ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

Stroke คือ อะไร อาการ สาเหตุและการรักษา

Stroke คือ โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นเมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนเพื่อส่งออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงสมองได้อย่างเป็นปกติ ส่งผลให้เซลล์สมองตายและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น โรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจส่งผลต่อชีวิตและความพิการในระยะยาว [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ Stroke คือ อะไร Stroke คือ คือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงสมองได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากหลอดเลือดมีความผิดปกติที่ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกเท่าที่ควร ทำให้เนื้อเยื่อสมองไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหาร จนเซลล์สมองเริ่มตายลงภายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีและอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ อาการ อาการของ Stroke คือ ควรสังเกตอาการต่อไปนี้ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง มีปัญหาในการพูด อาจรู้สึกสับสน พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการทำความเข้าใจคำพูด เป็นอัมพาตหรือชาที่ใบหน้า แขนหรือขา ซึ่งเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน มักส่งผลต่อร่างกายเพียงด้านเดียว ปัญหาในการมองเห็นในตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง โดยอาจมีการมองเห็นที่พร่ามัวอย่างฉับพลัน ปวดศีรษะ โดยอาการปวดศีรษะรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และอาจมีอาการอาเจียน วิงเวียนศีรษะ สับสน มึนงงร่วมด้วย ปัญหาในการเดิน อาจรู้สึกสูญเสียการทรงตัว และอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะกะทันหันหรือสูญเสียการประสานงานของร่างกาย นอกจากนี้ หากพบอาการต่อไปนี้ควรเข้าพบคุณหมอทันที ใบหน้าไม่เท่ากัน โดยหากกำลังยิ้มแล้วใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งหย่อนลง หรือตาปิดลงเองไม่สามารถควบคุมได้ หากยกแขนขึ้นทั้ง 2 ข้างแล้วแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่สามารถยกขึ้นได้ ในขณะพูดไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ แต่พูดได้เพียงเป็นคำ ๆ หรือไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ สาเหตุ สาเหตุของ Stroke คือ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองอาจมีด้วยกัน 2 สาเหตุ คือ ภาวะหลอดเลือดสมองแตก […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ไมเกรน อาการ การรักษาและการป้องกัน

ไมเกรน อาการ อาจสังเกตได้จากอาการปวดศีรษะข้างเดียว ที่อาจรู้สึกเหมือนมีอะไรเต้นตุบ ๆ อยู่ด้านในศีรษะ และอาจมีอาการปวดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนรบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงควรศึกษาวิธีรักษาและการป้องกันอาการไมเกรน หรือเข้าพบคุณหมอหากสังเกตว่าไมเกรนมีอาการรุนแรงมากผิดปกติเพื่อหาวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ไมเกรน คืออะไร ไมเกรน คือ อาการปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่งหรืออาจเป็นทั้ง 2 ด้าน ในระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง และอาจมีอาการนานกว่า 1 ชั่วโมง ซึ่งรบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน สาเหตุของไมเกรนยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความไม่สมดุลของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่มีบทบาทในการควบคุมการทำงานของสมองและระบบประสาท และช่วยควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด หากระดับเซโรโทนินเพิ่มมากเกินไปอาจทำให้หลอดเลือดหดตัว และส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองได้น้อยลง และเมื่อระดับเซโรโทนินต่ำลงก็อาจทำให้หลอดเลือดขยายและกดทับบริเวณปลายประสาท นำไปสู่อาการไมเกรน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้ไมเกรน มีอาการกำเริบ ดังนี้ ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง โดยเฉพาะในช่วงก่อนเป็นประจำเดือน ระหว่างเป็นประจำเดือน วัยหมดประจำเดือน และตั้งครรภ์ ความเครียดและการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การออกกำลังกายหนักเกินไป ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาขยายหลอดเลือด ไมเกรน อาการ มีอะไรบ้าง ไมเกรน อาการอาจแบ่งออกเป็น 4 […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

Ischemic Stroke (ภาวะหลอดเลือดตีบตัน) คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Ischemic Stroke คือ ภาวะหลอดเลือดตีบตัน เป็นหนึ่งในโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ในสมอง โดยอาจสังเกตได้จากอาการปวดหัวรุนแรง สูญเสียการทรงตัวและสื่อสารลำบาก หากปล่อยไว้เวลานานอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ Ischemic Stroke คืออะไร Ischemic Stroke คือ โรคหลอดเลือดสมองชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน ซึ่งอาจพบได้มากกว่า 80% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด โดยอาจเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ในสมอง ทำให้สมองขาดเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้เซลล์ในสมองได้รับความเสียหายและการทำงานของสมองบกพร่อง หากไม่เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วอาจส่งผลให้เซลล์ในสมองตาย เสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ สาเหตุของ Ischemic Stroke คืออะไร สาเหตุของ Ischemic Stroke คือ การสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง ที่ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด หรือทำให้หลอดเลือดแคบลง ซึ่งอาจส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองได้น้อยลง ทำให้สมองได้รับเลือดไม่เพียงพอ จนเซลล์ในสมองตาย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว โรคลิ้นหัวใจ หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดและโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะอาจทำให้มีไขมันสะสมในหลอดเลือดมาก […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัว สาเหตุ การรักษา และวิธีป้องกัน

ปวดหัว หรือปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การใช้สายตามากเกินไป รวมถึงเป็นหนึ่งในอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคหวัด โรคโควิด-19 โรคไซนัสอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การรักษา ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น ควรไปพบคุณหมอหากปวดหัวหลายวันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ปวดหัว คืออะไร ปวดหัว เป็นอาการที่แสดงถึงภาวะสุขภาพของร่างกายที่ไม่ปกติ นับตั้งแต่บริเวณกล้ามเนื้อคอจนถึงกลางกระหม่อม รวมทั้งบริเวณหน้าผาก ขมับ ท้ายทอย เบ้าตา โดยอาการปวดหัวมักมีทั้งปวดแบบคงที่ ปวดหัวรุนแรง ปวดข้างใดข้างหนึ่ง ปวดตุบ ๆ ทั้งนี้ อาการปวดหัวมีหลายรูปแบบ ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headaches) เป็นอาการปวดหัวที่พบได้ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ มีสาเหตุมาจากความเครียด โดยอาการมักพบบริเวณท้ายทอย และอาจปวดร้าวไปถึงขมับทั้ง 2 ข้างหรือปวดทั่วศีรษะ ปวดหัวไมเกรน (Migraine Headaches) เป็นอาการปวดหัวที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี เส้นประสาท และหลอดเลือดในสมอง ปกติแล้ว ปวดหัวไมเกรนมักเกิดขึ้นกับหัวซีกใดซีกหนึ่ง และอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ภาวะสมองเสื่อมหรือ Dementia คืออะไร และป้องกันได้อย่างไร

ภาวะสมองเสื่อม หรือ Dementia คือ กลุ่มอาการที่ส่งผลต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ เช่น การรับรู้ การคิด การจดจำ ผู้ที่มีภาวะนี้อาจมีอาการ เช่น นึกคำพูดไม่ออก สูญเสียความทรงจำ วิตกกังวล ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลกชี้ว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมากกว่า 55 ล้านคนทั่วโลก และจำนวนผู้ป่วยอาจเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งอย่างไรก็ตาม การศึกษาวิธีป้องกันภาวะสมองเสื่อมอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้  Dementia คือ อะไร Dementia คือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของเปลือกสมองซึ่งเป็นส่วนนอกสุดของสมอง หรือเกิดจากประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อย ๆ เสื่อมลง จนส่งผลต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ (Cognitive functioning) เช่น การรับรู้ การคิด การจดจำ การใช้เหตุผล จนบางครั้งอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมบางคนอาจควบคุมอารมณ์ไม่ได้ และบุคลิกภาพอาจเปลี่ยนไป ภาวะนี้มีตั้งแต่ระยะไม่รุนแรงจนถึงระยะรุนแรงที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น  อาการของ Dementia หรือภาวะสมองเสื่อม อาการของ dementia อาจจำแนกประเภทได้ดังนี้  การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา  สับสน  ลืมง่าย แม้สถานการณ์เพิ่งผ่านไปไม่นาน  มีปัญหาด้านการสื่อสาร  มีปัญหาด้านการแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล  […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

อาการไมเกรน การรักษาและป้องกัน

อาการไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะรุนแรง มักเกิดขึ้นบริเวณศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง หรือบางคนอาจมีอาการปวดทั่วทั้งศีรษะ และมักมาพร้อมกับอาการปวดเบ้าตา คลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกไวต่อแสง เสียง และกลิ่น ไมเกรนอาจมีอาการเกิดขึ้นยาวนานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน จนอาจกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ไมเกรน คืออะไร ไมเกรน คือ อาการปวดศีรษะรุนแรง มักเกิดขึ้นบริเวณศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจมีอาการปวดทั่วศีรษะ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยบางประการอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไมเกรนได้ เช่น ความเครียด พันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (เช่น สภาพอากาศร้อน) อาหารที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาขยายหลอดเลือดที่อาจกระตุ้นอาการไมเกรน เช่น ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) ไมเกรนอาจมีอาการเตือนอื่น ๆ เกิดขึ้นก่อนปวดศีรษะ เช่น หน้ามืด รู้สึกเสียวแปล๊บที่ใบหน้า แขน หรือขาข้างใดข้างหนึ่ง มีปัญหาในการพูด แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจไม่มีอาการเตือนใด ๆ เกิดขึ้น อาการไมเกรน ที่พบบ่อย อาการไมเกรนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาจแบ่งได้เป็น 4 ระยะ แต่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องมีอาการทุกระยะ ดังนี้ 1. ระยะอาการบอกเหตุ (Prodrome) บางคนอาจมีอาการบอกเหตุก่อนเป็นไมเกรนประมาณ 1-2 วัน หรือมากกว่านั้น […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัวข้างขวา สาเหตุ อาการ และการรักษา

ปวดหัวข้างขวา มีหลายสาเหตุ อาจเกิดจากปัญหาทางระบบประสาท ผลข้างเคียงของยา การใช้ยาเกินขนาด ความเหนื่อยล้า เนื้องอก โรคภูมิแพ้ บาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ และปวดหัวจากความเครียด อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวา และอาจมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น ตาพร่า คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออกบนใบหน้า ผิวซีด [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ปวดหัวข้างขวา คืออะไร ปวดหัวข้างขวา คือ อาการปวดหัวเพียงข้างเดียว อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาทางระบบประสาท กรรมพันธุ์ การใช้ยาบางชนิด ผลข้างเคียงของยา การใช้ยาเกินขนาด ความเครียด ความเหนื่อยล้า การบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื้องอก สภาพอากาศ เป็นต้น และอาจมีโรคปวดหัวที่มักทำให้ปวดหัวข้างขวา คือ ไมเกรน ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ และปวดหัวจากความเครียด ซึ่งอาจมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ อาการมึนตื้อ ๆ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อไหล่และคอตึง เป็นต้น อาการ อาการปวดหัวข้างขวา สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดหัวข้างขวาอาจเกิดจากไมเกรนและอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster headaches) หรือในบางกรณีความเครียดก็อาจทำให้มีอาการปวดหัวข้างเดียวได้เช่นกัน อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster headaches) อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์เป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างยาก มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัวข้างซ้าย สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือ

ปวดหัวข้างซ้าย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากโรคปวดศีรษะโดยตรง เช่น โรคไมเกรน หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ เนื้องอกในสมอง หากมีอาการบ่อยครั้ง ควรเข้ารับการตรวจโดยคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของอาการปวดหัวข้างซ้าย หาวิธีรักษาหรือวิธีการรับมือได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพโดยรวม [embed-health-tool-bmi] ปวดหัวข้างซ้าย คืออะไร ปวดหัวข้างซ้าย เป็นภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อย อาจเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อตึงตัว หรือหลอดเลือดในสมองขยายหรือพองตัว หรือในบางกรณี อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมอง การส่งกระแสประสาทที่ผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้ชีวิตบางประการ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายได้เช่นกัน สาเหตุของอาการปวดหัวข้างซ้าย ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายได้ มีดังต่อไปนี้ โรคปวดศีรษะ เช่น โรคไมเกรน อาการปวดที่พบมักอยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง เริ่มเกิดขึ้นที่บริเวณรอบดวงตาหรือขมับ โดยอาการอาจลามไปทั้งข้างซ้ายและข้างขวา หรืออาจมีอาการปวดหัวข้างเดียวก็ได้ นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน การมองเห็นเปลี่ยนแปลง วิงเวียนศีรษะ ไวต่อแสง เสียง สัมผัส หรือกลิ่นมากเป็นพิเศษ หน้า หรือแขนขาชา หรือปวดหัวข้างซ้ายเหมือนเข็มทิ่ม โรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache) โรคนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายหรือข้างขวาอย่างรุนแรง รู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณรอบดวงตา อาการมักเกิดในตอนกลางคืน โดยเฉพาะหลังนอนหลับได้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดรุนแรงประมาณ […]


ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท

ระบบประสาท มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหว ความคิด ความรู้สึก การพูด การหายใจ โดยเชื่อมกับการทำงานของสมองและไขสันหลัง ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ระบบประสาทเสื่อม และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ลดระดับความเครียด และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท [embed-health-tool-heart-rate] ระบบประสาท คืออะไร ระบบประสาท เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเส้นประสาทและเซลล์จำนวนมาก ทำงานร่วมกับสมองและไขสันหลัง เพื่อช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System : CNS) ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ในการรับรู้ ประมวลผล และสั่งการ อวัยวะ 2 ส่วนนี้จะทำงานร่วมกัน โดยไขสันหลังเป็นทางผ่านที่ช่วยถ่ายทอดกระแสประสาทหรือข้อมูลจากสมองไปร่างกายและจากร่างกายกลับมายังสมอง สมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ สมองส่วนหน้า เป็นสมองส่วนที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุด ประกอบด้วยซีรีบรัม (Cerebrum) หรือที่เรียกว่าสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาที่เชื่อมต่อกัน โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าซีรีบรัมแต่ละซีกมีหน้าที่แตกต่างกัน ซีรีบรัมด้านซ้ายควมคุมการคิด การวิเคราะห์ ตรรกะ เป็นต้น ส่วนซีรีบรัมด้านขวาควบคุมความคิดสร้างสรรค์ สัญชาตญาณ เป็นต้น […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ไมเกรนสับสน (Confusional Migraine) ที่ส่งผลให้ปวดหัวจนเบลอได้

Confusional Migraine เป็นไมเกรนชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสับสน เบลอ คิดอะไรไม่ออก สำหรับบางคนที่มีอาการหนักมาก ๆ ถึงขั้น ไม่รู้ตัว ไมเกรนชนิดนี้จะเป็นชนิดที่หาได้ยาก ส่วนใหญ่พบได้ในเด็กเท่านั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ไมเกรนสับสน มาให้ได้อ่านกันค่ะ ไมเกรนสับสน (Confusional Migraine) คืออะไร Confusional Migraine หรือที่เรียกว่า “ไมเกรนสับสน” ไมเกรนสับสนเฉียบพลัน (Acute Confusional Migraine หรือ ACM) เป็นไมเกรนชนิดที่หาได้ยาก ส่วนใหญ่แล้วพบได้ในเด็กและวัยรุ่น โดยเด็กร้อยละ 10 ที่มีอาการไมเกรน ภายในกลุ่มนี้จะมีเด็กที่เป็นไมเกรนสับสนน้อยกว่าร้อยละ 8 สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไมเกรนสับสนมักจะมีอาการกระวนกระวายใจ สับสน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ Confusional Migraine นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สาเหตุหนึ่งที่อาจเป็นไปได้คือ ศีรษะได้รับการกระแทก จากรายงานพบว่า ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งที่มีอาการ Confusional Migraine มีสาเหตุมาจากศีรษะได้รับการกระแทก นอกจากนี้ ความเครียดทางอารมณ์และการอออกกำลังกายอย่างหนักยังเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดไมเกรนสับสนได้อีกด้วย อาการของไมเกรนสับสน Confusional Migraine ถูกตั้งชื่อจากอาการหลักที่เกิดขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน