พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

ภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาการและการรักษา

ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย เนื่องจาก แคลเซียม เป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ โดยมีหน้าที่สำคัญในการทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง และอาจมีบทบาทสำคัญในการปล่อยเอนไซม์และฮอร์โมน ตลอดจนทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ ดังนั้น หากร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ อาจทำให้การทำงานของร่างกายผิด ทั้งยังอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอีกด้วย ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก คืออะไร ภาวะพร่องแคลเซียม (Hypocalcemia) เป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อยที่สุดในเด็ก โดยมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคแคลเซียมต่ำและปัญหาการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ ในบางกรณีการขาดแคลเซียมในเด็ก อาจเป็นผลมาจากการระดับแคลเซียมต่ำในมารดา ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมที่ไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระดูกอย่างรุนแรง มีผลต่อการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด และระบบประสาทอีกด้วย ดังนั้น หากเด็กมีกระดูกที่อ่อนแอจากการขาดแคลเซียมอาจนำไปสู่อาการกระดูกผิดรูป เช่น โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) อาการที่เกิดจาก ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก สำหรับอาการที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเมื่อมีภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาจมีดังนี้ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เป็นสัญญาณเตือนแรกของภาวะพร่องแคลเซียม อาจสังเกตได้จากการที่เด็กพูดเรื่องอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่ายิ่งบริเวณแขน ใต้วงแขน และต้นขา เมื่อต้องเคลื่อนไหวและเดินไปมา อาการนอนไม่หลับ หากเด็กมีอาการนอนหลับยาก หรือในบางกรณี อาจหลับแต่หลับไม่ลึก นอนไม่หลับ หรือมักตื่นกลางดึกบ่อย ๆ นี่อาจเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ว่า เด็กอาจมีภาวะพร่องแคลเซียม และมีผิวฟันขรุขระ  เล็บอ่อนแอและเปราะง่าย โดยปกติแล้ว เล็บเป็นส่วนที่ต้องการปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ จึงจะเติบโตอย่างมีสุขภาพดี เพราะฉะนั้นการที่เล็บหักหรือเปราะง่าย […]


โภชนาการสำหรับทารก

4 ข้อเตือนใจ เมื่อต้องฝึกลูกรับประทานอาหาร

การ ฝึกลูกรับประทานอาหาร เมื่อลูกเข้าสู่วัยตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านคงเกิดความกังวลเกี่ยวกับสารอาหารที่เจ้าตัวน้อยได้รับว่ามีความเหมาะสม และถูกต้องตามหลักโภชนาการมากน้อยเพียงใด ยิ่งถ้าวันไหนคุณลูกงอแง ปฎิเสธอาหาร ก็ยิ่งเพิ่มความหนักใจเข้าไปอีก บทความนี้เรามีขั้นตอนง่ายๆ ของเทคนิคการป้อนอาหารให้ลูกน้อย มาฝากกันค่ะ เทคนิคการ ฝึกลูกรับประทานอาหาร อย่างได้ผล มีอะไรบ้าง 1. ใส่ใจเลือกวัตถุดิบ เด็กจะได้สารอาหารครบถ้วนหรือไม่นั้น การเลือกวัตถุดิบถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเลยนะคะ ในแต่ละวันเด็กๆ ควรได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเลือกซื้อวัตถุดิบให้หลากหลาย ควรประกอบไปด้วยอาหารจำพวกข้าวและแป้ง โปรตีนจากเนื้อสัตว์และไข่ รวมทั้งผักผลไม้หลากสี เพื่อให้ได้วิตามินและเกลือแร่ครบถ้วน และอย่าลืมคำนึงถึงวัตถุดิบอาหารปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ การล้างทำความสะอาด รวมทั้งการเตรียมวัตถุดิบอย่างพิถีพิถันด้วย ตัวอย่างวัตถุดิบที่ใช้สำหรับเด็กวัย 6 เดือน ที่กำลังฝึกรับประทานอาหาร ได้แก่ ข้าวกล้อง ไข่แดง เนื้อปลาน้ำจืด กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก น้ำส้มคั้น มะม่วงสุกจัด  แอปเปิ้ล ฟักทอง อะโวคาโด เป็นต้น 2. เลือกลักษณะอาหารที่เหมาะสม ในแต่ละช่วงวัยของเด็กนั้นจะมีพัฒนาการที่ต่างกัน การเลือกลักษณะอาหารที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กเล็กได้ โดยอาหารที่ข้นเกินไปอาจทำให้ลูกสำลักได้ ให้คุณพ่อคุณแม่ลองเติมน้ำซุปเคี่ยวผัก ปลา […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

เช็กด่วน! โรคไอกรน อาการ ในเด็กเป็นอย่างไร

โรคไอกรน (Whooping Cough หรือ Pertussis) เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส (Bordetella pertussis หรือ B. pertussis) ไอกรนอาจเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเด็กอายุ 11-18 ปีที่ระบบภูมิคุ้มกันอาจเริ่มอ่อนแอลง อาการ แรกเริ่มของไอกรนอาจเหมือนกับอาการหวัดทั่วไป เช่น ไอเล็กน้อย จาม มีน้ำมูก ก่อนที่จะมีการผลิตวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก ไอกรนอาจคร่าชีวิตเด็กนับพันคนในอเมริกาในแต่ละปี แต่เมื่อมีการใช้วัคซีนจำนวนของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคนี้มีจำนวนลดลง [embed-health-tool-baby-poop-tool] โรคไอกรน อาการ เป็นอย่างไร ระยะเวลาแสดงอาการของไอกรนมักอยู่ที่ประมาณ 10 วันหลังจากได้รับเชื้อ อาการแรกเริ่มของไอกรนอาจมีอาการคล้ายกับอาการหวัดทั่วไป ไอเล็กน้อย จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก ตาแดงและน้ำตาไหล มีไข้ ไอ อาการท้องเสียในระยะแรก หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ผ่านไป อาการไอส่วนใหญ่อาจเปลี่ยนเป็นอาการไอที่มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ (เสียง “วี้ด” หรือ “ฮื้ด” ไอเสียงสูง หรือหายใจเฮือกขณะไอ) ในขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้า ในบางครั้ง ผู้ป่วยอาจเกิดอาการหน้าแดงหรือม่วง […]


สุขภาพเด็ก

ขาดอากาศหายใจ สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

ขาดอากาศหายใจ เป็นภาวะที่เป็นอันตรายประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง โดยภาวะขาดอากาศหายใจอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่มากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีทั่วโลก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เด็กขาดอากาศหายใจ เพื่อเตรียมความพร้อมและการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ขึ้น ขาดอากาศหายใจ คืออะไร การขาดอากาศหายใจอาจเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งในการเสียชีวิตของทารก โดยอาจเกิดขึ้นในช่วงปีแรกของเด็กทารก และมักพบได้มากสุดในช่วง 9 -11 เดือน อย่างไรตาม ความเสี่ยงยังอาจเกิดขึ้นได้จนกระทั่งเด็กมีอายุ 6 ปี จนกว่าพัฒนาการของหลอดลม และกลไกการหายใจมีความสมบูรณ์ สาเหตุที่ทำให้ ขาดอากาศหายใจ โดยส่วนใหญ่แล้วการขาดอากาศหายใจในเด็ก อาจเกิดจากการสำลัก การถูกบีบรัด และการถูกวัสดุต่าง ๆ ปิดคลุมจนหายใจไม่ออก นอกจากนั้น สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของการขาดอากาศหายใจในเด็กที่พบได้มากที่สุด ดังนี้ เครื่องนอน เช่น หมอน ผ้าห่ม อาจสร้างสภาพแวดล้อมในการนอนหลับที่สบายมากขึ้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งยังไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถ และยกศีรษะได้อย่างเต็มที่ เมื่อทางเดินหายใจถูกอุดกั้นก็อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น วัตถุต่าง ๆ ที่สามารถบดบังใบหน้าของเด้กได้ต้องนำออกไปให้ห่าง เพื่อป้องกันการขาดอากาศหายใจในเด็ก สถานที่ปิด เช่น ในตู้เย็นขนาดเล็กที่ไม่ได้ใช้แล้ว กล่อง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีกำจัดเหา เมื่อลูกน้อยกำลังเป็นเหา

เหา ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของลูกที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ และต้องกำจัดให้หมดไปโดยเร็วที่สุด เพราะเหาสามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนได้ อีกทั้งการที่ลูกเป็นเหา อาจถูกเด็กคนอื่นมองว่าสกปรก ล้อเลียน หรือไม่คลุกคลีด้วย จนลูกอาจมีปัญหากับเพื่อนหรือมีปัญหาสุขภาพจิตได้ วิธีกำจัดเหา อาจทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน โดยวิธีธรรมชาติ รวมถึงการใช้ยาที่สั่งจ่ายโดยคุณหมอ เพื่อบรรเทาอาการคันที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำลายของเหา ทั้งยังป้องกันอาการแพ้เหาที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กบางคนอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] เหา คืออะไร เหา คือ แมลงปรสิตชนิดหนึ่ง ลำตัวแบน ไม่มีปีก สีขาวปนเทา หรือสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดำรงชีพด้วยการกินเลือดจากคนหรือสัตว์ เหาที่พบในคนมี 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่ศีรษะ (Pediculosis Capitis หรือ Head Lice) เหาที่ลำตัว (Pediculosis Corporis) และเหาที่อวัยวะเพศ หรือโลน (Pediculosis Pubis) แต่เมื่อพูดถึงเหา คนส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงเหาที่ศีรษะ ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด และพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน (3-12 ปี) เหาเป็นแมลงคลาน บินหรือกระโดดไม่ได้ แต่ก็มีกรงเล็บที่พัฒนามาเป็นพิเศษทำให้สามารถคลานและเกาะติดหนึบอยู่บนเส้นผมได้ อีกทั้งเหายังเป็นโรคติดเชื้อปรสิตที่สามารถติดต่อและแพร่กระจายจากคนสู่คนได้รวดเร็วมาก โดยเฉพาะในสถานที่ชุมนุมชน หรือในกิจกรรมที่มีผู้คนรวมตัวกันหนาแน่น […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ลูกดูดนิ้ว ไม่ยอมเลิก พ่อแม่จัดการกับพฤติกรรมนี้ได้อย่างไรบ้าง

ลูกดูดนิ้ว เป็นพฤติกรรมที่เด็กหลายคนชอบทำเป็นประจำ โดยส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัว และคุณพ่อคุณแม่อาจไม่ค่อยได้ให้ความสนใจ เพราะถือว่าเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็ก แต่ในความเป็นจริง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและใส่ใจพฤติกรรมการดูดนิ้วของลูก เพราะหากปล่อยให้ ลูกดูดนิ้ว จนติดเป็นนิสัยและเลิกไม่ได้ ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน ทำไมเด็กถึงชอบดูดนิ้ว การดูด ถือเป็นสัญชาตญาณและปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติของเด็ก จึงไม่แปลกที่บ่อยครั้งเราจะเห็นภาพทารกขดตัวดูดนิ้วอยู่ในท้องแม่ หรือพยายามคว้าสิ่งต่างๆ เข้าปากตั้งแต่หลังคลอด อาการอยากดูดนี้จะค่อยๆ ลดลงเมื่อเด็กทารกมีอายุได้ 6 เดือน แต่เด็กส่วนใหญ่จะยังคงติดดูดนิ้วอยู่เหมือนเดิม โดยเฉพาะตอนก่อนนอน หรือเคลิ้มหลับ เพราะการดูดนิ้วทำให้เด็กรู้สึกสงบ ผ่อนคลายและปลอดภัย และเมื่อโตขึ้น การดูดนิ้วของเด็กยังกลายเป็นเครื่องแสดงอารมณ์ หรือระบายความรู้สึกเวลาหิว หงุดหงิด หวาดกลัว เหนื่อยล้า หรือแม้กระทั่งเมื่ออยากเรียกร้องความสนใจ ลูกดูดนิ้ว เมื่อไรที่พ่อแม่ควรห้ามปราม สำหรับเด็กทารก หรือเด็กก่อนวัยเรียน การดูดนิ้วถือเป็นเรื่องปกติ เด็กส่วนใหญ่จะเลิกดูดนิ้วไปเองเมื่ออายุได้ 6-7 เดือน หรือ 2-4 ปี แต่หากลูกดูดนิ้วบ่อย จนเริ่มมีปัญหาในการพูด ปัญหาสุขภาพฟัน ปัญหาผิวหนัง นิ้วที่ชอบดูดเริ่มมีผิวหนังแข็งด้าน หรือลูกอายุเกิน 5 ขวบแล้วแต่ยังติดดูดนิ้วอยู่ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบหาวิธีแก้ไขให้ลูกหยุดดูดนิ้วโดยเร็วที่สุด การดูดนิ้วนี้นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ยังอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าลูกกำลังมีปัญหาหรือโรคทางอารมณ์ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมการดูดนิ้วของเด็ก แม้การดูดนิ้วจะช่วยให้เด็กผ่อนคลาย แต่หากปล่อยให้ดูดนิ้วจนอายุ 5-6 ปีซึ่งเป็นวัยที่ฟันแท้เริ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก โดยเฉพาะในช่องปาก […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีน สำหรับเด็ก

โปรตีน เป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ การได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ สำคัญต่อสุขภาพ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็ก ๆ ได้รับโปรตีนในแต่ละวัน ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โปรตีน สำคัญกับสุขภาพเด็กอย่างไร โปรตีนมีหน้าที่สร้าง รักษา และซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย โดยกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันต่างก็สร้างมาจากโปรตีน เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ร่างกายยังใช้โปรตีนที่ได้รับจากการกินอาหาร เพื่อสร้างโมเลกุลโปรตีนชนิดพิเศษที่ทำหน้าที่อย่างเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น ร่างกายใช้โปรตีนเพื่อสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่จะนำออกซิเจนไปในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อกินอาหารที่มีโปรตีน ร่างกายจะย่อยโปรตีนให้กลายเป็นกรดอะมิโน โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่ามีกรดอะมิโน 22 ชนิดที่ร่างกายต้องการ และกรดอะมิโน 13 ชนิดร่างกายสามารถสร้างเองได้ ส่วนกรดอะมิโนอีก 9 ชนิดร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ เรียกว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น และร่างกายจะได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้ง  9 ชนิด จากการกินอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน มากไปกว่านั้น แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โปรตีนที่มาจากสัตว์และโปรตีนที่มาจากพืช ดังนี้ โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์และนม เป็นแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด โปรตีนจากพืช ส่วนใหญ่จะขาดกรดอะมิโนที่จำเป็น 1 ชนิดหรือมากกว่า […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ไม่ใช่แค่ของหวานหรืออาหารไขมันสูง ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่การกิน เกลือ หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ก็เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่า เด็กกินเค็ม มากเกินไปจนอาจทำให้เด็กๆ เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics ให้ข้อมูลว่า เด็กบริโภค เกลือ หรือ โซเดียมเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งการกินอาหารที่มีโซเดียมสูงตั้งแต่เด็ก สามารถเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต โดยโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันมากกว่า 800,000 คนในแต่ละปี และการกินอาหารที่มีรสเค็ม การบริโภค เกลือ หรืออาหารโซเดียมสูง อาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เด็กกินเค็ม (โซเดียม) เท่าไหร่ถึงจะพอดี เด็กควรบริโภคเกลือแต่น้อย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่มักจะเพิ่มเกลือลงไป เช่น ขนมปัง ถั่วอบ หรือแม้แต่ขนมปังอบกรอบ จึงทำให้เด็กๆ กินเค็มมากเกินไป ปริมาณ เกลือ ที่สูงที่สุดที่เด็กควรได้รับต่อวัน ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือน ควรได้รับ เกลือ […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ ท่อน้ำตาอุดตัน ทารก

ท่อน้ำตาอุดตัน ทารก อาจเกิดขึ้นจากปัญหาด้านพัฒนาการของท่อน้ำตา ความผิดปกติของกระดูกจมูก หรือการติดเชื้อในบริเวณใกล้เคียง เช่น จมูกติดเชื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ทำให้มีน้ำตาไหลมาก แสบระคายเคืองตา และอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบอาการดังกล่าว ควรพาลูกเข้ารับการรักษาในทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] การสร้างน้ำตา ดวงตาเคลือบด้วยน้ำตา (tear film) ที่มีอยู่ 3 ชั้น เพื่อเป็นการชะล้างฝุ่นละอองและเศษผงต่าง ๆ โดยแต่ละชั้น มีดังนี้ ชั้นนอกสุด เป็นชั้นไขมัน (lipid) ที่สร้างมาจากต่อมไขมันมัยโบเมียน (meibomian glands) ซึ่งอยู่บริเวณหนังตา ชั้นกลาง เป็นน้ำที่สร้างมาจากต่อมน้ำตา (lacrimal gland) ซึ่งอยู่ในบริเวณด้านบนของดวงตาทั้งสองข้าง ชั้นสุดท้าย หรือชั้นในสุด เป็นเมือกซึ่งบำรุงกระจกตาและหล่อเลี้ยงพื้นผิวดวงตาด้วยน้ำตา เมื่อกะพริบตา หนังตาจะกระจายน้ำตาไปทั่วผิวตา ในภาวะปกติ น้ำตามีการระบายลงผ่านทางรูเปิดของท่อน้ำตา (puncta และ canaliculi) ซึ่งอยู่บริเวณเปลือกตาด้านหัวตาทั้งบนและล่าง จากนั้นจะต่อไปยังถุงน้ำตา (tear sac) แล้วค่อยไหลผ่านช่องที่เรียกว่า ท่อน้ำตา (tear duct หรือ nasolacrimal duct) […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สารอาหารบำรุงนมแม่ และข้อแนะนำสำหรับแม่ให้นมลูก

ในกระบวนการผลิตน้ำนมแม่ ร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง อาหารที่คุณแม่กินระหว่างให้นมลูก จึงนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยในการผลิตน้ำนมให้มีคุณภาพ และเพื่อช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง แต่ สารอาหารบำรุงนมแม่ ที่แม่ให้นมลูกควรกินมีอะไรบ้างนั้น Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากค่ะ สารอาหารบำรุงนมแม่ มีอะไรบ้าง โปรตีน ทารกที่กำลังเจริญเติบโตต้องการโปรตีนสูง ดังนั้น แม่ให้นมลูก จึงต้องกินโปรตีนในปริมาณที่มากพอกับที่ทารกต้องการ เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การรักษาสภาพร่างกาย และการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ โดยปริมาณโปรตีนที่แม่ให้นมลูกควรได้รับจะอยู่ที่ประมาณ 54 กรัมต่อวัน แต่ในคุณแม่บางรายอาจต้องการถึง 67 กรัมต่อวันหรือมากกว่า แหล่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง โฟเลต โฟเลตเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อการเติบโตของร่างกาย โดยปกติ แม่ให้นมลูก ควรได้รับโฟเลตในปริมาณ 450 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ในคุณแม่บางรายอาจต้องการในปริมาณ 500 ไมโครกรัมต่อวันหรือมากกว่า แหล่งโฟเลตที่สำคัญได้แก่ ผักประเภทใบ ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ อะโวคาโด สารสกัดจากยีสต์ ไอโอดีน ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อพัฒนาการของสมองและระบบประสาท แม่ให้นมลูก ควรได้รับไอโอดีนปริมาณ 190 ไมโครกรัมต่อวัน หรือ 270 ไมโครกรัมในคุณแม่บางราย แหล่งไอโอดีนที่ดีได้แก่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน