สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

ภาวะหลอดเลือดแข็ง

ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)

ภาวะหลอดเลือดแข็ง หรือ ภาวะหลอดเลือดตีบ (Atherosclerosis) เกิดจากคราบไขมันพังผืดหรือหินปูน (Plaque) สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดแข็งตัวหรือตีบตัน จนทำให้การไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำได้ไม่ดี ส่งผลให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายขาดเลือด คำจำกัดความภาวะหลอดเลือดแข็ง คืออะไร  ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงเกิดการตีบและแข็งตัว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสะสมของคราบไขมันพังผืดหรือหินปูน (Plaque) เมื่อหลอดเลือดแดงเกิดการตีบตันและแข็งตัว จะทำให้การลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังหัวใจและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายทำได้ยากขึ้น ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดการขาดแคลนเลือดและออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ คราบไขมัน (Plaque) ยังสามารถแตก และทำให้เกิดลิ่มเลือด หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหลอดเลือด อาจนำไปสู่อาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจล้มเหลวได้ ภาวะหลอดเลือดแข็ง พบได้บ่อยแค่ไหน ส่วนใหญ่แล้ว อาการหลอดเลือดแข็ง มักจะแสดงอาการเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยกลางคนขึ้นไป เมื่อการตีบแคบลงอย่างรุนแรง อาจทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี และทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ การอุดตันยังสามารถแตกออกอย่างกะทันหัน นั่นทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนภายในหลอดเลือดแดงที่บริเวณรอยแตก อาการอาการของภาวะหลอดเลือดแข็ง โดยปกติแล้ว ภาวะหลอดเลือดแข็งมักจะไม่แสดงอาการ จนกว่าหลอดเลือดจะเกิดการตีบตันหรืออุดตัน จนไม่สามารถลำเลียงเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ บางครั้งลิ่มเลือดก็จะทำให้เกิดการอุดตัน ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด อาการของภาวะหลอดเลือดแข็ง จะมีอาการในระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับหลอดเลือดว่าได้รับผลกระทบอย่างไร ซึ่งอาการส่วนใหญ่ที่มักจะเกิดขึ้น มีดังนี้ อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบแคบลง อาการชา แขนขาอ่อนแรงอย่างกะทันหัน พูดไม่ชัด […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ระวัง! ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รักษาไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นอีกหนึ่งภาวะร้ายแรงที่ส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากความเครียดและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว บทความนี้ Hello คุณหมอจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กัน รู้ก่อน ป้องกันไว้ เพื่อที่เราจะได้รักษาได้ทันท่วงที ทำความรู้จักภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary) ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary) เกิดจาก การอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ เลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะจะเป็นลม บางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เเละเสียชีวิตในที่สุด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมักเกิดจากการสะสมของไขมันหลายชนิดบนผนังหลอดเลือด เมื่อเกิดการสะสมมาก ๆ จะส่งผลให้เกิดการปริแตกในผนังหลอดเลือด หากลิ่มเลือดอุดกั้นบางส่วนทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้  อย่างไรก็ตาม ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีลักษณะคล้ายกับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ และส่วนใหญ่มักเกิดกับบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้ ผู้สูงอายุ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย โรคอ้วน โรคเบาหวาน สมาชิกในครอบครัวที่มีประวัติเกี่ยวกับการเป็นโรคหัวใจ การติดเชื้อโควิด-19 5 สัญญาณเตือนภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือเฉียบพลัน หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงนั่น อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า คุณเข้าข่ายเป็นภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือเฉียบพลัน รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน อาหารไม่ย่อย รู้สึกกระสับกระส่ายหรือวิตกกังวล เหงื่อออกอย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเหนื่อยล้าผิดปกติ  5 วิธีป้องกัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นพ.ณรงค์ […]


โรคลิ้นหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจ (Heart Valve Disease)

โรคลิ้นหัวใจ เกิดขึ้นเมื่อลิ้นหัวใจไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ในหัวใจมีลิ้นหัวใจ 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมให้เลือดไหลไปในทิศทางที่ถูกต้อง คำจำกัดความโรคลิ้นหัวใจ คืออะไร โรคลิ้นหัวใจเกิดขึ้นเมื่อลิ้นหัวใจไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติในหัวใจมีลิ้นหัวใจ 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมให้เลือดไหลไปในทิศทางที่ถูกต้อง ขณะที่หัวใจเต้นหนึ่งครั้ง ลิ้นหัวใจก็จะเปิดและปิดหนึ่งครั้ง ถ้าลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติไปด้วย โรคลิ้นหัวใจรวมถึงอาการหรือโรคใด ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจทั้งหมด เช่น โรคหลอดเลือดแดงคาโรติค (Carotid Stenosis) โรคลิ้นหัวใจอาจนำไปสู่อาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ ได้อีก เช่น ความดันโลหิตสูง และหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจพบได้บ่อยแค่ไหน โรคลิ้นหัวใจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ก็มีโอกาสเกิดได้กับทุกวัย โรคนี้ควบคุมได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ โรคลิ้นหัวใจ โรคลิ้นหัวใจทำให้เกิดอาการหลายแบบ สัญญาณและอาการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้ หายใจได้สั้น หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอาการเหนื่อยล้า เจ็บหน้าอก เวียนหัว อ่อนเพลีย เป็นลม ปวดศีรษะ ไอ ภาวะคั่งน้ำที่ทำให้บริเวณส่วนล่างของแขนขาและท้องน้อยบวม ปอดบวมน้ำ ข้อเท้า เท้า หรือท้องบวม น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โรคลิ้นหัวใจรั่วอาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวไว้เบื้องต้น หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของโรค โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากพบสัญญาณหรืออาการของการติดเชื้อ เช่น เจ็บคอ ปวดตามเนื้อตัวหรือเป็นไข้  ควรปรึกษาแพทย์ เพราะร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกันไป สาเหตุสาเหตุของ โรคลิ้นหัวใจ ในบางกรณีโรคลิ้นหัวใจเป็นโรคแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ มีดังต่อไปนี้ เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Infective Endocarditis) เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับเยื่อบุของหัวใจ ไข้รูมาติก เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียตระกูลสเตรปโตคอคคัส โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง (Aortic […]


คอเลสเตอรอล

ไขมันในเลือดสูง อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) หรือ คอเลสเตอรอลสูง คือ ภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ โดยไขมันหลัก ๆ ที่พบในเลือดมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) และคอเลสเตอรอล (Cholesterol)  [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ ไขมันในเลือดสูง คืออะไร ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) หรือคอเลสเตอรอลสูง คือ ภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ โดยไขมันหลัก ๆ ที่พบในเลือดมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) และคอเลสเตอรอล (Cholesterol)  อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไขมันในเลือดสูงมักไม่มีอาการแสดงออกภายนอก หากร่างกายมีไขมันในเลือดสูงเกินไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง  ไขมันในเลือดสูงพบได้บ่อยเพียงใด  ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไขมันในเลือดสูงส่วนใหญ่มักเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมถึงสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติไขมันในเลือดสูง อาการ อาการของไขมันในเลือดสูง  ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงมักไม่มีอาการแสดงออกในช่วงแรก แต่หากร่างกายมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สะสมในไขมันในหลอดเลือดแดงมากจนเกินไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง เลือดจะไหลเวียนได้ยากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย หรือถ้าเกิดขึ้นบริเวณสมองก็อาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดสมอง  สาเหตุ สาเหตุของไขมันในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และอาหารดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขมันในเลือดสูง  ชีส  ไข่แดง อาหารทอดและแปรรูป ไอศกรีม ขนมอบ เนื้อแดง นอกจากนี้ การขาดการออกกำลังกาย รวมถึงอายุที่มากขึ้น ก็อาจนำไปสู่ไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน  ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของภาวะไขมันในเลือดสูง ปัจจัยต่อไปนี้ อาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ดื่มเครื่องแอลกอฮอล์มากเกินไป […]


โรคหัวใจ

ป้องกันหัวใจวาย ด้วยวิธีไหน และควรปรับไลฟ์สไตล์อย่างไรบ้าง

ป้องกันหัวใจวาย อาจทำได้ด้วยการดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ ภาวะหัวใจวายเกิดจากการที่สุขภาพหัวใจไม่แข็งแรง มักเป็นผลมาจากการไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเป็นประจำ รวมทั้งการสูบบุหรี่จัด และมีความเครียดสะสม หากต้องการป้องกันหัวใจวาย ควรเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน [embed-health-tool-heart-rate] หัวใจวาย คืออะไร หัวใจวาย (Heart Attack) เป็นภาวะฉุกเฉินของสุขภาพหัวใจที่เส้นเลือดเกิดการอุดตันเฉียบพลันจนเลือดไม่สามารถเดินทางไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ ทำให้หัวใจขาดเลือดส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่วนใหญ่ภาวะหัวใจวายมักเกิดขึ้นกะทันหัน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ สัญญาณและอาการของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก จนอาจลุกลามไปถึงคอ กราม และหลัง คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนทรวงอก หรือปวดท้อง หายใจถี่ เหงื่อออก เหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะฉับพลัน ป้องกันหัวใจวาย ได้ด้วยวิธีไหนบ้าง ป้องกันหัวใจวาย สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาจปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ 1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า นอกจากนี้ ควรลดการรับประทานเกลือ ไขมันอิ่มตัว ของหวาน เนื้อแดงอย่างเนื้อวัวและเนื้อหมู รวมถึงหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ด้วย 2. หาวิธีผ่อนคลายความเครียด อารมณ์เครียด เช่น ความโกรธ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด รู้เร็ว รับมือได้

โรคหัวใจขาดเลือด เป็นสภาวะที่ถือได้ว่าค่อนข้างเป็นอันตรายในระยะยาว โดยเฉพาะถ้าเกิดอาการหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันขึ้นมา อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือดมาฝากค่ะ มาดูกันว่า สาเหตุ อาการ และ สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด เป็นอย่างไร และเมื่อเป็นแล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร โรคหัวใจขาดเลือด (Schemic Heart Disease) คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลงเนื่องจากหลอดเลือดแดงที่จะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบหรือแคบลง ทำให้ไม่มีเลือดส่งไปยังหัวใจมากพอ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจร้ายแรงกว่านั้นคือไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจเลย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ มีปัญหาความดันโลหิตสูงเรื้อรัง คอเลสเตอรอลในร่างกายสูงจนเกินไป โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไตระยะสุดท้าย โรคแอมีลอยโดซิส (Amyloidosis) เป็นภาวะที่ร่างกายมีโปรตีนผิดปกติในปริมาณที่สูงมากจนเกินไปจนมีผลต่อการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกาย เช่น หลอดเลือด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด มีอะไรบ้าง สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด อาจมีดังต่อไปนี้ มีอาการเจ็บหน้าอก แล้วค่อย ๆ ลามไปยังยังแขน และหลัง เมื่อยล้า อ่อนเพลีย หายใจถี่และสั้น วิงเวียนศีรษะและเป็นลม ใจสั่น ผิวหนังชื้น คลื่นไส้แต่ไม่อาเจียน ปวดคอหรือกราม ผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือด บางรายอาจมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย มีอาการบวมที่ขาและเท้าคล้ายกับอาการบวมน้ำ มีอาการบวมที่ช่องท้อง มีอาการไอ หรือรู้สึกอึดอัดในลำคอเนื่องจากของเหลวในปอด นอนไม่หลับ น้ำหนักขึ้น โดยอาการของ โรคหัวใจขาดเลือด เหล่านี้มักจะ พบได้บ่อยในช่วงที่ต้องมีการออกแรงในการทำกิจกรรม มีอาการเกิดขึ้นแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก อาการที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง อาจใช้ระยะเวลาเพียง 5 นาที หรือน้อยกว่านั้น รักษาโรคหัวใจขาดเลือดได้หรือไม่ หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เนื่องจากผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดมักเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป โดยวิธีการรักษาจะมีตั้งแต่ การรักษาโดยการรับประทานยารักษา โรคหัวใจขาดเลือด  ยาลดความดันโลหิตสูง (Angiotensin-Converting Enzyme) กลุ่มยาต้านตัวรับแองจิโอเทนซิน (Angiotensin receptor […]


สุขภาพหัวใจ

สุขภาพหัวใจแข็งแรงแค่ไหน การขึ้นบันได บอกได้นะ

“หัวใจ” เป็นอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกาย เพราะหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วทุกส่วนในร่างกาย หากหัวใจทำงานผิดปกติ หรือถึงขั้นหยุดเต้น ย่อมส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายไปด้วย การดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ จึงถือเป็นเรื่องที่คุณไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง และวันนี้ Hello คุณหมอ ก็มีอีกหนึ่งวิธีเช็กสุขภาพหัวใจเบื้องต้นด้วยตัวคุณเองมาฝาก นั่นก็คือ การขึ้นบันได ว่าแต่การขึ้นบันไดจะบ่งบอกถึงความแข็งแรงของสุขภาพหัวใจได้ยังไง เราไปหาคำตอบกันเลย การขึ้นบันได 2 ชั้น กับสุขภาพหัวใจ นายแพทย์ Jesús Peteiro แพทย์โรคหัวใจประจำโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโกรูญา (Coruña University Hospital) เปิดเผยว่า การขึ้นบันไดถือเป็นวิธีทดสอบสุขภาพหัวใจด้วยตัวคุณเองในเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ หากคุณใช้เวลาขึ้นบันได 2 ชั้น หรือ 4 ช่วง (เช่น จากชั้น 1 ไปถึงชั้น 3) นานกว่าหนึ่งนาทีครึ่ง นั่นแปลว่า สุขภาพหัวใจของคุณอาจมีปัญหา และคุณควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพทั่วไปและสุขภาพหัวใจได้แล้ว ข้อสรุปนี้เป็นผลจากการศึกษาวิจัยความเชื่อมโยงของกิจวัตรประจำวัน เช่น การขึ้นบันได กับผลที่ได้จากการทดสอบออกกำลังกายในห้องทดลอง ซึ่งจุดประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ก็คือ การหาวิธีประเมินสุขภาพหัวใจที่ง่ายและราคาถูก เพื่อให้แพทย์สามารถคัดแยกผู้ป่วยในเบื้องต้น และทำการตรวจวินิจฉัยวิธีอื่นต่อไปได้ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ ผู้ป่วยจำนวน 165 คน […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)

น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)  คือการสะสมของเหลวส่วนเกินในถุงเยื่อหุ้มรอบหัวใจมากผิดปกติ และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ คำจำกัดความ น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion) คืออะไร น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)  คือการสะสมของเหลวส่วนเกินในถุงเยื่อหุ้มบริเวณหัวใจมากผิดปกติ และมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด อาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจและติดเชื้อจากโรคอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี วัณโรค   มะเร็ง เป็นต้น อาการ อาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกินจะไม่มีการแสดงออกมาให้เห็น หากไม่มีน้ำที่สะสมในเยื่อหุ้มหัวใจมากนัก โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วย จะมีอาการดังต่อไปนี้ หายใจถี่ หายใจลำบาก รู้สึกไม่สบายเมื่อหายใจขณะนอนราบ เจ็บหน้าอก อาการบวมที่ขาหรือหน้าท้อง  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน สาเหตุของน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน เกิดจากการอักเสบบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจ โดยเกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกัน ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส เช่น การติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus : CMV) เอคโคไวรัส(Echovirus) โรคลูปัส  วัณโรค เป็นต้น โรคมะเร็ง การได้รับบาดเจ็บบริเวณหัวใจ การวินิจฉัยและการรักษา การวินิจฉัยน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการ ตรวจดูความผิดปกติ และตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาข้อระบุของโรค ดังต่อไปนี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารเช้าง่าย ๆ สำหรับวันเร่งรีบ แม้ไม่มีเวลา ก็ดูแลสุขภาพให้ดีได้

อาหารเช้าถือเป็นอาหารมื้อสำคัญของวันที่เราไม่ควรมองข้าม แต่บางวันเราอาจตื่นสาย หรือเร่งรีบมากจนไม่มีเวลาเตรียมอาหารเช้า หรือกินอาหารเช้า จนทำให้ขาดพลังงานในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือหิวจัดจนไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเรียน และสุดท้ายก็อาจจบลงด้วยการกินอาหารเที่ยง หรืออาหารเย็นมากเกินไป เพราะหิวจัดได้ด้วย Hello คุณหมอ เลยมี อาหารเช้าง่าย ๆ สำหรับวันเร่งรีบมาฝาก ถึงจะไม่มีเวลา คุณก็สามารถทำอาหารเช้ากินเองได้แบบเฮลท์ตี้ และใช้เวลาไม่นานอีกด้วย เช้า ๆ เราควรได้รับแคลอรี่เท่าไหร่ ก่อนที่จะไปดูว่า คุณควรได้รับแคลอรี่จากอาหารเช้าเท่าไหร่ คุณต้องรู้ก่อนว่าตัวเองควรได้รับแคลอรี่ในแต่ละวันทั้งหมดเท่าไหร่ เพราะร่างกายแต่ละคนต้องการพลังงานหรือปริมาณแคลอรี่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน (Basal Metabolic Rate หรือ BMR) น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ชายต้องการปริมาณแคลอรี่เพื่อใช้เป็นพลังงานวันละ 1,800-2,500 กิโลแคลอรี่ ส่วนผู้หญิงต้องการแคลอรี่วันละ 1,500-2,000 กิโลแคลอรี่ แต่หากคุณอยู่ในช่วงลดน้ำหนัก หรือเพิ่มน้ำหนัก ก็อาจต้องการพลังงานน้อยกว่าหรือมากกว่าค่าเฉลี่ย คนส่วนใหญ่จะแบ่งปริมาณแคลอรี่แต่ละมื้อเท่า ๆ กันเพื่อให้จำง่าย แต่ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การได้รับพลังงานหรือปริมาณแคลอรี่จากอาหารเช้ามากกว่าอาหารมื้ออื่นนั้นส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่า โดยผลงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นพบว่า ผู้ที่เน้นกินอาหารเช้าปริมาณมาก ร่างกายสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้ดีกว่าผู้ที่เน้นกินอาหารเย็นปริมาณมากถึงสองเท่า ทั้งยังหิวน้อยกว่า และมีปริมาณน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน (Insulin) […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจวาย กับ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน แม้คล้ายคลึง... แต่แตกต่าง

ภาวะหัวใจวาย กับ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เป็นภาวะเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ และบางคนอาจยังเข้าใจผิดว่าทั้งสองภาวะนี้มีคล้ายคลึงกัน แต่ความจริงแล้ว ทั้งสองภาวะนี้กลับมีสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจทั้งสองภาวะนี้ให้กระจ่างขึ้น ว่าแต่ความแตกต่างของภาวะนี้จะมีอะไรบ้าง ภาวะหัวใจวาย คืออะไร ภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงถูกอุดกั้น จนทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจบางส่วนได้ และหากหลอดเลือดที่ถูกอุดกั้นอยู่ไม่สามารถกลับมาทำงานตามปกติภายในเวลาอันรวดเร็ว หัวใจส่วนที่ควรได้รับสารอาหารจากหลอดเลือดนั้น ๆ ก็จะเริ่มตาย ยิ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้าเท่าไหร่ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็จะยิ่งรุนแรงขึ้นเท่านั้น อาการที่พบได้บ่อยของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ รู้สึกแน่น ปวด หรือรู้สึกมีแรงกดที่หน้าอก หรือที่แขน ซึ่งอาจลุกลามไปที่คอ ขากรรไกร หรือหลังด้วย หายใจลำบาก อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เหงื่อออกมาก แสบร้อนกลางอก ปวดท้อง หรืออาหารไม่ย่อย ส่วนใหญ่แล้ว อาการของภาวะ หัวใจวาย จะค่อย ๆ เกิดขึ้นและคงอยู่เป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ ก่อนที่หัวใจจะวาย แต่บางครั้ง อาการก็อาจเกิดขึ้นแบบฉับพลันและรุนแรงได้เช่นกัน และขณะที่หัวใจวาย หัวใจก็จะยังคงทำงานอยู่ ไม่ได้หยุดเต้นแต่อย่างใด ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คืออะไร ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อคลื่นกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ จนทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน