backup og meta

คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน แสนปวดหัว จะหยุดคิดอย่างไรให้ถูกวิธี

คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน แสนปวดหัว จะหยุดคิดอย่างไรให้ถูกวิธี

ความจริงแล้วภาวะซึมเศร้า สามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ วิตกกังวล รวมไปถึงการ คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน แล้วเมื่อเกิดความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันขึ้นมา คุณจะมีวิธีการจัดการกับความคิดนั้นได้อย่างไร ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน (Racing Thoughts) คืออะไร

การคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน มักจะเป็นรูปแบบของการคิดซ้ำซาก โดยอาจจะมุ่งเน้นไปที่หัวข้อเดียวหรืออาจจะรวมถึงแนวคิดต่าง ๆ ซึ่งเรื่องส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดความคิดหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน ได้แก่ ปัญหาทางการเงิน ช่วงเวลาที่น่าอับอาย หรือความหวาดกลัวต่าง ๆ ซึ่งความคิดที่เกิดขึ้นมันอาจจะบานปลายได้

นอกจากนั้นการ คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน สามารถเพิ่มความกังวล ความรู้สึกไม่สบายใจ และอาจทำลายสมาธิของคุณได้ เมื่อคุณมีความคิดที่ไล่เลี่ยกันเกิดขึ้น คุณอาจจะรู้สึกว่า

  • จิตใจของคุณก้าวไป 1 ไมล์ต่อนาที
  • คุณไม่สามารถชะลอความคิดของตัวเองได้
  • จิตใจของคุณไม่สามารถสงบได้ และคุณไม่สามารถผ่อนคลายได้เต็มที่ การพยายามมุ่งเน้นไปที่สิ่งอื่นถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
  • คุณมักคิดเกี่ยวกับปัญหาที่จบไปแล้ว
  • คุณเริ่มคิดถึงเรื่องในแง่ลบ หรือคิดถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด

คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณพยายามที่จะนอนหลับ เพราะคุณไม่สามารถทำให้ความคิดของคุณช้าลงได้ในตอนกลางคืน

สาเหตุที่ทำให้คุณ คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน

คิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน เป็นอาการที่อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งสามารถพบได้บ่อยที่สุดในความวิตกกังวล แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันได้ ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ อาจมีได้ดังนี้

ความวิตกกังวล

ความวิตกกังวลเป็นสาเหตุของความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน ในขณะเดียวกันความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันเป็นเรื่องปกติมากที่จะทำให้คุณเกิดความวิตกกังวล ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งการคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันอาจเกิดขึ้นจากความวิตกกังวล หรือคุณอาจจะมีความวิตกกังวลก่อนที่จะเกิดความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็ได้เช่นกัน

โรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) มีลักษณะเฉพาะ คือ รูปแบบของการไม่ตั้งใจหรือสมาธิสั้น บางคนอาจจะอธิบายถึงความไม่ตั้งใจของพวกเขาว่า เป็นความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพวกเขาจมอยู่กับสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งสิ่งที่พบได้บ่อยในเด็กสมาธิสั้น คือ ความคิดที่หลงทาง แม้คุณจะพยายามทำให้พวกเขามุ่งเน้นไปยังความคิดในเรื่องเดียวแล้วก็ตาม

โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive compulsive disorder หรือ OCD) เป็นภาวะสุขภาพจิตที่คุณมีอาการหลงใหล หรือถูกบีบบังคับจนยากที่จะตั้งสติได้ ความหลงใหลเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยคุณจะไม่สามารถหยุดสิ่งที่รู้สึกได้ ซึ่งเหมือนกับคุณกำลังใช้ความคิดไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง คุณอาจจะมีแรงกดดันที่ช่วยบรรเทาความคิดลงได้ เช่น การล้างมือหลาย ๆ ครั้ง เพื่อหยุดยั้งความคิดที่เกิดจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเชื้อโรค

โรคไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์ หรือโรคสองขั้ว เป็นโรคทางอารมณ์ โดยที่อารมณ์ของคุณจะพุ่งสูงขึ้นไปสู่ความคิดที่ฟุ้งซ่าน และอาจดิ่งลงสู่ภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง ซึ่งความคิดในหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่อารมณ์ของคุณกำลังฟุ้งซ่านนั่นเอง

ภาวะซึมเศร้าแบบกระวนกระวาย กระสับกระส่าย

ภาวะซึมเศร้าแบบกระวนกระวาย กระสับกระส่าย (Agitated Depression) เป็นภาวะซึมเศร้าชนิดย่อยที่รุนแรง ลักาณะเด่นของภาวะซึมเศร้าแบบกระวนกระวาย กระสับกระส่าย คือ คุณจะรู้สึกกระสับกระส่ายแทนที่จะเซื่องซึม ซึ่งเป็นอาการที่มักจะเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าส่วนใหญ่  คุณอาจรู้สึกกระสับกระส่าย โกรธ และตอบสนองอย่างรวดเร็ว โดยความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันมีแนวโน้วที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าแบบตื่นเต้นมากกว่าภาวะซึมเศร้าประเภทอื่น ๆ

ผลข้างเคียงของยา

บางครั้งยารักษาอาจทำให้เกิดอาการบางอย่างได้ อยากตัวอย่างเช่น ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือโรคไบโพลาร์ บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้า และอาจทำให้เกิดความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน หากคุณเริ่มใช้ยาใหม่ และเริ่มมีความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน ขอให้รีบโทรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่คุณหมอจะได้เปลี่ยนยาให้ใหม่หรือปรับขนาดยาให้โดยเร็ว

หยุดการคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน ด้วยตนเอง

หากคุณต้องการที่จะหยุดการคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน คุณสามารถจัดการและป้องกันความคิดที่เกี่ยวกับการคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันด้วยตัวคุณเอง ได้ด้วยวิธีดังนี้

มุ่งเน้นไปที่การหายใจ

หายใจเข้าลึก ๆ หลาย ๆ ครั้งอย่างระมัดระวัง และจดจ่อกับการนับลมหายใจเข้าและหายใจออก สิ่งนี้สามารถบังคับให้จิตใจของคุณจดจ่อกับสิ่งอื่นนอกเหนือจากความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน นอกจากนี้ยังสามารถส่งผลทำให้ระบบประสาทส่วนกลางของคุณสงบลง ซึ่งสามารถลดความวิตกกังวลได้

ใช้การควบคุมจิต ด้วยการเปล่งถ้อยคำ หรือกลุ่มคำที่ทรงพลังต่อจิตใจ

คุณสามารถใช้การควบคุมจิต ด้วยการเปล่งถ้อยคำ หรือกลุ่มคำที่ทรงพลังต่อจิตใจ (Mantra) เมื่อจำเป็น เพื่อกำจัดความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน แม้เพียงแค่คำ ๆ เดียว อย่าง “ทุกอย่างจะดีขึ้น” ก็มีประสิทธิภาพมากเช่นกัน

ขจัดความเครียดก่อนนอน

หากความคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกันของคุณมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ขณะที่คุณพยายามนอน ให้ลองปรับเปลี่ยนกิจวัตรก่อนนอน เพื่อที่คุณจะได้ผ่อนคลายและนอนหลับอย่างสงบ พยายามขจัดความเครียดอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนนอน โดยคุณสามารถนั่งสมาธิ ฝึกโยคะเบา ๆ อ่านหนังสือผ่อนคลาย หรืออาบน้ำ พยายามหลีกเลี่ยงจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือและหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งหมด กระตุ้นกิจกรรมทางจิตให้มากขึ้นในช่วง 2 ชั่วโมงก่อนนอน

หากคุณพยายามหยุดความคิดหลายเรื่องในเวลาเดียวกันด้วยตัวเองแล้วแต่ไม่สำเร็จ การไปพบกับคุณหมอเพื่อปรึกษาและเข้ารับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Racing Thoughts: What to Do When Your Mind Is Racing. https://www.healthline.com/health/racing-thoughts. Accessed October 26, 2020

Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder. https://www.nimh.nih.gov/health/topics/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd/index.shtml. Accessed October 26, 2020

How to Stop Racing Thoughts From Anxiety. https://www.calmclinic.com/anxiety/symptoms/racing-thoughts. Accessed October 26, 2020

Racing Thoughts – Anxiety Symptoms. https://www.anxietycentre.com/anxiety-symptoms/racing-thoughts-anxiety.shtml. Accessed October 26, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/10/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

OCD หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ สาเหตุ อาการ การรักษา

คิดว่าตัวเองไร้ค่า เก่งไม่จริง คุณอาจเป็น โรคคิดว่าตัวเองเก่งไม่พอ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 27/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา