backup og meta

การปฐมพยาบาลจมูกหัก ดั้งแตก ควรจัดการอย่างไร

การปฐมพยาบาลจมูกหัก ดั้งแตก ควรจัดการอย่างไร

จมูก ถือเป็นกระดูกส่วนที่หักบ่อยที่สุดส่วนหนึ่ง เนื่องจาก จมูกหัก มักเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่ใบหน้า ซึ่งจะมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวด ความผิดปกติที่มองเห็นได้ อย่างเช่น จมูกมีเลือดไหล ในกรณีที่รุนแรงอาจจะทำให้เกิดการหายใจลำบาก มีรอยช้ำรอบดวงตาหรือตาดำ ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่อง การปฐมพยาบาลจมูกหัก มาฝากกันในบทความนี้

การปฐมพยาบาลจมูกหัก ควรทำอย่างไร

เมื่อจมูกหักหลายคนอาจจะเกิดอาการตกใจ จนไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นดี ก่อนจะ ปฐมพยาบาลจมูกหัก คุณควรตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป จากนั้นลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้

  • หายใจทางปาก
  • หากเป็นไปได้พยายามอย่าเคลื่อนไหว เพราะอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณคอและกระดูกสันหลังได้
  • หากคอไม่ได้เกิดการบาดเจ็บใด ๆ ให้โน้มตัวไปข้างหน้า และค่อย ๆ บีบรูจมูกเข้าหากัน วิธีนี้เป็นการช่วยห้ามเลือด และป้องกันไม่ให้เลือดไหลเข้าไปที่คอและถูกกลืนเข้าไป
  • ประคบเย็น เพื่อช่วยควบคุมอาการปวดและบวม
  • ทานยาอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) เพื่อควบคุมความเจ็บปวด โดยแพทย์อาจจะมีการสั่งจ่ายยาที่แรงกว่านี้ ดังนั้น จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณได้ทานยาแก้ปวดก่อนที่จะมาโรงพยาบาล

จมูกหัก แบบไหนถึงจะเป็นภาวะฉุกเฉิน

นอกจาการ ปฐมพยาบาลจมูกหัก ที่คุณทำได้เบื้องต้นแล้ว เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองจมูกหัก หรือเกิดความสงสัยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น การไปหาคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง สำหรับจมูกหักที่ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ได้แก่

  • ไม่สามารถควบคุมเลือดที่ไหลออกมาได้
  • หายใจลำบาก
  • สงสัยว่าได้รับการบาดเจ็บสาหัสบริเวณอื่น ๆ โดยเฉพาะการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง หรือคอ
  • มีของเหลวใสไหลออกมาทางจมูกในปริมาณที่มากผิดปกติ
  • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ปรากฏให้เห็น
  • เนื้อเยื่อจมูกเปลี่ยนเป็นสีดำ

การวินิจฉัยเมื่อจมูกหัก

อาจจเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจหากจะกล่าวว่า การเอ็กซเรย์นั้นไม่ได้มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาจมูกหัก โดยทั่วไปการวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับลักษณะของจมูก รวมถึงคุณมีปัญหาในการหายใจหรือไม่ การเอ็กซเรย์หรือการใช้ CT สแกนในบางครั้งทำเพื่อดูว่าศีรษะหรือคอมีการแตกหักหรือไม่ นอกจากนั้นยังอาจขึ้นอยู่กับการบาดเจ็บอื่น ๆ

เมื่อจมูกหักควรเลือกรักษาอย่างไรดี

จมูกหักจะได้รับการรักษาก็ต่อเมื่อมีความผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือการแตกหักของจมูกรบกวนการหายใจ หากจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจมูกที่หักจะมีวิธีการรักษา 2 แบบด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะทางสุขภาพที่เกิดขึ้น

  1. กรณีหากกระดูกยังสามารถประสานได้เอง แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ จากนั้นจะทำการจัดกระดูกให้เข้าที่ พร้อมทั้งยึดจมูกที่หักเอาไว้ด้วยเฝือก (Cast) ประมาณ 1 สัปดาห์
  2. กรณีที่จมูกหักแล้วมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงบางอย่าง เช่น ภาวะเลือดคั่งที่ผนังกั้นจมูก (Septal hematoma) ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากได้รับบาดเจ็บ ถ้าไม่ได้รับการระบายออกอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อตายและทำให้จมูกยุบได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อจัดกระดูกใหม่ หรือจัดการกับผนังกั้นช่องจมูกที่คด (Deviated septum)

บางครั้งอาการจมูกหักที่เกิดขึ้นอาจจะไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลาให้กระดูกกลับมาประสานกัน แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำกิจกรรมเบา ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณใบหน้าเป็นเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อรอให้จมูกหายดีเสียก่อน ในช่วงเวลานี้คุณจำเป็นจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้จมูกไปกระแทกเข้ากับอะไรอีก

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

First Aid and Treatment for Broken Noses. https://www.verywellhealth.com/treating-broken-noses-1192047. Accessed December 01, 2020

Nasal Fractures. https://www.enthealth.org/conditions/nasal-fractures/. Accessed December 01, 2020

Nose fracture. https://medlineplus.gov/ency/article/000061.htm. Accessed December 01, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/12/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผ้าพันแผล ยืดหยุ่น และวิธีการใช้อย่างถูกต้องในการปฐมพยาบาล

แมงมุมกัด แบบไม่รู้ตัว จะสังเกตอาการและปฐมพยาบาลอย่างไรดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา