ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

นอกเหนือจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ และตับ ยังมี ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น อีกมากที่เราควรให้ความสนใจดูแล เพื่อช่วยรักษาสุขภาพของร่างกายเราให้แข็งแรง ห่างไกลโรคภัย และช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

เจ็บท้องข้างซ้าย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

เจ็บท้องข้างซ้าย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาหารไม่ย่อย ไส้เลื่อน งูสวัด หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากอาการรุนแรงขึ้น หรือเกิดร่วมกับอาการอื่น เช่น เลือดออกปนมากับปัสสาวะหรืออุจจาระ ควรไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] เจ็บท้องข้างซ้าย มีสาเหตุจากอะไร เจ็บท้องข้างซ้าย เป็นอาการป่วยที่พบได้ทั่วไปและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ ถุงผนังลำไส้อักเสบ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเจ็บท้องข้างซ้าย โดยเกิดจากการฉีกขาดหรือติดเชื้อของถุงผนังลำไส้ โดยจะมีอาการเจ็บท้องเป็นเวลาหลายวัน ร่วมกับมีไข้ ท้องผูก และคลื่นไส้ ทั้งนี้ ถุงผนังลำไส้อักเสบในระดับไม่รุนแรงอาจหายเองได้หากพักผ่อนและรับประทานยาปฏิชีวนะ อาหารไม่ย่อย มักเกิดขึ้นหลังมื้ออาหาร และจะหายไปเองภายใน 2-3 ชั่วโมง มักเกิดบริเวณหน้าท้องส่วนบน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ท้องอืด มีลมในท้อง เสียดท้อง ไส้เลื่อน หมายถึง การที่อวัยวะในช่องท้อง เช่น ลำไส้ ยื่นออกนอกช่องท้อง ทำให้มีก้อนบวมบริเวณหน้าท้องหรือขาหนีบ รวมถึงรู้สึกเจ็บรุนแรงในบริเวณดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ งูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอีสุกอีใส เมื่อเป็นโรคงูสวัด จะพบผื่นและตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกาย และในบางรายอาจมีอาการ เจ็บท้องข้างซ้ายร่วมด้วย […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ภาวะไขมันพอกตับ กับอาหารที่ควรกินเพื่อเยียวยาอาการนี้

การเลือกรับประทานอาหาร ถือเป็นหนึ่งในวิธีการรักษา ภาวะไขมันพอกตับ ที่ได้รับการแนะนำลำดับต้นๆ วิธีการง่ายๆ ก็คือ ในอาหารแต่ละมื้อของผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ ควรประกอบด้วย ผักและผลไม้ปริมาณที่มีกากใยสูง เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชต่างๆ และควรมีน้ำตาล เกลือ ไขมันทรานส์ คาร์โบไฮเดรตขัดสี ไขมันอิ่มตัวในปริมาณต่ำ ที่สำคัญ ไม่ควรมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อาหารที่เหมาะสำหรับ ผู้ที่มี ภาวะไขมันพอกตับ มีดังนี้ กาแฟ จากผลการวิจัยพบว่า ตับของผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับที่ดื่มกาแฟได้รับความเสียหายน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ ทั้งนี้ เชื่อว่าคาเฟอีนทำให้การผลิตเอนไซม์ที่ผิดปกติในตับลดน้อยลง ผักใบเขียว การศึกษาในสัตว์ทดลองให้การรับรองว่า บร็อคโคลี่สามารถช่วยป้องกันภาวะไขมันพอกตับได้ ผักใบเขียวชนิดอื่น เช่น ผักโขม กะหล่ำดาว และเคลหรือคะน้าใบหยิก สามารถช่วยในการควบคุมน้ำหนักและรูปร่างได้ เต้าหู้ มหาวิทยาลัยอินลินอยส์ในสหรัฐฯ ได้ทำการศึกษาในสัตว์และพบว่า โปรตีนถั่วเหลืองที่พบได้ในเต้าหู้ ช่วยลดการสะสมของไขมันบริเวณตับ ประโยชน์ของเต้าหู้ คือ มีไขมันต่ำและมีโปรตีนสูง ปลา ปลาประเภทที่มีไขมันสูง เช่น แซลมอน ซาร์ดีน ทูน่า และเทราท์ เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชั้นดี ซึ่งกรดไขมันประเภทนี้มีคุณประโยชน์ในการต้านการอักเสบ และช่วยปรับระดับของไขมันในตับได้อีกด้วย ข้าวโอ๊ต หากคุณต้องการพลังงาน คาร์โบไฮเดรตจากธัญพืชเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ เส้นใยในธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ตทำให้คุณอิ่ม และเพิ่มพลังงาน […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

โรคตับกับอาหาร ควรรับประทานอย่างไรให้เหมาะสมกับสุขภาพ

โรคตับกับอาหาร เป็นการดูแลและควบคุมอาหารสำหรับคนที่เป็นโรคตับ เนื่องจากหากป่วยเป็นโรคตับจะไม่สามารถรับประทานได้เหมือนอย่างที่เคย จำเป็นต้องได้รับอาหารพิเศษที่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันตับเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ โรคตับมีหลายประเภท จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตนเอง [embed-health-tool-bmr] โรคตับกับอาหาร ควรเลือกรับประทานอย่างไร เนื่องจากโรคตับมีหลายอาหาร ดังนั้น หากป่วยเป็นโรคตับจึงควรทำความเข้าใจโรคและภาวะอาการของโรคตับชนิดนั้น ๆ เพื่อจะได้ดูแลตนเองและรับประทานอาหารที่เหมาะสม ท้องมานและอาการบวมน้ำ ท้องมาน (Ascites) เป็นอาการที่ช่องท้องของผู้ป่วยมีการสะสมของเหลว อาการบวมน้ำ (Edema) หมายถึง การที่ของเหลวก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อ ที่มักจะเป็นที่เท้า ขา หรือหลัง ทั้งท้องมานและอาการบวมน้ำ ทำให้เกิดการสะสมของโซเดียมที่ผิดปกติ ร่วมกับความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล (portal hypertension) และโรคตับ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ มักต้องจำกัดการบริโภคโซเดียม ผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2-3 กรัมโดยงดอาหารกระป๋อง ไส้กรอกหรือเนื้อสำเร็จรูปทั้งหลาย เครื่องเทศ และเนยแข็งบางประเภท น้ำดีคั่ง เมื่อมีภาวะน้ำดีคั่ง (Cholestasis) ตับจะไม่สามารถกำจัดน้ำดีได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจะมีภาวะอุจจาระมีไขมันมาก (steatorrhea) หรือภาวะดูดซึมไขมันบกพร่อง (fat malabsorption) อาการคือ อุจจาระมีไขมันปนและมีกลิ่นเหม็น ผู้ที่มีภาวะน้ำดีคั่งสามารถรับประทานอาหารเสริมไขมัน เพื่อเป็นตัวช่วยได้ อาหารเสริมดังกล่าว ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์สายกลาง (medium-chain triglycerides) น้ำมัน MCT oil […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

3 โรคทางเดินอาหาร ยอดฮิต ที่พบได้บ่อยในหน้าฝน

ฤดูฝนคือฤดูกาลแห่งความชุ่มชื้น ทุกสรรพสิ่งล้วนเจริญเติบโต ไม่ใช่แค่พืชพรรณ แต่ยังรวมไปถึงเหล่าแบคทีเรียด้วย แบคทีเรียคือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะ โรคทางเดินอาหาร เรามาทำความรู้จักกับโรคทางเดินอาหารในหน้าฝนให้มากขึ้นกับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันค่ะ โรคทางเดินอาหาร ที่มาพร้อมกับหน้าฝน โรคทางเดินอาหาร หรือโรคในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Disorders) คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติของระบบลำไส้ เนื่องจากได้รับเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยที่รับเชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นเข้าไปอาจเกิดอาการท้องเสีย เป็นโรคลำไส้อักเสบ ภาวะอาหารเป็นพิษ หรือเป็นไข้ไทฟอยด์ได้  ซึ่งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารเหล่านี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศชื้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และสามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ ดังนี้ 1. โรคบิด (Dysentery) โรคบิดเป็นโรคท้องร่วงชนิดหนึ่งที่เกิดจากจุลชีพ 2 ชนิด คือ อะมีบา (Amoeba) ที่ทำให้เกิดโรคบิดชนิดมีตัว และเชื้อแบคทีเรียชิเกลลา (Shigella) ที่ทำให้เกิดโรคบิดแบบไม่มีตัว โดยจุลชีพทั้งสองชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารและการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนจุลชีพพวกนี้มา อาการของโรคบิด โรคบิด ทำให้กลไกการทำงานของลำไส้ผิดปกติ ส่งผลให้ผนังลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี ทำให้มีน้ำหรืออาหารเหลวในลำไส้มาก ร่างกายจึงขับสิ่งแปลกปลอมจำนวนมากนี้ออกมาในรูปแบบของอาการท้องร่วง ผู้ป่วยโรคบิดจะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด มีความรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำ อยากจะถ่ายท้องตลอดเวลา มีไข้ และอ่อนเพลีย วิธีสังเกตว่าเป็นโรคบิดมีตัวหรือไม่มีตัว แม้อาการของโรคบิดมีตัวกับโรคบิดไม่มีตัวจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผู้ป่วยก็สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้ โรคบิดมีตัว ถ่ายเป็นเลือด […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล ความสัมพันธ์ที่คุณควรรู้ เพื่อดูแลตัวเองให้ถูกต้อง

การทำงานของตับกับระดับคอเลสเตอรอลนั้นเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก โรคตับ และปัญหาที่เกิดขึ้นในตับสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของคอเลสเตอรอลในเลือดได้ และนี่คือความเกี่ยวข้องของ โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล ที่คุณควรรู้ เพื่อการป้องกันและดูแลตัวเอง ความสัมพันธ์ของ โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล การทำงานของตับส่งผลกระทบต่อระดับคอเลสเตอรอลอย่างไร หน้าที่หลักของตับ คือ การผลิตน้ำดี น้ำดีจะช่วยให้ร่างกายย่อยสลายไขมันและกำจัดคอเลสเตอรอลได้ หากตับของคุณได้รับความเสียหาย ประสิทธิภาพการทำงานของตับจะลดลง จนนำไปสู่การเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล จึงทำให้ไขมันและคอเลสเตอรอลจะก่อตัวขึ้นในตับและเลือด ยิ่งคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความเสียหายต่อตับได้มากเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การก่อตัวของไขมันในตับอาจก่อให้เกิดโรคตับคั่งไขมันที่มีภาวะตับอักเสบ (Nonalcoholic Steatohepatitis : NASH) หรือไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ โรคตับที่อาจนำไปสู่ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานของตับ จะขัดขวางการทำงานของตับต่อคอเลสเตอรอล อาการบางชนิด ได้แก่ ไขมันพอกตับในคนที่ไม่ได้ดื่มสุรา โรคไขมันพอกตับในคนที่ไม่ได้ดื่มสุรา (NAFLD) เป็น ความผิดปกติของไตที่พบเห็นได้ทั่วไป จำนวน 25% ของประชากรทั่วโลกมีอาการของ NAFLD หากมีน้ำหนักเกินหรือเป็นเบาหวานก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น NAFLD นำไปสู่การเป็นโรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipedemia) ซึ่งเป็นอาการที่บ่งชี้ด้วยระดับคอเลสเตอรอล และสารประกอบแบบเดียวกันในเลือดที่ผิดปกติ NAFLD ยังเชื่อมโยงกับภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ (lipodystrophy) ซึ่งหมายถึงความผิดปกติของร่างกายในการกระจายไขมัน อาการของ NAFLD มีหลากหลายรูปแบบ อย่างหนึ่งก็คือ ไขมันพอกตับแบบร้ายแรง (NASH) ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่อาจนำไปสู่โรคตับแข็ง ตับล้มเหลว และมะเร็งตับ ตับแข็ง โรคตับแข็งเกิดจากพฤติกรรมการดื่มหรือโรคบางชนิด เช่น โรคตับอักเสบ ที่สร้างความเสียหายให้ตับในระยะยาว โรคตับแข็งจะสร้างบาดแผลทิ้งไว้ในตับ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม