สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

อาการไส้ติ่ง ที่บ่งบอกว่า ร่างกายอาจกำลังเกิดอาการไส้ติ่งอักเสบ หรืออาจร้ายแรงได้ถึงอาการไส้ติ่งแตก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ถ้าไม่สังเกตร่างกายให้ดีและพบคุณหมอเสียแต่เนิ่น ๆ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ  ไส้ติ่งสามารถเกิดภาวะการอักเสบได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะไส้ติ่งเกิดภาวะการอักเสบจากการอุดตันภายใน เช่น  เศษอุจจาระขนาดเล็กที่ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น เมื่ออุจจาระ ของเสีย สิ่งแปลกปลอม หรือก้อนเนื้อมะเร็ง ได้อุดตันในไส้ติ่งจะทำให้เกิดแบคทีเรียสะสม อาจเกิดอาการเลือดคั่ง จนกระจายไปที่ผนังไส้ติด ทำให้เกิดภาวะการอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง จนขยายตัวขึ้นไปปิดกั้นไส้ติ่ง ทำให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบได้ บางกรณีเกิดได้จากการรับประทานเนื้อสัตว์ไม่สุก เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อควายดิบ ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคพยาธิตัวตืดวัวควาย จากการกินตัวอ่อนพยาธิหรือเม็ดสาคู เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ ลำตัวจะเป็นปล้อง ๆ แล้วปล้องสุกจะหลุดออกมากับอุจจาระ ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปในไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้ อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่ง พบได้กับทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผิดปกติก็ต่อเมื่อเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) แล้ว ทำให้ร่างกายค่อย ๆ แสดงอาการเมื่อไส้ติ่งเริ่มอุดตัน เช่น  เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันที่บริเวณรอบสะดือ  ระยะต่อมา เมื่อไส้ติ่งเริ่มบวมจะลุกลามไปปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดที่ท้องด้านล่างขวา เนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น จะรู้สึกเจ็บบริเวณที่ไส้ติ่งมากขึ้น ขณะลุกเดิน เคลื่อนไหวร่างกาย หรือแม้กระทั่งไอและจาม มีไข้ จุกแน่นท้อง  คลื่นไส้ […]

หมวดหมู่ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ภาวะไขมันพอกตับ กับอาหารที่ควรกินเพื่อเยียวยาอาการนี้

การเลือกรับประทานอาหาร ถือเป็นหนึ่งในวิธีการรักษา ภาวะไขมันพอกตับ ที่ได้รับการแนะนำลำดับต้นๆ วิธีการง่ายๆ ก็คือ ในอาหารแต่ละมื้อของผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ ควรประกอบด้วย ผักและผลไม้ปริมาณที่มีกากใยสูง เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชต่างๆ และควรมีน้ำตาล เกลือ ไขมันทรานส์ คาร์โบไฮเดรตขัดสี ไขมันอิ่มตัวในปริมาณต่ำ ที่สำคัญ ไม่ควรมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อาหารที่เหมาะสำหรับ ผู้ที่มี ภาวะไขมันพอกตับ มีดังนี้ กาแฟ จากผลการวิจัยพบว่า ตับของผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับที่ดื่มกาแฟได้รับความเสียหายน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ ทั้งนี้ เชื่อว่าคาเฟอีนทำให้การผลิตเอนไซม์ที่ผิดปกติในตับลดน้อยลง ผักใบเขียว การศึกษาในสัตว์ทดลองให้การรับรองว่า บร็อคโคลี่สามารถช่วยป้องกันภาวะไขมันพอกตับได้ ผักใบเขียวชนิดอื่น เช่น ผักโขม กะหล่ำดาว และเคลหรือคะน้าใบหยิก สามารถช่วยในการควบคุมน้ำหนักและรูปร่างได้ เต้าหู้ มหาวิทยาลัยอินลินอยส์ในสหรัฐฯ ได้ทำการศึกษาในสัตว์และพบว่า โปรตีนถั่วเหลืองที่พบได้ในเต้าหู้ ช่วยลดการสะสมของไขมันบริเวณตับ ประโยชน์ของเต้าหู้ คือ มีไขมันต่ำและมีโปรตีนสูง ปลา ปลาประเภทที่มีไขมันสูง เช่น แซลมอน ซาร์ดีน ทูน่า และเทราท์ เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชั้นดี ซึ่งกรดไขมันประเภทนี้มีคุณประโยชน์ในการต้านการอักเสบ และช่วยปรับระดับของไขมันในตับได้อีกด้วย ข้าวโอ๊ต หากคุณต้องการพลังงาน คาร์โบไฮเดรตจากธัญพืชเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ เส้นใยในธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ตทำให้คุณอิ่ม และเพิ่มพลังงาน […]


ท้องร่วง

ยาแก้ท้องเสีย และข้อควรระวัง! หากคุณซื้อยาชนิดนี้มากินเอง

ยาแก้ท้องเสีย เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปได้อย่างง่ายๆ แต่ความจริงแล้ว เมื่อเราเกิดมีอาการท้องเสีย เราควรใช้ยาชนิดนี้หรือเปล่า? หรือใช้แล้วจะมีผลข้างเคียงหรือไม่? เพื่อการดูแลตัวเอง เมื่อมีอาการท้องเสียในเบื้องต้น Hello คุณหมอ มีคำตอบสำหรับการเลือกซื้อยาแก้ท้องเสีย สำหรับทุกคนมาฝากกันค่ะ ยาแก้ท้องเสีย ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา คุณสามารถซื้อยาแก้ท้องเสียตามร้านขายยาทั่วไปได้ โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ซึ่งยาบางชนิดช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ฉะนั้น ถ้าใครมีอาการท้องเสีย ยาพวกนี้ก็สามารถช่วยให้อาการท้องเสียของคุณดีขึ้นได้ โลเพอราไมด์ (Loperamide) บิสมัท ซับซาลิไซเลต (Bismuth Subsalicylate) นอกจากนี้ยาบิสมัท ซับซาลิไซเลต ยังสามารถใช้เยียวยาอาการท้องไส้ปั่นป่วนได้ด้วย ยาแก้ท้องเสีย ทำงานอย่างไร ยาโลเพอราไมด์ จะทำให้สิ่งต่างๆ ในลำไส้เคลื่อนไหวได้ช้าลง ทำให้ร่างกายดูดซึมส่วนที่เป็นน้ำหรือของเหลวได้มากกว่าเดิม จึงช่วยให้อาการท้องเสียดีขึ้น เนื่องจากอุจจาระจะเป็นรูปเป็นทรงเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้เหลวเป็นน้ำเหมือนที่ผ่านมา ส่วนยาบิสมัท ซับซาลิไซเลต จะทำให้ของเหลวที่ไหลผ่านลำไส้เป็นไปอย่างสมดุล นอกจากนี้ยังช่วยลดการอักเสบด้วย โดยควบคุมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส อันเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย ไม่ให้มีการเจริญเติบโตในกระเพาะอาหารและลำไส้ จะกิน ยาแก้ท้องเสีย ให้ปลอดภัยได้อย่างไร ก่อนที่คุณจะกินยาแก้ท้องเสีย ควรอ่านคำแนะนำการใช้ยาบนฉลากให้ดีก่อน ซึ่งจะมีคำแนะนำกำกับไว้ว่าควรกินในปริมาณเท่าใด และควรกินบ่อยแค่ไหน ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือเภสัชกร และควรจะจดชื่อยาเอาไว้ด้วย เผื่อในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น จะได้นำไปประกอบข้อมูลให้แก่คุณหมอ เพื่อประกอบในการรักษาต่อเนื่อง  คุณควรปฎิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าคุณกินยาในปริมาณที่เหมาะสม กินยาในปริมาณที่แนะนำบนฉลากยาเท่านั้น อย่าคิดเอาเองว่าการกินยาให้มากขึ้น แล้วจะช่วยเยียวยาอาการท้องเสียได้เร็วขึ้น การกินยาเกินขนาดอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ถ้าคุณกำลังกินยาอะไรก็ตามที่แพทย์สั่งให้กินอยู่ ควรถามแพทย์ด้วยว่า ถ้ากินยาแก้ท้องเสียร่วมด้วยจะมีผลข้างเคียงหรือไม่ อย่าใช้ยาแก้ท้องเสียมากกว่า 1 […]


โรคตับ

ไวรัสตับอักเสบ ซี (Hepatitis C)

ไวรัสตับอักเสบ ซี  (Hepatitis C) คือการที่ตับโดยไวรัสตับอักเสบ ซี สามารถนำไปสู่การอักเสบในตับ เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบที่พบได้ทั่วไป และถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในไวรัสที่อันตรายที่สุด คำจำกัดความ ไวรัสตับอักเสบ ซี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบ ซี (Hepatitis C) หมายถึง สภาวะของการที่ตับถูกทำลายโดยไวรัสตับอักเสบ ซี (hepatitis C virus) ซึ่งจะนำไปสู่การอักเสบในตับ และทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทั้งนี้ ไวรัสตับอักเสบซีเป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบที่พบได้ทั่วไป และจัดว่าเป็นหนึ่งในไวรัสที่อันตรายที่สุด โดยปกติ ไวรัสตับอักเสบซีนั้นไม่แสดงอาการ คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อนี้จนกระทั่งมีสัญญาณของตับเสียหายในหลายสิบปีต่อมา และจะทราบว่าตัวเองมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเมื่อตรวจร่างกาย ดังนั้น จึงควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ไวรัสตับอักเสบซีพบได้บ่อยได้แค่ไหน โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ทั่วไป สามารถเกิดได้ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย โรคนี้เป็นโรคที่พบได้มากที่สุดจากงานวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) อาการ อาการของไวรัสตับอักเสบซีเป็นอย่างไร หากเป็นไวรัสตับอักเสบซีในระดับเบา ร่างกายจะไม่แสดงอาการอะไรจนกระทั่งมันเปลี่ยนไปเป็นการติดเชื้อที่ร้ายแรงมากขึ้น สัญญาณและอาการของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีที่พบได้ในช่วงแรกคือ เหนื่อยล้า คลื่นไส้ หรือไม่อยากอาหาร ปวดท้อง ปัสสาวะสีเข้ม ดวงตาและผิวหนังเป็นสีเหลือง หรือดีซ่าน มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ หลังจากที่การติดเชื้อรุนแรงมากยิ่งขึ้น สัญญาณและอาการอาจจะมี เลือดออกและมีรอยช้ำได้ง่าย คันที่ผิวหนัง มีของเหลวสะสมในช่องท้อง หรือท้องมาน (Ascitis) ขาบวม น้ำหนักลด สับสน […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

โรคตับกับอาหาร ควรรับประทานอย่างไรให้เหมาะสมกับสุขภาพ

โรคตับกับอาหาร เป็นการดูแลและควบคุมอาหารสำหรับคนที่เป็นโรคตับ เนื่องจากหากป่วยเป็นโรคตับจะไม่สามารถรับประทานได้เหมือนอย่างที่เคย จำเป็นต้องได้รับอาหารพิเศษที่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันตับเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ โรคตับมีหลายประเภท จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตนเอง [embed-health-tool-bmr] โรคตับกับอาหาร ควรเลือกรับประทานอย่างไร เนื่องจากโรคตับมีหลายอาหาร ดังนั้น หากป่วยเป็นโรคตับจึงควรทำความเข้าใจโรคและภาวะอาการของโรคตับชนิดนั้น ๆ เพื่อจะได้ดูแลตนเองและรับประทานอาหารที่เหมาะสม ท้องมานและอาการบวมน้ำ ท้องมาน (Ascites) เป็นอาการที่ช่องท้องของผู้ป่วยมีการสะสมของเหลว อาการบวมน้ำ (Edema) หมายถึง การที่ของเหลวก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อ ที่มักจะเป็นที่เท้า ขา หรือหลัง ทั้งท้องมานและอาการบวมน้ำ ทำให้เกิดการสะสมของโซเดียมที่ผิดปกติ ร่วมกับความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล (portal hypertension) และโรคตับ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ มักต้องจำกัดการบริโภคโซเดียม ผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2-3 กรัมโดยงดอาหารกระป๋อง ไส้กรอกหรือเนื้อสำเร็จรูปทั้งหลาย เครื่องเทศ และเนยแข็งบางประเภท น้ำดีคั่ง เมื่อมีภาวะน้ำดีคั่ง (Cholestasis) ตับจะไม่สามารถกำจัดน้ำดีได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจะมีภาวะอุจจาระมีไขมันมาก (steatorrhea) หรือภาวะดูดซึมไขมันบกพร่อง (fat malabsorption) อาการคือ อุจจาระมีไขมันปนและมีกลิ่นเหม็น ผู้ที่มีภาวะน้ำดีคั่งสามารถรับประทานอาหารเสริมไขมัน เพื่อเป็นตัวช่วยได้ อาหารเสริมดังกล่าว ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์สายกลาง (medium-chain triglycerides) น้ำมัน MCT oil […]


ท้องผูก

ท้องผูก บ่อยๆ ก็เพราะนิสัยเสียๆ แบบนี้ไงล่ะ

ท้องผูก เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในทุกเพศทุกวัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสาเหตุก็มักจะมาจากตัวคุณเองนั่นแหละ โดยเฉพาะ นิสัย เล็กๆ น้อยๆ บางอย่างที่คุณอาจนึกไม่ถึง แต่กลับกลายเป็นสาเหตุของการเกิดอาการท้องผูกเลยล่ะ สังเกตกันดูนะคะ…และลองมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสุขอนามัยของตัวเอง แบบไหนเรียกว่าท้องผูก ท้องผูก หมายถึงอาการที่อุจจาระแข็ง หรืออุจจาระน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน และถึงแม้ว่าท้องผูกโดยทั่วไปจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรละเลย เพราะอาการท้องผูกเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ อย่างไรก็ตาม แต่ละคนมีช่วงเวลาขับถ่ายไม่เหมือนกัน บางคนถ่ายวันละ 3 ครั้ง ในขณะที่บางคนถ่ายอุจจาระไม่กี่ครั้งต่อสัปดาห์ แต่การไม่ขับถ่ายนานกว่า 3 วันหรือมากกว่านั้น ถือว่านานจนเกินไป เนื่องจากหลังจากเวลาผ่านไป 3 วันอุจจาระของคุณจะแข็ง และทำให้ถ่ายอุจจาระได้ยาก ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้ อาจหมายความว่าคุณกำลังท้องผูกแล้วล่ะ ไม่ได้ขับถ่ายเป็นเวลา 3 วัน ถ่ายอุจจาระยาก หรืออุจจาระมีขนาดใหญ่กว่าปกติ อุจจาระน้อย มีปัญหาในการขับถ่าย อุจจาระแข็ง หรือเป็นก้อนเล็กๆ อุจจาระไม่ออก มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นิสัย อะไรที่เป็นสาเหตุของ ท้องผูก การใช้ชีวิตของคุณ นิสัยส่วนตัว และบางเรื่องที่คุณละเลย เหล่านี้รวมๆ กันแล้วเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้คนเราเกิดอาการท้องผูก มาดูกันว่าคุณทำอะไรเหล่านี้บ้างหรือเปล่า คุณไม่ค่อยขยับร่างกาย ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ออกกำลังกาย หรือใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งอยู่กับที่ คุณอาจมีอาการท้องผูกได้ อาการท้องผูกบ่อยครั้งจึงเกิดกับผู้ป่วยที่นอนติดเตียง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้เจ็บป่วย การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คำแนะนำในการออกกำลังกายโดยทั่วไปที่ใช้ได้สำหรับคุณก็คือ ออกกำลังกายแบบปานกลางวันละ 30 นาที ให้มากวันที่สุดในหนึ่งสัปดาห์ […]


โรคกรดไหลย้อน

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อาการแสบร้อนกลางอกเนื่องจากกรดไหลย้อน เป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD หรือ Gastroesophageal reflux disease) ซึ่งนอกจากอาหารบางประเภท เช่น กาแฟ  น้ำอัดลม มะเขือเทศ แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต จะกระตุ้นอาการนี้แล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจเป็น สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ได้เช่นกัน สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ที่ไม่ใช่อาหาร 1. ยาบางชนิด หากคุณใช้กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-inflammatory Drug: NSAID ) เป็นประจำ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (naproxen) อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ คุณควรปรึกษาแพทย์ หากคิดว่ายาที่ใช้รักษาโรคส่งผลต่ออาการกรดไหลย้อนของคุณ และไม่ควรตัดสินใจหยุดกินยาด้วยตัวเอง สำหรับยาบางชนิดที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสามารถกระตุ้นอาการแสบร้อนกลางอก ได้แก่ ยารักษาอาการของโรคหอบหืด โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ หรือการอักเสบอื่นๆ ยารักษาโรคกระดูกพรุน รวมถึงยาที่ใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า และยาบรรเทาความเจ็บปวด 2. การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนแย่ลง เนื่องจากการสูบบุหรี่ส่งผลให้กล้ามเนื้อหูรูดที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารอ่อนแอลง กรดในกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร และน้ำดีที่ใช้ในการย่อยไขมัน ย้ายจากลำไส้เล็กไปสู่กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังลดปริมาณน้ำลาย ที่โดยปกติแล้วมีหน้าที่กำจัดกรดออกจากหลอดอาหาร โดยในน้ำลายจะมีไบคาร์บอเนต […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

กินแล้วนอน อันตรายต่อสุขภาพที่อาจคาดไม่ถึง

กินแล้วนอน เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะอาจส่งผลให้ร่างกายมีปัญหาในการจัดการกับอาหารที่เพิ่งจะรับประทานเข้าไป จนอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น อาการแสบร้อนกลางหน้าอก อาการกรดไหลย้อน รวมถึงโรคหลอดเลือดในสมอง ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมการกินแล้วนอนทันที สำหรับปัญหาสุขภาพที่อาจจะมาพร้อมกับพฤติกรรมกินแล้วนอนทันที อาจได้แก่ อาการแสบร้อนกลางอก อาการแสบร้อนกลางอก เป็นความรู้สึกแสบร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหาร และลุกลามไปยังบริเวณกลางอกและในลำคอ อาการนี้เกิดจากระดับกรดในกระเพาะอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการนอนทันทีหลังจากกินอาหาร อาการกรดไหลย้อน อาการกรดไหลย้อนเกิดขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหาร ที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารปิดไม่สนิท ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับสู่ลำคอ การนอนราบทันทีหลังจากกินอาหาร เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการนี้ หากกรดยังตกค้างอยู่ เยื่อเมือกบุผิวอาจถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะได้ โรคหลอดเลือดสมอง ผลวิจัยเผยว่า การกินแล้วนอนทันที อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยนักวิจัยได้ศึกษาผู้ที่มีสุขภาพดีจำนวน 500 คน พบว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มวิจัย เกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และอีกครึ่งหนึ่งมีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ที่เว้นช่วงหลังจากกินอาหารนานที่สุด จึงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองน้อยที่สุด แม้ว่าการวิจัยนี้ ไม่ได้แสดงถึงสาเหตุแน่นอนที่เกี่ยวข้องกับอาการเหล่านี้ แต่นักวิจัยเชื่อว่า อาการกรดไหลย้อนอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากกรดไหลย้อนอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมอง กระบวนการย่อยอาหารยังส่งผลต่อความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการเกิดอาการหลอดเลือดในสมอง ควรรอนานแค่ไหนถึงนอนได้ โดยทั่วไป หลังกินอาหารเสร็จควรรอ 2-3 ชั่วโมงจึงค่อยล้มตัวลงนอน แต่หากเป็นอาหารมื้อใหญ่กว่าปกติ เช่น บุฟเฟต์ ก็อาจต้องรอนานกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อให้ระบบย่อยอาหารได้ย่อยอาหารที่กินเข้าไป และให้อาหารที่ย่อยแล้วไหลลงสู่ลำไส้เล็กก่อน วิธีนี้อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตอนนอน เช่น กรดไหลย้อน นอนไม่หลับ […]


โรคกรดไหลย้อน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไหลย้อน มีอะไรบ้าง

เวลามี อาการกรดไหลย้อน หลายคนมักจะไปซื้อยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการ หรือบางคนไปพบคุณหมอแล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคกรดไหลย้อน บทความนี้จาก Hello คุณหมอ อยากจะชวนคุณผู้อ่านมาลองสำรวจว่า คุณกำลังมี ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไหลย้อน หรือเปล่า กรดไหลย้อน คืออะไร โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากภาวะกรดไหลย้อน (Acid reflux) หากคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอกเนื่องจากกรดไหลย้อน นานเกิน 2 สัปดาห์ แพทย์อาจวินิจฉัยว่าคุณมี อาการกรดไหลย้อน โดยอาการของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ ลมหายใจมีกลิ่น หรือมีกลิ่นปาก ฟันเกิดความเสียหายเนื่องจากกรด แสบร้อนทรวงอก รู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างจากท้องไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือที่ปาก หรือมีอาการสำรอก เจ็บหน้าอก ไอแห้งบ่อย โรคหอบหืด มีปัญหาในการกลืนอาหาร รู้เท่าทันอาการกรดไหลย้อนได้ เพียงแค่คุณลองสำรวจตนเอง หลายคนมีอาการแสบร้อนทรวงอกและกรดไหลย้อนเป็นครั้งคราว เนื่องจากนิสัยการกิน หรือการนอนลงทันทีหลังจากกินอาหาร แต่อย่างไรก็ถาม โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคเรื้อรังที่คุณหมอจะเริ่มตรวจสอบนิสัยของคุณ ซึ่งนิสัยบางอย่างที่เป็นสาเหตุของ อาการกรดไหลย้อน ได้แก่ ความอ้วน หรือน้ำหนักเกิน ซึ่งจะเพิ่มความกดดันให้ช่องท้อง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การตั้งครรภ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบื้องต้นเพื่อป้องกันและรับมือกับอาการกรดไหลย้อน อาการกรดไหลย้อน อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ โชคดีที่อาการกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้ ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงการกิน การลดน้ำหนัก การเลิกสูบบุหรี่ การเลิกดื่มแอลกอฮอล์ ยาสำหรับโรคกรดไหลย้อนจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร แต่ยานี้อาจไม่ได้ผลสำหรับทุกคน บางคนอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อรักษา อาการกรดไหลย้อน ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไหลย้อน 1. หากเป็นโรคกรดไหลย้อน จะต้องมีอาการแสบร้อนทรวงอก คุณสามารถเป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD, gastroesophageal reflux disease) โดยไม่มีอาการแสบร้อนทรวงอกได้ แต่ถ้าหากคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอกเกิน […]


โรคกรดไหลย้อน

วิธีแก้กรดไหลย้อน ฉบับเร่งด่วน และในระยะยาวด้วยตัวคุณเอง

“กรดไหลย้อน” สร้างความทรมานให้ใครหลาย ๆ คน เป็นอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ตัวคุณนั้นต้องตื่นขึ้นมากลางดึก หรือหยุดทำกิจกรรมบางอย่าง และต้องรอจนกว่าอาการกรดไหลย้อนจะบรรเทาลง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำ วิธีแก้กรดไหลย้อน อย่างเร่งด่วนว่ามีวิธีใดบ้าง พร้อมทั้งวิธีบรรเทา อาการกรดไหลย้อน ในระยะยาวด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ควรทำอย่างไร มาฝากทุกคนกันให้ได้ลองทำกันค่ะ กรดไหลย้อน กรดไหลย้อน (Acid reflux) เป็นอาการที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่าง (LES, lower esophageal sphincter) อ่อนแอหรือเกิดความเสียหาย ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารได้ ซึ่งจะทำให้มีอาการแสบร้อนทรวงอก และอาการอื่นๆ ได้แก่ กลืนอาหารยาก ไอ หอบหืด ฟันสึกกร่อน และเกิดการอักเสบในโพรงจมูก นอกจากนี้การกินอาหารบางประเภทอาจกระตุ้นให้เกิด อาการกรดไหลย้อน เช่น อาหารรสเผ็ด อาหารไขมันสูง หรืออาหารที่มีความเป็นกรดสูง ถ้าคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอก หรือมีการใช้ยาลดกรดนานกว่า 2 สัปดาห์ คุณควรไปหาคุณหมอ เนื่องจากคุณอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD, gastroesophageal reflux disease) วิธีแก้กรดไหลย้อน ฉบับเร่งด่วน หากคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอกเนื่องจาก กรดไหลย้อน คุณอาจลองทำดังนี้ 1.ยืนตัวตรง ถ้าคุณนั่งหรือนอนราบกับพื้น […]


โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ (Infectious Colitis)

อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ เป็นการอักเสบของลำไส้ใหญ่ส่วนที่ยาวที่สุด (Colon) เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือเชื้อรา การอักเสบมักทำให้เกิดอาการปวดท้องส่วนล่าง หรือปวดเกร็ง และท้องร่วง คำจำกัดความอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่คืออะไร อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ (Infectious Colitis) เป็นการอักเสบของลำไส้ใหญ่ส่วนที่ยาวที่สุด (Colon) เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือเชื้อรา การอักเสบมักทำให้เกิดอาการปวดท้องส่วนล่าง หรือปวดเกร็ง และท้องร่วง อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีอาหารเป็นพิษ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก (gastroenteritis) ซึ่งอยู่บริเวณเหนือลำไส้ตรง (rectum) และ/หรือ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (proctitis) ซึ่งอยู่ด้านล่างลำไส้ใหญ่ส่วนที่ยาวที่สุด โดยส่วนมากแล้ว อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่มักเกิดแบบเฉียบพลัน อาการของโรครุนแรงแต่ทุเลาลงได้อย่างรวดเร็วโดยอาจไม่ได้รับการรักษา หรือรับการรักษาเพียงเล็กน้อย การเป็นโรคนี้เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ อย่างไรก็ตาม อาการท้องร่วงจากการติดเชื้อต่างๆ อาจมีความรุนแรง และนำไปสู่การถ่ายเป็นมูกเลือด ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในช่วงเวลาสั้นๆ อาการอักเสบของลำไส้ใหญ่พบบ่อยแค่ไหน การอักเสบของลำไส้ใหญ่จากการติดเชื้อเป็นอาการที่พบบ่อย มันจะถูกเรียกว่าไวรัสลงกระเพาะ (stomach flu) แต่กระเพาะอาหารไม่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ ถึงแม้จะมีชื่อเรียกเช่นนั้นก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของการอักเสบของลำไส้ใหญ่ อาการทั่วไปของอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ มีดังนี้ ถ่ายท้องมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ถ่ายมีเลือดหรือมูกปน ปวดหัวและปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ต่ำ (ต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียส) ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือปวดเกร็ง อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน