากโรคเบาหวานได้แก่ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดหัวใจ ดวงตา ไต เส้นประสาท ผิวหนัง ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ป่วยเบาหวานและคนใกล้ชิดควรจะต้ิงให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี ปรับพฤติกรรมสุขภาพแลั รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนให้ได้มากที่สุด [embed-health-tool-bmi] ผลข้างเคียง ของ โรคเบาหวาน มีกี่ประเภท ผลข้างเคียงโรคเบาหวาน มี 2 ประเภท ได้แก่ แบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ผลข้างเคียงเฉียบพลัน หรือภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉิน อย่างเช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycema) ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน (Diabetic Ketoacidosis) นับเป็นภาวะที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือ ปล่อยทิ้งไว้ อาการเหล่านี้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผลข้างเคียงเรื้อรัง หรือ ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เป็นผลจากกาที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นเวลานาน สามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตา ไต เส้นประสาท หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดหัวใจ ผลข้างเคียง โรคเบาหวาน ส่งผลกระทบต่ออวัยวะใดบ้างในร่างกาย ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน ส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ภายในอวัยวะร่างกาย ดังนี้ ดวงตา เมื่อไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ ระดับน้ำตาลที่สูงอย่างเรื้อรังสามารถสร้างความเสียหายต่อเส้นเลือดแดงในดวงตา และหากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลให้เกิดอาการตาบอด โรคต้อหิน (Glaucoma) โรคต้อกระจก (Cataracts) เบาหวานขึ้นตา […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานกับผิวหนัง ทำไมจึงเกิดอาการคันและติดเชื้อง่าย

เบาหวานกับผิวหนัง เป็นปัญหาสุขภาพที่พบมาควบคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอาการคันผิวในผู้ป่วยหวานซึ่งมักมีผิวแห้ง ขาดความชุ่มชื้น นอกจากนั้นแล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคันได้อีกด้วย ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องดูแลตนเอง รับประทานยาสม่ำเสมอและควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการคันเเละโรคเกี่ยวกับผิวหนังอื่น ๆ ที่อาจเกิดเเทรกซ้อนขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวานกับผิวหนัง และอาการคันผิว อาการคันผิวหนัง ในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งมักมีผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนังให้สังเกตพบร่วมด้วย หรือ อาจเกิดจากผิวเเห้ง เนื่องจากผิวขาดน้ำ เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย เเละ เป็นการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย อีกทั้งน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างเรื้อรังยังส่งผลต่อระบบการไหลเวียนของเลือด เเละ ระบบเส้นประสาทที่หล่อยเลี้ยงชั้นผิวหนัง จึงทำให้มีผิวเเห้ง คัน เเละ เกิดการระคายเคืองได้ง่าย การติดเชื้อแบคทีเรีย ผิวหนังอักเสบติดเชื้อเเบคทีเรียนับว่าเป็นการติดเชื้อที่ควรรีบได้รับการรักษาที่ถูกต้องเเละเหมาะสม เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามจนเกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระเเสเลือดได้ ผื่นผิวหนังอักเสบอาจพบได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย เช่น ขา เเขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเเผลนำมาก่อน อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่หนังศีรษะ  โดยสามารถก่อให้เกิดตุ่มหนอง เเละ แผลพุพองอักเสบ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป การติดเชื้อรา เนื่องจากเมื่อมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำงานบกพร่องไป ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ควบคุมให้ดีจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่ผิวหนัง รวมถึงบริเวฯอวัยวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อราในช่องคลอด โรคกลากเกลื้อน ซึ่งการติดเชื้อรานั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกาย ได้แก่ เท้า (น้ำกัดเท้า) น้ำกัดเท้า หรือ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ปัญหาสุขภาพตา ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

ปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่มาจากโรคเบาหวานนั้นมีอยู่มากมาย ทั้งปัญหาความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ หรือแม้กระทั่งปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ซึ่ง ปัญหาสุขภาพตา ที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ การมองไม่ชัด จอตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ปัญหาสุขภาพตา ที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ปัญหาสุขภาพตาที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้ ตามัวหรือตาพร่า อาการตามัวหรือตาพร่า เป็นปัญหาตาที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เลนส์ตาอาจมีการบวม ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป เพื่อแก้ไขอาการนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจจะใช้เวลา 3 เดือน เพื่อให้การมองกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ต้อหิน ผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีโอกาสที่จะเกิดอาการต้อหินได้มากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ความเสี่ยงของโรคนั้นอาจเพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งต้อหินอาจเกิดขึ้นเมื่อความดันในตาเพิ่มสูงขึ้น และไม่สามารถขับของเหลวในตาออกไปได้เท่าที่ควร ซึ่งอาจทำให้เส้นเลือด เส้นประสาทตา เกิดความเสียหาย จนอาจถึงขั้นตาบอดได้ ในช่วงแรก ผู้ป่วยต้อหินอาจจะไม่มีอาการใด ๆ จนกระทั่งต้อหินสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงด้านการมองเห็น เช่น ปวดหัว ปวดตา ตามัว เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ น้ำตาไหล ซึ่งต้อหินที่อาจพบได้บ่อย คือ ต้อหินมุมเปิด ซึ่งการใช้ยาลดความดันในดวงตา และเพิ่มความเร็วในการขับของเหลวในดวงตา อาจช่วยรักษาต้อหินประเภทนี้ได้ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ทารกกับโรคเบาหวาน ข้อควรรู้เพื่อการดูแลลูกอย่างถูกต้อง

ทารกกับโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่อาจพบในคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมไม่ดีระหว่างตั้งครรภ์ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ช่วงระยะที่ตั้งครรภ์จนถึงก่อนชคลอดลูก นอกจากนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ เช่น เกิดภาวะดีซ่าน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วหอบ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการที่คุณแม่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นผลดีกับทั้งตัวคุณแม่เอง และ ลูกน้อยในครรภ์ด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการของ ทารกกับโรคเบาหวาน ทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานอาจจะมีขนาดตัวใหญ่กว่าทารกทั่วไป ซึ่งอาจมีน้ำหนักแรกคลอดได้มากถึง 4 กิโลกรัมรวมอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้อื่น ๆ ดังต่อไปนี้ อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ในช่วงแรกคลอด เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ทารกคุ้นชินกับระดับน้ำตาลที่ค่อนข้างสูงจากคุณแม่ จึงทำให้ร่างกายทารกผลิตฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) ออกมาปริมาณมากเช่นกัน เพื่อพยามรักษาสมดุลระดับน้ำตาลของร่างกายทารกเอง แต่เมื่อทันทีที่คลอดแล้ว ทารกจะไม่ได้รับน้ำตาลจากคุณแม่อีก จึงอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ช่วงแรกคลอด คุณหมอจึงจำเป็นจะต้องทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของทารกอย่างใกล้ชิดในช่วง 12-24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อาจมีปัญหาของระบบหัวใจและปอดทำให้หายใจเร็วหัวใจเต้นเร็ว ออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยอาการดังกล่าวอาจเป็นอาการขของภาวะที่ปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ทารกดื่มนมน้อย ซึม นอนหลับมาก ไม่ค่อยร้องไห้ หรือร้องเสียงเบา ๆ เกิดภาวะดีซ่านหรือตัวเหลือง ส่งผลให้ผิวหนังเป็นสีเหลือง คลอดก่อนกำหนด เสี่ยงต่อกาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ โรคอ้วนได้ เมื่อเติบโตขึ้น สำหรับคุณแม่ที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีนั้น เพิ่มความเสี่ยงของการแท้งหรือทารกเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอดได้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน