สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

โรคหัวใจ

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ภาวะเสี่ยงใน ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ถือเป็นภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือผู้ที่มีอาการหัวใจวาย ด้วยอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ถึง 90 เปอร์เซ็นต์  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาวะดังกล่าวนั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับภาวะช็อคจากโรคหัวใจมาฝากกันในบทความนี้ ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ เกิดขึ้นได้อย่างไร ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ (Cardiogenic Shock) คือ ภาวะที่หัวใจขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยภาวะนี้มักเกิดจากอาการหัวใจวายฉับพลัน แต่ไม่ใช่ว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือผู้ป่วยทุกคนที่มีอาการหัวใจวาย จะมีภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ถึงแม้ว่าภาวะช็อคจากโรคหัวใจจัดเป็นภาวะทางสุขภาพที่พบได้ยาก แต่ภาวะดังกล่าวถือเป็นภาวะที่รุนแรงและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตภายในเวลารวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาในทันที สาเหตุของการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ภาวะช็อคจากโรคหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากการขาดออกซิเจนที่ส่งไปยังหัวใจ เนื่องจากเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง หากไม่มีเลือดที่อุดมด้วยออกซิเจนไหลเวียนไปยังบริเวณนั้นของหัวใจ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหายและเข้าสู่ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ช็อคจากโรคหัวใจ ดังนี้ การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อของลิ้นหัวใจ หัวใจอ่อนแอ การรับประทานยาเกินขนาด หรือได้รับพิษที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสูบฉีดเลือดไปยังหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจ หากคุณมีอาการหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ความเสี่ยงในการเกิดภาวะช็อคจากโรคหัวใจอาจเพิ่มขึ้นได้ หากว่าคุณ มีอายุมากขึ้น มีประวัติเคยเป็นหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาก่อน เป็นเพศหญิง เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการของผู้ป่วยภาวะช็อคจากโรคหัวใจ อาการของภาวะช็อคจากโรคหัวใจมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวายรุนแรง โดยมีสัญญาณและอาการ ดังนี้ เจ็บปวดบริเวณหน้าอกนานกว่า 3 นาที ปวดบริเวณไหล่ แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง รวมถึงฟันและกราม หายใจถี่ เหงื่อออก วิงเวียนศีรษะ หรือเวียนศีรษะอย่างกะทันหัน คลื่นไส้ อาเจียน ปรึกษาคุณหมอ หากผู้ป่วยมีภาวะช็อคจากโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนเพื่อขจัดสิ่งที่อุดตัน โดยการใส่สายเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หากผู้ป่วยมีภาวะช็อคจากโรคหัวใจ ที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade)

ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) เกิดจากการสะสมของน้ำภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะภายใน เกิดภาวะช็อค และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ คำจำกัดความภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) คืออะไร ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) เกิดจากการสะสมของน้ำภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะภายใน เกิดภาวะช็อค และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด ส่วนใหญ่ภาวะบีบรัดหัวใจจะพบในผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ การผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นต้น อาการอาการของภาวะบีบรัดหัวใจ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยภาวะบีบรัดหัวใจ มีอาการดังต่อไปนี้ มีความวิตกกังวล และความกระสับกระส่าย มีอาการอ่อนแรง อาการเจ็บบริเวณหน้าอก ส่งผลไปยังคอ ไหล่หรือหลัง มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หายใจติดขัด หายใจเร็ว รู้สึกไม่สบายตัว แต่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อนั่งโน้มตัวไปข้างหน้า เวียนศีรษะ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของภาวะบีบรัดหัวใจ  สาเหตุของภาวะบีบรัดหัวใจ เกิดจากสาเหตุและปัจจัย ดังต่อไปนี้ การได้รับบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์หรืออุตสาหกรรม การผิดพลาดทางการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดโป่งพองแตก ภาวะไตวาย การติดเชื้อที่มีผลต่อหัวใจ โรคลูปัส เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มะเร็งที่แพร่ลามไปยังถุงหุ้มหัวใจ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะบีบรัดหัวใจ  ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการทดสอบเพื่อยืนยันการวินิจฉัยการเต้นของหัวใจ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography : CT SCAN) ตรวจหาความผิดปกติการสะสมของเหลวบริเวณหน้าอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) เมื่อทดสอบการประเมินการเต้นของหัวใจ การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (Angiography) ตรวจดูระบบหมุนเวียนเลือดในหัวใจ การรักษาภาวะบีบรัดหัวใจ  ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการและประวัติผู้ป่วย การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาแรงกดดันบริเวณหัวใจ โดยแพทย์จะเจาะระบายของเหลวออกจากช่องเยื่อหุ้มหัวใจ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

หัวใจโต (Cardiomegaly)

หัวใจโต (Cardiomegaly) ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะที่ทำให้หัวใจโต หรือหนาผิดปกติ  โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจเกิดจากสภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดมากกว่าปกติ คำจำกัดความหัวใจโต (Cardiomegaly) คืออะไร หัวใจโต (Cardiomegaly) ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะที่ทำให้หัวใจโต หรือหนาผิดปกติ  โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจเกิดจากสภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีหัวใจโตจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ เนื่องจากต้องใช้ยารักษาตลอดชีวิต หัวใจโต พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะหัวใจโต สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น อาการอาการของ ภาวะหัวใจโต ในระยะเริ่มต้นของ ภาวะหัวใจโต อาจไม่มีอาการแสดงปรากฏ หากปล่อยไว้ระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จนอาการอยู่ในระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง จะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้ หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก ไอ เวียนศีรษะ หายใจถี่ ท้องอืด อาการบวมที่ข้อเท้าและขา ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ ภาวะหัวใจโต สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของ ภาวะหัวใจโต อาจเกิดจาก โรคหลอดเลือดหัวใจ และความดันโลหิตสูง รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ การติดเชื้อที่หัวใจ ลิ้นหัวใจผิดปกติ การตั้งครรภ์ที่ภาวะหัวใจโตขึ้นในระหว่างที่คลอด การฟอกไต สำหรับผู้ป่วยโรคไต การติดเชื้อเอชไอวี ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะหัวใจโต ใช้สารเสพติดที่ผิดกฎหมาย หรือดื่มแอลกอฮอล์ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคเบาหวาน สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัย ภาวะหัวใจโต ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย และทดสอบวินิจฉัย เพื่อระบุความแน่ชัดของโรค ดังนี้ การตรวจเลือด […]


โรคความดันโลหิตสูง

อาหารเสริมลดความดันโลหิต ที่ใช้ได้ผล ดีต่อสุขภาพ

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะของร่างกายที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน และเป็นภาวะที่ไม่มีอาการในช่วงเริ่มต้น ตรวจไม่พบ แต่หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรหมั่นตรวจวัดความดันเป็นประจำ และควรรักษาระดับความดันให้ปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวม อาหารเสริมลดความดันโลหิต มาให้อ่านกันค่ะ อาหารเสริมลดความดันโลหิต มีอะไรบ้าง อาหารเสริมสำหรับผู้มีปัญหาความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้ กรดโฟลิก  ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะรับประทานกรดโฟลิกเพื่อเป็นอาหารเสริมขณะที่ตั้งครรภ์ เพื่อช่วยสำหรับพัฒนาการของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ชี้ว่ากรดโฟลิคมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ได้ ทั้งชายและหญิงสามารถรับประทานกรดโฟลิคเพื่อลดความดันโลหิตได้ แต่ลดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิตามินดี เมื่อร่างกายมีวิตามินดีในระดับต่ำ เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง แต่จากการศึกษาพบว่าอาหารเสริมวิตามินดีมีผลต่อความดันโลหิตน้อยมาก แต่การได้รับวิตามินดีที่เพียงพอต่อร่างกายนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แมกนีเซียม ร่างกายใช้แมกนีเซียมในการควบคุมการทำงานของเซลล์ให้มีความแข็งแรง นอกจากนี้แมกนีเซียมยังช่วยในการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ จากการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การใช้แมกนีเซียมในการช่วยลดความดันโลหิตนั้นมีความขัดแย้งกัน บ้างที่ก็บอกว่าสามรถลดได้ แต่บางที่ก็ยังไม่มีดเหตุผลมากพอ แต่จากการวิเคราะห์จากการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่าอาหารเสริมแมกนีเซียมอาจมีผลเล็กน้อยต่อความดันโลหิต โพแทสเซียม  โพแทสเซียมมีส่วนช่วยในการขัดขวางผลกระทบของโซเดียมต่อความดันโลหิต สถาบันหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ชี้ให้เห็นว่าโพแทสเซียมสามารถช่วยลดแรงกดบนผนังหลอดเลือดได้ จากการศึกษาได้มีการสนับสนุนว่าอาหารเสริมโพแทสเซียมสามารถใช้ในการรักษาเพื่อลดความดันโลหิตได้ ไฟเบอร์ การได้รับสารอาหารไฟเบอร์ในปริมาณที่มากขึ้นมีส่วนช่วยในการป้องความดันโลหิตสูง หรือช่วยลดความดันโลหิตได้ จากการวิเคราะห์พบว่า การรับประทานอาหารเสริมไฟเบอร์ 11 กรัมต่อวันมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตได้ หรือจะเพิ่มไฟเบอร์ให้กับร่างกายด้วยการรับประทานอาหาร เช่น การบริโภคผักใบเขียว ผลไม้สด ก็ช่วยให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ได้มากขึ้น โคเอนไซม์คิวเทน  โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10; CoQ10) เป็นสารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในร่างกายและมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางเคมีของเซลล์ ในการผลิตพลังงานให้กับเซล์ นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าอาหารเสริมตัวนี้สามารถลดความดันโลหิตโดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและป้องกันไม่ให้ไขมันสะสมในหลอดเลือดแดง แต่อย่างไรก็ตามมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่า […]


คอเลสเตอรอล

วิธีการลดคอเลสเตอรอล ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

คอเลสเตอรอล เป็นไขมันในเลือดที่ได้มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพบางประการ เช่น ช่วยให้ฮอร์โมนปกติ ช่วยให้เซลล์มีความแข็งแรง แต่หากร่างกายมีปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังนั้น จึงควร ลดคอเลสเตอรอล ด้วยการเปลี่ยนแปลง ไลฟ์สไตล์ เพื่อช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง และป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ [embed-health-tool-heart-rate] คอเลสเตอรอลสูง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร อย่างที่ทราบกันดีว่า คอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่อยู่ในเลือด แต่หากเมื่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั้นสูงขึ้น ก็อาจทำให้คอเลสเตอรอลเกาะตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการแข็งตัว และตีบตัน ส่งผลทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง บางครั้งคราบเหล่านั้นอาจไปอุดตันเส้นเลือด หรือเกิดลิ่มเลือดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะบริเวณหลอดเลือดหัวใจ จนขัดขวางการไหลเวียนไปยังหัวใจอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ และหากลิ่มเลือดมีการไปอุดตันยังเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงในสมอง ก็อาจยังเป็นการขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะไปเลี้ยงสมองก็อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเพียงแค่ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นมาก็สามารถทำให้สุขภาพร่างกายเข้าสูความเสี่ยงการเกิดโรคที่รุนแรงขึ้น จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วในอนาคตเลยทีเดียว ปัจจัยที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีสูงขึ้น ปัจจัยที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีอยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้ มีดังต่อไปนี้ อาหาร คอเลสเตอรอลส่วนหนึ่งที่ร่างกายได้รับนั้นมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยอาหารบางชนิดช่วยทำให้ร่างกายได้รับคอเลสเตอรลชนิดไม่ดี เช่น ไขมันอิ่มตัวที่พบได้ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไขมันทรานส์ ที่พบได้ในคุกกี้ นอกจากนี้ยังมีอาหารจำพวก เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากนม ก็สามารถช่วยให้คอเลสเตอรอลนั้นสูงขึ้นได้อีกด้วย โรคอ้วน หากเมื่อมีการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) แล้วพบว่าตนเองนั้นอยู่ในระดับ ตั้งแต่ 30 […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease)

หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease หรือ PAD) คือ การตีบตันของหลอดเลือดที่จะนำเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงที่ขา ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการสะสมของคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดง จริง ๆ แล้วการตีบตันของหลอดเลือดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในหลอดเลือดทุกส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดที่ขามากกว่า คำจำกัดความหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน คืออะไร โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก เกิดการสะสมที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน ซึ่งโรคนี้มีผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงและโรคหัวใจ เนื่องจากการสะสมของคราบที่ผนังหลอดเลือดและการตีบตันของหลอดเลือด ในผู้ป่วยที่มีปัญหา หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน พบได้บ่อยเพียงใด จากข้อมูลของ สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมักจะมีปัญหา โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน จนทำให้เกิดปัญหาที่ขาและเท้า อาการอาการของ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันนั้น มักจะมีสัญญาณและอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ปวดน่อง เมื่อเดินหรืออกกำลังกาย แต่อาการปวดน่องนั้นจะหายไปเมื่อคุณพัก รู้สึกชา หรือรู้สึกเหมือนมีเข็มมุดหลาย ๆ เล่มทิ่มที่ขาหรือเท้าส่วนล่าง เมื่อเกิดแผลที่ขาและเท้า มักจะหายช้ากว่าปกติ บางครั้งอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้นก็แสดงอาการได้น้อยมาก จนเราไม่สามารถรับรู้ได้ ดังนั้น เมื่อมีความผิดปกติที่เท้าและขาควรจะต้องสังเกตอย่างจริงจัง เพื่อที่จะได้ปรึกษาและทำการรักษาได้ทัน นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณทางกายภาพที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามี โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เช่น กล้ามเนื้อลีบ ผมร่วง ผิวหนังเย็นเมื่อสัมผัส นิ้วเท้าเย็นหรือรู้สึกชา เล็บเท้าเจริญเติบโตช้า ผิวที่ขามันเงา เกิดตะคริวที่สะโพกหรือต้นขา ขาอ่อนแรง ควรไปพบคุณหมอเมื่อไร เมื่อมีอาการปวดขา เกิดอาการชาที่ขา หรืออาการที่ได้กล่าวไปข้างคนควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการของ […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

ป้องกันหัวใจล้มเหลว คุณทำได้ แค่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

“หัวใจล้มเหลว” เป็นอาการทางสุขภาพที่อันตราย และไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นภาวะที่อาจนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้ โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว ก็มาจากปัจจัยในการดำเนินชีวิตแบบสุ่มเสี่ยงที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป และอาจจะไม่รู้ว่าตนเองกำลังเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจในทุกๆ วัน อย่างไรก็ตาม หากสุขภาพหัวใจย่ำแย่เพราะการใช้ชีวิต เราก็สามารถ ป้องกันหัวใจล้มเหลว ได้ เพียงแค่เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่เราจะป้องกันความเสี่ยงของหัวใจได้ด้วยวิธีไหนได้บ้างนั้น มาติดตามกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ จาก Hello คุณหมอ หัวใจล้มเหลว อันตรายอย่างไร ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) ถือว่าเป็นอาการทางสุขภาพที่ค่อนข้างอันตรายเพราะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ แต่นอกจากความเสี่ยงสูงสุดถึงชีวิตแล้ว หัวใจล้มเหลวก็ยังมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของระบบอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเกี่ยวกับไต หากมีภาวะเกี่ยวกับหัวใจล้มเหลว ก็จะไปลดอัตราการไหลเวียนของเลือดที่จะต้องลำเลียงเลือดไปยังไต ซึ่งถ้าหากเลือดไม่ไหลเวียนไปที่ไต หรือไหลเวียนไปยังไตได้น้อย ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไตวาย ซึ่งก็อันตรายถึงชีวิตได้เช่นกันหากไม่ได้รับการรักษา ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ  ลิ้นหัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ แต่ทิศทางการไหลเวียนเลือดที่จะต้องผ่านไปยังหัวใจอาจผิดปกติได้หากหัวใจมีความดันสูงเนื่องจาก หัวใจล้มเหลว ปัญหาอัตราการเต้นของหัวใจ หัวใจเต้นเร็วไปก็ไม่ดี เต้นช้าไปก็ไม่ได้ อัตราการเต้นของหัวใจควรจะอยู่ในระดับที่พอดี แต่สำหรับผู้ที่มีอาการหัวใจล้มเหลวนั้น จะมีปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ หรือหัวใจอาจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของภาวะหัวใจล้มเหลว ตับถูกทำลาย ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถส่งผลกระทบไปยังตับได้ เนื่องจากจะไปทำให้เกิดการสะสมของเหลวไว้ที่ตับ เมื่อตับมีการสะสมของเหลวเอาไว้มากเกินไป จนกระทั่งกลายเป็นความดันที่ตับ ก็จะส่งผลให้ตับทำงานได้ลำบากมากขึ้น เห็นได้ว่าภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อการทำงานของหัวใจเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปยังการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ด้วย ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิตทั้งสิ้น ใครคือกลุ่มเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ที่จะมีอาการ หัวใจล้มเหลว หรือเสี่ยงที่จะมีภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น อาจมาจากปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ อายุที่มากขึ้น ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงที่สุดที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากสุขภาพกายและสุขภาพหัวใจที่เสื่อมโทรมลง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หากการทำงานของหัวใจมีปัญหา หรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ […]


คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูง ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันได้อย่างไร

คอเลสเตอรอลสูง เป็นผลมาจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก อย่างเนื้อสัตว์ติดมันหรืออาหารทะเล รวมทั้งอาหารหวาน มัน เค็ม ซึ่งหากร่างกายมีคอเลอเตอรอลสูง จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ดังนั้น ควรจำกัดอาหารและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย [embed-health-tool-bmi] คอเลสเตอรอลสูง คืออะไร คอเลสเตอรอล เป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกระแสเลือด มีทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่ไม่ดี ส่วนคอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) เป็นภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั้นสูงกว่าปกติ โดยปัญหาคอเลสเตอรอลสูงสามารถทำให้หลอดเลือดตีบตันหรืออุดตัน อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงตามมาได้ โดยเฉพาะโอกาสเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคหัวใจ ปัญหาคอเลสเตอรอลสูง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน หรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันและคอเลสเตอรอลสูง รวมถึงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ดังนั้น เพื่อป้องกันคอเลสเตอรอลสูง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย โดยวางแผนการดูแลรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัด คอเลสเตอรอลสูง ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ หากร่างกายมีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูงในระยะยาว จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เพราะไขมันจะเข้าไปเกาะตามผนังหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน หรือตีบตัน นำไปสู่การขาดเลือด จนร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจ  สมอง และระบบการทำงานต่าง ๆ ได้ตามปกติ ส่งผลให้หัวใจเกิดการขาดเลือด เสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ ตามมา วิธีป้องกัน คอเลสเตอรอลสูง การรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับที่ปกติขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถปฏิบัติตนตมคำแนะนำต่อไปนี้ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis)

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เกิดจากการอักเสบจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อบุหัวใจ (เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดและติดเชื้อในหัวใจ) โดยเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณปาก ผิว ลำไส้ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น คำจำกัดความเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เกิดจากการอักเสบจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อบุหัวใจ (เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดและติดเชื้อในหัวใจ) โดยเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณปาก ผิว ลำไส้ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ รู้สึกหนาว อาการเจ็บหน้าอก เหงื่อออก ปัสสาวะเป็นเลือด อาการปวดและบวมในข้อต่อ เยื่อบุหัวใจติดเชื้อเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานหรือได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้หัวใจล้มเหลวถึงขั้นเสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ป่วยเยื่อบุหัวใจติดเชื้อส่วนใหญ่มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจ อาการอาการของเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ อาการเยื่อบุหัวใจติดเชื้อจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในบางคนอาจแสดงอาการแบบฉับพลันทันทีในขณะที่บางคนอาจค่อย ๆ แสดงอาการ  โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้ ไข้ รู้สึกหนาว อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ร่างกายอ่อนเพลีย เหงื่อออกผิดปกติ มีเลือดในปัสสาวะ มีผื่นสีแดงขึ้นบริเวณผิวหนัง มีจุดขาวๆ ขึ้นในปากหรือบนลิ้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้และอาเจียน น้ำหนักลด ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ เยื่อบุหัวใจติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด แต่ในบางกรณีอาจเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแปรงฟันหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่อาจทำให้เหงือกของคุณมีเลือดออก […]


โรคหัวใจ

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ คุณเองก็เชื่อแบบนี้อยู่หรือเปล่า

โรคหัวใจ ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของไทยและทั่วโลกมานานหลายปีแล้ว แถมตัวเลขผู้ป่วยและผู้สูงอายุด้วยโรคนี้ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีด้วย แม้เราจะได้ยินชื่อโรคนี้กันมานานมาก แต่ Hello คุณหมอ เชื่อว่า ยังมีใครอีกหลายคนที่ยังคงมี ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โรคหัวใจ หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งความเชื่อบางประการก็อาจส่งผลให้ประมาทกับโรคนี้มากเกินไป และไม่ทันได้ดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ 5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ หลายคนมักจะมี ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ ดังนั้น เรามาเช็กกันดูค่ะว่า ความเชื่อที่คุณเข้าใจอยู่นั้น แท้จริงแล้วถูกหรือไม่ 1. คนอายุยังน้อยไม่เป็นโรคหัวใจง่าย ๆ จริงอยู่ที่ว่าคนอายุยังน้อยสุขภาพย่อมแข็งแรงกว่าคนอายุมากซึ่งสังขารร่วงโรยไปตามวัย แต่ความจริงข้อนี้ก็ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะรอดพ้นจากโรคหัวใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตก็สามารถส่งผลต่อความเสี่ยงในการโรคหัวใจของคุณได้เช่นกัน อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญยังเผยว่า การมีคราบพลัคสะสมอยู่ตามผนังชั้นในของหลอดเลือดตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถนำไปสู่ปัญหาหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้เมื่ออายุมากขึ้น ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อมูลเผยว่า 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และผู้ป่วยก็ไม่ได้มีแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นด้วย เพราะวัยรุ่นหรือคนวัยกลางคนก็เป็นโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น 2. เข้าสู่วัยกลางคนก่อนค่อยตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า คนเราควรตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือดทุก ๆ 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยยี่สิบต้น ๆ เลย ไม่ใช่รอให้ถึงวัยกลางคนก่อนแล้วค่อยเริ่มตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เหมือนที่ใครหลาย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน