โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน มีกี่ระยะ แต่ละระยะแตกต่างกันอย่างไร

โรคเบาหวาน มีกี่ระยะ อาจเป็นคำถามที่ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่มีอาการเริ่มต้นของโรคเบาหวานเกิดความสงสัย ทั้งนี้ โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 3-4 ระยะหลัก ๆ โดยนับตั้งแต่เมื่อร่างกายเริ่มมีความผิดปกติซึ่งในขั้นเเรกนี้ระดับน้ำตาลจะยังปกติเเเละยังไม่มีอาการเเสดงใด ๆ จนถึงระยะที่ระดับน้ำตาลในเลือดเริ่มสูงขึ้น จนกระทั่งพบอาการหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจป้องกันได้ด้วยการควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หรือตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหัวใจ ระบบเส้นประสาทเสียหาย เบาหวานแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลัก ๆ โดยมีสาเหตุและรายละเอียดดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างภูมิไปทำลายเบตา เซลล์ (Beta Cells) ของตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอตามความต้องการของร่างกายจึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ง โดยเบาหวานชนิดที่ 1 นี้มักวินิจฉัยได้ตั้งเเต่ช่วงเด็กและวัยรุ่น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เท้าบวม เบาหวาน วิธีรักษา ทำได้อย่างไร

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนโลหิต ทำให้มีของเหลวรั่วออกจากหลอดเลือดเเละไปเพิ่มการสะสมของน้ำตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวมตึงตามอวัยวะดังกล่าวได้ โดยมักเกิดขึ้นที่อวัยวะส่วนปลาย เช่น บริเวณขา ข้อเท้า และเท้า เมื่อมีอาการ เท้าบวม เบาหวาน วิธีรักษา สามารถทำได้ด้วยการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวม เช่น เพิ่มการขยับเคลื่อนไหวของเท้า ยาขับปัสสาวะเพื่อขับของเหลวที่คั่งในเนื้อเยื่อ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหมั่นดูแลสุขภาพเท้าและสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการบวม แผลที่เท้า ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เท้าบวมเมื่อเป็นเบาหวาน เกิดจากอะไร โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอหรือเซลล์ในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้สมดุลการจัดการกับน้ำตาลในเลือดเสียไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เเละหากควบคุมโรคเบาหวานไม่ดี ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ผนังของหลอดเลือดฝอยเสื่อมลง รวมถึงทำให้แรงดันในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นจนทำให้ของเหลวรั่วออกมาจากหลอดเลือดเข้ามาสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ บริเวณขา ข้อเท้า เท้า จึงเป็นที่มาของอาการเท้าบวม อาการเท้าบวมอาจเกิดจากภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ ที่พบร่วมกับโรคเบาหวาน ดังต่อไปนี้ โรคอ้วน ภาวะเลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ภาวะหลอดเลือดดำเสื่อม การคั่งของน้ำเหลือง (Lymphedema) โรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ โรคไต ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด เช่น […]


โรคเบาหวาน

อาการเบาหวานระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต และการดูแลตัวเอง

อาการเบาหวานระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต เป็นระยะที่อันตรายที่สุด และอาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกิดขึ้นในระหว่างที่เป็นหวาน เช่น ไตวายเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ การติดเชื้อรุนแรง หากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่รักษาหรือควบคุมอาการเบาหวานให้ดีขึ้น ก็อาจส่งผลให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว จนนำไปสู่อาการโคม่าและถึงแก่ชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] ระยะของเบาหวาน ระยะของเบาหวาน แบ่งออกตามประเภทของโรคเบาหวาน ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าโจมตีเซลล์ในตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน อาจไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ และยังคงมีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มมีอินซูลินไม่เพียงพอต่อการจัดการกับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แต่อาจไม่มีอาการอื่น ๆ แสดงให้เห็น ระยะที่ 3 เป็นระยะที่อาจมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย เมื่อยล้าอย่างรุนแรง และน้ำหนักลดลงกะทันหัน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะดื้ออินซูลิน แต่ยังคงมีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ระยะที่ 2 เป็นระยะเข้าสู่ภาวะก่อนเบาหวาน โดยอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ประมาณ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร […]


โรคเบาหวาน

เป็นเบาหวานตอนท้อง ควรทำอย่างไร

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักพบหลังจากอายุครรภ์ขอคุณเเม่เข้าช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ซึ่งอาจไม่แสดงอาการใด ๆ หรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เเต่หากไว้โดยไม่ทำการรักษา หรือ ควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกได้ ดังนั้นจึงควรหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองและเข้ารับการตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอกำหนดอย่างเคร่งครัด [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] เบาหวานตอนท้อง เกิดจากอะไร ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดเนื่องจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิเพิ่มขึ้น โดยในระหว่างตั้งครรภ์ รกจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) คอร์ติซอล (Cortisol) และแลคโตเจน (Lactogen) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีฤทธิ์ต้านกับฮอร์โมนอินซูลิน จึงส่งผลให้เซลล์ในร่างกายของคุณเเม่ตอบสนองต่ออินซูลินลดลง นำน้ำตาลเข้าไปเผาผลาญได้ลดลง จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จนนำไปสู่โรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามคุณเเม่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานตอนขณะตั้งครรภ์ เมื่อตรวจพบหลังจากเข้าอายุครรภ์ในไตรมาสที่ 2 ไปเเล้ว หากตรวจพบตั้งเเต่อายุครรภ์น้อย ๆ อาจเเปลได้ว่า คุณเเม่อาจจะมีโรคเบาหวานอยู่เดิมตั้งเเต่ยังไม่ตั้งครรภ์ได้ (ไม่ทราบมาก่อน) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่น ผู้ที่มีประวัติเป็นภาวะก่อนเบาหวาน หรือมีประวัติเคยมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน ๆ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน คุณแม่ที่เป็นโรคอ้วน หรือ มีภาวะน้ำหนักเกิน และภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) เบาหวานตอนท้อง อันตรายอย่างไร เบาหวานตอนท้อง อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่และทารก ดังนี้ ทารกตัวใหญ่ […]


โรคเบาหวาน

CGM (เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง) คืออะไร ใช้งานอย่างไร

CGM ย่อมาจาก Continuous Glucose Monitoring เป็นเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบต่อเนื่อง เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ที่ต้องการควบคุมเบาหวานให้ได้ดี สามารถใช้ติดตามค่าน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาวิธีการใช้งานรายละเอียดข้อมูล ทั้งข้อดี และข้อเสียของเครื่อง CGM ก่อนใช้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดระหว่างใช้งาน [embed-health-tool-bmr] CGM คืออะไร CGM คือ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบต่อเนื่อง โดยจะวัดระดับน้ำตาลที่อยู่เนื้อเยื่อซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับระดับน้ำตาลในกระเเสเลือดทุก ๆ 5-10 นาที ตลอด 24 ชั่วโมงแล้วส่งข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นไปแสดงผลที่ตัวรับสัญญาน หรือ โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผุ้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงค่าน้ำตาลในเลือด ณ ขณะนั้น ๆ ได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ เมื่อเครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่องรบอายุการใช้งานควรเปลี่ยนเครื่องใหม่ตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ซึ่งอาจเเตกต่างกันในเเต่ละยี่ห้อ เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่องประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ เซนเซอร์ (Sensor) เป็นวัสดุที่ทำจากโลหะ มีขนาดเล็ก ซึ่งจะฝังอยุ่ใต้ผิวหนัง เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลที่อยู่ในเนื้อเยื่อ ส่วนมากมักจะติดเซนเซอร์นี้ที่บริเวณหน้าท้อง และต้นแขนด้านหลัง ตัวส่งสัญญาณ (Transmitter) เมื่อเซนเซอร์ตรวจจับระดับน้ำตาล ตัวส่งสัญญาณนี้จะส่งข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ไปยังตัวรับข้อมูล ตัวรับข้อมูล […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 500 อันตรายหรือไม่ มีวิธีแก้ไขอย่างไร

น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย เเต่มักพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะเลือดข้นจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายถึงเเก่ชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 500 เกิดจากอะไร การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จึงทำให้ไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ ร่วมกับการรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเเละน้ำตาลในปริมาณมาก หรือ รับประทานยา/ฉีดอินซูลินไม่สม่ำเสมอจนส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงมากจนเกินไป นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง ที่ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 500 ดังนี้ ผู้ป่วยไม่ดูเเลสุขภาพให้ดี เช่น ไม่รับประทานยาลดระดับน้ำตาล หรือ รับประทานยาไม่สม่ำเสมแ ไม่ออกกำลังกาย ไม่ควบคุมอาหาร โรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคไต เพราะอาจทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากขึ้น จนนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะติดเชื้อ หรือ การเจ็บป่วยแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หัวใจวายเฉียบพลัน เนื่องจากเมื่อมีภาวะเจ็บป่วยร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านกับอินซูลินเพิ่มมากขึ้น จึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ ยาบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ และยารักษาโรคหอบหืด ซึ่งมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 500 อันตรายหรือไม่ น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จัดอยู่ในเกณฑ์ที่อันตรายมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดข้นจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง […]


โรคเบาหวาน

ลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน ทำได้อย่างไรบ้าง

ผู้ที่เป็นเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมื่อตรวจหลังอดอาหารให้อยู่ระหว่าง 80 - 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ เมื่อตรวจหลังรับประทานอาหารเเล้วสูงไม่เกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งหากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเเทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ตามมาได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาหาวิธี ลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน รวมถึงดูเเลสุขภาพให้ดีเเละควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำไมถึงควร ลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน การลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน เมื่อทราบว่าตัวเองมีค่าน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic ketoacidosis) ภาวะเลือดข้นจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมาก (Diabetic hyperosmolar syndrome) ซึ่งเป็นภาวะเเทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันของโรคเบาหวานและช่วยลดอาการของเบาหวานที่เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่ให้แย่ลง รวมถึงช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรังได้ดังนี้ ตาพร่ามัว ต้อกระจก ตาบอด เส้นประสาทเสื่อมส่งผลให้มือและเท้าชา เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน ทำให้เท้าขาดเลือด ไตวาย ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายเเละรุนเเรงกว่าปกติ แผลหายช้า แผลเท้าเบาหวาน วิธีลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน วิธีลดน้ำตาลในเลือดเร่งด่วน อาจทำได้ดังนี้ ฉีดอินซูลิน มักใช้ในกรณีผู้ที่เป็นหวานชนิดที่ 1 คุณเเม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือผู้ที่ใช้ยาลดระดับน้ำตาลชนิดรับประทานเเล้วยังไม่ได้ผล หรือมีข้อห้ามของการใช้ยา โดยยาฉีดอินซูลินจะทำให้หน้าเสมือนกับอินซูลินในร่างกาย จึงสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดีอย่างไรก็ตาม […]


โรคเบาหวาน

13 อาหาร ลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้าง

ผักใบเขียว ธัญพืช และผลไม้ เป็นตัวอย่างของ 13 อาหาร ลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม  นอกจากอาหารเเล้ว การออกกำลังกาย และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอเเล้ว จะช่วยให้ควบคุมโรคเบาหวาน และอาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] 13 อาหาร ลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้าง 13 อาหาร ที่อาจช่วย ลดน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน มีดังนี้ 1. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น แครนเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสพ์เบอร์รี่ และสตรอว์เบอร์รี่ มีวิตามินและสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ กรดโฟลิก (Folic Acid) และแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยป้องโรคมะเร็ง ปรับสมดุลของระบบย่อยอาหาร บำรุงสายตา และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food & Function ปี พ.ศ. 2562 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีต่อภาวะดื้ออินซูลิน และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ผลเบอร์รี่ประกอบไปด้วยสารที่มีประโยชน์ ได้เเก่ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) […]


โรคเบาหวาน

ลักษณะของโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และวิธีรับมือ

โรคเบาหวานที่พบในผู้สูงอายุ มักมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยผู้ดูแลหรือคนรอบข้างอาจสังเกตอาการได้ เช่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดจากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง การทราบข้อมูลเกี่ยวกับ ลักษณะของโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และวิธีการรับมืออย่างเหมาะสม จะช่วยให้สามารถดูแลสุขภาพของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบไตวาย โรคจอประสาทตาเสื่อม [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากความผิดปกติของอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด โดยฮอร์โมนอินซูลินจะช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายนำน้ำตาลในเลือดไปเปลี่ยนใช้เป็นพลังงาน แต่เมื่ออายุมากขึ้น ตับอ่อนอาจเสื่อม จึงส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยลง นอกจากนี้ โรคเบาหวานในผู้สูงอายุยังอาจเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และนำไปสู่โรคเบาหวานในเวลาต่อมา ลักษณะของโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ลักษณะของโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อาจสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ ดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง หรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจน้ำตาลในเลือดแบบสุ่ม กระหายน้ำบ่อย  หิวบ่อย รับประทานอาหารมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย ต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน น้ำหนักลดลงกะทันหัน รู้สึกไม่มีแรง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย มองเห็นภาพไม่ชัดเจน แผลหายช้า ผิวแห้งคัน วิธีดูแลผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน หากสังเกตพบอาการที่เป็นสัญญานของโรคเบาหวาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวาน แห้ง คืออะไร เป็นอันตรายหรือไม่

ภาวะ เบาหวาน แห้ง หรืออาจเรียกว่า ภาวะเบาหวานผอม มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมเบาหวานไม่ถูกวิธี ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จนร่ายกายซูบผอม รวมถึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมที่สุด ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมปริมาณของอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล และ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเบาหวานแห้งและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอื่น ๆ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน แห้ง คืออะไร เบาหวานแห้ง คือ ภาวะโรคเบาหวานที่เป็นมาอย่างเรื้อรัง โดยไม่ได้รับการควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี เนื่องจากเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงานได้ แม้จะน้ำตาลในเลือดสูงก็ตาม ร่างกายจึงจำเป็นต้องเผาผลาญสลายกล้ามเนื้อและไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้น้ำหนักลดลงเร็วผิดปกติ ร่างกายซูบผอม ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งมักมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น อ่อนเพลีย กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ผิวแห้งคัน ส่วนมากมักพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจากหากเมื่อผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มักเสี่ยงเกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ง่าย อาการของภาวะเลือดเป็นกรดมักรุนแรงและฉับพลัน จำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาเพื่อควบคุมระดับในน้ำตาลให้เหมาะสม ก่อนที่จะปล่อยให้มีระดับน้ำตาลจะสูงอย่างเรื้อรังจนทำให้เกิดเบาหวานแห้ง อาการของ เบาหวาน แห้ง อาการเบาหวานแห้ง จะเกิดขึ้นเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง โดยอาจมีอาการดังต่อไปนี้ สายตาพร่ามัว อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรง กระหายน้ำบ่อย […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน