สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

อาการไส้ติ่ง ที่บ่งบอกว่า ร่างกายอาจกำลังเกิดอาการไส้ติ่งอักเสบ หรืออาจร้ายแรงได้ถึงอาการไส้ติ่งแตก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ถ้าไม่สังเกตร่างกายให้ดีและพบคุณหมอเสียแต่เนิ่น ๆ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ  ไส้ติ่งสามารถเกิดภาวะการอักเสบได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะไส้ติ่งเกิดภาวะการอักเสบจากการอุดตันภายใน เช่น  เศษอุจจาระขนาดเล็กที่ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น เมื่ออุจจาระ ของเสีย สิ่งแปลกปลอม หรือก้อนเนื้อมะเร็ง ได้อุดตันในไส้ติ่งจะทำให้เกิดแบคทีเรียสะสม อาจเกิดอาการเลือดคั่ง จนกระจายไปที่ผนังไส้ติด ทำให้เกิดภาวะการอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง จนขยายตัวขึ้นไปปิดกั้นไส้ติ่ง ทำให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบได้ บางกรณีเกิดได้จากการรับประทานเนื้อสัตว์ไม่สุก เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อควายดิบ ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคพยาธิตัวตืดวัวควาย จากการกินตัวอ่อนพยาธิหรือเม็ดสาคู เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ ลำตัวจะเป็นปล้อง ๆ แล้วปล้องสุกจะหลุดออกมากับอุจจาระ ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปในไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้ อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่ง พบได้กับทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผิดปกติก็ต่อเมื่อเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) แล้ว ทำให้ร่างกายค่อย ๆ แสดงอาการเมื่อไส้ติ่งเริ่มอุดตัน เช่น  เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันที่บริเวณรอบสะดือ  ระยะต่อมา เมื่อไส้ติ่งเริ่มบวมจะลุกลามไปปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดที่ท้องด้านล่างขวา เนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น จะรู้สึกเจ็บบริเวณที่ไส้ติ่งมากขึ้น ขณะลุกเดิน เคลื่อนไหวร่างกาย หรือแม้กระทั่งไอและจาม มีไข้ จุกแน่นท้อง  คลื่นไส้ […]

หมวดหมู่ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ตับแข็งจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic liver cirrhosis)

ตับแข็งจากแอลกอฮอล์  คือแผลเป็นในตับที่เกิดจากพัฒนาของเนื้อเยื่อพังผืด เพื่อมาแทนที่เซลล์ตับที่เสียหายไป โรคตับแข็งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คำจำกัดความ ตับแข็งจากแอลกอฮอล์คืออะไร ภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic liver cirrhosis) คือแผลเป็นในตับที่เกิดจากพัฒนาของเนื้อเยื่อพังผืด เพื่อมาแทนที่เซลล์ตับที่เสียหายไป โรคตับแข็งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แม้จะหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วก็ตาม อาการของ ตับแข็งจากแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยโรคตับแข็งในระยะเริ่มแรก อาจไม่มีอาการและมีผลเลือดปกติ แต่ในบางครั้งอาจมีอาการตับหรือม้ามโต อาการตับแข็งขั้นรุนแรงอาจมีอาการ สูญเสียกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อะนอเร็กเซียหรืออาการคลั่งผอม คลื่นไส้ น้ำหนักลด และมีอาการคัน ตับมักไม่มีขนาดโตขึ้น หรืออาจมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ เนื่องจากมีพังผืดที่เกิดขึ้นจากภาวะตับแข็ง อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปหาแพทย์เมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคล มีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของตับแข็งจากแอลกอฮอล์ ความเสียหายของตับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นประจำ จนทำให้เกิดภาวะตับแข็ง เมื่อเนื้อเยื่อตับเริ่มเกิดแผลเป็น  ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเช่นปกติ ดังนั้น ร่างกายจึงไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่เพียงพอ หรือกรองสารพิษออกจากเลือดได้อย่างที่ควรจะเป็น ภาวะตับแข็งเกิดจากสาเหตุหลายประการ อย่างไรก็ดี ภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยตรง ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของ ตับแข็งจากแอลกอฮอล์ ปัจจัยความเสี่ยงสำหรับภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์มีหลายประการ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 5 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย หรือมากกว่า 1.5 แก้วสำหรับผู้หญิง ผู้ที่ดื่มเป็นประจำ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี หรือมากกว่า จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตับแข็งร้อยละ […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ฝีในตับ อาการ สาเหตุ การรักษา และการดูแลตัวเอง

โรคฝีในตับ หรือฝีตับ (Liver Abscess) คือหนองในตับที่มีอาการติดเชื้อในรูขนาดเล็ก ตับเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่หลายประการ รวมทั้งกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เมื่อมีการติดเชื้อปรสิตที่ตับ อาจเกิดรูเล็ก ๆ และเกิดหนองขึ้น ฝีในตับ คืออะไร โรคฝีในตับ หรือฝีตับ (Liver Abscess)  คือ โรคที่เกิดจากตับติดเชื้อ ทำให้ตับเป็นหนองหรือเป็นฝี ซึ่งอาจเป็นฝีจุดเดียวหรือหลายจุดก็ได้ ภาวะนี้พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย และหากอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่สุขอนามัยไม่ดี ก็อาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ตับเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่กักเก็บพลังงานและโปรตีน รวมทั้งกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย หากมีฝีในตับ จะส่งผลต่อการทำงานของตับ และหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาการของ ฝีในตับ โรคฝีในตับ อาจก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ มีไข้ รู้สึกหนาวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้และอาเจียน ท้องร่วง หรือปวดท้องด้านขวาบน อาการอื่น ๆ ที่พบได้ไม่บ่อย เช่น เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร ผิวหรือตาขาวเป็นสีเหลืองหรือดีซ่าน หากมีอาการข้างต้น ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะโรคฝึในตับอาจส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต สาเหตุของฝีในตับ โรคฝีในตับ เกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ ดังนี้ ฝีในตับจากเชื้อแบคทีเรีย (Pyogenic Liver Abscess) เป็นโรคฝีในตับชนิดที่พบได้บ่อย […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ตับวายหรือตับล้มเหลว (Liver failure)

ตับวายหรือตับล้มเหลว เป็นภาวะที่ไตได้รับความเสียหาย เป็นบริเวณกว้างเกินกว่าที่จะรักษาได้ และตับไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ตับวายเป็นภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน   คำจำกัดความตับวายหรือตับล้มเหลว คืออะไร ตับวาย หรือ ตับล้มเหลว (Liver failure) เป็นภาวะที่ตับได้รับความเสียหาย เป็นบริเวณกว้างเกินกว่าที่จะรักษาได้ และตับไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ตับวายเป็นภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ที่ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน มักเกิดขึ้นทีละน้อยแต่ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ดี  อาจพบการเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน (acute liver failure) ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งสามารถตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ยาก ตับวายหรือตับล้มเหลว พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ชายมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ดี สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ ตับวายหรือตับล้มเหลว ตับวายมีอาการแตกต่างกันตามระยะของโรค ในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการใดๆ และวินิจฉัยได้ยาก เมื่อมีอาการแย่ลง อาจมีอาการต่างๆ ได้แก่ ไม่มีแรงจนถึงขั้นเป็นโรคอ่อนเพลีย เลือดออกได้ง่าย เป็นแผลฟกช้ำได้ง่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือน้ำหนักขึ้นกะทันหัน ผิวหรือตาขาวเป็นสีเหลือง (ดีซ่าน) มีอาการคันที่ผิวหนัง มีอาการบวมน้ำและบวมที่ข้อเท้า ขา และช่องท้อง (มักเป็นสัญญาณบ่งชี้เริ่มแรก) ปัสสาวะมีสีน้ำตาลหรือสีส้ม อุจจาระมีสีจาง มึนงง สมาธิสั้น และบุคลิกภาพเปลี่ยน มีเลือดปนในอุจจาระ มีไข้ คลื่นไส้ มีเส้นเลือดขอดที่ผิวหนัง หน้าอกโตในผู้ชาย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของการเกิดภาวะตับวายหรือตับล้มเหลว โรคตับอักเสบซี ไขมันพอกตับ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุของภาวะตับวายที่พบได้มากที่สุด แต่ก็มีสาเหตุอื่นที่ทำให้ตับเสียหายนำไปสู่ภาวะเกิดตับวายได้ ซึ่งได้แก่ ภาวะไขมันพอกตับที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนและโรคเบาหวาน การติดเชื้อไวรัสที่ตับเรื้อรัง […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic fatty liver)

คำจำกัดความไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ คืออะไร ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic fatty liver หรือ nonalcoholic steatohepatitis) เป็นคำเรียกชื่อโรคสำหรับผู้ได้รับผลจากภาวะผิดปกติของตับ จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย หรือไม่ได้ดื่มเลย ลักษณะเฉพาะของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ คือ มีไขมันสะสมที่เซลล์ตับมากเกินไป ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ขั้นรุนแรง สังเกตได้จากอาการตับอักเสบขั้นรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดแผลเป็น และสร้างความเสียหายแก่ตับที่ไม่สามารถรักษาได้ ความเสียหายดังกล่าวคล้ายคลึงกับความเสียหายที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ความรุนแรงสูงขั้นสูงสุดของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ คือ โรคตับแข็ง และภาวะตับวาย หากไม่ได้รับการรักษา โรคตับแข็งสามารถก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ อาการของโรคตับแข็ง มีน้ำในช่องท้อง อาการบวมที่หลอดเลือดในหลอดอาหาร ซึ่งอาจแตกและมีเลือดออกได้ มึนงง ง่วงซึม และพูดไม่ชัด มะเร็งตับ ตับวายระยะสุดท้าย ซึ่งหมายความว่า ตับหยุดทำงาน สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์พบได้บ่อยมาก และสามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 40 และ 50 ปี ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจเนื่องจากความเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไรก็ดี ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ อาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ได้แก่ ตับโต อ่อนเพลีย ปวดท้องด้านขวาบน สัญญาณบ่งชี้และอาการที่เป็นไปได้ของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ และโรคตับแข็งที่เกิดจากแผลเป็นขั้นรุนแรง ได้แก่ ท้องบวม (มีน้ำในท้อง) หลอดเลือดโต ใต้ผิวหนัง หน้าอกโตในผู้ชาย ม้ามโต ฝ่ามือแดง ผิวหนังและตาเหลือง (ดีซ่าน) สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ตับโต อาการ สาเหตุ และการรักษา

ตับโต เป็นภาวะที่ตับมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แพ้ยา ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย มะเร็งตับ ไขมันในตับ ส่งผลให้มีอาการอาเจียน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย แน่นท้อง หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อตับในระยะยาวจนอาจทำให้ตับเสียหายได้ ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบความปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจนิจฉัยและทำการรักษา [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ตับโต คืออะไร ตับโต (Hepatomegaly) คือ ภาวะที่ตับมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ในผู้ป่วยบางรายอาจส่งผลให้ตับและม้ามมีขนาดโตขึ้นพร้อมกัน โดยจะเรียกว่า ภาวะตับและม้ามโต (Hepatosplenomegaly) ตับเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบย่อยอาหาร ที่ช่วยกระบวนการย่อยอาหาร และทำหน้าที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น สร้างน้ำดีเพื่อช่วยสลายอาหารให้เป็นพลังงาน สังเคราะห์สารเคมีที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนต่าง ๆ ช่วยกำจัดสารพิษต่าง ๆ จากเส้นเลือด เช่น สารพิษจากยา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมการสะสมไขมัน รวมทั้งการสร้างและปลดปล่อยคอเลสเตอรอล อาการ อาการของตับโต สัญญาณบ่งชี้และอาการของตับโต อาจมีดังนี้ อาการปวดบริเวณช่องท้องด้านขวาบน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ เบื่ออาหารและน้ำหนักลด ผิวหนังและตาขาวเป็นสีเหลือง (ดีซ่าน) ภาวะตับโตอาจเกิดจากโรคต่าง ๆ ที่รุนแรง หากไม่เข้ารับการรักษาอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขั้นรุนแรง ดังนี้ […]


โรคตับ

ไขมันพอกตับ สาเหตุ อาการ การรักษาและป้องกัน

ไขมันพอกตับ (Fatty liver) คือ ภาวะการก่อตัวของไขมันในตับ หากในตับมีไขมันมันมากกว่าร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตับ จะถือว่ามีภาวะไขมันพอกตับ ภาวะนี้พบได้ทั่วไป และมักไม่แสดงอาการให้สังเกตเห็นได้ง่าย อย่างไรก็ตาม สามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม และไขมันพอกตับมักไม่ทำให้ตับเสียหายถาวร คำจำกัดความไขมันพอกตับ คืออะไร ไขมันพอกตับ (Fatty liver) หรือไขมันจับตับ (Steatosis) คือ ภาวะการก่อตัวของไขมันในตับ แม้ว่าปกติตับจะมีไขมันอยู่แล้ว แต่หากมีปริมาณไขมันมากกว่าร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตับ จะถือว่ามีภาวะไขมันพอกตับ ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม ไขมันพอกตับมักไม่มีอาการและมักไม่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวร ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในร่างกาย มีหน้าที่จัดการทุกสิ่งที่รับประทานหรือดื่มเข้าไป รวมทั้งช่วยกรองสารพิษตกค้างจากกระแสเลือด กระบวนการดังกล่าวจะถูกขัดขวางหากมีไขมันมากเกินไป ตับมักซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างเซลล์ใหม่เมื่อเซลล์เดิมเสียหาย หากตับเกิดความเสียหายซ้ำ ๆ จะเกิดพังผืดถาวรขึ้น เรียกว่าตับแข็ง (cirrhosis) ไขมันพอกตับ พบได้บ่อยแค่ไหน ไขมันในตับพบได้ทั่วไป ผู้ที่มีไขมันในตับมากเกินไปมักไม่มีอาการอักเสบหรือเกิดความเสียหายใด ๆ ที่ทำให้สังเกตได้ อย่างไรก็ดี โรคนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง อาการอาการของไขมันพอกตับ ไขมันพอกตับมักไม่มีอาการที่สัมพันธ์กัน อาจมีอาการอ่อนเพลีย หรือปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ ตับอาจโตขึ้นเล็กน้อย โดยคุณหมอสามารถตรวจพบได้ในระหว่างการตรวจร่างกาย ไขมันส่วนเกินสามารถทำให้ตับอักเสบ จนส่งผลให้เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดท้อง อ่อนเพลีย และมึนงง สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ […]


โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

โรคโครห์น (Crohn's disease)

โรคโครห์น เป็นสาเหตุให้เกิดอาการอักเสบตามแนวระบบย่อยอาหาร ซึ่งสามารถส่งผลต่อส่วนใดๆ ของระบบย่อยอาหาร นับจากปากไปจนถึงช่องทางด้านหลัง แต่มักพบได้มากที่สุดในส่วนปลายสุดของลำไส้เล็กหรือหรือลำไส้ใหญ่ คำจำกัดความ โรคโครห์นคืออะไร โรคโครห์น (Crohn’s disease) เป็นสาเหตุให้เกิดอาการอักเสบตามแนวระบบย่อยอาหาร อาการอักเสบดังกล่าวสามารถส่งผลต่อส่วนใดๆ ของระบบย่อยอาหาร นับจากปากไปจนถึงช่องทางด้านหลัง แต่มักพบได้มากที่สุดในส่วนปลายสุดของลำไส้เล็กหรือหรือลำไส้ใหญ่ โรคโครห์นพบได้บ่อยเพียงใด ผู้ชายและผู้หญิงมีแนวโน้มอย่างเท่าเทียมกันที่จะได้รับผลกระทบจากโรคนี้ และโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในวัยใดๆ ก็ได้ โรคโครห์นมักพบได้บ่อยในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นระหว่างช่วงอายุ 15 และ 35 ปี โรคนี้สามารถรับมือได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการโรคโครห์นมีอะไรบ้าง โรคโครห์นมีอาการที่พบได้ทั่วไป ดังต่อไปนี้ ท้องเสีย ปวดในช่องท้อง น้ำหนักลดลงโดยไม่ตั้งใจ มีเลือดและเมืองที่ใบหน้า อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด คุณควรไปพบหมอเมื่อมีอาการใด ๆ ดังต่อไปนี้ ปวดในช่องท้อง มีเลือดปนในอุจจาระ มีอาการท้องเสียชั่วคราวในช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่ตอบสนองต่อยาที่ซื้อมารับประทานเอง (over-the-counter (OTC) medications) มีอาการไข้โดยไม่ทราบสาเหตุเกิดขึ้นเกินกว่าหนึ่งวันหรือสองวัน น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ โรคโครห์นเกิดจากอะไร ระบบภูมิคุ้มกัน ไวรัสหรือแบคทีเรียอาจกระตุ้นให้เกิดโรคโครห์นได้ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณ พยายามต้านทานจุลินทรีย์ที่เข้ามาในร่างกาย การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานเซลล์ในทางเดินอาหาร พันธุกรรม โรคโครห์นพบได้มากกว่าในคนที่มีสมาชิกมีประวัติเป็นผู้ป่วยโรคนี้ ดังนั้น ยีนอาจมีบทบาทที่ทำให้คนมีความไวต่อโรค อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยโรคโครห์นส่วนใหญ่ไม่มีประวัติของครอบครัวที่เป็นโรคนี้ ปัจจัยเสี่ยง อะไรที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคโครห์น ความเสี่ยงสำหรับในการเกิดโรคโครห์นมีหลายประการ ได้แก่ อายุ: โรคโครห์นสามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในวัยใดๆ ก็ได้ แต่มักเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ชาติพันธุ์: คนผิวขาวและชาวยุโรปตะวันออก และผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวเป็นโรคนี้ได้ง่าย ประวัติครอบครัว: คุณมีความเสี่ยงมากขึ้นหากคุณมีคนที่มีสายเลือดใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ พี่น้อง หรือบุตรที่เป็นโรคนี้ การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรคโครห์น ยาต้านการอักเสบที่ปราศจากสเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน […]


ท้องอืดท้องเฟ้อ

ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บรรเทาอาการด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง

ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นอาการที่เกือบทุกคนต่างก็เคยพบเจอ ถึงแม้อาการนี้จะไม่ใช่โรค แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในอาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในระบบทางเดินอาหาร หากคุณมีอาการท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อยเป็นประจำ ก็อาจต้องปรึกษาแพทย์ แต่สำหรับในกรณีทั่ว ๆ ไป นอกจากการกินยาลดกรดแล้ว มีหลายวิธีที่คุณสามารถจัดการกับอาการเหล่านี้ รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ วิธีเยียวยาและป้องกันอาการ ท้องอืด 1. ดื่มน้ำ ร่างกายต้องการน้ำ เพื่อให้ย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารจากอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำจะทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่สบายท้อง โดย Health and Medicine Division (HMD) ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ผู้หญิงควรดื่มน้ำประมาณวันละ 2.7 ลิตร ส่วนผู้ชายควรดื่มน้ำประมาณวันละ 3.7 ลิตร ประมาณ 20% ของปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันมาจากอาหาร และที่เหลือมาจากการดื่มเครื่องดื่ม สำหรับคนส่วนใหญ่ควรดื่มน้ำประมาณวันละ 8 แก้ว หรือมากกว่านั้นในแต่ละวัน ส่วนเด็กและวัยรุ่นอาจดื่มน้ำน้อยกว่าผู้ใหญ่เล็กน้อย ส่วนผู้ที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหาร เช่น ท้องเสีย อาเจียน จำเป็นต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากการอาเจียนและท้องเสีย สามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำได้อย่างรวดเร็ว 2. หลีกเลี่ยงการนอนหลังกินอาหาร เมื่อร่างกายอยู่ในแนวราบ เช่น ตอนนอน อาจมีแนวโน้มให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนทรวงอก หรือที่เรียกว่ากรดไหลย้อน ผู้ที่รู้สึกไม่สบายท้อง ควรหลีกเลี่ยงการนอนราบไปกับพื้น หรือนอนราบบนเตียงนอนหลังกินอาหารทันที […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding)

อาการที่มีเลือดออกทางทวารหนัก หรือ ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding) ส่วนใหญ่มักได้รับการสันนิษฐานว่า เป็นเลือดที่ไหลมาจากลำไส้ส่วนล่างหรือไส้ตรง คำจำกัดความถ่ายเป็นเลือด คืออะไร อาการถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding) หรือเลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระมีเลือดปน คืออาการที่มีเลือดไหลผ่านออกมาทางทวารหนัก ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเลือดที่ไหลจากลำไส้ส่วนล่างหรือลำไส้ตรง (Rectum) อาการถ่ายเป็นเลือด อาจอยู่ในรูปแบบของเลือดที่ปนอยู่ในอุจจาระ ในกระดาษชำระ หรือในโถส้วม โดยเลือดที่เกิดจากภาวะถ่ายเป็นเลือดมักเป็นสีแดงสด แต่บางครั้งก็เป็นสีแดงอมน้ำตาล ถ่ายเป็นเลือด พบได้บ่อยเพียงใด อาการถ่ายเป็นเลือด ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่จะพบได้ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก อุจจาระแข็ง ริดสีดวงทวาร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาคุณหมอ อาการอาการ ถ่ายเป็นเลือด มีอะไรบ้าง อาการที่ชัดเจนที่สุดของ อาการถ่ายเป็นเลือด คือ มีเลือดสีแดงติดมากับกระดาษชำระที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระในชักโครกหรือโถส้วม อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องสังเกตสีของเลือดและสีอุจจาระอยู่เสมอ เนื่องจากสามารถบ่งชี้ถึงลักษณะอาการต่าง ๆ ได้ เลือดสีแดงสด บ่งชี้ถึงอาการเลือดออกในบริเวณทางเดินอาหารส่วนล่าง เช่น ลำไส้หรือไส้ตรง เลือดสีแดงคล้ำ หรือสีเหมือนไวน์ บ่งชี้ถึงอาการเลือดออกในบริเวณลำไส้เล็ก หรือลำไส้ส่วนต้น อุจจาระสีดำและคล้ำ บ่งชี้ถึงอาการเลือดออกจากกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนบน อาการอื่น ๆ ที่พบได้ในภาวะถ่ายเป็นเลือด ได้แก่ ความงุนงง หน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดบริเวณลำไส้ตรง (Rectal pain) ปวดในช่องท้องหรือเป็นตะคริว (cramping) อาจมี […]


โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) เป็นการอักเสบบริเวณลำไส้ที่มักเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อ หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า ไวรัสลงกระเพาะ การติดเชื้อส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แต่อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตได้เช่นกัน โดยเชื้อจะแพร่กระจายผ่านอาหารหรือน้ำ และทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ที่รับประทานเข้าไป ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องและปวดเกร็ง ท้องร่วง คลื่นไส้อาเจียน ดังนั้น การดูและสุขภาพและสุขอนามัยให้ดีอยู่เสสมอ จึงอาจช่วยป้องกันกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ คืออะไร กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis) เป็นการอักเสบบริเวณลำไส้ที่มักเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อ หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า ไวรัสลงกระเพาะ การติดเชื้อส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แต่อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตได้เช่นกัน โดยเชื้อจะแพร่กระจายผ่านอาหารหรือน้ำ และทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ที่รับประทานเข้าไป ซึ่งภาวะที่พบบ่อยเมื่อกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ คือ ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากอาเจียนและท้องร่วง กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ พบได้บ่อยแค่ไหน กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบอาจพบได้บ่อยในทารก เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซี่งการป้องกันที่ดีคือ การล้างมือ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ ปวดท้องและปวดเกร็ง ท้องร่วง คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักลด เป็นไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ อาการอาจปรากฏให้เห็นหลังจากติดเชื้อไปแล้ว 1-3 วัน โดยส่วนใหญ่อาการจะคงอยู่ 1-2 วัน หรืออาจนานถึง 10 วัน นอกจากนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน