ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นอกจากโรคเบาหวานจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อาจมองข้าม เพราะหากจัดการได้ไม่มี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ว่าเป็นอย่างไร และจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ปัญหาการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ควรมองข้าม

ปัญหาการได้ยิน เป็นอีกภาวะแทรกซ้อนที่พบได้หากผู้ป่วยเบาหวานไม่ดูแลระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม จนอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตัวเองเพื่อควบคุมและรับมือกับปัญหาการได้ยิน รวมไปถึงป้องกันมีให้เกิดปัญหานี้ได้ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานส่งผลต่อการได้ยินอย่างไร หูเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการรับรู้เสียง โดยหน้าที่ในการรับรู้เสียงและส่งสัญญาต่อเนื่องไปยังสมองเพื่อแปลความหมาย จะเป็นหน้าที่ขอหูชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนที่บอบบางเนื่องจากประกอบด้วยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานหากปล่อยไว้เรื้อรัง มักส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อเส้นเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย หูจึงเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่อาจได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย ซึ่งส่งผลทำให้เส้นประสาทและหลอดเลือดของหูชั้นในเสียหาย จนอาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสูญเสียความสามารถในการการได้ยินหรือรับรู้เสียงได้  ปัญหาการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวาน มีอาการแสดงอย่างไรบ้าง อาการที่อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าผู้ป่วยเบาหวานอาจเริ่มสูญเสียการได้ยินมีดังนี้ มีความลำบากในการสื่อสารกับผู้อื่นมากขึ้นกว่าปกติ เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารบ่อยครั้ง (กับผู้อื่นที่คุย/สื่อสารด้วยมากกว่า 1 คน) หรือเกิดความเข้าใจผิดอันเนื่องมาจากปัญหาการฟังข้อมูลที่ผิดพลาดไป มีปัญหาในการทรงตัว เช่น มีอาการเวียนศีรษะ/บ้านหมุน บ่อย ๆ หรือ มีอาการขณะที่เปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องเพิ่มระดับเสียงโทรทัศน์หรือโทรศัพท์มือถือให้ดังมากกว่าปกติ เนื่องจากไม่ได้ยินเสียง ปัญหาการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวาน ส่งผลอย่างไร ปัญหาการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ด้วย ดังนี้ เพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการรับสิ่งเร้าไม่ว่าจะเป็น ภาพ แสง/สี กลิ่น และ เสียง ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัว จะส่งผลกระตุ้นให้สมองตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นการบริหารสมองให้แข็งแรง ดังนั้นปัญหาการได้ยินที่ลดลง จึงทำให้ร่างกายรับรู้เร้ารอบตัวน้อยลงด้วย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เลือดเป็นกรด ในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ เลือดเป็นกรด หรือที่เรียกว่า คีโตอะซิโดซิส (Diabetic ketoacidosis : DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน มีสาเหตุมาจากระดับคีโตนและน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  ภาวะ เลือดเป็นกรด ในผู้ป่วยเบาหวาน คืออะไร ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ รวมถึงมีส่วนสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด หรือคีโตอะซิโดซิส (Diabetic ketoacidosis : DKA) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายของผู้ป่วยผลิตคีโตนออกมาใช้เป็นพลังงานแทนอินซูลิน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย ปวดเมื่อย คลื่นไส้และอาเจียน เป็นต้น  ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะเลือดเป็นกรด ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้นานเกินไป อาจเกิดผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  เลือดเป็นกรดในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน  หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานรวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่กำลังตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดสูง โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 เนื่องจากทารกดึงน้ำตาลจากแม่มาใช้เป็นพลังงาน จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ลดลงอย่างรวดเร็ว จนเลือดเป็นกรดได้  วิธีลดความเสี่ยงเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวาน วิธีเหล่านี้อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดในผู้ป่วยเบาหวานได้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ หากเครียดหรือกังวล ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและบันทึกประวัติน้ำตาลในเลือดอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อวัน  ปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการและโรคที่เป็นอยู่ให้ถูกต้อง เช่น วิธีการใช้อินซูลิน การปรับยาอินซูลิน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุและวิธีป้องกัน

ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากการที่ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม จนกระทั่งน้ำตาลในเลือดเข้าไปทำลายโครงสร้างของกระดูก กระดูกเริ่มเปราะบาง แตกหรือหักง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนซึ่งนับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อสุขภาพ ภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน โรคเบาหวานชนิดที่ 2  เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคเบาหวานชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากภาวะภายในร่างกายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม น้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเกิดการอักเสบเรื้อรัง รวมทั้งเข้าไปทำลายโครงสร้างคอลลาเจนของกระดูก ทำให้มวลกระดูกเปราะบาง แตกหักได้ง่ายและนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุน ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วน เป็นต้น  ยารักษาโรคเบาหวานที่มีผลต่อกระดูก นอกจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจก่อให้เกิดภาวะกระดูกพรุนแล้ว ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เช่นกัน ดังกลุ่มยาต่อไปนี้ ยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones : TZDs) มีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมการสร้างอินซูลิน  แต่หากใช้ยาในระยะยาว อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกเสื่อมได้ ยาคานากลิโฟลซิน (Canagliflozin) เป็นยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่หากใช้ยาในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน 5 เคล็ดลับ ป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน เคล็ดลับง่าย ๆ ในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก เน้นอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผักใบสีเขียวเข้ม ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ อาหารและเครื่องดื่มเสริมแคลเซียม ออกกำลังกาย การออกกำลังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

ความดันโลหิตสูง คือ ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน เนื่องจาก โรคเบาหวานสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง โดยการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์อาจทำได้ด้วยการเลือกรับผระทานอาหาร ออกกำลังกาย นอกจากนี้ ศาสตร์แพทย์แผนจีนอย่าง นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ [embed-health-tool-heart-rate] นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ลดความดันโลหิตได้จริงหรือ นวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง เป็นวิธีการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีน โดยการใช้นิ้วมือกดตามจุดสำคัญต่าง ๆ บนร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจช่วยป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานได้ จากการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Evidence-based Complementary and Alternative Medicine เมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า หลังจากการนวดกดจุดตำแหน่ง ไท่จง (Taichong Acupoint) จะช่วยให้ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure หรือ SBP) ลดลงทันที 15-30 นาที  3 ตำแหน่งนวดกดจุดลดความดันโลหิตสูง ตำแหน่งสำคัญในการนวดกดจุดที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจมีดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่ 1 จุดไท่จง Taichong (LV3) หรือ จุดตับ ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างจุดกำเนิดของนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้าง คือ ตำแหน่งระหว่างหัวแม่เท้าและนิ้วเท้า […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด และวิธีการรับมือ

อินซูลิน (Insulin) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน นับเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีที่สุด โดยอินซูลินแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์แตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงวิธีการใช้อินซูลินอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการใจสั่น มือสั่น ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากรับมืออย่างไม่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เหตุใดผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จึงต้องฉีดอินซูลิน? แม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีสาเหตุหลัก ๆ จากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน มิได้ขาดฮอร์โมนอินซูลินดังเช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 แต่อย่างไรก็ตามก็มีผูู้้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องใช้ยาฉีดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ร่วมด้วย เช่น ผู้ที่รับประทานยาเม็ดแล้วไม่ได้ผล หรือ ยังไม่สามารถลดระดับน้ำตาลลงได้ตามเป้าหมาย หรือ อาจมีภาวะสุขภาพอื่น/โรคร่วม ที่เป็นข้อจำกัดของยาชนิดรับประทาน รวมทั้งผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินควบคุมให้ดีช่วงแรกก่อน   ผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด มีอะไรบ้าง ผลของการใช้อินซูลินเกินขนาด อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการดังต่อไปนี้ อาการสับสน มึนงง อาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายวิตกกังวล วิงเวียน/ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น มือสั่น  รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง วิธีรับมือผลข้างเคียงจากการใช้อินซูลินเกินขนาด การใช้ยาอินซูลินเกินขนาด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เท้าบวม เบาหวาน โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานที่อาจเป็นอันตรายได้

เท้าบวม เบาหวาน คือ อาการเท้าบวมในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเป็นภาวะโรคแทรกซ้อนนอกเหนือจากโรคอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจาก เท้าเป็นอวัยวะสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่ในผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลสุขภาพเท้าจะทำได้ยากขึ้น เนื่องจาก มีปัญหาในเรื่องของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเท้า ส่งผลให้เส้นประสาทชา และไม่รู้สึกเจ็บปวด ทำให้หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บและอันตรายได้ยาก แต่การดูแลเท้าให้มีสุขภาพดีก็จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถใช้ชีวิตด้วยเท้าไปอย่างปกติได้ [embed-health-tool-bmi] ปัญหาสุขภาพเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคแทรกซ้อนอย่างหน่งที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน คือปัญหาสุขภาพเท้าบวมหรือเท้าเป็นแผล  โดยเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยเนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลายเสื่อม ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการ ดังนี้      – ระบบประสาทรับรู้ความรู้สึกเสียหาย เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บ ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้ตัว เนื่องจากระบบประสาทรับรู้ความรู้สึกถูกทำลาย  อาจไม่รู้สึกร้อน หนาว หรือเจ็บปวด จึงมักเกิด แผลที่เท้า โดยไม่รู้ตัว      – ระบบประสาทสั่งการกล้ามเนื้อในเท้าเสียหาย เมื่อผู้ป่วยมีการเดินหรือลงน้ำหนักเท้าในบางตำแหน่งมากเกินไป จะทำให้หนังบรเวณเท้าด้านแข็ง รวมทั้งอาจทำให้เท้าผิดรูป หรือเท้าเขย่ง ซึ่งหมายถึงการที่เท้าส่วนหน้ายกขึ้น ทำให้เท้ามีลักษณะโค้งคล้ายท้องเรือ หรือคล้ายขาเก้าอี้โยก (rocker bottom)       – ระบบประสาทออโตโนมิกเสียหาย ส่งผลให้ผู้ป่วยผิวแห้งและรู้สึกคัน ทำให้เกาและบางครั้งจะรุนแรงเป็นแผลเรื้อรังได้ง่าย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เท้าบวม เท้าบวม เบาหวาน เป็นอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยได้ผู้ป่วยเบาหวาน แต่ทั้งนี้มักเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยอื่น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลต่อผิวหนัง อย่างไรบ้าง

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานชนิดที่พบมากที่สุด โดยมีสาเหตุมาจากร่างกายไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินหรือร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสูงผิดปกติ ร่างกายจึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลต่อผิวหนัง และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น แผลพุพอง เชื้อราที่ผิวหนัง อาการคัน โรคสะเก็ดเงิน การติดเชื้อรา และอาจนำไปสู่ภาวะที่อันตรายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลต่อผิวหนัง อย่างไรบ้าง ผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีแนวโน้มที่ระบบไหลเวียนเลือดจะทำงานได้ไม่ปกติ ทำให้เลือดที่ต้องไหลเวียนไปยังผิวหนังลดลง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือดและระบบประสาท คอลลาเจนในผิวหนังลดลง ทำให้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังลดประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวอีกด้วย ปัญหาผิวหนังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี แม้ว่าปัญหาผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายและจะหายไปเอง แต่ปัญหาสภาพผิวหนังบางอย่างก็เป็นอันตรายควรได้รับการรักษา ปัญหาผิวหนังที่มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ผิวหนังช้าง (Acanthosis nigricans) ผิวหนังช้าง หรือ อะแคนโทสิสนิกริแคน เป็นโรคผิวหนังมีลักษณะหนาขึ้น เป็นปื้นสีดำตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณรอยพับ ขาหนีบ หลังคอดำ และรักแร้ ส่วนใหญ่แล้วโรคผิวหนังช้างมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานและโรคอ้วน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และการป้องกันโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ผลกระทบ ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อาจเป็นคนถามที่หลายคนสงสัย ซึ่งโรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หากปล่อยให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่าย ระบบประสาท  ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย อาการมือและเท้าชา ผิวแห้ง โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม ภาวะอ้วน พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอย่าง การขาดออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เป็นต้น โรคเบาหวาน ผลกระทบ การป้องกัน  ผลกระทบจากโรคเบาหวาน หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ดังนี้ ระบบไหลเวียนโลหิต ผู้ป่วย โรคเบาหวาน มักจะมีความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจทำงานหนัก อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานยังมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดเปราะแตกง่าย จนทำให้เกิดแผล เมื่อหลอดเลือดเกิดแผลก็จะทำให้ไขมันสะสมในหลอดเลือดมากขึ้น จนทำให้หลอดเลือดตีบและแคบลง จนระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ไม่เต็มที่ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง หลอดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดส่วนเกินอาจทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้หลอดเลือดตีบและแคบ ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดทำได้ไม่เต็มที่ ร่างกายก็จะได้รับเลือดและออกซิเจนที่ลดลง จนเพิ่มความเสี่ยงทำให้ความดันโลหิตสูง ทำให้เส้นเลือดทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเกิดความเสียหาย ความดันโลหิตสูง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นั่นคือ ต่ำกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ [embed-health-tool-bmi] โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังอาจเป็นสาเหตุของการการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังอาจมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวานถึง 2 เท่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้โครงสร้างหลอดเลือดทำงานผิดปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ประเภทของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม แม้ปัจจัยเหล่านี้จะยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเซลล์ในตับอ่อน เนื่องจากตับอ่อนมีบทบาทสำคัญในการผลิตอินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนนำไปสู่โรคเบาหวาน ภาวะก่อนเบาหวาน เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน อาจป้องกันการพัฒนาของโรคด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยการลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่หากตรวจพบว่ามีภาวะก่อนเบาหวานแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็อาจพัฒนากลายเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ควบคุมเบาหวาน ไม่อยู่ อาจเสี่ยงเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด

หาก ควบคุมเบาหวาน ไม่อยู่ อาจนำไปสู่ปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานต่าง ๆ รวมถึง โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเข้ารับการตรวจกับคุณหมอเป็นประจำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร    โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แม้อดอาหารนานเกินกว่า 8 ชั่วโมง หรือตรวจพบระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยระดับน้ำตาลในเลือดจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อน แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ร่างกายจะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือใช้อินซูลินได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดไม่สามารถเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานได้ และยังทำให้ไขมันสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด เป็นเหตุให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว สาเหตุส่วนใหญ่ที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น มีดังต่อไปนี้ รับประทานยาเบาหวานไม่ถูกประเภท ลืมรับประทานทานยา หรือลืมฉีดอินซูลิน มีการออกกำลังกายที่น้อยกว่าที่ควร หรือการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เช่น ของหวาน ข้าวขาว ขนมปัง อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อ หรือมีอาการป่วยซ่อนเร้น หรือโรคเครียดได้ จะทราบได้อย่างไรว่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากผู้ป่วยเบาหวานมีอาการอ่อนแรง เหนื่อย ตาพร่า ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปากแห้ง กระหายน้ำ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน