สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS)

กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS) เกิดจากการทำงานผิดปกติของไซนัส ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หายใจลำบาก คำจำกัดความอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS) คืออะไร อาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS)  เกิดจากกการทำงานที่ผิดปกติของไซนัส ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการใจสั่น หายใจลำบาก  รู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย พบได้บ่อยเพียงใด กลุ่มอาการซิคไซนัส เกิดขึ้นได้กับทุกวัย พบได้ในวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง อาการกลุ่มอาการซิคไซนัส ผู้ที่ที่อยู่ในกลุ่มอาการซิคไซนัส มักไม่ค่อยมีอาการใด ๆ แสดงออกมาให้เห็น อย่างไรก็ตามหากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ในปริมาณที่เพียงพอ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้ รู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อยล้า เวียนศีรษะ ใจสั่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกลุ่มอาการซิคไซนัส กลุ่มอาการซิคไซนัสเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย ดังนี้ การผ่าตัด การเกิดเนื้อเยื่อแผล จากการผ่าตัดหัวใจ ยาบางชนิด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาช่วยลดความดันโลหิตหรือยารักษาโรคหัวใจ เช่น ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

เพศสัมพันธ์กับภาวะหัวใจวาย : หลังหัวใจวายต้องรอนานแค่ไหนถึงมีเซ็กส์ได้อีกครั้ง

หลังจากเกิดภาวะหัวใจวาย การมีเพศสัมพันธ์อาจกลายเป็นเรื่องท้าทาย ผู้ที่รอดตายจากหัวใจวายบางราย ก็อาจยังไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถมีเซ็กส์ได้อีกหรือไม่ หรือเซ็กส์จะส่งผลให้อาการกำเริบขึ้นมาได้อีกหรือเปล่า และความสงสัยเหล่านี้ อาจกลายเป็นความกังวลที่ทำให้บางคนหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ไปเลย แต่อย่างไรก็ดี ความใกล้ชิดทางกายก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตคู่ เราไม่อาจหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือกิจกรรมทางเพศได้ตลอดไป Hello คุณหมอ จึงอยากบอกคุณว่า ไม่ต้องเป็นกังวลไป ลองอ่านบทความเรื่อง เพศสัมพันธ์กับภาวะหัวใจวาย นี้ดูก่อน แล้วคุณจะรู้ว่า ถึงจะเคยเกิดภาวะหัวใจวาย ก็ใช่ว่าคุณจะต้องงดมีเซ็กส์ไปตลอดชีวิต เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ เพศสัมพันธ์กับภาวะหัวใจวาย หลังหัวใจวาย เมื่อไหร่จะมีเซ็กส์ได้อีกครั้ง คำตอบในเรื่องนี้นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล หากหลังหัวใจวาย คุณไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่มีอาการที่แสดงถึงปัญหาสุขภาพหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก ในขณะทำกิจกรรมทางกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายในระดับความเข้มข้นปานกลาง อย่างการเดินเร็ว การขึ้นบันได เป็นต้น ส่วนใหญ่ก็จะสามารถทำกิจกรรมทางเพศหรือมีเซ็กส์ได้อีกครั้ง หลังพักฟื้นแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ หากคุณเข้ารับการรักษาภาวะหัวใจวายด้วยการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือทำบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Surgery) โดยปกติแล้ว ต้องรออย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ เพื่อให้แผลผ่าตัดหายสนิทก่อน จึงจะสามารถมีเซ็กส์ได้อีกครั้งอย่างปลอดภัย หากคุณไม่แน่ใจว่าตัวเองพร้อมจะมีเซ็กส์อีกครั้งหรือยัง ก็สามารถปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจคลื่นหัวใจได้ หากผลตรวจออกมาเป็นปกติ นั่นอาจหมายความว่า คุณสามารถกลับมามีเซ็กส์ได้แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหมตั้งแต่ครั้งแรก มีโอกาสหัวใจวายระหว่างมีเซ็กส์ได้ไหม ความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวายระหว่างมีเซ็กส์นั้นน้อยมาก จากสถิติของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

รู้หรือไม่...พฤติกรรมทำลายหัวใจ มีอะไรบ้าง

แม้การทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง แต่รู้หรือไม่ว่าบาง พฤติกรรมทำลายหัวใจ ได้เช่นกัน แต่คุณอาจจะยังไม่ทราบว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่สามารถทำลายหัวใจได้เช่นกัน ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมทำลายหัวใจ มาฝากกัน มาดูกันซิว่าคุณมี พฤติกรรมทำลายหัวใจ เหล่านี้อยู่หรือเปล่า กิจกรรมหลายๆ  อย่างที่คุณทำ อาจจะไม่ได้คิดว่ามีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของหัวใจ แต่มีพฤติกรรมหลายอย่างซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันที่คุณจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อไม่ให้ทำลายหัวใจไปมากกว่านี้ พฤติกรรมทำลายหัวใจ มีดังนี้ นั่งทั้งวัน เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีไลฟ์สไตล์ชอบเคลื่อนไหว ผู้ที่เคลื่อนไหวไม่เพียงพอและนั่งนานถึง 5 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น มีความเสี่ยงเป็น 2 เท่าที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนั้น ถ้างานของคุณจะต้องนั่งโต๊ะทุกวัน ควรหาเวลาลุกขึ้นและเดินประมาณ 5 นาทีทุกชั่วโมง การบิดตัวเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถทำให้หลอดเลือดแดงของคุณมีการยืดหยุ่น และทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างถูกต้อง อย่าคิดว่าตัวเองยังเด็กเกินไป ความจริงแล้วไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ก็สามารถมีปัญหาโรคหัวใจเหมือนกันได้หมด ดังนั้น อย่ามัวแต่คิดว่าตัวเองยังเด็กเกินไป เริ่มออกกำลังกาย และกินอาหารเพื่อสุขภาพ รวมทั้งคอยตรวจเช็คความดันโลหิต คอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดอยู่สม่ำเสมอ จะเป็นการดีที่สุด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควันจากบุหรี่ส่งผลที่ไม่ดีต่อหัวใจ หลอดเลือดแดง และปอด หากคุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้จะถือเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพมาก นอกจากนั้นควันบุหรี่มือ 2 ก็เป็นพิษต่อหัวใจเช่นกัน ดังนั้นถ้าหลีกเลี่ยงได้ ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง จำกัดปริมาณไขมันเพื่อสุขภาพ โดยส่วนใหญ่ทุกคนจะรู้ว่าไขมันนั้นไม่ดีสำหรับตัวเรา ทุกคนเลยต่างพากันจำกัดไขมัน แต่การจำกัดไขมันอาจทำให้คุณพลาดการได้รับไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นผลที่ดีต่อหัวใจด้วย […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากความรักก็มี ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต นี่แหละที่ดีต่อหัวใจ

เมื่อถึงช่วงวันวาเลนไทน์เมื่อใด สาว ๆ ที่มีหนุ่มให้ดอกไม้ ของขวัญ หัวใจก็คงจะกระชุ่มกระชวยไม่ใช่น้อย ส่วนใครที่ไม่มีหนุ่ม ๆ คอยทำให้หัวใจพองโต ก็ไม่ต้องเสียใจกันไปค่ะ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความ ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต ที่ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ มาฝากกัน แม้จะไม่มีหนุ่ม ๆ ทำให้กระชุ่มกระชวยหัวใจ ก็ยังมีดาร์กช็อกโกแลตที่ดีต่อหัวใจเสมอนะคะ ความสัมพันธ์ระหว่างโกโก้และสุขภาพหัวใจ มีงานวิจัยชี้ว่าผลโกโก้ โดยเฉพาะดาร์กช็อกโกแลต นั้นดีต่อสุขภาพหัวใจ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่บริโภคดาร์กช็อกโกแลต จะมีระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีความดันโลหิตต่ำลง ระดับคอเลสเตอรอลต่ำลง นอกจากนี้การบริโภคดาร์กช็อกโกแลตยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย  อย่างไรก็ตามจากคำแนะนำของคุณหมอ T. Jared Bunch ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจประจำ Heart Rhythm Services แห่ง University of Utah Health สหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่า ควรบริโภคดาร์กช็อกโกแลตในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต ต่อสุขภาพหัวใจ ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต มีคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ดังต่อไปนี้ ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด เมล็ดของโกโก้ที่เป็นแหล่งที่มาของ ดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านั้นมีส่วนช่วยในการบำรุงเซลล์ของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสารต้านต้านอนุมูลอิสระชนิดเดียวกันกับที่พบได้ในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่และเครื่องเทศต่าง ๆ การรับประทานช็อกโกแลตช่วยลดความดันโลหิต จากงานวิจัยในปี 2012 พบว่าช็อกโกแลตมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตได้อย่างมีนัยยะสำคัญ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased Intracranial Pressure หรือ ICP)

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased Intracranial Pressure หรือ ICP) เป็นภาวะที่อาจส่งผลให้มีการเพิ่มแรงดันเข้าไปในบริเวณโดยรอบของสมอง ซึ่งถือว่าอาจเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตรายอย่างมาก เพราะเป็นการเสี่ยงทำให้ระบบประสาท และเซลล์ต่าง ๆ ถูกทำลายได้ คำจำกัดความความดันในกะโหลกศีรษะสูง คืออะไร ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased intracranial pressure หรือ ICP) เป็นการเพิ่มขึ้นของแรงดันโดยรอบสมอง ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณของเหลว เช่น อาจมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นของน้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid) นอกจากนี้ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง ยังหมายความว่า เนื้อเยื่อสมองอาจมีอาการบวมจากการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย เช่น โรคลมชัก (Epilepsy) ได้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งโรคนี้ยังพบได้กับทุกเพศทุกวัย เรียกได้ว่าความดันในกะโหลกศีรษะสูง เป็นภาวะอันตรายถึงอาจถึงแก่ชีวิตได้ หากสังเกตพบความผิดปกติใด ๆ โปรดแจ้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทราบในทันที อาการอาการของ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาการทั่วไปของความดันในกะโหลกศีรษะสูง ได้แก่ ปวดศีรษะ (Headache) คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ความสามารถทางจิตใจต่ำ มึนงงเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และผู้คน เมื่อความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นอีก มองเห็นภาพซ้อน ลูกตาไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแสง หายใจตื้น ชัก (Seizures) ไม่รู้สึกตัว โคม่า (Coma) อาการในข้างต้นนี้ อาจแสดงให้เห็นถึงภาวะรุนแรงอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome)

โรคหัวใจสลาย คืออะไรโรคหัวใจสลาย คืออะไร โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome) เป็นอาการชั่วคราวที่เกิดขึ้นกับจิตใจ มีสาเหตุมาจากสถานการณ์เครียด ๆ เช่น การสูญเสียของคนที่เรารัก อาการเช่นนี้อาจถูกรับแรงกระตุ้นโดยอาการไม่สบายทางกาย หรือการผ่าตัด ในบางคนที่เป็นโรคหัวใจสลายนั้นมักมีอาการเจ็บหน้าอกจนตนเองเข้าใจว่ามีอาการหัวใจวาย ร่วมด้วย ส่งผลให้เกิดความตื่นตระหนกจนส่งผลกับความเครียดนำไปสู่โรคหัวใจสลายได้เช่นเดียวกัน สำหรับโรคหัวใจสลายนั้นหน้าที่การสูบฉีดเลือดที่ด้านหนึ่งของหัวใจจะหยุดการทำงานชั่วคราว ในขณะที่หน้าที่อื่นของหัวใจจะยังคงทำงานตามปกติ หรืออาจจะมีอาการหดตัวมากขึ้น เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาความเชื่อมดยงของหัวใจที่มีต่อฮอร์โมนความเครียดซึ่งแพทย์อาจจะเรียกอาการนี้อีกชื่อหนึ่งว่าโรคหัวใจขาดเลือดกระทันหัน ผู้ป่วยกรณีใดที่อยู่ในกลุ่มอาการที่หัวใจห้องล่างส่วนปลายโป่งพอง หรือโรคหัวใจจากความเครียด อาการของโรคหัวใจสลายนี้สามารถรักษาได้ และจะกลับมาดีขึ้นภายในเวลาไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ โรคหัวใจสลาย พบได้บ่อยแค่ไหน โรคหัวใจสลายเป็นอาการที่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก และมีผลกับคนแค่ 2% ที่เป็นโรคหัวใจ คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจจากความเครียดเป็นผู้หญิงที่อายุ 50 หรืออายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป อาการอาการของโรคหัวใจสลาย เป็นอย่างไร อาการทั่วไปของโรคหัวใจสลาย ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจสั้น ๆ หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจจะเป็นสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ ดังนั้นจึงควรติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก นอกจากนี้ยังมีอาจจะมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากข้างต้นที่กล่าวมา หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ หรือรับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากแพทย์อีกครั้งได้ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการอย่างที่กล่าวตามข้างต้น หรือมีคำถามใด ๆ โปรดขอเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นต่างกันตามสภาวะสุขภาพ แต่หากคุณเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงที่ส่งผลต่อการหายใจร่วม หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หลังจากเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตึงเครียด อาจต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในทันที สาเหตุสาเหตุของ โรคหัวใจสลาย สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจสลายยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ที่เป็น โรคหัวใจ มีเซ็กส์ ได้หรือไม่ และมีข้อควรกังวลอย่างไรบ้าง

ผู้ที่เป็น โรคหัวใจ อาจมีคำถามว่า สามารถ มีเซ็กส์ ได้หรือไม่ ซึ่งสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า ค่อนข้างปลอดภัยหากผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ต้องการมีเพศสัมพันธ์ในกรณีที่อาการของโรคคงที่ แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้คุณยังสามารถศึกษาข้อมูลโรคหัวใจ กับการมีเพศสัมพันธ์ ใน Hello คุณหมอ ดังนี้ ผู้ป่วย โรคหัวใจ มีเซ็กส์ ได้หรือไม่ หากคุณมีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ไม่แน่นอน หรืออาการรุนแรง ควรรักษาอาการและรอให้อาการทรงตัวก่อน จึงค่อยมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีอาการหัวใจล้มเหลว (Heart failure) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเรื่องกาย อาจทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ หรือหายใจสั้นๆ และแม้แต่การออกกำลังกาย ก็ยังทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก จนผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอาจมีคำถามว่า  สามารถมีเซ็กส์ได้หรือไม่ การมีเพศสัมพันธ์ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย ที่มีระดับความหนักคล้ายกับการเดินขึ้นบันได 2-3 เที่ยว ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจจึงควรกังวล และควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดหัวใจ นอกจากนี้ การกินยาเพื่อรักษาโรค ยังอาจมีผลข้างเคียง คือทำให้ความต้องการทางเพศลดลง เนื่องจากประมาณ 60-87% ของผู้ที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ให้ข้อมูลว่าพวกเขามีปัญหาเรื่องทางเพศ ผู้ป่วยโรคหัวใจมีเรื่องอะไรบ้าง ที่ต้องกังวล มีเพศสัมพันธ์อาจไม่ปลอดภัย หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur)

เวลาที่ไปตรวจร่างกาย หลายคนอาจเคยเห็นแพทย์นำอุปกรณ์หูฟังทางการแพทย์มาลองฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ซึ่งหนึ่งในความผิดปกติที่แพทย์อาจพบคืออาการ เสียงฟู่ของหัวใจ สภาวะนี้เป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้ คำจำกัดความ เสียงฟู่ของหัวใจ คืออะไร เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur) เป็นเสียงที่เกิดในระหว่างรอบการเต้นของหัวใจ คล้ายกับเสียงเป่าลม ซึ่งเกิดขึ้นจากความปั่นป่วนของการไหลของเลือดในหัวใจ หรือบริเวณใกล้เคียง เสียงชนิดนี้สามารถใช้หูฟังของแพทย์ โดยจังหวะการเต้นของหัวใจตามปกติจะมีสองเสียง เช่น ตุบๆ (lubb-dupp) (บางครั้งเรียกว่า “lub-DUP”) ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดขึ้นขณะลิ้นหัวใจปิด ภาวะเสียงฟู่ของหัวใจอาจเป็นตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดในเวลาต่อมาเมื่อโตขึ้น ภาวะนี้ไม่ใช่โรค แต่เสียงฟู่นี้อาจชี้ให้เห็นปัญหาของหัวใจที่ซ่อนอยู่ เสียงฟู่ของหัวใจพบได้บ่อยเพียงใด เสียงฟู่ของหัวใจที่ไม่บ่งบอกถึงอันตรายแต่อย่างใด เกิดขึ้นได้บ่อย และมักจะเกิดกับเด็กๆ ร้อยละ 40-45 และผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 ในบางครั้งของช่วงชีวิต เสียงฟู่ที่ไม่บ่งบอกถึงอันตรายนี้พบได้บ่อยมากกว่าในผู้หญิงในระหว่างการตั้งครรภ์ เสียงฟู่ของหัวใจที่ผิดปกติเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจบกพร่อง ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (aortic stenosis) และโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (mitral regurgitation) โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของเสียงฟู่ของหัวใจ หากคุณมีอาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ เสียงฟู่หัวใจชนิดปกติ (innocent heart murmur) มีแนวโน้มว่าคุณจะไม่มีสัญญาณแสดงหรืออาการอื่นใด อาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบผิดปกติอาจไม่ก่อให้เกิดสัญญาณแสดงหรืออาการอื่นๆ อย่างชัดเจน นอกเหนือจากเสียงผิดปกติที่แพทย์จะได้ยิน เมื่อฟังเสียงหัวใจผ่านหูฟัง แต่ถ้าคุณมีสัญญาณแสดงหรืออาการเหล่านี้ อาจชี้ได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่่ยวกับหัวใจ ผิวหนังกลายเป็นสีเขียว โดยเฉพาะที่ปลายนิ้วมือหรือริมฝีปาก […]


โรคหัวใจ

เมื่อความหวานทำลายหัวใจ : น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ

น้ำตาล คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน การรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปก็ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน เบาหวาน นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงถึงความเชื่อมโยงของการบริโภค น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ โดยระบุว่าหากได้รับน้ำตาลในปริมาณมาก ก็สามารถทำลายเนื้อเยื่อหัวใจได้ น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ ส่งผลต่อกันอย่างไรบ้าง หนึ่งในงานวิจัยชี้ว่า การกินน้ำตาลปริมาณมากสามารถทำลายเนื้อเยื่อหัวใจ นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลมาจากโรคเบาหวานที่ไม่มีการควบคุม จะนำไปสู่โรคหัวใจ หรือก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป อินซูลินที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดจะส่งผลกระทบต่อหลอดเลือด  มันจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว นำไปสู่โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างต่อเนื่องยังไปลดประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย เมื่อเวลาผ่านไป จะนำไปสู่โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว และโรคเส้นเลือดในสมอง ได้ในที่สุด นอกจากนี้ การวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า การกินน้ำตาลน้อยลงจะช่วยลดความดันโลหิตซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหัวใจ ผู้ที่กินน้ำตาลเพิ่มจำนวนมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25% ของแคลอรี่ที่มาจากน้ำตาล มีโอกาสเสี่ยงเป็นสองเท่าที่จะตายจากโรคหัวใจของผู้ที่มีการเพิ่มน้ำตาลน้อยกว่า 10% ของน้ำตาลทั้งหมด บทความในวารสารการแพทย์ JAMA Internal Medicine ระบุว่าตลอดระยะเวลาการศึกษา 15 ปีพบว่าการบริโภคน้ำตาลสูงมีความสัมพันธ์กับอัตราความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โดยผู้ที่ได้รับสัดส่วนน้ำตาลร้อยละ 17-21 จากพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน จะมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคเกี่ยวกับหัวใจสูงกว่าผู้ที่บริโภคน้ำตาลเพียงร้อยละ 8 จากพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน โดยรวมแล้ว […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ความรู้พื้นฐานของอาการ ใจสั่น (Heart Palpitations) ที่คุณควรรู้

ใจสั่น (Heart Palpitations) ไม่ใช่เรื่องที่ควรประมาท ถึงแม้ว่าจะมีอาการในระดับเบาก็ตาม เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้สุขภาพหัวใจของคุณนั้นแย่ลง โดยเฉพาะกับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวข้องกับหัวใจอยู่แต่เดิม วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เอาไว้เบื้องต้นถึงอาการ สาเหตุ การรักษา มาฝากใฟ้ทุกคนได้ทราบเอาไว้ เพื่อรับมือเมื่ออาการใจสั่นถามหา คำจำกัดความใจสั่น (Heart Palpitations) คืออะไร ใจสั่น (Heart Palpitations) คือ ความรู้สึกที่หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นแรง หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาที สามารถรับรู้อาการเหล่านี้ได้ที่ลำคอ หรือภายในช่องคอได้เช่นกัน อาการใจสั่นอาจจะดูน่าตกใจ แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นอันตราย และไม่ใช่สัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาร้ายแรง อาการ ใจสั่น พบได้บ่อยเพียงใด อาการใจสั่นนั้น เป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป และยังอาจที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย อาการอาการของ ใจสั่น อาการใจสั่นประกอบไปด้วย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นถี่ หัวใจเต้นเร็วเกินไป หัวใจเต้นแรงผิดปกติ ผู้ที่เกิดอาการใจสั่นสามารถรับรู้ได้ในช่องคอหรือลำคอ เช่นเดียวกับบริเวณหน้าอก อาการใจสั่นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตอนที่ทำกิจกรรม และระหว่างพักผ่อน รวมถึงเกิดขึ้นได้ในยามที่ยืน นั่ง และนอน หากคุณมีบางอาการที่ไม่มีอยู่ในอาการข้างต้นเหล่านี้ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอเพื่อรับคำแนะนำ หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ หายใจไม่สะดวก วิงเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก เป็นลม สาเหตุสาเหตุของอาการใจสั่น ส่วนใหญ่แล้วอาการใจสั่น มีทั้งชนิดที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพหัวใจ และชนิดที่เกิดขึ้นแบบไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพหัวใจ เกิดอารมณ์ความรู้สึกรุนแรง เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน