ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นอกจากโรคเบาหวานจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อาจมองข้าม เพราะหากจัดการได้ไม่มี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ว่าเป็นอย่างไร และจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

น้ำตาลตก อาการ เป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

น้ำตาลตก หมายถึง ภาวะที่น้ำตาลในเลือดลดลงจากระดับปกติ หรือที่เรียกว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ออกกำลังกายอย่างหนักหรือหักโหม หรือใช้ยาลดระดับน้ำตาลมากกว่าที่คุณหมอแนะนำ เมื่อ น้ำตาลตก จะอาการ ที่พบได้ คือ ปวดศีรษะ วิงเวียน ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว และในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นชักหรือหมดสติซึ่งควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] น้ำตาลในเลือด มีความสำคัญอย่างไร น้ำตาลในเลือด หมายถึง ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหลักที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไป ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นหลังบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ แป้งและน้ำตาล เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสมดุลที่เหมาะสม โดยกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย รวมทั้งนำน้ำตาลส่วนที่เหลือไปเก็บไว้ที่ตับเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen)  อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุให้ตับอ่อนถูกทำลาย จนส่งผลให้ผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายหรือผลิตไม่ได้เลย จะส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด น้ำตาลในเลือดแต่ละระดับ มีความหมายอย่างไร การตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหารสามารถแปลผล ได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ระดับน้ำตาลในเลือด 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป หมายถึง เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง มีภาวะก่อนเบาหวานหรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล ไม่ว่าช่วงเวลาใด ๆ แล้วมีค่าต่ำกว่า […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตุ่ม เบาหวาน มีลักษณะอาการอย่างไร รักษาได้อย่างไร

ตุ่ม เบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนังชนิดหนึ่งของโรคเบาหวาน อาจมีลักษณะเป็นได้ทั้งตุ่มน้ำใส ตุ่มสีเหลือง มักเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงเกินไป ตุ่มเบาหวานส่วนมากมักพบบริเวณมือ ขา หรือเท้าของผู้ป่วย และอาจหายไปเองหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เบาหวานคืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลงหรือผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายผิดปกติทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จึงมีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดช่วงที่อดอาหารแล้วสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยหนึ่งของโรคเบาหวาน หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงเรื้อรัง ไม่ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน ภาวะเบาหวานขึ้นตา รวมถึงความผิดปกติบริเวณผิวหนัง เช่น ตุ่ม เบาหวาน  ตุ่มเบาหวาน มีลักษณะอย่างไร ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจพบผื่นหรือตุ่มน้ำลักษณะต่าง ๆ ตามร่างกาย ซึ่งมีชื่อเรียกและรายละเอียดดังต่อไปนี้ ตุ่มน้ำใส พบได้ไม่บ่อยนัก อาจปรากฏที่บริเวณขา เท้า หรือนิ้วเท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดตุ่มน้ำที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลจากการติดเชื้อรา การบาดเจ็บบริเวณดังกล่าว หรือระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี อีรัปทีพ แซนโทมาโตซิสม (Eruptive Xanthomatosis) มีลักษณะเป็นตุ่มนูน อาจพบได้เมื่อมีภาวะคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย คาดว่าผื่นชนิดนี้เกี่ยวข้องกับภาวะดื้ออินซูลิน อีรัปทีฟ แซนโทมาโตซิสมักพบบริเวณหลังมือ ข้อเท้า ขา หรือสะโพก และผื่นในช่วงแรกจะมีลักษณะคล้ายกับตุ่มสิว […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Gangrene คือ อะไร เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่

Gangrene คือ แผลเนื้อตาย ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหรืออาจเกิดจากการติดเชื้อรุนแรง มักพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด อย่างไรก็ตาม Gangrene หรือ แผลเนื้อตายสามารถป้องกันได้ด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพเท้าเป็นประจำ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] Gangrene คือ อะไร Gangrene คือแผลเนื้อตาย ซึ่งสามารถเกิดได้กับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่วนที่เลือดได้รับเลือดหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง ปกติแล้ว แผลเนื้อตายมักพบบริเวณปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ เท้า ขา และมือ โดยมีอาการดังนี้ ผิวหนังบางลง ผิวแห้ง ขนที่บริเวณส่วนนั้น ๆ ร่วง (เป็นอาการแรกเริ่มของการที่เลือดไหลเวียนไม่ดี) ผิวหนังเปลี่ยนจากสีปกติ เป็นค่อยๆซีดลงและเริ่มเปลี่ยนเป็นสเทา ม่วง หรือดำในที่สุด อุณหภูมิของส่วนนั้น ๆ เย็นกว่าปกติ Gangrene มีสาเหตุจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงที่ให้เกิดแผลเนื้อตาย แผลเนื้อตาย เป็นภาวะแทรกซ้อนอาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จนทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง นำไปสู่สาเหตุของแผลเนื้อตายได้ดังต่อไปนี้ การไหลเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ เมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง นอกจากจะทำให้หลอดเลือดส่วนต่าง ๆ เสื่อมลง ไขมันจะสะสมในผนังหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงจนอาจถึงกับอุดตันในที่สุด ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เช่น ปลายนิ้ว เท้า ได้ตามปกติ จนทำให้ส่วนนั้น ๆ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีการ รักษา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง

แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เมื่อเป็นแผลหรือรอยขีดข่วนเเม้เป็นเพียงเเผลขนาดเล็ก ก็อาจกลายเป็นบาดแผลเรื้อรัง และอาจลุกลามใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ได้ และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งจะส่งผลให้เนื้อตายเพิ่มขึ้น รวมอาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระเเสเลือดตามมาการ รักษา แผล เบาหวาน มีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดเนื้อเยื่อที่ตายหรือติดเชื้อออก เพื่อป้องกันมิให้เเผลลุกลามไปยังเนื้อเยี่อส่วนข้างเคียง การรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง เพื่อช่วยชะลอการเติบโตของเชื้อโรค เเละเพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจนไปยังบาดเเผล [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน มีสาเหตุจากอะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร แผลเบาหวาน (Diabetic Ulcer) คือ บาดเเผลเรื้อรังที่เกิดขึ้นในผุ้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี  จนทำให้หลอดเลือดส่วนปลายเสื่อมลง เกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังขาหรือเท้าได้ลดลง จึงอาจทำให้เนื้อเยี่อส่วนปลาย โดยเฉพาะที่ปลายนิ้วเท้าขาดเลือดเเละเกิดเป็นแผลเนื้อตายได้ รวมทั้งเมื่อเกิดแผลจึงหายช้ากว่าปกติ เพราะออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถหมุนเวียนไปเลี้ยงและฟื้นฟูบาดแผลได้ตามปกติ หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมบาดแผลจะมีขนาดใหญ่เเละลึกขึ้นเรื่อย ๆ และอาจลุกลามไปจนถึงกระดูก ทั้งนี้ เมื่อแผลเบาหวานหายช้าจะยิ่งเพิ่มโอกาสติดเชื้อแบคทีเรีย  ร่วมกับในสภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งเสริมให้แผลติดเชื้อนั้นอาจลุกลาม จนสุดท้ายผุ้ป่วยอาจต้องถูกตัดขาเพื่อป้องกันการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เมื่อเป็นแผลเบาหวานควรไปพบคุณหมอเมื่อไร ผู้ป่วยเบาหวานควรรีบไปพบคุณหมอ เมื่อพบว่าแผลบริเวณเท้าของตนมีลักษณะต่อไปนี้ ผิวหนังบริเวณข้างเคียงรอบ ๆ แผลเป็นสีแดง บวม กดเจ็บ หรือเมื่อแตะแล้วรู้สึกว่าผิวหนังร้อนกว่าบริเวณอื่น ๆ มีของเหลวไหลซึม หรือมีหนอง แผลมีกลิ่นเหม็น มีไข้ ทำเเผลเองเบื้องต้นเเล้วเเผลไม่ดีขึ้น หรือเเผลทรุดลง วิธีการ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แผลเบาหวาน เท้าดำ อันตรายหรือไม่ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

แผลเบาหวาน เท้าดำ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอย่างเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดเสื่อมเเละตีบตันจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะส่วนปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปลายเท้าได้ตามปกติ เท้าจึงมีสีดำคล้ำจากการขาดเลือด อีกทั้งหากมีภาวะเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ผู้ป่วยจะมีอาการเท้าชาร่วมด้วย ทำให้เกิดแผลบริเวณเท้าได้ง่ายขึ้น หากมีการติดเชื้ออาจทำให้ลุกลามเกิดเนื้อตายมากขึ้นและอาจทำให้ต้องตัดเท้า-ขา ทั้งนี้ ภาวะดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยหมั่นควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมอยู่เสมอ ตรวจดูสุขภาพเท้าและทำความสะอาดเท้าของตนเป็นประจำเพื่อป้องกันรวมถึงหากมีแผลจะได้รีบทำการรักษาตั้งเเต่เนิน ๆ  [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน และอาการเท้าดำ เกิดขึ้นได้อย่างไร แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี  แผลมักหายช้ากว่าปกติและหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อเเละลึกจนถึงกระดูก แผลเบาหวานมักเกิดขึ้นที่เท้า โดยมีสาเหตุมาจากการมีน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดเสื่อมและมีไขมันสะสมในผนังของหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เลือดจึงไหลเวียนไปยังอวัยวะส่วนปลายเช่นขาหรือเท้าได้น้อยกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นๆ บริเวณขาดเลือด เเละกลายเป็นเนื้อตายในที่สุด โดยที่แผลเนื้อตายจะมีสีดำ จึงทำให้พบว่า ผู้ป้วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี จนเกิดภาวะนี้มีนิ้วเท้าบางนิ้วดำ บางรายลุกลามจนทำให้เท้ากลายเป็นสีดำทั้งเท้าเนื่องจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง นอกจากนี้ เมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ตามปกติจึงทำให้แผลเบาหวานหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวไม่สามารถเข้าถึงบาดแผลได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อนอีกด้วย อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ คือ เส้นประสาทเสื่อมจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเท้าชา รับความรู้สึกได้ลดลงจึงไม่ทันรู้ตัวว่าเท้าเป็นแผลหรือมีรอยขีดข่วน จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น วิธีรักษา แผลเบาหวาน เท้าดำ คุณหมออาจมีวิธีรักษาคำแนะนำต่อไปนี้ แผลเบาหวาน  แนะนำให้ลดการเดินหรือลงน้ำหนักเท่าที่จำเป็น อาจใช้ไม้เท้าหรือรถเข็นช่วย ในช่วงที่แผลยังไม่หายดี เพือลดเเรงกดทับไปยังเเผลซึ่งอาจทำให้เเผลหายช้า หรือทรุดลงกว่าเดิม ทำแผลและให้ยาฆ่าเชื้อ คุณหมอจะทำเเผล ในกรณีที่มีหนองคุณหมอจะระบายหนองออก รวมถึงตัดเนื่อเยี่อที่ตายบางส่วนออก รวมถึงจ่ายยาฆ่าเชื้อให้รับประทาน หากที่เท้ามีตาปลาที่เสี่ยงต่อการเกิดเเผลกดทับ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แผลเบาหวาน ตัดขา เกิดจากอะไรได้บ้าง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ส่งผลให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ง่าย รวมไปถึงการมีไขมันในเลือดสุงซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไขมันไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด จนทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่อวัยะวะส่วนปลายโดยเฉพาะที่ขาเเละเท้าได้ไม่ดี เมื่อเกิดแผลจึงมักหายช้าจนมีโอกาสติดเชื้อและเสี่ยงต่อการเกิดเนื้อตายมากกว่าคนทั่วไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มี แผลเบาหวาน การ ตัดขา จึงเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการรักษา เพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน ต้องตัดขา เพราะอะไร หากผู้ป่วยเบาหวานปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมลง รวมไปถึงการมีไขมันในเลือดสุงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไขมันไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดจนตีบแคบลงหรืออุดตัน เกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease) ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงขาหรือเท้าได้ไม่เพียงพอ เกิดอาการเท้าชา อ่อนแรง หรือและอาจรุนเเรงจนทำให้เกิดเนื้อตาย จนต้องตัดเนื้อเยืือส่วนนั้นๆออก ซึ่งหากลุกลามมากขึ้นอาจจำเป็นต้องตัด นิ้วเท้าไปจนถึงขาเพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปบริเวณข้างเคียง อีกทั้ง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันจะทำให้แผลของผู้ป่วยเบาหวานหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนและสารต่าง ๆ ในกระแสเลือด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาว ไม่สามารถไหลเวียนไปยังบาดแผลได้ตามปกติ รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งทำให้เเผลยิ่งทรุดลงจนผู้ป่วยต้องถูกตัดขาหรือเท้าในที่สุด การรักษา แผลเบาหวาน วิธีอื่น ๆ นอกจากการ ตัดขา มีอะไรบ้าง นอกจากการตัดเนื้อตายออกจากเเผล ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือ ขา เเล้ว ยังมีวิธีรักษาที่อาจช่วยลดการเกิดเนื้อตายด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้ การผ่าตัดศัลยกรรมหลอดเลือด (Vascular Surgery) หรือการผ่าตัดหลอดเลือดที่ตีบแคบหรืออุดตัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปถึงขาหรือเท้าได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการเนื้อตายเรวมทั้งทำให้ร่างกายจัดการกับการติดเชื้อได้ขึ้น การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Macrosomia คือ อะไร เกี่ยวข้องยังไงกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Macrosomia คือ ภาวะทารกตัวโตหรือมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม ซึ่งหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของภาวะทารกตัวโตคุณเเม่เป็นโรคเบาหวานเดิม หรือมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเกินเนื่องจากฮอร์โมนจากรกชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ต้านกับอินซูลินจึงทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลบกพร่องไป ซึ่งภาวะทารกตัวโตนี้มักทำให้คลอดแบบธรรมชาติลำบากและเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น แผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บ ภาวะคลอดติดไหล่ การตกเลือดหลังคลอด ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบติดเชื้อ  [embed-health-tool-bmi] Macrosomia คือ อะไร Macrosomia คือ ภาวะทารกตัวโต หรือทารกในครรภ์มีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม ไม่ว่าในช่วงอายุครรภ์เท่าไรก็ตาม ขณะที่น้ำหนักโดยทั่วไปของทารกปกติจะอยู่ระหว่าง 2.5-4 กิโลกรัม ปัจจัยเสี่ยงของภาวะทารกตัวโตแบ่งออกเป็น ปัจจัยด้านพันธุกรรม และปัจจัยด้านภาวะสุขภาพของคุณเเม่  ปัจจัยด้านพันธุกรรม เช่น พันธุกรรมของคุณพ่อคุณเเม่ตัวสูงมีโอกาสมีทารกตัวโตได้มากกว่า และทารกเพศชายมีโอกาสทารกตัวโตมากกว่าเพศหญิง  ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพของคุณเเม่ โดยที่คุณเเม่ที่มีภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสียงของการเกิดทารกตัวโต คุณเเม่ที่เป็นโรคเบาหวานเดิมก่อนตั้งครรภ์ หรือ มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) นอกจากนี้ มีการศึกษาที่ตีพิม์ใน วารสาร Annals of Nutrition and Metabolism ปี พ.ศ. 2558 พบว่า ภาวะทารกตัวโตพบได้บ่อยในคุนเเม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เเล้วไม่ได้รับการรักษา หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

มือเท้าชา ในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากอะไร

มือเท้าชา เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยเบาหวานหรือที่เรียกว่า โรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) ซึ่งเกิดขึ้นจากการปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน ทั้งนี้ อาการมือเท้าชาจากเบาหวาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจป้องกันเเละควบคุมไม่ให้เป็นมากขึ้นได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม [embed-health-tool-bmr] มือเท้าชา เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน โรคเบาหวานนั้นจัดเป็นเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นสาเหตุของอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย คอแห้งตลอดเวลา รู้สึกอ่อนล้าไม่มีเเรง ตาพร่ามัว หากผู้ที่เป็นเบาหวานไม่ดูแลตัวเองให้ดีปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้หลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทเสียหาย เป็นผลให้การส่งสัญญาณของเส้นประสาทไปยังสมองบกพร่องจึงทำให้เกิดอาการ มือเท้าชา หรืออาจเรียกได้ว่า โรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน โดยรูปแบบของโรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวานที่มักพบบ่อยที่สุด คือ เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม (Peripheral Neuropathy) ซึ่งอาจทำให้มีอาการมือเท้าชา หรืออาการอื่น ๆ เช่น ไวต่อการสัมผัสผิดปกติ รู้สึกเสียวหรือแสบร้อนตามมือ เท้า หรืออาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้  ทั้งนี้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) แนะนำว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควรได้รับการตรวจส้นประสาทเมื่อได้รับวินิจัยโรคเบาหวานเลย และหลังจากนั้นอาจเป็นการตรวจประจำปี ส่วนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรได้รับการตรวจเส้นประสาทหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานไปแล้ว 5 ปี และหลังจากนั้นเป็นประจำทุก ๆ ปี มือเท้าชารักษาอย่างไร อาการมือเท้าชาเนื่องจากเส้นประสามเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เเต่หากรับการรักษาที่ถูกต้องอาการจะไม่พัฒนาไปมากขึ้น โดยเมื่อไปพบคุณหมอ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการของโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง เกิดจากอะไร

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการจัดการระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่องไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยกระหายน้ำมาผิดปกติ ปากแห้ง และผิวแห้ง นอกจากนี้ ยังอาจทำให้แผลหายช้าและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนทั่วไป [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร เบาหวาน เป็นภาวะเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติหรือตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เนื่องจากตับอ่อนของผู้ป่วยผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลดลง หรือเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินผิดปกติ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่อง ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนมีหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยกระตุ้นในเซลล์ต่างๆในร่างกาย นำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน และนำน้ำตาลส่วนหนึ่ง ไปไว้ที่ตับในรูปของ ไกลโคเจน เพื่อพลังงานสำรอง ทั้งนี้ เบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ชนิด เบื้องต้น ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติสร้างภูมิซึ่งไปทำลาย ทำให้เบตา เซลล์ (Beta Cells) ของตับอ่อน ตับอ่อนจึงไม่สามารถผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่ามีประสิทธิภาพ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานชนิดที่ 2เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้กว่า 95% ของผู้ที่เป็นเบาหวานทั้งหมด เกิดจากเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง เรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ มีสาเหตุจากการที่รกหลั่งฮอร์โมน ชื่อว่า ฮิวแมน พลาเซนต้า แลกโตรเจน (Human Placental Lactogen) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านฤทธิ์ของอินซูลิน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี หรืออาจมีภาวะสุขภาพอื่น ๆ มากระตุ้น ซึ่งควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างเร่งด่วน ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินจากน้ำตาลสูงที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรด เเละ ภาวะเลือดมีความเข้มข้นสูงจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่วนในคุณเเม่ตั้งครรภ์ที่มีเบาหวานร่วมด้วย หากควบคุมไม่ดี ยังอาจเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทั้งคุณเเม่ เเละ ทารกในครรภ์ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร เบาหวาน เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างเรื้องรัง สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ หรือ เซลล์ในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่องไป ทั้งนี้ ฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลไปเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงานและ เก็บน้ำตาลส่วนเกินไว้ในรูปแบบพลังงานสำรองที่ตับ ดังนั้น กระบวนการจัดการน้ำตาลของร่างกายบกพร่องไป จึงทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในกระเเสเลือด เเละหากมีระดับน้ำตาลหลังอาหาร สูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวาน ที่อันตราย มีอะไรบ้าง ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวานมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีอาการรุนแรง หากมีอาการที่อาจเป็นสัญญาณควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะหากปล่อยไว้ อาการจะยิ่งแย่ลง จนอาจถึงเเก่ชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวาน มีดังนี้ 1.     ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis หรือ DKA) เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่วมกับร่างกายไม่สามารถผลิดอินซูลินออกมาได้เพียงพอ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน