พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

อาการไอในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่บรรเทาได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

อาการไอในเด็กเล็ก เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นจากหวัดและหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่หากอาการไอเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นเรื้อรังจนรบกวนชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีธรรมชาติในการช่วยบรรเทาอาการไอที่เกิดขึ้น จากนั้น ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรักษา ที่สำคัญไม่ควรซื้อยามาให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีรับประทานเอง เพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีบรรเทาอาการไอในเด็กเล็กด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับ อาการไอในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่อาจบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีธรรมชาติก่อนพาเด็กไปพบคุณหมอได้ดังนี้ อาจป้อนน้ำผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นส่วนผสมที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งอาจใช้ในการเยียวยาอาการเจ็บป่วย ทั้งยังมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการหวัด หากลูกมีอาการไอรุนแรง ลองให้รับประทานน้ำผึ้งครึ่งช้อนก่อนนอน จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และลดอาการไอได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้น้ำผึ้งกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะน้ำผึ้งไม่เหมาะกับระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของเด็ก จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Canadian Family Physician เมื่อ พ.ศ. 2014 ศึกษาเกี่ยวกับน้ำผึ้งใช้รักษาอาการไอในเด็ก พบว่า การให้เด็กรับประทานน้ำผึ้ง 1 ครั้งก่อนนอน อาจช่วยลดอาการไอของเด็กได้ ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัย อาจให้ดื่มน้ำอุ่น การดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ อาจช่วยลดน้ำมูก ที่ทำให้เกิดอาการคัดจมูก และช่วยทำให้โล่งคอ ส่งผลทำให้อาการไออาจดีขึ้นด้วยเมื่อคอโล่งขึ้น สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน คุณแม่อาจให้เด็กดื่มนมอุ่น ๆ หรือนมผง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไอเรื้อรังในเด็ก สาเหตุและวิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การไอ เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในเด็ก เกิดจากร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัส ที่อาจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ แต่หาก ไอเรื้อรังในเด็ก หรือไอนานเกิน 4 สัปดาห์ รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือยิ่งแย่ลง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย และควรพาเด็กไปเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็ว เพราะอาการไอเรื้อรังในเด็ก อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพที่รุนแรงกว่า ไอนานแค่ไหนถึงเรียกว่าเรื้อรัง การไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการระคายเคืองหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เส้นประสาทจะส่งสัญญาณไปยังสมอง ให้สมองขจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น เสมหะ น้ำหอม ฝุ่นละออง หรือเชื้อโรค เช่น ไวรัส ออกจากทางเดินหายใจ สำหรับเด็ก หากมีอาการไอไม่ถึง 2 สัปดาห์ เรียกว่า อาการไอเฉียบพลัน แต่หากไอต่อเนื่องยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ถือว่าไอเรื้อรัง ซึ่งอาการไอเรื้อรังในเด็กนี้ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อย คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสมที่สุด สาเหตุของอาการ ไอเรื้อรังในเด็ก สาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการไอเรื้อรังในเด็ก เช่น อาการหลังติดเชื้อไวรัส โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ กลุ่มอาการครูป (Croup/Laryngotracheobronchitis) โรคโควิด-19 สามารถทำให้เด็กมีอาการไอติดต่อกันได้ยาวนานหลายสัปดาห์ เด็กที่เป็นไข้หวัดธรรมดาอาจมีอาการไอแค่ก ๆ หากเป็นไข้หวัดใหญ่มักมีอาการไอแห้ง ส่วนกลุ่มอาการครูปจะทำให้เด็กมีอาการไอเสียงก้องพร้อมหายใจเสียงดัง ส่วนใหญ่มักเกิดในตอนกลางคืน อาการไอเรื้อรังในเด็กที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสนี้ไม่มียารักษาจำเพาะ […]


การดูแลทารก

ฟันซี่แรก ของลูก และข้อควรรู้สำหรับคุณพ่อคุณแม่

ฟันซี่แรก ถือเป็นพัฒนาการทางกายที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็กทุกคน อย่างไรก็ตาม ฟันซี่แรก อาจทำให้เด็กรู้สึกไม่สบาย มีปัญหาสุขภาพ หรือมีพฤติกรรมแปลกไปจนคุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ เช่น เหงือกบวม ร้องไห้ งอแง ดังนั้น การทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลฟันซี่แรก วิธีแปรงฟัน รวมถึงวิธีบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้น อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลและรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นลูกน้อยได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ฟันซี่แรก ขึ้นเมื่อใด โดยทั่วไปแล้ว ฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน แต่เด็กอาจเริ่มมีฟันขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างอายุ 6-13 เดือนก็ได้ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวลมากเกินไป หากลูกอายุครบ 6 เดือนแล้วแต่ฟันซี่แรกยังไม่ขึ้น ฟันซี่แรกที่ขึ้นมักจะเป็นฟันด้านหน้า โดยฟันล่างมักจะขึ้นก่อน แต่สำหรับเด็กบางคน ฟัน 2 ซี่บนอาจขึ้นมาก่อนพร้อม ๆ กัน จากนั้นฟันซี่อื่นจึงค่อย ๆ ขึ้นตามกันมาเป็นลำดับ เด็ก ๆ จะมีฟันน้ำนมครบทุกซี่ ภายในอายุ 3 ขวบ โดยทั่วไปแล้ว ลำดับการขึ้นของฟันในช่วงอายุต่าง ๆ ได้แก่ 6-12 เดือน ฟันหน้า 9-12 เดือน ฟันด้านข้าง (ที่ติดกับฟันหน้าตรงกลาง) […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กเป็นไข้ อาการ และวิธีการรับมือ

เด็กเป็นไข้ อาจสังเกตได้จากอาการอุณภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับมีอาการร้องไห้ งอแง ไม่ยอมนอน ไม่ยอมกิน หรือมีอาการเซื่องซึมกว่าปกติ โดยปกติอาการไข้มักไม่เป็นอันตรายใด ๆ และสามารถบรรเทาได้ด้วยการเช็ดตัว ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ นอนพักผ่อน หรืออาจให้ยาลดไข้สำหรับเด็ก อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูง เป็นไข้ไม่ยอมหาย ชัก ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรักษาในทันที อาการที่บอกว่าเด็กเป็นไข้ อุณหภูมิที่ถือว่าเด็กเป็นไข้ คือประมาณ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ ไม่ยอมนอน ไม่ยอมกิน ไม่อยากเล่น หงุดหงิด อารมณ์เสีย เซื่องซึม เฉื่อยชา ชัก เด็กเป็นไข้ อันตรายหรือไม่ ที่จริงแล้ว ไข้ไม่ได้ถือว่าเป็นโรค แต่มันเป็นแค่ “อาการ” อย่างหนึ่ง ที่ร่างกายของคนเราต่อสู้กับอาการติดเชื้อ และระบบภูมิคุ้มกันกำลังทำงาน เด็กมักจะเป็นไข้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ และเป็นไข้ได้บ่อยจากอาการเล็กน้อยเพียง อย่าง หวัดธรรมดา โดยปกติแล้ว อาการไข้ในเด็กมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส หรืออาจมีสาเหตุบางอย่างที่อาจพบไม่บ่อยนัก เช่น ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในหู […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไข้สูง ปัญหาสุขภาพวัยเด็กที่พบบ่อยกับวิธีดูแลในเบื้องต้น

ไข้สูง ที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกเป็นปัญหาสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยเฉพาะหากเด็กทารกในช่วงวัยอายุไม่เกิน 3 เดือน หากมีไข้สูง จำเป็นต้องพาลูกไปโรงพยาบาลทันที ส่วนเด็กในช่วงวัยสามเดือนเป็นต้นมา คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลรักษาในเบื้องต้นได้ เช่น การวัดไข้ และหมั่นเช็ดตัว เป็นต้น แต่ทั้งนี้ อาจต้องคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากไข้ไม่ลด อาจต้องรีบพาไปโรงพยาบาลเช่นกัน ไข้สูง เกิดจากสาเหตุใด อาการตัวร้อนและมีไข้ถือเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กเล็ก ผู้ปกครองมากกว่า 60% ที่มีลูกอยู่ในวัย 6 เดือนและ 5 ปีพบว่าลูกของพวกเขาเคยมีอาการดังกล่าว เวลาที่เด็กตัวร้อน หมายถึง การที่ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ โดยอาการเป็นไข้ ตัวร้อน มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเล็กน้อย เช่น ไอหรือไข้หวัด และสามารถรักษาที่บ้านได้ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าอาการตัวร้อนจะสร้างความกังวลให้กับผู้ปกครอง แต่เด็กๆ มักจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ไข้สูง คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไร ถ้าทารกอายุไม่เกิน 4 เดือน แล้วมีไข้สูง โดยมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100.4 องศาฟาเรนไฮต์) ควรพาเด็กไปโรงพยาบาล ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 4 เดือน ผู้ปกครองอาจปฏิบัติดังนี้ วัดอุณหภูมิร่างกาย วัดอุณหภูมิทางปาก สำหรับเด็กที่อายุ 4-5 […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ประโยชน์ของ วิตามินซี ต่อสุขภาพของ เด็ก

วิตามินซี เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารหรืออาหารเสริม การทราบว่า วิตามินซี มีประโยชน์ต่อสุขภาพของ เด็ก อย่างไร และเด็กควรได้วิตามินวันละเท่าใด อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองสามารถเตรียมอาหารที่มีวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสมให้กับเด็กได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีสุขภาพดีขึ้น และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจากการบริโภควิตามินซีเกินขนาดได้ด้วย [embed-health-tool-bmi] วิตามินซี คืออะไร วิตามินซี (Vitamin C) หรือกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ ต้องได้รับจากแหล่งวิตามินภายนอก โดยอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น พริกหวาน ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างมะขามป้อม ฝรั่ง ส้ม เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจได้รับวิตามินซีจากอาหารเสริมวิตามินซีด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนให้ลูกกินอาหารเสริมวิตามินซี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ วิตามินซี ประโยชน์ต่อสุขภาพ เด็ก วิตามินซีจำเป็นต่อการรักษาสุขภาพโดยรวม และมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกายของเด็กดังต่อไปนี้ ช่วยในการสร้างคอลลาเจน หลอดเลือด กระดูกอ่อน และกล้ามเนื้อ ช่วยรักษาความสมบูรณ์ของเนื้อเยื่อในร่างกาย และผิวหนัง ช่วยในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท ซึ่งเป็นสารเคมีสำคัญที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ กระตุ้นการผลิตและการทำงานของคาร์นิทิน ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญต่อกระบวนการลำเลียงกรดไขมันไปยังเซลล์ และการเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงและทำงานได้อย่างเป็นปกติ วิตามินซีกับโรคหอบหืดในเด็ก งานวิจัยเกี่ยวกับวิตามินซีและโรคหอบหืดในเด็กที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Clinical and Translational Allergy ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

พ่อแม่ติดเหล้า ส่งผลกับลูกอย่างไรบ้าง

พ่อแม่ติดเหล้า คือ ปัญหาครอบครัวพบได้มากและอาจส่งผลไปยังปัญหาอื่น ๆ เช่น การทำร้ายร่างกาย ความรุนแรงในครอบครัว จนอาจบั่นทอนสุขภาพจิตของคนในครอบครัวโดยเฉพาะกับลูก เนื่องจากครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานแรกที่สำคัญ ซึ่งเปรียบเสมือนโรงเรียนแห่งแรกที่คอยสั่งสอน แนะนำวิธีการดำรงชีวิต ปลูกฝังความคิด และพฤติกรรมต่าง ๆ ให้กับเด็ก อาการของพ่อแม่ติดเหล้า ที่อาจนำไปสู่โรคพิษสุราเรื้อรัง สำหรับอาการที่อาจทำให้สังเกตได้ว่าพ่อแม่ติดเหล้าอาจมีดังนี้ ดื่มเหล้าคนเดียวเป็นประจำ ดื่มเหล้าหนักและบ่อยขึ้น ดื่มเหล้าจนหมดสติ บางครั้งอาจจำเหตุการณ์ช่วงเวลากินเหล้าไม่ได้ พยายามเลิกเหล้าแต่ล้มเหลว อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดง่าย ดื่มเหล้ามากจนป่วย และกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงาน การเงิน ความสัมพันธ์ส่วนตัว ล้มเลิกความตั้งใจในการทำกิจกรรมหรืองานอดิเรก และหันมาดื่มเหล้าแทน มีความต้องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดเวลา ชอบเก็บเหล้าไว้ใกล้ตัว เช่น ใต้เตียง ลิ้นชักโต๊ะทำงาน พ่อแม่ติดเหล้า ส่งผลกระทบกับลูกอย่างไร หากคุณพ่อหรือคุณแม่คนใดคนหนึ่งติดเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงจากการขาดสติของฤทธิ์แอลกอฮอล์ ขาดความสนใจลูก จนอาจส่งผลให้เด็กรู้สึกเครียด อับอาย และอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ ดังนี้  เด็กเล็กและเด็กวัยเรียน กลัวการถูกทอดทิ้ง ฝันร้ายเป็นประจำ ร้องไห้ ปัสสาวะรดที่นอน  เด็กโตและเด็กวัยรุ่น มีปัญหาด้านการเรียน เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ต้องคอยถามการตัดสินใจจากผู้อื่น ใช้ความรุนแรงทั้งทางพฤติกรรมและคำพูด เช่น พูดจาก้าวร้าว อาจติดเหล้าเหมือนผู้ปกครองตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น […]


สุขภาพเด็ก

มลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก ได้อย่างไรบ้าง

มลพิษทางอากาศ อาจ ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก และพัฒนาการต่าง ๆ เช่น ปอด สมอง การเรียนรู้ เนื่องจาก เด็กเป็นวัยที่เสี่ยงต่อมลพิษทางอากาศมากกว่าวัยอื่น ๆ และปอดของเด็กกำลังเติบโตและหายใจรับอากาศเข้าไปได้มาก ดังนั้น การป้องกันเด็กจากมลพิษทางอากาศ จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและพัฒนาการที่ดีของเด็ก มลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก อย่างไร มลพิษทางอากาศอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ อาจส่งผลต่อการทำงานของปอด เด็กอาศัยอยู่ภายในบริเวณ 100 เมตรจากถนนสายสำคัญที่มีมลพิษทางอากาศต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ควันจากท่อไอเสีย อาจทำให้การทำงานของปอดแย่กว่าเด็กที่อาศัยอยู่ห่างจากถนนสายสำคัญออกไป 400 เมตรหรือมากกว่า อาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด มลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง อาจส่งผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ การคลอดก่อนกำหนดยังอาจเกิดขึ้นได้บ่อยในเวลาที่เกิดมลพิษ อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปอด เด็กที่เติบโตในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศมากอาจมีความเสี่ยงที่ปอดจะเจริญเติบโตได้ลดลง ทั้งยังอาจทำให้ปอไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งผลกระทบของมลพิษทางอากาศอาจเทียบได้กับผลกระทบที่เกิดขึ้นในเด็กที่เติบโตในบ้านที่มีผู้ปกครองที่สูบบุหรี่ ผลกระทบอื่น ๆ ต่อสุขภาพเด็ก ปอดของเด็กยังคงพัฒนา ดังนั้น การสูดดมมลพิษทางอากาศเข้าไปมาก ๆ อาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของปอดได้ สมองของเด็ก ๆ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่าให้นม ท่าไหนดีที่เหมาะสมทั้งคุณแม่และลูกน้อย

ท่าให้นม เป็นท่านั่งสำหรับคุณแม่ที่ต้องเน้นลักษณะท่าทางที่ผ่อนคลาย เนื่องจากเป็นการนั่งที่อาจต้องใช้เวลานาน หากนั่งผิดท่านอกจากจะไม่สบายตัวแล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพหลังและสุขภาพด้านอื่น ๆ ในระยะยาว ดังนั้น คุณแม่จึงควรเลือกท่าให้นมที่เหมาะสมกับสรีระ รวมทั้งต้องคำนึงถึงท่าทางการดื่มนมของลูกน้อยด้วย เพื่อลูกจะได้ดื่มนมอย่างถูกวิธีไม่เกิดปัญหาการสำลัก แก๊สในกระเพาะอาหาร หรือปัญหาอื่น ๆ ตามมา [embed-health-tool-due-date] ท่าให้นมที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ 1. ท่าลูกนอนขวางตัก (Cradle Hold) ท่านี้เป็นท่าให้นมที่พบมากที่สุด โดยคุณแม่จะนั่งตัวตรง หลังพิงเก้าอี้หรือหมอนตามความถนัด ร่วมกับการงอแขนแล้วประคองตัวลูก โดยให้ศีรษะของลูกวางอยู่ที่ด้านในของข้อศอก ใช้ฝ่ามือของแขนข้างเดียวกัน ประคองก้นของลูกเอาไว้ ให้ลำตัวของลูกหันเข้ามาลำตัวของแม่ ซึ่งหน้าท้องของเด็กต้องอยู่แนบกับหน้าท้องของแม่ จากนั้นยกลูกขึ้นหาเต้านม โดยใช้มืออีกข้างหนึ่งเพื่อจับเต้านม เพื่อให้หัวนมอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับปากของลูก เพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ง่ายขึ้น 2. ท่าลูกนอนขวางตักแบบประยุกต์ (Cross-cradle hold) ท่านี้คล้ายกับท่าลูกนอนขวางตัก แต่การวางตำแหน่งแขนจะต่างกัน นั่นคือให้ใช้แขนข้างที่ถนัดโอบด้านหลังลูก แล้วใช้มือข้างนั้นประคองศีรษะลูกเอาไว้ พร้อมกับหันตัวลูกเข้าหาลำตัวของแม่ โดยหน้าท้องของเด็ก และแม่อาจต้องแนบชิดกัน หรือหากไม่ถนัด อาจใช้หมอนรองแขน เพื่อช่วยยกตัวลูกให้อยู่ในระดับที่ใกล้กับหัวนมมากขึ้น แล้วใช้มืออีกด้านหนึ่งประคองเต้านมเอาไว้ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยอมหัวนมได้ถนัดขึ้น 3. ท่าอุ้มฟุตบอล (Football Hold) ถือได้ว่าเป็นอีกท่าที่เหมาะสำหรับแม่ที่คลอดลูกด้วยการผ่าท้องคลอด หรือแม่ที่มีขนาดหน้าอกค่อนข้างใหญ่ ท่านี้ลำตัวส่วนล่างของเด็กจะถูกหนีบอยู่ใต้แขนของแม่ คล้ายกับการล็อคลำตัวของเด็กไว้ไม่ให้เคลื่อนขณะให้นม จากนั้นแม่จะใช้มือข้างเดียวกันประคองศีรษะของเด็กเอาไว้ และหันหน้าเด็กเขาหาเต้านม พร้อมนำอีกมือหนึ่งของแม่ประคองเต้านมไว้ร่วม เพื่อให้ลูกดื่มนมจากเต้าคุณแม่ได้ถนัดขึ้น 4. ท่าตะแคงข้าง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคไอกรน (Whooping cough) อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงในจมูกและลำคอ ในกรณีส่วนใหญ่ โรคนี้สังเกตได้จากอาการไอแค็ก ๆ ตามด้วยการเกิดเสียงแหลมดังขึ้นขณะหายใจเข้า [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคไอกรนคืออะไร โรคไอกรน (Whooping cough) หรือ Pertussis จัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงในจมูกและลำคอ ในกรณีส่วนใหญ่ โรคนี้สังเกตได้จากอาการไอแค็ก ๆ ตามด้วยการเกิดเสียงแหลมดังขึ้นขณะหายใจเข้า โรคไอกรนสามารถแพร่กระจายได้ง่าย แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน DTaP และวัคซีน Tdap ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โรคไอกรนพบบ่อยเพียงใด โรคไอกรนพบในทารกและเด็กมากกว่าวัยผู้ใหญ่ แต่สามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคไอกรน ระยะเวลาแสดงอาการของโรคมักอยู่ที่ประมาณ 10 วันหลังจากได้รับเชื้อ โดยสิ่งบ่งชี้และอาการทั่วไปของไอกรนในระยะเริ่มแรกมักไม่รุนแรงและคล้ายคลึงกับอาการหวัดโดยทั่วไป เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก ตาแดงและน้ำตาไหล มีไข้ ไอ หลังจาก 1-2 สัปดาห์ผ่านไป สิ่งบ่งชี้และอาการจะเริ่มแย่ลง โดยจะมีอาการไอรุนแรงและเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดอาการร่วมต่างๆ ดังนี้ อาเจียน ใบหน้าเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือเขียวคล้ำ อ่อนเพลียมาก หายใจแล้วมีเสียงแหลมเกิดขึ้น อาจไม่พบอาการไอในทารกที่เป็นโรคไอกรน แต่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรืออาจหยุดหายใจชั่วคราว อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอหากมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ อาเจียน ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือเขียว หายใจลำบากหรือหยุดหายใจอย่างสังเกตได้ หายใจเข้าแล้วมีเสียงดัง สาเหตุ สาเหตุของโรคไอกรน แบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคไอกรน โดยเมื่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรืออยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อที่ไอหรือจาม แล้วอาจหายใจเอาละอองขนาดเล็กที่มีเชื้อที่แพร่กระจายในอากาศเข้าสู่ปอด ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของโรคไอกรน มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้เกิดโรคไอกรน เช่น วัคซีนไอกรนที่ได้รับในวัยเด็กหมดฤทธิ์ไป […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน