backup og meta

วาลซาร์แทน (Valsartan)

วาลซาร์แทน (Valsartan)

วาลซาร์แทน (Valsartan) ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ยานี้ยังใช้เพื่อรักษาโรคหัวใจล้มเหลว (หัวใจอ่อนแรง) และเพื่อการทำงานของหัวใจหลังจากเกิดหัวใจวาย

ข้อบ่งใช้

วาลซาร์แทน ใช้สำหรับ

วาลซาร์แทน (Valsartan) ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ยานี้ยังใช้เพื่อรักษาโรคหัวใจล้มเหลวอีกด้วย (หัวใจอ่อนแรง)

ยาวาลซาร์แทน ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของหัวใจหลังจากเกิดหัวใจวาย นอกจากนี้ ยานี้ยังอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นได้อีกด้วย โปรดปรึกษากับแพทย์

วิธีการใช้ ยาวาลซาร์แทน

  • ใช้ยานี้ตามที่แพทย์กำหนด ควรอ่านข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับและทำตามแนวทางการใช้ยาทั้งหมดอย่างใกล้ชิด
  • รับประทานยาพร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหาก
  • ควรรับประทานยานี้ในเวลาเดียวกันทุกวัน
  • ควรดื่มน้ำที่ไม่มีคาเฟอีนให้มาก เว้นเสียแต่ว่าแพทย์จะสั่งให้ดื่มน้อยลง
  • เพื่อให้ได้ประโยชน์จากยามากที่สุด ไม่ควรข้ามมื้อยา
  • ใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพอื่นๆ กำหนด แม้ว่าคุณจะรู้สึกเป็นปกติ

การเก็บรักษา ยาวาลซาร์แทน

ยาวาลซาร์แทน ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาวาลซาร์แทนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาวาลซาร์แทนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยาวาลซาร์แทน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณมีความตั้งใจหรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาวาลซาร์แทน หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณกำลังใช้ยาที่มีส่วนผสมของอะลิสคิเรน (aliskiren) และคุณก็กำลังเป็นโรคเบาหวานหรือมีปัญหาเกี่ยวกับไต โปรดติดต่อแพทย์หรือเภสัชกรหากคุณไม่แน่ใจว่ายาที่คุณกำลังใช้มีส่วนผสมของอะลิสคิเรนหรือไม่
  • หากคุณกำลังให้นมบุตร หรือมีแผนที่จะให้นมบุตร
  • หากลูกของคุณเป็นโรคไต
  • หากลูกของคุณอายุน้อยกว่า 6 ปี อย่าให้ยานี้ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี

โปรดแจ้งให้ผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพทั้งหมดของคุณทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทันตแพทย์

ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ และทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องการความตื่นตัว จนกว่าคุณจะทราบว่า ยานี้ส่งผลกระทบต่อคุณอย่างไร

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการวิงเวียนหรือหมดสติ ควรค่อยๆ ลุกขึ้นหากคุณกำลังนั่งหรือนอนอยู่ ควรระมัดระวังเวลาขึ้นและลงบันได

อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ กว่าจะได้ผลจากยาเต็มที่

ควรทำการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ โปรดปรึกษากับแพทย์

ควรทำการตรวจการทำงานของเลือดตามที่แพทย์สั่ง โปรดปรึกษากับแพทย์

หากคุณกำลังใช้สารทดแทนเกลือที่มีโพแทสเซียม หรือยาขับปัสสาวะกลุ่ม potassium-sparing โปรดปรึกษากับแพทย์

หากคุณกำลังรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำหรือไม่มีเกลือ โปรดปรึกษากับแพทย์

โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนดื่มสุรา

ควรระมัดระวังอากาศร้อน หรือกำลังทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ควรดื่มน้ำให้มากเพื่อหยุดยั้งการสูญเสียน้ำ

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีเหงื่อออกมากเกินไป สูญเสียน้ำ อาเจียน หรือท้องร่วง อาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตต่ำได้

หากคุณกำลังใช้ยานี้และกำลังมีความดันโลหิตสูง โปรดปรึกษากับแพทย์ ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อได้เอง ที่อาจจะเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ ยาเหล่านี้มีทั้งยาแก้ไอหรือแก้หวัด ยาลดความอ้วน ยากระตุ้น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน และผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติหรือยาช่วยชีวิต (aids)

หากคุณกำลังใช้ยาลิเทียม (lithium) โปรดปรึกษากับแพทย์ คุณอาจจะต้องทำการตรวจการทำงานของเลือดอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ขณะที่กำลังใช้ยานี้

ยานี้อาจจะได้ผลไม่ดีมากนัก ในผู้ป่วยที่เป็นคนผิวสี โปรดปรึกษากับแพทย์

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาวาลซาร์แทน จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ ยาวาลซาร์แทน

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หรือรับการรักษาใยทันที หากเกิดสัญญาณหรืออาการ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงที่ร้ายแรงดังต่อไปนี้

  • สัญญาณของอาการแพ้ เช่น ผดผื่น ลมพิษ คัน รอยแดง บวม แผลพุพอง หรือผิวลอกโดยมีหรือไม่มีไข้ หายใจมีเสียงหวีด แน่นหน้าอกหรือลำคอ หายใจติดขัด เสียงแหบผิดปกติ หรือมีอาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลำคอ
  • สัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น ไม่สามารถปัสสาวะได้ ปริมาณของปัสสาวะเปลี่ยนแปลง มีเลือดในปัสสาวะ หรือน้ำหนักขึ้นอย่างมาก
  • สัญญาณของระดับโพแทสเซียมสูง เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ มีความเปลี่ยนแปลงในการคิดอย่างชัดเจนและการคิดอย่างมีตรรกะ รู้สึกอ่อนแรง หน้ามืด หรือวิงเวียน รู้สึกเหมือนจะหมดสติ เหน็บชา หรือหายใจไม่อิ่ม
  • วิงเวียนอย่างรุนแรงหรือหมดสติ
  • อาการบวมที่เท้าหรือมือ
  • ค่าสายตาเปลี่ยน
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ปวดท้อง
  • ปวดหลัง
  • ท้องร่วง
  • รู้สึกเหนื่อยล้าหรืออ่อนแรง
  • ปวดหัว
  • มีสัญญาณคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาวาลซาร์แทน อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาวาลซาร์แทน อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาวาลซาร์แทน อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาวาลซาร์แทนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหัวใจล้มเหลว 

ขนาดยาเริ่มต้น 40 มก. วันละสองครั้ง

ขนาดยาปกติ 80 ถึง 160 มก. วันละสองครั้ง ควรเพิ่มขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดยาสูงสุดที่ผู้ป่วยสามารถทนได้

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง 

ขนาดยาเริ่มต้น 80 ถึง 160 มก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาปกติ 80 ถึง 320 มก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction)

ขนาดยาเริ่มต้น 20 มก. วันละ 2 ครั้ง

ขนาดยาปกติ ควรปรับขนาดยาเริ่มต้นเพิ่มขึ้นภายใน 7 วันไปที่ขนาดยา 40 มก. วันละ 2 ครั้ง โดยปรับขนาดยาครั้งต่อไปมาที่ขนาดยาปกติตามเป้าหมายที่ขนาด 160 มก. วันละ 2 ครั้ง เท่าที่ผู้ป่วยสามารถทนได้หากเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือโรคไตวาย ควรพิจารณาลดขนาดยา

ขนาดยาวาลซาร์แทนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง

อายุ 6 ถึง 16 ปี

ขนาดยาเริ่มต้น 1.3 มก./กก. วันละครั้ง (จนถึง 40 มก.)

ขนาดยาปกติ จนถึง 2.7 มก./กก. (จนถึง 160 มก.) วันละครั้ง ปรับขนาดยาโดยขึ้นกับการตอบสนองของผู้ป่วย

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด
  • ยาแคปซูล

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Valsartan. https://www.drugs.com/dosage/valsartan.html. Accessed November 23, 2017

Valsartan. https://www.medicinenet.com/valsartan/article.htm. Accessed November 23, 2017

Valsartan
https://www.drugbank.ca/drugs/DB00177
Accessed 24 October 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เช็กกันหน่อยไหม ใครมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง?

เคล็ดลับการกำหนดอาหารสำหรับ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา