ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

นอกจากโรคเบาหวานจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพแล้ว ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่อาจมองข้าม เพราะหากจัดการได้ไม่มี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ว่าเป็นอย่างไร และจะรับมือได้อย่างไรบ้าง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]

สำรวจ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

คอดำ เบาหวาน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

อาการคอดำ สามารถมีสาเหตุได้หลากหลาย แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะมีลักษณะเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งมีลักษณะผิวคล้ำ หนา นูน หยาบกร้าน หรือบางคนอาจมีติ่งเนื้อยื่นออกมา เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นและกระตุ้นการเจริญเติบโตของผิวหนังมากขึ้น มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีรูปร่างอ้วน ดังนั้น หากมีอาการคอดำเกิดขึ้นอย่างกะทันหันควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน อาการคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน อาการคอดำ เป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ได้แก่ ผิวคล้ำขึ้น ผิวหนา หยาบกร้าน บางคนอาจมีติ่งเนื้อยื่นออกมา และอาจมีอาการคันหรือมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาจพบตามบริเวณรอยพับของผิวหนัง เช่น รักแร้ ขาหนีบ คอ ทั้งนี้ควรเข้าพบคุณหมอหากมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน หรือมีอาการคัน เจ็บปวด มีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ สาเหตุของคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน คอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน มีสาเหตุจากระดับอินซูลินที่สูงขึ้นไปกระตุ้นเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเจริญเติบโตมากกว่าปกติ ภาวะนี้ทางการแพทย์ เรียกว่า โรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) ส่วนใหญ่พบมากผู้ที่มีน้ำหนักเกินและมีรูปร่างอ้วน หรือในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินและมีรูปร่างอ้วน การรักษาคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาอาการคอดำ อาจเป็นเพียงการรักษาในกรณีของผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนให้ลดน้ำหนัก […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เท้าบวม เบาหวาน สาเหตุและการดูแล

เท้าบวม เบาหวาน หรือเท้าเบาหวาน เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวานเมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และสะสมในเส้นเลือดมากขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดีจนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เท้าได้เพียงพอ ของเหลวจะเข้าไปสะสมอยู่ตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ขา ข้อเท้า เท้า จนทำให้เกิดอาการบวมขึ้น นอกจากนี้ บาดแผลที่เท้าและการติดเชื้ออาจส่งผลทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้เช่นกัน หากมีบาดแผลที่เท้าหรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ควรเข้ารับการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน สาเหตุของอาการเท้าบวม เบาหวาน เท้าบวมจากเบาหวาน อาจเกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ ที่ผู้ป่วยเบาหวานพบบ่อยและส่งผลต่อเท้า ดังนี้ โรคหลอดเลือดตีบ โรคเบาหวานส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้เส้นเลือดต่างๆ แข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น จากการสะสมของน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือด จนทำให้หลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันเรื้อรัง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื้อบริเวณเท้าได้อย่างเพียงพอ หากผู้ป่วยเบาหวานเกิดบาดแผลที่เท้าจะส่งผลให้แผลหายช้าหรือแผลอาจไม่สมานตัว เนื่องจากหลอดเลือดตีบจนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เท้าเพื่อรักษาแผลได้ จนอาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น เท้าบวม ตะคริว ปวด แผลเปื่อย สีผิวที่เท้าเปลี่ยน ในกรณีรุนแรงเมื่อเลือดไหลเวียนได้น้อยลงอาจทำให้มีอาการเจ็บปวด ติดเชื้อ กลายเป็นเนื้อตาย คุณหมออาจต้องรักษาด้วยการตัดเนื้อเยื่อบริเวณเนื้อตาย นิ้วเท้า หรือรุนแรงถึงขั้นตัดขา โรคระบบประสาทจากเบาหวาน โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานอาจทำลายเส้นประสาทจนทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้ความรูสึกที่เท้าเปลี่ยนแปลงไป หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ เจ็บปวด ระคายเคืองหรือชา ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งหากเป็นการชาที่รุนแรงนั้น จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อมีบาดแผล จนนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงที่เท้าได้ จึงอาจทำให้ไม่รู้ตัวว่าได้รับบาดเจ็บบริเวณเท้า นำไปสู่ความเสี่ยงทำให้แผลอักเสบ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แผลเบาหวาน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

แผลเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ทำให้ผิวหนังรักษาตัวเองได้ช้าลง เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีแผลเกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถพัฒนากลายเป็นแผลที่ใหญ่ขึ้นและเสี่ยงติดเชื้อได้ โดยส่วนใหญ่แผลเบาหวานมักเกิดขึ้นบริเวณเท้า เนื่องจากเส้นเลือดตีบตันจนเลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณเท้าได้ ทำให้เลือดไหลเวียนกลับมาไม่สะดวก ทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบ ไม่รู้สึกเจ็บ เกิดบาดแผลได้ง่าย และเมื่อเกิดแผลจึงทำให้แผลหายช้า สาเหตุที่ทำให้แผลเบาหวานหายช้า แผลเบาหวาน ส่วนใหญ่เป็นแผลเปิดที่เท้าและอาจมีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แผลเบาหวานหายช้า อาจมีดังนี้ ความผิดปกติของหลอดเลือด ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีภาวะเส้นเลือดตีบแข็งและอุดตันในเส้นเลือดแดงใหญ่และเส้นเลือดฝอย ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ และเกิดเป็นแผลขึ้น พบบ่อยที่บริเวณปลายนิ้วเท้าและตำแหน่งการลงน้ำหนัก เช่น ส้นเท้า นอกจากนี้ การที่เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เพียงพอ ยังอาจส่งผลให้แผลที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น เช่น ตะปูตำ เล็บขบ หรือแผลจากการบาดเจ็บสมานตัวได้ช้าลง โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ มีไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มการตีบตันของเส้นเลือดมากขึ้นอีกด้วย การติดเชื้อแทรกซ้อน ส่วนใหญ่แผลเบาหวานมักมีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้ออื่น ๆ ร่วมด้วย ส่งผลทำให้แผลเกิดการอักเสบและลุกลามมากขึ้น ร่วมกับปัญหาเส้นเลือดฝอยอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ จนอาจทำให้แผลไม่สมานตัวและมีกลิ่นเหม็นเน่า นอกจากนี้ หากผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางประสาทและหลอดเลือด อาจมีแนวโน้มทำให้แผลเบาหวานรักษายากยิ่งขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงที่คุณหมอจะรักษาอวัยวะเหล่านั้นไว้ได้ จนจำเป็นต้องตัดเนื้อตายส่วนนั้นทิ้งไป ปลายประสาทเสื่อม ปลายประสาทเสื่อมเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานหลายปี โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีเมตาบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งเป็นกระบวนการทางเคมีที่รักษาความสมดุลของร่างกายที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์เส้นประสาท ปลายประสาทเสื่อม สามารถแบ่งได้ดังนี้ ประสาทอัตโนมัติเสื่อม ส่งผลกระทบต่อการควบคุมการหดและขยายของหลอดเลือดและการหลั่งเหงื่อ ทำให้ร่างกายหลั่งเหงื่อน้อยลง ผิวแห้ง แตก […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา อาการที่ควรสังเกต

เบาหวานขึ้นตา หรือ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดจากความเสียหายของเนื้อเยื่อหลอดเลือดบริเวณด้านหลังดวงตา หรือที่เรียกว่า เรตินา (Retina) ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ยิ่งระยะของโรคเบาหวานลุกลามและระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น อาจยิ่งเพิ่มโอกาสทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในดวงตามากขึ้น จนอาจทำให้สูญเสียการมองเห็น นอกจากนี้ หากอาการรุนแรงขึ้น อาจส่งผลให้หลอดเลือดฝอยบริเวณจอประสาทตาและหลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายเสื่อมได้เช่นกัน เบาหวานขึ้นตา อาการเป็นอย่างไร เบาหวานขึ้นตา อาจทำให้หลอดเลือดด้านหลังดวงตาเกิดความเสียหาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 40%-45% มักเกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา ซึ่งในระยะเริ่มต้นอาจยังไม่แสดงอาการใด ๆ หรืออาจมีปัญหาการมองเห็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ อาการเบาหวานขึ้นจอตา เมื่อโรคเบาหวานลุกลามมากขึ้นหรือเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้มีอาการเหล่านี้ มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นเป็นจุดหรือเส้นสีดำในดวงตา ตาพร่ามัว การมองเห็นไม่ชัดเจน ดวงตาไม่สามารถปรับให้มองเห็นในที่มืดได้ดีเท่าที่ควร ไขมันรั่วในจอตา ทำให้จอประสาทตาบวม จอประสาทตาหลุดลอก เลือดออกในน้ำวุ้นตา สูญเสียการมองเห็น อาการจอตาบวมน้ำจากเบาหวาน เกิดจากของเหลวสะสมอยู่บริเวณกึ่งกลางของเรตินา อาจทำให้มีอาการเหล่านี้ ตาพร่ามัว มองเห็นเป็นคลื่นหรือเส้นสีดำในตา มองเห็นสีซีดจางลงหรือสีเหลือง มองเห็นเงาตะกอนน้ำวุ้นตา (Floaters) คือ เห็นเป็นเงาดำเล็ก ๆ ที่เกิดจากตะกอนในน้ำวุ้นตา อาการเบาหวานและต้อหิน ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีความเสี่ยงเกิดโรคต้อหินเป็น 2 เท่า เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานอาจมีภาวะแทรกซ้อนมีเส้นเลือดผิดปกติที่บริเวณม่านตา อาจอุดทางเดินของน้ำภายในลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้น หากปล่อยไว้เป็นเวลานานความดันที่เกิดขึ้นอาจกดให้ประสาทตาฝ่อได้ ซึ่งโรคต้อหินเป็นโรคที่ทำลายเส้นประสาทตา […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงไต ภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทำให้ไตทำงานผิดปกติ และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของไตวาย อีกทั้งก่อให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น  ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ  สาเหตุเบาหวานลงไต เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) โดยสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวานทำให้หลอดเลือดและเซลล์อื่น ๆ ในไตถูกทำลาย เมื่อไตเกิดความผิดปกติจึงกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้น้อยลง เมื่อกระบวนการขับของเสียที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของเสียบริเวณไตจึงเริ่มส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลร้ายแรงทำให้เกิดภาวะไตวาย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อาการเบาหวานลงไต    เบาหวานลงไตในระยะแรกมักไม่แสดงอาการมากนัก แต่เมื่อผ่านไปสักระยะผู้ป่วยเบาหวานจะเริ่มมีอาการ ดังต่อไปนี้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ  คลื่นไส้อาเจียน  หายใจถี่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใบหน้า […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตาปลาและหนังหนาด้านจากเบาหวาน อาการและวิธีรับมือ

ผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีนับว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทและภาวะขาดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลที่เท้า นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้เมื่อเกิดแผลที่เท้าแล้ว ยังหายช้ากว่าปกติด้วย ทั้งนี้ การทราบข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อน อาทิเช่น ตาปลาและหนังหนาด้านในผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงวิธีดูแลเท้าที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานดูแลสุขภาพเท้าได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาปลาและหนังหนาด้านในผู้ป่วยเบาหวาน  ตาปลาและหนังหนาด้านในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพเท้าที่พบบ่อย โดยเกิดเนื่องจากเนื้อเยื่อส่วนนั้น ๆ ได้รับการเสียดสีหรือแรงกดทับซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น หลวมเกินไป หรือคับเกินไป หากปล่อยให้ ตาปลาและหนังหนาด้าน เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบ  และมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดตาปลาและหนังหนาด้าน ด้วยการดูแลสุขภาพเท้าเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เลือกสวมใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้าของตน ลักษณะอาการตาปลาและหนังหนาด้าน ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้ หากผู้ป่วยเบาหวานมีอาการดังต่อไปนี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเท้าของคุณมีอาการ ตาปลาและหนังหนาด้าน ผิวหนังมีลักษณะหนา แข็ง และหยาบกร้าน ผิวเป็นขุยแห้ง มีลักษณะผิวคล้ายกับขี้ผึ้ง กดแล้วรู้สึกเจ็บภายใต้ผิวหนัง จัดการตาปลาและหนังหนาด้าน ด้วยการเลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม รองเท้าแต่ละแบบมีรูปแบบการกดทับที่เท้าต่างกัน หากเท้าเกิดการกดทับซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดตาปลาและหนังหนาด้าน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องเลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ซึ่งมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้ เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายและมีขนาดพอดีกับเท้า ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป หากซื้อรองเท้ามาใหม่ ให้ลองสวมใส่อย่างน้อย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุ และการรับมือ

อาการบวมส่วนปลาย หรืออาการบวมของรยางค์ (Peripheral Edema) เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ระบบหมุนเวียนเลือด จึงทำให้เกิดอาการบวมและเป็นแผลได้ง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องให้ความสำคัญในดูแลแผลและควบคุมอาการบวม เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นและส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] อาการบวมส่วนปลาย ในผู้ป่วยเบาหวาน  อาการบวมส่วนปลาย เกิดจากแรงดันในหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น จนทำให้น้ำรั่วออกมาจากเส้นเลือดฝอยออกมาสู่บริเวณเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้ผิวหนังเกิดอาการบวมตึง และมีลักษณะบุ๋มลงไป แต่ในผิวผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีลักษณะบุ๋ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม อาการบวมสามารถขึ้นได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณขา หน้าท้อง ปอด แต่ส่วนใหญ่อาการบวมส่วนปลายมักเกิดขึ้นบริเวณเท้า ข้อเท้า และขา เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ สาเหตุของ อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ลิ่มเลือดอุดตันของเส้นเลือดดำ การอักเสบของเนื้อเยื่อ  ถุงน้ำบริเวณใต้ข้อพับเข่าแตก  ระบบหมุนเวียนน้ำเหลืองเกิดการอุดตัน อาการบวมน้ำจากการใช้อินซูลิน  ภาวะอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคตับ โรคหัวใจ และโรคไตอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย และมีอาการบวมที่เท้าหรือข้อเท้า  ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบ ยาฮอร์โมน ยาลดความดันโลหิต ยากล่อมประสาท ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานบางชนิด รับมืออย่างไร หากมีอาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานสามารถลด อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

หลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

หลอดเลือดแข็ง เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่อันตรายที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากอาจทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ ทำให้หัวใจขาดเลือด และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเรียนรู้วิธีการลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็งจากโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต [embed-health-tool-bmi] หลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากไม่ดูแลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ก็ล้วนทำให้กเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ เนื่องจาก เมื่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะเกิดเป็นคราบหรือตะกอนเกาะตามผนังของหลอดเลือด ส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งผิดปกติ ขาดความยืดหยุ่น อีกทั้งยังทำให้รูของหลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนเลือดไม่ดี จนพัฒนาเป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดที่รุนแรงขึ้น ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งในผู้ป่วยเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นภาวะเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากสมดุลของการนำนำ้ตาลไปเปลี่ยนใช้เป็นพลังงานให้กับร่างกายบกพร่องไป โดยอาจเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ โดยอินซูลินนั้นมีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือเกิดจากการที่ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน เมื่อร่างกายเกิดภาวะดังกล่าว จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าที่ควน และหากไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมให้ดี อาจส่งผลต่อทำให้ ระบบไหลเวียนเลือดเสียหาย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมไปถึง หลอดเลือดแข็ง ได้นั่นเอง วิธีป้องกันหลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างหลอดเลือดแข็งได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เลิกบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่มือสอง เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือไปพบคุณหมอตามนัด เพื่อรับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นเบาหวานยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ซึ่งจะช่วยลดอาการของโรคเบาหวานได้โดยการรับประทานยาลดระดับน้ำตาล รวมไปถึงการใช้ยาฉีดอินซูลิน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงไต ปัจจัยเสี่ยง และวิธีดูแลตัวเอง

เบาหวานลงไต หรือ โรคไตจากเบาหวาน อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ในอนาคต หากผู้ป่วยไม่ดูแลตนเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และหากพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม และขอรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวานลงไต  เบาหวานลงไต คืออะไร เบาหวานลงไต หรือโรคไตจากเบาหวาน (Diabetic Nephropathy) ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เชื่อมโยงกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารพบได้บ่อยถึง 25% ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูง รวมถึงหลอดเลือด และเซลล์ต่าง ๆ ในไตถูกทำลาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ไตไม่สามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้ หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้ในที่สุด ปัจจัยเสี่ยงเบาหวานลงไต เบาหวานลงไต นอกจากจะทำลายสุขภาพไตแล้ว ยังอาจนำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีปัจจัยเหล่านี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานลงไตได้ สูบบุหรี่เป็นประจำระยะยาว คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง นอกจากปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นั่นคือ ปัจจัยทางพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานลงไต อาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ วิธีดูแลตัวเองเมื่อเบาหวานลงไต วิธีดูแลตัวเองเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานลงไตสามารถรับมือกับโรคได้ดีขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพราะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานหรือแคลอรี่ ส่งผลดีต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการเบาหวานระยะสุดท้าย มีอะไรบ้าง

โรคเบาหวาน หากไม่ควบคุมให้ดี อาการของโรคก็อาจเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ระยะสุดท้าย ซึ่งมักเป็นระยะที่ผู้ป่วยมี ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานแล้ว รวมทั้งหากยังไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะส่งผลให้มีอาการหกระหายน้ำ หิวง่าย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับอาการและการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอื่น ๆ รวมทั้งดูแลสุขภาพของตนได้ดียิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] อาการเบาหวานระยะสุดท้าย อาการของโรคเบาหวานระยะสุดท้าย คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ที่เป็นเบาหวานปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน ส่งผลให้กระทบต่ออวัยะวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยอาจมีอาการแสดงดังต่อไปนี้  ปัสสาวะบ่อย และตื่นมาปัสสาวะในเวลากลางคืน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ จึงส่งผลให้มีอกาารปัสสาวะบ่อยมากขึ้นผิดปกติและบางรายต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน (แม้จะไม่ได้ดื่มน้ำช่วงที่นอนหลับไปแล้ว)  กระหายน้ำมาก เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นจากการที่ปัสสาวะบ่อย จึงกระตุ้นให้รู้สึกกระหายน้ำและดื่มน้ำทดแทนชดเชยที่เสียไป เป็นกลไลของร่างกายเพื่อป้องกันมิให้ร่างกายขาดน้ำ  หิวง่าย ผู้ป่วยอาจมีอาการหิวง่าย หรือ บ่อยขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมาใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานได้ตามปกติ ส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวง่าย/บ่อยขึ้นกว่าปกติ เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากร่างกายขาดพลังงานดังที่กล่าวในข้างต้น จึงทำให้เกิดอาการอ่อน เพลียเหนื่อยล้ามากขึ้นได้  มีปัญหาเรื่องการมองเห็น ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น สามารถส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติไปจากเดิมได้ เนื่องจากเมื่อน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อความเข้มข้นของของเหลวทั่วร่างกาย รวมถึงของเหลวที่อยู่ใน เลนส์ตา วุ้นลูกตา อีกทั้งหากควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีอย่างเรื้อรัง ยังเสี่ยงต่อการเกิอจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน หรือ เบาหวานขึ้นตา ได้อีกด้วย  เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านกับเชื้โรคและสิ่งแปลกปลอมลดลง จึงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้แล้วโรคเบาหวานเองอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน