การปฐมพยาบาล

ความรู้ใน การปฐมพยาบาล ถือเป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ เพื่อจะได้สามารถรับมือกับเหตุฉุกเฉินและอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เรียนรู้วิธี การปฐมพยาบาล สำหรับกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การปฐมพยาบาล

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ ทำแผล ที่ควรรู้

หลายคนอาจคุ้นเคยกับขั้นตอนการ ทำแผล ตั้งแต่การหยุดเลือด ทำความสะอาดบริเวณแผลและโดยรอบ และปิดด้วยผ้าพันแผลเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการทำแผลอยู่มากมาย และนี่คือตัวอย่าง 5 ความเชื่อผิด ๆ นั้น 5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ ทำแผล ความเชื่อที่ 1: ควรทำให้แผลแห้งตลอด ความเชื่อนี้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ๆ แม้ว่าการทำให้แผลแห้งอยู่เสมออาจจะเป็นเรื่องที่ฟังดูแล้วดูสมเหตุสมผล เพราะแผลมักจะแห้งเมื่อเกิดสะเก็ดแผล แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การรักษาความชุ่มชื้นของแผลจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น บาดแผลที่มีความชุ่มชื้นอย่างพอเหมาะมักจะมีโอกาสอักเสบน้อยกว่าและหายได้ไวกว่าแผลที่แห้ง วิธีหนึ่งที่จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แผลคือการทาปิโตเลียมเจล² เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นและยังช่วยเป็นเกราะป้องกันการเกิด แผลติดเชื้อ ซึ่งอาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นน้อยลง นอกจากนี้ คุณก็อาจทาไฮโดรเจล ซึ่งมีส่วนประกอบของวัสดุสังเคราะห์ที่ช่วยคงความชุ่มชื้นให้กับบาดแผลโดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของบาดแผล9 ไฮโดรเจลจะช่วยคงความชุ่มชื้นของแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น สังเกตว่าถ้าหากมีสะเก็ดแผลเกิดขึ้น แสดงว่าแผลใกล้จะหายดีแล้ว ไม่ควรแกะสะเก็ดแผล ดร.คาร์ลา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผิว อย่างไรก็ตาม หากดูเหมือนบาดแผลไม่หายดี หรือมีสัญญาณของ แผลติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอในทันที ความเชื่อที่ 2: ควรใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือแอลกอฮอล์เพื่อ ทำแผล อีกหนึ่งความเชื่อผิด ๆ ที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับการทำแผลคือการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดแผล ในความเป็นจริงแล้ว การใช้สารเคมีเหล่านี้เพื่อฆ่าเชื้อเกินความจำเป็นอาจส่งผลให้แผลหายช้าลงได้ แม้ว่าแอลกอฮอล์³ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์4 จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งผลกระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูของแผล และทำให้แผลหายช้าลงได้ ทางเลือกที่ดีกว่าคือการทำความสะอาดแผลโดยใช้น้ำสะอาดและไอโอดีน5 ทั้งสองอย่างนี้มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดสิ่งสกปรกและฆ่าเชื้อโรค ความเชื่อที่ 3: การทายาสีฟันบนแผลไหม้จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น แม้ว่าหลายคนอาจจะคิดว่าการทายาสีฟันลงบนแผลไหม้ แผลลวก เป็นเรื่องที่ปกติและควรทำ เพราะยาสีฟันมีฤทธิ์ทำให้ผิวเย็นลง […]

สำรวจ การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล

ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น และวิธีการใช้อย่างถูกต้องในการปฐมพยาบาล

โดยปรกติคนทั่วไปมักจะรู้เพียงแค่ว่า ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น นั้น เอาไว้ใช้พันตามข้อต่าง ๆ ของร่างกายที่มีอาการเคล็ดขัดยอก อักเสบหรือแพลง แต่บางครั้งคุณอาจไม่รู้ว่าการพันผ้าของคุณนั้นเป็นวิธีถูกต้องหรือไม่ มากไปกว่านั้นแล้ว ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับการใช้ผ้าพันแผลยืดหยุ่นอีกด้วย ดังนั้นในบทความนี้ ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องผ้าผันแผลแบบยืดหยุ่น และวิธีการใช้อุปกรณ์ชนิดในการปฐมพยาบาลมาฝากกัน [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จักกับ ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น (Compression Wrapping) ผ้าพันแผลยืดหยุ่น เรียกอีกอย่างว่า “ผ้าผันแผลแบบบีบอัด” มักถูกนำมาใช้ในขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างเช่น รอยฟกช้ำ และเคล็ดขัดยอก นอกจากนั้นผ้าพันแผลยืดหยุ่นยังทำหน้าที่ในการบีบอัดอาการบาดเจ็บ หรืออาการอักเสบ ทั้งยังช่วยลดอาการบวม ร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ผ้าพันแผลยืดหยุ่นจะมีระยะเวลาจำกัดในการใช้บีบอัดบาดแผล เนื่องจากอาการบาดเจ็บบางจุดยังต้องการการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นไปยังบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นการรักษา ขนาดของ ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น โดยส่วนใหญ่แล้ว ผ้าพันแผลยืดหยุ่นมักจะมีความกว้าง 2-6 นิ้ว ซึ่งมันจะช่วยทำให้คุณได้รับการบีบอัดที่มากขึ้น โดยไม่ขวางกันการไหลเวียนของเลือด โดยทั่วไปแล้วขนาดผ้าพันแผลยืดหยุ่นสำหรับแขนและขาของผู้ใหญ่ จะใช้ขนาด 3-4 นิ้ว ส่วนแขนและขาสำหรับเด็กจะใช้ผ้าผันแผลที่มีความยืดหยุ่นที่มีความกว้าง 2 นิ้ว ซึ่งแคบกว่าของผู้ใหญ่นั่นเอง วิธีการใช้งานผ้าพันแผลยืดหยุ่นโดยทั่วไป ผ้าพันแผลยืดหยุ่น มักจะถูกนำมาใช้สำหรับการกดบริเวณที่เฉพาะเจาะจง หรือบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้จะช่วยลดอาการบวม โดยป้องกันไม่ให้ของเหลวมารวมตัวกันตรงบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ […]


การปฐมพยาบาล

ของร้อนลวกปากและลิ้น รับมือได้ทันทีด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณเองก็ทำได้

ปัญหาการถูก ของร้อนลวก ที่บริเวณปากและลิ้นนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเวลาที่รับประทานอาหาร ซึ่งการถูกของร้อนลวกภายในช่องปากก็จะสร้างความเสียหายที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจถูกลวกรุนแรงมากจนต้องไปพบคุณหมอในทันที แต่บางคนอาจสามารถทำการปฐมพยาบาลด้วยตัวเองก่อนได้ ดังนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านไปดูว่าเราจะสามารถใช้วิธีใดในการปฐมพยาบาลอาการของร้อนลวกปากและลิ้น ได้บ้าง [embed-health-tool-bmi] ของร้อนลวกปากและลิ้น เกิดขึ้นจากอะไร อาการของร้อนลวกปากและลิ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัย แต่สาเหตุที่มักจะพบได้บ่อยๆ ของแผลที่ถูก ของร้อนลวก ในช่องปาก นั้นส่วนใหญ่มาจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิสูงหรือกำลังร้อนอยู่ เช่น อาหารที่ผ่านความร้อนและเพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ เช่น อาหารทอด พิซซ่า ซุป เป็นต้น รวมถึงเครื่องดื่มที่ต้องใช้น้ำร้อนเป็นส่วนผสม เช่น ชา กาแฟ เป็นต้น นอกจากความเสี่ยงของการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนภายในช่องปากแล้ว โรคภัยไข้เจ็บก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่มีส่วนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ปากและลิ้นได้ นั่นคือ กลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปาก (Burning mouth syndrome) ซึ่งเป็นอาการที่ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนภายในบริเวณช่องปาก ซึ่งไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากการติดเชื้อ แพ้สารเคมี หรือมีปัญหาภาวะการขาดแคลนวิตามินบี 12 หรือขาดสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ รวมถึงปัจจัยทางด้านฮอร์โมนด้วย ทำอย่างไรเมื่อถูก ของร้อนลวกปากและลิ้น อาการที่ถูก ของร้อนลวก บริเวณปากและลิ้นนั้น สามารถที่จะทำการปฐมพยาบาลด้วยตนเอง โดยใช้ของที่มีอยู่ในบ้านซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้ ใช้น้ำเย็น American Academy […]


การปฐมพยาบาล

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อถูก หอยเม่น ตำเท้า

หลายๆ คนคงจะทราบกันดีว่า ท้องทะเลนั้นมักเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดทั้งสัตว์มีพิษ และแบบไม่มีพิษที่อาศัยอยู่ ซึ่งอุบัติเหตุจากสัตว์มีพิษที่คนส่วนใหญ่เสี่ยงประสบพบเจอกันเป็นประจำเมื่อต้องไปดำน้ำ หรือท่องเที่ยวใต้ทะเลนั่นก็คือการถูก หอยเม่น ตำเท้า ดังนั้นจึงควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลงเบื้องต้น เพื่อป้องกันพิษในหนามแหลมของเม่นทะเล ทำความรู้จักกับ หอยเม่น เม่นทะเล (Sea Urchin) หรือ หอยเม่น เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ในทะเล หรือมหาสมุทรทั่วโลก ในบางครั้งก็อาจอาศัยอยู่ตามชายฝั่ง โขดหินในน้ำตื้นร่วมด้วย โดยเม่นทะเลมีลักษณะเด่น ที่คุณสามารถสังเกตได้อย่าง่ายดาย นั่นก็คือ หนามแหลมยาวสีดำรอบตัวของพวกมันที่เรียกว่า เพดิเซลลาเรีย (Pedicellariae) ที่คอยเอาไว้ป้องกันจากภัยรอบตัว และเอาไว้ทิ่มแทงเหยื่อ หรืออาหารของพวกมันเมื่อว่ายผ่าน พิษในหนามของเม่นทะเลแต่ละตัวมักแตกต่างกัน บางตัวอาจมีฤทธิ์แค่น้อยนิด แต่ในขณะเดียวกันบางตัวกับมีพิษที่ออกฤทธิ์อย่างรุนแรง หากผู้ใดที่มีโรคภูมิแพ้ หรือสุขภาพร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว เมื่อโดนหนามแหลมของพวกมันตำไปแล้วนั้น ก็อาจทำให้ส่งผลต่อสุขภาพตั้งแต่ระดับต่ำ จนไปถึงขั้นเสียชีวิตได้อีกด้วย หอยเม่นตำเท้า อาการเป็นอย่างไร พวกมันไม่ได้นำหนามแหลมทิ่มคุณเพียงอย่างเดียว แต่พวกมันจะสลัดเข็มนั้นทิ้ง ให้ฝังเข้าไปในชั้นผิวหนังของคุณอีกด้วย เนื่องจากเม่นทะเลมีหนามค่อนข้างเปราะบาง และแตกหักง่ายจึงทำให้เข็มของพวกมันมักคาอยู่บริเวณที่เราถูกทิ่ม หรือถูกตำแทน ซึ่งอาจเป็นที่มาของอาการความเจ็บปวดเหล่านี้ขึ้น รู้สึกบวมบริเวณที่โดนหนามทิ่ม ผิวหนังมีความแดงงขึ้นเรื่อย ๆ รอบ ๆ บริเวณที่โดนหนามตำ รู้สึกร่างกายอ่อนเพลียง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อโดนหอยเม่นตำเท้า เช็กเข็มของเม่นทะเล ว่าตำผิวหนังคุณลึกหรือไม่ หากมีตอโผล่ขึ้น และไม่ลึกจนเกินไป […]


การปฐมพยาบาล

วิธีช่วยเด็กสำลักอาหาร อาหารติดคอ ช่วยอย่างไรให้ปลอดภัย

ปัญหาสำลักอาหาร อาหารติดคอ หรือมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในทางเดินหายใจ จนทำให้หายใจไม่ออกนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น เห็นอะไรก็คว้าเข้าปาก ซึ่ง อาการสำลักอาหาร เป็นอาการที่ถือว่าอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วิธีช่วยเด็กสำลักอาหาร อย่างไรให้ปลอดภัย สิ่งที่ทำให้เด็กเกิดอาการสำลักอาหาร อาการสำลักอาหาร ในเด็กนั้นมักจะเกิดขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยที่ชอบคว้าสิ่งของรอบ ๆ กายเข้าหู จมูก และปาก ที่สำคัญเด็กในวัยนี้ยังบดเคี้ยวอาหารได้ไม่เต็มที่เพราะฟันยังขึ้นไม่ครบสมบูรณ์ อาจทำให้มีอาหารชิ้นใหญ่ที่บดเคี้ยวไม่ละเอียดหลุดลงไปได้ ซึ่งส่วนใหญ่สิ่งที่ทำให้เด็กสำลักก็คือ อาหาร อาหารบางอย่างเป็นสิ่งที่ไม่มีความเหมาะสมกับวัยพวกเขา อย่าง องุ่น ผลไม้และผักสด ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ มาร์ชแมลโล หมากฝรั่ง นอกจากอาหารแล้วยังมีวัตถุอันตรายอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เขาสำลักได้อีกเช่นกัน อย่าง หิน เหรียญ ฝาปากกา ลูกเต๋า หรือของใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก วิธีช่วยเด็กสำลักอาหาร ในวัยต่าง ๆ วิธีช่วยเด็กสำลักอาหาร ที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ เมื่อทารกที่มี อาการสำลักอาหาร จนไม่สามารถหายใจได้ให้โทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินทันที […]


การปฐมพยาบาล

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อถูก ประตูหนีบนิ้ว

การถูก ประตูหนีบนิ้ว เป็นหนึ่งในอุบัติเหตุที่สร้างความเจ็บปวดให้อย่างมากต่อนิ้วอันแสนบอบบางของเรา แต่หลาย ๆ คนกลับเลือกที่จะไม่ปฐมพยาบาล หรือปฐมพยาบาลอย่างไม่ถูกวิธี และปล่อยแผลที่ถูกประตูหนีบทิ้งไว้ จนนิ้วเกิดการบวม อักเสบ และอาจนำไปสู่ปัญหาการติดเชื้อได้ในภายหลัง วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำวิธี การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูก ประตูหนีบนิ้ว ให้ทุกคนได้ทราบ และสามารถจัดการกับแผลที่ถูกประตูหนีบได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-bmr] การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูก ประตูหนีบนิ้ว ตรวจดูบาดแผล ตรวจดูว่านิ้วที่โดนประตูหนีบนั้นมีบาดแผล หรือมีเลือดออกหรือไม่ หรือมีอาการเล็บฉีกหรือเปล่า หากมี ควรทำความสะอาดบาดแผลนั้นด้วยสบู่และน้ำสะอาด ซับให้แห้ง และทำแผลหรือปิดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในแผล ประคบเย็น ใช้น้ำแข็ง หรือแผ่นทำความเย็น ห่อด้วยผ้าขนหนูสะอาด แล้วมาประคบในบริเวณนิ้วที่โดนประตูหนีบ การประคบเย็นในทันที สามารถช่วยลดอาการปวดและอาการบวมลงได้ ประคบเย็นเป็นเวลาประมาณ 10 นาที และประคบทุก ๆ 20 นาที ตลอดวัน ระวังอย่าให้น้ำแข็งสัมผัสกับผิวโดยตรงเป็นเวลานาน เพราะอาจเสี่ยงโดนน้ำแข็งกัดได้ และอย่าประคบแรงเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้เกิดอาการช้ำและปวดรุนแรงขึ้น ยกนิ้วขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ การยกนิ้วขึ้นให้สูงกว่าระดับของหัวใจ จะทำให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณที่บาดเจ็บได้ช้าลง และช่วยลดแรงดัน อาการบวม และอาการอักเสบได้ พัก อย่าเพิ่งใช้นิ้วที่โดนประตูหนีบในทันที แต่ควรหยุดพัก ให้นิ้วมีอาการดีขึ้น เพราะการรีบใช้นิ้วที่ได้รับบาดเจ็บเร็วเกินไป […]


การปฐมพยาบาล

วิธีการทำ ซีพีอาร์ (CPR) ที่ถูกต้อง สำหรับการกู้ชีพในสถานการณ์คับขัน

บ่อยครั้งเมื่อประสบเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เช่น มีคนหัวใจวาย หรือประสบอุบัติเหตุ และหัวใจเต้นผิดปกติ หรืออาจจะหยุดเต้น อาจจำเป็นต้องทำการปฐมพยาบาลเพื่อกู้ชีพ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือการทำ ซีพีอาร์ (CPR) เป็นวิธีการที่สำคัญที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้มีโอกาสรอดชีวิตมากยิ่งขึ้น วิธีการทำซีพีอาร์นั้นสามารถทำได้อย่างไร Hello คุณหมอ ขอพาคุณมาหาคำตอบจากบทความนี้ การทำ ซีพีอาร์ (CPR) คืออะไร คำว่า CPR ย่อมาจากคำว่า Cardiopulmonary resuscitation หมายถึงการทำให้ปอดและหัวใจฟื้นคืนชีพขึ้นมา การทำซีพีอาร์ นั้นเป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยคืนชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยผสมผสานระหว่าง การผายปอด เพื่อช่วยเพิ่มอากาศเข้าไปในปอด และการกดหน้าอกบนตำแหน่งหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจปั๊มเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนส่งต่อออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ การทำ CPR นี้มักจะใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ประสบเหตุที่หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เช่น คนจมน้ำ คนหัวใจวาย หรือคนถูกไฟดูด วิธีการนี้จะใช้ได้ผลดีที่สุด หากผู้ปฏิบัติทำ CPR เพื่อช่วยชีวิตนั้นเป็นผู้ที่เคยผ่านการฝึกฝนมาแล้ว เพราะวิธีการทำ CPR นี้ หากกระทำโดยไม่มีความรู้ หรือไม่ผ่านการฝึกฝนมาก่อน อาจส่งผลให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้ เช่น กระดูกซี่โครงหัก และทิ่มในปอดหรือม้าม หรือกดแรงเกินไปจนทำให้หัวใจช้ำ […]


การปฐมพยาบาล

ดูแลแผลไฟไหม้ อย่างไรถึงจะปลอดภัยที่สุด

หากคุณมีแผลไฟไหม้แล้วไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษา แพทย์จะต้องทำการประเมินความรุนแรงของแผลไฟไหม้ว่าอยู่ในระดับไหนด้วยการตรวจผิวหนัง แต่ในการ ดูแลแผลไฟไหม้ ที่เกิดขึ้น คุณเองก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง บทความนี้ ทาง Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกัน วิธีการ ปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ เมื่อเกิดแผลไฟไหม้ สิ่งที่ควรรีบทำที่สุดก็คือการปฐมพยาบาล ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่รู้วิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธี ดังนั้น ลองมาดูวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องกันก่อนดีกว่า หยุดกระบวนการเผาไหม้โดยเร็วที่สุด วิธีนี้รวมไปถึงการนำบุคคลที่บาดเจ็บออกจากสถานที่เกิดเหตุ การดับไฟด้วยน้ำเปล่า การใช้ผ้าห่มปกคลุมเปลวไฟ แต่วิธีการเหล่านี้ต้องได้รับการอบรมเบื้องต้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการถูกไฟไหม้ได้เช่นกัน ถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ พยายามถอดเสื้อผ้า เครื่องประดับ รวมถึงผ้าอ้อม ออกจากบริเวณที่โดนผิวหนัง แต่อย่าพยายามเอาสิ่งเหล่านี้ออกถ้ามันติดอยู่บนผิวหนังที่ถูกไฟไหม้ เพราะมันอาจจะทำให้บาดแผลเกิดความเสียหายมากขึ้น ทำให้บริเวณที่โดนไฟไหม้เย็นลง สามารถทำได้ด้วยการใช้น้ำเย็น หรือน้ำอุ่นล้างแผลประมาณ 20 นาที โดยจะต้องทำโดยเร็วที่สุดหลังจากได้รับบาดเจ็บ ที่สำคัญ ห้ามใช้น้ำแข็ง หรือครีมในการทำให้แผลเย็นลง ให้ความอบอุ่น พยายามทำให้ตัวเอง หรือผู้ที่ประสบเหตุไฟไหม้อบอุ่น ด้วยการใช้ผ้าห่มหรือเสื้อผ้าที่หนาๆ มาคลุมไว้ แต่พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่บาดเจ็บ การรักษาความอบอุ่นจะช่วยป้องกันภาวะอุณหภูมิในร่างกายลดลง ซึ่งเมื่อประสบเหตุไฟไหม้ อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ทานยา การทานยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนก็เพื่อรักษาอาการปวดที่เกิดจากแผลไฟไหม้นั่นเอง แต่ทั้งนี้ควรใช้โดยได้รับคำแนะนำจากเภสัชหรือผู้ที่เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุด และเด็กที่ต่ำกว่าอายุ 16 ไม่ควรได้รับยาแอสไพริน นั่งตัวตรงให้มากที่สุด พยายามนั่งให้ตัวตรงมากที่สุด หากใบหน้าหรือดวงตาของคุณถูกไฟไหม้ เพื่อช่วยลดอาการบวมที่อาจเกิดขึ้น หลีกเลี่ยงการนอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ วิธีการ ดูแลแผลไฟไหม้ อย่างปลอดภัย การ ดูแลแผลไฟไหม้ มีด้วยกันหลายวิธี ทั้งการดูแลด้วยตัวเองที่บ้าน ไปจึงถึงขั้นการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ […]


การปฐมพยาบาล

ปากพอง ลิ้นพอง เพราะโดนของร้อนลวกปาก บรรเทาอาการได้ยังไงบ้าง

ใครที่ชอบจิบเครื่องดื่มร้อนๆ ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ ช็อกโกแลต โกโก้ หรือสายปิ้งย่าง สายชาบูทั้งหลาย ก็คงจะเข้าใจดีว่า เวลาโดนของกินร้อน ๆ ลวกปากลวกลิ้นนั้น มันเจ็บจี๊ดและทรมานแค่ไหน แถมบางครั้งความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นก็อาจทำเรากินอะไรลำบากไปอีกหลายวัน ยิ่งถ้าดูแลรักษาแผลไม่ดี ก็อาจเสี่ยงติดเชื้อได้อีกด้วย แต่คนชอบกินของร้อนทั้งหลายก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะ Hello คุณหมอ มีวิธีบรรเทาการ ปากพอง ลิ้นพอง เมื่อโดนของร้อนลวกปากมาให้แล้ว วิธีบรรเทาอาการ ปากพอง ลิ้นพอง เพราะของร้อน หากอาการปากพอง ลิ้นพองที่เกิดขึ้นนั้นไม่รุนแรงมาก ส่วนใหญ่ก็มักจะหายได้ภายใน 2-3 วัน และคุณก็สามารถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้ รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น หลังโดนของร้อนลวกปาก ลวกลิ้น ให้คุณรีบกินอะไรเย็นๆ ตามเข้าไปทันที จะเป็นน้ำแข็งก้อนหรือไอศกรีมก็ได้ เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อนเพราะโดนลวก พออาการแสบร้อนเริ่มดีขึ้นแล้ว คุณสามารถกินยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อบรรเทาปวดได้ จากนั้นให้ดื่มนมสักแก้ว เพื่อเคลือบปากและลิ้นบริเวณที่พองเอาไว้ ช่วยให้เจ็บน้อยลง เมื่อผ่านขั้นตอนของการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไปแล้ว คุณก็สามารถดูแลแผลจากการโดนลวกได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้ บ้วนน้ำเกลือ การบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ (ผสมเกลือป่น ½ ช้อนโต๊ะ กับน้ำอุ่น 8 ออนซ์ หรือประมาณ […]


การปฐมพยาบาล

เมื่อถูกยิง ควรทำอย่างไร วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อถูกยิง ที่ควรรู้

จากข่าวกราดยิงในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้เราหลายคนรู้สึกสะเทือนใจ หวาดกลัว และตระหนักว่าภัยอันตรายจากอาวุธปืนนั้น เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น บาดแผลจากการถูกยิงนั้นเป็นอันตราย และทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้สูง แต่หากเราเรียนรู้ วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกยิง อาจทำให้เราสามารถช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ประสบเหตุให้มากขึ้น บาดแผลจากกระสุนปืน มีลักษณะอย่างไร ก่อนที่เราจะทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกยิงได้นั้น ก่อนอื่นเราควรทำการประเมินสถานการณ์โดยรอบ สภาพบาดแผล และบริเวณที่ถูกยิงเสียก่อน ลักษณะของบาดแผลจากกระสุนปืนนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับถูกของแข็ง ไม่มีคมแทงเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากลักษณะของหัวกระสุนส่วนใหญ่จะมีลักษณะกลมมน ไม่มีคม กระสุนนั้นจะทะลุทะลวงเข้าสู่ร่างกายด้วยความแรงที่ดินปืนผลักดันหัวกระสุนออกมา ดังนั้นบาดแผลจากกระสุนปืนส่วนใหญ่จึงมักจะมีรอยถลอกอยู่รอบๆ รอบแผล และอาจจะมีรอยไหม้จากดินปืนด้วย หากถูกยิงในระยะใกล้ บาดแผลจากกระสุนปืน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ บาดแผลทางเข้ากระสุนปืน บาดแผลทางเข้ากระสุนปืน หมายถึงบาดแผลในส่วนทางด้านที่กระสุนปืน ทะลุทะลวงเข้าสู่ร่างกาย เมื่อกระสุนดันเข้าสู่ร่างกาย หัวกระสุนจะเจาะผิวหนัง ทำให้ผิวเป็นรู และอาจมีลักษณะดังต่อไปนี้ รูแผลจะมีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดความใหญ่ของแผลจะขึ้นอยู่กับขนาดของกระสุน รอบๆ รอยแผลจะมีรอยถลอก อาจพบคราบเขม่าดำของดินปืน หรือรอยไหม้รอบปากแผล หากยิงในระยะใกล้ หากลูกกระสุนกระทบกับสิ่งอื่นๆ จนทำให้หัวกระสุนแตก ก่อนเข้าสู่ร่างกาย อาจจะมีรอยบาดในบริเวณรูกระสุน บาดแผลทางออกกระสุนปืน ทางออกกระสุน หมายถึงจุดที่ลูกกระสุน ทะลุออกจากร่างกายไป อาจมีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นรูกลม หากกระสุนปืนนั้นทะลุผ่านร่างกายไปโดยไม่กระทบกับกระดูก หรือของแข็งภายในร่างกาย บาดแผลทางออกนี้จะไม่มีรอยถลอกรอบบาดแผล ต่างจากบาดแผลทางเข้า หากกระสุนปืนกระทบกับกระดูกก่อนทะลุออกจากร่างกาย บาดแผลทางออกกระสุนปืนอาจมีรอยคล้ายของมีคม บาดแผลทางออกกระสุนอาจมีมากกว่า 1 รู หากกระสุนปืนกระทบกับกระดูก แล้วแตกออกเป็นหลายชิ้น ทะลุออกจากร่างกาย หากไม่พบบาดแผลทางออก อาจหมายความว่ากระสุนปืนนั้นค้างอยู่ในร่างกาย วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกยิง ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบให้มั่นใจว่าปลอดภัย ก่อนอื่นคุณต้องมั่นใจก่อนว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่ปลอดภัย ไม่มีการยิงกันอีก […]


การปฐมพยาบาล

แม่บ้านต้องรู้ วิธีปฐมพยาบาลเมื่อเกิด แผลไหม้จากเตารีด

แม่บ้านยุคใหม่อย่างเรานอกจากเก่งเรื่องงานนอกบ้านแล้ว งานในบ้านก็ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ทั้งกวาดบ้าน ซักผ้า ล้างจาน รีดผ้า และหนึ่งในแผลที่เกิดขึ้นกับแม่บ้านอย่างเราบ่อยๆก็คือ แผลไหม้จากเตารีด รู้สึกเจ็บไม่พอยังต้องกังวลกับรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นอีก วันนี้ Hello คุณหมอ นำวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดแผลไหม้จากเตารีดและวิธีการดูแลแผลมาฝากกันค่ะ ทำอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อมกันเลย [embed-health-tool-bmr] แม่บ้านยุคใหม่ เก่งทั้งงานนอกบ้าน และงานในบ้าน วิถีชีวิตของผู้หญิงยุคใหม่อย่างเรานั้นแตกต่างจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง โดยสมัยก่อนผู้หญิงมีหน้าที่เพียงดูแลงานบ้านงานเรือน ดูแลครอบครัว ดูแลพ่อแม่ ปรนนิบัติสามีและลูก เท่านั้น ในขณะที่ผู้หญิงยุคใหม่นอกจากต้องทำงานนอกบ้านแล้วเรื่องภายในบ้านก็ต้องดูแลไม่ให้ขาดตกบกพร่องเช่นกัน และอุบัติเหตุในการทำงานบ้านนั้นย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอนโดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการรีดผ้า เชื่อว่าเกือบทุกบ้านต้องเจอกับปัญหานี้ แต่จะมีวิธีการทำอย่างไรนั้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุ เราไปดูวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันเลย วิธีการปฐมพยาบาล เมื่อเกิด แผลไหม้จากเตารีด ราดน้ำหรือแช่มือหรือแขนในน้ำสะอาดหรือน้ำเย็นเป็นเวลา 10 นาที  (ห้ามใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัด) ซับแผลให้แห้ง แล้วทาด้วยยาทาสำหรับแผลไฟไหม้ หากรู้สึกปวดบริเวณที่โดนให้รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ ถ้าแผลพองแตกให้เรารีบล้างด้วยน้ำสะอาด ปิดด้วยผ้าปิดแผล (ควรทำความสะอาดแผลทุกวันวันละ 1 ครั้ง จนกว่าจะหาย) วิธีดูแลแผลไหม้ อย่าปล่อยให้มีแผลเป็น กรณีแผลเล็ก ปกติแล้วแผลโดนเตารีดจะเป็นรอยเล็กน้อย สามารถใช้ยารักษารอยแผลเป็นหลังจากที่แผลหายสนิททิ้งไว้แต่รอยแผลเป็นได้ แผลเป็นก็จะค่อยๆ จางลงไป กรณีแผลใหญ่ ในกรณีที่แผลใหญ่ ผิวหนังที่งอกใหม่อาจเกิดเป็นแผลเป็นนูนหนา ซึ่งเราสามารถป้องกันการเกิดแผลเป็นโดยใช้ถุงผ้ายืดหรือผ้ายืดชนิดม้วนพันแผลไว้ตลอดเวลาแม้ในช่วงนอนหลับ และจะถอดออกก็ต่อเมื่ออาบน้ำเท่านั้น คำแนะนำ เมื่อได้รับบาดเจ็บห้ามใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดประคบ เพราะอาจทำให้บาดแผลลึกมากขึ้นได้ เมื่อแผลหายดีแล้วต้องระวังไม่ให้ถูกแสงแดด 3-6 เดือน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม