เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กทารก

โภชนาการสำหรับทารก

เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน ควรเป็นอย่างไร

ลูกวัย 9-10 เดือน เป็นวัยที่สามารถรับประทานอาหารแข็งและเริ่มเรียนรู้การใช้มือในการรับประทานอาหารด้วยตัวเอง ดังนั้น เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน จึงควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนทั้งเนื้อสัตว์ คาร์โบไฮเดรต ผักและผลไม้ นอกจากนี้ ควรผ่านการปรุงสุก สับเป็นชิ้นพอหยาบ และไม่ผ่านการปรุงรส เพื่อให้รับประทานง่ายและไม่ส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร [embed-health-tool-bmi] โภชนาการลูกรักวัย 9 -10 เดือน ที่เหมาะสม ลูกรักวัย 9 -10 เดือน สามารถรับประทานอาหารแข็งได้ ½ ถ้วย ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน พร้อมกับอาหารว่างด้วย โดยอาจแบ่งได้ ดังนี้ อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน 1/4-1/2 ถ้วย ผลิตภัณฑ์ธัญพืช 1/4-1/2 ถ้วย ผัก 1/2-3/4 ถ้วย ผลไม้ 1/2-3/4 ถ้วย และควรรับประทานนมแม่หรือนมผงหลังอาหาร 7-8 ออนซ์ ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ โดยก่อนป้อนอาหารแข็งให้ลูกควรสับอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ […]


โภชนาการสำหรับทารก

เมนูอาหารเด็ก6เดือน ที่ควรกินมีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

เด็ก 6 เดือน เป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ทักษะการกินอาหารแข็งทั้งการสัมผัส การเคี้ยว และการกลืน เมนูอาหารเด็ก6เดือน จึงควรเป็นอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม บดละเอียด และรสชาติอ่อน ๆ พร้อมทั้งควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับรสชาติอาหารแบบใหม่ และได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น [embed-health-tool-bmi] โภชนาการเด็ก 6 เดือน ควรเป็นอย่างไร เด็ก 6 เดือนเป็นวัยที่สามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้ว แต่ยังคงต้องกินนมแม่หรือนมผงเป็นอาหารหลักอยู่ โดยปริมาณนมและอาหารแข็งที่เด็ก 6 เดือนควรได้รับอาจมีดังนี้ นมแม่หรือนมผง 4-6 ออนซ์ ประมาณ 4-6 ครั้ง/วัน การเริ่มต้นให้อาหารแข็งเป็นอาหารเสริม ควรบดอาหารเพียงชนิดเดียวในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 1-2 ช้อนชา 4 ครั้ง/วัน และอาจค่อย ๆ เพิ่มอาหารแข็งเป็น 1-2 ช้อนโต๊ะ โดยผสมกับนมแม่หรือนมผงเพื่อไม่ให้อาหารข้นเกินไปและกินง่ายมากขึ้น เมื่อเด็กเริ่มชินกับอาหารแข็งสามารถเพิ่มปริมาณอาหารแข็งเป็น ½ ถ้วย ประมาณ 2-3 ครั้ง/วัน ดังนี้ นมแม่หรือนมผง 6-8 ออนซ์ ประมาณ 3-5 ครั้ง/วัน โปรตีน 1-2 […]


โภชนาการสำหรับทารก

อาหารเด็ก6เดือน ที่เหมาะสมตามวัย มีอะไรบ้าง

โดยทั่วไป เด็กสามารถเริ่มกินอาหารแข็งหรืออาหารเสริมอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่หรือนมผงได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือก อาหารเด็ก6เดือน ที่เหมาะกับช่วงวัยและสุขภาพของเด็ก เช่น ผักและผลไม้ที่บดหรือปั่นละเอียด อาหารที่มีธาตุเหล็ก อาหารประเภทแป้ง อาหารที่มีโปรตีน ซึ่งนอกจากจะให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สมอง และระบบประสาทของเด็กแล้ว ยังช่วยฝึกพัฒนาการในการเคี้ยวและการกลืนอาหาร รวมถึงช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อสัมผัสของอาหารด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กเริ่มกินอาหารแข็ง (Solid foods) ได้เมื่อไหร่ อาหารแข็ง คือ อาหารเสริมโภชนาการสำหรับทารกที่นอกเหนือไปจากน้ำนมแม่หรือนมผง โดยทั่วไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กเริ่มกินอาหารแข็งควบคู่ไปกับการให้กินนมแม่ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น แร่ธาตุ วิตามิน ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงตามวัย ทั้งนี้ ควรเริ่มให้เด็กกินอาหารเนื้อนิ่ม รสชาติอ่อน เคี้ยวและกลืนได้ง่าย เพื่อป้องกันการสำลักอาหารหรืออาหารติดคอ โดยอาจให้เด็ก 6 เดือนกินอาหารแข็งวันละ 2 ครั้ง เพียงครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ/มื้อ เนื่องจากกระเพาะอาหารของเด็กวัยนี้ยังเล็ก จึงอาจยังรับอาหารได้น้อย และหากอิ่มเกินไปก็อาจทำให้กินนมแม่ได้น้อยลง คุณพ่อคุณแม่สามารถป้อนอาหารเด็ก6เดือนด้วยช้อน หรือให้เด็กฝึกหยิบจับอาหารด้วยตัวเองก็ได้ ในระยะแรกเด็กอาจเลือกกินเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับรูปร่าง เนื้อสัมผัส และรสชาติอาหาร คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้เด็กกินอาหารที่เด็กไม่อยากกินเพราะอาจทำให้กินยากกว่าเดิม ควรให้เด็กกลับไปกินนมแม่หรือนมขวดตามปกติ […]


เด็กทารก

ลักษณะอุจจาระทารกปกติ เป็นอย่างไร และทารกถ่ายบ่อยแค่ไหน

ลักษณะอุจจาระทารกปกติ จะเป็นก้อนนิ่ม เนื้ออาจเหลวเล็กน้อย และอาจมีหลายสี เช่น สีเทา สีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล แตกต่างไปตามอายุและอาหารที่ทารกรับเข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งทารกแต่ละคนยังมีความถี่ในการขับถ่ายไม่เหมือนกันด้วย ทารกบางคนอาจถ่ายอุจจาระทุกครั้งหลังกินนม หรือบางคนอาจถ่ายอุจจาระเพียงสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในทารกที่กินเพียงนมแม่หรือนมผงและไม่จำเป็นต้องขับถ่ายของเสียมากนัก ปัญหาการขับถ่ายของทารกส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่ทารกเริ่มกินอาหารแข็ง หากทารกถ่ายน้อยลง ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น อุจจาระมีเลือดปน ร้องไห้งอแง มีอาการขาดน้ำ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาการขับถ่ายที่ควรพาไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-baby-poop-tool] ลักษณะอุจจาระทารกปกติ เป็นอย่างไร ลักษณะอุจจาระทารกปกติ อาจมีหลายสี เช่น สีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล และมีเนื้อสัมผัสที่ต่างกันไปตามอายุและอาหารที่รับเข้าสู่ร่างกาย ในช่วงประมาณ 2-3 วันแรกหลังคลอด ทารกจะถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีเทา เนื้อเหนียว หรือที่เรียกว่าขี้เทา (Meconium) ซึ่งเป็นของเสียที่สะสมอยู่ในระบบย่อยอาหารของทารกตลอดการตั้งครรภ์ หลังจากนั้น อุจจาระของทารกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมัสตาร์ด อาจมีเนื้อนิ่มและเหลวเล็กน้อย ซึ่งเป็น ลักษณะอุจจาระทารกปกติ เมื่อทารกกินนมแม่ แต่หากทารกกินนมผงอาจมีอุจจาระสีเหลืองเข้มขึ้น และเมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มให้ทารกกินอาหารแข็ง (Solid food) อุจจาระของทารกอาจเป็นสีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีส้ม ตามอาหารที่ทารกรับเข้าสู่ร่างกาย และเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ […]


เด็กทารก

น้ำหนักทารก และส่วนสูง ตามช่วงอายุ

ทารกแต่ละคนอาจมีการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการที่แตกต่างกัน การทราบถึง น้ำหนักทารก และส่วนสูง จึงอาจมีส่วนช่วยในการประเมินสุขภาพร่างกายและพัฒนาการของทารกที่เหมาะสมตามวัยเบื้องต้นได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและใส่ใจน้ำหนักและส่วนสูงของทารกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำหนักทารก มีความสำคัญอย่างไร น้ำหนักทารก มีความสำคัญต่อการประเมินการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงให้เหมาะสมตามวัย รวมทั้งสุขภาพร่างกายและพัฒนาการของทารกในอนาคต โดยการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักทารกอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ดังนี้ การตั้งครรภ์ โดยปกติทารกที่คลอดตามกำหนดจะมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้น้ำหนักทารกและส่วนสูงมีความเหมาะสมตามวัย พันธุกรรม อาจมีผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูง โดยเฉพาะความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ร่างกาย ดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการนูแนน (Noonan Syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนในร่างกายที่ส่งผลต่อน้ำหนักทารก เพศ ทารกผู้หญิงและทารกผู้ชายมักมีการเจริญเติบโตของร่างกาย น้ำหนักและส่วนสูงไม่เท่ากัน อาหาร ทารกที่กินนมแม่อาจได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเหมาะสมมากกว่ากินนมผง ฮอร์โมน ความสมดุลของฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกายทารก ซึ่งส่งผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูงได้ การนอนหลับ ส่งผลดีต่อการเจริญโตทางร่างกายและพัฒนาการของทารก ซึ่งอาจส่งผลต่อน้ำหนักทารกและส่วนสูงได้ น้ำหนักทารก และส่วนสูง ของทารกแรกเกิดถึงอายุ 11 เดือน ทารกแรกเกิด ทารกผู้หญิงควรมีน้ำหนักประมาณ 3.2 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 49.2 เซนติมเมตร ส่วนทารกผู้ชายควรมีน้ำหนักประมาณ 3.4 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 49.9 เซนติเมตร ทารกอายุ […]


เด็กทารก

ตัวเหลืองเกิดจากอะไร และวิธีรักษาอย่างเหมาะสม

ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะมักพบในทารกแรกเกิด และเมื่อลูกเกิดมาตัวเหลือง คุณพ่อคุณแม่ก็อาจสงสัยว่า ตัวเหลืองเกิดจากอะไร สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะตัวเหลือง คือ ร่างกายของทารกมีบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารสีเหลืองในกระแสเลือดมากเกินไป ส่งผลให้ผิวหนังของทารกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มักเกิดขึ้นหลังคลอด 2-3 วัน และอาจหายไปเองภายใน 10-14 วันหลังคลอด การรักษาเบื้องต้นทำได้ด้วยการให้ทารกดูดนมแม่บ่อยขึ้นเพื่อให้ถ่ายบิลิรูบินส่วนเกินออกไปทางอุจจาระ แต่หากมีระดับบิลิรูบินสูงมาก อาจต้องรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การส่องไฟ การถ่ายเลือด การให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำ [embed-health-tool-vaccination-tool] ตัวเหลืองเกิดจากอะไร ภาวะตัวเหลือง หรือ ดีซ่าน (Jaundice) มีสาเหตุมาจากทารกมีระดับบิลิรูบินในกระแสเลือดมากเกินไป สารชนิดนี้เป็นสารสีเหลืองที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ร่างกายจะขับออกทางอุจจาระ แต่เมื่อใดที่ตับไม่สามารถขับบิลิรูบินออกได้ทัน จะทำให้มีบิลิรูบินสะสมอยู่ในเลือด ส่งผลให้ผิวหนังและลูกตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยเริ่มจากบริเวณใบหน้า ก่อนจะกระจายไปทั่วร่างกาย จนเป็นภาวะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารก โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือคลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์ มักเกิดจากตับของทารกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์นัก ประสิทธิภาพในการกำจัดบิลิรูบินในกระแสเลือดจึงยังไม่มากพอ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น พันธุกรรม คุณแม่มีเลือดกรุ๊ปโอหรืออาร์เอชลบ สารบางชนิดในน้ำนมแม่ (Breast milk jaundice) การบาดเจ็บขณะคลอด การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกที่ทำให้เซลล์สลายตัวอย่างรวดเร็ว อาการตัวเหลืองเป็นอย่างไร ภาวะตัวเหลือง อาจทำให้ทารกมีอาการดังต่อไปนี้ […]


โภชนาการสำหรับทารก

ผลไม้เด็ก 6 เดือน มีประโยชน์อย่างไร และมีอะไรบ้างที่กินได้

เด็ก 6 เดือน สามารถเริ่มกินอาหารแข็งเป็นอาหารเสริมได้แล้ว ดังนั้น เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน และสัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่ จึงควรเลือกอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ผลไม้เด็ก 6 เดือน ก็ควรเป็นผลไม้ที่สุก เนื้อนิ่ม รสชาติไม่เปรี้ยว ควรผ่านการปั่นหรือบดจนละเอียดและไม่ปรุงรส เพื่อให้เด็ก 6 เดือนสามารถกินได้ง่าย และค่อย ๆ คุ้นเคยกับรสชาติของอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์กับเด็กอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] อาหารเด็ก 6 เดือน เป็นอย่างไร เด็ก 6 เดือน เป็นช่วงเวลาที่เด็กสามารถเริ่มกินอาหารแข็งได้แล้ว แต่อาจให้กินเป็นเพียงอาหารเสริมในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 1 ครั้ง/วัน เพื่อให้เด็กเริ่มปรับตัวในการเคี้ยว กลืน สัมผัสกับอาหารรูปแบบใหม่มากขึ้น และเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากอาหารแข็งเพิ่มเติมด้วย ดังนั้น อาหารแข็งสำหรับเด็ก 6 เดือน จึงควรเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงสุก บดละเอียด เนื้อเนียนนุ่ม กลืนง่ายและไม่ปรุงรส นอกจากนี้ ควรเริ่มให้อาหารแข็งเพียงชนิดเดียวใน 1 มื้อ เพื่อช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับรสชาติของอาหารทีละอย่าง ป้องกันการแพ้อาหาร […]


การดูแลทารก

คัดกรองทารกแรกเกิด มีประโยชน์ต่อทารกอย่างไร

คัดกรองทารกแรกเกิด เป็นการตรวจสุขภาพและความผิดปกติของร่างกาย รวมทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เพื่อป้องกันปัญหาการได้ยิน ความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ เช่น ตา หัวใจ จมูก สะโพก อัณฑะ และตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อนของทารกแรกเกิด [embed-health-tool-vaccination-tool] คัดกรองทารกแรกเกิด คืออะไร คัดกรองทารกแรกเกิด คือ การตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (Inborn Errors of Metabolism) ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายบางอย่าง เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะปัญญาอ่อนในทารกแรกเกิด รวมถึงอาจก่อให้เกิดความพิการทางสติปัญญาอย่างรุนแรง หรือการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดได้ คัดกรองทารกแรกเกิดมีความสำคัญอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังจากคลอด แต่โดยปกติทารกแรกคลอดทุกรายจะได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกตั้งแต่ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังคลอด เนื่องจากกลุ่มโรคดังกล่าวเสี่ยงทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการทางสติปัญหาและสมอง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยอาจพบได้เพียง 1 ใน 5,000 คนของทารกแรกเกิด จึงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนชะล่าใจจนส่งผลให้ทารกแรกเกิดได้รับการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้าจนโรคพัฒนารุนแรงขึ้น ดังนั้น การพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จึงอาจช่วยป้องกันภาวะปัญญาอ่อนหรือการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดได้ การคัดกรองทารกแรกเกิด ทำได้อย่างไร ปัจจุบันในประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน 2 โรค คือ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง และโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมแต่กำเนิดที่อาจนำไปสู่กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก โดยทั่วไป การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดมักตรวจในทารกที่มีอายุประมาณ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า สำหรับคุณแม่มือใหม่

คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่หลายคนอาจประสบปัญหามีน้ำนมค้างเต้า และต้องการทราบ เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า เพื่อเป็นแนวทางในการปั๊มนมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าทำได้หลายวิธี เช่น การปั๊มนมบ่อย ๆ การวางตำแหน่งของเต้านมให้เหมาะเมื่อใช้เครื่องปั๊มนม การใช้เวลาปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าไปทีละข้าง การสังเกตลักษณะของเต้านม เพราะเมื่อปั๊มนมจนเกลี้ยงเต้าแล้วเต้านมจะอ่อนนุ่มและคัดตึงน้อยกว่าตอนก่อนปั๊ม ทั้งนี้ การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าอาจต้องใช้เวลาฝึกฝนสักระยะ เมื่อคุณแม่คุ้นชินแล้วก็สามารถปั๊มนมเก็บไว้ใช้ในภายหลังตามปริมาณที่ต้องการได้ ช่วยให้ลูกน้อยได้รับเพียงพอและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์สมวัย และช่วยลดอาการเนื่องจากมีน้ำนมค้างเต้า เช่น เต้านมคัดตึง เจ็บเต้านม [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการปั๊มนมจากเต้า ในช่วง 24-72 ชั่วโมงหลังคลอด คุณแม่อาจรู้สึกคัดตึงเต้านมมากกว่าตอนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าน้ำนมแม่พร้อมออกมาจากเต้าแล้ว และเมื่อผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ เต้านมจะผลิตน้ำนมออกมาได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมง และในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 อาจเพิ่มเป็น 600-700 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมง หากระบายน้ำนมออกมาไม่ทัน อาจทำให้เต้านมคัดตึงเพราะมีน้ำนมอยู่ในเต้านมมากเกินไปและทำให้รู้สึกเจ็บได้ การปั๊มนมจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณแม่สามารถเก็บรักษาน้ำนมไว้ใช้ภายหลังได้ ประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากในการให้นมจากเต้าโดยตรง ช่วยถ่ายน้ำนมออกจากเต้าได้เร็วกว่าการให้นมจากเต้า จึงช่วยลดอาการคัดตึงเต้านมของคุณแม่ได้ โดยการปั๊มนมอาจทำได้ 3 แบบ คือ การใช้มือบีบเพื่อรีดนมจากเต้านม การใช้เครื่องปั๊มนมแบบปั๊มด้วยมือ และการใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าอัตโนมัติ เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า วิธีที่ช่วยให้คุณแม่มือใหม่สามารถปั๊มนมแม่จนเกลี้ยงเต้าได้ อาจมีดังต่อไปนี้ ปั๊มนมให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ การปั๊มนมบ่อย ๆ […]


เด็กทารก

Jaundice คือ ภาวะตัวเหลือง สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Jaundice คือ ภาวะตัวเหลือง หรือที่เรียกว่า ดีซ่าน พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองจะมีสีผิวและสีตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเนื่องจากร่างกายผลิตสารเคมีสีเหลืองที่ชื่อว่าบิลิรูบิน (Bilirubin) มากเกินไป หรือตับไม่สามารถขับบิลิรูบินออกได้ทัน โดยทั่วไปแล้วอาการนี้จะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์ คุณแม่อาจให้ทารกกินนมแม่ให้มากและบ่อยขึ้นเพื่อช่วยเร่งการขับบิลิรูบิน แต่หากอาการตัวเหลืองไม่ดีขึ้น ร่วมกับทารกมีอาการเซื่องซึม กินนมน้อยลง ร้องไห้งอแง ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] Jaundice คือ อะไร ดีซ่าน หรือ Jaundice คือภาวะตัวเหลือง มักเกิดขึ้นกับทารกหลังคลอดอายุประมาณ 2 วัน เกิดจากระดับบิลิรูบินในร่างกายสูงกว่าปกติ บิลิรูบิน คือ สารประกอบสีเหลืองที่เกิดจากกระบวนการสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง มักถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี ปัสสาวะ และอุจจาระ แต่ร่างกายของทารกแรกเกิดอาจยังไม่สามารถขับบิลิรูบินได้ทัน เนื่องจากตับยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้มีบิลิรูบินสะสมอยู่ในกระแสเลือดจนส่งผลให้สีผิวและตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยทั่วไปแล้ว ภาวะ Jaundice ไม่เป็นอันตรายและมักหายไปภายใน 2 สัปดาห์หรือ 10-14 วันหลังคลอด แต่หากเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งแล้ว ภาวะ Jaundice ยังไม่ดีขึ้นรวมถึงเป็นมากขึ้น อาจจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์เพื่อลดระดับบิลิรูบินในร่างกาย สาเหตุของ Jaundice คือ อะไร สาเหตุของ Jaundice หรือภาวะตัวเหลือง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน